Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 

“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน!

คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553

คดีระหว่าง อัยการสูงสุด ผู้ร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร กับพวก รวม 22 คน ผู้คัดค้าน เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัยติดต่อกัน สมัยแรกตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 และสมัยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 และมีอำนาจหน้าที่กำหนดและกำกับนโยบายสูงสุดในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 88, 211 และ 212 ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและบังคับบัญชาให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทในฝ่ายบริหาร ตระเตรียมและปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายที่ฝ่ายบริหารกำหนด

ส่วนบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือเรียกโดยย่อว่าบริษัทชินคอร์ป เดิมจดทะเบียนนิติบุคคล ใช้ชื่อว่าบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ อินเวสต์เมนต์ จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด ตามลำดับ ต่อมาจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนชื่อครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 5 พันล้านบาท เป็นหุ้นสามัญจำนวน 5 พันล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท เป็นบริษัทได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมจากรัฐโดยตรง ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับลงวันที่ 11 กันยายน 2534 และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกโดยย่อว่า บริษัท เอไอเอส ซึ่งเป็นผู้รับสัญญาสัมปทานจากรัฐ ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ทศท

นอกจากนี้ บริษัท เอไอเอส ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวนกว่าร้อยละ 90 ในบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือที่เรียกโดยย่อว่า บริษัท ดีพีซี ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันแปรสภาพและเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกโดยย่อว่า กสท และบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเป็นผู้รับสัญญาสัมปทานจากรัฐตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2535 ยังเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือเรียกโดยย่อว่าบริษัท ไทยคม โดยบริษัทไทยคม ร่วมลงนามเป็นคู่สัญญาด้วย บริษัท ชินคอร์ป ประกอบธุรกิจโดยเข้าไปถือหุ้นในบริษัทในเครือที่ดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ ได้แก่ สายธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย สายธุรกิจสื่อสารดาวเทียม และธุรกิจต่างประเทศ สายธุรกิจสื่อและโฆษณา สายธุรกิจอี-บิซิเนส และอื่นๆ

ผู้ถูกกล่าวหาขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังคงไว้ซึ่งหุ้นบริษัท ชินคอร์ป และบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐ อันเป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม โดยเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2541 ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 32,920,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสของผู้ถูกกล่าวหา ถือหุ้นจำนวน 34,650,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเป็นพี่ชายของผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 6,847,395 หุ้น รวม 74,417,395 หุ้น

ในปี 2542 บริษัท ชินคอร์ป มีการเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 15 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตน ซื้อเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน ลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 จำนวน 3 ฉบับ ชำระค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในนามตนเอง 34,650,000 หุ้น เป็นเงิน 519,750,000 บาท ในนามผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 32,920,000 หุ้น เป็นเงิน 493,800,000 บาท และในนามผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 6,809,015 หุ้น เป็นเงิน 102,135,225 บาท ดังนั้นในวันที่ 12 เมษายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 65,840,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 69,300,000 หุ้น รวมเป็นจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 135,140,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48.75 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 โอนหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ให้บุคคลต่างๆ ถือแทน ดังนี้ วันที่ 11 มิถุนายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาโอนหุ้นจำนวน 32,920,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนต์ จำกัด หรือที่เรียกโดยย่อว่าบริษัท แอมเพิลริช วันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้ถูกกล่าวหาโอนหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรชาย จำนวน 30,920,000 หุ้น และโอนหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งเป็นน้องสาว จำนวน 2 ล้านหุ้น ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 โอนหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 42,475,000 หุ้น และโอนหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 26,825,000 หุ้น ซึ่งเมื่อรวมกับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนเมื่อปี 2542 ผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้น 33,634,150 หุ้น โดยผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง

ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม 2544 บริษัท ชินคอร์ป จดทะเบียนลดมูลค่าหุ้นจากที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า

เมื่อปี 2542 ผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้น 33,634,150 หุ้น โดยผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง

ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม 2544 บริษัท ชินคอร์ป จดทะเบียนลดมูลค่าหุ้น จากที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 และวันที่ 17 พฤษภาคม 2546 ผู้คัดค้านที่ 2 โอนหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรสาวของผู้ถูกกล่าวหา ถือแทน จำนวน 440 ล้านหุ้น คงเหลือหุ้นที่ถือแทนในนามของผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 293,950,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้นแทนจำนวน 336,340,150 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 4 จำนวน 20 ล้านหุ้น และบริษัท แอมเพิลริช จำนวน 329,200,000 หุ้น ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2549 บริษัท แอมเพิลริช ได้โอนหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 164,600,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 3 จำนวน 164,600,000 หุ้น รวมหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ให้บุคคลต่างๆ ดังกล่าวถือหุ้นแทนทั้งหมด มีจำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ทั้งหมดที่จำหน่ายได้

นอกจากนี้ ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังคงถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในนามบริษัท วินมาร์ค จำกัด อีกด้วย การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ทั้งในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ผู้ถูกกล่าวหาไม่แสดงรายการหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ดังกล่าวของตนและคู่สมรส ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือที่เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 110, 208, 209, 291 และ 292 พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4, 5 และ 6 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 32, 33, 100, 119 และ 122

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ผู้ถูกกล่าวหารวบรวมหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ขายให้แก่กลุ่มเทมาเส็กของประเทศสิงคโปร์ โดยบริษัท ซีดาร์ โฮดิ้ง จำกัด และบริษัท เอสเอ็น โฮดิ้ง จำกัด เป็นเงินสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายรวม 69,722,880,932 บาท 5 สตางค์ และตั้งแต่ปี 2546-2548 บริษัท ชินคอร์ป จ่ายเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านถืออยู่ เป็นเงิน 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าว 76,621,603,061 บาท 5 สตางค์ อันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือ รวม 5 กรณี ดังต่อไปนี้

1.กรณีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 ผู้ถูกกล่าวหา เริ่มกระบวนการตรากฎหมายแก้ไขพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จนกระทั่งมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2546 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 และออกประกาศกระทรวงการคลังเรื่องลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 โดยให้ลดพิกัดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากอัตราร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 10 ตามบัญชีท้ายประกาศ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 เห็นชอบด้วยกับแนวทางการดำเนินการเพื่อหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาจะต้องนำส่งให้แก่คู่สัญญาภาครัฐ

นอกจากนี้ ผู้ถูกกล่าวหาได้ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำแนวทางการแปรสัญญาร่วมการงานโดยการแปลงส่วนแบ่งรายได้ให้อยู่ในรูปแบบของภาษีสรรพสามิต โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เป็นการกระทำเพื่อป้องกันไม่ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการของผู้ถูกกล่าวหาและพวกพ้อง อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยคณะรัฐมนตรีไม่มีอำนาจให้นำภาษีสรรพสามิตดังกล่าวมาหักออกจากค่าสัมปทาน ซึ่งผู้ประกอบการมีภาระต้องชำระค่าสัมปทานให้แก่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อตกลงในสัญญาสัมปทาน ทำให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐได้รับเงินค่าสัมปทานลดน้อยลงจากข้อตกลงตามสัญญา ทั้งเป็นการบิดเบือนการใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยใช้กฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการกีดกันผู้ประกอบการ ในกิจการโทรคมนาคมรายใหม่ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส

นอกจากนี้ การไม่กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในกิจการดาวเทียม ทั้งๆ ที่เป็นกิจการโทรคมนาคม และเป็นกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐเช่นเดียวกับโทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการใช้อำนาจของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะนายกรัฐมนตรีโดยไม่สุจริต ซึ่งเมื่อนำภาษีสรรพสามิตมาหักจากค่าสัมปทานที่บริษัท เอไอเอส บริษัท ทรูมูฟ จำกัด หรือเรียกโดยย่อว่า บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกโดยย่อว่า บริษัท แทค ต้องชำระให้แก่ ทศท และ กสท ในอัตราร้อยละ 10 ทำให้รายได้ของ ทศท และ กสท ลดลง ทั้งผู้ถูกกล่าวหายังเสนอแก้ไขกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในบริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคมในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถขายหุ้นของตนเองกับพวกพ้องให้แก่ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติได้อีกด้วย

2.กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า หรือพรี-เพด (pre-paid) ให้แก่บริษัทเอไอเอส เดิมเมื่อปี 2542 บริษัท เอไอเอส ได้เริ่มบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า วัน-ทู-คอล โดยคณะกรรมการบริหารงาน หรือเรียกโดยย่อว่า กบง. กำหนดให้บริษัทเอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท ตามข้อกำหนดในสัญญาหลักจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ซึ่งในขณะนั้น บริษัท เอไอเอส ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ และจะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ ในปีสัมปทานที่ 16 คือเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2549 แต่ในวันที่ 22 มกราคม 2544 บริษัท เอไอเอส มีหนังสือขอให้ ทศท พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ในส่วนของโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบพรีเพด

ต่อมาวันที่ 12 เมษายน 2544 ได้มีการนำเรื่องที่บริษัทเอไอเอส ขอลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ ทศท และได้มีการลงนามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 เป็นต้นไป ส่งผลให้บริษัทเอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ให้แก่ ทศท ในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 เป็นต้นไป อันเป็นการมิทราบ เพราะการจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญครั้งที่ 6 เพื่อปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษได้วินิจฉัยตามบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 291/2550 แล้ว ว่าสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสัญญาที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ดำเนินการไปก่อนที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน ใช้บังคับ แต่การทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครั้งที่ 6 ดังกล่าว มิได้เสนอเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ต่อคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 พิจารณา และมิได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบในกรณีที่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของโครงการแต่อย่างใด ทั้งที่ในขณะนั้น ทศท ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานกำกับดูแลดำเนินงานตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามคำสั่งคณะกรรมการ ทศท.ที่ 24/2541 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน แล้ว และเหตุผลในการขอลดส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทเอไอเอส ที่ว่า บริษัท แทค ขอลดค่าเชื่อมโยงเครือข่ายสำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด จากเดิมอัตรา 200 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน เป็นอัตราร้อยละ 18 ของราคาหน้าบัตรนั้น ฝ่ายบริหารผลประโยชน์ ทศท เห็นว่าเป็นข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผล เนื่องจากบริษัท เอไอเอส มิได้เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และบริษัทแทค ยังมีความสามารถด้อยกว่าบริษัทเอไอเอส เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายมากกว่าบริษัท เอไอเอส

เหตุผลที่บริษัท เอไอเอส อ้างต่อ ทศท เพื่อขอให้ ทศท พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าว ไม่อาจรับฟังได้ และเป็นการสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจให้แก่บริษัทเอไอเอส ไม่ได้ส่งผลโดยตรงให้มีการลดค่าใช้บริการให้แก่ประชาชน ไม่ใช่ผลโดยตรงที่จะทำให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น และทำให้ ทศท มีรายได้มากขึ้น เป็นการลดที่มากเกินไป หากเปรียบเทียบกับส่วนแบ่งรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ตามสัญญาหลัก ซึ่งจะทำให้ ทศท เสียประโยชน์ สูญเสียรายได้ที่ควรได้รับ 14,213,750,000 บาท ปี พ.ศ.2544-2549 และความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต 56,658,280,000 บาท ในเดือนตุลาคม 2549 ถึงกันยายน 2559 ส่งผลโดยตรงให้บริษัทเอไอเอส สามารถที่จะทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนส่งผลโดยตรงให้บริษัทเอไอเอส สามารถที่จะทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าสัมปทานลดลง และสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าคู่แข่ง จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในจำนวนที่มากกว่าคู่แข่งในทางธุรกิจ ส่งผลให้หุ้นของบริษัทเอไอเอส มีราคาสูงขึ้น และเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน เป็นการดำเนินการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอไอเอส ได้รับประโยชน์แล้ว ตั้งแต่มีการจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครั้งที่ 6 ถึงเดือนกันยายน 2549 เป็นเงิน 14,000,213,700 เศษ และได้รับประโยชน์ในอนาคตถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานอีก 56,658,280,000 บาท รวมประโยชน์ที่บริษัทเอไอเอส ได้รับจากการจัดทำข้อตกลงท้ายสัญญาครั้งที่ 6 เป็นเงิน 72,300,000,000 ล้านบาท ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าว เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหรือกำกับดูแล ทศท ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534

การเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอไอเอส ที่มีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ คิดเป็นร้อยละ 42.90 ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา ทำให้ ทศท สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับประมาณ 70,872,030,000 บาท

3.กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส แยกได้ 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1 กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2533 บริษัท เอไอเอส เข้าร่วมดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับ ทศท มีกำหนดอายุสัญญา 20 ปี โดยบริษัทเอไอเอส จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท เป็นรายปี ตามจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ หรือในอัตราร้อยละ โดยถือเอาจำนวนเงินที่มากกว่า และจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาหลัก ครั้งที่ 4 ลงวันที่ 20 กันยายน 2539 ขยายระยะเวลาสัญญาเป็น 25 ปี และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 บริษัท เอไอเอส มีหนังสือขอเปิดการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปให้ผู้อื่นร่วมใช้กับบริษัทดีพีซี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ต่อ ทศท โดยจะนำมาแบ่งผลประโยชน์ให้ ทศท ตามอัตราร้อยละ ในสัญญาหลัก มีหนังสือลงวันที่ 3 กันยายน 2544 ขอเปิดเนชั่นแนลโรมมิ่ง (National Roaming) กับบริษัท เอเซีย พรีชาแนล เซอร์วิส จำกัด ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 โดยคิดค่าใช้เครือข่ายร่วมในอัตราพื้นที่เดียวกัน 6 บาทต่อนาที และต่างพื้นที่ 12 บาทต่อนาที โดยจะนำมาแบ่งผลประโยชน์ให้ ทศท ตามอัตราในสัญญาหลัก และมีหนังสือลงวันที่ 21 สิงหาคม 2545 เสนอหลักการการใช้เครือข่ายร่วมกัน ทั้งกรณีที่ผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้เครือข่ายของบริษัทเอไอเอส และบริษัทเอไอเอสไปใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น โดยขอหักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากรายรับก่อนนำส่ง ทศท เพื่อพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการ ทศท ครั้งที่ 2/2545 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2545 ว่า รายได้จากผู้ให้บริการรายอื่น มาใช้เครือข่ายของบริษัท เอไอเอส ยังต้องนำมาคำนวณส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาหลัก ส่วนรายจ่ายของบริษัทเอไอเอส จากการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่นถือเป็นภาระหน้าที่ สำหรับรายจ่ายของบริษัทเอไอเอส ที่จะต้องขยายเครือข่ายให้สามารถรองรับการให้บริการ

ต่อมาบริษัท เอไอเอส มีหนังสือลงวันที่ 26 สิงหาคม 2545 เสนอขอปรับหลักการใช้เครือข่ายของบริษัทเอไอเอส และกรณีบริษัทเอไอเอสเข้าไปใช้โครงข่ายร่วมของผู้ให้บริการรายอื่น วันที่ 5 กันยายน 2545 คณะกรรมการ ทศท อนุมัติให้บริษัท เอไอเอส ดำเนินการตามที่ขอได้ ในอัตรานาทีละไม่เกิน 3 บาท ทั่วประเทศ ในกรณีที่บริษัท เอไอเอส ให้ผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้โครงข่ายร่วมกัน บริษัทเอไอเอสจะนำมาใช้คำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท กรณีที่บริษัทเอไอเอส ไปใช้โครงข่ายกับเครือข่ายผู้ให้บริการรายอื่น บริษัท เอไอเอส จะนำรายได้จากค่าใช้บริการที่บริษัท เอไอเอส เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการหลัก หักด้วยค่าใช้โครงข่ายร่วมกันที่บริษัทเอไอเอสจ่ายให้แก่เจ้าของเครือข่ายก่อน จึงจะนำมาคำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท ต่อไป ทศท และบริษัท เอไอเอส ได้ลงนามในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 โดยนายสุธรรม มะลิลา ในฐานะผู้แทนฝ่าย ทศท และนายบุญคลี ปลั่งศิริ ในฐานะผู้แทนฝ่ายบริษัทเอไอเอส มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป

กรณีที่ 2 กรณีการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท กับบริษัท ดีพีซี ตามสัญญา ให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมเซลลูลาร์ ดิจิตอล พีซีเอ็น 1800 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 กับ กสท รวมระยะเวลา 17 ปี ซึ่งบริษัท ดีพีซี จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ กสท เป็นรายปี ตามจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ หรือในอัตราร้อยละ โดยถือเอาจำนวนเงินที่มากกว่า ต่อมาในเดือนธันวาคม 2544 บริษัท เอไอเอส เข้าถือหุ้นในบริษัท ดีพีซี เกินกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทำให้กลุ่มบริษัทดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกัน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 กสท มีหนังสือลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 อนุมัติให้บริษัท ดีพีซี ใช้เครือข่ายร่วมกับบริษัท เอไอเอส นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 โดยมีเงื่อนไขว่า กสท จะคิดผลตอบแทนรายได้ที่บริษัท เอไอเอส ใช้เครือข่ายร่วมกับเครือข่ายของบริษัท ดีพีซี ในอัตรานาทีละ 2.10 บาท นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป และบริษัท ดีพีซี จะต้องจัดส่งแผ่นบันทึกข้อมูลซีดีอาร์การใช้งาน ให้ กสท ตรวจสอบทุกไตรมาส บริษัท ดีพีซี มีหนังสือลงวันที่ 26 ตุลาคม 2548 ถึง กสท แจ้งขอปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม จากนาทีละ 2.10 บาท เหลือนาทีละ 1.10 บาท และมีหนังสือวันที่ 9 มกราคม 2549 ถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ขอปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม จากนาทีละ 2.10 บาท เหลือนาทีละ 1.10 บาท กับมีหนังสือลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ขอให้ทบทวนเพื่อให้ กสท อนุมัติคำขอของบริษัท ดีพีซี วันที่ 28 มิถุนายน 2549 นายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้อนุมัติปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม แก่บริษัท ดีพีซี ซึ่งบริษัท ดีพีซี นำส่งรายได้แก่ กสท ในอัตราที่ปรับลด 1-1.10 บาทต่อนาที ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ กสท จากการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วมดังกล่าว เป็นเงิน 796,223,110 บาท จนกระทั่งต่อมา วันที่ 24 มีนาคม 2551 กสท จึงมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2551 แจ้งให้ บริษัท ดีพีซี ดำเนินการคำนวณค่าใช้บริการเครือข่ายร่วม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 จนถึงปัจจุบัน ในอัตรานาทีละ 2.10 บาท และให้นำส่งผลตอบแทนแก่ กสท ต่อไป

การจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาให้ดำเนินกิจการบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับและการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่าย ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ เรื่องเศษที่ 291/2550 ขัดต่อข้อกำหนดสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับ... ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ข้อ 9 ข้อ 16 และข้อ 30 ปรากฏว่าจากเดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนเมษายน 2551 ที่มีการยินยอมให้หักค่าใช้เครือข่ายร่วม พบว่ามีการเข้าไปใช้เครือข่ายร่วมระหว่างบริษัท เอไอเอส กับบริษัท ดีพีซี 13,283,420,483 นาที กสท ขาดรายได้กว่า 6,960,359,401 บาท และ กสท จะต้องสูญเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับจนสิ้นอายุสัญญาสัมปทาน ไม่น้อยกว่า 18,175,359,401 บาท และกรณีที่บริษัท ดีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายที่บริษัท เอไอเอส เข้าไปใช้เครือข่ายร่วมมาก คิดเป็นปริมาณ 13,283,400,220 นาทีเศษ บริษัท เอไอเอส สามารถหักค่าใช้จ่ายต่อ กสท จากการใช้เครือข่ายดังกล่าวได้ ในทางกลับกัน บริษัท ดีพีซี เข้าไปใช้เครือข่ายของบริษัท เอไอเอส ในปริมาณ 384,323,146 นาที ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ กสท แต่อย่างใดทั้งที่เป็นกรณีเดียวกัน

และจากการตรวจสอบทางทะเบียนผู้ถือหุ้น ปรากฏว่า เมื่อปี 2544 บริษัท เอไอเอส เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ดีพีซี สัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 90 และมีการถือหุ้นดังกล่าวต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ในสัดส่วนร้อยละ 98.55 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ประกอบกับผู้บริหารบริษัท ดีพีซี เป็นผู้บริหารที่มาจากบริษัท เอไอเอส ร้อยละ 90 จึงถือได้ว่าบริษัททั้งสองเป็นบริษัทเดียวกัน และบริษัท เอไอเอส มีเจตนาที่จะใช้เครือข่ายของบริษัทตนเองโดยที่บริษัท เอไอเอส ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายดังกล่าวตามข้อกำหนดในสัญญาหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามสัญญาหลักข้อ 16 เนื่องจากต้องมีการลงทุนสูง และต้องส่งมอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สร้างขึ้น ให้แก่ กสท โดยผู้บริหารระดับสูง กสท ดำเนินการปรับแก้มติการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง จากร่างวาระเดิม ซึ่งฝ่ายบริหารผลประโยชน์มีความเห็นว่า ไม่อนุญาตให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายของบริษัท ดีพีซี ปรับแก้ให้สามารถหักค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ กสท ได้ตามข้อเสนอของบริษัท เอไอเอส และมีการนำร่างแก้ไขดังกล่าวเสนอคณะกรรมการ กสท เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยมีพฤติการที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เอไอเอส ทั้งที่ขัดต่อสัญญาหลักข้อ 4 ข้อ 9 ข้อ 16 และข้อ 30 ส่งผลให้ ทศท และ กสท ต้องสูญเสียประโยชน์ที่พึงจะได้รับ รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 18,970,579,711 บาท เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส ที่มีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 1,263,712,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.06

ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา การที่ ทศท และ กสท ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ดำเนินการดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส มีความได้เปรียบคู่แข่งขันในกิจการโทรคมนาคม เป็นเหตุให้หุ้นของบริษัท ชินคอร์ป มีมูลค่าสูงขึ้น จนกระทั่งมีการขายหุ้นดังกล่าว เงินที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสได้จากการขายหุ้น จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่

4.กรณีละเว้นอนุมัติ ส่งเสริมธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทไทยคม แยกได้ 3 กรณีดังนี้

(1) กรณีการอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์โดยมิชอบ โครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการสื่อสารภายในประเทศ โดยกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ กำหนดให้มีดาวเทียมหลัก และระบบดาวเทียมสำรอง ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะประธานบริษัท ชินคอร์ป ได้เข้าแข่งขันรับสัมปทานกับเอกชนรายอื่นๆ และมีการเสนอเพิ่มเติมว่า จะลงทุนมากขึ้นโดยตลอดอายุสัญญา 30 ปี จะสร้างและส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่อวกาศ ระยะเวลาห่างจากดาวเทียมดวงหลักไม่เกิน 12 เดือน ผู้ถูกกล่าวหาได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 2 มกราคม 2534 ยืนยันข้อเสนอเพิ่มเติมดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ทำให้กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้บริษัท ชินคอร์ป ได้รับสัมปทานและมีการลงนามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน 2534 โดยการระบุการดำเนินการตามแผนงานคุณสมบัติของดาวเทียม ระบบดาวเทียมสำรอง การเปลี่ยนแปลงผลการดำเนินงาน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคมก่อน

เฉพาะแผนดำเนินการนั้นระบุรายละเอียดไว้ว่า ตามระยะเวลาสัญญาสัมปทาน 30 ปี จะส่งดาวเทียมหลัก และดาวเทียมสำรอง จำนวน 2 ชุด แต่ละชุดมีดาวเทียม 2 ดวง รวมมีดาวเทียมทั้งหมด 4 ดวง ซึ่งดาวเทียมสำรองจะส่งขึ้นสู่อวกาศมีระยะห่างจากดาวเทียมหลัก ไม่เกิน 12 เดือน มีการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นตามสัญญาสัมปทาน คือ บริษัท ไทยคม เพื่อบริหารโครงการ ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 1 ขึ้นสู่อวกาศในปี 2536 ดาวเทียมไทยคม 2 ในปี 2537 ตามแผนงานแนบท้ายสัญญาสัมปทาน และได้รับอนุมัติให้ส่งดาวเทียมไทยคม 3 เร็วขึ้นกว่ากำหนด ตามแผนงานที่บริษัทไทยคมร้องขอ โดยส่งดาวเทียมไทยคม 3 ขึ้นสู่อวกาศ ในปี 2540 และมีกำหนดส่งดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรอง ในปี 2541

ทั้งนี้ ตามแผนงานใหม่ที่ได้รับอนุมัตินั้นจะมีดาวเทียมชุดที่ 3 ด้วย เนื่องจากส่งชุดที่ 2 เร็วขึ้น บริษัท ไทยคม ขอนุมัติสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 โดยมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2551 เมื่อถึงกำหนดได้ขอเลื่อนการส่งดาวเทียมท 2 ครั้ง และเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยร้องขอเป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม ตามหนังสือลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 แต่มีรายละเอียดทางเทคนิคที่ไม่เหมือนกับดาวเทียมไทยคม 3

ต่อมากระทรวงคมนาคมมอบให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ศึกษาข้อเทคนิคของดาวเทียมไอพีสตาร์แล้ว ซึ่งผลการศึกษา กรมไปรษณีย์โทรเลขได้พิจารณาจากข้อเทคนิคแล้วเห็นว่า เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ ไม่ใช่ดาวเทียมสำรอง ซึ่งจัดสร้างแทนดาวเทียมไทยคม 4 และนำผลการศึกษาดังกล่าวเข้าประชุมในคณะกรรมการประสานงานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ในคราวพิจารณาโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ครั้งที่ 1/2545 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2545 ที่ประชุมมีมติว่า เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ เช่นเดียวกับความเห็นของกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการประสานงาน ครั้งที่ 2/2545 ลงวันที่ 10 กันยายน 2545 ปรากฏว่า มีการแก้ไขมติครั้งที่ 1/2545 โดยมีการเปลี่ยนแปลงและอนุมัติให้เป็นดาวเทียมสำรอง ตามที่บริษัทร้องขอ และให้เสนอขออนุมัติโครงการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยที่ยังไม่มีการรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2/2545 แต่มีการทำหนังสือเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตามหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2545 ซึ่งได้มีการอนุมัติในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ เลขานุการคณะกรรมการประสานงาน ได้ทำหนังสือเวียนไปยังคณะกรรมการประสานตามหนังสือลงวันที่ 27 กันยายน 2545 เพื่อขอให้รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2/2545 พร้อมกันนี้กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทไทยคม ว่า ได้รับอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์แล้ว

ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม 2546 บริษัทไทยคมยื่นขอส่งเสริมการลงทุนในโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่า 16,000 ล้านบาท ระบุว่าได้สร้างอุปกรณ์ไว้โดยเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับภาคพื้นดิน สำหรับใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศต่างๆ 18 แห่ง มากกว่า 14 ประเทศ โดยมีแผนการตลาดจำหน่ายภายในประเทศร้อยละ 6 ต่างประเทศร้อยละ 94 และส่งขึ้นสู่อวกาศสำเร็จเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548

(2) กรณีการอนุมัติแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 5 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัท ไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 บริษัทไทยคมร้องขออนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน โดยให้เหตุผลใช้เงินลงทุนในโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์สูงมาก ต้องหาพันธมิตรเข้าร่วมลงทุน จึงทำให้ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับโอนจากกระทรวงคมนาคม ตามกฎหมายปฏิรูปราชการ ระบบราชการ ซึ่งมีการหารือกรณีการขอแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นแล้ว

สำนักงานอัยการสูงสุดมีข้อสังเกตว่า กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา และเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่มาของการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี ควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาก่อนจะลงนามสัญญา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงทำหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องคืน โดยเห็นว่าไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีนโยบายที่จะลดเรื่องที่จะเสนอ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ทำหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้ง ซึ่งได้ตอบหนังสือหารือว่า เมื่อสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี ดังข้อเสนอแนะของสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงมีดุลพินิจที่จะแก้ไขสัญญาได้

ต่อมา นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน โดยมีการลงนามแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547

(3) กรณีการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 ที่ได้รับความเสียหาย 6,700,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมเพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 พร้อมทั้งใช้เป็นช่องสัญญาณสำรอง ตามหนังสือลงวันที่ 11 สิงหาคม 2545 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคมร้องขอ และอนุมัติให้นำค่าสินไหมทดแทนอีกส่วนหนึ่งจำนวน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน ชื่อว่าดาวเทียมไทยคม 5 ... โดยหากค่าสร้างสูงกว่า ก็ให้บริษัทไทยคมรับผิดชอบในส่วนต่างที่เพิ่ม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 ตามหนังสือลงวันที่ 29 ตุลาคม 2546 จึงมีประเด็นเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ รวม 3 กรณี ดังนี้

(1) กรณีการอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์โดยมิชอบ เพราะดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่สามารถใช้เป็นดาวเทียมสำรองดาวเทียมไทยคม 3 ได้ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาสัมปทาน เนื่องจากดาวเทียมไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมหลัก มีช่องสัญญาณความถี่ซีแบนด์ จำนวน 25 ทรานส์พอนเดอร์ และเคยูแบนด์ 14 ทรานส์พอนเดอร์ แต่ดาวเทียมไอพีสตาร์นั้น คุณสมบัติทางเทคนิคพัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะครั้งแรกของโลก ซึ่งมีการจดสิทธิบัตรไว้ โดยใช้ความถี่เคยูแบนด์ รับและส่งข้อมูลให้ลูกค้าในลักษณะสปอตบีม จำนวน 84 บีม เซพบีม จำนวน 3 บีม และบรอดคาสต์บีม จำนวน 7 บีม และใช้ความถี่เคเอแบนด์ ในการสื่อใช้ความถี่เคเอแบนด์ในการสื่อสาร รับส่งข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดินกับดาวเทียมบนอวกาศในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ ไม่มีความถี่ซีแบนด์แต่อย่างใด จึงทำให้ดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่สามารถเป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ได้ดวงต่อดวง ตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน ซึ่งแตกต่างจากดาวเทียมดวงอื่นๆ และไม่สามารถสำรองดาวเทียมไทยคม 3 ได้ เพราะมีเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ทั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ความเห็นว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ ไม่ใช่ดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3

ประกอบกับการที่คณะกรรมการประสานงาน ครั้งที่ 1/2545 วันที่ 29 สิงหาคม 2545 ได้มีมติว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมดวงใหม่ แต่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายงานการประชุม และอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง ตามผลการประชุมของคณะกรรมการประสานงานครั้งที่ 2/2545 วันที่ 10 กันยายน 2545 ซึ่งขัดแย้งกัน

นอกจากนี้ยังมีการเสนอความเห็นของคณะกรรมการประสานงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งที่ยังไม่ได้มีการรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้งแต่อย่างใด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ ให้เป็นดาวเทียมสำรองตามที่เสนอเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 โดยจัดทำหนังสือเวียนเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 ให้คณะกรรมการประสานงานรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้ง เมื่อดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่สามารถเป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ได้ตามสัญญาสัมปทาน ทำให้ความมั่นคงในการสื่อสารดาวเทียมของชาติต้องเสียหาย ไม่มีดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อเป็นสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ได้ทั้งดวง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

การอนุมัติดังกล่าวจึงไม่ชอบ และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทไทยคมไม่ต้องปฏิบัติตามสัมปทาน โดยไม่มีภาระกู้ยืมเงิน หรือเพิ่มทุน เพื่อนำเงินมาลงทุนในการส่งดาวเทียม ดาวเทียม 4 เป็นมูลค่า 4,000 ล้านบาท และรัฐต้องเสียหายจากการไม่ได้รับมอบทรัพย์สินจากโครงการดาวเทียมไทยคม 4 มูลค่า 4,000 ล้านบาท การอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นโครงการใหม่ที่ยอู่นอกกรอบของสัญญาสัมปทาน จึงไม่ได้สร้างเพื่อการสื่อสารภายในประเทศ ต้องดำเนินการให้มีการแข่งขันใหม่อย่างเป็นธรรม ทั้งด้านการบริหารงานและอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่รัฐ ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนการของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือการดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ดังนั้นการอนุมัติของเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลและควบคุมตรวจสอบของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว เป็นการอนุมัติโดยไม่ชอบ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคมของผู้ถูกกล่าวหา ไม่ต้องมีการแข่งขัน เพื่อยื่นข้อเสนอขอรับสัมปทานโครงใหม่ อย่างเป็นธรรม มูลค่าโครงการ 16,000 ล้านบาท

(2) กรณีการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัท ไทยคม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 นั้น สัญญาการดำเนินกิจการดาวเทียมการสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งบริษัทชินคอร์ปได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม ระบุเงื่อนไขต่างๆ ไว้ในสัญญา โดขในข้อ 4 ของสัญญาสัมปทานกำหนดให้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่ โดยบริษัทชินคอร์ปต้องเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทใหม่ที่เป็นผู้ดำเนินบริหารโครงการ แต่ข้อเท็จจริงในการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว โดยไม่มีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ทั้งที่เงื่อนไขในข้อ 4 ของสัญญาสัมปทานอันเป็นนัยสำคัญประการหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหาได้รับสัมปทาน

การอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานจึงเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหา เพราะในกรณีบริษัทไทยคมทำการเพิมทุนเพื่อดำเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่า จึงเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป ของผู้ถูกกล่าวหา เพราะในกรณีบริษัทไทยคมทำการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่า 16,000 ล้านบาทนั้น บริษัท ชินคอร์ป ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ไทยคม ไม่ต้องระดมทุน หรือกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ 51 ของตนเอง และมีผลเป็นการลดทนความเชื่อมั่นและมั่นคงในการดำเนินโครงการของบริษัทชินคอร์ป ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอำนาจควบคุมบริหารกิจการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ และต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัท ไทยคม ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการดาวเทียมตามสัญญาสัมปทานอีกชั้นหนึ่ง

(3) กรณีการอนุมัติให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนของบริษัทดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6,700,000 ดอลลาร์สหรัฐ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศนั้น สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศระบุเงื่อนไขให้มีดาวเทียมสำรองไว้ในข้อ 5.1.4 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้ทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินทุกชนิดไว้ในข้อ 25 และการจัดการทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหายไว้ในข้อ 37 ของสัญญาสัมปทาน

กล่าวคือ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจะต้องรีบซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย หรือจัดหาทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่สูญหายโดยทันที โดยกระทรวงคมนาคมจะมอบค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย ให้บริษัทไทยคมเพื่อจัดการดังกล่าว เมื่อซ่อมแซมและจัดหามาทดแทนแล้ว จะต้องตกเป็นทรัพย์สินของรัฐตามสัญญาสัมปทาน มิได้กำหนดให้มีการเช่าดาวเทียมใช้เป็นระบบสำรองไว้

ในปี 2546 เกิดเหตุการณ์ดาวเทียมไทยคม 3 เสียหายเป็นส่วนใหญ่ บริษัทไทยคมได้ร้องขอให้นำเงินบางส่วนที่ได้รับค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศ ประมาณ 6,700,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ทดแทนช่องสัญญาณเดิม และใช้เป็นสำรอง ซึ่งเป็นการขัดต่อสัญญาสัมปทาน เนื่องจากบริษัทไทยคมทำผิดสัญญา ไม่มีดาวเทียมสำรองดาวเทียมไทยคม 3 มาโดยตลอด จึงต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินการให้มีดาวเทียมใช้อย่างพอเพียงและต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีสิทธิ์นำเงินค่าสินไหมทดแทนไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศ แต่ต้องนำเงินค่าสินไหมทดแทน 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับทั้งหมดไปสร้างดวงใหม่ทดแทน ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาสัมปทาน

เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลควบคุม ตรวจสอบ ของผู้ถูกกล่าวหา กลับอนุมัติตามที่ร้องขอ อันเป็นการอนุมัติที่ไม่ชอบ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม เพราะในช่วงเวลานั้นบริษัท ไทยคม ไม่ต้องระดมทุนของตนเอง หรือกู้ยืมเงิน ช่วงเวลาไปเช่าดาวเทียมจากต่างประเทศมูลค่าประมาณ 268,000,000 ล้านบาท หรือ 6,700,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ณ ค่าเงินบาท 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เนื่องจากทรัพย์สินที่ทำประกันภัยเป็นของรัฐ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรัฐต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลและคงไว้เป็นหลักประกันความมั่นคง กรณีไม่สามารถซ่อมแซมหรือหาทรัพย์สินทดแทนเพื่อใช้ดำเนินการต่อไปได้ โดยต้องสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน ตามสัญญาสัมปทานให้แล้วเสร็จก่อน

ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชา หรือกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มีเหตุเชื่อได้ว่า หน่วยงานของรัฐได้ใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมายสัญญาสัมปทาน และไม่สมเหตุผล

ทั้ง 3 กรณีดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานโดยตรง ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้กล่าวหา การละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินการกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบทั้ง 3 กรณีนั้น เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท ไทยคม

ข้อ 5.กรณีอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัทไทยคมโดยเฉพาะนั้น ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2546 ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในการหารืออย่างเป็นทางการกับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ไม่มีการหารือเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่สหภาพพม่า แต่หลังจากประชุมดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่า มีหนังสือลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 ถึงกระทรวงการต่างประเทศไทย อ้างการหารืออย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีการหารือเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่สหภาพพม่า แต่หลังจากประชุมดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่ามีหนังสือลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 ถึงกระทรวงการต่างประเทศไทย อ้างการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ถูกกล่าวหา กับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ว่าผู้ถูกกล่าวหาแสดงความพร้อมของประเทศไทยที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่สหภาพพม่า ขอวงเงินสินเชื่ออย่างน้อย 3,000 ล้านบาท เพื่อซื้อเครื่องจักรก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์จากประเทศไทย ใช้ในการก่อสร้างโครงการพื้นฐาน

และระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาอนุมัติให้ผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมเดินทางเป็นคณะเดินทางในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างกัมพูชา-ลาว-พม่า และไทย ที่กรุงย่างกุ้งและเมืองพุกาม โดยมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม 8 คน และบริษัท เอไอเอส 2 คน เข้าสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จีเอสเอ็ม ผ่านดาวเทียม ก่อนการประชุมด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่าต้องการให้มีความช่วยเหลือด้านโทรคมนาคมกับประเทศไทย แต่นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากนายกรัฐมนตรีของไทยมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในปฏิญญาพุกามจึงไม่มีความร่วมมือด้านโทรคมนาคม

ระหว่างนั้น นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้หารือกับผู้ถูกกล่าวหาแล้ว นายสุรเกียรติแจ้งรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพพม่า ว่าไม่ขัดข้องที่จะให้สหภาพพม่ากู้เงิน 3,000 ล้านบาท

หลังจากประชุมผู้นำที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม สหภาพพม่ามีหนังสือลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่า เสนอโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในเขตชนบทและพื้นที่ห่างไกล ของกระทรวงการสื่อสารพม่า และขอรับความช่วยเหลือจากไทยมูลค่า 24,050,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยแจ้งว่าผู้ถูกกล่าวหาพร้อมให้การสนับสนุน ซึ่งคณะเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคมได้เข้าพบเอกอัครราชทูตไทย และผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งดำเนินการธุรกิจตามโครงการดังกล่าวของสหภาพพม่าด้วย

ต่อมาฝ่ายพม่ามีหนังสือลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 ขอเพิ่มวงเงินกู้สินเชื่อจาก 3,000 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท และมีหนังสือลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ติดตามผล รวมทั้งขอลดดอกเบี้ย

ผู้ถูกกล่าวหาสั่งการต่อนายสุรเกียรติ์ว่า ให้เพิ่มวงเงินกู้เป็น 4,000 ล้านบาท ซึ่งนายสุรเกียรติ์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่า แจ้งให้ทราบว่าประเทศไทยพร้อมจะเพิ่มวงเงินกู้จาก 3,000 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท โดยจะให้การอุดหนุนในส่วนอัตราดอกเบี้ยด้วย และกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย แจ้งเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ขัดข้องที่จะให้เงินกู้สกุลบาทแก่สหภาพพม่า ในลักษณะเครดิตไลน์ ตามที่สหภาพพม่าขอ ในวงเงินกู้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท โดยลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 5.75 เป็นร้อยละ 3 ต่อปี ตลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น 2 ปี คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย อนุมัติวงเงิน 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่าตามเงื่อนไขดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2547

แต่ต่อมาฝ่ายรัฐบาลสหภาพพม่าได้ขอปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้นเป็น 5 ปี ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาก็เห็นชอบ คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงมีมติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นระยะเวลากู้ 12 ปี โดย 5 ปีแรกชำระเฉพาะดอกเบี้ย สำหรับ 7 ปีที่เหลือ ชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โดยการอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อมูลค่า 4,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามการบริหารสั่งการของผู้ถูกกล่าวหา เป็นการให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคาร ตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 ธนาคารฯ จึงขอคุ้มครองความเสียหาย ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีที่มีผู้ถูกกล่าวหาเข้าร่วมประชุมด้วย มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีชดเชยแก่ธนาคาร ตามจำนวนที่เสียหาย และให้ชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยตามที่ได้รับจากรัฐบาลสหภาพพม่า ร้อยละ 3 ต่อปี กับต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคาร แต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ



จากผู้จัดการ




 

Create Date : 27 มีนาคม 2553
33 comments
Last Update : 27 มีนาคม 2553 8:38:12 น.
Counter : 476 Pageviews.

 


หลังจากนั้น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้ลงนามสัญญากู้เพื่อการส่งออกกับธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า (ผู้กู้) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ซึ่งประมาณความเสียหายจากดอกเบี้ยส่วนต่างที่จะต้องขอชดเชยจากงบประมาณรายจ่ายตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 ถึงปี 2549 เป็นเวลา 12 ปี เป็นเงิน 670,436,201 บาทเศษ และงบประมาณชดเชยความเสียหายในปีงบประมาณ 2549 และปี 2550 จำนวน 140,349,600 บาท หลังจากมีการลงนามในสัญญากู้การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกดังกล่าวแล้ว ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า ได้ยื่นคำขอให้อนุมัติสัญญาจัดซื้อจัดจ้างระหว่างบริษัทไทยคม กับกระทรวงสื่อสารสหภาพพม่า เพื่อส่งมอบอุปกรณ์ไอพีสตาร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวข้อง สำหรับบริการโทรศัพท์ทางไกลชนบท จำนวน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้เห็นชอบตามสัญญาดังกล่าว และได้จ่ายเงินกู้โดยตรงให้แก่บริษัทไทยคม กับบริษัท ฮาตาริ ที่ได้รับโอนสิทธิบางส่วน รวมเป็นเงิน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจ่ายเป็นเงินบาทจำนวนทั้งสิ้น 593,492,815 บาทเศษ ครบถ้วนแล้ว เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ในระหว่างนั้น บริษัทไทยคม มีบริษัทชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นจำนวน 222,435,467 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 51.48 ของหุ้นทั้งหมด

ผู้ถูกกล่าวหาในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้กระทำการในการบริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทไทยคม ที่ผู้ถูกกล่าวหาและครอบครัวชินวัตร กับพวก มีผลประโยชน์ ให้ได้รับงานจ้างในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม จากรัฐบาลสหภาพพม่า โดยใช้เงินกู้สินเชื่อดังกล่าว เป็นเหตุให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง ได้รับความเสียหาย

การที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตลอดมา โดยใช้ชื่อผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และบริษัทแอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน และได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่สั่งการ มอบนโยบายร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแล ของผู้ถูกกล่าวหา กระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทในเครือทั้ง 5 กรณีดังกล่าว และตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 8 วรรค 3(1) ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องไม่ใช่คนต่างด้าว และต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น รวมทั้งต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลนั้น ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย


ผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลดังกล่าวจะเป็นบุคคลต่างด้าวได้ไม่เกินร้อยละ 25 แต่ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้เสนอแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว จนผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และออกเป็น พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 แก้ไขมาตรา 8 วรรค 3(1) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เป็นผลให้บริษัทชินคอร์ปซึ่งประกอบธุรกิจโทรคมนาคม สามารถมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลต่างด้าวได้ถึงไม่เกินร้อยละ 50 โดย พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2549 มีผลใช้บังคับในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 ปรากฏว่า ในวันที่ 23 มกราคม 2549 ได้มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ ที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โดยใช้ชื่อผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 เป็นผู้ถือหุ้นแทนให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วรวม 6,9722 ล้านบาทเศษ และในระหว่างปี 2546 - 2548 บริษัท ชินคอร์ป ได้จ่ายเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าว รวมแล้วเป็นเงินทั้งหมด 6,898 ล้านบาทเศษ รวมเป็นเงินที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าว ทั้งหมด 76,621 ล้านบาทเศษ

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:38:45 น.  

 

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. ทำการไต่สวนแล้วเห็นว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ จึงดำเนินการออกคำสั่งอายัดเงินและทรัพย์สินดังกล่าว รวม 15 ครั้ง ซึ่งได้รับแจ้งยืนยัน สามารถอายัดเงินและทรัพย์สินไว้ได้บางส่วน เป็นเงิน 66,762 ล้านบาทเศษ ส่วนเงินและทรัพย์สินที่เหลืออีก 9,923 ล้านบาทเศษ ยังไม่สามารถทราบถึงรายละเอียดสภาพเงิน และสภาพทรัพย์สิน สถานที่ตั้ง ชื่อ และที่อยู่ของผู้ครอบครอง หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์

คตส.ได้ส่งรายงานเอกสารและหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นให้กับผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า คดียังมีข้อไม่สมบูรณ์ และมีการแต่งตั้งคณะทำงานผู้แทนระหว่างผู้ร้องและคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งรับผิดชอบให้ดำเนินการต่อจาก คตส. ขึ้นพิจารณาแล้วมีข้อยุติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ โดยผู้ร้องมี นายแก้วสรร อติโพธิ นายสัก กอแสงเรือง และบุคคลอื่นเป็นพยานบุคคลจำนวนมาก รวมทั้งพยานเอกสาร ซึ่ง คตส.ได้รวบรวมไว้ อันจะพิสูจน์การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวได้ ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพิจารณาพิพากษายึดเงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 1,419,490,150 หุ้น ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โดยมีบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท เอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังหลักค่าใช้จ่ายแล้วรวม 69,722 ล้านบาทเศษ และเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าว เป็นเงิน 6,898 ล้านบาทเศษ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 76,621 ล้านบาทเศษพร้อมกับดอกผล ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากการร่ำรวยผิดปกติ และมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และขอให้มีคำสั่งยึด อายัดเงินและทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา พร้อมดอกผลไว้ต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามมติของ คตส.ด้วย

ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำคัดค้านและแก้ไขคำคัดค้านว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 76,621 ล้านบาทเศษ ไม่ใช่เงินของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสของผู้ถูกกล่าวหา และไม่ใช่เงินที่ได้จากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติหรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ แต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลในครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งประกอบธุรกิจโดยสุจริต ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินงบประมาณหรือเงินอื่นใดของรัฐ

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2538 ขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะไว้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 32,920,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่1 ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 34,650,000 หุ้น รวม 67,570,000 หุ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2542 บริษัท ชินคอร์ป เปลี่ยนแปลงเพิ่มทุน ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 65,840,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 69,300,000 หุ้น รวม 135,140,000 หุ้น มูลค่า 10,000,608,490,000 บาท

ในปี 2542 ผู้ถูกกล่าวหา จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท แอมเพิลริช ตามกฎหมายของประเทศบิติชเวอร์จิ้น เพื่อรับโอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป และวันที่ 11 มิถุนายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาได้โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 32,920,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ในราคาพาร์ 10 บาท เป็นเงิน 329,200,000 บาท โดยสุจริตและเปิดเผยในตลาดหลักทรัพย์ วันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้ถูกกล่าวหาโอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 30,920,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ในราคาหุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 309,200,000 บาท โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 2,000,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 4 เป็นเงิน 20,000,000 บาท และผู้คัดค้านที่ 1 โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 42,475,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 กับโอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 26,825,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ผู้ถูกกล่าวหาได้โอนขายหุ้นบริษัท แอมเพิลริช ทั้งหมดให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 บุตรชาย หลังจากนั้นในปี 2549 บริษัท แอมเพิลริช ได้โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 329,200,000 หุ้น ในราคาพาร์ 1 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และ ที่ 3 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งได้กระทำโดยเปิดเผยต่อสาธารณชนมิได้ปกปิดซ่อนเร้นอำพราง ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจการของบริษัท ชินคอร์ป อีก รวมทั้งไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ การโอนขายหุ้นมีเจตนาโอนอย่างแท้จริงไม่ใช่นิติกรรมอำพรางตามข้อกล่าวหาของผู้ร้อง การกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ ต้องกระทำในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกิน 2 ปี ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 เกินกว่า 2 ปี ก่อนที่ คตส.จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 และก่อนที่จะแจ้งข้อกล่าวหาคดีนี้ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ให้เสร็จเด็ดขาดไปก่อน กลับส่งเรื่องให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลโดยรีบด่วน สรุปในคำร้องนี้กล่าวหาว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการกระทำข้ามขั้นตอนของกฎหมาย ขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.ฉบับที่ 30 ความเห็นของ คตส.ขัดแย้งกันเอง เนื่องจาก คตส.ส่งเรื่องให้กรมสรรพากรเก็บภาษีจากผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เท่ากับยอมรับว่า บุคคลทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นบริษัท ชินคอร์ป แต่เมื่อ คตส.ต้องการเงินที่ได้มาจากการขายหุ้นดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน กลับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเดียวกันว่า หุ้นดังกล่าวเป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 คตส.ไม่ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนใหม่เพื่อไต่สวนคดีนี้ กลับแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงข้อกล่าวหาในคดีอาญาเรื่องการตรา พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้ ทั้งๆ ที่เป็นข้อกล่าวหาคนละเรื่องกัน ทำให้การไต่สวนของ คตส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยรู้อยู่แต่แรกว่า สำนวนการไต่สวนของ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีข้อไม่สมบูรณ์ ทั้งไม่อาจแจกแจงได้ว่า ทรัพย์สินหรือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ส่วนใดเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ หรือได้มาโดยไม่สมควร ภาระการพิสูจน์ว่าทรัพย์สินเป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 จริงหรือไม่ ตกอยู่กับผู้ร้อง เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเรื่องกรรมสิทธิ์ขัดแย้งกับเอกสารทางราชการ คำร้องของผู้ร้องเคลือบแคลง ไม่ได้บรรยายว่าผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้องอย่างไร และเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นั้นอย่างไร ทั้งไม่บรรยายให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการมอบหมายให้ผู้ใดกระทำการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตน และพวกพ้องเมื่อใด อย่างไร และประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีความชัดเจนแน่นอนในรูปแบบใด มีจำนวนเท่าใด มีพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้างอย่างไร เพียงใด ประกอบกับผู้ร้องไม่ได้กล่าวอ้างให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรี ของผู้ถูกกล่าวหาอย่างไร ก่อให้เกิดผลในการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของทรัพย์สินหรือมูลค่าหุ้นนั้นอย่างไร เพียงใด เป็นจำนวนเท่าใด โดยในแต่ละมาตรการทำให้มูลค่าหุ้นสูงขึ้นผิดปกติจำนวนเท่าใด เมื่อใด อย่างไร มีพฤติการร่ำรวยผิดปกติอย่างไร

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:39:40 น.  

