พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
Review CoQ10 part 1



โคคิวเทน (CoQ10)

โคเอนไซม์คิวเทน (CoenzymeQ10) หรือที่เราเรียกกันสั้นว่า โคคิวเทน (CoQ10) นั้น เป็นที่รู้จักในในชื่ออื่นอีกหลายชื่อ เช่น ยูบิควิโนน (Ubiquinone) , ยูบิเดคาริโนน (Ubidecarenone) , Coenzyme Q เป็นต้น โคคิวเทน (CoQ10) จัดเป็นสารพวกวิตามินหรือคล้ายวิตามิน ซึ่งมีอยู่ทุกเซลล์ของร่างกายจริงๆแล้ว ยูบิควิโนน เป็นอนุพันธ์อย่างหนึ่งของเบนโซควิโนน พบได้ในไมโตคอนเดรียของสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป แต่ยูบิควิโนนที่พบมากที่สุดก็คือ โคคิวเทน (CoQ10)

โคคิวเทนถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1957 ว่าเป็น โคเอนไซม์ที่จำเป็นตัวหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่เป็น ตัวร่วมจุดประกายการเกิดปฎิกิริยาเคมีที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงาน ของไมโตคอนเดรียแห่งเซลล์ของกล้ามเนื้อผู้วิจัยที่นำเสมอให้เข้าใจ ในบทบาทของโคคิวเทนได้รับรางวัลโนเบล ในปี ค.ศ. 1978

ประโยชน์ที่จะได้รับจากโคคิวเทน (CoQ10)


1. สร้างพลังงานในระดับเซลล์ โดยที่ โคคิวเทน (CoQ10) เปรียบเสมือนหัวเทียนจุดประกาย เครื่องยนต์เริ่มทำงาน โมเลกุลพลังงานนั้น ชื่อว่า ATP เป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นมาได้ ATPase หรือ ATP Reductase ก็เปรียบเสมือนน้ำย่อย หรือ enzyme ในกระบวนการสร้างเซลล์พลังงาน ATP โคคิวเทน (CoQ10) เป็นตัวจุดประกายให้ enzyme เริ่มเดินเครื่อง จึงเรียกว่า Coenzymeซึ่งเซลล์พลังงาน (ATP) เหล่านี้สร้างขึ้นทั้งภายในและภายนอกไมโตคอนเดรีย แต่สร้างภายในไมโคคอนเดรียมากกว่าเซลล์หัวใจแต่ละเซลล์จะพบไมโตคอนเดรียอยู่ 1000 – 2000 หน่วย ซึ่ง เจ้าไมโตคอนเดรียนี่แหละที่เป็นตัวสร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อหัวใจมีแรงบีบตัวทั้งวันทั้งคืน วันละกว่า 100,000 ครั้ง หรือกว่า 36,000,000 ครั้งในแต่ละปี

2. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ โคคิวเทน (CoQ10) จะกระจายรายรอบเยื้อหุ้มเซลล์เพราะเป็นสภาวะไขมัน ซึ่ง โคคิวเทน (CoQ10) ละลายได้ดี โดยจะปกป้องเยื้อหุ้มเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายเสียหายจากอนุมูลอิสระ หรือ Oxdative Stress อันจะก่อให้เกิดโรคแห่งความเสื่อมทั้งหลาย ซึ่ง โคคิวเทน (CoQ10) เป็นสาร Antioxidant ที่แรง บ้างก็ว่าแรงกว่าวิตามินอีซะด้วยซ้ำ ก็ยังเป็นเป็นที่กังขาว่า โคคิวเทน (CoQ10) จะมีประสิทธิภาพเหนือวิตามินอีหรือไม่ ประการใด

แต่ที่แน่นอนก็คือ บทบาทของ โคคิวเทน (CoQ10) ในกระบวนการขนส่งประจุไฟฟ้าลบที่เกิขึ้นในไมโตคอนเดรีย จึงเป็นการเพิ่มมิติให้กับสารชนิดนี้ คือ ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อเปรียบเทียบกับสาร Antioxidant อื่นๆ

ในปัจจุบันเมื่อคุ้มกันเยื้อหุ้มเซลล์ได้ ก็คือปกป้องไมโตคอนเดรีย และ DNA ได้ด้วย รหัสพันธุกรรมของเซลล์ก็ย่อมปลอดภัย จากการที่มี โคคิวเทน (CoQ10) เพียงพอ ไม่เสื่อมหรือแก่ตัวเร็ว หรือ กลายเป็นมะเร็ง

ภาวะต้านอนุมูลอิสระที่เห็นชัดๆ อีกที่หนึ่งคือ ในผนังหลอดเลือด ที่คอยปกป้อง LDL ที่จะเข้าสู่ชั้นในของผนังเส้นเลือด เพื่อทำการสร้างเยื้อบุผิวโคคิวเทน (CoQ10) หรือสารต้านอนุมูลอิสระทั้งหลายจะคอยดักจับอนุมูลอิสระ หรือ Oxidative Stress ไม่ให้ไปทำร้าย LDL (ป้องกันการเปลี่ยน LDL ไปเป็น LDL ที่เป็นพิษ อันจะทำให้เกิดกระบวนการที่แมคโครฟาจ ต้องมากลืนกิน พอกินมากๆเข้า แมคโครฟาจก็จะกลายเป็นโฟมเซลล์ จับอยู่ที่ผนัง เกิดก้อน Plaque อุดตันหลอดเลือด รอการตีบตัน จนแตกตู้ม ก่อให้เกิดความเสียหายอันใหญ่หลวง ถ้าเป็นน้อยๆก็ เจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด น้ำท่อมปอดจากหัวใจไม่ทำงาน กล้ามเนื้อหัวใจพิการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นมากๆ ก็คือตายทันที)

