กุมภาพันธ์ 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
 
 
21 กุมภาพันธ์ 2555
รีวิว แมกนีเซียม







                ในร่างกายของเรา “แมกนีเซียม” เป็นแร่ธาตุที่สำคัญมากๆ เพราะในเซลล์ร่างกายของเรามีแมกนีเซียมมากเป็นอันดับสองรองมาจากโพแทสเซียม  (แต่โพแทสเซียมนั้นร่างกายมักได้รับเพียงพอจากอาหารอยู่แล้ว)  และยังเป็นแร่ธาตุพื้นฐาน 1 ใน 3 ของกระดูกอีกด้วย (ประกอบไปด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส) อาจเรียกแมกนีเซียมว่า “แร่กระดูก” ก็ยังได้ (แมกนีเซียมกว่า 60% อยู่ในกระดูกร่วมกับแคลเซียมและฟอสเฟต อีก 39% อยู่ในเซลล์ เหลือ 1% อยู่ในกระแสเลือด) แต่เรามักขาดแมกนีเซียมโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากการตรวจวัดที่ยาก การแสดงอาการขาดแมกนีเซียมที่ไม่ชัดเจน อีกทั้งขาดการกินพืชผักใบเขียวจัด ซึ่งพี่น้องส่วนมากไม่ค่อยกินกันในปัจจุบัน การกินธัญพืชขัดสี รวมถึงขาดการกินธัญพืช สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิด ภาวะขาดแมกนีเซียม แบบไม่รู้ตัว ส่งผลเสียต่อร่างกายมหาศาล แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือ การขาดแมกนีเซียม ทำให้ อายุขัยสั้นลง เกิดความเสื่อม ของเซลล์ ความชรา เร็วกว่าที่ควรจะเป็น
                พืชมีแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญ เนื่องจากว่ามันจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางของโมเลกุลคลอโรฟิลล์ (โดยแมกนีเซียมจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของวงแหวนพอร์ไฟริน(Porphyrin ring)) เปรียบเสมือนแกนหลักแห่งชีวิตของพืชเลยทีเดียว ในทำนองเดียวกับฮีโมโกบินบนเม็ดเลือดแดงของคนเราก็มีธาตุเหล็กเป็นแกนกลางเหมือนกันเช่นกัน (โดยธาตุเหล็กจะทำหน้าที่ศูนย์กลางของวงแหวนฟอร์ไฟริน (Porphyrin ring))  ถึงกับมีคนเปรียบว่า คลอโรฟิลล์เป็น “เลือดของพืช” กันเลยทีเดียว 
                นอกจากนี้แล้วอาหารที่เรากินในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย  เช่น มะเร็ง ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด  เป็นต้น เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีสภาพเป็นกรด (ความเป็น กรด-เบส ของอาหาร  …. อ่านต่อ) ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป หรือแม้กระทั่งแป้งก็ยังปรากฎกรดออกมาด้วย เช่น กรดแลคติก เป็นต้น แต่ว่าเลือดของเราจะต้องธำรงความเป็นเบสอ่อนๆ (pH 7.4)  เมื่อหยิน-หยาง ไม่สมดุลย์กันจึงก่อให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายเราคนเรามากมาย
                ปัจจุบันชีวิตคนเรามีความเร่งรีบ + กินผักผลไม้ลดลง + การเพิ่มของประชากรทำให้แมกนีเซียมในผักลดลง เนื่องจากพื้นที่การเกษตรที่ขาดความอุดมสมบูรณ์  + การกินโปรตีนมากขึ้น  + กินแป้งมากขึ้น + กินอาหารขยะมากขึ้น รวมถึง การไหลบ่าของวัฒนธรรมการกินของชาติตะวันตก จึงทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตอุบัติการณ์ของโรคเหล่านี้ในบ้านเมืองเราต่ำมากๆ หรือมีอัตราเสี่ยงที่ต่ำมากๆ แต่พี่น้องลองมาดูปัจจุบันซิคับ จะเห็นว่าประเทศของเรา มีผู้ป่วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนบางโรค ติดอันดับต้นๆเลยซะด้วยซ้ำ นั่นก็เพราะอาหารการกินในยุคนี้สมัยนี้ยังไงล่ะ ดังนั้นเพื่อสุขภาพร่างกายของเราเอง เราต้องเปลี่ยนนิสัยการกินโดยการกินผักใบเขียวและผลไม้ให้มากขึ้น ลดเนื้อสัตว์ลง ดื่มน้ำที่มีสภาวะด่างเท่านั้น จึงจะประคอง pH 7.4 ของร่างกายไว้ได้ (โดยการละลายผงแมกนีเซียมกับน้ำ ดื่มแทนน้ำตลอดวัน)
คนไข้หนักยิ่งต้องการแมกนีเซียมสูงกว่าปกติ ลองสังเกตกลิ่นลมหายใจของผู้ป่วยในห้องวิกฤติ (ICU) จะพบว่า...มีคล้ายกลิ่นกรดน้ำส้มอ่อนๆ หากทำได้ก็ควรให้ดื่มน้ำผสมแมกนีเซียมเพื่อลดกรดในกระแสเลือด แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากมีการมอบรางวัลโนเบลให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบความลับของแมกนีเซียมถึง 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งคุณประโยชน์ของแมกนีเซียมนั้น ถือว่าเป็นความรู้ใหม่สำหรับชาวบ้าน แต่ที่วงการยาและวงการอาหารเสริมไม่แตกตื่น (ไม่บูม) ก็เพราะว่า การสร้างมูลค่าจากแมกนีเซียมทำได้ยากนั่นเอง (แมกนีเซียมมันถูกไง)