 


หุ้นบริษัท ชินคอร์ป ทั้งหมด 1,487,74120 หุ้น ที่ขายให้กลุ่มเทมาเส็ก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 เป็นหุ้นจำนวนเดิมที่บุตรและญาติพี่น้องของผู้ถูกกล่าวหามีอยู่ก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ในปี 2544 และราคาหรือมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น เป็นไปตามปกติของราคาตลาด มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละช่วงเวลาตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับหุ้นของบริษัทอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา และมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ

ขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นเงินทั้งสิ้น 15,124 ล้านบาท ไม่ได้ระบุการถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ไว้แต่อย่างใด โดยมูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่ครอบครัวชินวัตรและครอบครัวดามาพงศ์ถืออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก่อนผู้ถูกกล่าวหาเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 คิดเป็นเงิน 31,837,638,568 บาท หากหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ยังเป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 จริงตามที่ถูกกล่าวหา แสดงว่า ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีทรัพย์สินอยู่แล้ว เป็นเงิน 46,961,638,568 บาท ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องตามที่ผู้ร้องกล่าวหา รวม 5 กรณี

1. การแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต

2. การแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่บริษัท เอไอเอส

3. การแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วมและให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส

4. การละเว้นอนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยมิชอบเพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท ไทยคม

5. การอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ไทยคม มาตรการต่างๆ เป็นการกระทำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ มิได้เกิดจากการสั่งการหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา ทั้งไม่ได้มีการทำให้ราคาหุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีมูลค่าสูงขึ้น หรือได้รับประโยชน์ใดๆ ตามที่ผู้ร้องกล่าวหา เงินปันผลจากหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 6,898,722,129 บาท ไม่ได้เป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 แต่เป็นของบุตรและญาติพี่น้องของผู้ถูกกล่าวหา และไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เงินปันผลดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มติให้ยื่นคำร้องคดีนี้ของผู้ร้อง และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 6 และมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ทั้งประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ให้งดการบังคับใช้เฉพาะที่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาเท่านั้น การกล่าวหาไต่สวนและยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำนอกขอบอำนาจหน้าที่ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ข้อ 5 ที่กำหนดให้ คตส.มีอำนาจตรวจสอบเฉพาะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น คำร้องไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน สถานที่ตั้ง ชื่อ และที่อยู่ของผู้ครอบครอง หรือมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เงินและทรัพย์สินส่วนที่ไม่ได้อายัดไว้ชั่วคราว จำนวน 9,858,676,036 บาท 80 สตางค์ ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนดคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ข้อ 23 คำร้องส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้เงินในบัญชีเงินฝากของผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 548,519,312 บาท 27 สตางค์ และเงินในบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 2,852,933,931 บาท 76 สตางค์ ที่ คตส.อายัดไว้ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากเงินจำนวนดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสมีอยู่ก่อนผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2544 แล้ว การกล่าวอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในหุ้นบริษัท ชินคอร์ป หากจะเป็นความผิดก็เพียงมีโทษตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 และ มาตรา 122 ที่มีโทษทางอาญา และการพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่มีอำนาจร้องขอให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินได้ เนื้อหาตามคำร้องเป็นการฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากการกระทำละเมิด เป็นการดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และมูลคดีเรื่องละเมิด และเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ขอให้ยกคำร้องและมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา

ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิ์ของให้เงินฝากในบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 รวม 26 รายการ ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ได้มาโดยสุจริต และมีมาก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง และมิได้เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ วันที่ 10 เมษายน 2541 ผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 และ ที่ 5 ถือหุ้นในบริษัท ชินคอร์ป รวมกัน 74,417,395 หุ้น มูลค่ารวมเป็นเงิน 20,092,696,650 บาท ไม่ใช่หุ้นที่ผู้ถูกกล่าวหา ให้ผู้คัดค้านที่ 1 หรือที่ 5 ถือแทน ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินคอร์ป มีการเพิ่มทุน ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นเพิ่มทุนเป็น 65,840,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นเพิ่มเป็น 69,300,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้นเพิ่มเป็น 33,634,150 หุ้น รวมหุ้นทั้งสิ้น 168,774,150 หุ้น มูลค่ารวมเป็นเงิน 15,132,290,289 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 และผู้ถูกกล่าวหาในขณะที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการที่ผู้ถูกกล่าวหา ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ

วันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้คัดค้านที่ 1 ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 42,475,000 หุ้น

วันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้คัดค้านที่ 1 ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 42,475,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ในราคาหุ้นละ 10 บาท ผู้คัดค้านที่ 2 ชำระค่าหุ้น 424,750,000 บาท โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินมอบให้ไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ผู้คัดค้านที่ 1 ยกหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 4,500,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าวนั้นแล้ว ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท ชินคอร์ป ของผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 6,809,015 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 5 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านที่ 1 ชำระโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินมอบให้ผู้คัดค้านที่ 1 ไว้ แต่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวสูญหายไป ผู้คัดค้านที่ 5 จึงออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเก่าให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งขณะนั้นผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และใช้คำนำหน้าว่า คุณหญิง แล้ว และวันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้คัดค้านที่ 1 ยังขายหุ้นชินคอร์ป 26,825,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 แล้ว ในราคาหุ้นละ 10 บาท ผู้คัดค้านที่ 5 ชำระค่าหุ้น 268,250,000 บาท โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินมอบให้ไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ไม่ได้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ตามคำร้องแทนผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 เนื่องจาก ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 รวมทั้งบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่ามี รวมทรัพย์สินทั้งสิ้น 15,124,000 บาท ไม่มีรายการหุ้นบริษัท ชินคอร์ป รวมอยู่ด้วย โดยมูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ของครอบครัวผู้ถูกกล่าวหา และครอบครัวดามาพงศ์ รวมก่อนผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นเงิน 43,366,542,520 บาท ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นภายหลังจากนั้น เป็นการเพิ่มขึ้นตามกลไกของตลาดหลักทรัพย์ และภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นไม่ใช่เกิดจากการเอื้อประโยชน์ตามคำร้อง คตส. และผู้ร้องตรวจสอบกล่าวหานอกขอบอำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เนื่องจากเป็นการกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ โดยได้กระทำการเอื้อประโยชน์ต่างๆ เมื่อพ้นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ถูกกล่าวหาพ้นจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2548 คดีขาดอายุความ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 และไม่มีอำนาจตรวจสอบคณะรัฐมนตรีชุดที่พ้นจากตำแหน่ง เพราะอายุสภาสิ้นสุดลง คำร้องของผู้เคลือบคลุมไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้บรรยายถึงพฤติการร่ำรวยผิดปกติ และทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างไร ผู้ร้องไม่ได้แยกทรัพย์สินที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีอยู่ก่อนผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ มีอยู่จำนวนเท่าใด ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่สามารถต่อสู่คดีได้ กระบวนการพิสูจน์ทรัพย์ยังไม่แล้วเสร็จ ว่าทรัพย์สินที่ คตส.มีคำสั่งอายัดไว้ เป็นของผู้พิสูจน์ทรัพย์สินหรือไม่ เป็นการข้ามขั้นตอนของกฎหมายที่กำหนดไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ เนื้อหาตามคำร้องของผู้ร้อง เป็นการฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากการกระทำละเมิด ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องนี้ ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินของ คตส.

ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นบริษัท ชินคอร์ป 458,550,220 หุ้น ที่ขายให้แก่บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 โดยผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อหุ้นดังกล่าวมาจากผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 และขายไปในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ได้รับเงินหลังจากหักค่านายหน้า และภาษี เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 22,523,187,209 บาท 49 สตางค์ โอนเข้าบัญชีของผู้คัดค้านที่ 2 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111 2 3100 88 โดยก่อนโอนเงินค่าหุ้นเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 2 มีเงินฝากอยู่แล้ว 2,151,667 บาท 16 สตางค์ ผู้คัดค้านที่ 2 แบ่งเงินจากการขายหุ้นให้ผู้คัดค้านที่ 18 กู้ยืมไป 1,100 ล้านบาท ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 15 จำนวน 1,000 ล้านบาท

ซื้อที่ดินที่ ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 4 แปลง ในราคา 27,227,200 บาท และชำระค่าที่ปรึกษากฎหมาย และค่าทนายความ ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 22 จำนวน 30 ล้านบาท มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ หรือเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ และใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของบุคคลใด ราคาหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่เพิ่มขึ้นจากราคา 21 บาท ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็น 49.25 บาท ณ วันที่ 23 มกราคม 2549 เป็นการปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัท ชินคอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทที่มีพื้นฐานดีอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นผลมาจากการกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม คำร้องของผู้ร้องเคลือบคลุมไม่ได้บรรยายว่า มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร มีความผิดปกติของการซื้อขายหุ้นดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างไร หรือมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง มีความผิดปกติอย่างไร เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด และสาเหตุของการขึ้นลงของราคาหุ้นมาจากปัจจัยใด เงินที่ผู้ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน 76,621,603,061 บาท 5 สตางค์ มีเงินของผู้คัดค้านที่ 2 รวมอยู่ด้วย 17,150 ล้านบาทเศษ ขอให้ยกคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 และเพิกถอนการอายัดเงินและที่ดินของผู้คัดค้านที่ 2

ผู้คัดค้านที่ 3 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 604,600,000 หุ้น โดยซื้อมาจากผู้คัดค้านที่ 2 และบริษัท แอมเพิลริช โดยชอบ ไม่ได้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 3 ขายหุ้นดังกล่าวให้กับบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นเงิน 29,696,897,728 บาท 78 สตางค์ แล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีธนาคารที่ คตส.อายัด นำไปร่วมลงทุนในบริษัทต่างๆ บริจาคให้ผู้คัดค้านที่ 17 และให้ผู้มีชื่อกู้ยืมบริษัท ชินคอร์ป ประกอบธุรกิจในลักษณะการเข้าร่วมถือหุ้นบริษัทในเครือ ซึ่งมีผลประกอบการที่ดี ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ดี ทำให้หุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีราคาเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหรือสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ และใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากผู้คัดค้านที่ 3 ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และคำร้องของผู้ร้องเคลือบคลุมไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดให้เห็นว่า มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ก่อนหรือขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหลังจากพ้นจากตำแหน่งแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีความผิดปกติของการซื้อขายหุ้นดังกล่าวอย่างไร การเพิ่มขึ้นหรือลดลงมีความผิดปกติอย่างไร เกิดขึ้นในช่วงใด และเกิดจากสาเหตุใด ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:41:04 น.  

 


ผู้คัดค้านที่ 4 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 20 ล้านหุ้น โดยซื้อมาจากผู้ถูกกล่าวหาโดยชอบ ไม่ได้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 4 ขายหุ้นดังกล่าวให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นเงิน 928,365,125 บาท แล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สาขาพหลโยธิน เลขที่ 014-111300-9 ที่ คตส.อายัด โดยมีเงินฝาก 602,979 บาท 5 สตางค์ ของผู้คัดค้านที่ 4 รวมอยู่ด้วย ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ คตส.ที่ดำเนินการตรวจสอบ ไม่มีความเป็นกลาง คตส.บางคนเป็นปฏิปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา คณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ดำเนินการต่อจาก คตส.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตามกฎหมายไม่มีอำนาจดำเนินการ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้โดยไม่ให้โอกาสผู้คัดค้านที่ 4 นำพยานเข้าไต่สวนเพื่อพิสูจน์ทรัพย์สิน ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 4

ผู้คัดค้านที่ 5 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 5 เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 404,430,300 หุ้น โดยซื้อและได้รับโอนให้มาโดยชอบ ไม่ได้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 5 ขายหุ้นดังกล่าวให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นเงิน 19,827,750,384 บาท 36 สตางค์ แล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารไทยกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-4-64433-3 ซึ่ง คตส.อายัดโดยมีเงินฝากเดิม 1,339,684,987 บาท 22 สตางค์ รวมอยู่ด้วย ผู้คัดค้านที่ 5 นำเงินที่ได้มาดังกล่าวไปลงทุน และนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากอื่นๆ ของบริษัท ชินคอร์ป ประกอบธุรกิจในลักษณะการเข้าร่วมถือหุ้นบริษัทในเครือ ซึ่งมีผลประกอบการที่ดี จึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ดี ทำให้หุ้นของบริษัท ชินคอร์ป มีราคาเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ หรือสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ดำเนินการต่อจาก คตส. ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจดำเนินการ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้โดยไม่ให้โอกาสผู้คัดค้านที่ 4 นำพยานเข้าไต่สวนเพื่อพิสูจน์ทรัพย์สิน และคดีขาดอายุความ เนื่องจากไม่ได้กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาภายในเวลา 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 75 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5

ผู้คัดค้านที่ 6 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเป็นสามีผู้คัดค้านที่ 6 ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 404,589,900 หุ้น ให้แก่บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด ราคาหุ้นละ 49.25 บาท เป็นเงิน 19,918,192,275 บาท รวมกับหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ของผู้คัดค้านที่ 6 อีก 159,600 หุ้น เป็นเงิน 7,860,300 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,926,052,575 บาท เมื่อหักค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คงเหลือเงินสุทธิรวมท 19,872,750,384 บาท 36 สตางค์ โดยเป็นส่วนของผู้คัดค้านที 5 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ผู้คัดค้านที่ 5 โอนเงินเข้าบัญชียกให้ผู้คัดค้านที่ 6 ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-0-91157-9 จำนวน 40 ล้านบาท โดยมีเงินจากการขายหุ้นของผู้คัดค้านที่ 6 จำนวน 7,839,273 บาท 70 สตางค์ รวมอยู่ด้วย ผู้คัดค้านที่ 5 และ ที่ 6 ไม่ได้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป แทนผู้คัดค้านที่ 1 หรือผู้ถูกกล่าวหา เงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าวที่ คตส.อายัด เป็นของผู้คัดค้านที่ 6 ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านที่ 5 และ ที่ 6 ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ยื่นคำร้องพิสูจน์ทรัพย์สิน และดำเนินการพิสูจน์ทรัพย์สินต่อ คตส. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยยังไม่มีการดำเนินการพิสูจน์ทรัพย์ให้เสร็จสิ้น เป็นการข้ามขั้นตอนตามกฎหมาย และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่พิจารณาสำนวนการสอบสวนของ คตส. รวมทั้งมีมติให้ยื่นคำร้อง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 6

ผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 และ ที่ 19 ยื่นคำคัดค้านว่า เงินฝากในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนรัชดาภิเษก และสาขามีนบุรี รวม 3 บัญชี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาราชวัตร และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาแฟชั่นไอแลนด์ รวม 1,000 ล้านบาท เป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 และ ที่ 19 ซึ่งประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมาย ได้รับเป็นค่าจ้างจากครอบครัวชินวัตร และครอบครัวดามาพงศ์ โดยผู้คัดค้านที่ 2 ให้ทำหน้าที่ทนายความแก้ต่างคดี และปรึกษากฎหมาย รวม 5 คดี ผู้คัดค้านที่7 ที่ 8 และ ที่ 19 ไม่ทราบว่า ผู้ว่าจ้างได้เงินดังกล่าวมาจากที่ใด เป็นการได้มาโดยสุจริต และ คตส.มีมติให้เพิกถอนอายัดเงินฝากทั้ง 5 บัญชีของผู้คัดค้านทั้ง 3 แล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในส่วนนี้

ผู้คัดค้านที่ 9 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-0-70185-5 จำนวน 1,000 ล้านบาท และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย เลขที่ 013-1-252266-4 จำนวน 1,300 ล้านบาท ที่ คตส.อายัด เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 9 ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือเป็นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่พิจารณาสำนวนตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 ผู้คัดค้านที่ 9 ดำเนินกระบวนการพิสูจน์ทรัพย์สิน โดยโต้แย้งไว้ต่อ คตส. แต่ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้มีคำสั่งใดๆ การยื่นคำร้องคดีนี้เป็นการข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ คตส.กล่าวหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 เกิน 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 - 2548 แล้ว คดีของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 เงินฝากที่ คตส.อายัดดังกล่าว เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 9 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้จ่ายลงทุนในธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 9 ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยสุจริต ก่อนที่ คตส.จะมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชี ไม่เกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหา

ผู้คัดค้านที่ 10 ยื่นคำคัดค้านว่า คตส.กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 จึงเกิน 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 - 2548 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกล่าวหา คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจดำเนินการ และการพิสูจน์ทรัพย์ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการตามที่กฎหมายบังคับ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-0-71709-1 จำนวน 1,000 ล้านบาท และธนาคารธนาชาต จำกัด (มหาชน) สาขารัชดาภิเษก รวม 2 บัญชี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาท เป็นของผู้คัดค้านที่ 10 ซึ่งผู้คัดค้านที่ 3 ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 10 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้จ่ายลงทุนในธุรกิจ ตามวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 10 ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยสุจริต ก่อนที่ คตส.จะมีคำสั่งอายัด ไม่เกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหา

ผู้คัดค้านที่ 10 ยื่นคำคัดค้านว่า คตส.กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 จึงเกิน 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544-2548 คตส.ไม่มีอำนาจกล่าวหาและไต่สวน คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจดำเนินการ และผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เนื่องจากไม่มีคำสั่งพิสูจน์ทรัพย์สินให้เสร็จสิ้นกระบวนการตามที่กฎหมายบังคับ กรณีการยื่นคำร้องคดีนี้จึงข้ามขั้นตอนกระบวนการพิสูจน์ทรัพย์สิน เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-0-70784-8 จำนวน 5,000 ล้านบาท ที่ คตส.อายัด เป็นของผู้คัดค้านที่ 11 ซึ่งผู้คัดค้านที่ 5 ชำระค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 11 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 ผู้คัดค้านที่ 11 ออกใบสำคัญรับเงินค่าหุ้นและออกใบหุ้น จำนวน 5,000 ล้านหุ้น ตั้งแต่หมายเลข 15000001-515000000 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 แล้ว ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกิดจากร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ ขอให้ยกคำร้อง

ผู้คัดค้านที่ 10 ยื่นคำคัดค้านว่า คตส.กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 จึงเกิน 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 จึงไม่มีอำนาจกล่าวหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจดำเนินการ และการพิสูจน์ทรัพย์สินยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการตามที่กฎหมายบังคับ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-432087-6 ที่ คตส.อายัดครั้งแรก 430,000,000 ล้านบาท และครั้งที่สอง 187,000,000 ล้านบาท เป็นของผู้คัดค้านที่ 12 ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากผู้คัดค้านที่ 12 และได้ออกใบหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ คตส.จะสั่งอายัด การชำระค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนทำโดยสุจริต เปิดเผย ผ่านระบบธนาคาร สามารถตรวจสอบได้ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ ขอให้ยกคำร้อง

ผู้คัดค้านที่ 13 ยื่นคำคัดค้านว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาสำนวนร่วมกับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 13 ได้ดำเนินการกระบวนการพิสูจน์ทรัพย์สินจนเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่มีคำสั่งใดในเรื่องการพิสูจน์ทรัพย์สิน การยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และข้ามขั้นตอนในการพิสูจน์ทรัพย์สิน คดีนี้ คตส.กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม เกินกว่า 2 ปีนับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 แล้ว คดีจึงขาดอายุความ เงินฝากบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-0-72506-0 จำนวน 130,000,000 ล้านบาท เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 13 จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น และมีมติพิเศษให้เพิ่มทุน ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดในราคาหุ้นละ 10 บาท ผู้คัดค้านที่ 13 จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนำส่งสำหรับทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ใช่เงินของผู้คัดค้านที่ 1 และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือได้มาจากผู้กระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ขอให้ยกคำร้องและปล่อยทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 13

ผู้คัดค้านที่ 14 ยื่นคำคัดค้านว่า เงินฝากจำนวน 132,123.60 บาท ในบัญชีธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนรัชดา-ลาดพร้าว เลขที่ 177-0-42112-9 ผู้คัดค้านที่ 14 ได้รับเป็นเงินค่าจ้างที่ปรึกษาด้านภาษีอากร กรณี คตส.ตรวจสอบการซื้อขายหุ้น เมื่อได้ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 โดยผู้คัดค้านที่ 14 ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินค่าบริการ เข้าร่วมประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2550 รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินคนละ 60,061.80 บาท ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ ขอให้ยกคำร้อง

ผู้คัดค้านที่ 15 ยื่นคำคัดค้านว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 ผู้คัดค้านที่ 15 ได้พิสูจน์ทรัพย์สินตามกระบวนการที่บังคับใช้ก่อนมีการยื่นคำร้องคดีนี้แล้ว แต่ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้มีคำสั่งใดๆ การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงข้ามขั้นตอนตามกระบวนการพิสูจน์ทรัพย์สิน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง คดีขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 เนื่องจากมูลเหตุที่กล่าวหาเกิดขึ้นขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 แต่ คตส.กล่าวหาเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 จึงเกินกว่า 2 ปีนับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว

เงินในบัญชีธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ บัญชีเลขที่ 127-0-70189-7 จำนวน 2,000 ล้านบาท เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชำระค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 15 โดยออกเป็นหุ้นจำนวน 200 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 10 บาท เพื่อขยายการดำเนินธุรกิจของผู้คัดค้านที่ 15 ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550 เงินในบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย บัญชีเลขที่ 013-125220-0 จำนวน 1,000 ล้านบาท เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 2 ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่ซื้อจากผู้คัดค้านที่ 15 ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2550 และครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 4 มิถุนายน 2550

ผู้คัดค้านที่ 16 ยื่นคำคัดค้านว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 ผู้คัดค้านที่ 16 ได้พิสูจน์ทรัพย์สินจนเสร็จสิ้นตามกระบวนการที่บังคับใช้ก่อนมีการยื่นคำร้องคดีนี้แล้ว แต่ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้มีคำสั่งใดๆ การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงข้ามขั้นตอนตามกระบวนการพิสูจน์ทรัพย์สิน ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้อง คดีขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 เนื่องจากมูลเหตุที่กล่าวเกิดขึ้นขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 แต่ คตส.กล่าวหาเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 ซึ่งเกินกว่า 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว เงินในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ จำนวน 2,000 ล้านบาท เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชำระค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้คัดค้านที่ 16 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 โดยออกเป็นหุ้นจำนวน 2,000 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท เพื่อขยายการดำเนินธุรกิจของผู้คัดค้านที่ 16 ตามมติครั้งที่ 1/2550 และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ตามลำดับ ซึ่งการชำระค่าหุ้นดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนที่ คตส.จะมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 16

ผู้คัดค้านที่ 17 ยื่นคำคัดค้านว่า เงินฝากจำนวน 200 ล้านบาท ในธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 17 ทีได้รับการบริจาคมาจากผู้คัดค้านที่ 3 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2550 ตามแคชเชียร์เช็ก ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักเพชรบุรี เลขที่ 6590443 เพื่อนำไปใช้จ่ายบริจาคให้แก่เด็กผู้ยากไร้ และนักเรียนที่ดีเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงครอบครัวและองค์การกุศลอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์ทรัพย์สินจาก คตส.แล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 17 เป็นเจ้าของที่แท้จริง ได้รับบริจาคมาโดยสุจริตและตามสมควรในทางกุศล สาธารณะ โดย คตส.มีมติให้เพิกถอนการอายัดทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 17 ตกเป็นของแผ่นดิน คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ.2550 มาตรา 246 วรรค 1 และมาตรา 247 วรรค 1 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาสำนวนการสอบสวนของ คตส. และมีมติให้ผู้ร้องยื่นคำร้อง

ผู้คัดค้านที่ 18 ยื่นคำคัดค้านว่า เงินฝากในบัญชีธนาคารและแคชเชียร์เช็กรวม 10 รายการ ที่ คตส.มีคำสั่งอายัด เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 18 ซึ่งได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินได้ เนื่องจากเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.รับมอบสำนวนจาก คตส.แล้ว ยังไม่ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการพิสูจน์ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 18 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และข้ามขั้นตอนในการพิสูจน์ทรัพย์สิน คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาสำนวน ไม่มีอำนาจส่งเรื่องให้ผู้ร้อง และไม่มีอำนาจพิจารณาสำนวนร่วมกับผู้ร้อง

คำร้องกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์ ขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 แต่ คตส.กล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งเกิน 2 ปี ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 คดีจึงขาดอายุความแล้ว เงินฝากในบัญชีของผู้คัดค้านจำนวน 800 ล้านบาท เกิดจากการที่ผู้คัดค้านที่ 18 ขายหุ้นเพิ่มทุน 300 ล้านหุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และได้เรียกเก็บเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนครั้งแรก ในราคาหุ้นละ 2.66 บาท ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 ด้วยแคชเชียร์เช็ค 4 ฉบับ ขอให้ยกคำร้องในส่วนของผู้คัดค้านที่ 18

ผู้คัดค้านที่ 20 ยื่นคำคัดค้านว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจส่งเรื่องให้ผู้ร้องดำเนินการ คตส.ยังไม่ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนพิสูจน์ทรัพย์จนครบถ้วนตามกฎหมายในชั้นพิสูจน์ทรัพย์ โดยผู้คัดค้านที่ 20 ได้แสดงหลักฐานพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์ต่อ คตส.แล้ว แต่ คตส. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังมิได้มีคำสั่งใดๆ เพื่อชี้ชัดว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่อายัดเป็นของผู้คัดค้านที่ 20 หรือไม่ และคดีนี้มีการกล่าวหาเกิน 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง

ผู้คัดค้านที่ 20 มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2549 และครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2549 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ให้เพิ่มทุนอีก 1,500 ล้านบาท ผู้คัดค้านที่ 5 ซื้อหุ้นเพิ่มทุน 1,200 ล้านบาท และผู้คัดค้านที่ 6 ซื้อหุ้นเพิ่มทุน 300 ล้านบาท แล้วชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนร้อยละ 60 เป็นเงินรวม 900 ล้านบาท ผู้คัดค้านที่ 20 นำเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 20 ที่ คตส.อายัด และออกใบสำคัญรับชำระค่าหุ้นให้ผู้คัดค้านที่ 5 และผู้คัดค้านที่ 6 พร้อมจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เป็นทุนทะเบียน 4,000 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 20

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:41:39 น.  

