เมษายน 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
รีวิว แคลเซียม part 1







แคลเซียมถือว่าเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในตัวเรามากกว่าแร่ธาตุชนิดอื่นๆครับ มันเป็นความจริงที่ใครหลายๆคนไม่รู้ และ ละเลย ไม่สนใจมัน ทั้งๆที่มันมีความสำคัญและจำเป็นมากเสียกว่าอาหารเสริมที่ทำให้ผิวขาวทั้งหลายเสียอีก และไม่จำเป็นเลยที่พี่น้องจะต้องกินแคลเซียมเสริม ถ้าหากพี่น้องกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงอยู่เป็นประจำทุกวันให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งหาได้จาก นมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ชีส ถั่วเหลือง เต้าหู้ ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน อะไรพวกเนี๊ยแหละ ทั้งๆที่มันง่ายอย่างงี้ แต่ที่น่าตกใจก็คือ พี่น้องเชื่อมั๊ยว่า ชาวอเมริกันโดยเฉพาะผู้หญิง ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ (จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกา) ทั้งๆที่บ้านเมืองเค้าก็กิน ชีสกินนมกันเป็นว่าเล่น เรียกได้ว่าอยู่ในทุกมื้ออาหารเลยก็ว่าได้ แล้ว...คนไทยอย่างเราๆท่านๆ จะได้รับแคลเซียมเพียงพอมั๊ย.....??? ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด


ประโยชน์ที่ได้รับจากแคลเซียม

1. ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง มีสุขภาพดี

2. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและโรคกระดูกผุ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนนะฮ๊าฟฟ



ภาวะกระดูกปกติ และ ภาวะ Osteoporosis



ภาพขยายของกระดูก : ภาพซ้ายแสดงกระดูกปกติ จะเห็นว่ามีเนื้อกระดูกมากกว่า หนากว่า สมบูรณ์กว่าภาพด้านขวาที่เป็นภาพจากผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน



กราฟมวลของกระดูกในแต่ละวัย


Smiley เชิงลีก ปกติแล้วคนเราเนี๊ยจะมีการทำลายและสร้างกระดูกอยู่ตลอด (เซลล์ใหม่ถูกสร้าง ขณะที่เซลล์เก่าถูกทำลาย) ในช่วงแรกๆของชีวิตเนี๊ย ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ - อายุประมาณ 20 ปี ถึง 25 ปี การสร้างก็จะสูงกว่าการทำลายครับและจะสร้างสูงสุดที่อายุ 25 ปี แล้วพบว่าผู้ชายเนี๊ย สร้างมากกว่าผู้หญิง แต่พอมาช่วงอายุประมาณ 25 ปี - 50 ปี การสร้างจะเริ่มน้อยลงขณะการทำลายเริ่มมากขึ้นเล็กน้อย เทียบกันแล้วการทำลายจึงมากกว่าการสร้างครับ เราพบว่ากระถูกจะถูกทำลายไปเบ็ดเสร็จแล้ว ปีละประมาณ 0.5%  ทำให้ระยะนี้กระดูกของคนเราเริ่มบางลงครับ แต่ไม่มากมายอะไร (ในบางคนอาจจะมีเนื้อกระดูกเท่าเดิม แล้วแต่ปัจจัยคับ) สังเกตุจากความชันของกราฟคับ จะเห็นว่าชันลงไม่มาก [ความจริงแล้วผู้หญิงจะลดลงในอัตรานี้ถึงประมาณอายุ 35 ปี จากนั้นจะลดหนักลงกว่าเดิมจนถึงวัยหมดประจำเดือนครับ (อายุประมาณ 50 ปี)] ต่อจากนั้นช่วงอายุ 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งผมขอบังอาจประมาณว่ามันเป็นวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ก็แล้วกันนะคับ (เพิ่มเติม ถ้าเป็นทางการแพทย์เรา เราจะถือว่าช่วงที่รังไข่หยุดทำงานโดยสิ้นเชิง ไม่มีการตกไข่อีกต่อไป และ หยุดผลิตฮอร์โมน Estrogen (เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลงจะทำให้กระดูกบางและผุ) ขณะที่ LH และ FSH เพิ่มสูงขึ้นมากในกระแสเลือด แล้วนับถอยหลังไป 1 ปี นั่นคือเริ่มเข้าสู่วัยทอง)  การสร้างก็จะลดลงอีก ขณะที่การทำลายเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วการทำลายจะมากกว่าการสร้างคับ ผลลัพธ์ก็คือ กระดูกจะบางลงเรื่อยๆครับ(พอแก่แล้วอะไรๆก็เสื่อมอ่ะนะ) จากกราฟ จะเห็นได้ว่าความหนาแน่นของกระดูกผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะลดลงอย่างรวดเร็ว(ประมาณ 2%-3% ต่อปี) ในขณะที่ผู้ชายลดลงในอัตราที่ต่ำกว่า เรียกว่า "ภาวะกระดูกบาง" แล้วมันก็จะเข้าสู่ "ภาวะกระดูกผุ (Osteoporosis)"   ซึ่งจะเข้าสู่ภาวะเหล่านี้เร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่ที่ว่า เมื่อตอนเอ๊าะๆ เนี๊ย พี่น้องได้สะสมแคลเซียมมามากน้อยแค่ใหน ถ้าสะสมมาน้อยก็ผุเร็วกว่าในกราฟ ถ้าสะสมมามากก็ผุช้ากว่าหรือเท่ากับในกราฟครับ ซึ่งบางคนไม่ตระหนักคับมากินเอาตอนแก่ ซึ่งมันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากมายนักหรอก(เพราะจะมีการดูดซึมแคลเซียมน้อยลงมากๆ) ดังนั้น พี่น้องมีเวลาตั้ง 40 - 50 ปีในการสะสมแคลเซียม ก็เริ่มทำซะตั้งแต่วันนี้นะครับ มันไม่เหนือบ่ากว่าแรงไปเท่าไหร่นักหรอก ถ้าเทียบกับสิ่งที่จะได้รับในอนาคต  

3. ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำใส้ใหญ่

4. มีส่วนช่วยให้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติ

5. ใครนอนไม่หลับ(sleep disturbances) มันช่วยบรรเทาได้ โดยการกินแคลเซียมและแมกนีเซียมก่อนนอน

6. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น

7. ช่วยส่งต่อกระแสประสาท

9. ช่วยควบคุมน้ำหนัก(หากกินในปริมาณสูง และ กินเป็นระยะเวลานาน)

10. ป้องกันการเกิดนิ่วในไต(แต่ถ้ากินไม่ถูกวิธีก็จะก่อให้เกิดนิ่วในไตนะ) และป้องกันพิษจากตะกั่ว


ผลเสียที่ได้รับจากแคลเซียม

1.การกินแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป(มากกว่า 2500 mg ต่อวัน) อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ เช่น การเกิดนิ่วในไต การเกิดแคลเซียมส่วนเกินไปเกาะที่อวัยวะสำคัญส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น เกาะที่กล้ามเนื้อ เกาะที่ลิ้นหัวใจ การเกิด spurs ท้องผูก การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เกิดภาวะเลือดเป็นด่างเพราะนม (เกิดจากการกินนมร่วมกับการกินยาลดกรดเกินขนาดเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร)

2. ห้ามกินแคลเซียมพร้อมกับสิ่งเหล่านี้
Smiley 21 อะเทนอลอล เพราะแคลเซียมทำให้อะเทนอลอลอยู่ในกระแสเลือดน้อย จึงอาจลดฤทธิ์ของอะเทนอลอลลง
Smiley 21 ยาดิจิทาลิส ควบควมโรคหัวใจวาย เพราะอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ แต่ต้องกินแคลเซียมในปริมาณที่สูงจึงจะเกิดผลนี้ได้ ดังนั้น พี่น้องที่กินยาดิจิทาลิสอยู่จึงห้ามกินแคลเซียมปริมาณสูงๆ
Smiley 21 ทิลูโดรเนต ห้ามกินแคลเซียม แมกนีเซียม และอะลูมิเนียม ร่วมกับยานี้ เนื่องจาก แร่ธาตุเหล่านี้จะไปทำลายฤทธิ์ของทิลูโดรเนต ถ้าจะกินควรกินหลังจากกินทิลูโดรเนตไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
Smiley 21 ผลิตภัณฑ์เหล็ก เนื่องจากแคลเซียมจะลดการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่กระแสเลือด ถ้าต้องกินธาตุเหล็กกับแคลเซียม ก็ควรกินให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
Smiley 21 นอร์ฟลอกซาซิน เนื่องจากแคลเซียมจะไปลดปริมาณนอร์ฟลอกซาซินในเลือด แต่ไม่ปรากฎว่าแคลเซียมไปมีผลต่อยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน เช่น ไซโพรฟลอกซาซิน และ ออฟลอกซาซิน
Smiley 21 โซเดียม โพลิสไตรีน ซัลโฟเนต เนื่องจากแคลเซียมจะทำให้ฤทธิ์ในการลดโพแทสเซียม ต่ำลง
Smiley 21 ยาปฎิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลิน เนื่องจาก แคลเซียมจะไปลดการดูดซึมเตตราไซคลินเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นต้องแยกกินระหว่าง อาหารที่มีแคลเซียม ยาลดกรด หรือแคลเซียมเสริม ให้ห่างจากยาปฎิชีวนะเหล่านี้ ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
Smiley 21 ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ เนื่องจากมันจะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูง
Smiley 21 เวอแรพามิล เนื่องจากแคลเซียมจะไปลดการดูดซึมเวอแรพามิล 
Smiley 21 เฟนิโทอีน หรือ พีโนบาร์บิทาล (ยาควบคุมอาการชัก) ยาเหล่านี้เร่งการทำลายวิตามินดี และสามารถทำให้เกิดการขาดแคลนแคลเซียมได้  ดังนั้นคนที่กินยานี้อยู่ควรกินวิตามินดีเสริมในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงควรกินแคลเซียมเพิ่มขึ้นจากปกติด้วย

