|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
After Dark : No Night is Too Long
โดย merveillesxx
After Dark (ราตรีมหัศจรรย์) ผู้แต่ง: Haruki Murakami ผู้แปล: นพดล เวชสวัสดิ์ สำนักพิมพ์กำมะหยี่ (พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2551) 160 หน้า, 180 บาท
ถือเป็นเรื่องปกติที่เราจะเคย 'อิน' กับอะไรมากๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราก็จะรู้สึกกับสิ่งนั้นน้อยลง สำหรับผมแล้วสภาวการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอยู่เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นกับหนังของหว่องกาไว, รักแห่งสยาม, ละครเวที 'สู่ฝันอันยิ่งใหญ่' หรือกระทั่งงานเขียนของ ฮารูกิ มูราคามิ
ผมเองก็เคยผ่านโรคดาษดื่นอย่าง Murakami Syndrome มาแล้วเช่นกัน ช่วงปีสองปีสาม (2004-2005) ผมตามอ่านงานของมูราคามิอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง ยังจำได้ดีตอนที่มึนงงกับโลกคู่ขนานของ Sputnik Sweetheart, หลอกหลอนกับตอนจบของ South of the Border, West of the Sun และหัวใจสลายเมื่ออ่าน Norwegian Wood จบลง อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังที่ผมห่างเหินกับมูราคามิก็ไม่ได้แปลว่างานของเขาอ่อนด้อยลง (เพราะผมก็อ่านงานของสลับไปมา ไม่เรียงลำดับก่อนหลังอยู่แล้ว) แต่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจากตัวผมเอง (ซึ่งก็ยังหาคำอธบายดีๆ มาบอกกล่าวตรงนี้ไม่ได้)
ผมกลับมาจูบปากกับตัวหนังสือของมูราคามิอีกครั้งเมื่อช่วงต้นปี 2008 เมื่อตัวเองประสบเหตุป่วยไข้ (เวลาไม่สบายผมมักอ่านหนังสือได้เร็วกว่าปกติ) ผพบว่าตัวเองอ่าน Kafka on the Shore ที่มีความหน้า 500 กว่าหน้าได้อย่างตื่นเต้นระทึกใจเอาการทีเดียว (แต่ก็พบเรื่องน่าสะพรึงอีกอย่างว่าผมอ่านหนังสือช้าลงมากเมื่อเทียบกับสมัยเรียนมหาลัย) สำหรับผมแล้ว Kafka on the Shore เป็นผลงานมาสเตอร์พีซอีกชิ้นหนึ่งของมูราคามิ (ถึงแม้ตอนจบจะดูสดใสให้กำลังใจผิดวิสัยไปหน่อย) ผมเคยพยายามจะเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ด้วย แต่ไฟล์ word ก็ยังคงค้างเติ่งที่ desktop ประจานความขี้เกียจของผมต่อไป
เมื่อ After Dark (ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มล่าสุดของมูราคามิ) ฉบับแปลไทยวางแผงเมื่อต้นเดือนสิงหา ผมจึงอยากทำตัว 'อินเทรนด์' กับเขาบ้าง ด้วยการอ่านหนังสือเล่มนี้จบลงโดยไว ผลออกมาน่าประทับใจมาก (จนเกินความคาดหมาย) เพราะผมอ่านหนังสือเล่มนี้จบภายในหนึ่งวัน ซึ่งถือเป็นความน่าปลื้มใจระดับได้เหรียญทองโอลิมปิกทีเดียวสำหรับคนที่ห่างหายจากการอ่านหนังสือไปนานอย่างผม (อย่างไรก็ดี After Dark หนาเพียง 160 หน้า)