 


ผู้คัดค้านที่ 21 ยื่นคำคัดค้านว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 ไม่มีอำนาจส่งเรื่องให้ผู้ร้องดำเนินการ นอกจากนี้ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนพิสูจน์ทรัพย์จนครบถ้วนตามกฎหมาย ทั้งการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าร่ำรวยผิดปกติ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 ต้องกระทำในขณะผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือพ้นจากตำแหน่งไปไม่เกิน 2 ปี แต่คดีนี้เป็นการกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำการเพื่อเอื้อประโยชน์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2544 ถึงปี 2548 เป็นเวลาเกิน 2 ปี ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน ของผู้คัดค้านที่ 21 จำนวน 2,000 ล้านบาท ที่ผู้ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 5 ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านที่ 21 ครั้งที่ 1/2550 และครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 และวันที่ 30 มีนาคม 2550 ที่ให้เพิ่มทุนอีก 900 ล้านบาท และในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผู้ถือหุ้นกับการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2550 และวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 ที่ให้เพิ่มทุนอีก 2,000 ล้านบาท

ผู้คัดค้านที่ 21 ออกใบสำคัญรับชำระค่าหุ้นให้ผู้คัดค้านที่ 5 พร้อมจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว เงินในบัญชีดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 21 ที่ได้มาโดยสุจริตตามปกติในทางธุรกิจและเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ประกอบกับข้อกล่าวหาว่าผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป แทนผู้ถูกกล่าวหา ยังขัดกับคำวินิจฉัยของ คตส.ที่ว่า รับโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ป จากผู้คัดค้านที่ 1 เป็นประโยชน์ที่ผู้คัดค้านที่ 5 ได้รับ และให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีได้จากผู้คัดค้านที่ 5 อีกด้วย

ผู้คัดค้านที่ 22 ยื่นคำคัดค้านว่า เงินตามแคชเชียร์เช็คธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักนานาเหนือ 12 ฉบับ ทุกฉบับลงวันที่สั่งจ่ายเงินในวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 รวมเป็นเงิน 30 ล้านบาท ซึ่ง คตส.มีคำสั่งอายัดไว้ เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 22 ได้รับชำระหนี้จากการประกอบกิจการด้านกฎหมายโดยสุจริต โดยผู้คัดค้านที่ 2 ชำระเป็นค่าว่าจ้างให้ผู้คัดค้านที่ 22 เป็นที่ปรึกษากฎหมายและจัดหาทนายความเข้าแก้ต่างดำเนินคดีให้กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 5 และนางกาญจนา หงษ์เหิน ในคดีที่บุคคลทั้งสามถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลอาญา เกี่ยวเนื่องกับการเสียภาษี ผู้คัดค้านที่ 22 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้ร่วมกันชี้แจงและยื่นคำร้องพิสูจน์ทรัพย์สินต่อ คตส.แล้ว แต่ คตส.ไม่ได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามคำร้องขอพิสูจน์สิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 22 โดยแจ้งให้ผู้คัดค้านที่ 22 รอฟังผล คำสั่งของคณะกรรมการ ป.ป.ช.แทน เนื่องจาก คตส.ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว ส่วนคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็มิได้แจ้งผลการพิจารณา โดยระบุว่า ไม่มีกฎหมายให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพิกถอนคำสั่งอายัดของ คตส.ผู้คัดค้านที่ 22 และผู้คัดค้านที่ 2 มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน คตส.จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดทร้พย์สินของผู้คัดค้านที่ 22 ทั้งเงินที่ผู้คัดค้านที่ 2 ใช้ซื้อแคชเชียร์เช็ค 12 ฉบับ เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้มาโดยถูกต้องจากการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป และนำมาชำระค่าบริการทางกฎหมาย โดยไม่มีพฤติการณ์ยักย้ายเงินตามที่ คตส.กล่าวหา

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:42:06 น.  

 

พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงจากทางไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประกอบรายงานการไต่สวนของ คตส. และที่คู่ความไม่โต้เถียงกัน ฟังได้ในเบื้องต้นว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 6 มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภรรยาของผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 4 เป็นน้องของผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 5 เป็นพี่ชายของผู้คัดค้านที่ 1 ส่วนผู้คัดค้านที่ 6 เป็นภรรยาของผู้คัดค้านที่ 5 ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ชื่อไทยรักไทย ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2548 พรรคไทยรักไทยได้ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 248 ที่นั่ง และ 375 ที่นั่ง ตามลำดับ จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง ส่งผลให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับเลือก ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวม 2 สมัย ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 และวันที่ 9 มีนาคม 2548 ตามลำดับ

บริษัท ชินคอร์ป บริษัท เอไอเอส บริษัท ดีพีซี และบริษัท ไทยคม เป็นนิติบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยบริษัทชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม ส่วนบริษัท เอไอเอส เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในบริษัท ดีพีซี ทั้งต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทานโครงการของรัฐ โดยบริษัทชินคอร์ปได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับลงวันที่ 11 กันยายน 2534 โดยบริษัทไทยคม เป็นผู้บริหารโครงการตามสัญญา บริษัท เอไอเอสดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยได้รับอนุญาตจาก ทศท ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ส่วนบริษัท ดีพีซี เป็นผู้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ โดยได้รับอนุญาตจาก กสท ตามสัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ 1800 ฉบับลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539

เดิมผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 5 ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 32,920,000 หุ้น จำนวน 34,650,000 หุ้น และจำนวน 6,847,395 หุ้น ตามลำดับ

เมื่อปี พ.ศ.2542 ผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 5 ต่างใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุน เมื่อรวมกับหุ้นที่ถืออยู่เดิมแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นจำนวน 65,840,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 69,300,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้นจำนวน 13,618,030 หุ้น เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 มีการจดทะเบียนตั้งบริษัท แอมเพิลริช ตามกฎหมายของหมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นหุ้นจำนวน 50,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกชำระค่าหุ้นเพียง 1 หุ้น โดยผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว และมีนายเลา วี เตียง เป็นกรรมการผู้เดียว

วันที่ 7 มิถุนายน 2542 บริษัท แอมเพิลริช ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่มิได้มีการเรียกเก็บชำระค่าหุ้นเพิ่ม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาได้โอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปส่วนของผู้ถูกกล่าวหาให้แก่บริษัท แอมเพิลริช จำนวน 32,920,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท โดยผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ชำระค่าหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แทนบริษัทแอมเพิลริช กับจัดให้นางกาญจนา หงษ์เหิน เข้าร่วมเป็นกรรมการบริษัท แอมเพิลริช ในวันเดียวกัน

ต่อมาผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ได้รายงานตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ต่างโอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปที่ถืออยู่ทั้งหมด เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 โดยผู้ถูกกล่าวหาขายหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 30,920,000 หุ้น และขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 4 จำนวน 2 ล้านหุ้น ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 ขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 42,475,000 หุ้น และขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 26,825,000 หุ้น

ต่อมาบริษัท ชินคอร์ป ได้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท และยื่นคำขอจดทะเบียนเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 เป็นผลให้ผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า

ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รายงานตามแบบ 246-2 ว่า เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 และวันที่ 17 พฤษภาคม 2546 ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 367 ล้านหุ้น และจำนวน 73 ล้านหุ้น ตามลำดับ ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ในราคาหุ้นละ 1 บาท ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และบริษัท แอมเพิลริช ได้รายงานตามแบบ 246-2 ว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 บริษัทแอมเพิลริช โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่ถืออยู่จำนวน 329,200,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ณ วันดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 จึงมีชื่อถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป รวมกันเป็นจำนวน 1,419,490,150 หุ้น ระหว่างมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2548 ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 และบริษัท แอมเพิลริช ต่างได้รับเงินปันผลค่าหุ้นจากบริษัท ชินคอร์ป โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับ 1,461,447,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับ 2,105,550,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 4 ได้รับ 97,200,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 5 ได้รับ 1,634,613,129 บาท และบริษัท แอมเพิลริช ได้รับ 1,599,912,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,898,722,129 บาท

ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 2549 หุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่มีชื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ถืออยู่จำนวน 1,419,490,150 หุ้น ได้ขายให้แก่บริษัท ซีดาร์โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วได้เงินสุทธิ 69,722,880,932.05 บาท

ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ แต่งตั้ง คตส.ให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติ หรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริต หรือประพฤติมิชอบ

ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทาน หรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ และตรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่า เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

ต่อมา สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทศท ได้มีหนังสือร้องเรียนต่อ คตส.เพื่อขอให้ตรวจสอบการตรา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรี ว่า เป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อกิจการโทรคมนาคมของชาติ เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทที่เป็นกิจการของครอบครัวผู้ถูกกล่าวหา คตส.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งกลุ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งกลุ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ดำเนินการแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริงมีมูล คตส.จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดทางกฎหมาย เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ในส่วนของการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ในกิจการโทรคมนาคม และเรื่องอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนเอง ครอบครัว หรือพวกพ้อง ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือเป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่าประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม หรือเป็นกรณีที่ทำให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และระหว่างการตรวจสอบ ไต่สวน คตส.มีมติว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการโดยทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ จึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินที่มีชื่อผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 22 หลายรายการ รวมเป็นเงิน 66,762,927,024.25 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 22 ต่างยื่นคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สิน และคัดค้านการอายัดทรัพย์สินดังกล่าว

คตส.พิจารณาแล้วมีมติให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินที่มีชื่อผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 คณะอนุกรรมการไต่สวนดำเนินการไต่สวนและเสนอรายงานการไต่สวน พร้อมความเห็นต่อ คตส.ว่า ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ยังเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป โดยให้ผู้อื่นถือแทน และระหว่างผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ให้บริษัท ชินคอร์ป บริษัท ไทยคม บริษัท เอเอเอส มีสิทธิ์ดำเนินการในกิจการต่างๆ ดังกล่าว รวมทั้งแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต และเห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้วงเงินกู้สินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่า สำหรับโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของสหภาพพม่า อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นกิจการของผู้ถูกกล่าวหาและครอบครัว

คตส.ได้ร่วมประชุมพิจารณารายงานการไต่สวนดังกล่าวแล้ว เห็นว่าระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา ได้ปกปิดการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 100 208 209 291 และมาตรา 292 พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 5 และมาตรา 6 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 32 33 และมาตรา 100 ซึ่งมีความผิดอาญาตามมาตรา 119 และมาตรา 122 ทั้งผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ สั่งการ มอบนโยบาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การบังคับบัญชาหรือดูแลของผู้ถูกกล่าวหา กระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทในเครือ เป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เป็นจำนวนเงินสุทธิ 69,722,880,932.05 บาท และตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึงปี 2548 บริษัท ชินคอร์ป ได้จ่ายเงินปันผลให้รวม 6,898,722,129 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ กับมีมติให้ส่งรายงานเอกสารพร้อมทั้งความเห็น ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:42:43 น.  

 

การวินิจฉัยปัญหาตามข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้าน ตามประเด็นที่ได้โต้แย้งมาเป็นลำดับ

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่

ศาลเห็นว่าประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ 5 กำหนดให้ คตส.มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติ หรือเห็นชอบ โดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง โดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ

(2) ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทาน หรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ

(3) ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ

(4) ตรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจสั่งยึดหรือายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรส และบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้ นอกจากอำนาจตามวรรค 1 ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย คือ

พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการธุรกรรม

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประมวลรัษฎากร โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เฉพาะที่เกี่ยวกับการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน

ในการดำเนินการตามวรรค 1 วรรค 2 และวรรค 3 คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจพิจารณาเรื่องใดๆ ที่เห็นควรตรวจสอบ เรื่องที่มีผู้เสนอข้อมูล หรือเรื่องที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด และให้มีอำนาจเรียกสำนวนหรือเรื่องที่อยู่ในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ หรือเรียกสำนวนการสอบสน หรือการตรวจสอบ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ถ้ามี) มาพิจารณา และให้ใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยจะสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้ประสานงานเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี

นอกจากนี้ ข้อ 9 ยังวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ คตส.มีมติและส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ว่า ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือบุคคลใด กระทำผิดต่อหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงาน เอกสารหลักฐาน พร้อมทั้งความเห็น ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่าง แต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่า บุคคลใดกระทำผิดกฎหมาย และเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นต่อไป โดยให้ถือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นการสอบสวตามกฎหมายนั้น

ส่วนอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9(1) และ (4) ดังนี้

(1) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ตามกฎหมายอื่น

(4) คดีที่ร้องขอให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ ตกเป็นของแผ่นดิน

คดีนี้ผู้ร้องกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร่ำรวยผิดปกติ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ และมีคำขอให้ทรัพย์สินดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหา ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการดำเนินการตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ 9 และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9(1) และ (4)

กรณีหาใช่เป็นการฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะต้องดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองก่อน ซึ่งจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ประกอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้วินิจฉัยถอดถอนจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 110 208 และ 209 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญดังที่ผู้ถูกกล่าวและผู้คัดค้านอ้างมาไม่

กรณีตามคำร้องเป็นเรื่องซึ่งอยู่ในอำนาจการวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะองค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยประการต่อไป มีว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้หรือไม่

ผู้ถูกกล่าวหาโต้แย้งว่า เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกประกาศฉบับที่ 3 กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง ดังนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จึงถูกยกเลิก และไม่มีผลใช้บังคับกับความผิดที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำมาแล้ว ก่อนที่จะมีการยกเลิก พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เห็นว่า เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ซึ่งศาลจะใช้ตัวย่อต่อไปในการวินิจฉัย ยึดอำนาจในการปกครองประเทศได้เรียบร้อยแล้ว ก็ออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 มีใจความสำคัญว่า ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลทั้งหลายนั้น นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอัตถคดีตามบทกฎหมาย

แสดงให้เห็นว่าบรรดาบทบัญญัติกฎหมายต่างๆ ซึ่งได้ตราขึ้นและมีผลใช้บังคับอยู่แล้วในขณะที่มีการยึดอำนาจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปด้วยแต่ประการใดไม่ ดังนั้นแม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 บัญญัติให้ตราขึ้นใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อมีการตราขึ้นใช้บังคับโดยชอบแล้ว พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมมีสถานะเทียบเท่า พ.ร.บ.ทั่วไป กล่าวคือ หากไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดแล้ว ย่อมมีความสมบูรณ์ และยังคงดำรงความเป็นกฎหมายอยู่ในตัวเอง สามารถนำไปใช้บังคับใช้แก่กรณีต่างๆ โดยหาจำต้องอาศัยความดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตราพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่

การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงไม่มีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นผลไปด้วยแต่อย่างใด ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ในคำคัดค้านว่า คตส.และคณะอนุกรรมการไม่มีอำนาจตรวจสอบไต่สวน และกระบวนการตรวจสอบไต่สวนกระทำนอกขอบอำนาจของประกาศ คปค. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลได้นั้น เห็นว่า ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 ให้อำนาจ คตส.ในการตรวจสอบการดำเนินงาน หรือโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบ โดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทาน หรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำทุจริต หรือประพฤติมิชอบ ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ รวมทั้งมีอำนาจตรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:43:21 น.  

 

นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวยังให้ คตส.มีอำนาจพิจารณาเรื่องใดๆ ที่เห็นควรตรวจสอบ เรื่องที่มีผู้เสนอข้อมูล หรือเรื่องที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานอื่น อันเป็นการเปิดกว้างให้ คตส.มีอำนาจตรวจสอบได้ทุกเรื่องที่เห็นควรตรวจสอบ ดังนั้น ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 จึงเป็นประกาศที่ให้อำนาจ คตส.ตรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยมิได้จำกัดให้การตรวจสอบเฉพาะคณะรัฐมตนตรี คณะใดคณะหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การตรวจสอบไต่สวนของ คตส.ในคดีนี้ จึงเป็นการดำเนินการภายในขอบอำนาจตามประกาศ คปค.ที่ให้อำนาจไว้แล้ว

ส่วนกรณีที่ คตส.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อกล่าวหาคดีอาญา เป็นอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้ด้วยนั้น เห็นว่าการกล่าวหากรณีนี้ คตส.ใช้อำนาจตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนตามข้อ 10 ซึ่งตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.013/2505 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 ระบุชัดเจนว่า ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ในเรื่องของการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคมและเรื่องอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนและครอบครัว หรือพวกพ้อง รวมทั้งทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งเป็นกรณีร่ำรวยผิดปกติ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หมวดที่ 6 และหมวดที่ 7

แม้คณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้จะเป็นคณะเดียวกันกับคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อกล่าวหาคดีอาญา ก็ไม่ต้องห้ามตามประกาศ คปค.ฉบับดังกล่าว หรือระเบียบอื่นใด และที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านอ้างว่า คตส.ดำเนินการไต่สวนล่วงเลยระยะเวลาที่กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกตินั้น ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 11 วรรค 1 ได้กำหนดกรอบเวลาในการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และข้อ 11 วรรค 2 ยังบัญญัติว่า เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรค 1 และการตรวจสอบ หรือการสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งสำนวนสอบสวนคืนให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี แต่ต่อมามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรค 2 ของข้อ 11 ของประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรค 2 แต่การตรวจสอบเรื่องการสอบสวนเรื่องใดที่ดำเนินการอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ แต่ต้องไม่ช้ากว่าวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2551 และยังมีมาตรา 5 เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นวรรค 3 ของข้อ 11 ของประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ว่า ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบ ดำเนินการเรื่องใดตามวรรค 2 ไม่แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2551 ให้คณะกรรมการตรวจสอบ ส่งมอบสำนวนเรื่องที่ยังค้างอยู่นั้น ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นดังกล่าว เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี และถือว่าการดำเนินการสอบสวน การตรวจสอบ และผลการตรวจสอบ ที่คณะกรรมการตรวจสอบได้ดำเนินการแล้ว เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นดังกล่าว แล้วแต่กรณี

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามสำนวนการไต่สวนของ คตส.ว่า คตส.ได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 หลังจากนั้น คตส.ได้ส่งมอบสำนวนเรื่องที่ยังค้างอยู่นั้นให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ กรณีจึงถือได้ว่า คตส.ได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาภายในกรอบเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาและฝ่ายผู้คัดค้านอ้างว่า คตส.ดำเนินการไต่สวนล่วงเลยระยะเวลา 2 ปี เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2552 มาตรา 75 วรรค 2 นั้น เห็นว่ากรณีการกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งต้องกระทำในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเมื่อพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกิน 2 ปี ตามมาตรา 75 วรรค 2 ดังกล่าวนั้น เป็นกำหนดระยะเวลาที่บัญญัติขึ้นให้สำหรับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ใช้ปฏิบัติในกรณีที่มีการกล่าวหาว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ ตามมาตรา 75 วรรค 2 จะนำมาบังคับใช้แก่กรณีการตรวจสอบทรัพย์สินของ คตส. ที่มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ดั่งที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้นไม่ได้ ข้ออ้างของผู้ถูกกล่าวหาและฝ่ายผู้คัดค้าน ข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น ดังนั้นประกาศของ คปค.ฉบับที่ 30 ที่ให้อำนาจ คตส.ในการตรวจสอบการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และ คตส.ได้ดำเนินการไต่สวนภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 11 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2550 การตรวจสอบในกรณีกล่าวหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว

ส่วนข้ออ้างที่ว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนจำกัดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และการนำพยานเข้าไต่สวนโดยมิชอบนั้น เห็นว่า การกำหนดเวลาให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแก้ข้อกล่าวหานั้น ระเบียบของคณะกรรมการตรวจสอบว่าด้วยการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พ.ศ.2549 ประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ.2547 ข้อ 15 และ ข้อ 16 กำหนดให้คณะอนุกรรมการไต่สวนให้โอกาสแก้ผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาอันสมควร แต่อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อกล่าวหา ในกรณีที่คณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่า พยานหลักฐานใดที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างไม่เกี่ยวกับประเด็นที่กล่าวหา หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า คณะอนุกรรมการไต่สวนจะไม่ทำการไต่สวนพยานหลักฐานนั้นก็ได้ ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการให้คณะอนุกรรมการไต่สวนใช้ดุลพินิจได้ตามสมควรแก่พฤติการในแต่ละกรณี

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:46:01 น.  

 


ข้อนี้ได้ความว่า ในส่วนการแจ้งข้อกล่าวหาและชี้แจงแก้ข้อกล่าวหานั้น คตส.ได้มีมติให้ดำเนินคดีแก่ผู้ถูกกล่าวหา และได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบแล้ว โดยมีผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกกล่าวหารับบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาไป เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ผู้ถูกกล่าวหาได้แยกดำเนินการในส่วนของผู้ถูกกล่าวหาออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และยังทำคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สินยื่นต่อ คตส.อีกด้วย ในส่วนของการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหานั้น ผู้รับมอบอำนาจของผู้ถูกกล่าวหา ได้มีหนังสือขอเลื่อนการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาออกไปเป็นเวลา 60 วัน รวม 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 2 ได้ขอใช้สิทธิ์ตรวจสอบพยานหลักฐาน และเอกสาร ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวน ได้มีมติให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ 30 วัน ส่วนที่ขอตรวจสอบพยานหลักฐานและเอกสารนั้น ได้มีมติให้ผู้ขอตรวจสอบแจ้งว่า ต้องการตรวจสอบหลักฐานเรื่องใด เพื่อจะได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งต่อไป ซึ่งผู้รับมอบอำนาจของผู้ถูกกล่าวหา ได้ขอตรวจสอบพยานหลักฐานอีกครั้งหนึ่ง คณะอนุกรรมการไต่สวนได้พิจารณาในการประชุม ครั้งที่ 10/2551 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 มีมติให้ยกคำร้อง ต่อมาในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้รับมอบอำนาจขอผู้ถูกกล่าวหา มีหนังสือขอให้เพิกถอนคำสั่งการขอใช้สิทธิ์ตรวจเอกสาร คณะอนุกรรมการไต่สวนได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 11/2551 วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน มีมติยืนยันตามมติเดิม และผู้ถูกกล่าวหาได้ทำหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551 ทั้งในประเด็นข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย รวมทั้งแนบบัญชีรายชื่อพยานบุคคล พยานเอกสาร ภายในเวลาที่กำหนด แต่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ถูกกล่าวหา ได้ทำหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2551 อีก โดยขอระบุพยานเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 และขอให้ออกหมายเรียกพยานเอกสาร ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 15/2551 วันที่ 31 มีนาคม ปีเดียวกัน เห็นว่าเป็นเอกสารที่คณะอนุกรรมการไต่สวนมีอยู่แล้ว และเอกสารบางส่วนที่อ้างก็สามารถตรวจสอบได้จากคณะอนุกรรมการไต่สวนชุดตรวจภาษีชินคอร์ป จึงให้ยกคำร้องขอดังกล่าวทั้งหมด

ในส่วนการยื่นคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สิน ผู้ถูกกล่าวหาได้ยื่นคำร้อง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2550 โดยอ้างพยานบุคคลมาท้ายคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาในวันที่ 12, 19 และ 26 ตุลาคม 2550 ในวันที่ 12 ตุลาคม 2550 ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาขอเลื่อนการพิจารณาคำร้องออกไปอีก โดยอ้างว่า พยานเอกสารที่สำคัญและจำเป็น อยู่ในความครอบครองของทางราชการ และบุคคลภายนอก จึงยังไม่ได้มา และขอให้หมายเรียกเอกสาร กับขอให้ยกเลิกวันนัดในวันที่ 19 ที่ได้นัดไว้แล้ว ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ อนุญาตให้เลื่อนนัด และให้นัดเพิ่มเป็นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 ตามที่ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหามีวันว่าง ต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม 2550 ผู้ถูกกล่าวหาขอเลื่อนนัด โดยอ้างว่าขอถ่ายเอกสารจากหน่วยราชการแล้วแต่ยังไม่ได้รับ คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์ อนุญาตให้เลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 แต่เมื่อถึงวันที่ 27 ดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาขอเลื่อนนัดและกำหนดวันนัดใหม่อีก โดยอ้างว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่อนุญาตให้คัดถ่ายเอกสารเนื่องจากต้องดำเนินการมอบอำนาจใหม่ ให้มีการเลื่อนนัดออกไปวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 ตามวันว่างของผู้ถูกกล่าวหา และให้นัดพร้อมเพื่อตรวจพยานเอกสาร วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ครั้นถึงวันนัดตรวจพยานเอกสาร ผู้ถูกกล่าวหาขอให้เรียกพยานเอกสารจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ เห็นว่าเอกสารเป็นเอกสารที่ คตส.มีอยู่แล้ว จึงให้มาตรวจดูก่อน และกำชับให้ผู้ถูกกล่าวหาตั้งคำถามพยานล่วงหน้า 3 วัน กับให้เตรียมพยานมาให้พร้อมในวันนัด แต่เมื่อถึงวันนัด ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 พยานที่เรียกมาให้ถ้อยคำ ก็ไม่มา ผู้ถูกกล่าวหาขอให้เลื่อนนัดโดยอ้างว่า พยานจะมาในวันที่ 12 มีนาคม 2551 ครั้นถึงวันนัด สามารถไต่สวนพยานได้เพียงปากเดียว และเลื่อนนัดพิจารณาออกไป หลังจากนั้นมีการไต่สวนพยานตามคำขอของผู้ถูกกล่าวหาต่ออีกหลายนัด จนถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2551 ผู้ถูกกล่าวหาแถลงขอนำคำให้การของ นางสาวอรัญญา คงเจริญสถาพร ที่เคยให้การในสำนวนคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ของผู้คัดค้านที่ 2 มาเป็นพยานของผู้ถูกกล่าวหาด้วย ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ อนุญาต แต่ผู้ถูกกล่าวหายังคงติดใจขออ้างพยานอีก 8 ปาก และขอนัดเพิ่ม รวม 4 นัด แต่เนื่องจาก คตส.จะหมดวาระการทำงาน ในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จึงส่งสำนวนพร้อมเอกสารทั้งหมดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ

เห็นว่าในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาการตรวจสอบพยานหลักฐานและเอกสาร และการขอตรวจพิสูจน์ทรัพย์สินในชั้นคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์นั้น ปรากฏว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนได้มีการประชุมพิจารณาเป็นลำดับมา และมีมติที่กระทำไปโดยมีเหตุผลประกอบการพิจารณา ทั้งยังได้ให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว เมื่อเห็นได้ว่าพยานหลักฐานเพียงพอแล้ว ก็มีอำนาจที่จะงดการไต่สวนในส่วนพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาเสียได้ แม้คณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะมีการประวิงการให้การ ทำให้การไต่สวนชักช้า จะไม่ไต่สวนพยานหลักฐานนั้นเสียก่อนก็ย่อมได้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบแต่อย่างไรด้วย ในส่วนของการขอพิสูจน์ทรัพย์สินนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ ได้ให้โอกาสที่จะนำพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาเข้าไต่สวนพอสมควรแล้ว โดยให้เรียกพยานและอนุญาตให้เลื่อนนัดไปหลายครั้ง ตามที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอ หรืออนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหา นำคำให้การพยานบางปากที่เคยให้การไว้อีกสำนวนหนึ่งมาเป็นพยานในสำนวนของผู้ถูกกล่าวหา ตามที่ร้องขอ ตลอดจนส่งพยานเอกสารเพิ่มเติมเป็นระยะ ตลอดการพิจารณา คำร้องของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งได้รับอนุญาตตลอดมา ถือได้ว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนและคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ ได้ให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องดังกล่าวนี้ โดยได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบ ว่าด้วยการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พ.ศ.2549 ประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ.2547 ข้อ 15 และข้อ 16 โดยชอบแล้ว

ส่วนข้อคัดค้านของผู้ถูกกล่าวหาที่อ้างว่า การแต่งตั้ง นายกล้านรงค์ จันทิก นายบรรเจิด สิงคะเนติ และนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธานและอนุกรรมการไต่สวน ที่เป็นปรปักษ์ต่อผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า ในการตรวจสอบของ คตส. นอกจากอำนาจหน้าที่ที่มีตามประกาศ คปค.แล้ว ยังต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ด้วย กรณีดังกล่าว บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นอนุกรรมการไต่สวน ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 46 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ.2547 ข้อ 11 ได้แก่ บุคคลผู้รู้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหามาก่อน หรือมีส่วนได้เสียในเรื่องที่กล่าวหา หรือมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้กล่าวหา หรือผู้ถูกกล่าวหา การรู้เห็นเหตุการณ์จำกัดเฉพาะการเป็นผู้มีส่วนรู้เห็น เกี่ยวข้องโดยตรงในเหตุการณ์ หรือพฤติการณ์ที่กล่าวหานั้น เช่น การมีส่วนร่วมในการดำเนินการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาด้านโทรคมนาคมต่างๆ ที่มีการกล่าวหาในคดีนี้ เป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า การที่ นายกล้านรงค์ เมื่อครั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เคยกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาในกรณีปกปิดการถือครองหุ้นนั้น กรณีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมาย ส่วนกรณีที่ นายกล้านรงค์ไปร่วมรับฟังการปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เป็นการเข้าร่วมในฐานะผู้รับฟัง ซึ่งเป็นการแสดงออกโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ส่วนการที่เคยให้ข่าวรับว่า เป็นทนายความว่าความให้แก่กลุ่มวุฒิสมาชิก จำนวน 28 คน ที่ร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหาสิ้นสุดลง กับการจะไปเข้าร่วมแสดงศาลจำลองโจมตีการบริหารงานของผู้ถูกกล่าวหานั้น เป็นการดำเนินการโดยการใช้ความรู้ความสามารถในวิชาชีพที่ทำได้ แต่ในที่สุดนายกล้านรงค์หาได้ไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว หรือกิจกรรรมศาลจำลองแต่อย่างใด

ส่วนการกระทำของนายบรรเจิด ตามข้อคัดค้าน เป็นการแสดงออกในฐานะนักวิชาการ และประชาชนคนหนึ่ง มิได้โกรธเคืองเป็นส่วนตัวต่อผู้ถูกกล่าวหา อีกทั้งการยื่นคำร้องต่างๆ ก็เป็นการใช้สิทธิ์ทางกฎหมายในการตรวจสอบการบริหารของรัฐบาล สำหรับการกระทำตามข้อคัดค้านของนายแก้วสรร เป็นการแสดงออกในฐานะวุฒิสภา ที่เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัย เป็นการดำเนินการตามสิทธิ ตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง การขึ้นเวทีปราศรัยและการเขียนหนังสือ ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความชอบธรรมตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง ไม่ได้มีเหตุโกรธเคืองเป็นส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา ทั้งไม่มีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์โดยตรงกับเรื่องที่กล่าวหา ซึ่งอยู่ในการคัดค้านของอนุกรรมการไต่สวนนี้

คตส.ได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาคัดค้านตามระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบว่าด้วยการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พ.ศ.2549 ข้อ 24 และ คตส.ได้พิจารณาคำคัดค้านให้แล้ว โดยเห็นว่าอนุกรรมการไต่สวนที่ถูกคัดค้านไม่มีพฤติการณ์ หรือเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ.2547 ข้อ 11 อันเป็นปรปักษ์ต่อผู้ถูกกล่าวหา และมีมติให้ยกคำคัดค้าน พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาคำคัดค้านให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบแล้ว ส่วนในการพิจารณาคำคัดค้านนั้น อนุกรรมการที่ถูกคัดค้านแต่ละรายก็มิได้อยู่ร่วมในการวินิจฉัยข้อคัดค้านเฉพาะส่วนของตนแต่อย่างใด ทั้งในระหว่างที่มีการคัดค้านจนกระทั่ง คตส.มีมติยกเลิกคำคัดค้าน ก็ไม่ปรากฏว่า อนุกรรมการทั้ง 3 ได้มีการดำเนินการใดเกี่ยวกับการไต่สวนในเรื่องนี้ ดังนั้นการแต่งตั้ง นายกล้านรงค์ นายบรรเจิด และนายแก้วสรร เป็นประธานและอนุกรรมการไต่สวน จึงชอบแล้ว

ที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านโต้แย้งต่อไปว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินการแทน คตส. นั้น ข้อนี้เห็นว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่งอยู่นี้ เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ในข้อ 1 กำหนดให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งมิได้มาจากการสรรหาตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 7 จึงไม่จำต้องดำเนินการให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการแต่ประการใด และถือว่าเป็นคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อระยะเวลาตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 11 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 - 2550 สิ้นสุดลง คตส.ไม่อาจใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 อีกต่อไป จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่จะดำเนินคดีแทน คตส. และถือว่าสำนวนการสอบสวน และผลการตรวจสอบที่ คตส.ได้ดำเนินการไปแล้ว เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วย ตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจดำเนินการแทน คตส.ได้ การดำเนินการของ คตส. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงชอบแล้ว

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:46:28 น.  

 

ส่วนที่ว่า คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ได้วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ในการพิสูจน์ทรัพย์สินให้เสร็จเด็ดขาดก่อนยื่นคำร้อง เป็นการข้ามขั้นตอนของกฎหมายนั้น ข้อนี้เห็นว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 8 บัญญัติว่า บรรดาทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดตามข้อ 5 ถ้าเจ้าของทรัพย์พิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดได้ว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือ มิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และในข้อ 11 ของประกาศ คปค.ฉบับดังกล่าว บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการตรวจสอบ ดำเนินการตามประกาศให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศนี้ใช้บังคับ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามความในวรรค 1 แต่การตรวจสอบหรือการสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งมอบสำนวนให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี

จากบทบัญญัติทั้ง 2 นี้ ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน พิสูจน์ต่อ คตส.ได้ว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการร่ำรวย หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่ง คตส.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านแล้ว แต่เนื่องจากครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 ที่แก้ไขเพิ่มเติมในวรรค 3 ก่อนที่ คตส.จะพิจารณาเรื่องพิสูจน์ทรัพย์ให้เสร็จสิ้นไปได้ทุกกรณี สำหรับกรณีที่วินิจฉัยได้ คตส.มีคำสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดแล้ว ส่วนกรณีที่ไม่แล้วเสร็จ ก็ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป เป็นเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านต้องพิสูจน์ต่อศาล และเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งต่อไป ดังนั้น การกระทำของ คตส.และกรรมการ ป.ป.ช.จึงเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว

นอกจากนี้ ที่ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ว่า ผู้ร้องยังไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง เนื่องจากอัยการสูงสุดเห็นว่าเรื่องที่ส่งมายังมีข้อไม่สมบูรณ์นั้น เห็นว่า ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 9 ระบุว่า กรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ให้ส่งรายงานเอกสาร พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการของคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่าง แต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันตามความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณา หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี

คดีนี้อัยการสูงสุดมีความเห็นในครั้งแรกว่า ยังมีข้อไม่สมบูรณ์ของสำนวนการตรวจสอบ ไต่สวน แต่เมื่อ คตส.ยืนยันความเห็นให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อัยการสูงสุดได้พิจารณาและดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนดคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ จึงต้องถือว่า ข้อที่ไม่สมบูรณ์ในครั้งแรกนั้น ได้มีการแก้ไขและได้ยุติไปแล้ว ส่วนที่ว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่ต้องรอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาก่อน ตามข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหานั้น เห็นว่า มูลคดีนี้เป็นการกล่าวหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ โดยได้กระทำการต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตน ครอบครัว หรือพวกพ้อง เป็นเหตุให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ มิใช่เป็นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่มีมูลเหตุมาจากการกระทำความผิดทางอาญาของผู้ถูกกล่าวหา แม้ผู้ร้องจะกล่าวอ้างมาในคำร้องว่า การกระทำดังกล่าวมีความผิดทางอาญาด้วย แต่ประเด็นสำคัญที่ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความ คือ ผู้ถูกกล่าวหามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จริงหรือไม่ หากได้ความตามนี้แล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ แต่อย่างใด ดังนั้นคดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2512 มาตรา 18 วรรค 2

ศาลฎีกาแผนดดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อไปได้ โดยไม่จำต้องรอฟังผลคดีส่วนอาญาเสียก่อน ทั้งคดีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาเองก็ระบุในคำคัดค้านเป็นข้อต่อสู้มาด้วยว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งมิใช่คดีอาญา ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาของศาล ที่จะต้องกระทำต่อหน้าผู้ถูกกล่าวหาแต่ประการใด

และที่ผู้ถูกกล่าวหากับผู้คัดค้านโต้แย้งต่อไปว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องของให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น เห็นว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 วรรค 2 ให้อำนาจ คตส.สั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้ถูกตรวจสอบ คู่สมรส และบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้ โดยตามคำร้องของ คตส.ดังกล่าว กล่าวหาว่า ทรัพย์สินที่ทำการอายัดไว้เป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส และร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินเฉพาะทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติของผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น หาได้เป็นการกล่าวอ้างว่าเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งหลายไม่ ด้วยเหตุดังกล่าว องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

ปัญหาต่อไปมีว่า คำร้องเคลือบคลุมหรือไม่ ตามคำร้องบรรยายว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตลอดมา โดยมีผู้คัดค้านที่ 2 - 5 และบริษัท แอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน และผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่สั่งการ มอบนโยบายในการออก พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.25527 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2546 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 และออกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 กรณีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม โดยให้นำภาษีสรรพสามิตหักออกจากค่าสัมปทาน สั่งการอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่า กู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ไทยคม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกกล่าวหา ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กระทำการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า กระทำการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับ.. ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ครั้งที่ 7 ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้จ่ายเครือข่ายร่วม ละเว้นอนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี ทั้งนี้เป็นการกระทำที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือ โดยที่บริษัท ชินคอร์ป ประกอบธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับ.. ลงวันที่ 11 กันยายน 2534 จากกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ซึ่งตามสัญญาดังกล่าว

ข้อ 1. ระบุว่ากระทรวงคมนาคมตกลงให้บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมีสิทธิ์ในการบริหารกิจการ และการให้บริการวงจรดาวเทียมเพื่อการสื่อภายในประเทศ และมีสิทธิ์เก็บค่าใช้วงจรดาวเทียมจากผู้ใช้ สิทธิ์ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นของบริษัท ชินคอร์ป โดยในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว จำนวน 5 ครั้ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 วันที่ 3 มีนาคม 2536 วันที่ 30 มกราคม 2541 วันที่ 20 กันยายน 2543 และวันที่ 27 ตุลาคม 2547 บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ลงนามเป็นคู่สัญญาตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 8 วรรค 3 (1) บัญญัติว่า ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ต้องมิใช่เป็นคนต่างด้าว และต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น รวมทั้งต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลนั้น ยังต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งหมายถึงบุคคลต่างด้าวจะเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลดังกล่าวได้ไม่เกินร้อยละ 25 ดังนั้นหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ที่จำหน่ายได้ ที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โดยใช้ชื่อผู้คัดค้านที่ 2-5 และบริษัท แอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน ย่อมไม่สามารถขายให้กับบุคคลต่างด้าวได้ เนื่องจากจะมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลต่างด้าวเกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ แต่ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอกฎหมายแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว จนผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และออกเป็น พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ซึ่งแก้ไข(1) มาตรา 8 วรรค 3 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังกล่าว เป็นว่า ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องมิใช่เป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยไม่มีบทบัญญัติให้ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลนั้น ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยแต่อย่างใด เป็นผลให้บริษัท ชินคอร์ป ซึ่งประกอบธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม สามารถมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลต่างด้าวได้ถึงไม่เกินร้อยละ 50 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2549 มีผลใช้บังคับในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 ปรากฏว่า ในวันที่ 23 มกราคา 2549 ได้มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น ที่ผู้ถูกกล่วหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,742,880,932 บาท 5 สตางค์ และตั้งแต่ปี 2546 - 2548 บริษัท ชินคอร์ป ได้จ่ายเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าว รวม 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าว ทั้งหมด 76,641,403,061 บาท 5 สตางค์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ ขอให้ยึดเงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ดังกล่าว หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,742,880,932 บาท 5 สตางค์ และเงินปันผล จำนวน 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าว ทั้งสิ้น 76,621,603,061 บาท 5 สตางค์ พร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน

เห็นว่าคำร้องของผู้ร้องได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถือครองหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ผ่านบุคคลซึ่งเป็นญาติพี่น้อง และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น กับมาตรการต่างๆ ที่ได้กระทำ อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทดังกล่าว ส่งผลให้หุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่ถูกกล่าวหาถือครองอยู่ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ทั้งได้ระบุจำนวนเงินที่ได้จากการขายหุ้น รวมทั้งเงินปันผล ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน พร้อมกับแนบเอกสารแสดงรายละเอียดยอดเงินที่อายัด ชื่อผู้ครอบครอง หรือมีชื่อเป็นเจ้าของ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องโดยครบถ้วน ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 18 วรรค 2 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 23 แล้ว และคดีนี้ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เงินทั้งจำนวน จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป และเงินปันผลพร้อมดอกผลของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบรรยายคำร้อง โดยแยกทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของผู้ถูกกล่าวหาว่ามีอยู่เท่าใด ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้น เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา มีการเพิ่มขึ้นผิดปกติอย่างไร และผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการหรือมอบหมายให้ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องทำการไต่สวน เพื่อให้ปรากฏในการพิจารณาของศาล

สำหรับคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือ จำนวน 9,943,368,695 บาท 24 สตางค์ ที่ไม่ได้มีการอายัดไว้ ซึ่งไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อที่อยู่ของผู้ครอบครอง หรือเป็นเจ้าของ มาในคำร้องนั้น เป็นเพราะ คตส.ยังไม่อาจตรวจสอบให้ทราบได้นั่นเอง ทั้งหากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป และเงินปันผลของผู้ถูกกล่าวหา ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการในชั้นบังคับคดี ตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล ให้ครบถ้วนต่อไป องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า คำร้องไม่เคลือบคลุม

ปัญหาวินิจฉัยต่อไป มีว่า ผู้ถูกกล่าวหากับผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น โดยให้ผู้คัดค้านที่ 2-5 และบริษัท แอมเพิลริช ถือแทนตามคำร้องหรือไม่ ในปัญหาดังกล่าว นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ ในฐานะกรรมการตรวจสอบ คตส. และประธานอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขาย และโอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เบิกความประกอบบันทึกข้อความเรื่อง ข้อมูลและประเด็นเรื่องการถือครองหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ของผู้ถูกกล่าวหากับพวก และรายงานการไต่สวนว่า ตามบัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ชินคอร์ป ณ วันที่ 10 เมษายน 2541 ปรากฏ การถือหุ้นของผู้ถูกล่าวหากับพวก ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ดังนี้ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้น 32,920,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 34,650,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 6,847,395 หุ้น เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 บริษัท ชินคอร์ป มีมติให้เปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว ของบริษัท ด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากหุ้นที่ยังไม่ได้จัดสรรเสนอขายแห่ผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1หุ้นสามัญเพิ่มทุน ในราคาหุ้นละ 15 บาท วันที่ 16 มีนาคม 2542 ผู้คัดค้านที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขารัชโยธิน เพื่อซื้อเช็กธนาคาร 3 ฉบับ นำไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในนามผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 34,650,000 หุ้น เป็นเงิน 519,750,000 บาท ในนามผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 32,920,000 หุ้น เป็นเงิน 493,800,000 บาท และในนามผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 6,809,015 หุ้น เป็นเงิน 102,135,225 บาท ผู้คัดค้านที่ 5 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 สัญญาจะจ่ายเงิน 102,135,225 บาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย หลังจากมีการเพิ่มทุนแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้น 65,840,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้น 69,300,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้น 43,618,030 หุ้น วันที่ 11 มิถุนายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาโอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 32,920,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ราคาหุ้นละ 10 บาท โดยผู้คัดค้านที่ 1 สั่งจ่ายเช็กธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2542 จ่ายบริษัทหลักทรัพย์แอสเซทพลัส จำกัด จำนวน 330,961,220 บาท เพื่อชำระค่าหุ้น และบริษัทหลักทรัพย์แอสเซทพลัส จำกัด สั่งจ่ายเช็กธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนรัชดาภิเษก ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2542 จำนวน 327,438,780 บาท เป็นค่าขายหุ้นให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แล้วเช็กฉบับดังกล่าวได้นำเข้าเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน ต่อมาผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ตามแบบ 246-2 ว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้ซื้อโดยตรง ในราคาหุ้นละ 10 บาท โดยผู้ถูกกล่าวหาขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 30,920,000 หุ้น และขายให้กับผู้คัดค้านที่ 4 จำนวน 2,000,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ขายให้กับผู้คัดค้านที่ 2 42,475,000 หุ้น และขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 26,825,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 2 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 1 กันยายน 2543 สัญญาจะจ่ายเงิน 309,200,000 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา และสัญญาจะจ่ายเงิน 424,750,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย ผู้คัดค้านที่ 4 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 1 กันยายน 2543 สัญญาจะจ่ายเงิน 20,000,000 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาเมื่อทวงถาม โดยไม่มีดอกเบี้ย ผู้คัดค้านที่ 5 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 1 กันยายน 2543 สัญญาจะจ่ายเงิน 268,250,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 บริษัท ชินคอร์ป ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่ได้ตราไว้ หุ้นละ 10 บาท พาร์ 1 บาท เป็นผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า คือผู้คัดค้านที่ 2 ถือหุ้น 733,950,220 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้น 404,430,300 หุ้น บริษัท แอมเพิลริช ถือหุ้น 329,200,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 4 ถือหุ้น 20 ล้านหุ้น ต่อมาผู้คัดค้านที่ 2 และ ที่ 3 รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ซื้อโดยตรง ในราคาหุ้นละ 1 บาท โดยขายเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 จำนวน 367,000,000 หุ้น และเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2546 จำนวน 73,000,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 2 คงเหลือหุ้น 293,950,220 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 3 ถือหุ้นรวม 440,000,000 หุ้น และเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการบริษัท แอมเพิลริช ได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่บริษัท แอมเพิลริช ถืออยู่ทั้งหมด 329,200,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และ 3 คนละ 164,600,000 หุ้น เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 หุ้นบริษัท ชินคอร์ป ทั้งหมดที่มีชื่อผู้คัดค้านที่ 2-5 ถืออยู่ทั้งหมด ได้ขายให้แก่บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด รวม 1,487,740,120 หุ้น ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท โดยรายการเฉพาะหุ้นที่ได้รับโอนมาจากผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยใช้เงินของผู้คัดค้านที่ 1 และที่รับโอนจากบริษัท แอมเพิลริช อยู่ในชื่อผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 458,550,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 3 จำนวน 604,600,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 4 จำนวน 20,000,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 336,340,150 หุ้น รวม 1,419,490,150 หุ้น เมื่อหักค่านายหน้าร้อยละ 0.25 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว คงเหลือค่าหุ้นสุทธิ 69,722,880,932 บาท 5 สตางค์ และหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้นดังกล่าว ได้รับเงินปันผลระหว่างปี 2546 - 2548 รวม 6 ครั้ง เป็นเงิน 6,898,722,129 บาท

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:47:04 น.  

 


คณะอนุกรรมการไต่สวนได้รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อหาดังกล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาคงถือหุ้นไว้ ซึ่งหุ้นบริษัท ชินคอร์ป รวมทั้งบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้อง เอกสารจากสำนักงาน ก.ล.ต. และรายงานประจำปี 2543 - 2549 ของบริษัท ชินคอร์ป กับการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้กล่าวหาแล้ว สรุปความเห็นว่า เมื่อครั้งผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน 2 วาระ ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังถือหุ้นไว้ ซึ่งในบริษัท ชินคอร์ป โดยใช้ชื่อผู้คัดค้านที่ 2-5 และบริษัท แอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 2549 ผู้ถูกกล่าวหาได้รวบรวมหุ้นดังกล่าวทั้งหมด 1,419,490,150 หุ้น ขายให้กลุ่มเทมาเส็ก ที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1-5 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 จนหมดสิ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2543 โดยได้รับชำระเงินค่าหุ้นตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ครบถ้วนแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาได้ขายหุ้นบริษัท แอมเพิลริช ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 โดยได้รับชำระค่าหุ้นเรียบร้อยแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 โดยผู้คัดค้านที่ 3 ได้สั่งจ่ายเช็กชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านที่ 5 ได้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านที่ 1 ไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ชินคอร์ป โดยได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินครบถ้วนแล้ว และผู้ถูกกล่าวหา ยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีว่า คตส.ไม่ยอมรับความมีจริงของเอกสารตามกฎหมาย แม้แต่เอกสารที่รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.นั้น ปรากฏว่าการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่มีการรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ในคดีนี้ เป็นการรายงานตามแบบ 246-2 ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 246 วรรค 1 ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลใดได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการใด ในลักษณะที่ทำให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนทุกร้อยละ 5 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการนั้น ไม่ว่าจะมีการลงทะเบียนโอนหลักทรัพย์หรือไม่ และไม่ว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหลักทรัพย์นั้น จะมีจำนวนเท่าใดในแต่ละครั้ง บุคคลนั้นต้องรายงานถึงจำนวนหลักทรัพย์ในทุกร้อยละ 5 ดังกล่าว ต่อสำนักคณะกรรมการ ก.ล.ต.ทุกครั้งที่ได้มา หรือจำหน่ายหลักทรัพย์"

มาตรา 247 วรรค 1 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลใดเสนอซื้อหรือกระทำการอื่นใด อันเป็นผลให้ตนได้มา หรือเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ถึงร้อยละ 25 ขึ้นไปของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ ให้ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ"

และมาตรา 247 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติว่า "การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการตามวรรค 1 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด ในการนี้คณะกรรมการ ก.ล.ต.จะกำหนดให้บุคคลดังกล่าวจัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ก็ได้"

ประกอบกับเลขาธิการ ก.ล.ต.ได้มีหนังสือลงวันที่ 16 มกราคม 2550 แจ้งข้อมูลต่อประธานอนุกรรมการตรวจสอบว่า ในการพิจารณาหน้าที่ตามมาตรา 246 และ 247 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 นั้น การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ อันเป็นผลให้เกิดหน้าที่รายงานตามมาตรา 246 และทำคำเสนอซื้อตามมาตรา 247 นั้น เป็นการกำกับดูแลการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในกิจการ ไม่ว่าธุรกรรมนั้นจะเป็นการให้เปล่า หรือการซื้อขายในราคาใด หากเป็นการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด ก็จะมีหน้าที่หรือความรับผิด (กรณีฝ่าฝืน) ไม่แตกต่างกัน

ข้อมูลเกี่ยวกับการชำระราคาจึงไม่ใช่สาระสำคัญในแง่ของบทบัญญัติดังกล่าวตามกฎหมายหลักทรัพย์ สำนักงานจึงไม่ได้ตรวจสอบการชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้รายงาน หรือผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์

การรายงานตามแบบ 246-2 จึงไม่ใช่หลักฐานแสดงการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้น จำนวนที่รายงาน ดังนั้นในปัญหาว่าผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์คงถือไว้ซึ่งหุ้นบริษัทชินคอร์ปหรือไม่ ต้องวินิจฉัยจากพฤติการณ์ระหว่างผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ตั้งแต่มีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทชินคอร์ป การโอนหุ้นระหว่างกัน และการถือครองหุ้นตั้งแต่มีการโอนจนขายหุ้นให้แก่กองทุนเทมาเส็ก เป็นสำคัญ

ผู้คัดค้านที่ 1 เบิกความว่าเมื่อ พ.ศ.2540 ได้ยกหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวน 4,500,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 ในโอกาสที่ผู้คัดค้านที่ 5 แต่งงาน และครบรอบวันเกิด 1 ปี ของบุตรผู้คัดค้านที่ 5 โดยทำการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์จากหุ้นของผู้คัดค้านที่ 1 ในบัญชีของ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี หุ้นจำนวนนี้กับหุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 5 มีอยู่เดิม คณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่าข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ชัดเจนว่าเป็นหุ้นที่ถือไว้แทนผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ถูกคัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 5 เบิกความรับว่าในปี 2542 ซึ่งซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทชินคอร์ป หุ้นละ 15 บาท จำนวน 6,809,015 หุ้นนั้น ผู้คัดค้านที่ 5 กับคู่สมรส มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 500 ล้านบาท แต่การใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนเป็นเงิน 102,135,225 บาท ซึ่งเป็นการลงทุนที่ผู้คัดค้านที่ 5 เบิกความว่าจะทำกำไรให้ กลับใช้เงินของผู้คัดค้านที่ 1 มาชำระค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยผู้คัดค้านที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ เพื่อนำมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของผู้คัดค้านที่ 5 พร้อมกับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 32,900,000 หุ้น และ 34,650,000 หุ้น ตามลำดับ

ข้ออ้างที่ว่า ผู้คัดค้านที่ 5 ยืมเงินจากผู้คัดค้านที่ 1 มาซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 สัญญาจะจ่ายเงินจำนวน 102,135,225 บาท ให้แก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เมื่อทวงถาม โดยไม่มีดอกเบี้ย กลับทำให้เป็นพิรุธ ถ้าผู้คัดค้านที่ 1 เพิ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่จะใช้คำนำนามว่า คุณหญิง" เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2542 ที่ผู้คัดค้านที่ 5 เบิกความว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ ซึ่งทำขึ้นเมื่อปลายปี 2542 เนื่องจากได้รับแจ้งจากนางกาญจนาภา หงษ์เหิน ว่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมที่ระบุชื่อนางพจมาน ชินวัตร หายไป เป็นข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผลให้น่าเชื่อ เพราะในทางไต่สวนปรากฏว่า ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ยังได้รับตั๋วสัญญาใช้เงิน เนื่องจากการโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ป และหุ้นบริษัทอื่นอีกหลายฉบับ แต่กลับหายไปจนเกิดข้อพิรุธฉบับเดียว

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาโอนหุ้นจำนวน 32,920,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ในราคาพาร์ 10 บาท โดยใช้เงินจากบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ แอสเสทพลัส จำกัด เพื่อทำรายการซื้อหุ้นให้บริษัท แอมเพิลริช เมื่อบริษัทหลักทรัพย์แอสเสท พลัส ชำระค่าขายหุ้น ซึ่งหักค่านายหน้าแล้วเป็นเงิน 327,438,780 บาท ก็นำเงินดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1

สำหรับการโอนหุ้นซึ่งผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถืออยู่ในวันที่ 1 กันยายน 32,900,000 หุ้น และ 69,300,000 หุ้น ตามลำดับ

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:47:43 น.  