3. การกินแคลเซียมอาจจะทำให้ผลการตรวจเลือดบางอย่างผิดไป เช่น การหาค่าซีรัม อะไมเลส (สำหรับประเมินสมรรถภาพของตับอ่อน) สูงเกินจริง หรือ ทำให้ตรวจแมกนีเซียมในเลือดไม่ได้ผล นอกจากนี้ แคลเซียมอาจจะไปมีผลต่อการตรวจปัสสาวะบางอย่าง เช่น ทำให้การตรวจสเตอรอยด์ธรรมชาติไม่ได้ผล ดังนั้นพี่น้องที่กำลังจะไปตรวจโรคต่างๆ ควรหยุดกินแคลเซียม หรือ บอกให้แพทย์ทราบก่อนตรวจว่าท่านกินแคลเซียมอยู่

4. ผู้ป่วยโรคไต ควรระมัดระวังในการกินแคลเซียม

5. Calcium carbonate อาจจะทำให้ท้องผูกได้ แก้โดยการกินน้ำเยอะๆ + แบ่งกินหลายๆมื้อ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแคลเซียม

1. แคลเซียมและฟอสฟอรัสทำงานร่วนกันเพื่อให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ถ้าพี่น้องกินอย่างไม่รู้เรื่อง ก็แย่หน่อยนะ ถ้าผมจะบอกว่า ฟอสฟอรัสที่มากไป ทำให้ร่างกายเสียแคลเซียมได้ ดังนั้นการกินแคลเซียมต้องถูกสัดส่วนกับฟอสฟอรัสฮ๊าฟฟ

2. แคลเซียมและแมกนีเซียมทำงานร่วมกันเพื่อให้หัวใจและเส้นเลือดมีสุขภาพดี

3. แคลเซียมต้องมากับวิตามินดีเพราะถ้าไม่มีวิตามินดีแคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ไม่ดี

4. ขนาดยาที่เหมาะสม


 ดังนั้นก็อย่าโลภกินเยอะนะ เพราะจะมีผลเสียอื่นๆตามมา

5. การกินอาหารพวกโปรตีน ไขมัน อาหารกรด จะช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดี แต่หากกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันสูง หรือ อาหารทีเป็นกรดสูง ก็จะทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมมากขึ้น เนื่องจากระบบย่อยโปรตีนจำเป็นต้องใช้แคลเซียม นอกจากนี้แล้วความเป็นกรดของโปรตีน ไขมัน หรืออาหารกรด ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องใช้แคลเซียมมาสะเทินกรดเหล่านั้นให้เป็นกลาง

6. อาหารที่อุดมไปด้วยกรดออกซาลิก เช่น โกฐน้ำเต้า ผักโขม บีท หรือ ช็อคโกแล็ต ผักกระเฉด ใบชะพลู จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเนื่องจากกรดออกซาลิกจะไปจับตัวกับแคลเซียม กลายเป็น แคลเซียม ออกซาเลต ซึ่งร่างกายดูดซึมไม่ได้ แต่ ผักคะน้า กลับเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม อีกทั้งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีอีกด้วย

7. อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไฟติก หรือไฟเตต ซึ่งพบในพวก ธัญพืช, Whole grain, ทำให้การดูดซึมแคลเซียมแย่ลง ดังนั้น ที่ว่า งา เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีกว่านม หรือ เป็นแหล่งแคลเซียมคุณภาพสูงนั้น ก็ห่างไกลความเป็นจริงซะแล้ว (จริงๆแล้วมีพืชผักตั้งหลายอย่างที่ให้แคลเซียมสูง แต่ที่เค้าเน้นงาดำก็เพราะการตลาดล่ะครับ จูงใจให้คนกินงาดำ กำไรเยอะดี ส่วนผักคะน้า กวางตุ้ง ก็ปล่อยให้มันเหี่ยวแห้งต่อไปเพราะมันต่ำต้อยด้อยค่า ด้อยราคา เค้าเลยไม่เล่นกัน)

8. อาหารที่มีกากใยสูง หรือ อาหารที่มี Caffeine ไม่ว่าจะเป็น น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม เหล่านี้ จะไปลดการดูดซึมแคลเซียม

