พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
รีวิิิว ซีลีเนียม part 1



ซีลีเนียมซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบเพียงเล็กน้อยในร่างกาย แต่ก็มีความจำเป็นแบบขาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะว่าเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเอนไซม์กลูต้าไธโอน เปอออกซิเดส (Glutathione Peroxidase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในการกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย (เคยกล่าวถึงแล้วในเรื่องกลูต้าไธโอน) ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยได้สนใจแร่ธาตุตัวนี้ จนกระทั่งไม่นานมานี้จึงได้พบว่า สัตว์ที่กินพืชที่ขาดซีลีเนียม จะมีอาการต่างๆ เช่น เจริญเติบโตไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อลีบ โรคตับ โรคหัวใจ มะเร็ง เป็นหมัน ต้อกระจก รวมถึงอารมณ์เสีย เป็นต้นดังนั้นซีลีเนียมอาจจะมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อโภชนาการของมนุษย์ เพราะ ซีลีเนียมอาจจะช่วยนการป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดได้ประโยชน์ที่จะได้รับจากซีลีเนียม1. ซีลีเนียม เป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ กลูต้าไธโอน เปออกอกซิเดส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ทำงานร่วมกับวิตามินซีและอี ป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด ต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม (AMD)2. มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง เนื่องจากมันเป็นสารต้านอนุมูบอิสระและยังช่วยในการสร้างเอนไซม์กลูต้าไธโอนเปอออกซิเดส ซึ่งมีหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระต่างๆ ที่มาทำอันตรายต่อเซลล์หรือเปลี่ยนแปลงให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งNote เอนไซม์กลูต้าไธโอน เปอออกซิเดส เป็นเอนไซม์ที่พบบริเวณของเหลวทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ทั่วร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายฤทธิ์ของสารที่เรียกว่า เปอร์ออกไซด์ ซึ่งมีระดับออกซิเจนอยู่สูง เนื่องจากว่าออกซิเจนส่วนเกิน สามารถก่อพิษแก่เซลล์ของร่างกายและเป็นสาเหตุของการทำลายเนื้อเยื้อ เรียกได้ว่า เปอร์ออกไซด์เป็นสารที่คอยจ้องแต่จะทำลายเนื้อเยื้อและเยื่อบุต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อชีวิตจึงสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรือแม้แต่ว่าจะทำให้ตายได้เชื่อกันว่า กลูต้าไธโอน เปอร์ออกซิเดส ทำหน้าที่เป็นปราการด่านแรกที่จะเผชิญกับการทำลายล้างของเปอร์ออกไซด์ วิตามินอีซึ่งประจำที่อยู่ในเยื้อหุ้มเซลล์ก็จะเป็นทัพหนุนคอยช่วยกลูต้าไธโอน เปอร์ออกซิเดส เพื่อทำลาย เปอร์ออกไซด์ ดังนั้น ทั้งซีลีเนียมและวิตามินอีจึงทำงานเคียงบ่าเคียงใหล่กันในบทบาทของการป้องกันเนื้อเยื้อของร่างกาย3. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ซีลีเนียมจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์ฟาโกไซต์ ให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น4. ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุที่ช่วยในการรีไซเคิลสาร Antioxidant ที่สำคัญของร่างกาย ได้แก่ กลูต้าไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี ให้กลับมาใช้งานได้อีก ส่งผลให้การกำจัดอนุมูลอิสระมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก5. ลดการเสื่อมของเซลล์ จึงมีผลใหนการชะลอความแก่ที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง6. ป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และการเป็นหมัน7. จากฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส ซีลีเนียมจึงน่าจะป้องกันเริมที่ริมฝีปาก และ งูสวัดได้ เพราะทั้งสองโรคนี้เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายลดต่ำลง มีการทดลองในหนูทดลองพบว่า มีการก่อโรคของไวรัสทั้งสองเมื่อหนูขาดซีลีเนียม8. โรคเกซัน ซึ่งเป็นโรคของชาวเมืองเกซัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ดินขาดธาตุซีลีเนียม ทำให้เด็กในเมืองนี้มีอาการหัวใจพองโต จนถึงกับเสียชีวิตได้ แต่เมื่อเด็กได้รับการรักษาโดยใช้ยาเม็ดซีลีเนียม ผลปรากฎว่าสามารถช่วยให้รอดชีวิตได้9. มีการวิจัยเล็กๆ รายงานว่า เมื่อให้ซีลีเนียมร่วมกับสังกะสี วิตามินอี วิตามินเอ และ วิตามินบี พบว่าช่วยให้อัตราการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารลดลง10. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นโลหิตในสมองตีบ11. ช่วยคงความยืดหยุ่นอ่อนเยาว์ ให้กับเนื้อเยื้อส่วนต่างๆ12. บรรเทาอาการร้อนวูบวาบและอาการต่างๆ ในช่วงวัยทอง13. ช่วยรักษาและป้องกันรังแค14. เพิ่มจำนวนสเปิร์มและประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในผู้ชายโทษที่ได้รับจากซีลีเนียม1. ห้ามผู้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ต่ำ กินซีลีเนียม 2. ห้ามกินเกิน 350 mcg/day เพราะจะทำให้เล็บหนา แต่เปราะ เล็บหลุด ผมร่วง ซึมเศร้า ปวดท้อง คลื่นใส้ อาเจียน ท้องเสีย กลิ่นลมหายใจและเหงื่อเหม็นเหมือนกระเทียม ลิ้นรับรสผิดปกติ ชาที่ผ่ามือ ฝ่าเท้า มีรสขมในปาก สีผิวออกสีเหลือง เลือดจาง และ โรคดีซ่าน3. หากกินเกิน 800 mcg/day จะส่งผลให้เกิดการทำลายเนื้อเยื้อ4. พบรายงานการเกิดพิษกับสัตว์ทดลองมากมาย แต่เป็นที่น่าประหลาด เนื่องจากไม่เคยมีรายงานเรื่องพิษของซีลีเนียมต่อมนุษย์ที่อาศัยอยู่กับสัตว์ที่ได้รับพิษจากซีลีเนียมออกมาเลยแต่เคยมีรายงานว่า หมู่บ้านในประเทศจีน ที่มีความแห้งแล้ง กันดาร บังคับให้ชาวบ้านต้องกินผักที่มีซีลีเนียมความเข้มข้นสูง เพราะการขาดน้ำของผัก และพบว่า อาหารที่ชาวบ้านกินกันมีซีลีเนียมสูงถึง 3,000 mcg – 7,000 mcg พิษของซีลีเนียมที่เกิดกับชาวบ้านก็คือ ขนและผมร่วง เล็บหลุด และมีกาการทางระบบประสาท 5. มีการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า มีความเกี่ยวโยงกันอยู่ระหว่างน้ำที่มีซีลีเนียมความเข้มข้นสูงกับการเกิดโรคฟันผุข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับซีลีเนียม1. มีงานวิจัยหลายแห่งที่ยืนยันว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีระดับซีลีเนียมในดินต่ำ จะป่วยเป็นมะเร็งมากกว่ากว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีซีลีเนียมในดินสูง มะเร็งที่ว่านี้ เช่น มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้สภาวิจัยของสหรัฐอเมริกาก็ให้ข้อมูลว่า การเพิ่มซีลีเนียมในน้ำหรืออาหาร จะช่วยป้องกันมะเร็งที่เกิดจากสารเคมีหรือพิษจากสิ่งแวดล้อมหลายชนิด2. การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็ง พบว่าผู้ป่วยที่มีปริมาณซีลีเนียมในกระแสเลือดน้อยที่สุด จะมีโอากาสในการเกิดเนื้องอกได้มากกว่า และมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของมะเร็งได้มากกว่า กลุ่มที่มีปริมาณซีลีเนียมในเลือดในระดับปกติ นักวิจัยเชื่อว่าซีลีเนียมน่าจะเป็นหนึ่งในสารอาหารต้านโรคทีสำคัญยิ่ง3. แหล่งอาหารที่พบซีลีเนียมนั้น ส่วนใหญ่พบมากใน เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล และเมล็ดธัญพืชทั้งเปลือก นอกจากนี้ยังพบซีลีเนียมใน ยีสต์ ขนมปัง เนื้อสัตว์ บรอกโคลี เห็ด กระเทียม Note ผักและผลไม้จัดเป็นแหล่งของซีลีเนียมที่ไม่ดี รวมถึงอาหารที่ผ่านการขัดสี ทำความสะอาด อ่านการปรุง หรือเทน้ำมันปรุงทิ้ง ล้วนแต่เป็นอาหารที่มีซีลีเนียมต่ำทั้งสิ้น4. พืชที่ปลูกบนที่ดินที่มีปริมาณซีลีเนียมต่ำ มักมีปริมาณซีลีเนียมในพืชนั้นๆต่ำไปด้วย 5. การได้รับซีลีเนียมไม่เพียงพอในระหว่างตั้งครรภ์ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะความพิการที่เกี่ยวกับหัวใจ6. มีการศึกษาวิจัยการขาดซีลีเนียมในสัตว์ โดยเฉพาะในสัตว์ปีก ซึ่งผลรายงานออกมาชัดเจน แต่เกือบไม่มีการทราบกันเลยว่า ถ้ามนุษย์ขาดซีลีเนียมแล้วจะเป็นอย่างไร แม้กระทั่งผู้ทีอยู่ในพื้นที่ที่ดินมีซีลีเนียมต่ำ ก็พบอาการของผู้ขาดซีลีเนียมเพียงไม่กี่ราย คนเหล่านั้นเกิดโรคหัวใจบวมโต ซึ่งตอบสนองต่อการให้ซีลีเนียมเสริม แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่า เด็กที่อาศัยอยู่ที่เกซัน มีอาการของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตนั้น จะเกี่ยวข้องกับการขาดซีลีเนียม จริงหรือไม่ 7. สังกะสี แคดเมียม และ ทองแดง ทำลายฤทธิ์ของซีลีเนียมภายในร่างกาย และการได้รับแร่ธาตุเหล่านี้ในปริมาณสูง อาจจะถึงกับสามารถทำลายฤทธิ์การป้องกันมะเร็งของซีลีเนียมได้ แม้จะยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้กับมนุษย์เพื่อเป็นการยืนยันก็ตามที เราเชื่อว่า การกินแร่ธาตุผสมที่ได้จากหรือเกิดจากธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุผสมที่มีอยู่ในเมล็ดธัญพืชทั้งเปลือก และ จากอาหารทะเล ย่อมดีกว่าการกินแร่ธาตุเข้าไป 8. ผู้ชายต้องการซีลีเนียมมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากเกือบครึ่งของซีลีเนียมในร่างกาย จะรวมกันอยู่ที่อัณฑะและต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ซึ่งอยู่ติดกันกับต่อมลูกหมากและซีลีเนียมก็จะถูกขับออกมากับน้ำอสุจิซีลีเนียมที่ควรเลือกซื้อ1. ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปริมาณที่คาดว่าจะปลอดภัยและพอเพียงต่อร่างกายมนุษย์ น่าจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 50 mcg/day – 200 mcg/day โดยที่ขนาดปกติคือ 55 mcg/day และ ขนาดในการรักษาโรคคือ 200 mcg/day ซึ่งอยากจะแนะนำว่าควรกินซีลีเนียมให้ต่ำกว่าวันละ 100 mcg เข้าไว้คับ เพราะว่าถ้ากินซีลีเนียมเสริมขนาดนี้ รวมกับการได้รับซีลีเนียมจากอาหาร ร่างกายก็คงจะได้รับซีลีเนียมอย่างเกินพอแล้ว2. ควรกินพร้อมวิตามินอี ถึงจะส่งผลดีที่สุด3. ซีลีเนียมในรูป ซีลีโนเมไทโอนีน เป็นซีลีเนียมที่ผมแนะนำ