 

ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งขณะนั้นเป็นบุตรคนเดียวที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ในราคาพาร์ 10 บาท จำนวน 30,900,000 หุ้น และ 42,475,000 หุ้น ตามลำดับ โดยผู้คัดค้านที่ 2 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งรับโอนหุ้นไว้รวม 73,395,000 หุ้น ได้รายงานตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2543 และรายงานแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ว่า จำนวนหุ้นที่รับโอนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 24.99 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

เห็นได้ว่า หากผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 จะโอนหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 มากกว่านี้ ก็จะทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถือหลักทรัพย์ถึงร้อยละ 25 ขึ้นไป ซึ่งตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 247 บัญญัติ ให้ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และคณะกรรมการ ก.ล.ต.จะกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ก็ได้ เชื่อว่าด้วยเหตุนี้ ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 จึงต้องโอนหุ้นที่เหลืออีก 2 ล้านหุ้น และ 26,825,000 หุ้น ตามลำดับ ให้แก่บุคคลใกล้ชิดที่ตนไว้วางใจ คือผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 5

ผู้คัดค้านที่ 5 เบิกความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เมตตา ขายหุ้นจำนวน 26,825,000 หุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท เพื่อให้ผู้คัดค้านที่ 5 มีหุ้นรวม กับหุ้นที่มีอยู่เดิมแล้ว เป็น 40 ล้านหุ้น แต่ผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเบิกความรับ ว่าในปี 2543 ผู้คัดค้านที่ 5 และคู่สมรส มีทรัพย์สินอาจจะถึง 1,000 ล้านบาท ก็ไม่ได้ชำระค่าหุ้นในราคาพาร์ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 กลับออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 268,250,000 บาท สัญญาจะใช้เงินเมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย เช่นเดียวกับตั๋วสัญญาใช้เงินที่อ้างว่าชำระหนี้เงินยืมไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน

ส่วนผู้คัดค้านที่ 4 เบิกความว่า ขอซื้อหุ้นจากผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 2 ล้านหุ้น เพื่อเก็บไว้เป็นทุนในอนาคต โดยซื้อตามกำลังเงินที่มีอยู่ แต่ผู้คัดค้านที่ 4 ก็ไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้นในราคาพาร์ ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา คงออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้เช่นเดียวกัน

นอกจากหุ้นบริษัทชินคอร์ปแล้ว ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ผู้ถูกกล่าวหาโอนหุ้นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 10 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 โอนหุ้นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 9,445,900 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท หุ้นบริษัทไทยคม จำนวน 3,713,398 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท หุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 150 ล้านหุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิ์ซื้อหุ้นจำนวน 300 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 10 ใบ โดยผู้คัดค้านที่ 2 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ รวมเป็นเงิน 4,621,590,000 บาท สัญญาจะใช้เงินเมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย

ต่อมาวันที่ 9 กันยายน 2545 หลังจากที่บริษัทชินคอร์ปเปลี่ยนมูลค่าหุ้น เป็นพาร์ 1 บาท ทำให้ผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น 10 เท่า และผู้คัดค้านที่ 3 บรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวน 367 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 1 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 โดยผู้คัดค้านที่ 3 ใช้เงินที่อ้างว่าได้รับในโอกาสวันเกิดจากผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2

ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้เรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 5 จนเมื่อมีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทชินคอร์ป โดยได้ความจากนายอเนก พนาอภิชน ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการเงินและบัญชี ว่า ภายหลังปี 2540 บริษัทชินคอร์ป งดจ่ายเงินปันผล มาเริ่มจ่ายเงินปันผลในปี 2546 ปีละ 2 งวด เงินปันผลงวดแรก เดือนพฤษภาคม 2546 จากหุ้นที่โอนมาจากผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 5 ซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยใช้เงินของผู้คัดค้านที่ 1 ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 และบริษัทแอมเพิลริช เป็นเงิน 165,127,500 บาท 165,650,000 บาท 9,000,000 บาท 151,353,067 บาท และ 148,140,000 บาท ตามลำดับ เมื่อได้รับเงินปันผลงวดแรก ผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 5 ก็เริ่มชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ตามรายการชำระเงินค่าหุ้นเอกสารหมาย ค 150 และ ค 143 ตามลำดับ

ในเดือนพฤษภาคม 2546 ผู้คัดค้านที่ 2 โอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 จำนวน 73 ล้านหุ้น โดยผู้คัดค้านที่ 3 ใช้เงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทชินคอร์ป จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ยังใช้เงินปันผลที่รับมาจำนวน 485,829,800 บาท ไปจ่ายเป็นค่าซื้อหุ้นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ 5 บริษัท ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ขายให้แก่บริษัทวินมาร์ค จำกัด คืนมาจากบริษัทวินมาร์ค จำกัด สำหรับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเริ่มชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก่อนที่จะได้รับเงินปันผลในเดือนพฤษภาคม 2546 นั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ก็เบิกความรับว่า นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่รับโอนมาจากผู้คัดค้านที่ 1 มาชำระ และเมื่อได้รับเงินปันผลจากบริษัทชินคอร์ปแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ก็ยังทยอยโอนเงินเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 1 จนเดือนมกราคม 2549 ปรากฏตามรายการชำระเงินเอกสารหมาย ค 143

สำหรับผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งอ้างว่าได้รับเงินปันผลรวม 6 งวด เป็นเงิน 97,200,000 บาท เมื่อได้รับเงินปันผลงวดแรกจำนวน 9 ล้านบาท ได้สั่งจ่ายเช็กชำระให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด เงินปันผลงวดที่ 2 จำนวน 13,500,000 บาท ได้สั่งจ่ายเช็กชำระหนี้ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่เลขานุการเขียนตัวเลขในเช็กผิด จึงแก้ไขไปจาก 13,500,000 บาท เป็น 11,000,000 บาท เงินปันผลงวดที่ 2 ที่เหลืออีก 2,500,000 บาท ได้สั่งจ่ายเช็กให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 เป็นการคืนเงินที่ฝากผู้คัดค้านที่ 3 ซื้อนาฬิกาจากต่างประเทศ ส่วนเงินปันผลงวดที่ 3 ถึงที่ 6 ได้สั่งจ่ายเช็กรวม 44 ฉบับ เป็นการสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้คัดค้านที่ 4 จำนวน 2 ฉบับ รวมเป็นเงิน 2,100,000 บาท เช็กอีก 42 ฉบับ เป็นเช็กเบิกจ่ายเบิกเงินสด รวม 68 ล้านบาท นำมาตกแต่งบ้าน ทำสวน สนามฟุตบอล และสระว่ายน้ำ ประมาณ 20 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 6 ล้านบาท ซื้อทองคำแท่ง 13 ล้านบาท ซื้อเครื่องเพชรและเครื่องประดับ 11 ล้านบาท ซื้อเงินตราต่างประเทศประมาณ 10 ล้านบาท และสำรองไว้ที่บ้าน 8 ล้านบาท โดยมิได้ส่งเงินให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ผู้คัดค้านไม่มีหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการใช้เงินสดจำนวนมากถึง 68 ล้านบาท มาแสดง ข้ออ้างของผู้คัดค้านที่ 4 จึงรับฟังไม่ได้

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:48:21 น.  

 

พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ดังได้วินิจฉัยมา เป็นเหตุผลประการหนึ่งให้เชื่อว่า ผู้คัดค้านที่ 5 ซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทชินคอร์ป ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ซื้อหุ้นชินคอร์ป ที่ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านโอนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ไว้แทนผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 และรับเงินปันผลในหุ้นดังกล่าวจากบริษัทชินคอร์ปไว้แทนผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1

ส่วนข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ว่า คตส.ดำเนินการ 2 มาตรฐาน นอกจากให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 แล้ว กลับกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหายังคงถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป ในหุ้นจำนวนเดียวกัน เป็นคดีนี้อีก เห็นว่าการให้เรียกเก็บภาษีอากรจากผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ป จากบริษัทแอมเพิลริช เป็นการดำเนินกานรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร อันเป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด

นอกจากนี้ มาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากร ก็บัญญัติหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ว่า บุคคลใดมีชื่อในหนังสือสำคัญใดๆ แสดงว่า

(1) เป็นเจ้าของทรัพย์สิน อันจะระบุไว้ในหนังสือสำคัญ และทรัพย์สินก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน หรือ

(2) เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมิน โดยหนังสือสำคัญเช่นว่านั้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมด จากผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญนั้นก็ได้ การดำเนินการทางภาษีอากรกับผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการดำเนินการตามหลักการแห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติในคดีนี้ เป็นการดำเนินการกับเจ้าของที่แท้จริงในหุ้นบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความรับผิดทางภาษีอากร โดยมีหลักกฎหมายในการพิจารณาที่แตกต่างกัน ข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 จึงฟังไม่ขึ้น

สำหรับบริษัทแอมเพิลริช ซึ่งมีสถานที่ติดต่ออยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ได้รับโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปจากผู้ถูกกล่าวหา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 จำนวน 12,920,000 หุ้น โดยใช้เงินจากบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 ชำระแทนบริษัทแอมเพิลริช ในวันเดียวกันผู้ถูกกล่าวหาได้ให้นางกาญจนาภา หงส์เหิน เข้าเป็นกรรมการในบริษัทแอมเพิลริช ร่วมกับนายเลา วี เตียง ซึ่งเป็นกรรมการอยู่เดิม และในวันดังกล่าว บริษัทแอมเพิลริช โดยนายเลา วี เตียง และนางกาญจนาภา ในฐานะกรรมการบริษัท ได้เปิดบัญชีที่ธนาคารยูบีเอส เอจี ที่ประเทศสิงคโปร์ บัญชีเลขที่ 119449 โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้มีอำนาจเบิกถอนแต่ผู้เดียวคือ ดร.ที (T) ชินวัตร


จากการตรวจสอบของคณะกรรมการไต่สวน ปรากฏว่า นับตั้งแต่วันเปิดบัญชีจนถึงเดือนเมษายน 2546 ก่อนที่บริษัทแอมเพิลริช จะได้รับเงินปันผลจากบริษัทชินคอร์ป มีเงินโอนเข้าบัญชีของบริษัทแอมเพิลริชหลายครั้ง คิดเป็นเงินไทยประมาณ 4,200,000 บาท แต่นางกาญจนาภาให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบว่า จำไม่ได้ว่าเป็นเงินของใครที่นำมาชำระค่าใช้จ่าย เพราะบริษัทแอมเพิลริชไม่ได้ประกอบกิจการใด จึงไม่มีการทำบัญชี แต่บริษัทแอมเพิลริช ได้รับเงินปันผลจากบริษัทชินคอร์ป ในปี 2546 ปี 2547 และงวดแรกของปี 2548 ในเดือนเมษายน 2548 รวม 5 งวด รวมเป็นเงินมากกว่า 1,000 ล้านบาทแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาจึงมีอำนาจเบิกถอนเงินของบริษัทแอมเพิลริชแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ในฐานะกรรมการบริษัทแอมเพิลริช เพิ่งทำการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจเบิกถอนเงินในในบัญชีของบริษัทแอมเพิลริชในเดือนมิถุนายน 2548 เป็นผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3

ที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าได้ขายหุ้นบริษัทแอมเพิลริชให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 ทั้งที่ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้มีอำนาจแต่ผู้เดียวในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของบริษัทต่อมาอีกถึง 4 ปี ประกอบกับราคาที่อ้างว่าซื้อขายกัน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกเรียกเก็บค่าหุ้น 1 หุ้น ทั้งที่การขายหุ้นดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ซื้อได้ไปซื้อหุ้นของบริษัทชินคอร์ป จำนวนหุ้นปี 2543 ถึง 32,920,000 หุ้น โดยชำระเงินเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลให้รับฟัง

สำหรับบริษัทวินมาร์คนั้น คดีนี้ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า หุ้นบริษัทชินคอร์ป ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้าน ใช้ชื่อผู้อื่นถือไว้แทน มีจำนวน 1,419,490,150 หุ้น แยกเป็นหุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนจากผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 และบริษัทแอมเพิลริช รวม 458,550,000 หุ้น หุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 3 รับโอนจากผู้คัดค้านที่ 2 และบริษัทแอมเพิลริช รวม 604,600,000 หุ้น หุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนจากผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 20 ล้านหุ้น และหุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 5 ซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 กับหุ้นที่รับโอนจากผู้คัดค้านที่ 1 รวม 336,340,150 หุ้น กับมีคำขอให้ริบเงินที่ได้จากการขายหุ้น และเงินปันผลตามหุ้น จำนวน 1,449,490,150 หุ้น ดังกล่าว

ส่วนที่ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า ผลการตรวจสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงาน ก.ล.ต. รับฟังได้ว่า บริษัทวินมาร์ค เป็นนิติบุคคลที่อำพรางการถือหุ้นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 นั้น จำนวนหุ้นที่บรรยายไว้ ไม่รวมอยู่ในยอดรวมของหุ้นที่มีคำขอให้ริบคดีนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยในคดีนี้ว่า บริษัทวินมาร์ค เป็นนิติบุคคลที่อำพรางการถือหุ้นของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:48:46 น.  

 


สำหรับการบริหารจัดการบริษัทชินคอร์ป ภายหลังจากผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 โอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปแล้ว ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำแถลงปิดคดีว่า บริษัทชินคอร์ปเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคง และมีผู้บริหารมืออาชีพที่มีความรู้ความสามารถอยู่แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ป จึงไม่จำเป็นต้องเข้าบริหารจัดการด้วยตนเอง แต่ได้มอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้นแทนทุกครั้งนั้น ตามรายงานประจำปี 2543 บริษัทชินคอร์ปปรากฏว่า บริษัทมีสินทรัพย์รวม 37,879,096,318 บาท

บริษัทประกอบธุรกิจโดยการเข้าไปลงทุนและมีส่วนร่วมในการบริหารในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม โดยในสายธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย บริษัทที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทเอไอเอส ประกอบธุรกิจให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ โดยได้รับสัมปทานจาก ทศท. มีทุนจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท เรียกชำระแล้ว 2,700 ล้านบาท และบริษัทชินคอร์ป ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40.50 บริษัทดีพีซี ผู้ให้บริการเคลื่อนที่ดิจิตัล จีเอสเอ็ม 1800 โดยได้รับสัมปทานจาก กสท. มีทุนจดทะเบียน 8,621 ล้านบาท เรียกเก็บชำระแล้ว 8,516 ล้านบาท บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 47.55 เทเลคอมมาเลเซีย ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49.99

ในสายธุรกิจสื่อสารดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศ บริษัทที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทไทยคม ประกอบธุรกิจให้บริการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมภายใต้สัญญาสัมปทานระหว่างบริษัทชินคอร์ป กับกระทรวงคมนาคม มีทุนจดทะเบียน 5,500 ล้านบาท เรียกชำระแล้ว 4,375 ล้านบาท บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ในสัดส่วนร้อยละ 51.53 ตามเอกสาร

สรุปการโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ป หมาย ค 144 ปรากฏว่า หลังจากบริษัทชินคอร์ปเพิ่มทุนในปี 2542 และก่อนโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปไปยังบริษัทแอมเพิลริช ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 นั้น ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 65,840,000 หุ้น (ร้อยละ 25) และ 69,300,000 หุ้น (ร้อยละ 23.75) ตามลำดับ รวมกันเป็นสัดส่วนของหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง ร้อยละ 48.75 เมื่อรวมกับหุ้นจำนวน 6,809,015 หุ้น ซึ่งผู้คัดค้านที่ 5 ใช้เงินจากบัญชีธนาคารของผู้คัดค้านที่ 1 ซื้อหุ้นเพิ่มทุนด้วยแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิ์ออกเสียงรวมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม เกินกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมนโยบาย และการดำเนินงานของบริษัทชินคอร์ป รวมทั้งอำนาจในการแต่งตั้ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ตามรายงานประจำปี 2543 ของบริษัทชินคอร์ป ปรากฏว่าคณะกรรมการของบริษัท มีกรรมการ 8 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ 6 คน

ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้ร่วมเป็นกรรมการด้วย ในคณะกรรมการทั้ง 8 คน มีผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเป็นประธานกรรมการเท่านั้นที่ถือหุ้นในบริษัทชินคอร์ป ส่วนรองประธานกรรมการ และกรรมการอีก 6 คน ไม่มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทชินคอร์ป แสดงว่าผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ควบคุมนโยบายและการดำเนินงานของบริษัทชินคอร์ป ผ่านทางคณะกรรมการที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 แต่งตั้ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการไว้

ในปี 2544 ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ตามรายงานประจำปี 2544 ของบริษัทชินคอร์ป ก็ปรากฏว่ารายชื่อคณะกรรมการของบริษัท 9 คน โดยกรรมการในปี 2543 พ้นจากตำแหน่ง 1 คน แต่งตั้งใหม่ในปี 2544 อีก 2 คน กรรมการที่แต่งตั้งใหม่มีผู้ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปคนเดียว คือนายนิวัฒน์ บุญทรง โดยถือหุ้นในสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.0047 แสดงว่าการควบคุมนโยบายและการดำเนินงานของบริษัทชินคอร์ป ยังคงอยู่ที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผ่านทางคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งเป็นผู้รับนโยบายตลอดมา ตามรายงานประจำปี 2544-2549 ของบริษัทชินคอร์ป ปรากฏว่าบริษัทชินคอร์ปมีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ เช่น ปี 2544 ได้จัดโครงสร้างการถือหุ้นในกิจการโทรคมนาคมไร้สาย โดยการซื้อหุ้นให้บริษัทเอไอเอสเข้าถือหุ้นในบริษัทดีพีซีเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.17 บริษัทชินคอร์ป ซื้อหุ้นบริษัทไอทีวีจำกัด เพิ่มจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทำให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทชินคอร์ปเพิ่มเป็นร้อยละ 77.48

ปี 2545 บริษัทไอทีวีจำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยออกหุ้นสามัญขายให้นักลงทุนทั่วไป และบริษัทชินคอร์ปนำหุ้นบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) บางส่วนออกขาย ทำให้สัดส่วนการลงทุนลดลงเหลือร้อยละ 55.53

ปี 2546 บริษัทชินคอร์ป ร่วมกับบริษัทแอร์เอชีย จำกัด จากประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งบริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 50 และ 49 ตามลำดับ และร่วมกับธนาคารดีบีเอส ประเทศสิงคโปร์ ก่อตั้งบริษัทแคปิตอลโอเค จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคล โดยลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 60 และ 40 ตามลำดับ

ปี 2548 บริษัทไทยคมเพิ่มทุน โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่นักลงทุน สถาบันและนักลงทุนรายย่อย รวม 208 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 15.30 บาท ทำให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทชินคอร์ป ในบริษัทไทยคม ลดลงเหลือ 41.34 การจัดโครงสร้างการถือหุ้น การซื้อหุ้นเพิ่ม และการลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง ย่อมไม่ใช่การตัดสินใจของกรรมการ ซึ่งมิได้มีส่วนได้เสียในความเสี่ยงนั้นด้วย

ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 มิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดว่าได้ร่วมบริหารจัดการบริษัทชินคอร์ป ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นจำนวนมาก การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ของบริษัทชินคอร์ป ประจำปี 2545 ปีละครั้ง ตามเอกสารหมาย ค 28 ไม่เป็นข้อสนับสนุนว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์

ส่วนการรวบรวมหุ้นบริษัทชินคอร์ปขายให้แก่กลุ่มเทมาเส็กนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 เบิกความว่าตกลงขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กลุ่มเทมาเส็กด้วยตนเอง ในฐานะเจ้าของหุ้น โดยผู้คัดค้านที่ 5 เบิกความว่า เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2548 ตัวแทนของกลุ่มเทมาเส็กมาติดต่อขอซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปจากกลุ่มชินวัตร และดามาพงศ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เพื่อจะมีอำนาจบริหารจัดการบริษัมชินคอร์ป ผู้คัดค้านที่ 5ตัดสินใจจะขาย จึงแจ้งให้ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทราบ และแจ้งให้ผู้คัดค้านที่ 4 ทราบ เมื่อกลางเดือนมกราคม 2549

เหตุที่ผู้คัดค้านที่ 5 ต้องการจะขายหุ้น เพราะอายุมากแล้ว และการบริหารงานบริษัทชินคอร์ปต่อไปจะลำบาก เพราะจะต้องลงทุนในโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี เกือบแสนล้านบาทนั้น เห็นว่าตามเอกสารสรุปการโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ป หมาย ค 144 ปรากฏว่ากลุ่มดามาพงศ์มีผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปอยู่ร้อยละ 13.77 ส่วนผู้คัดค้านที่ 6 ถือหุ้นอยู่เพียง 159,600 หุ้น หากกลุ่มเทมาเส็กต้องการซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปเพื่อจะมีอำนาจจัดการ บริษัทก็น่าที่จะต้องติดต่อซื้อจากกลุ่มชินวัตร ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ถือหุ้นอยู่รวมกันถึงร้อยละ 35.44 การลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ก็ปรากฏข้อเท็จจริงจากรายงานประจำปี 2546 ของบริษัทชินคอร์ป ในสายธุรกิจโทรคมนาคมไร้สายว่า บริษัทเอไอเอส มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตัล จีเอสเอ็ม ในปัจจุบัน เพื่อปรับเปลี่ยนให้รองรับกับเทคโนโลยี 3จี โดยการปรับปรุงระบบชุมสาย และระบบสื่อสัญญาณเดิมที่มีอยู่ และรายงานประจำปี 2548 ของบริษัทชินคอร์ป เรื่องแนวโน้มตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2549 ว่า บริษัทเอไอเอส เห็นว่าแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคตจะมีการพัฒนาไปสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3จี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการรับส่งสัญญาณ ซึ่งบริษัทเอไอเอสมีความสนใจและความพร้อม ทั้งในด้านเงินลงทุนและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาไปสู่การให้บริการ 3จี ต่อผู้บริโภคในประเทศไทย

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:49:13 น.  