นอกจากนั้นยังส่งผลมาที่ผิวด้วย โดย โคคิวเทน (CoQ10) จะช่วยป้องกัน Langerhans cell หรือ Melanocyte , fibroblast เป็นต้นคิดดูดิ ว่าโคคิวเทน (CoQ10) นั้นจำเป็นและต้องใช้ปริมาณมากมายแค่ไหน

3. บทบาทขอ โคคิวเทน (CoQ10) ในแง่ของการักษาโรค

3.1. โรคหัวใจจากผลการทดลอง ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยจัดให้ผู้ป่วยได้รับ โคคิวเทน (CoQ10) เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ระดับพลาสม่า โคคิวเทน (CoQ10) สูงขึ้น 3 เท่า ดัชนีวัดค่าควาสมหนาผนังกล้ามเนื้อหัวใจ (Systolic wall thickening score index) สูงขึ้นทั้งในส่วนของ rest and peak dobutamine stress echo โดยสูงขึ้น 12.1% และ 15.6% ตามลำดับ

3.2. โรคความดันโลหิตสูงในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดย Dr.Langsjoen ผู้ป่วยร้อยละ 51 มีอาการดีขึ้น มี Diastolic pump มากขึ้น จนหยุดยากลดความดันโลหิตได้ ภายใน 4 เดือนหลังจากการใช้ โคคิวเทน (CoQ10) โดยเป็นการช่วยลดความดันไดแอสโตลิค ซึ่งน่าจะอธิบาย กลไกได้ว่า เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับ โคคิวเทน (CoQ10) แทนจนไม่เกิดอาการขาด คือ ทุกไมโตคอนเดรียของเซลล์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ การหดตัวของหัวใจห้องบน (Atrium) ย่อมดีขึ้นด้วย ทำให้หัวใจห้องขวาบน บีบเลือดลงสู่ห้องล่างได้มากขึ้น ส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดดำลดลง มีผลให้เลือดแดงซึมถ่ายเทผ่านเนื้อเยื้อได้สะดวกขึ้น เป็นการลดปริมาณเลือดในหลอดเลือดแดง

ความดันขณะหัวใจห้องล่างคลายตัวจึงลดลง  ด้วยอีกคำอธิบายหนึ่งของกลไกการลดความดันโลหิตด้วย โคคิวเทน (CoQ10) คือ อธิบายด้วย Acetyl choline กับ Adrenaline ซึ่ง ทั้ง Acetyl choline กับ Adrenaline ก็ออกฤทธิ์แรงพอๆกัน คือ ทำให้ร่างกายมีพลังมหาศาลชั่ววูบ เช่น ออกแรงวิ่ง ยกของหนัก ผลักสิ่งกีดขวางได้เกินกำลังปกติ ซึ่งปัจจัยอีกสิ่งหนึ่งก็คือ จิตใจ หรือ อารมณ์

ในยามอารมณ์สงบ จิตใจดี Acetyl choline หรือ Adrenaline จะเป็นตัวหลั่ง ทำให้แรงดีกระปรี้กระเปร่า รับสิ่งเร้าอย่างสร้างสรรค์ ความดันไม่ขึ้น แต่ในยามไม่สบอารมณ์ หรือ ตกใจ Adrenaline ก็จะหลั่ง ทำให้เกิดพลังชั่ววูบ และเป็นช่วงเวลาที่ความดันเลือดสูงขึ้นมาด้วย

เนื่องจาก โคคิวเทน (CoQ10) เป็นผู้ร่วมก่อสร้าง Acetyl choline จากสารตั้งต้นคือ Choline พอขาดโคคิวเทน (CoQ10) ก็ทำให้ขาด Acetyl choline ทำให้ตัวควบคุมความดันอย่าง Adrenaline ออกฤทธิ์โดด คือ ความดันขึ้น พอได้ปัจจัยต้านก็กลับมาดีขึ้นไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร ผลวิจัยที่รายงานไว้ คือ โคคิวเทน (CoQ10) สามารถลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยสำคัญอีกบทบาทหนึ่งของ โคคิวเทน (CoQ10) ก็คือบทบาทในฐานะ Antioxidant โดยช่วยลดพิษ ต้าน Oxidative Stress ที่จะมากกระทำต่อ LDL

เช่นเดียวกับ โอพีซี กลูตาไธโอน ในกรณีนี้ โอพีซีหรือ โคคิวเทน (CoQ10) ไม่ได้เป็นตัวลดความดันเลือดโดยตรง แต่เป็นตัวที่มีบทบาทไปปกป้องปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตีบแข็งของหลอดเลือด ทำให้ความดันเลือดลดลงนั่นเอง (ภาวะที่หลอดเลือดตีบแข็ง = ไม่ยืดหยุ่นน  ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

3.3.โรคธาลัสซีเมียสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผลการทดลองของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า การได้รับ โคคิวเทน (CoQ10) เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน ติดต่อกัน จะช่วยลด Oxidative Stress ทำให้การต้านอนุมูลอิสระ ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

3.4. เหงือกอักเสบ มีรายงายถึงผลตอบรับที่ดีต่อ โคคิวเทน (CoQ10) เนื่องจากหลอดเลือดที่เหงือกกับหัวใจ ต่อตรงถึงกันได้ ภาวะผิดปกติที่หัวใจ จึงมาปรากฎที่เหงือกด้วย