9. ผลิตภัณฑ์จากนม แม้จะเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี เพราะเป็นแคลเซียมในรูป แคลเซียม เคซิเนต คือ สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง โดยไม่ต้องแตกตัวก่อน ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมที่ได้จากนม ได้มากที่สุด แต่ก็ยังมีข้อกังขา เกี่ยวกับผลกระทบของนมต่อสุขภาพ ถึงแม้ว่ามีงานวิจัยเป็นพันๆ ฉบับที่กล่าวถึง IGF-1 ที่มีในนมต่อการเกิดมะเร็ง แต่ก็ไม่มีผลงานใหนกล้าฟันธงชัดเจนลงไปเลยว่า การกินนมมีผลต่อมะเร็ง ถึงแม้กระนั้นก็ตาม ก็ยังเป็นที่กังขาของผมอย่างมากต่อการกินนม (ความคิดเห็นส่วนตัว) อีกทั้งนม ยังเป็นบ่อเกิดของการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย นำไปสู่ ความชรา ซึ่งถึงแม้ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือได้เป็นชิ้นเป็นอัน แต่เราสามารถอธิบายได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (ความคิดเห็นส่วนบุคคล กรุณาอย่าก้าวก่ายสิทธิในการแสดงความเห็น) นอกจากนั้นแล้ว โปรตีน และ แคลเซียมในนม ยังทำให้การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่านมจะเป็นแหล่งแคลเซียมอย่างดี แต่ฟอสเฟตที่มีอยู่ในนมก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาได้ เพราะว่าฟอสเฟตและแคลเซียมจะจับตัวกันกลายเป็นสารประกอบชนิดใหม่ก็คือ แคลเซียม ฟอสเฟต ซึ่งเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำ จึงดูดซึมไม่ได้ อีกทั้งมีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและแมกนีเซียมไม่เหมาะสม (15 : 1)  นอกจากนี้ ยังมีปริมาณของฟอสฟอรัสในปริมาณสูงกว่าแคลเซียมถึง 8 - 20 เท่า ผลก็คือเร่งการขับแคลเซียมออกทางไต นอกจากฟอสฟอรัสแล้ว โปรตีนซึ่งหน่วยย่อยของมันคือกรดอะมิโน กับ ไขมัน ก็ล้วนแต่มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้ต้องสะเทินฤทธิ์กรดในกระแสเลือดให้เป็นกลาง ซึ่งแร่ธาตุที่เอามาสะเทินก็คือแคลเซียม แล้วเอาแคลเซียมมาจากใหนล่ะ คำตอบก็คือ จากกระดูกและฟัน !! ดังนั้น นมเลยเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกผุได้ !!!

10. แคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีขึ้นหากกินพร้อมอาหาร เนื่องจากในขณะกินอาหารนั้นกระเพาะจะหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาพเป็นกรดออกมา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการละลาย (แตกตัว) ของแคลเซียมในรูปเกลือต่างๆ แต่ที่น่าสนใจก็คือมันจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าเดิมแค่ 10% เท่านั้น ดังนั้นในความคิดผม กินตอนใหนก็ให้ผลพอๆกันนั่นแหละ แต่ถ้ากินพร้อมอาหารก็อาจจะดีขึ้นมากระเบียดนิ้วเดียว ก็เท่านั้น

11. การกินแคลเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ แต่หากได้รับแคลเซียมสูงมากๆจากอาหารกลับพบว่าไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น ในชนเผ่ามาไซ​ (Masai) ในแอฟริกา กินแคลเซียมที่ได้จากอาหารสูงถึง 5,000 มก./วัน แต่ก็ไม่มีอันตราย ดังนั้นควรรับแคลเซียมจากอาหารเสียก่อน หากไม่สามารถหาแคลเซียมจากอาหารได้เพียงพอ ค่อยหาแคลเซียมเสริมกินนะครับ

12. หากเราได้รับแคลเซียมระว่างวันละ 500 -2000 mg จากอาหารหรือแหล่งอื่นก็ตาม ร่างกายจะดูดซึมเอาไว้ใช้ตามความจำเป็น และ ความต้องการเป็นวันต่อวัน โดยจะส่งบางส่วนไปเก็บไว้ที่กระดูก ส่วนที่เหลือใช้ ก็จะขับออกไปกับปัสสาวะ แต่ถ้าหากว่าเราได้รับแคลเซียมในปริมาณต่ำกว่าระดับที่ร่างกายต้องการติดต่อกันเป็นเวลานาน ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่เก็บไว้ในกระดูกออกมาใช้ ถึงแม้จะดึงจนกระดูกกร่อนก็ตาม ร่างกายก็จะดึงออกมา สู่กระแสเลือด ไม่มีกั๊ก 

13. ปริมาณการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดจะ ขึ้นลง มากน้อย ขึ้นอยู่กับอายุ โดยทารกจะดูดซึมแคลเซียมถึง 60% ของแคลเซียมที่กินเข้าไป หลังวัยทารก การดูดซึมแคลเซียมก็จะค่อยๆลดลง และ กลับเพิ่มขึ้นใหม่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่การเจริญเติบโตอย่างแรง พอถึงวัยหนุ่มสาว การดูดซึมแคลเซียมก็จะเหลือเพียงประมาณ 25% ของปริมาณแคลเซียมที่กินเข้าไป นอกจากนี้ การดูดซึมแคลเซียมของหญิงมีครรภ์จะเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะต้องเอาไปใช้ในการสร้างโครงกระดูกของทารกในครรภ์ สภาพอย่างนี้ จะเป็นเหมือนๆกัน ไม่ว่าจะตั้งครรภ์ในช่วงอายุใดก็ตาม การดูดซึมแคลเซียมของหญิงหมดประจำเดือน หญิงหรือชายวัยสูงอายุ จะค่อยๆลดลง (ประมาณปีละ 0.2%) ตลอดไป