 


ข้ออ้างในการขายหุ้นของผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 จึงรับฟังไม่ได้ ทั้งในข้อเท็จจริงเรื่องการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กลุ่มเทมาเส็กนี้ ผู้ถูกกล่าวหาได้ยืนยันไว้ในเอกสารท้ายคำร้องพิสูจน์ทรัพย์ของผู้ถูกกล่าวหา หมาย ค 32 แผ่นที่ 428-430 เรื่องขายหุ้นชินคอร์ป ไม่ได้ขายชาติ ไม่ได้ขายดาวเทียม ว่า ในส่วนของบริษัทชินคอร์ป มีการเตรียมการขายหุ้น และการเจรจาขายหุ้นต่อเนื่องมานานนับปีและมีกลุ่มผู้สนใจเสนอซื้อหลายราย ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการขายในวันที่ 23 มกราคม 2549

เป็นพิรุธว่าผู้ที่เจรจาและตกลงขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก คือผู้ถูกกล่าวหา ไม่ใช่ผู้คัดค้านที่ 5 องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ยังคงถือไว้ซึ่งหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวน 1,449,490,150 หุ้น ตามคำร้อง ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน 2 วาระ

ปัญหาต่อไปมีว่า การที่คณะรัฐมนตรีซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตรา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2547 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 สำหรับกิจการโทรคมนาคม โดยคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวมีมติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 เห็นชอบให้คู่สัญญาภาคเอกชนที่ทำสัญญาสัมปทานในการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่เป็นคู่สัญญา ต้องชำระภาษีสรรพสามิต ให้กับกรมสรรพสามิต ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ออกตามความใน พ.ร.ก.ดังกล่าว แต่ให้คู่สัญญาภาคเอกชนนำภาษีสรรพสามิตที่เสียให้แก่กรมสรรพสามิตมาหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานภาครัฐได้นั้น เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปหรือไม่

ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 ผู้ถูกกล่าวหา กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับผู้บริหารระดับสูงของ ทศท.และ กสท. ได้ประชุมหารือร่วมกับ โดยมีแนวคิดที่จะแปรสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัทโทรคมนาคมจำกัด บริษัทบริหารสัญญาร่วมการงานจำกัด บริษัทไปรษณีย์ จำกัด และกำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้ง 3 บริษัทดังกล่าว รวมทั้งหาแนวทางในการนำภาษีสรรพสามิตมาใช้กับธุรกิจโทรคมนาคมด้วย ส่งผลให้กระทรวงคมนาคมมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการร่วมค้าขึ้นเพื่อพิจารณาทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระผูกพัน ที่ ทศท.และ กสท.มีอยู่ทั้งหมด

คณะกรรมการบริหารกิจการร่วมค้า มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานชุดใหม่ขึ้นเพื่อพิจารณาโอนทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระผูกพัน ของ ทศท.และ กสท. ที่จะโอนไปยังบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำระบบภาษีสรรพสามิตมาใช้กับกิจการโทรคมนาคม

ในที่สุดคณะกรรมการชุดนั้นเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหารกิจการร่วมค้าว่า ในการแปลงส่วนแบ่งรายได้ของหน่วยงานภาครัฐเป็นภาษีสรรพสามิต จะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ส่วนหลักเกณฑ์และผลกระทบจากการแปรรูป ทศท.และ กสท.ต้องเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาอย่างรอบคอบ หลังจากนั้นจึงมีการตรา พ.ร.ก.ทั้งสองฉบับดังกล่าวออกมาใช้บังคับ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าการตรา พ.ร.ก.ดังกล่าว รวมถึงการออกประกาศกระทรวงการคลังกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตที่หน่วยงานภาคเอกชนต้องเสียให้แก่กรมสรรพสามิต และการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ภาคเอกชนที่ทำสัญญาสัมปทานกับหน่วยงานของรัฐต้องชำระภาษีสรรพสามิตให้แก่กรมสรรพสามิต แต่ให้นำภาษีที่ชำระแล้วตลอดทั้งปีไปหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานของรัฐ เป็นการกีดกัน ริดลอนอำนาจของ กทช.มิให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการในกิจการโทรคมนาคม ทั้งยังเป็นการขัดขวางมิให้ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมรายใหม่เข้าแข่งขันในการประกอบธุรกิจได้อย่างเต็มที่ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทในเครือเป็นอย่างมาก

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเห็นสมคววินิจฉัยปัญหาทั้งสองดังกล่าวไปพร้อมกัน

ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือเรียกโดยย่อว่า ทีดีอาร์ไอ ว่า เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นมีมติเห็นชอบกับแผนแม่บทของการพัฒนากิจการโทรคมนาคม รวมทั้งการแปรรูป ทศท.และ กสท. โดยจัดตั้งองค์กรขึ้นกำกับดูแล

ต่อมาวันที่ 3 มีนาคม 2541 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กระทรวงคมนาคมเสนอแผนในการแปรรูป ทศท.และ กสท. โดยกำหนดโครงสร้างการแปรรูปสัญญาร่วมการงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคมอย่างเสรี ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม

ในวันนั้นเอง กระทรวงคมนาคมได้ว่าบริษัท 3 บริษัทศึกษาแนวทางในการแปรรูป ทศท.และ กสท.เพื่อเสนอความเห็นต่อกระทรวงคมนาคม ในระยะนั้นเอง คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ประชุมและมีมติครั้งที่ 1/2541 ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ด้วย แต่ปรากฏว่าความเห็นของบริษัทที่ปรึกษาทั้ง 3 บริษัท กับความเห็นของคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวแตกต่างกันบางส่วน คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจจึงมีมติให้ว่าจ้างทีดีอาร์ไอ ศึกษาและเสนอความเห็นต่อกระทรวงการคลัง พยาน กับนายฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ และนักวิชาการอีก 10 กว่าคน ได้ร่วมกันศึกษาอยู่หลายเดือนแล้ว มีความเห็นว่า การแปรหรือไม่แปรสัญญาสัมปทาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทาน ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับจากการแปร หรือไม่แปร สัญญาสัมปทานว่าแตกต่างกันหรือไม่ เพราะไม่มีเหตุผลที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากการแปรสัญญาสัมปทาน

ส่วนการที่คณะรัฐมนตรีชุดที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตรา พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว รวมทั้งออกประกาศกระทรวงการคลังกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ภาคเอกชนประกอบธุรกิจในด้านกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตให้แก่กรมสรรพสามิต นำภาษีดังกล่าวไปหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานของรัฐ

พยานปากนี้เบิกความว่า หลักการและเหตุผลที่ผู้ถูกกล่าวหา กับคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวดำเนินการ เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว เพราะการที่คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นตรา พ.ร.ก.เพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 ย่อมเป็นเหตุผลที่แสดงว่า ประสงค์จะหารายได้เข้ารัฐ แต่การที่คณะรัฐมนตรีชุดนั้นยอมให้ภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจในด้านกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเสียภาษีสรรพสามิต สามารถนำภาษีที่ชำระให้แก่กรมสรรพสามิตไปหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ในการตรา พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับดังกล่าวอย่างชัดเจน

พยานปากนี้ยังเบิกความต่อไปอีกว่า กิจการโทรคมนาคมถือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างมาก นอกจากไม่ควรเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว ยังควรสนับสนุนให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ กทช.มีมติจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง เพื่อนำเงินไปอุดหนุนให้มีการบริการโทรคมนาคมในพื้นที่ห่างไกลให้เกิดประโยชน์แก่สังคมด้วย

คำเบิกความของพยานปากนี้เจือสมกับคำเบิกความของนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นพยานของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้าน ยอมรับว่า การใช้โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนที่อยู่ในประเทศเดียวกัน หรือการติดต่อระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่รัฐสมควรให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมาหากันด้วย นายสถิตย์ยังให้ความเห็นตรงกับความเห็นของนายสมเกียรติว่า หากเก็บภาษีสรรพสามิตในสินค้าหรือธุรกิจประเภทใด ย่อมเป็นการผลักภาระในเรื่องภาษีสรรพสามิตให้ตกอยู่กับประชาชนผู้บริโภคสินค้า หรือผู้ใช้ธุรกิจนั้นๆ

นับว่าพยานทั้งสองเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องภาษีสรรพสามิต เพราะนายสถิตย์เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตมาก่อน ส่วนนายสมเกียรติเป็นผู้ทำงานวิจัย ทั้งส่วนบุคคลและร่วมกับกลุ่มนักวิชาการมาเป็นเวลาถึง 14 ปี มีผลงานวิจัยมากกว่า 100 เรื่อง น่าเชื่อว่าพยานมีความรู้ในการเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นอย่างดี

ในการตรา พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัดเจน เพราะหากรัฐประสงค์จะเก็บภาษีสรรพสามิตจากการให้บริการโทรศัพท์เพื่อหารายได้เข้าสู่ประเทศจริง ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ยอมให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่ทำสัญญาสัมปทานกับ ทศท. หรือ กสท. นำภาษีที่เสีย ไปหักออกจากค่าสัมปทานได้

ตรงกันข้าม การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้ ทศท ซึ่งทำสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัทเอไอเอส อ่อนแอลง เพราะนอกจาก ทศท.จะได้รับค่าสัมปทานจากบริษัทเอไอเอสน้อยลงกว่าเดิม เนื่องจากต้องหักค่าสัมปทานบางส่วนไปชดเชยค่าภาษีสรรพสามิตที่บริษัทเอไอเอสเสียไปแล้ว หาก ทศท.ไปขอรับใบอนุญาตจาก กทช.เป็นผู้รับสัมปทาน ที่ถือใบอนุญาต ทศท.ก็ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับนั้นด้วย ทั้งที่ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่าง ทศท.กับเอไอเอส ตามเอกสารหมาย ร 264 ให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทเอไอเอส หลายประการ ทั้งในเรื่องการใช้ทรัพย์สินและอุปกรณ์ ซึ่งเป็นของ ทศท.ได้ตลอดระยะเวลาในสัญญา รวมไปถึงการประกอบธุรกิจในลักษณะที่ผูกขาดแต่ผู้เดียวด้วย

ในสัญญาฉบับนั้นจึงระบุไว้ในข้อที่ 30 ให้บริษัทเอไอเอส เสียค่าสัมปทานให้แก่ ทศท.ในอัตราก้าวหน้า โดยปรับเพิ่มค่าสัมปทานทุกรอบระยะเวลา 4 ปี ขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นผลให้บริษัทเอไอเอสสามารถหักค่าภาษีสรรพสามิต ออกจากค่าสัมปทานได้ เป็นช่วงเวลาที่บริษัทเอไอเอสต้องชำระค่าสัมปทานให้แก่ ทศท.ในอัตราร้อยละ 25 ก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือภาษี เมื่อบริษัทเอไอเอส ต้องเสียภาษีให้กรมสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 10 หลังจากนำไปหักออกจากค่าสัมปทานแล้ว ทำให้ ทศท.ได้รับค่าสัมปทานจากบริษัทเอไอเอสในอัตราร้อยละ 15 เท่านั้น

นอกจากนี้ หากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังออกประกาศกระทรวงการคลังเพิ่มอัตราภาษีให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 25 บริษัทเอไอเอส ซึ่งเสียภาษีแล้ว ก็สามารถนำไปหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องชำระแก่ ทศท.ได้ แต่ ทศท.จะไม่ได้รับประโยชน์จากค่าสัมปทานเลย เพราะต้องนำไปหักเป็นค่าภาษีสรรพสามิตจนหมดสิ้น หากกรณีเป็นเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าบริษัทเอไอเอสไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตเลย เพราะเอาค่าสัมปทานที่ ทศท.ได้รับไปหักออกจากภาษีจนครบถ้วน แต่ถ้า ทศท.ประสงค์จะขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ทศท.ย่อมต้องเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 25 มติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาในลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสถานะและความมั่นคงของ ทศท.อย่างรุนแรง

ส่วนผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโทรศัพท์รายใหม่ ซึ่งนอกจากต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมให้แก่ กทช.แล้ว ยังต้องเสียภาษีสรรพสามิตอีกด้วย ทั้งที่ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ยังไม่มีลูกค้าเลย หรือมีลูกค้าน้อยกว่าบริษัทเอไอเอส ซึ่งครองตลาดอยู่ก่อนแล้ว การที่ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต กับค่าธรรมเนียม และค่าบริการ ในกิจการโทรคมนาคมให้แก่ กทช. ซึ่งเป็นต้นทุนในการดำเนินการที่สูงกว่าบริษัท เอไอเอส อย่างมาก ทั้งที่ยังไม่มีลูกค้าเลย หรือมีลูกค้าน้อยกว่าบริษัทเอไอเอส จึงเป็นการยากที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเกิดขึ้นได้

ทั้งปรากฏจากรายงานประจำปี 2544 ของบริษัทชินคอร์ป ในหัวข้อความเสี่ยงจากการที่มีคู่แข่งจากผู้ประกอบการรายใหม่ ว่า ในปี 2545 คาดว่าจะมีผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จะขึ้นมาเป็นคู่แข่งในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด และบริษัท ฮัทชินสัน ซีเอทีไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด รวมทั้งระบบโทรศัพท์พีซีที ของบริษัทเทเลคอมเอเชีย จำกัด(มหาชน) ซึ่งอาจจะมาทดแทนโทรศัพท์เคลื่อนที่

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันจากผู้ให้บริการรายใหม่ และบริการทดแทนในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า อาจจะยังไม่มีผลกระทบต่อบริษัทเอไอเอสมากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหม่ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาด เช่น การสร้างฐานลูกค้า และเงินลงทุน การพัฒนาระบบเครือข่ายและช่องทางการตลาด การดำเนินการของคณะรัฐมนตรีที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ป และเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย

ทั้งนี้ นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายหลังการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เบิกความว่า พยานคิดคำนวณแล้ว ปรากฏว่าภาษีสรรพสามิตขาดหายไปรวมเป็นเงินถึง 60,000 ล้านบาทเศษ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐมนตรี และมีมติดังกล่าว ทั้งที่ผู้ถูกกล่าวหากับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทชินคอร์ป ซึ่งถือหุ้นอยู่ในบริษัทเอไอเอสถึงร้อยละ 42.90

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในการตรา พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับ และ ออกประกาศกระทรวงการคลัง รวมทั้งมีมติคณะรัฐมนตรีให้นำภาษีสรรพสามิตหักออกจากค่าสัมปทาน ซึ่งเป็นการกีดกันผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายใหม่ การกระทำอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป จนเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความดังนี้ รูปคดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นการลิดรอนอำนาจของ กทช.หรือไม่ อีกต่อไป

กรณีแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 6 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้แก่บริษัท เอไอเอส ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท เอไอเอส ได้รับสัญญาให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จาก กสท. เป็นเวลา 25 ปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2533 อันเป็นวันแรกที่เปิดกิจการ ในการนี้บริษัท เอไอเอส ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ ทสท.ตามอัตราที่คิดจากรายได้ และผลประโยชน์อื่นใดที่บริษัท เอไอเอส พึงได้รับในรอบปี ก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าภาษีใดๆ ทั้งสิ้น แต่จำนวนเงินดังกล่าวต้องไม่น้อยไปกว่าจำนวนเงินขั้นต่ำที่กำหนดในสัญญา

สำหรับเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่คิดจากเงินรายได้นี้ กำหนดเป็นอัตราก้าวหน้าตามช่วงเวลาของปีสัมปทาน ในปีที่ 1-5 เป็นอัตราร้อยละ 15 ปีที่ 6-10 ร้อยละ 20 ปีที่ 11-15 ร้อยละ 25 และปีที่ 16-25 ร้อยละ 30 ในระยะเริ่มแรกนั้นบริษัท เอไอเอส ได้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจ่ายเงินหลังจากใช้บริการแล้ว หรือที่เรียกว่า โพสต์เพด ต่อมาปี 2542 บริษัท เอไอเอส ได้รับอนุมัติจาก ทสท. ให้เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า หรือ พรีเพด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า วันทูคอล และยังคงต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ ทสท. ตามจำนวนและอัตราที่กำหนดในสัญญาร่วมการงาน

ต่อมา วันที่ 22 มกราคม 2544 บริษัท เอไอเอส มีหนังสือขอให้ ทสท.พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ให้แก่บริษัท เอไอเอส เมื่อ ทสท.พิจารณาแล้วได้อนุมัติให้ลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ในส่วนบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด เป็นอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าของราคาหน้าบัตรคงที่ตลอดอายุสัญญา และได้มีการทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญา อนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ทสท.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานกำกับดูแลการดำเนินงานตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยคณะกรรมการประสานงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงดำเนินการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดตามข้อกล่าวหา เป็นคณะกรรมการประสานงานที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งที่ 24/2541 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541 คำสั่งที่ 11/2544 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2544 แต่การดำเนินการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด และการแก้ไขสัญญาโดยทำเป็นบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาในกรณีนี้ ไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการประสานงานดังกล่าวพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบเสียก่อน จึงมีข้อจะต้องวินิจฉัยว่า การอนุมัติให้ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พรีเพด ให้แก่บริษัท เอไอเอส เป็นการดำเนินการไปโดยชอบหรือไม่ หรือเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท เอไอเอส ตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ปรากฏถึงความเป็นมาว่า การดำเนินการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากบริษัท เอไอเอสแล้ว ยังมีผู้ให้บริการที่ได้รับสัญญาให้ดำเนินการในทำนองเดียวกันนี้อีก คือ บริษัท แทค ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายหนึ่ง โดยบริษัท แทค ได้รับสัญญาให้ดำเนินการบริการวิทยุโทรคมนาคม จาก กสท. เป๊นเวลา 27 ปี นับแต่วันที่ 16 กันยายน 2534 อันเป็นวันแรกที่เปิดให้บริการ บริษัท แทค ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนแก่ กสท.เป็นรายปี คิดเป็นอัตราร้อยละของรายได้จากการให้บริการก่อนหักค่าใช้จ่าย ค่าภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ ในอัตราก้าวหน้า โดยปีที่ 1-4 เป็นร้อยละ 12 ปีที่ 5 ร้อยละ 15 ปีที่ 6-15 ร้อยละ 20 ปีที่ 16-20 ร้อยละ 25 และปีที่ 21-27 ร้อยละ 30 ทั้งนี้เงินผลประโยชน์ตอบแทนในแต่ละปีดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดในสัญญา แต่การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในส่วนของบริษัท แทค มีข้อขัดข้องเนื่องจาก กสท.ไม่มีหมายเลขโทรศัพท์จึงต้องขอใช่หมายเลขโทรศัพท์จาก ทสท. ซึ่งการให้บริการโดยบริษัท แทค ผ่านเข้าไปยังเครือข่ายโทรคมนาคมของ ทสท.นั้น บริษัท แทค ต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ ทสท.เจ้าของโครงข่าย ในอัตรา 200 บาทต่อเดือนต่อ 1 ลูกค้า การให้บริการของบริษัท แทค ในระยะเริ่มแรก เป็นการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด ต่อมาได้เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พรีเพด เช่นเดียวกับของเอไอเอส โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า พร้อมพ์ ซึ่งบริษัท แทค ยังคงจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ กสท. และยังต้องจ่ายเงินค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ ทสท.ตามจำนวนและอัตราที่กำหนดในสัญญา บริษัท แทค ได้ขอลดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ไปยัง ทสท.เจ้าของโครงข่าย เพราะเห็นว่า การกำหนดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดในอัตราเดียวกับแบบโพสต์เพดนั้นไม่เหมาะสม ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับการพิจารณาปรับลดค่าเชื่อมโยงโครงข่าย ให้เหลือเพียงอัตราร้อยละ 18 ของราคาหน้าบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า

การที่ ทสท.ปรับลดอัตราเชื่อมโยงโครงข่ายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้แก่บริษัท แทค ในครั้งนี้ เป็นเหตุให้บริษัท เอไอเอส ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในการขอให้ ทสท.ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ส่วนของบริการที่ใช้ชื่อว่า วันทูคอล เห็นว่าการที่บริษัท เอไอเอส ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามสัญญาที่ทำกับ ทสท.นั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างบริษัท เอไอเอส กับ ทสท.ซึ่งเป็นคู่สัญญา จะมีอยู่ต่อกันอย่างไรย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่กำหนดไว้ในข้อ 30 ซึ่งได้ความในเรื่อง ที่บริษัท เอไอเอส ขอให้ ทสท.พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้กรณีนี้ว่า การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท เอไอเอส และบริษัท แทค มีข้อแตกต่างกันในด้านองค์ประกอบ และความพร้อมของระบบที่ตนเป็นผู้ให้บริการ เพราะ กสท.ซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัท แทค ไม่มีหมายเลขโทรศัพท์ที่จะให้บริษัท แทค นำไปให้บริการแก่ลูกค้า จนต้องไปขอใช้หมายเลขโทรศัพท์โดยจ่ายเงินค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ ทสท. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่าย ทั้งการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด และพรีเพด ยังมีวิธีการจ่ายค่าใช้บริการที่แตกต่างกัน โดยผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด ต้องจ่ายค่าหมายเลขรายเดือน และจ่ายค่าใช้บริการอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แต่เป็นการเรียกเก็บหลังจากการใช้บริการแล้ว ส่วนแบบพรีเพดนั้น ผู้ที่ใช้บริการจะจ่ายเฉพาะค่าใช้บริการ และต้องจ่ายโดยซื้อบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า จึงจะสามารถใช้บริการได้ ซึ่งบัตรจ่ายเงินล่วงหน้าจะมีราคาแตกต่างกัน รายได้จากการให้บริการแบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า จึงอยู่กับว่าผู้ใช้บริการจะใช้บริการด้วยการซื้อบัตรจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นจำนวนที่มากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีความแน่นอน ดังนั้นการที่จะให้บริษัท แทค จ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายในอัตรา 200 บาทต่อเดือนต่อ 1 ลูกค้า ในบริการแบบพรีเพด ย่อมไม่เป็นธรรมต่อบริษัท แทค เพราะหากเดือนใดมีลูกค้าใช้บริการโดยมีค่าใช้บริการต่ำกว่า 200 บาท หรือมากกว่าเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ จะเป็นผลให้บริษัท แทค ขาดทุนหรือสูญเสียรายได้ การที่ ทสท.พิจารณาปรับลดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่บริษัท แทค จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท เอไอเอส ไม่มีภาระที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แก่ ทสท. เช่นเดียวกับบริษัท แทค ดังนั้น บริษัท เอไอเอส จึงไม่อาจนำเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอให้ ทสท.ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้แก่บริษัท เอไอเอส หาก ทสท.ปฏิเสธไม่ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้แก่บริษัท เอไอเอส เป็นการชอบด้วยเหตุผลแล้ว

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:49:51 น.  

 


แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้กลับปรากฏในเอกสารหมาย ร 260 หน้า 11283-11285 ว่า นอกจาก ทสท.จะชี้แจงเหตุผลในชั้นแรกที่ไม่อาจปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดให้บริษัท เอไอเอส ได้แล้ว นายวิเชียรติ นาคศรีนวล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลประโยชน์ของ ทสท. ในขณะนั้น ยังแจ้งแก้ เอไอเอสด้วยว่า หากบริษัท เอไอเอส ประสบภาวะขาดทุนจากการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในส่วนของบริการวันทูคอล และสามารถชี้แจงตัวเลขประกอบการพิจารณาได้ ทสท.จะพิจารณาให้ ซึ่งความจริงแล้วคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้รับเงินส่วนแบ่งตามสัญญา ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องแจ้งเช่นนั้น แต่การที่แจ้งเช่นนั้นเท่ากับว่า ทสท.เปิดช่องให้บริษัท เอไอเอส เสนอเรื่องเพื่อขอให้ ทสท.พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้แก่บริษัท เอไอเอส ได้อีก และมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการปรับลดลงตามที่ร้องขอ ซึ่งต่อมาปรากฏว่า บริษัท เอไอเอส ได้ดำเนินการไปตามที่ ทสท.แจ้งไปดังกล่าว โดยบริษัท เอไอเอส มีหนังสือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างรายได้ และต้นทุน ต่อ ทสท.เพื่อประกอบการพิจารณา ปรากฏตามเอกสาร หมาย ร 231 หน้า 9483-9487 และ ร 260 หน้า 11286-11288 โดยข้อที่บริษัท เอไอเอส ยกขึ้นอ้างประกอบข้อมูลที่เสนอต่อ ทสท.ในครั้งนี้ เป็นไปในทำนองที่ว่า ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด บริษัท เอไอเอส ต้องลงทุนเพิ่มขึ้น อัตราส่วนแบ่งรายได้ที่กำหนดตามสัญญาหลัก จะทำให้เกิดการขาดทุน อันเป็นเหตุผลที่ยังไม่มีน้ำหนักพอให้รับฟัง เนื่องจากในการประกอบธุรกิจนั้น ย่อมมีการลงทุนในระยะเริ่มแรก การตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่อย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณา และการตัดสินใจของผู้ประกอบการนั้นๆ เอง บริษัท เอไอเอส รับทราบถึงข้อผูกพันตามสัญญาหลักที่ทำกับ ทสท.ดี และพิจารณาโดยรอบคอบแล้วจึงตัดสินใจเข้าร่วมการงานกับ ทสท.ตามเงื่อนไขสัญญาดังกล่าว

นอกจากนี้ ปรากฏจากเอกสารหมาย ร 260 หน้า 1184-11281 ว่าบริษัท เอไอเอส ได้ลงทุนและเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด มาตั้งแต่ปี 2541 โดยในช่วงนั้น บริษัท เอไอเอส มีข้ออ้างต่อ ทสท.ว่า เป็นเพียงแต่มาตรการส่งเสริมการขายของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งบริษัท เอไอเอส ให้บริการอยู่ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ส่งเสริมการขาย ตามที่ ทสท.อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว บริษัท เอไอเอส ยังขอขยายกำหนดเวลาการดำเนินการต่อไปอีก จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 โดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ ทสท. ตามอัตราที่กำหนดในสัญญาหลักตลอดมา แสดงให้เห็นว่า ผลประกอบการในการให้บริการส่งเสริมการขายในส่วนนี้ เป็นที่พอใจของบริษัท เอไอเอส มิเช่นนั้นแล้ว บริษัท เอไอเอส คงไม่ขอขยายกำหนดเวลาในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันเกินกว่า 3 ปี