3.5. ผลข้างเคียงจากยาลดไขมัน (Statin)นอกเหนือไปจากบทบาทในการักษาโรคหัวใจแล้ว โคคิวเทน (CoQ10) ยังจำเป็นต่อผู้ได้รับยาลดไขมัน หรือยาลดระดับ คอเลสเตอรอลในเลือด เพราะยาลดไขมันมักหยุยั้งกระบวนการสร้าง โคคิวเทน (CoQ10) ก่อให้เกิดภาวะขาด โคคิวเทน (CoQ10) อย่างรุนแรง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดไขมัน (statin drug therapy) มักพบอาการข้างเคียงต่างๆ ไม่ว่าเจะป็นอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า (fatigue) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (myalgia) หายใจติดขัด หายใจลำบาก (dyspnea) ความจำเสื่อม (memory loss) หรืออาการชา ( peripheral neuropathy)

แต่เมื่อได้รับ โคคิวเทน (CoQ10) เพิ่มเติม ในปริมาณ 240 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 12-22 เดือน พบว่า โคคิวเทน (CoQ10) สามารถช่วยลดอาการข้างเคียงต่างๆได้อย่างน่าพึงพอใจจากเดิมที่พบว่ามีอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า จาก 84% ลดเหลือเพียง 16%อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลด จาก 64% ลดเหลือเพียง 6%อาการหายใจลำบาก จาก 58% ลดเหลือเพียง 12%ความจำเสื่อม จาก 8% ลดเหลือเพียง 4% อาการชา จาก 10 % ลดเหลือเพียง 2%

นอกจากอาการซึมเศร้าแล้วเค้าพึ่งจะค้นพบโรคแทรกซ้อนจาก Statin คือ กล้ามเนื้อ
พิการ กล้ามเนื้อลีบ อ่อนระโหยโรยแรง ที่เป็นอย่างนี้เพราะขาดพลังงานจาก ATP ดังนั้นจึงโยงไปถึง โคคิวเทน (CoQ10) นั่นเองและก็เป็นที่พิสูจทราบได้แน่ชัดแล้ว เนื่องจากพอให้ผู้ป่วยกิน โคคิวเทน (CoQ10) เสริม อาการเหล่านี้ก็หายไป แรงกายก็ดี จิตใจก็หายเศร้า

แพทย์โรคหัวใจ และหลอดเลือด ส่วนใหญ่จะรู้จักมักคุ้นกับ โคคิวเทน (CoQ10) เป็นอย่างดีทำไมกินยาลดไขมัน Statin แล้วต้องเสริม โคคิวเทน (CoQ10) ก็เพราะว่า การสร้างคอเลสเตอรอลและ โคคิวเทน (CoQ10) ต้องใช้เอนไซม์ตัวเดียวกัน นั่นก็คือ Acetyl choline reductase ทีนี้ถ้าเราไปกดการสร้าง Cholesterol ก็ต้องไปลดเอนไซม์ Acetyl cline reductase จึงจะสำเร็จ ก็เพราะเหตุนี้นี่เองที่ทำให้ร่างกายผลิต โคคิวเทน (CoQ10) ไม่ได้ด้วย เราทราบว่า Acetyl Choline เป็น enzyme ฝ่ายดี ที่ทำให้กระปรี้กระเปร่า พอขาดไป ผลก็คือ เซื่องซึม ซึมเศร้า ความดันขึ้น

ซึ่งก็เป็นผลมากจากการกิน Statin อย่างต่อเนื่องใช้รักษาร่วมกันมะเร็งมีรายงานผลการศึกษา พบว่ามะเร็งเต้านมหดตัวเล็กลง สัมพันธ์กับปริมาณของโคคิวเทนที่ใช้รักษา สรุปว่าการให้ โคคิวเทน (CoQ10) ขนาด 90 -390 มก. ต่อวันมีผลให้คนไข้มะเร็ง 3 คน หายสนิท และการกระจายของมะเร็งไปยังตับก็ระงับไปด้วย

แพทย์มักแนะนำ โคคิวเทน (CoQ10) ร่วมกับการฉีดยาคีโม หรือยาต้านมะเร็ง เช่น ยารักษามะเร็ง ที่ชื่อ Adria mycin โดย โคคิวเทน (CoQ10) ช่วยลดพิษของยาลงได้ จึงไม่แปลกใจที่พบว่าคนไข้ทาลัสซีเมีย ตลอดจน ลิวคีเมีย ล้วนต้องกินโคคิวเทน (CoQ10) เสริมอย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้ ยังมีข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับโรคมะเร็งและโคคิวเทน (CoQ10) น้อยมาก แต่ที่รู้แน่นอน ก็คือ คนไข้มะเร็งทุกรายจะมีระดับโคคิวเทน (CoQ10) ในเลือดต่ำว่าค่ามาตรฐาน

3.6. โรคที่เกี่ยวกับเซลล์สมองเสื่อม เซลล์สมองก็มากด้วยไมโตคอนเดรีย เพราะต้องการพลังงานมาก เช่นเดียวกับหัวใจและตับ ที่ใดมีไมโตคอนเดรียมาก ก็จำเป็นต้องมีโคคิวเทนร่วมจุดประกายปริมาณมากด้วย  อีกทั้ง โคคิวเทน (CoQ10) ยังเป็นตัวคอยต้านอนุมูลอิสระรอบๆเยื้อหุ้มเซลล์ ไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายดี DNA แน่นอนว่า หากขาด โคคิวเทน (CoQ10) แล้วไซร้ ไมโตคอนเดรียก็จะสูญเสียผู้ปกป้อง ทำให้เกิดการทำลายไมโตคอนเดรีย สมองที่เดิมต้องการพลังงานจากไมโตคอนเดรียอยู่แล้ว ก็เลยขาดพลังงาน ทำให้สมองทั้งล้าและเสียหาย มากๆเข้า ก็แสดงผลออกมาเป็นโรคสมองเสื่อม