Reference : กฤษดา สิรามพุชนพ : ถ้าไม่รู้จักอาหารเสริมก่อนแก่ ISBN 978-974-7814-56-9 / ธรรมชาติ ต้านมะเร็ง ISBN 978-974-7814-69-9 / แก้ว กังสดาลอำไพ รศ.ดร : อาหารพอเพียงต่อต้านมะเร็ง ISBN 978-974-660-1610 / ใกล้หมอ ก.พ. 2546 / คณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรีรวิทยา 1 ISBN 974-661-641-2 / คลินิก ปีที่ 25 8 ส.ค. 2552 ISBN 0857-149x / คู่มืออบรมเวชศาสตร์ครอบครัวครั้งที่ 30 2544 ISBN 974-88329-29 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ : อายุรศาสตร์แนวใหม่ ตุลาคม 2552 ISBN 974-332-792-4 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ตำราอายุรศาสตร์ 4 ISBN 978-974-03-1/939-9 / ฉลาดซื้อ ISSB 0858-9461 พ.ค.-มิ.ย. 52 / เฉลียว ปิยะชน ศ.นพ. : รู้สู้โรค ISBN 974-409-833-3 / หลอดเลือดแข็งตีบตันป้องกันได้ : ISBN 974-409-792-2 / ชีวโมเลกุลทางการแพทย์ของศูนย์ชีวโมเลกุลเอเชีย / ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : มหัศจรรย์ น้ำมะพร้าว เล่ม 1-2-3 ตุลาคม 2551-52 / กัลปพฤกษ์ ก.ค. 2552 / ทวีศักดิ์ บูรณวุฒิ พอ.รศ. : วารี พร้อมเพชรรัตน์ พอ. หญิง ผศ.ดร. บก. : สาระสำคัญวิชาสรีรวิทยา โครงการตำรา วพม ISBN 974-7634-22-8 / เทพ หิมะทองคำ ศ.เกียรติคุณ นพ. เบาหวาน ฉบับเทพ ISBN 978-7318-29-5 / เทอดศักดิ์ เตชคง พบ.วรสารคลินิก นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ธันวาคม 2549 ISSN 0857-149x / ธาดา เปี่ยมพงศ์สานต์ นพ. : เวชปฎิบัติโรคผิวหนัง ISBN 974-8615-40-5 / ธิดากานต์ รัตนบรรณากูร นพ. : สูตรลับชะลอวัย Anti-Aging ISBN 978-974-212-840-1 / ธีรวัฒน์ บูรวัฒน์ พบ. วรสารคลินิค พ.ค. 49 ISSN 0857-149x / นิวัฒน์ ศิตลักษ์ นพ.,สมบูรณ์ ธนกิจสินทร.,แน่งน้อย เฉลิมโรจน์ ภญ.,พัชร์อริญ กาญจนวรินทร์ ภญ.: การแพทย์บูรณาการ ฉบับหมอมวลชน. ISBN 978-974-350-398-6 / นราชาญ เอื้อประเสริฐ นพ. , อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ นพ. บก. : Essential Hematology for general Practitioners 2552 / นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีระวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลินิค 257(22)/5/49 / นิจศรี ชาญณรงค์ ภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอยุรศาสตร์แนวใหม่ โครงการตำราอายุรศาสตร์ ฉบับี่ 19 ISBN 974-332-792-4 / นิสา เลาหพจนารถ ภญ. : วงการยา ก.พ. 54 / บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล นพ. และ ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรค ธ.ค. 2551 ISBN 978-974-9751-53-4 / บรรเจิด ตันติวิท นพ., ดวงจิตติ สรรพศรี ตันติวิท : หลิงจือกับข้าพเจ้า ISBN 974-90278-8-4 / ประเวศ วะสี ศ.