ประโยชน์ที่จะได้รับจากแมกนีเซียม

1. ช่วยเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน  หรือ ช่วยลดความอ้วนนั่นเอง เนื่องจากแมกนีเซียมจะทำให้ไขมันในลำใส้เล็กแตกตัวคล้ายฟองสบู่เนื่องจากสภาวะด่าง ทำให้การดูดซึมลดลง แล้วถูกขับถ่ายออกมากับอุจาระ + ช่วยสังเคราะห์เลซิตินซึ่งเลซิตินจะช่วยลดไขมัน

2. ช่วยต่อสู้กับอาการซึมเศร้า และ อาการเครียด  (พบว่าแม้แต่หมูและวัว ที่เครียดจนตายจากการขนส่ง สามารถป้องกันได้จากการให้แมกนีเซียมก่อนการเดินทาง…. เป็นที่น่าสงสาร) นอกจากนี้ เมื่อรวมกับแคลเซียมแล้วทำหน้าที่เป็นยาสงบประสาทจากธรรมชาติอีกด้วย

3. ช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรงและป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

4. ช่วยลดระดับคอเรสเตอรอล  เนื่องจากแมกนีเซียมเป็นตัวเร่งเอนไซม์ในการสังเคราะห์เลซิติน ซึ่งช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ไปกวาดล้างไขมันเลว (LDL) แล้วพากลับไปที่ตับ ทำให้ลดการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน หลอดเลือดตีบหรือแตกกระทันหัน (Stroke หรือ CVA) ก่อให้เกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ หัวใจวาย 

5. การคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ ต้องอาศัยแมกนีเซียม หากขาดแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง  หากเกิดขึ้นกับหัวใจก็จะทำให้หัวใจหยุดเต้นในท่าหดตัว (cardiac contraction) ผลก็คือ ตายสถานเดียว

6. ช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina pain) นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเกิด “ตระคริว” ด้วย เนื่องจากแคลเซียมทำให้กล้ามเนื้อหดตัว แมกนีเซียมทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว หากขากแมกนีเซียมก็อาจก่อให้เกิดตะคริวจากการขาดแมกนีเซียมด้วย 

7. ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด หรือ เมื่อกำลังจะคลอดแล้วคุณแม่ส่ออาการครรภ์เป็นพิษ หรือ เกิดการชักในภาวะวิกฤต(ขณะคลอด) แพทย์จะฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต เพื่อสกัดกั้นอาการดังกล่าว  

8. ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เนื่องจากว่าในกระดูก เจ้าแมกนีเซียมเป็นเสมือนล้อแมกซ์ ซึ่ง เบา แต่ แข็งแกร่ง จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้กระดูกนั้นแข็งโป๊ก แต่ในทางกลับกัน ถ้าพี่น้องขาดแมกนีเซียม เมื่อร่างกายต้องการแมกนีเซียมไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ แต่มีไม่พอ ร่างกายจะดึงแมกนีเซียมออกมาจากกระดูกซึ่งก็จะทำให้กระดูกนั้นเหลือแต่ แคลเซียมกับฟอสเฟต ซึ่งไม่แข็งแรงเพราะขาดตัวเชื่อม ตัวประสาน ตัวยึดเกาะ ผลก็คือ ทำให้กระดูกเปราะนั่นเอง

9. ป้องกันการสะสมของแคลเซียมตามที่ต่างๆ ซึ่งหากขาดแมกนีเซียมแล้วอาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆตามมา เช่น เกิดนิ่วในไต หรือ นิ่วในถุงน้ำดี หรือ แคลเซียมไปเกาะตามลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท หัวใจจะบวมเพราะทำงานหนัก ถ้าเกาะที่เส้นเลือดก็ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ตีบ ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง และ หลอดเลือดแตกง่าย เนื่องจากหลอดเลือดไม่ยืดหยุ่น  และจะอันตรายมากหากเกิดบริเวณเส้นเลือดในสมอง  นอกจากนี้ หากไปเกาะที่ไมโตคอนเดรีย (เนื่องจากแมกนีเซียมในเซลล์ต่ำ) ก็จะทำให้ไมโตคอนเดรียหยุดทำงานเป็นผลให้เกิดการตายของเซลล์ ความแก่ชราและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆก็จะมาเยือนครับ

10. บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย

11. เวชศาสตร์การกีฬาในต่างประเทศ เค้าจะให้นักกีฬาจิบน้ำผสมแมกนีเซียมไว้ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน 

12. บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (MPS

13. บรรเทาอาการไมเกรน โรคหอบหืด 

14. แมกนีเซียมมีฤทธิ์เป็นด่าง จึงช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากกรดสะสมในร่างกาย เช่น มะเร็ง ข้ออักเสบ เก๊าท์ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด  รวมถึงลดความรุนแรงของโรค รูมาตอยด์

15. ใครไม่อยากแก่เร็ว รีบหาแมกนีเซียมมากินกันเหอะ 

16. เค้าไปพบโดยบังเอิญว่า แมกนีเซียมช่วยบรรเทาอาการหูตึง และ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งได้ผลดีมาก


ผลเสียที่จะได้รับจากแมกนีเซียม
1. ไม่ควรกินแมกนีเซียมร่วมกับยาเหล่านี้
Smileyอะมิโนควิโนโลน (รักษาโรคไข้มาลาเรีย) เนื่องจากแมกนีเซียมไปลดการดูดซึมของยา อาจจะทำให้ยาหมดฤทธิ์ในการรักษาโรคไข้มาลาเรียได้
Smileyคลอร์โพรมาซิน (ยากล่อมประสาท) เนื่องจากแมกนีเซียมจะไปลดการดูดซึมของยากล่อมประสาท
Smileyดิจอกซิน เนื่องจากแมกนีเซียมจะไปลดการดูดซึมของดิจอกซินเข้าสู่กระแสเลือด
Smileyไนโทรฟูแรนโทอิน เนื่องจากแมกนีเซียมจะไปขัดขวางไนโทรฟูแรนโทอินเข้าสู่กระแสเลือด
Smileyยาคลายกล้ามเนื้อระหว่างผ่าตัด เนื่องจากแมกนีเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดความยุ่งยากอย่างร้ายแรงได้ เคยมีรายงานเรื่องนี้ เมื่อให้แมกนีเซียมทางหลอดเลือดดำ แต่ต้้องบอกศัลยแพทย์ก่อนถ้าหากกินแมกนีเซียมอยู่
Smileyยาลดความหนืดของเลือด เนื่องจากแมกนีเซียมอาจจะไปลดประสิทธิภาพของยาลดความหนืดของเลือดชนิดรับประทาน
Smileyเพนิซิลลามีน เนื่องจากแมกนีเซียมไปลดประสิทธิภาพของเพนิซิลลามีน
Smileyยาปฎิชีวนะเตตราไซคลิน เนื่องจากแมกนีเซียมจะไปลดประสิทธิภาพของยา
Smileyทิลูโดรเนต เนื่องจากแมกนีเซียมจะไปลดการดูดซึมทิลูโดรเนต ควรกินให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับแมกนีเซียม
1. จำเป็นต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ

2. มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นพลังงาน

3. เป็นแร่ธาตุที่ช่วยคลายความเครียด

4. คนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ควรได้รับแมกนีเซียมเพิ่ม

5. ขนาดแนะนำคือ 250 mg – 500 mg ทุกวัน

6. ควรกินคู่กับแคลเซียมอย่างละครึ่ง

7. แมกนีเซียมเสริมไม่ควรกินหลังอาหารทันทีนะเพราะมันจะไปลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้

8. ถ้าการออกกำลังกายทำให้พี่น้องหมดเรี่ยวหมดแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า พี่น้องอาจต้องการแมกนีเซียมเพิ่ม

9. พี่น้องที่กินยาคุมกำเนิดหรือกินยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิง(ฮอร์โมนเอสโตรเจน) ทุกรูปแบบ ควรกินแมกนีเซียมให้สูงๆเข้าไว้

10. เนื้อสัตว์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากนม ให้แมกนีเซียมในปริมาณที่ต่ำ

11. ธัญพืชที่ไม่ขัดสี มะเดื่อฝรั่ง อัลมอลด์ ถั่ว ผักสีเขียวเข้มๆ กล้วย ให้แมกนีเซียมสูง

12. หากพี่น้องเป็นโรคเบาหวานชนิดดื้อต่ออินซูลิน การกินแมกนีเซียมขนาดสูงจะช่วยลดความดันโลหิตได้ (ปรึกษาแพทย์ของพี่น้องก่อนเริ่มกินแมกนีเซียมเสริมนะ) และ มีผลการวิจัยว่า การกินแมกนีเซียมคู่กับโครเมียม ช่วยลดอาการดื้ออินซูลินของเซลล์ คับพี่น้อง ทำให้การลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ดีขึ้น