ารศึกษาพบว่า โคคิวเทน (CoQ10) สามารถชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองที่เกิดจาก Oxidative Stress โดย โคคิวเทน (CoQ10) จะทำหน้าที่ Stabilizing mitochondria membrane ด้วยเหตุนี้ โคคิวเทน (CoQ10) จึงเป็นทางเลือกของการรักษาผู้ป่วยในโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม อันได้แก่ พาร์กินสัน , Friedreich’s Ataxia เป็นต้น

***โรคพาร์กินสัน (Parkinson) ลักษณะของคนที่เป็นโรคนี้ ก็คือ มือสั่น เดินส่าย ซึ่งทางพยาธิวิทยา พบว่า เซลล์สมองเสื่อมแปรผันไปตลอดเวลา หากหยุดยั้งกระบวนการเสื่อมไม่ได้ อาการของโรคก็จะลุกลามไปเรื่อยๆ  โคคิวเทน (CoQ10) จำเป็นในการบวนการทำงานของไมโตคอนเดรียของเซลล์สมอง จึงเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อต้านอาการเสื่อมของสมองในการประชุมสมาคมแพทย์ประสาทสหรัฐ เมื่อเดือนตุลาคม 2545 มีมติให้ใช้ โคคิวเทน (CoQ10) เป็นอาหารเสริมสำหรับโรคพาร์กินสันหากเป็นการรักษา แพทย์จะให้ใช้ขนาดสูงถึงวันละ 300 – 1200 มก. โดยแบ่งกินเป็น 4 มื้อ

3.7. ใช้เป็นวิตามินในการ เผาผลาญไขมันระดับเซลล์ (Cellular burn) ในการลดความอ้วนและต้านอนุมูลอิสระ

3.8. เป็น Antioxidant ช่วยให้ผิวสดใส ชะลอวัย

3.9. ในปี 2547 นักวิจัยจากบริษัท Thomas Jefferson เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา รายงานผลการศึกษาว่า มีหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าโรคไมเกรน อาจจะเกิดจากไมโตคอนเดรียในเซลล์สมองเสียหาย และพบว่าการได้รับ โคคิวเทน (CoQ10) อาจจะช่วยป้องกันไมเกรนได้และในปี 2549 US-FDA ยินยอมให้ใช้ โคคิวเทน (CoQ10) เป็นยาป้องกันโรคพาร์กินสัน

โทษที่ได้รับจากโคคิวเทน (CoQ10)

ข้อห้ามใช้

- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ Coenzyme Q10 หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ข้อควรระวัง

- ระวังการใช้ในผู้ป่วยทางเดินน้ำดีอุดตัน

- ระวังการใช้ร่วมกับยาลดไขมันในเลือด (ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดจะมีระดับต่ำในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง) และ HMG-CoA reductase inhibitors อาจมีผลยับยั้งการสร้างของ Coenzyme Q10 โดยธรรมชาติ เนื่องจาก HMG-CoA reductase ช่วยในการสร้าง Coenzyme Q10

- ระวังการใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากยาอาจไปยับยั้งผลของ Coenzyme Q10 ที่ได้รับเข้าไป

- ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจจะทำให้ลดความต้องการ insulin - ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ตับและไตทำงานผิดปกติ เพราะอาจจะเกิดการสะสมของ Coenzyme Q10 ในเลือดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

 - ผลต่อผิวหนัง: ผื่นแดงและคัน (< 0.5%) - ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องเสีย จุกแน่นท้อง และลดความอยากอาหาร (< 1%) - ผลต่อระบบเลือด: พบ thrombocytopenia (ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ) 1 รายในผู้ป่วยที่ใช้ยา 16 รายในหนึ่งการศึกษา

- ผลต่อตับ: พบอาจเกิดความเป็นพิษต่อตับ โดยพบมีรายงานการเพิ่มขึ้นของระดับ aminotransferases ในเลือดในระดับต่ำ เมื่อมีการใช้ยาในขนาดสูง มีพบการใช้ในขนาด 300 mg ต่อวัน

- ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง: ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ พบน้อย

- ผลต่อตา: มีรายงานการเกิด photophobia (อาการกลัวแสง) ในระหว่างการใช้ Coenzyme Q10 ได้  แต่พบน้อย  Drug interaction Coenzyme Q10 - Antithrombin III Human, Heparin, Warfarin: ลดผล anticoagulant effect มีรายงานการทำให้ระดับ INR ลดลง

ในการใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin อยู่ เนื่องจาก Coenzyme Q10 และ vitamin K2 มีโครงสร้างเหมือนกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ร่วมกัน รายการยาที่มีรายงานการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันกับ Coenzyme Q10 ได้แก่ Acenocoumarol, Ancrod, Anisindione, Antithrombin III Human, Bivalirudin, Danaparoid, Defibrotide, Dermatan Sulfate, Desirudin, Dicumarol, Fondaparinux, Heparin, Pentosan, Polysulfate Sodium, Phenindione, Phenprocoumon, Warfarin