14. เชื้อชาติ ก็มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม พบว่าเชื้อชาติ แอฟฟริกัน-อเมริกัน ดูดซึมแคลเซียมได้พอๆกับพวกคอเคเชียน แต่ เชื้อชาติ แอฟริกัน - อเมริกัน จะสูญเสียแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะน้อยกว่าเชื้อชาติคอเคเชียน ด้วยเหตุนี้ เชื้อชาติ แอฟริกัน - อเมริกัน จึงมีกระดูกที่หนากว่า แข็งแรงกว่า และกระดูกหักน้อยกว่า เชื้อชาติคอเคเชียน

15. ผู้เชียวชาญทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การออกกำลังกายเป็นกิจจกรรมที่สำคัญ ที่จะทำให้กระดูกมีการพัฒนาทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ โดยการออกกำลังกายจะทำให้กระดูกแข็ง ได้รูป และช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูก แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ร่างกายปรับกระดูกให้มีสภาพเช่นนั้นได้ด้วยวิธีการใด 

16. ระบบฮอร์โมนที่ซับซ้อนร่วมกับวิตามินดี เป็นปัจจัยในการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด ฮอร์โมนหลักที่มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้คือ พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน และ แคลซิโทนิน 

17. วิตามินดีทำหน้าที่รักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือดให้เป็นปกติ ซึ่งถ้าหากแคลเซียมในกระแสเลือดตำ่กว่าปกติ ร่างกายจะเร่งดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ และ ไต เข้าสู่กระแสเลือดให้มากที่สุดเท่าที่ร่างกายต้องการ โดย  calcitriol จะชักนำให้แคลเซียมจับกับโปรตีนพิเศษภายในเซลล์ของลำไส้ และด้วยกลไกอิสระ calcitriol ก็จะกระตุ้นให้เกิดการดูดซึมฟอสเฟตจากลำไส้ด้วย นอกจากนี้ วิตามินดียังมีฤทธิ์ตรงต่อไต โดยทำให้ไตดูดแคลเซียมและฟอสเฟตกลับอีกด้วย  ในขณะเดียวกันก็จะสลายแคลเซียมที่สะสมในกระดูกออกมาสู่กระแสเลือด (ทำงานร่วมกันระหว่างพาราไทรอยด์ ฮอร์โมน และ วิตามินดี) 

Note   calcitriol คือวิตามินดีที่พร้อมใช้งาน/ในรูปที่ออกฤทธิ์ โดยเริ่มจากวิตามินดี (ทั้ง ergocalciferol (D2) และ cholecalciferol (D3)) จะถูกตับเปลี่ยนเป็น 25-hydroxycholecalciferol เสียก่อน จากนั้นไต จะเปลี่ยนต่อเป็น 1,25-dihydroxycholecalciferol หรือเรียกสั้นๆว่า calcitriol นั่นเอง 


ดังจะเห็นได้้ว่าตับและไต มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนวิตามินดี ให้เป็นแคลซิไทรออล แต่โรคตับนั้นไม่ได้หน่วงเหนี่ยวกระบวนการ แต่โรคไตวายก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง นั่นคือ คนที่ป่วยเป็นโรคไตวายก็จะผลิตแคลซิไตรออลได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลเซียมได้ รวมถึง ไตของผู้เป็นโรคเบาหวานก็ด้วย ซึ่งไตที่ถูกทำลายจากโรคเบาหวานก็ก่อให้เกิดการสูญเสียเนื้อกระดูกด้วยกลไกที่ว่านี้เช่นกัน การแก้ไขทำโดยการให้แคลซิไทรออล เพื่อคงระดับแคลเซียมเอาไว้

18. อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงมากเกินไป แต่แคลเซียมต่ำ จะทำให้เกิดภาวะ Hyperthiroidism ซึ่งมีผลต่อระดับฮอร์โมน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียแคลเซียม พูดง่ายๆก็คือ หากแคลเซียมสูงไปจะเกิดการสูญเสียฟอสฟอรัส แต่หากฟอสฟอรัสสูงไปจะเกิดการสูญเสียแคลเซียม โดยอาจจะทำให้แคลเซียมไปเกาะอยู่นอกกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ไต ทำให้กระดูกอ่อน และพรุน การดูดซึมแคลเซียมก็จะลดลงด้วย