เรื่องราวของ After Dark อาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ที่เล่าสลับไปมา (อันเป็นโครงสร้างที่มูราคามิใช้อยู่บ่อยครั้ง เช่นใน Hard-Boiled Wonderland and the End of the World หรือ Kafka on the Shore) ส่วนแรกว่าด้วยมาริ นักศึกษาวัย 19 ที่ไม่ยอมกลับบ้าน แต่นั่งอ่านหนังสือเล่มหนาอยู่ในร้านกาแฟ เธอได้พบกับผู้คนมากมาย ทั้งนักดนตรีหนุ่ม (ที่อ้างว่าเคยเจอกับเธอมาแล้ว), อดีตนักมวยปล้ำหญิงที่เป็นผู้ดูแลโรงแรมม่านรูด (แถมยังชื่อเก๋ไก๋ว่า Alphaville ตามหนังของ ฌ็อง-ลุค โกดาร์) ไปจนถึงพนักงงานโรงแรมที่มีอดีตอันลึกลับ ส่วนพล็อตที่สองเล่าถึง เอริ พี่สาวหน้าตาสวยของมาริ ซึ่งหลับใหลไปโดยไม่มีสาเหตุเป็นเวลาสองเดือนแล้ว
ในผลงานชิ้นนี้ดูเหมือนว่ามูราคามิจะทดลองโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ (สำหรับในงานของเขาเอง) อยู่อย่างน้อย 2 อย่าง แรกสุดคือ After Dark เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 'หนึ่งคืน' ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงหกโมงเช้าโดยประมาณ (แถมแต่ละบทยังมีนาฬิกากำกับบอกเวลาไว้เสียด้วย) กล่าวอีกแบบคือ เหตุการณ์ในเรื่องดำเนินไปในลักษณะ real time นั่นเอง ซึ่งก็น่าจะเน้นให้ผู้อ่านรู้สึกว่าถึงความสมจริงและมีความรู้สึกร่วมตามได้มากขึ้น (ในที่นี้ต้องแอบเล่าให้ฟังว่า ผมได้ทำเก๋ด้วยการเริ่มอ่านตอนเที่ยงคืน และอ่านจบในช่วงหกโมงเช้าแบบในหนังสือจริงๆ)
การทดลองอย่างที่สองเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในพาร์ตส่วนของเอริ (สาวนิทราคนนั้น) แทนที่มูราคามิจะใช้พรรณนาโวหารตามปกติ เขากลับให้เราสมมติตัวเองเป็นประหนึ่ง 'กล้องวงจรปิด' ที่แอบสอดส่ายสายตาลอบสังเกตการณ์ผู้อื่น (โดยในที่นี้คือ หญิงสาวที่กำลังนอนหลับอยู่) บางครั้งจนเรารู้สึกเหมือนถ้ำมองทีเดียว ต้องสารภาพว่าผมมีปัญหากับพล็อตส่วนนี้พอควร เพราะมันต้องใช้สมาธิและจินตนาการมากกว่าปกติ อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะจงใจหรือบังเอิญ มันก็การตอบรับต่อกระแสวัฒนธรรมทางสายตา (Visual Culture) อย่างรายการเรียลลิตี้หรือ youtube อย่างพอเหมาะพอดี (แต่ผมค่อนข้างแน่ใจว่ามูราคามิคงไม่นั่งดูรายการ Big Brothers เป็นแน่)
ถัดจากข้อสังเกตที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว หากพูดในแง่ความรู้สึก สิ่งที่ผมชอบใน After Dark คือ การเล่าเรื่องหลักผ่านมุมมองของตัวละครหญิง (ซึ่งเคยปรากฎมาแล้วใน Sputnik Sweetheart) ผมคิดว่ามูราคามิทำตรงนี้ได้น่าสนใจและลึกซึ้งพอสมควรทีเดียว ถึงแม้จะเห็นได้ชัดว่าการดึงอารมณ์ร่วมจากคนอ่านจะทำได้น้อยกว่ากรณีตัวละครเอกเพศชาย (ซึ่งมักเป็นเรื่องราวที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ของเขา