13. แมกนีเซียมเสริมการทำงานของวิตามิน บี 1 บี 2 และ บี6 ดังนั้นการขาดแมกนีเซียมอาจจะทำให้พี่น้องพบภาวะที่เกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบีได้ เช่น อาการชัก

14. 3 ใน 4 ของปฎิกิริยาเคมีทั้งหมดของร่างกายหรือกว่า 300 ปฎิกิริยา ต้องอาศัยแมกนีเซียมเป็นตัวเร่งปฎิกิริยา (Cofactor) โดยเฉพาะการผลิตพลังงาน ATP ร่วมกับ ATPase แมกนีเซียมจึงเปรียบเสมือนน้ำมันเครื่องประจำห้องเครื่อง (ไมโตคอนเดรีย) โดยทำงานควบคู่กับโคคิวเทนซึ่งเปรียบเสมือนหัวเทียนที่เป็นตัวเริ่มสปาร์คไฟ

15. น้ำอัดลม จะมีกรดฟอสฟอริค ซึ่งมันจะไปทำปฎิกิริยากับแมกนีเซียมในลำใส้ทำให้ แมกนีเซียมตกตะกอน กลายเป็น แมกนีเซียมฟอสเฟต และไม่ถูกดูดซึม  ผลคือ สมาธิสั้น ยกพวกตีกัน เป็นต้น

16. การรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุพบว่า หากให้แมกนีเซียมซัลเฟตจะได้ผลดีกว่ายาละลายลิ่มเลือดและปลอดภัยกว่ามาก

17. นม มหันตภัยร้ายที่พี่น้องอาจจะไม่รู้ คือ นมมีสัดส่วนระหว่างแคลเซียมกับแมกนีเซียมสูงเกินไปหรือมีแมกนีเซียมสูงเกินไป จึงไปส่งเสริมให้แคลเซียมไปเกาะตามอวัยวะต่างๆได้ หากเสริมแมกนีเซียมไม่เพียงพอ มีพี่น้องบางคนบอกว่า ถ้างั้นก็เอาแมกนีเซียมผสมนมซะซิ เพราะชอบดื่มนม ผมขอตอบว่า ห้ามผสมแมกนีเซียมกับนมนะครับ เพราะจะเกิดการจับตัว (curd) เป็นวุ้น อีกอย่าง ผู้ใหญ่ควรเลิกกินนมได้แล้วนะคับ (อ่านต่อ….)

18. การกินแมกนีเซียมเกินขนาดไม่มากนักไม่มีอันตราย และจากผลการทดลองวิจัยพบว่าถึงกินแมกนีเซียมเกินขนาดไปมากๆ ก็ยังไม่พบอาการผิดปกติใดๆ หากไตทำงานปกติ ยกเว้นเจตนาฆ่าตัวตาย (ผมจะไม่ลงรายละเอียดเพราะถือเป็นการชี้ทาง)

แมกนีเซียมที่ควรเลือกซื้อ
1. ตัวของแมกนีเซียมเองอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ ดังนั้นควรกินร่วมกับแคลเซียมนะพี่น้อง หรือควรกินในรูปของ แมกนีเซียมไกลซิเนต หรือ แมกนีเซียมกลูโคเนต หรือ แมกนีเซียมซิเตรต แต่ถ้ากินๆไป แล้วท้องร่วงอีกก็ให้ลดปริมาณแมกนีเซียมลงครับ

2. แมกนีเซียมที่ละลายในน้ำดื่มจะดูดซึมได้ดีกว่าแมกนีเซียมอัดเม็ด เช่น แมกนีเซียมไฟโดเลต โดยละลายแมกนีเซียมขนาด 350 mg กับน้ำสะอาด 1-2 ลิตร ใช้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน ซึ่งยังไงก็อยู่ในเกณฑ์ RDI คือ 6 mg/น้ำหนักตัว 1 kg

3. แมกนีเซียมแบบอัดเม็ดควรเป็นแบบ Chelation 




Smiley view label

Smiley ดูสินค้าที่ร้าน

LIFE EXTENSION : Neuro-Mag Magnesium L-threonate
POTENCY                : 144 mg / 3 Vcapsules
QUANTITY              : 90 Vcapsules
PRICE                       : 1300 บาท