19. การประเมินสภาพของแคลเซียมเป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่มีวิธีการตรวจเลือดหรือการตรวจแบบอื่นแม้แต่เพียงอย่างเดียวที่สามารถสะท้อนผลของแคลเซียมจากโภชนาการได้ การวัดระดับแคลเซียมในเลือดไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะระดับแคลเซียมมีการจัดการอย่างรัดกุมโดยร่างกาย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจึงมีอยู่วิธีเดียวก็คือ การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ทุกๆวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักให้เหลือน้อยที่สุด

20. การขับถ่ายโซเดียมและแคลเซียมทางไตมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือ เมื่อไตขับถ่ายโซเดียม ไตก็จะขับถ่ายแคลเซียมออกไปด้วย

แคลเซียมที่ควรเลือกซื้อ



จากภาพ : Calcium Hydroxyapatite (HA)  [ Ca10(PO4)6(OH)]

1. แคลเซียมที่ดีที่สุดคือ แคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์ หรือ แคลเซียมซิเทรต หรือ แคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต หรือ แคลเซียมคาร์บอนเนต (รสชาติแย่ แต่ได้เปอร์เซนต์แคลเซียมสูงที่สุด) อาการหรือโรคบางอย่างอาจไม่เหมาะกับแคลเซียมในรูปที่เสนอไป หากพี่น้องสงสัยควรปรึกษาแพทย์ส่วนตัวของพี่น้องก่อน หรือ ปรึกษาผมได้โดยตรงครับ

2. ถ้าเป็นไปได้ควรกินแคลเซียมที่มี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินเคทู(K2) วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี12 โบรอน กรดโฟลิค สังกะสี ซิลิคอน โปแตสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัส โดยแคลเซียม : แมกนีเซียม : ฟอสฟอรัส ควรเป็น 2 : 1 : 1 นะ หรือ แคลเซียม : แมกนีเซียม เป็น 1 : 1 อีกอย่างหนึ่งคือแคลเซียมที่เราเลือกไม่ควรมี เหล็ก และ โซเดียม คับ (อาการหรือโรคบางอย่างอาจจะต้องปรับสูตรยา เช่น เอาวิตามินบางอย่างเสริมเข้ามาหรือถอนวิตามินบางตัวออกไป พี่น้องทุกคนอาจจะได้รับสูตรแคลเซียมที่ต่างกัน ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินครบหมดทุกตัว ดังที่กล่าวไว้ หากพี่น้องสงสัยควรปรึกษาแพทย์ส่วนตัวของพี่น้องก่อน หรือ ปรึกษาผมได้โดยตรงครับ)

3. ขนาดยาไม่ควรเกิน 500 mgต่อการกินในแต่ละครั้ง เพราะแคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าการกินครั้งละมากๆ (มากกว่า 500 mg) ดังนั้นหากจะให้แคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีที่สุด ก็ควรแบ่งกินครั้งละ 250 mg จะดีมาก เช่น หากต้องการกินแคลเซียม 1000 mg ต่อวัน ก็แบ่งกินเป็น 4 เวลา พร้อมอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ ก่อนนอน

4. แร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบควรผ่านกระบวนการคีเลชัน(Chelation)แล้ว เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมแร่ธาตุนั้นๆเข้าสู่ร่างกายดีที่สุด (อ่านเพิ่ม)

5. ไม่ควรกินแคลเซียมโดโลไมต์หรือกระดูกป่นอัดเม็ดเพราะเสี่ยงต่อการได้รับโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว

6. เนื่องจาก ธาตุเหล็ก อาจจะลดการดูดซึมแคลเซียมลงประมาณ 40% - 50% ดังนั้นไม่ควรกินแคลเซียมร่วมกับธาตุเหล็ก (ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมมากๆ ก็ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป)





Smiley view label

Smiley ดูสินค้าที่ร้าน

NOWFOODS            : Bone Calcium
POTENCY                : 1000 mg / 4 tablets
QUANTITY              : 120/240 Tablets
PRICE                       : 620 บาท/850 บาท
PRECAUTIONS      : พี่น้องที่มีภาวะ congestive liver disease รวมถึงพี่น้องที่มีระดับแมงกานีสต่ำ ควรหลีกเลี่ยง

ส่วนที่ดี
1. ขนาดยา 250 mg ต่อเม็ด ถือว่าเป็นขนาดที่ค่อนข้างเหมาะสมทีเดียว
2. มีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ที่เหมาะสม
3. ประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่
Smiley ทองแดง (Chelated) --- มีส่วนร่วมในการดำรงโครงสร้างของร่างกายโดยการช่วยยึดคอลลาเจน 
Smiley สังกะสี (Chelated) --- มีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนและคอลลาเจน นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและการเติบโตของกระดูก อีกทั้งแคลเซียมอาจจะลดการดูดซึมสังกะสีด้วย ดังนั้นการใส่สังกะสีเพิ่มเข้าไปด้วยจึงเป็นเรื่องดี
Smiley แมงกานีส (Chelated) --- จำเป็นต่อโครสร้างกระดููก และช่วยป้องกันกระดูกพรุน นอกจากนั้น การกินแคลเซียมและฟอสฟอรัสปริมาณมาก จะยับยั้งการดูดซึมแมงกานีสได้ ดังนั้นการเพิ่มแมงกานีสลงไปก็เพื่อเป็นการชดเชยอีกทางหนึ่ง
Smiley โบรอน (Chelated) --- ช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูก และลดการขับแคลเซียมออกจากไต
4. แร่ธาตุที่ใส่มาส่วนใหญ่ได้ผ่านการ Chelated แล้ว ซึ่งเป็นผลดีต่อเรา
5. เป็นแคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์
6. มีวิตามินดีมาให้ ในปริมาณที่เหมาะสม