หรือเป็นภาพแทนของผู้เขียน - ชัดที่สุดใน Norwegian Wood) แต่ต้องกล่าวตามตรงว่าระยะหลังมาผมก็รู้สึกอิ่มเอียนกับอะไร 'แมนๆ' ในหนังสือของเขาเหมือนกัน (อาทิ เช่น ชายหนุ่มกับลำลึงค์ขนาดยักษ์ ผู้มีลีลาเซ็กส์สุดสวิงสนั่นหวั่นไหว บลาๆๆๆๆ) อีกประการหนึ่งที่ผมชอบใน After Dark ก็คือตอนจบแบบปลายเปิด (ซึ่งจริงๆ ก็ปรากฏในงานของเขามาตลอด) พล็อตย่อยของตัวละครราว 5-6 ตัว ไม่ได้รับการคลี่คลายอย่างชัดเจน (อย่างที่ว่าไว้-หนังสือจับเหตุการณ์แค่หนึ่งคืนมาเล่าให้เราฟัง) มันทำให้รู้สึกว่าตัวละครเหล่านี้มีชีวิต และชีวิตของพวกเขาจะดำเนินต่อไป (ไม่ว่าจะในทางดีหรือเลวก็ตาม)
ธีมหลักของ After Dark ก็ยังคล้ายกับผลงานก่อนๆ ของมูราคามิ คือการพูดถึงมนุษย์ในระดับปัจเจกที่ล้มเหลวทางการสื่อสารอย่างสิ้นเชิง (เห็นได้ชัดที่สุดคือคู่พี่น้องสองสาว มาริกับเอริ ที่อยู่บ้านเดียวกัน แต่แทบไม่รู้จักตัวตนของอีกฝ่าย) ตัวละครนักดนตรีหนุ่มได้ให้ภาพของเรื่องนี้ไว้อย่างน่าขนลุกว่า "ผมนั่งคุยกับเธอ แต่รู้สึกว่าเสียงของผมไม่ไปถึงเธอ เธอไม่ได้ยินผมแม้แต่คำเดียว ผมเพิ่งรู้ตัวว่าอยู่ห่างกับเธอหลายร้อยไมล์" อาจเป็นเพราะเหตุการณ์ในหนังสือเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ (สันนิษฐานว่าเป็นโตเกียว) ขณะที่อ่านไปก็อดคิดถึงหนังของ มิเกลอันเจลโล อันโตนิโอนี่ ไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่อง The Eclipse (1962) ที่เล่าความสัมพันธ์อันเปราะบางของชายหญิงคู่หนึ่งที่แหลกสลายลงในที่สุด ตอนจบของหนังเรื่องนี้เป็นภาพของเมืองที่ไร้ผู้คนพร้อมกับการตัดสลับภาพตึกรามบ้านช่องอย่างรวดเร็วไปพร้อมกับเสียงดนตรีอันหลอกหลอน ราวกับจะบอกคนดูว่าความศิวิไลซ์ได้คร่า (และฆ่า) ความเป็นมนุษย์ไปจนหมดสิ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม After Dark ไม่ได้เลวร้ายขนาด The Eclipse ในระบบการสื่อสารที่พังทลาย ก็ยังมีมนุษย์สักคนที่พร้อมจะใส่ใจฟังพวกเขา ในที่นี้แสดงผ่านการที่ตัวละครต่างแลกเปลี่ยนเรื่องราว, อดีต หรือความลับซึ่งกันและกัน โดยที่เขาอาจจะเป็นคนแปลกหน้าที่เพิ่งรู้จัก (อย่างที่มาริกับพนักงานโรงแรมเล่าความลับสู่กันฟัง) หรือมันอาจเป็นเพียงการบอกกล่าวความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา (ตามที่นักดนตรีหนุ่มบอกกับมาริ) นี่คือการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่อาศัยปัจจัยเพียง 3 อย่างคือ ผู้ส่งสาร, ตัวสาร และผู้รับสาร แต่ก็ขาดอีกหนึ่งปัจจัยไม่ได้คือความใส่ใจที่จะ 'ฟัง'