                แมกนีเซียมตัวนี้เป็นของค่าย Life Extension ครับ ที่แตกต่างและน่าสนใจก็คือ ค่ายนี้เค้านำเสนอแมกนีเซียมตัวหนึ่ง ซึ่งก็คือ Magnesium L-threonate ซึ่งแมกนีเซียมทั่วไปจะไปทำงานประสานทั้งร่างกายครับแต่ส่วนน้อยที่จะผ่าน Blood Brain Barrier ของสมองไปได้เพื่อเข้าสู่สมองไปบำรุงเซลล์ประสาท ดังนั้นแมกนีเซียมตัวนี้เค้าจึงออกแบบให้มันถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบประสาทได้อย่างดีซึ่งจะไปบำรุงเซลล์ประสาทนั่นเอง(พี่น้องจำได้มั๊ยว่า ผมเคยบอกครั้งหนึ่งว่าเจ้าแมกนีเซียมเนี๊ยมีคุณสมบัติยับยั้งการเสื่อมของเซลล์ ยังผลให้เซลล์มีอายุที่นานขึ้น ตายยากขึ้นนั่นเอง ทีนี้ผมจะแบ่งแบบหยาบๆเลยว่า เซลล์ในตัวเราเนี๊ยแบ่งเป็นเซลล์ร่างกาย กับเซลล์สมอง ซึ่งเซลล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ มีข้อต่างกันใหญ่ๆ เลย 2 ประการ คือ

1. เซลล์ประสาทก็เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งนั่นแหละที่เป็นการเสื่อม การตาย เป็นของธรรมดา แต่ที่มันต่างจากเซลล์ร่างกายทั่วไปก็คือ มันเพิ่มจำนวนขึ้นมาเรื่อยๆตั้งแต่อยู่ในท้องจนถึงอายุประมาณ 5 ขวบ เท่านั้นคับ ทีนี้มันจะไม่เพิ่มขึ้นมาอีกครับ มีแต่จะตายไป ลดลงไปเรื่อยๆโดยหามาทดแทนไม่ได้เลย ต่างจากเซลล์ร่างกายที่เพิ่มขึ้นมาได้เรื่อยๆ และตายลงไปได้เรื่อยๆเช่นกัน (การวิจัยล่าสุดพบว่า สมองผู้ใหญ่สามารถสร้างเซลล์ประสาทใหม่เอี่ยมที่ทำงานได้ดี!!! และไม่ใช่ทีละน้อยๆ แต่เป็นจำนวนมากถึงวันละ 25,000 เซลล์ขึ้นไป !!! แต่จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อ เราต้องให้อาหารแก่สมองและดูแลสมองอย่างเหมาะสมเท่านั้น)

2. เซลล์ร่างกายเวลาได้รับสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน อะไรก็ตามที สารพวกนั้นสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ไม่ยากเย็นอะไร แต่ถ้าหากเป็นเซลล์สมองล่ะก็ยากเต็มทน เนื่องจากร่างกายมนุษย์ถูกออกแแบบมาให้อะไรก็ตามที่จะเข้าสู่สมองต้องถูกสแกนอย่างละเอียดครับ มันจะไม่ปล่อยให้อะไรๆก็ตามเข้าออกตามอำเภอใจ มีสารอาหารเพียงน้อยนิดครับที่จะเข้าสู่สมองได้ และอีกส่วนมากไม่สามารถเข้าไปได้ การเข้าสู่สมองของสารอะไรก็แล้วแต่จะผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Blood Brain Barrier ทีนี้แล้วไงต่อ ก็เนื่องจากความฉลาดของสมองไงคับ ฉลาดมากเกินไปจนทำให้เราอยากกินอะไรที่มันบำรุงสมองบ้างอะไรบ้าง ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เพราะมันเข้าสมองไม่ได้!!! เข้าใจรึยังครับ ดังนั้น เซลล์สมองจึงตายไปๆ เรื่อยๆ แบบไม่ได้ถูกยืดอายุเอาไว้ครับ)

                 แมกนีเซียมก็เป็นตัวหนึ่งที่เข้าสู่สมองได้น้อยครับ ยี่ห้อนี้เค้าเลยอ้างว่าออกแบบให้แมกนีเซียมเนี๊ย ตรงเข้าสู่สมองเป็นหลักไง พูดแบบง่ายๆว่า แมกนีเซียมตัวนี้ จุดมุ่งหมายหลักก็คือ มันไปช่วยเซลล์สมองให้แก่ช้าลง ให้ตายช้าลงคับ โดยเค้าทดลองกับสัตว์ทดลองครับ และมีการทดลองชั้นคลินิคด้วยแต่มีรายงานน้อยฉบับ หลังจากอ่านการวิจัยของเค้าแล้วก็โอเคเลย

ส่วนที่ดี
1. มุ่งเสริมสร้าง ยืดอายุ ลดความเสื่อม ของเซลล์ประสาทโดยตรง ในขณะเดียกันก็ยังทำหน้าที่ของแมกนีเซียมเหมือนเดิมทุกอย่างที่กล่าวไปข้างต้น
2. เมื่อเปรียบเทียบกับแมกนีเซียมธรรมดาพบว่า แมกนีเซียมตัวนี้ทำให้ ความจำระยะสั้นดีขึ้น 18% และทำให้ความจำระยะยาวดีีขึ้น100%
3. แมกนีเซียมตัวนี้จะถูกดูดซึมเข้าไปในน้ำเลี้ยงสมอง ( CSF) ได้มากกว่าแมกนีเซียมปกติ 15%