ส่วนที่แย่
1. ตามข้อมูล Calcium ยังไม่ผ่านการ Chelated ตรงนี้น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน
2. ควรมีวิตามินบี และ วิตามินเค ซักหน่อยนะ

สรุป
โดยรวมแล้วถือว่าเป็นแคลเซียมที่ดีเลยนะครับ และแนะนำสำหรับผู้กินเจ นักมังสวิรัติ หรือ คนที่ไม่ค่อยกินอะไร เนื่องจากมีฟอสฟอรัสที่เหมาะสมอยู่แล้ว สำหรับคนที่กินอาหารที่หลากหลายอยู่แล้้ว ก็ลองดูเป็นตัวอื่นเห็นจะเหมาะสมกว่าครับ




Smiley view label

Smiley ดูสินค้าที่ร้าน

COUNTRY LIFE    : Bone Solid
POTENCY               : Calcium 1011 mg /6 capsules
QUANTITY             : 180 capsules
PRICE                       : 770 บาท
PRECAUTIONS      : พี่น้องที่มีภาวะ congestive liver disease รวมถึงพี่น้องที่มีระดับแมงกานีสต่ำ ควรหลีกเลี่ยง

ส่วนที่ดี
1. มี MACH (microcrystalline hydroxyapatite) ซึ่งถือว่าเป็นสารที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับกระดูกมนุษย์เป็นอย่างมาก (ตัวนี้แหละที่เค้านำไปสังเคราะห์ เป็นกระดูกเทียมในมนุษย์) เป็นตัวสร้างกระดูก(bone building) ถูกดูดซึมได้สูงเมื่อเทียบกับแคลเซียมในรูปอื่นๆ อีกทั้งมีผลงานวิจัยจากหลายแหล่งที่เชื่อถือได้ มันช่วยลดการสูญเสียของกระดูกทั้งมวลและความหนาแน่น ถือว่าเป็นทีเด็ดของเค้าจริงๆ
2. มีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ที่เหมาะสม
3. ใส่วิตามินให้กระหน่ำทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น
Smiley วิตามินซี -- ซึ่งวิตามินซีก็เสริมประสิทธิภาพของแคลเซียม 
Smiley วิตามินดี -- ซึ่งวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งมากไป ควรระมัดระวังในการใช้
Smiley วิตามินเค(K1, K2) -- ซึ่งวิตามินเค มีความจำเป็นต่อหน้าที่ของ Osteocalcin ซึ่งช่วยจับแคลเซียม และ hydroxyapatine ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก (พูดง่ายๆก็คือ วิตามินเค มีส่วนในการสังเคราะห์โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของกระดูก) โดยวิตามิน K2 นั้นมีข้อดีกว่าวิตามิน K1 ก็ตรงที่ว่า นอกจากจะช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกแล้ว ยังช่วยยับยั้งกระบวนการสลายตัวของกระดูกอีกด้วย เราจึงนำวิตามิน K2 มาเป็นยารักษาโรคกระดูกพรุนนั่นเอง
4. ให้แร่ธาตุมาเยอะคับ ไม่ว่าจะเป็น
Smiley โบรอนมา --- ช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูก และลดการขับแคลเซียมออกจากไต
Smiley สังกะสี --- มีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนและคอลลาเจน นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและการเติบโตของกระดูก อีกทั้งแคลเซียมอาจจะลดการดูดซึมสังกะสีด้วย ดังนั้นการใส่สังกะสีเพิ่มเข้าไปด้วยจึงเป็นเรื่องดี
Smiley ทองแดง --- มีส่วนร่วมในการดำรงโครงสร้างของร่างกายโดยการช่วยยึดคอลลาเจน
Smiley แมงกานีส --- จำเป็นต่อโครสร้างกระดููก และช่วยป้องกันกระดูกพรุน นอกจากนั้น การกินแคลเซียมและฟอสฟอรัสปริมาณมาก จะยับยั้งการดูดซึมแมงกานีสได้ ดังนั้นการเพิ่มแมงกานีสลงไปก็เพื่อเป็นการชดเชยอีกทางหนึ่ง
Smiley โครเมียม ---- ช่วยรักษาโรคกระดูกกพรุน (การวิจัยนี้ยังไม่น่าเชื่อถือมากนัก)
Smiley โปแตสเซียม --- รักษาระดับอิเล็คโตรไลต์ให้อยู่ในสมดุล