สรุปแล้ว Coenzyme Q10 มีความปลอดภัยสูงมาก แทบจะไม่พบพิษ หรือ พบอาการข้างเคียงใด้น้อยมาก (ถึงแม้ผลการวิจัยจะบ่งชี้ว่ามีผลข้างเคียง แต่กลุ่มการทดลองใหญ่มาก จนแทบไม่ต้องคำนึงผล)หมายเหตุ

- สำหรับการใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงยังมีข้อมูลจำกัด มีผู้ป่วยที่เป็น essential hypertension 26 รายได้รับ Coenzyme Q10 ขนาด 50 mg วันละ 2 ครั้ง หลังจาก 10 สัปดาห์ของการรักษาผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยของ systolic blood pressure ลดลงจาก 164.5 เป็น 146.7 mmHg และค่าเฉลี่ย diastolic blood pressure ลดลงจาก 98.1 เป็น 86.1 mmHg
การลดลงของระดับความดันโลหิตเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการลด peripheral resistance แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับ rennin ในเลือด, ระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือดหรือในปัสสาวะ

- การใช้ Coenzyme Q10 เสริมในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ยังมีข้อมูลจำกัด ผลการใช้ Coenzyme Q10 ร่วมกับ HMG-CoA reductase inhibitors ผลพบว่าจะทำให้ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีผลลดระดับไขมันในเลือด

- มีการศึกษาแบบ Open, uncontrolled trial การใช้ใน Male infertility รับประทาน Coenzyme Q10 ขนาด 100 mg วันละ 2 ครั้ง จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของ sperm แต่จะไม่เพิ่มระดับความเข้มข้นของ sperm หรือ morphology in infertile men with idiopathic asthenozoospermia จากการติดตามการใช้นาน 6 เดือน

- การใช้ใน pulmonary fibrosis พบ Coenzyme Q10 ช่วยเพิ่ม pulmonary function แต่ยังมีข้อมูลจำกัด โดยในการศึกษาใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วย COPD 21 ราย และ 9 รายในผู้ป่วย Idiopathic pulmonary fibrosis (IPF) ยาขนาด 90 mg ต่อวัน นาน 8 สัปดาห์

- การใช้ใน ventricular arrhythmia ยังมีข้อมูลจำกัด

ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับโคคิวเทน (CoQ10)


1. โคคิวเทน (CoQ10) ไม่ได้ให้พลังงานโดยตรงต่อร่างกาย แต่เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นในการเริ่มปฎิกิริยาเคมี เพื่อสร้างพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานตลอดเวลาไม่ว่ายามตื่นหรือหลับ จากการศึกษากว่า 25 ปีในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ทำการศึกษาล้วนมีภาวะขาดโคคิวเทน (CoQ10) ที่รุนแรง ซึ่งเมื่อได้รับ โคคิวเทน (CoQ10) ปริมาณที่เพียงพอ ก็สามารถฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างได้ผล

2. ประมาณ 95% ของปฎิกิริยาพลังงานในร่างกาย ล้วนเกิดจากบทบาทของ โคคิวเทน (CoQ10)

3. จากบทบาท / กลไก ในกล้ามเนื้อเรียบ ยังใช้ช่วยอธิบายในกรณ๊หายใจลำบาก หายใจแล้วเหนื่อย ว่าอาจมีภาวะขาด โคคิวเทน (CoQ10) ร่วมด้วย

4. คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของ โคคิวเทน (CoQ10) ทำให้วงการแพทย์นำ โคคิวเทน (CoQ10) มาใช้ร่วมในการรักษาโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง ได้แก่ โรคทาลัสซีเมีย และ โรคเซลล์สมองเสื่อมต่างๆ เช่น พาร์กินสัน เป็นต้น

5. โคคิวเทน (CoQ10) ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยคงไว้ซึ่งเยื้อหุ้มเซลล์

6. โคคิวเทน (CoQ10) ถูกจัดเป็น Potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอย

7. ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดโคคิวเทน (CoQ10) มากจนเกินไป จะส่งผลให้ปริมาณเซลล์ที่ไม่ทำงานมีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงระดับหนึ่งย่อมไม่บีบตัว ไม่ยอมทำงาน เซลล์ที่เหลือก็จะปรับตัวให้บีบตัวถี่ขึ้น หัวใจจึงเต้นเร็ว หรือ เต้นผิดจังหวะ จนส่งผลให้ไม่มีแรงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้วัดชีพจรดูแล้ว จะเห็นว่าเต้นเร็วแต่เบา รู้สึกว่าใจสั่น แต่อาจจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นแรง ก็เพราะหัวใจบีบตัวผิดจังหวะ หรือไม่ราบเรียบนั่นเอง อาจจะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องด้วยเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ และอาหจจะรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ก็เพราะขาดเลือด อาจจะเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง เจ็บหน้าอก หายใจเหนื่อย เป็นต้น

8. การขาด โคคิวเทน (CoQ10) ทำให้เกิดริ้วรอย เนื่องจากเซลล์ผิวหนังและกล้ามเนื้อ ชำรุดทรุดโทรมไป

9. โภชนาการที่ไม่ดีก็ทำให้ขาด โคคิวเทน (CoQ10) ได้เนื่องจาก โคคิวเทน (CoQ10) สร้างจากกรดอะมิโนที่ชื่อ Tyrosine โดยต้องใช้วิตามินและเกลือแร่อีกหลายชนิด (ใช้วิตามิน 7 ชนิดและ แร่ธาตุอีกหลายรายการ) เข้าร่วมปฎิกิริยา ดังนั้น หากขาดสารอาหาร ก็ย่อมขาดปัจจัยการสร้าง จึงเกิดอาการพร่อง โคคิวเทน (CoQ10) ได้