ส่วนที่แย่
1. ทำวิจัยในสัตว์ และมีการทดลองในชั้นคลินิคด้วย แต่รายงานยังไม่มากพอ

สรุป
1. ผมว่าเหมาะกับคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องเงินทอง ถ้าคิดจะซื้อแล้วคิดว่าแพงไปมั๊ย อันนี้แนะนำว่าอย่าซื้อเลยครับ เอาเงินไปซื้อตัวบำรุงสมองตัวอื่นดีกว่า
2. เหมาะกับคนที่ใช้สมองทำงานหาเงิน หรือ ใช้สมองเยอะ คืออย่างผมเนี๊ยผมใช้สมองเยอะเพื่อหาเงิน เงินที่ได้มาก็เยอะกว่าในหลายๆสายอาชีพ ผมจึงได้ลงทุนกับสมองโดยไม่เสียดายเงินอะไร ก็คิดซะว่าเป็นของขวัญให้กับมันไป เพราะมันทำประโยชน์ให้ก็เรามาก็เยอะ มีผลิตภัณฑ์หลายตัวสำหรับบำรุงสมองที่ได้ผล ซึ่งผมจะเขียนต่อไปนะครับ





Reference : กฤษดา สิรามพุชนพ : ถ้าไม่รู้จักอาหารเสริมก่อนแก่ ISBN 978-974-7814-56-9 / ธรรมชาติ ต้านมะเร็ง ISBN 978-974-7814-69-9 / แก้ว กังสดาลอำไพ รศ.ดร : อาหารพอเพียงต่อต้านมะเร็ง ISBN 978-974-660-1610 / ใกล้หมอ ก.พ. 2546 / คณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรีรวิทยา 1 ISBN 974-661-641-2 / คลินิก ปีที่ 25 8 ส.ค. 2552 ISBN 0857-149x / คู่มืออบรมเวชศาสตร์ครอบครัวครั้งที่ 30 2544 ISBN 974-88329-29 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ : อายุรศาสตร์แนวใหม่ ตุลาคม 2552 ISBN 974-332-792-4 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ตำราอายุรศาสตร์ 4 ISBN 978-974-03-1/939-9 / ฉลาดซื้อ ISSB 0858-9461 พ.ค.-มิ.ย. 52 / เฉลียว ปิยะชน ศ.นพ. : รู้สู้โรค ISBN 974-409-833-3 / หลอดเลือดแข็งตีบตันป้องกันได้ : ISBN 974-409-792-2 / ชีวโมเลกุลทางการแพทย์ของศูนย์ชีวโมเลกุลเอเชีย / ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : มหัศจรรย์ น้ำมะพร้าว เล่ม 1-2-3 ตุลาคม 2551-52 / กัลปพฤกษ์ ก.ค. 2552 / ทวีศักดิ์ บูรณวุฒิ พอ.รศ. : วารี พร้อมเพชรรัตน์ พอ. หญิง ผศ.ดร. บก. : สาระสำคัญวิชาสรีรวิทยา โครงการตำรา วพม ISBN 974-7634-22-8 / เทพ หิมะทองคำ ศ.เกียรติคุณ นพ. เบาหวาน ฉบับเทพ ISBN 978-7318-29-5 / เทอดศักดิ์ เตชคง พบ.วรสารคลินิก นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ธันวาคม 2549 ISSN 0857-149x / ธาดา เปี่ยมพงศ์สานต์ นพ. : เวชปฎิบัติโรคผิวหนัง ISBN 974-8615-40-5 / ธิดากานต์ รัตนบรรณากูร นพ. : สูตรลับชะลอวัย Anti-Aging ISBN 978-974-212-840-1 / ธีรวัฒน์ บูรวัฒน์ พบ. วรสารคลินิค พ.ค. 49 ISSN 0857-149x / นิวัฒน์ ศิตลักษ์ นพ.,สมบูรณ์ ธนกิจสินทร.,แน่งน้อย เฉลิมโรจน์ ภญ.,พัชร์อริญ กาญจนวรินทร์ ภญ.: การแพทย์บูรณาการ ฉบับหมอมวลชน. ISBN 978-974-350-398-6 / นราชาญ เอื้อประเสริฐ นพ. , อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ นพ. บก. : Essential Hematology for general Practitioners 2552 / นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีระวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลินิค 257(22)/5/49 / นิจศรี ชาญณรงค์ ภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอยุรศาสตร์แนวใหม่ โครงการตำราอายุรศาสตร์ ฉบับี่ 19 ISBN 974-332-792-4 / นิสา เลาหพจนารถ ภญ. : วงการยา ก.พ. 54 / บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล นพ. และ ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรค ธ.ค. 2551 ISBN 978-974-9751-53-4 / บรรเจิด ตันติวิท นพ., ดวงจิตติ สรรพศรี ตันติวิท : หลิงจือกับข้าพเจ้า ISBN 974-90278-8-4 / ประเวศ วะสี ศ.นพ. บรรณาธิการ : โลหิตวิทยา 2513 / ประสาน เปรมะสกุล พลเอก : เบาหวานรู้จริงจะเบาใจ ISBN 974-9608-17-8 / ลดความดันเลือดด้วยตัวเอง ISBN 974-90858-7-6 / มะเร็งพ่าย ISBN 974-91833-7-1 / Dermatology 2000 ISBN 974-7803-34-8 / ปรียา กุลลวณิชย์ / ประวิทตร พิศาลบุตร : ปัญหาได้รับการปรึกษาบ่อยทางอายุรศาสตร์ : กองอายุรกรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 2546 ISBN 974-915066x / พิชิต สุวรรณประกร พบ. : ตำรับยาและวิธีรักษาโรคผิวหนัง ISBN 974-86164-7-9 / พินิจ ลิ้มสุคนธ์ นพ. : รู้ทันโรค รู้ทันหมอ เล่ม 1 2551 ISBN 978-974-05-3564-5 / ภาควิชาเคมี คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ : เซลล์ชีววิทยาทางการแพทย์ 1-2 //www.md.chula.ac.th/biochem / กลไกการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื้อ / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ก้าวทันชีวเคมีทางการแพทย์ สูงวัย ห่างไกลโรค ISBN 974-9980-63-8 / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำราชีวเคมี 2548 ISBN 974-284-073-3 / ภาคสูตินศาสตร์ - นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์จุฬา : ตำรานรีเวชวิทยา 2547 ISBN 974-277-898-1 / ยุวดี สมิทธิวาสน์ ภญ. : ประโยชน์ของธาตุสังกะสีต่อสุขภาพ //www.elib-online.com / รีดเดอร์ไดเจสท์ : คู่มือฉลาดใช้วิตามินและแร่ธาตุและสมุนไพร ISBN 974-93003-5-1/มหัศจรรย์ อาหารต้านโรค 2549 ISBN 974-9784-42-4/1001/ตำรับยาใกล้ตัว ISBN 974-7784-31-9 / รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผศ. นพ. , กัมมันต์ พันธุมจินดา ศ. นพ. , ศรีจิตรา บุนนาค ศ. พญ.