นพ. บรรณาธิการ : โลหิตวิทยา 2513 / ประสาน เปรมะสกุล พลเอก : เบาหวานรู้จริงจะเบาใจ ISBN 974-9608-17-8 / ลดความดันเลือดด้วยตัวเอง ISBN 974-90858-7-6 / มะเร็งพ่าย ISBN 974-91833-7-1 / Dermatology 2000 ISBN 974-7803-34-8 / ปรียา กุลลวณิชย์ / ประวิทตร พิศาลบุตร : ปัญหาได้รับการปรึกษาบ่อยทางอายุรศาสตร์ : กองอายุรกรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 2546 ISBN 974-915066x / พิชิต สุวรรณประกร พบ. : ตำรับยาและวิธีรักษาโรคผิวหนัง ISBN 974-86164-7-9 / พินิจ ลิ้มสุคนธ์ นพ. : รู้ทันโรค รู้ทันหมอ เล่ม 1 2551 ISBN 978-974-05-3564-5 / ภาควิชาเคมี คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ : เซลล์ชีววิทยาทางการแพทย์ 1-2 //www.md.chula.ac.th/biochem / กลไกการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื้อ / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ก้าวทันชีวเคมีทางการแพทย์ สูงวัย ห่างไกลโรค ISBN 974-9980-63-8 / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำราชีวเคมี 2548 ISBN 974-284-073-3 / ภาคสูตินศาสตร์ - นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์จุฬา : ตำรานรีเวชวิทยา 2547 ISBN 974-277-898-1 / ยุวดี สมิทธิวาสน์ ภญ. : ประโยชน์ของธาตุสังกะสีต่อสุขภาพ //www.elib-online.com / รีดเดอร์ไดเจสท์ : คู่มือฉลาดใช้วิตามินและแร่ธาตุและสมุนไพร ISBN 974-93003-5-1/มหัศจรรย์ อาหารต้านโรค 2549 ISBN 974-9784-42-4/1001/ตำรับยาใกล้ตัว ISBN 974-7784-31-9 / รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผศ. นพ. , กัมมันต์ พันธุมจินดา ศ. นพ. , ศรีจิตรา บุนนาค ศ. พญ.ท่านผู้หญิง : พาร์กินสันรักษาได้ ISBN 974-9922-40-9 / รุษณา สวนกระต่าย รศ.นพ.,ชานินทร์ อินทรกำธรชัย ศ.นพ. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ บก. : update in Problem-Based Medical Practices ISBN 974-9941-780 / เรย์ ดี แสตรนด์ นพ. เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริม บำบัดโรค...ความตายอาจ...กำลังครอบงำคุณ แปลโดย พรหมพัฒณ ธรรมรัตน์จินดา 2549 ISBN 974-94582-0-6 / ลลิตา ธีรสิริ พญ. : ภูมิเพี้ยน ISBN 978-974-9751-21-3/หลับไม่ดี มีทางแก้ ISBN 974-9754-97-8 / วิจิตร บุณยะโหตระ ศ. ดร. นพ. :ศาสตร์ชะลอวัย.ISBN 978-616-7005-35-5 / วัฒนา เลี้ยววัฒนา รศ.นพ. : Hemocysteine ISBN 974-05-0158-3 / วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ภก. : ศาสตร์ชะลอชรา ISBN 978-974-06-0702-1 / วิตามินและโภชนาบำบัด ศาสตร์มัศจรรย์ชะลอความชรา ISBN 978974-06-0702-1 / เวชศาสตร์ครอบครัว ครั้งที่ 30 พ.ศ.2544 ISBN 974-88329-2-9 / ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ พ.อ.หญิง / และคณะ แปล วารสาร อาหาร & สุขภาพ ฉ.104/2546 , ฉ84,85,86/2543 , ฉ.97/2545 / ศักดา ดาดวง ดร. แปล โภชนาการต้านมะเร็ง ISBN 978-974-212-811-1 / ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ พบ.จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารคลินิก ส.ค. 2553 ISBN 0857-149x / ศุภวรรณพิพัฒนพรรณวงศ์ กรีน : ไอน์สไตล์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ ISBN 974-9412-59-1 / สง่า ดามาพงษ์ : อ้วนอันตราย ...