14 ธค 63 ครอบจักรวาล - Country mallow
เพลงน่ารักดี แม้ว่าชื่อเพลง ไม่ค่อยเป็นสิริมงคลสำหรับขาหุ้น แต่เพลงน่ารักดี..ชอบ
ภาพดอกไม้ที่ไม่รู้จักจากบนดอย เก็บภาพไว้ตั้งแต่ มค 63 กว่าจะรู้จักว่าต้นอะไรต้องใช้เวลาผ่านไปอีกนาน ทั้งดอยเห็นอยู่ต้นเดียว เดินบนดอย มีต้นไม้ดอกไม้แปลกๆ บางครั้งไม่กล้าเข้าใกล้สักเท่าไหร่ ถ้าไม่รู้จักต้นไม้บางชนิดอาจมีพิษ หรืออาจแพ้คันได้
ต้นนี้กว่าจะค้นหาชื่อพบเจอ ไม่ใช่ง่าย ต้องพยายามหาเบาะแส (clue) ต้นนี้พบจากเมล็ด ที่จำได้เป็นกล่องแฉกๆ ครั้งแรกคิดว่าเป็นพืชในกลุ่มชบา ตามหาเท่าไหร่ก็ไม่พบเจอ
แต่ต้นนี้ก็ไม่ Typical ที่จะเหมือน ครอบจักรวาลที่มีคนบันทึกไว้เสียทีเดียว เพราะดอกต้นนี้กลีบดอกมีริ้วสีม่วง น่าจะเป็น variation ของสายพันธุ์ เพราะต้นที่มีผู้บันทึไว้พบเจอทั่วไปจะเป็นสีเหลืองทั้งดอกไม่มีเส้นริ้วสีม่วง
เรื่องราวของครอบจักรวาล พืชสมุนไพรนี้มีผู้บันทึกประโยชน์ไว้มากมาย สมกับชื่อครอบจักรวาลซะจริงๆ แต่ก็ยังไม่เคยหรือกล้าทดลองใช้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abutilon indicum (L.) Sweet | ชื่อสามัญ : Country mallow, Indian mallow | วงศ์ : Malvaceae | ชื่ออื่น : ครอบ ครอบจักรวาฬ ตอบแตบ บอบแปบ มะก่องเข้า (พายัพ) ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช ) ครอบตลับ หญ้าขัดหลวง หญ้าขัดใบป้อม ขัดมอนหลวง | ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล ใบจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล ดอกจะโตประมาณ 2-3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง ผลนั้นจะมีลักษณะกลมเป็นกลีบๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ราก และเมล็ด เก็บในฤดูร้อนและฤดูหนาว ตัดทั้งต้น ล้างสะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้ | สรรพคุณ : -
ทั้งต้น - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน -
ราก - รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ -
เมล็ด - ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว วิธีและปริมาณที่ใช้ : -
ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก -
รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง -
เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง ตำรับยา : -
แก้ผื่นคัน เนื่องจาการแพ้ ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน -
แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล -
แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน -
แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน -
แก้คอตีบ ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A. Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda. Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน -
แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน -
ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ -
แก้บิดมูกเลือด ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร -
แก้ฝีฝักบัว ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล สารเคมี : -
ทั้งต้น มี Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids, น้ำตาล (พวก Flavonoid glycoside มี Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside) -
ใบ มี Mucilage, Tannins, Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline sulphates, Chlorides, magnesium phosphate และ Calcium carbonate -
ราก มี Asparagin -
เมล็ด มีไขมันประมาณ 5% fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3% Linoleic acid 26.67% Linolenic acid 6.8% Stearic acid 11.17% Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sitosterol) -
กากเมล็ด ประกอบด้วย Raffinose (C18 H32 O16) | | |
ต้นมะก่องข้าว หญ้าก่องข้าว ก่องข้าวก่องน้ำ หมากกระติ๊บ หมากกระตีบข้าว ปอบแปบ (พายัพ) ฟันสี ขัดมอญ ครอบจักรวาล ตอบแตบ โผงผาง (ไทย) บัวปัวเช่า, กิมฮวยเช่า (จีน) ต้นกะจ้ำ