ท่านผู้หญิง : พาร์กินสันรักษาได้ ISBN 974-9922-40-9 / รุษณา สวนกระต่าย รศ.นพ.,ชานินทร์ อินทรกำธรชัย ศ.นพ. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ บก. : update in Problem-Based Medical Practices ISBN 974-9941-780 / เรย์ ดี แสตรนด์ นพ. เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริม บำบัดโรค...ความตายอาจ...กำลังครอบงำคุณ แปลโดย พรหมพัฒณ ธรรมรัตน์จินดา 2549 ISBN 974-94582-0-6 / ลลิตา ธีรสิริ พญ. : ภูมิเพี้ยน ISBN 978-974-9751-21-3/หลับไม่ดี มีทางแก้ ISBN 974-9754-97-8 / วิจิตร บุณยะโหตระ ศ. ดร. นพ. :ศาสตร์ชะลอวัย.ISBN 978-616-7005-35-5 / วัฒนา เลี้ยววัฒนา รศ.นพ. : Hemocysteine ISBN 974-05-0158-3 / วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ภก. : ศาสตร์ชะลอชรา ISBN 978-974-06-0702-1 / วิตามินและโภชนาบำบัด ศาสตร์มัศจรรย์ชะลอความชรา ISBN 978974-06-0702-1 / เวชศาสตร์ครอบครัว ครั้งที่ 30 พ.ศ.2544 ISBN 974-88329-2-9 / ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ พ.อ.หญิง / และคณะ แปล วารสาร อาหาร & สุขภาพ ฉ.104/2546 , ฉ84,85,86/2543 , ฉ.97/2545 / ศักดา ดาดวง ดร. แปล โภชนาการต้านมะเร็ง ISBN 978-974-212-811-1 / ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ พบ.จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารคลินิก ส.ค. 2553 ISBN 0857-149x / ศุภวรรณพิพัฒนพรรณวงศ์ กรีน : ไอน์สไตล์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ ISBN 974-9412-59-1 / สง่า ดามาพงษ์ : อ้วนอันตราย ...ไม่อยากตายต้องลดอ้วน ISBN 978-974-7361-63-6 / สมยศ กิตติมั่นคง นพ. : เมื่อหมอต้องลดความอ้วน ISBN 978-974-7316-41-4 / สมศักดิ์ วรคามิน ศ.ดร.นพ. : King of Herbs ISBN 978-974-067570-9/Food of the Future ISBN 978-974-04-4242-4/Omega 3 น้ำมันปลา ISBN 978-974-7512-92-2 / Stem cell 2552 ISBN 978-974-03-2283-2/ Water for Life ISBN 974-90899-9-5/ มหัศจรรย์แมกนีเซียม ISBN 974-92340-5-7 / เบต้ากลูแคน ISBN 978-974-03-2650-2 / สมหมาย ถุงสุวรรณ บก. : นรีเวชวิทยา โครงการตำราศิริราช 2523 / สมาคมรูมิติสซั่มแห่งประเทศไทย โรคข้อและรูมาติสซั่ม ISBN 978-974-0529163/ISBN 974-94142-4-1 / สรจักร ศิริบริรักษ์ ภก. : โรคกระดูกพรุน คอลัมน์ เภสัชโภชนา นิตยสารพลอยแกมเพชร / สรรพสาร DNA Volume 036, May 2009 USSB 1686-3658 / สรรพสารวงการแพทย์ 1-15/09/10 / สรรพสารวงการยา ISSN 1513-5896 ส.ค. 52 / สรีรวิทยา : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุ๘ ISBN 974-7762-41-2 / สุพรพิมพ์ เจียสกุล และคณะ สรีรวิทยา 3 ISBN 974-661-641-2 (ล.3)2552 / สุรพล รักปทุม นพ. : สู้มะเร็งด้วยเห็ดหลินจือ ISBN 978-974-7525-86-1 / หมอมวลชน บจก.โภชนาการ เล่ม 1, 2 / เอมวลี อมรมย์ดี พบ. : โรคเก๊าท์และภวะกรด ยูริคสูง / Belardinelli R, et al (2005) Coenzyme Q 10 improves contrac tility ofdysfunctional myocardium in chronic heart failure, Biofac tors, 25 (1-4) p. 137-45 / Cooper JM , et al (2003) Friedreich’s Ataxia : disease mecha nisms , antioxidant and Coenzyme Q10 therapy, Biofactors ; 18(1-4) p.163-71 / Earl mindell : The new vitamin bible. ISBN 978-616-529-016-6 / Ely, JTA (2000) A Brief Update on Ubiquinone (Coenzyme Q10), Journal of Orthomolecular Medicine 2000; 15(2) p. 63-68 / Ferrante KL, etal (2005) Tolerance of high-dose (3000 mg/day> coenzyme Q10 in ALS,Neurology, Dec 13; 65(11) p. 1834-6 / Hathcock JN, et al (2006) Risk Assessment for coenzyme Q10(Ubiquinone) , Regul Toxicol Rharmacol, Aug; 45(3) p. 282-8 / Healthy Eating –Fat and Cholexterol //www.diabetes-insght.info/healthy-eating/DL-gat.asp ///en.wikipedia.org/wiki/conjugated-linoleic-acid / //thyroid.about.com.cs.dietweightloss.a.cla.htm /http:..www.consumeraffairs.com/diet/news/20060522/cla_weight_loss_debate_continues / //www.zincinfothailand.com / Kalpravidh RW et al (2005) Dffect fo coenzyme Q10 as an antioxidant in beta-thalassemia/Hb E patients,Biofactors, 25(1-4) p. 225-34







Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 18 พฤษภาคม 2555 17:08:27 น.
Counter : 20260 Pageviews.

4 comments
  
มียี่ห้ออื่นไหมอะครับ
โดย: วิน IP: 110.168.115.248 วันที่: 29 มิถุนายน 2555 เวลา:13:47:04 น.
  
รบกวนถามค่ะ
แล้วถ้ากินนมเข้าไปก่อน แล้วค่อยกินแมกนีเซียมตามได้หรือเปล่าค่ะ มันจะไม่จับเป็นก้อนใช่มั้ยคะ
โดย: แก้ว IP: 119.46.221.47 วันที่: 25 กันยายน 2556 เวลา:10:49:57 น.
  
กินแมกนีเซี่ยมของnatures bounty....ขนาด250กรัม ทุกวันเปนอันตรายไม้คะ
โดย: เหมยหลิน IP: 27.55.140.13 วันที่: 3 มกราคม 2557 เวลา:20:17:25 น.
  
อาการเส้นขายึด กล้ามเนื้อกระตุก ลักษณะค้่ยตะคิว จะทานได้ไหมครับ
โดย: เก้ว IP: 171.5.251.191 วันที่: 9 มกราคม 2557 เวลา:19:50:51 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ultramaths
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]



ผม..เฟยเฟย รายงานตัวค้าบ
ultramaths ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อความทั้งหมดในblogนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
All rights reserved.