10. ภาวะการขาด โคคิวเทน (CoQ10)

อาจจะเกิดได้จาก

1. การได้รับปริมาณ โคคิวเทน (CoQ10) จากอาหารไม่เพียงพอ

2. ความบกพร่องของกลไกการสร้าง โคคิวเทน (CoQ10) ในร่างกาย

3. ภาวะที่มีการใช้ โคคิวเทน (CoQ10) มากเกินปกติ เช่น ตอนที่ออกกำลังกายมากเกินไป ภาวะช็อคหรือมีกระบวนการเผาผลาญพลังงงานมากผิดปกติ (Hypermetabolism)

11. โดยปกติแล้วร่างกายจะสร้าง โคคิวเทน (CoQ10) ได้เอง แต่ความสามารถนี้จะลดลง เมื่ออายุ 21 ปีขึ้นไป ในขณะที่ความต้องการ โคคิวเทน (CoQ10) ของร่างกาย กลับไม่ได้ลดลงเลย

12. ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ก็ได้หลักฐานสนับสนุนคุณประโยชน์ของ โคคิวเทน (CoQ10) ในด้านต่างๆ โคคิวเทน (CoQ10) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จากวงการแพทย์ว่ามีบทบาทร่วมรักษาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke) โดยพบว่า เมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ได้รับโคคิวเทนอย่างต่อเนื่อง กล้ามเนื้อหัวใจที่ทรุดโทรมจะสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ และทำงานได้ดีขึ้น ภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น อาการใจสั่น เหนื่อยล้า เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

13. โคคิวเทน (CoQ10) มีมากในน้ำมันถั่วเหลือง ปลาทะเล เนื้อสัตว์ ถั่วลิสง และ ผักโขม เป็นต้น แต่ความร้อนจากการปรุงอาหารก็อาจจะทำให้ โคคิวเทน (CoQ10) เสื่อมสลายไปได้

14. การกินอาหารปกติ เราจะได้รับ โคคิวเทน (CoQ10) ประมาณ 3 – 5 mg เท่านั้น ที่เหลือร่างกายต้องผลิตเอง ปัญหาก็คือ รางากยผลิตได้หรือป่าว ??

15. จริงๆแล้ว โคคิวเทน (CoQ10) มีอยู่ในผักโขมทั่วๆไป แต่การจะได้ โคคิวเทน (CoQ10) 30 มก. จะต้องกินผักโขม 5 ชามสลัด ซึ่งเป็นไปได้ยากมากๆๆ

16. โคคิวเทน (CoQ10) ที่นำมาเป็นอาหารเสริม ผลิตจากยีสต์ โดยนำยีสต์มาสกัด โคคิวเทน (CoQ10) ได้

17. มีความหวังว่า โคคิวเทน (CoQ10) นาจะเป็นกองหน้าแห่งยุค ของการปฐมพยาบาลในระดับเซลล์ หรือ เป็นสารหลักในการต่อต้านโรคภัย ด้วยวิถีทางชีวเคมีภายในเซลล์ ยังมีความคืบหน้าเมื่อพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านมะเร็ง Adriamycin iวมถึงผู้ป่วยโรคเอดส์ มักมีภาวะขาด โคคิวเทน (CoQ10) ร่วมด้วยDr.Langjoen กล่าวว่า “สำหรับคนปกตินั้นอาจเป็นค่าโง่ ในการกิน โคคิวเทน (CoQ10) เพื่อป้องกันการขาด (ด้วยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประโยชน์จริงหรือไม่เพียงใด) แต่น่าจะโง่ยิ่งกว่า หากผู้ป่วยที่พร่อง โคคิวเทน (CoQ10) แล้วไม่หาเติมเข้าไป

โคคิวเทน (CoQ10) ที่ควรเลือกซื้อ

1. ขนาดแนะนำทั่วไปคือ 20 – 30 มก. ต่อวัน

2. หากใช้ในการป้องกันหรือเสริมการรักษา แนะนำ 100 -300 มก. ต่อวัน

3. เนื่องจาก โคคิวเทน (CoQ10) ละลายในไขมันได้ดี จึงควรกินพร้อมอาหาร เพื่อให้ดูดซึมได้ดี และควรกินต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป จึงจะเห็นผล

4. โคคิวเทน (CoQ10) มีทั้งชนิดกินและทา โดยที่ชนิดทานั้นหากดูดซึมได้ดีก็จะเป็นการออกฤทธิ์เฉพาะที่ แต่หากเป็นแบบกิน โคคิวเทน (CoQ10) ก็จะไปถึงเซลล์ทุกเซลล์ บางคนทักกันด้วยความแปลกใจ เพราะกิน โคคิวเทน (CoQ10) เพื่อป้องกันการเหนื่อยล้า แต่ถูกทัก่าหน้าเด้งหน้าใส

5. โคคิวเทน (CoQ10) มีทั้งชนิด สังเคราะห์ และ สารสกัดจากธรรมชาติ คำถามก็คือ แล้วจะเลือกแบบใหนดี เนื่องจาก โคคิวเทน (CoQ10)ในรูปสังเคราะห์นั้นมีโครงสร้างโมเลกุลที่ต่างออกไปจาก โคคิวเทน (CoQ10) ที่มาจากธรรมชาติ ดังนั้นให้เลือก โคคิวเทน (CoQ10) ที่มากจากธรรมชาติเท่านั้น