ไม่อยากตายต้องลดอ้วน ISBN 978-974-7361-63-6 / สมยศ กิตติมั่นคง นพ. : เมื่อหมอต้องลดความอ้วน ISBN 978-974-7316-41-4 / สมศักดิ์ วรคามิน ศ.ดร.นพ. : King of Herbs ISBN 978-974-067570-9/Food of the Future ISBN 978-974-04-4242-4/Omega 3 น้ำมันปลา ISBN 978-974-7512-92-2 / Stem cell 2552 ISBN 978-974-03-2283-2/ Water for Life ISBN 974-90899-9-5/ มหัศจรรย์แมกนีเซียม ISBN 974-92340-5-7 / เบต้ากลูแคน ISBN 978-974-03-2650-2 / สมหมาย ถุงสุวรรณ บก. : นรีเวชวิทยา โครงการตำราศิริราช 2523 / สมาคมรูมิติสซั่มแห่งประเทศไทย โรคข้อและรูมาติสซั่ม ISBN 978-974-0529163/ISBN 974-94142-4-1 / สรจักร ศิริบริรักษ์ ภก. : โรคกระดูกพรุน คอลัมน์ เภสัชโภชนา นิตยสารพลอยแกมเพชร / สรรพสาร DNA Volume 036, May 2009 USSB 1686-3658 / สรรพสารวงการแพทย์ 1-15/09/10 / สรรพสารวงการยา ISSN 1513-5896 ส.ค. 52 / สรีรวิทยา : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุ๘ ISBN 974-7762-41-2 / สุพรพิมพ์ เจียสกุล และคณะ สรีรวิทยา 3 ISBN 974-661-641-2 (ล.3)2552 / สุรพล รักปทุม นพ. : สู้มะเร็งด้วยเห็ดหลินจือ ISBN 978-974-7525-86-1 / หมอมวลชน บจก.โภชนาการ เล่ม 1, 2 / เอมวลี อมรมย์ดี พบ. : โรคเก๊าท์และภวะกรด ยูริคสูง / Belardinelli R, et al (2005) Coenzyme Q 10 improves contrac tility ofdysfunctional myocardium in chronic heart failure, Biofac tors, 25 (1-4) p. 137-45 / Cooper JM , et al (2003) Friedreich’s Ataxia : disease mecha nisms , antioxidant and Coenzyme Q10 therapy, Biofactors ; 18(1-4) p.163-71 / Earl mindell : The new vitamin bible. ISBN 978-616-529-016-6 / Ely, JTA (2000) A Brief Update on Ubiquinone (Coenzyme Q10), Journal of Orthomolecular Medicine 2000; 15(2) p. 63-68 / Ferrante KL, etal (2005) Tolerance of high-dose (3000 mg/day> coenzyme Q10 in ALS,Neurology, Dec 13; 65(11) p. 1834-6 / Hathcock JN, et al (2006) Risk Assessment for coenzyme Q10(Ubiquinone) , Regul Toxicol Rharmacol, Aug; 45(3) p. 282-8 / Healthy Eating –Fat and Cholexterol //www.diabetes-insght.info/healthy-eating/DL-gat.asp ///en.wikipedia.org/wiki/conjugated-linoleic-acid / //thyroid.about.com.cs.dietweightloss.a.cla.htm /http:..www.consumeraffairs.com/diet/news/20060522/cla_weight_loss_debate_continues / //www.zincinfothailand.com / Kalpravidh RW et al (2005) Dffect fo coenzyme Q10 as an antioxidant in beta-thalassemia/Hb E patients,Biofactors, 25(1-4) p. 225-34






















Create Date : 25 พฤษภาคม 2555
Last Update : 25 พฤษภาคม 2555 14:10:05 น.
Counter : 3427 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ultramaths
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]



ผม..เฟยเฟย รายงานตัวค้าบ
ultramaths ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อความทั้งหมดในblogนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
All rights reserved.