การใช้ประโยชน์ (Ultilization ) : ต้น บำรุงโลหิต ขับลมช่วยย่อย เจริญอาหาร
ลักษณะ (Physical & Biological ) : ต้น ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสูง 0.5-2 ม. ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกม รูปโล่ รูปไข่กว้างหรือ คล้ายรูปหัวใจ กว้าง กว้าง 5-12 ซ.ม ผิวใบมีขนละเอียดดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบ ดอกสีเหลืองผล ผลแห้ง แตกได้ มีขน แบ่งเป็น 15-20 ครีบ
สรรพคุณ : ต้น บำรุงโลหิต ขับลม ช่วยย่อยและเจริญ อาหารราก แก้โรคเกี่ยวกับลมละดี บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้ไข้ ผอมเหลือง ใบหรือทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้เบาหวาน ขับปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กกดอก ฟอกล้างลำไส้ให้สะอาด ใบ พอกบ่มหนองให้สุกและแตกเร็ว ขึ้น แก้ปวดฟันและแก้โรคเหงือกอักเสบ ล้างแผล
มะก่องข้าว ต้นครอบจักรวาล : แก้สารพัดโรค
ชื่ออื่นๆ : ครอบฟันสี มะก่องข้าว ตอบแตบ บอบแปบ ก่อนเข้า โผงผาง หญ้าขัดหลวง หมากก้นจ้ำ ฯลฯ สรรพคุณทางยานั้นสมชื่อครอบจักรวาลรักษาสารพัดโรค อาทิ บำรุงโลหิต ขับลม ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้โรคลม บำรุงธาตุ แก้ไอ บำรุงกำลัง แก้เบาหวาน แก้ปัสสาวะอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกอักเสบ ฯลฯ
วิธีใช้ : – แก้เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ใช้ใบสดขยี้อุดฟันบริเวณที่ปวดหรือเหงือกอักเสบ – แก้ผื่นคัน เนื่องจากการแพ้ ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน – แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล – แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน – แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน – แก้คอตีบ ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงูสด กับรากว่านหางช้างสด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน – แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน – แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ – แก้บิดมูกเลือด ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร – แก้ฝีฝักบัว ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล – แก้เบาหวาน ใช้ทั้งต้นผสมกับต้นไมยราบ อย่างละเท่าๆ กัน หั่นให้เป็นฝอย ตากแดดให้แห้ง คั่วไฟอ่อนๆ ต้มน้ำดื่มหรือชงชา – แก้เบาหวาน เอายอดสด ยาว 1 คืบ 15 ยอด ต้มกับน้ำ 6 แก้วจนเดือดดื่มขณะอุ่นจนหมดในวันเดียว ดื่มติดต่อกันทุกวัน 2-3 อาทิตย์ แก้เบาหวานได้ – แก้เบาหวาน ใช้ต้นทั้งห้า (ใช้ทั้งต้นประกอบด้วย ราก ต้น ใบ ดอก ผล) ต้มดื่ม – แก้โรคลมบ้าหมู หรือโรคลมชัก เอาทั้งต้นรวมรากต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มขณะอุ่นวันละ 2-3 ครั้งทุกวัน – ขับปัสสาวะ รักษาอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอยและต้านเชื้อแบคทีเรีย ใช้ต้นทั้งห้า (ใช้ทั้งต้นประกอบด้วย ราก ต้น ใบ ดอก ผล) ต้มดื่ม
Create Date : 14 ธันวาคม 2563 |
Last Update : 14 ธันวาคม 2563 19:51:56 น. |
|
9 comments
|
Counter : 1049 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 ธันวาคม 2563 เวลา:20:02:22 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 ธันวาคม 2563 เวลา:20:09:50 น. |
|
|
|
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 14 ธันวาคม 2563 เวลา:20:38:54 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 14 ธันวาคม 2563 เวลา:23:42:54 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 15 ธันวาคม 2563 เวลา:6:19:21 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 ธันวาคม 2563 เวลา:6:28:34 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 ธันวาคม 2563 เวลา:10:42:37 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 17 ธันวาคม 2563 เวลา:12:24:04 น. |
|
|
|
|
|