6. ปกติ โคคิวเทน (CoQ10) จะเป็นสีส้มอ่อน แต่หากเปลี่ยนสี เนื่องจาก ความร้อนและแสงสว่าง ก็บ่งชี้ได้ว่า เสื่อมสภาพ จึงควรเก็บไว้ในที่เย็น แห้ง และทึบแสง

7. โคคิวเทน (CoQ10)

มีทั้งหมด 3 รูปคือ

Ubiquinone (Oxidized form)
Semiquinone หรือ Ubisemiquinone ( Partially reduced form)
Ubiquinol (Reduced form)

ทั้ง3รูปแบบ  มีความแตกต่างกันทางโครงสร้างและหน้าที่ในร่างกายร่างกายสังเคราะห์Ubiquinone ที่เยื้อหุ้มเซลล์ด้านนอกของไมโตคอนเดรียและถูกใช้ในการสร้างพลังงานร้อยละ  95  ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายสร้างขึ้น  
รูปแบบที่สอง  คือ Ubisemiquinone  มีความสำคัญเกี่ยวกับเยื้อเซลล์ และการทำงานของเยื้อหุ้มเซลล์ และ Ubiquinolเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant ) ไมโตคอนเดรียจะสังเคราะห์ Ubiquinone จาก Acetyl- Co-A และกรดอะมิโน Tyrosine ซึ่ง Ubiquinone จะถูกเปลี่ยนเป็น Ubisemiquinone และ Ubiquinol อย่างรวดเร็ว

โดย oxireductase enzyme ซึ่งถูกควบคุมการสร้างโดย NOQ-1 gene หาก NOQ-1 gene มีความผิดปกติ เช่น ผลจาก oxidative stress ทำให้มีการขาด Ubiquinol ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  (Antioxidant)ทำให้เกิดการแก่ของเซลล์ และเกิดความผิดปกติในการทำงานของเซลล์ตามมา CoQ10 มีการสังเคราะห์น้อยมากในตอนแรกเกิด และมีการสร้างเพิ่มขึ้นจน อายุประมาณ 21 ปี และหลังจากนั้นการสร้างก็จะลดลง  

การขาด CoQ10 จึงมักพบในผู้สูงอายุจากการสร้างที่ลดลง และการดูดซึมจากอาหารได้ลดลง การที่จะได้รับ CoQ10 อย่างเพียงพอในผู้สูงอายุอาจจำเป็นต้องมี การรับประทาน CoQ10 ในรูปแบบอาหารเสริม แต่ไม่ใช่ CoQ10ทุกรูปแบบจะดูดซึมได้ดี เนื่องจากมี CoQ10โครงสร้างที่ใหญ่ ละลายได้ดีในไขมัน และการมีการดูดซึมที่ช้า CoQ10 ในรูปแบบผงแห้ง จะมีการ ดูดซึมได้น้อยกว่า 1% ในรูปแคปซูลอ่อน (softgel) จะมีการดูดซึมได้2.5-3%








กราฟ

แต่ที่แนะนำก็คือควรกิน โคคิวเทน (CoQ10) ในรูปของ Ubiquinol ครับ เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มที่ และ มีความเสถียรสูง นอกจากนี้ควรเลือกซื้อ โคคิวเทน (CoQ10) รูปแบบที่อยู่ในน้ำมัน ซึ่งจะช่วยในการดูดซึมเข้าร่างกายครับ 



Reference : National Food Institute, Thailand. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. Available at: //fic.nfi.or.th/th/thaifood/product52-diatary.asp Accessed December 25, 2010. / Halliwell B, Gutteridge JMC. Free radical in biology and medicine, 3rd ed. London: OxfordUniversity Press; 1998. / Farber JL. Mechanisms of cell injury by activated oxygen. EHP Toxicogenomics. 1994; 102:17-24. / Pryor WA. The antioxidant nutrient and disease prevention. Am J Clin Nutr. 1991; 53: 391-393. / Crane FL, Hatefi Y, Lester RL, et al. Isolation of a quinone from beef heart mitochondriaBiochim Biophys Acta 1989; 1000: 362-363./ Morton RA, Wilson GM, Lowe JS, Leat WMF. Ubiquinone. In: Chemical Industry, 1957: pp1649 / Littarru GP, Ho L, Folkers K. Deficiency of Coenzyme Q10 in human heart disease. Part Iand II. In Internat. J. Vit. Nutr. Res 1972; 42: 413 / Dhanasekaran M, Ren J. The emerging role of coenzyme Q-10 in aging, neurodegeneration,cardiovascular disease, cancer and diabetes mellitus. Curr Neurovasc Res 2005; 2: 447-459.Faculty of Pharmacy, Siam University 123 / Turunen M, Olsson J, Dallner G. Metabolism and function of coenzyme Q. Biochim BiophysActa 2004; 1660: 171-199. / //neuromuscular.wustl.edu/msys/myoglob.html [Accessed 2011 JAN 05] / James AM, Smith RA, Murphy MP. Antioxidant and prooxidant properties of mitochondrialcoenzyme Q. Arch Biochem Biophys 2004; 423: 47-56. / Arroyo A, Navarro F, Gomez-Diaz C, et al. Interactions between ascorbyl free radical andcoenzyme Q at the plasma membrane. J Bioenerg Biomembr 2000; 32: 199-210. / Constantinescu A, Maguire JJ, Packer L. Interactions between ubiquinones and vitamins inmembranes and cells. Mol Aspects Med 1994; 15(Suppl): s57-s65 / Kidd PM. Neurodegeneration from mitochondrial insufficiency: nutrients, stem cells, growthfactors, and prospects for brain rebuilding using integrative management. Altern Med Rev2005; 10: 268-293. / Schneeberger W, Muller-Steinwachs J, Anda LP, et.al. A clinical double blind and crossover trial withcoenzyme Q10 on patients with cardiac disease. In: Biomedical and Clinical Aspects of CoenzymeQ, vol. 5. Folkers K,Yamamura Y, (eds) Elsevier, Amsterdam. 1986: pp 325-333. / Bliznakov EG, Hunt GL. In: The Miracle Nutrient Coenzyme Q10. Bantam Books, New York,1987. / Littarru GP. In: Energy and Defense. C.E.S.I., Rome, 1995. / Sinatra ST. In: The Coenzyme Q10 Phenomenon. Keats Publishing, New Canaan, CT, 1998. / Pepping J. Coenyzme Q10. American Journal of Health-System Pharmacy 1999; 56: 519-521. / Overvad K, Diamant B, Holm L, et al. Coenzyme Q10 in health and disease. Eur J Clin Nutr1999; 53: 764-770. / Fuke C, Krikorian SA, Couris RR. Coenzyme Q10: A review of essential functions and clinicaltrials. US Pharmacist 2000; 25: 1-12. / Beal MF. Coenzyme Q10 as a possible treatment for neurodegenerative diseases. Free RadRes 2002; 36: 455-460. / Bliznakov EG, Chopra RK, Bhagavan HN. Coenzyme Q10 and neoplasia: Overview ofexperimental and clinical evidence. In: Phytopharmaceuticals in Cancer Chemoprevention, Eds.Bagchi D, Preuss HG, CRC Press, et al. 2004; 599-622. / Levy HB, Kohlhaas HK. Considerations for supplementing with coenzyme Q10 during statintherapy. Ann Pharmacother 2006; 40: 290-294. / Littarru GP, Tiano L. Clinical aspects of coenzyme Q10: an update. Curr Opin Clin Nutr MetabCare 2005; 8: 641-646. / Bonakdar RA, Guarneri E. Coenzyme Q10. Am Fam Physician 2005; 72: 1065-1070.