แท้จริงแล้ว After Dark อาจจะพูดเรื่องง่ายๆ ว่าด้วยค่ำคืนหนึ่งที่ใครสักคนรู้สึกดำดิ่งลงเหวลึก จนไม่อาจทนทานพยุงตัวอีกต่อไป แต่ถ้าหากเขาได้ใครสักคนมารับฟัง มันก็อาจช่วยลดทอนความแน่นจุกอกในใจเขาได้บ้าง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นอาจไม่หายวับไปกับตา แต่มันอาจทุเลาลงได้บ้าง คนผู้นั้นจะผ่านพ้นค่ำคืนอันเลวร้ายไป พร้อมกับตระหนักได้ว่าไม่มีค่ำคืนใดที่ยาวเกินไป และไม่มีคืนใดที่เป็นนิรันดร์ เหมือนกับตอนหนึ่งของหนังสือที่ว่า
"รัตติกาลฉีกขาดสลายตัวไปในที่สุด เวลาจะเคลื่อนผ่านไปอีกระยะ จนกว่าความมืดครั้งถัดไปจะมาเยือน"
* No Night is Too Long เป็นชื่อนิยายปี 1994 ของ Ruth Rendell โดยเขียนใช้ชื่อ Barbara Vine
* ล่าสุด Norwegian Wood กำลังจะถูกทำเป็นหนังใหญ่แล้ว โดยผู้กำกับชาวเวียดนาม Tran Anh Hung อ่านข่าวได้ ที่นี่
* 18 สิงหาคม 2551 มีงาน "รวมพลคนอ่านและไม่อ่านงานมูราคามิ" รายละเอียดอ่าน ที่นี่
Create Date : 13 สิงหาคม 2551 |
|
33 comments |
Last Update : 13 สิงหาคม 2551 7:02:24 น. |
Counter : 4116 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: มนุษย์ผู้ซึ่งได้รับเมสเซจตอนเกือบแปดโมง IP: 125.24.126.137 13 สิงหาคม 2551 10:31:37 น. |
|
|
|
| |
โดย: nanoguy IP: 161.200.28.36 13 สิงหาคม 2551 13:31:19 น. |
|
|
|
| |
โดย: เอกเช้า IP: 124.120.182.2 13 สิงหาคม 2551 21:07:14 น. |
|
|
|
| |
โดย: ส้มโอ IP: 202.176.66.151 13 สิงหาคม 2551 23:42:53 น. |
|
|
|
| |
โดย: fonkoon 14 สิงหาคม 2551 11:12:18 น. |
|
|
|
| |
โดย: danaya IP: 58.8.51.158 14 สิงหาคม 2551 13:57:54 น. |
|
|
|
| |
โดย: บลูยอชท์ 14 สิงหาคม 2551 17:32:28 น. |
|
|
|
| |
โดย: เอกเช้า IP: 124.120.192.185 14 สิงหาคม 2551 18:32:36 น. |
|
|
|
| |
โดย: โณ IP: 125.25.137.191 15 สิงหาคม 2551 1:38:12 น. |
|
|
|
| |
โดย: พี่เหม่เหม IP: 124.121.116.236 15 สิงหาคม 2551 8:19:58 น. |
|
|
|
| |
โดย: grappa 15 สิงหาคม 2551 21:21:33 น. |
|
|
|
| |
โดย: เอิ้น IP: 58.8.16.12 16 สิงหาคม 2551 11:40:08 น. |
|
|
|
| |
โดย: หนวดฟู IP: 124.121.191.236 16 สิงหาคม 2551 17:20:00 น. |
|
|
|
| |
โดย: ฟ้าดิน 17 สิงหาคม 2551 22:48:18 น. |
|
|
|
| |
โดย: Kafka IP: 49.48.249.169 23 พฤษภาคม 2557 1:40:08 น. |
|
|
|
|
|
|
|
HYPOTHESIS
สมมติฐานและการทดลองของตุลพบ แสนเจริญ
ฉายวันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2551
เวลา 19.00 น. / BIOSCOPE THEATER
รายละเอียด
//thirdclasscitizen.exteen.com
- - - - - - - - - - - - -
5 สิ่งในใจตอนนี้
1. อินโคตรๆ กับดนตรีของ British Sea Power และ South Central
2. กำลังเกลียด Kim Ki Duk ได้ที่ (อันนี้วงใน 555)
3. ไม่ได้เข้าโรงหนังมา 26 วันแล้ว
4. กลัวงานน้องตุลพบจะไม่มีคนมา (ฮา)
5. พอใจกับความสัมพันธ์แบบอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ (รึป่าวนะ)