ส่วนที่แย่
1. ตามข้อมูล Calcium ยังไม่ผ่านการ Chelated ตรงนี้น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน
2. ควรมีวิตามินบี มาให้
3. แร่ธาตุก็ไม่ผ่านการ Chelated ตรงนี้ก็น่าเสียดาย

สรุป
ส่วนตัวแล้ว ชอบ แคลเซียมตัวนี้มากๆคับ และก็เป็นตัวที่กินอยู่เป็นประจำ โดยผมจะกิน Bone Solid สลับ กับ Bone Tone เนื่องจากมีข้อดีที่เสริมกันอย่างลงตัวครับ สรุปคือตัวนี้ผมเชียร์สุดใจคับ และควรกินวิตามินบีรวม ร่วมด้วยนะครับ  แนะนำสำหรับผู้กินเจ นักมังสวิรัติ หรือ คนที่ไม่ค่อยกินอะไร เนื่องจากมีฟอสฟอรัสที่เหมาะสมอยู่แล้ว สำหรับคนที่กินอาหารที่หลากหลายอยู่แล้้ว ก็ลองดูเป็นตัวอื่นเห็นจะเหมาะสมกว่าครับ





Smiley view label

Smiley ดูสินค้าที่ร้าน

COUNTRY LIFE  : Liquid Target-Mins
POTENCY             : Calcium 1000 mg / 1 fl. oz. (29.5 mL)
QUANTITY           : 16/32 fl. oz. (473.4/946.8 mL)
PRICE                    : 880 บาท/1430 บาท

ส่วนที่ดี
1. มีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ที่เหมาะสม
2. ให้วิตามินดี มาในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็ก แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ใหญ่
3. ปริมาณแคลเซียมต่อ 1 ช้อนโต๊ะน้อย จึงเหมาะสำหรับเด็ก

ส่วนที่แย่
1. ไม่มีวิตามินบี วิตามินเค สังกะสี และอื่น  มาให้
2. มีแร่ธาตุเสริมการทำงานของวิตามินไม่ครบ จริงๆแล้วก็ถือว่าไม่เลวร้ายอ่ะไรเพราะพวกแร่ธาตุต่างๆ พี่น้องก็ได้รับโดยตรงจากอาหารอยู่แล้ว แต่ต้องทานอาหารให้หลากหลายนะครับ

สรุป
แคลเซียมตัวนี้เหมาะสำหรับเด็กมากๆครับ แนะนำสำหรับผู้กินเจ นักมังสวิรัติ หรือ คนที่ไม่ค่อยกินอะไร เนื่องจากมีฟอสฟอรัสที่เหมาะสมอยู่แล้ว สำหรับคนที่กินอาหารที่หลากหลายอยู่แล้้ว ก็ลองดูเป็นตัวอื่นเห็นจะเหมาะสมกว่าครับ


Smiley view label

Smiley ดูสินค้าที่ร้าน

COUNTRY LIFE : Calcium Magnesium Complex 
POTENCY            : Calcium 1000 mg / 2 Tablets. 
QUANTITY          : 180 / 360 Tablets. 
PRICE                    : 800 บาท/1300 บาท 

ส่วนที่ดี
มีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ที่เหมาะสม 

ส่วนที่แย่
1. ไม่ Chelate แคลเซียมมาให้ 
2. ไม่มีแร่ธาตุและวิตามินเพื่อเสริมฤทธิ์แคลเซียม 
3. ขาดวิตามินดี 

สรุป
เป็นแคลเซียมที่มีส่วนประกอบหลักพื้นๆ แต่ทรงประสิทธิภาพ






Create Date : 27 เมษายน 2555
Last Update : 18 พฤษภาคม 2555 17:05:10 น.
Counter : 16125 Pageviews.

4 comments
  
อยากให้รีวิวยี่ห้อที่มีขายในไทยบ้างค่ะ เช่น viatra Blackmores mega
โดย: 3W IP: 10.74.73.86, 61.19.99.147 วันที่: 15 พฤษภาคม 2555 เวลา:8:23:45 น.
  
ตอบคุณ 3W
ได้ครับ จะพยายามรีวิวให้ดูกันเร็วๆนะครับ
โดย: เฟยเฟย (ultramaths ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2555 เวลา:9:52:12 น.
  
กิน bone solid สามารถเพิ่มความสูงได้มั้ยครับ
ทำร่วมกับออกกำลังกายอ่ะครับ
โดย: โฮคุคันนุ IP: 171.7.232.214 วันที่: 18 ตุลาคม 2556 เวลา:20:41:03 น.
  
กิน bone solid สามารถเพิ่มความสูงได้มั้ยครับ
ทำร่วมกับออกกำลังกายอ่ะครับ
โดย: โฮคุคันนุ IP: 171.7.232.214 วันที่: 18 ตุลาคม 2556 เวลา:20:54:25 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ultramaths
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]



ผม..เฟยเฟย รายงานตัวค้าบ
ultramaths ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อความทั้งหมดในblogนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
All rights reserved.