Create Date : 25 พฤษภาคม 2555
Last Update : 21 มิถุนายน 2555 23:28:41 น.
Counter : 24874 Pageviews.

9 comments
  
ช่วยแนะนำหน่อยสิคะ ว่าควรกิน CoQ10 ของยี่ห้อไหนดีที่สุด
โดย: ขนมจีน IP: 183.89.90.42 วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:25:34 น.
  
ผมกินของ Nature"s Best ประเทศอังกฤษ วันละ 30 mg ดีหรือไม่ ไม่ทราบ เพียงแต่ว่ามาตรฐานการผลิตของเขาดีกว่า ส่วน Blackmore น่าจะดีที่สุดเพราะมีชื่อเสียงด้านอาหารเสริมมานาน แต่จะแพงกว่ายี่ห้อที่ผมกิน
โดย: เม่น IP: 180.180.107.243 วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:12:39:59 น.
  
มีอะไร ที่ไม่รู้มากขึ้น
โดย: komsan IP: 101.109.249.241 วันที่: 15 กันยายน 2556 เวลา:1:19:41 น.
  
//www.iherb.com/Natural-Factors-Coenzyme-Q10-Enhanced-Absorption-100-mg-60-Softgels/2715 มีคนแนะนำโคคิวเทน ยี่ห้อนี้ ดีรึเปล่าค่ะ
โดย: yaya IP: 110.164.50.34 วันที่: 7 ตุลาคม 2556 เวลา:12:03:41 น.
  

กินQ10ร่วมกับอาหารเสริมดักจับไขมัน มีผลดี ผลเสียมั้ย อย่างไรบ้างคะ8
โดย: ต้อม IP: 1.0.252.186 วันที่: 15 ตุลาคม 2556 เวลา:12:28:53 น.
  
ผมว่าไม่ส่งผลดี หาใช้กับอาหารเสริมดักจับไขมัน อยากแนะนำให้ทาน CoQ10 ร่วมกับไขมันชนิดดีเช่น Fish Oil, Tea Oil, หรือ Olive Oil จะได้ทั้ง 2 ต่อคือละลาย CoQ10 และเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันดีครับ
โดย: B IP: 202.60.203.174 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา:14:48:23 น.
  
ผมอ่านมาเยอะพอสมควรถ้าใช้ในการรักษาแนะนำยี่ห้อ
extensionlife ครับ แพงและไม่มีขายในไทย
โดย: ท้อป IP: 110.170.171.162 วันที่: 1 ธันวาคม 2557 เวลา:15:54:56 น.
  
CoQ10 มีผลเสียกับผู้ป่วยโรคไตวาย ยังไงบ้างครับ ตอนนี้ให้กินอยู่ 30 มก/วัน
โดย: โอ๋ IP: 49.228.112.34 วันที่: 19 ตุลาคม 2559 เวลา:22:36:38 น.
  
ปกติ กิน 1. euthyrox วันละเม็ดครึ่ง
2. glucophage 1 เม็ด
หมอให้เพิ่ม simvastatin 20mg ก่อนนอน
อยากทราบผลข้างเคียงในระยะยาวค่ะ
โดย: nuanc IP: 58.8.4.76 วันที่: 21 เมษายน 2560 เวลา:22:27:42 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ultramaths
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]



ผม..เฟยเฟย รายงานตัวค้าบ
ultramaths ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อความทั้งหมดในblogนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
All rights reserved.