สำหรับโครงสร้างรายได้ของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ซึ่งไม่มีเงินค่าประกันเลขหมาย และค่าเลขหมายรายเดือน แตกต่างจากแบบโพสต์เพด ซึ่งดูเหมือนว่า อาจทำให้บริษัท เอไอเอส ต้องขายรายได้บางส่วน ได้ความจาก นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการสายการตลาด บริษัท เอไอเอส ว่า การกำหนดอัตราค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด เป็นการรวมเอาค่าเลขหมายรายเดือนในส่วนของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด และค่าใช้โทรศัพท์เข้าด้วยกัน จึงเท่ากับว่ารายได้จากค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 2 แบบ ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ส่วนรายได้ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 2 แบบ ในภาพรวมของแต่ละปีที่มีความแตกต่างกัน น่าจะอยู่ที่จำนวนลูกค้าและปริมาณการใช้บริการของแต่ละแบบ ซึ่งเป็นไปตามความนิยมของผู้ใช้บริการมากกว่า นอกจากนี้ยังได้ความจาก นายธนา เทียนอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แทค และนางเนติมา เอื้อธรรมาภิมุข ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายบริษัท แทค ประกอบเอกสารหมาย ร 225 และ ร 226 อีกว่า บริษัท แทค ซึ่งลงทุนเริ่มให้บริการโทรศัพท์แบบพรีเพดในช่วงเวลาเดียวกัน ได้รับการปรับลดเฉพาะค่าเชื่อมโยงโครงข่ายจาก ทสท. ส่วนเงินผลประโยชน์ตอบแทน ยังคงต้องจ่ายให้แก่ กสท. ตามอัตราที่กำหนดในสัญญาหลัก โดยไม่ได้รับการปรับลดเช่นเดียวกับบริษัท เอไอเอส แต่อย่างใด แต่บริษัท แทค ยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้ แสดงว่า กิจการใดจะมีผลประกอบการกำไรหรือขาดทุนย่อมขึ้นอยู่กับกลไกตลาดและการบริหารจัดการเป็นสำคัญ การได้รับสัญญาสัมปทานอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้ในช่วงระยะเวลาตามที่กำหนด ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า ต้นทุนของการดำเนินการจะลดลงเป็นลำดับ ตามระยะเวลาของอายุสัมปทานที่จะได้รับ และในขณะเดียวกัน ย่อมเป็นผลให้ได้มาซึ่งกำไรเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน โดยเฉพาะในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างที่เอไอเอสดำเนินกิจการอยู่นี้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า บริษัท เอไอเอส มีความเจริญเติบโตของตลาดเพิ่มขึ้นเป็นระยะ และเป็นผู้ให้บริการที่ครองตลาดที่มีผู้ใช้บริการซึ่งเป็นลูกค้าชั้นดีเป็นจำนวนมากที่สุด การที่กำหนดอัตราส่วนแบ่งรายได้ที่ต้องจ่ายให้แก่คู่สัญญาภาครัฐแบบอัตราก้าวหน้า หรือแบบขั้นบันได จึงเป็นการกำหนดอัตราที่มีความเป็นธรรมแก่คู่สัญญา ภาครัฐผู้ให้สัญญา โดยจะต้องกำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่คู่สัญญาภาครัฐ ตามสัดส่วนรายได้ที่คู่สัญญาภาคเอกชนผู้รับสัญญาจะได้รับจากกิจการและเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตามระยะเวลาของอายุสัมปทาน ซึ่งสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระหว่าง ทสท.กับบริษัท เอไอเอส ก็กำหนดหลักเกณฑ์ค่าผลประโยชน์ตอบแทนในหลักการเช่นนี้ แต่หลังจากได้รับหนังสือชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนจากบริษัท เอไอเอส ดังกล่าว ได้ความว่า นายวิเชียรได้บันทึกเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานพิจารณา คณะกรรมการบริหารงานจึงมีคำสั่งให้ฝ่ายการเงิน และงบประมาณ พิจารณาความเหมาะสม ของข้อมูลต้นทุนที่บริษัท เอไอเอส เสนอมา ทั้งให้ประสานงานกับฝ่ายบริหารผลประโยชน์เพื่อเชิญบริษัท เอไอเอส มาร่วมหารือ เมื่อได้ข้อมูลสมบูรณ์แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารงานอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายการเงินและงบประมาณ ได้ดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการบริหารงาน โดยประชุมร่วมกับฝ่ายบริหารผลประโยชน์และบริษัท เอไอเอส ได้มีการชี้แจงรายละเอียดและวิธีการคำนวนต้นทุนโครงข่ายและค่าใช้จ่าย แล้วใช้ข้อมูลที่ได้มาประกอบการศึกษาวิเคราะห์การกำหนดส่วนแบ่งรายได้ และได้จัดทำเป็นกรณีศึกษากับเสนอเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการกลั่นกรองวาระการประชุม ของคณะกรรมการ ทสท. โดยกรณีศึกษาที่เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวาระ ได้ความจากนายสายัณ ถิ่นสำราญ กรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณ และนางปรียา ด่านชัยวิจิตร ผู้อำนวยการส่วนวางแผนการเงิน กลับนางสาวประภาศรี กาญจนากรณ์ หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจ และนางสุรัสวดี เมฆาพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการกองวิเคราะห์เศรษฐกิจ ในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์ว่า ได้อาศัยข้อมูลที่ได้จากเอไอเอส ข้อมูลที่เกี่ยวกับประมาณการเลขหมาย และประมาณการรายได้ต่อเลขหมาย ตามรายงานวิจัยของบริษัท ซีเอส เฟิร์สบอสตัน และข้อมูลจากบริษัท อาร์เธอร์ แอนเดอร์สัน ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาของ ทสท.ในการแปรสัญญาสัมปทานมาประกอบการศึกษาวิเคราะห์ แม้จะมีลักษณะเป็นวิชาการ โดยมีข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิเคราะห์ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ในการกำหนดอัตราส่วนแบ่งได้แบบคงที่ ซึ่งไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตามระยะเวลาของสัญญาแต่อย่างใด

การที่คณะกรรมการ กสท.พิจารณาแล้ว มีมติให้ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้เป็นแบบคงที่ ในอัตราร้อยละ 20 แล้วแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา โดยไม่มีกำหนดให้เพิ่มอัตราส่วนแบ่งรายได้ตามระยะเวลาของสัญญา จึงไม่เป็นไปตามหลักการที่กล่าวมา ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาในสาระสำคัญ ทำให้ ทสท.จะต้องขาดผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับตามสัญญาหลักอยู่แล้ว แต่กลับเป็นผลให้บริษัท เอไอเอส ได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันที่มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมสัญญาหลักในครั้งที่ 6 หากนับถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาหลัก เป็นเวลาเกินกว่า 14 ปี ในการมีมติในเรื่องการลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ คณะกรรมการ ทสท.กำหนดเงื่อนไข ให้ ทสท.เจรจากับบริษัท เอไอเอส ให้ได้ข้อยุติในเรื่องการนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้ ทสท.เป็นรายเดือน และการนำผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้บริการ ทั้งให้กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาที่จะจัดทำขึ้น ให้ ทสท.ติดตามผลการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ทั้งของวันทูคอล และพร็อมพ์ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาความเหมาะสมของการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์เรียกเก็บส่วนแบ่งรายได้ ในโอกาสต่อไป ซึ่งเป็นไปในทำนองว่า ทสท. มุ่งถึงผลประโยชน์ของ ทสท.ที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเร็วขึ้นจากเดิมที่กำหนดตามสัญญาหลัก ข้อ 30.2 ไว้ว่า ให้ชำระผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำทุก 3 เดือน เมื่อครบรอบปีแล้วหากปรากฏว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่คำนวณจากอัตราร้อยละของรายได้ มากกว่าจำนวนเงินขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญา ก็ให้ชำระเพิ่มให้ครบภายใน 60 วัน นับแต่วันครบกำหนดในรอบปีนั้น และมุ่งถึงประโยชน์ของผู้ใช้บริการที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายบริการถูกลง โดยมีพยาน ไม่ว่าจะเป็น นายอนันต์ วรธิติพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอไอเอส หรือที่เป็นกรรมการ ทสท. และพนักงาน ทสท. เช่น พล.ต.อ.บุญฤทธิ์ รัตนพร นายโอฬาร เพียรธรรม นายศุภชัย พิสิฐวานิช นายสุธรรม มะลิลา ให้การและเบิกความในทำนองเดียวกันว่า หลังจากได้รับการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้แล้ว บริษัท เอไอเอส ได้ปรับลดค่าใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการ มากกว่าอัตราที่กำหนดในสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติม และมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ ทสท.มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย เป็นข้อสนับสนุนให้เห็นว่า การดำเนินการในกรณีนี้เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย แล้วนั้น เห็นว่า แม้จะได้ความตามนั้นก็ตาม แต่ผลของการดำเนินการทำให้ภาระต้นทุนของบริษัท เอไอเอส ลดน้อยลง ที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์แก่บริษัท เอไอเอส ในด้านจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ทำให้รายได้จากค่าใช้บริการที่ได้รับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2544 - 2549 บริษัท เอไอเอส มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด เพิ่มขึ้นในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก โดยจากที่มีจำนวน 297,000 ราย ในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,288,500 รายในปีถัดมา และทวีจำนวนขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปี 2549 มีผู้ใช้บริการถึง 17,279,100 ราย กับมีรายได้จริงสำหรับค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยจากที่มีรายได้ในปีสัมปทานที่ 11 ในช่วงเดือนตุลาคม 2543 ถึงกันยายน 2544 จำนวน 2,225,560,000 บาท เพิ่มเป็น 17,098,890,000 บาท ในปีสัมปทานที่ 12 ในช่วงเดือนตุลาคม 2544 ถึงเดือนกันยายน 2545 และทวีจำนวนขึ้นในแต่ละปีสัมปทาน จนกระทั่งในปีสัมปทานที่ 16 ช่วงเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2549 มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 57,375,880,000 บาท แต่รายได้ในส่วนที่ให้บริการแบบโพสต์เพดกลับลดลงจากที่เคยได้รับในปีสัมปทานที่ 11 จำนวน 34,752,080,000 บาท เป็น 37,767,710,000 บาท ในปีสัมปทานที่ 12 แล้วลดลงเป็นลำดับในแต่ละปีสัมปทาน จนกระทั่งลดลงเหลือ 21,171,390,000 บาท ในปีสัมปทานที่ 16 แม้รายได้ในภาพรวมที่เพิ่มขึ้นจะเป็นผลให้ ทสท.ได้รับค่าผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่หากปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้เป็นจำนวนที่เหมาะสม และเป็นแบบอัตราก้าวหน้าแล้ว ผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัท เอไอเอส ต้องจ่ายให้แก่ ทสท.ย่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากที่เป็นอยู่ไปด้วย ส่วนการปรับลดค่าใช้บริการให้แก่ลูกค้านั้น ปรากฏว่า บริษัท เอไอเอส และบริษัท แทค ได้จัดรายการส่งเสริมการขายสำหรับบริการโทรศัพท์แบบพรีเพด ในหลายรูปแบบต่อเนื่องกันมา ในบางรูปแบบมีการปรับลดค่าใช้บริการลงเป็นจำนวนมาก เพื่อจูงใจให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องของการตลาดในการแข่งขันกันทางด้านการค้า ดังนั้นการที่บริษัท เอไอเอส ปรับลดค่าใช้บริการให้แก่ลูกค้า จึงเป็นไปตามกลไกตลาด หาใช่เป็นผลจากการที่บริษัท เอไอเอส ได้รับการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จาก ทสท.

และที่ผู้กล่าวหาอ้างว่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด เป็นรูปแบบใหม่ ซึ่งไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนกันไว้ การที่กำหนดอัตราส่วนแบ่งรายได้กรณีนี้จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าผลประโยชน์ ไม่ใช่การปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่กำหนดในสัญญาหลักนั้น เห็นว่า การที่บริษัท เอไอเอส ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามสัญญาหลักที่ทำกับ ทสท. สิทธิและหน้าที่จะมีอย่างไร ย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา แม้การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด จะไม่มีรายได้จากค่าเลขหมายรายเดือนก็ตาม แต่การกำหนดค่าใช้บริการได้รวมค่าโทรศัพท์และค่าเลขหมายรายเดือนเข้าด้วยแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 2 แบบคงแตกต่างกันเฉพาะวิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายค่าใช้บริการเท่านั้น ทั้งปรากฏว่า ก่อนจะเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดในครั้งแรกนั้น บริษัท เอไอเอส ได้มีหนังสือชี้แจงไปยัง ทสท.ว่า มีลักษณะเป็นการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามปกติ โดยอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับว่า โทรศัพท์ทั้ง 2 แบบ เป็นการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อที่ตามสัญญาหลักที่ทำกันไว้นั่นเอง

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:50:21 น.  

 

แม้การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด จะทำให้บริษัท เอไอเอส มีรายจ่ายเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้น หาเป็นเหตุให้ต้องกำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันใหม่ โดยอ้างว่าเป็นการให้บริการรูปแบบใหม่ที่ไม่มีกำหนดไว้ในสัญญาหลัก ดังที่กล่าวอ้าง

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีความเห็นด้วยเสียงข้างมากว่า เป็นการดำเนินการที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส ทั้งนี้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการประสานพิจารณาอนุมัติเสียก่อน เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงาน หรือดำเนินกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคำวินิจฉัยเรื่องนี้เปลี่ยนไป

กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับ... ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 (ครั้งที่ 7) ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม หรือโรมมิ่ง และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส หรือไม่ ในข้อนี้ปรากฏว่า บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอไอเอส คิดเป็นร้อยละ 42.90 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เมื่อปี 2533 บริษัท เอไอเอส ได้เข้ารับสัญญาสัมปทานอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก ทศท. มีกำหนดอายุสัญญา 20 ปี และในปี 2539 ทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญา(ครั้งที่ 4) ลงวันที่ 20 กันยายน 2539 ขยายกำหนดอายุสัญญาเป็น 25 ปี ต่อมาบริษัท เอไอเอส ต้องการขยายการให้บริการลูกค้าได้ทดลองเข้าไปร่วมใช้เครือข่ายของบริษัท ดีพีซี ที่บริษัท เอไอเอส เป็นผู้มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ประมาณร้อยละ 98.55 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยบริษัท ดีพีซี ได้รับสัมปทานการจัดสรรคลื่นความถี่ และเป็นคู่สัญญากับ กสท. ครั้นวันที่ 20 กันยายน 2549 ทศท.และบริษัท เอไอเอส ตกลงแก้ไขสัญญา อนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ครั้งที่ 7) เกี่ยวกับการใช้เครือข่ายร่วม มีสาระสำคัญคือ ทศท.อนุมัติให้บริษัท เอไอเอส สามารถนำค่าใช้เครือข่ายร่วม ที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้บริการรายอื่นมาหักออกจากรายได้ค่าบริการ และเงินอื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ ก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้แบบอัตราก้าวหน้า ตามสัญญาหลัก ข้อ 30 และข้อตกลงต่อท้ายสัญญา (ครั้งที่ 4) ข้อ 7 โดยบริษัท เอไอเอส อ้างว่า เหตุที่ต้องใช้เครือข่ายร่วมกับบริษัท ดีพีซี เพราะบริษัท เอไอเอส มีปริมาณเลขหมายที่เปิดให้บริการจำนวนมาก ไม่เพียงพอกับความถี่ที่ได้รับจัดสรรจาก ทศท. 7.5 MHz ทำให้ขีดความสามารถของโครงข่ายจำกัดกว่าโครงข่ายอื่น และมีข้อจำกัดทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถวางโครงข่ายเพิ่มเติมได้อีก และเพื่อเป็นการลดข้อจำกัดทางเทคนิคของบริษัท เอไอเอส จึงต้องไปใช้เครือข่ายร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่ง ทศท.ควรรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบจัดหาคลื่นความถี่

ข้ออ้างของบริษัท เอไอเอส ดังกล่าวนี้ เป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท เอไอเอส เอง ซึ่งเป็นเรื่องของการแข่งขันในทางการค้าในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ส่วนการกล่าวอ้างที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ หรือข้อจำกัดเกี่ยวกับความถี่ที่ได้รับจาก ทศท. เป็นเรื่องที่บริษัท เอไอเอส สามารถคาดหมายได้อยู่แล้วในขณะที่เข้าทำสัญญาสัมปทานกับ ทศท. เพราะสัญญาสัมปทาน ข้อ 29.9 ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ทศท.จะต้องจัดหาคลื่นความถี่ย่าน 909-915 MHZ และ 950-960 MHz สำหรับระบบ NMT900 ให้กับบริษัท เอไอเอส 400 ช่วงสัญญาณ ส่วนความถี่ที่จะใช้กับระบบจีเอสเอ็ม ทศท.จะดำเนินการขอและจัดสรรให้ต่อไปเมื่อได้รับแจ้งจากบริษัท เอไอเอส ทั้งปรากฏจากรายงานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหาร ทศท.ครั้งที่ 1/2545 วันที่ 21 สิงหาคม 2545 วาระที่ 4.12 เรื่องขออนุมัติหลักการใช้เครือข่ายร่วมกัน ในส่วนข้อพิจารณาของที่ประชุม ข้อ 2 ว่า สำหรับรายจ่ายของบริษัท เอไอเอส จากการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น ถือเป็นภาระหน้าที่ของบริษัท เอไอเอส ที่จะต้องขยายโครงข่ายให้สามารถรองรับการให้บริการ โดยบริษัท เอไอเอส จะเลือกวิธีการลงทุนโครงข่ายเพิ่มเติม หรือการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทศท.จัดจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับบริษัท เอไอเอส จนเต็มความสามารถของ ทศท. เท่าที่ ทศท.ได้รับมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ย่อมเป็นการปฏิบัติไปโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามสัญญาสัมปทานแล้ว เนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าวมิได้อยู่ภายใต้อำนาจการบริหารจัดการของ ทศท.โดยตรง แต่ได้รับมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข อีกทอดหนึ่ง และข้อสัญญาสัมปทานไม่มีสภาพบังคับไว้แต่อย่างใด้ว่า ทศท.จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าใช้จ่ายในเรื่องใดๆ หากไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นที่พอเพียงกับการให้บริการแก่ลูกค้าของบริษัท เอไอเอส เพราะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการแข่งขันสูงและต่อเนื่อง ย่อมมีความไม่แน่นอนจากสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลา และบริษัทผู้ให้บริการมักจะมีรายการส่งเสริมการขายในรูปแบบที่ต่างกันไป โดยมักจะใช้วิธีการของให้คู่สัมปทานอนุมัติให้ทดลองให้บริการไปก่อนแล้วจึงเจรจากับผู้ให้สัมปทานต่อเนื่องกันไป ซึ่งส่วนใหญ่การเจรจามักประสบความสำเร็จตามที่ผู้รับสัมปทานร้องขอ อันเป็นการปฏิบัติไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญา ฝ่ายที่รับสัมปทานไปแล้วแต่มักไม่ตรงตามข้อสัญญาดังที่สำนักงานอัยการสูงสุดเคยพิจารณาแจ้งไว้ ซึ่งปรากกฏอยู่ในรายงานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวาระการประชุมของคณะกรรมการ ทศท.ครั้งที่ 3/2545 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2545 ดังนั้นการที่ บริษัท เอไอเอส เลือกการขยายเครือข่ายการให้บริการ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้วยวิธีการใช้เครือข่ายร่วมกับบริษัท ดีพีซี ซึ่งถือได้ว่า เป็นบริษัทเดียวกับบริษัท เอไอเอส แทนที่จะลงทุนสร้างโครงข่ายเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการประหยัดเงินลงทุนการสร้างโครงข่าย และเป็นค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมของบริษัทตนเอง บริษัท เอไอเอส ไม่อาจที่จะกล่าวอ้างในเรื่องจำนวนความถี่ที่ได้รับการจัดสรรจาก ทศท.ได้ ทั้งไม่อาจปัดให้เป็นความรับผิดชอบของ ทศท.ที่จะต้องจัดหาความถี่มาให้เพียงพอแก่การให้บริการของบริษัท เอไอเอส ทั้งบริษัท เอไอเอส มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานเอกสารหมาย ร 264 ข้อ 9 ข้อ 16 และ ข้อ 30 เมื่อสัญญาสัมปทานข้อ 9 กำหนดว่า บริษัท เอไอเอส ต้องเป็นผู้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญา และรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด ข้อ 16 กำหนดว่า ต้องจัดหาอุปกรณ์เซลูล่า 900 เพื่อให้เปิดบริการได้ ตามประมาณการลงทุนแผนการติดตั้งและสามารถบริการได้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ และต้องให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และข้อ 30 กำหนดว่าต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท.เป็นรายปีตามหลักประกันขั้นต่ำ หรืออัตราร้อยละของรายได้ หรือผลประโยชน์อื่นใดที่บริษัท เอไอเอส พึงได้รับในรอบปีก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าภาษีใดๆ ทั้งสิ้น จำนวนไหนมากกว่าให้ถือเอาจำนวนนั้น บริษัท เอไอเอสจึงต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเอง การแก้ไขสัญญาเพื่อปัดความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่ตนเองต้องรับผิดชอบ จึงขัดต่อสัญญาหลัก และถือว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการโดยผ่านการใช้เครือข่ายร่วม เป็นรายได้ และผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส พึงได้รับในรอบปีที่จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท.ตามสัญญาหลักข้อ 30 มิใช่เป็นรายได้พิเศษนอกสัญญาดังที่บริษัท เอไอเอส กล่าวอ้าง

อย่างไรก็ตาม การไม่ปฏิบัติตามสัญญาหลัก ด้วยการนำค่าใช้จ่าย ค่าเครือข่ายร่วม ซึ่งบริษัท เอไอเอส จะต้องรับผิดชอบตามสัญญา มาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ ย่อมเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ทศท. ที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการใช้บริการของลูกค้าเท่าจำนวนครั้งต่อนาทีที่มีการใช้บริการเครือข่ายร่วมกับเครือข่ายอื่น นับจากวันที่สัญญาแก้ไขมีผลบังคับ เดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนเมษายน 2551 ปรากฏจากรายงานการตรวจสอบว่า บริษัท เอไอเอส ใช้เครือข่ายร่วม 13,283,420,483 นาที คิดเป็นเงิน 6,960,359,401 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับจากการแก้ไขสัญญาที่ไม่ชอบด้วยสัญญาหลัก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่แท้จริงอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป และในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:51:05 น.  

 

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าว ส่วนข้อที่ว่า การแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่(ครั้งที่ 7 ) จะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประสานงาน ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป

ส่วนการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท. กับบริษัท ดีพีซี ปัญหาที่ควรวินิจฉัยเป็นประการแรก มีว่า ขณะเกิดเหตุผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป หรือไม่ ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า หน่วยงานของรัฐภายใต้อำนาจหน้าที่บังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สมเหตุผล เพราะการที่ กสท.ปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมให้กับบริษัท ดีพีซี เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัท เอไอเอส ที่มีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นอยู่จำนวน 1,263,712,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.06 ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป อยู่ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้กล่าวหา นอกจากนี้ผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับจากการปรับลด ยังตกแก่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป เป็นเหตุให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น จนกระทั่งมีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เงินที่ได้จากการขายหุ้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา

เห็นว่า ตามคำร้องของผู้ร้องได้ความว่า ผู้ถูกกล่าวหารวบรวมหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ทั้งหมดขายให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2549 แม้การปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2548 ด้วยการที่บริษัท เอไอเอส มีหนังสือตามเอกสารหมาย ร 353 หน้า 13773 ถึงบริษัท ดีพีซี ขอปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม จากเดิม 2.10 บาท เป็น 1.10 บาท อันเป็นเวลาก่อนผู้ถูกกล่าวหารวบรวมหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ขายให้กลุ่มเทมาเส็ก ก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า บริษัท เอไอเอส ได้รับประโยชน์จาก กสท. ดำเนินการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมให้กับบริษัท ดีพีซี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง 31 มีนาคม 2550 เป็นเงิน 796,220,310 บาท รวมทั้งที่ได้ความจากการไต่สวนว่า ในวันที่ 28 มิถุนายน 2549 ซึ่งนายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท. ได้อนุมัติให้ปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ตามที่ฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ กสท. โดยนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ มีหนังสือลงวันที่ 27 มิถุนายน 2549 เสนอ และให้มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2549 เป็นระยะเวลา 3 เดือนนั้น เป็นเวลาหลังจากวันที่มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก แล้ว ผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่ได้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในขณะที่มีการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ดังนั้นหากผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับจากการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ตกแก่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป เป็นเหตุให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์ย่อมมิใช่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง แต่เป็นกลุ่มเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ที่ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ไปแล้ว และเป็นผู้ถือหุ้นดังกล่าวอยู่ในขณะนั้น องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผลประโยชน์อันเกิดจากการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม จึงไม่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นในเรื่องปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมอีกต่อไป

กรณีการละเว้นอนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และกิจการของครอบครังของผู้ถูกกล่าวหา ในข้อนี้มีข้อที่จะต้องพิจารณาตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการตรวจสอบ และตามคำร้องของผู้ร้องอยู่ 3 กรณีด้วยกัน กล่าวคือ กรณีอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ กรณีอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เรื่องการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ในบริษัท ไทยคม จากที่ต้องถือครองหุ้นไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 40 และกรณีอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจากการที่ดาวเทียมไทยคม 3 เกิดความเสียหาย จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศ

ซึ่งในเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศนี้ เป็นโครงการของประเทศไทยที่มีวัตถุประสงค์หลักจะให้มีดาวเทียมสื่อสารเพื่อใช้สำหรับการสื่อสารภายในประเทศเท่านั้น โดยกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินการในระยะเริ่มแรก ก่อนที่จะมีการปรับปรุงระบบราชการ และมีการจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขึ้นมารับงานส่วนนี้จากกระทรวงคมนาคม ในเวลาต่อมา โดยมีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้รับสัมปทาน ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 1 กันยายน 2534 ระหว่างกระทรวงคมนาคมกับบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเป็นชื่อของบริษัท ชินคอร์ป ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 449 ตามสัญญาดังกล่าวได้ระบุรายละเอียดไว้ในบทนำว่า สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 ณ กระทรวงคมนาคม โดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งต่อไปจะเรียกว่ากระทรวงฝ่าย 1 กับบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า บริษัทอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่กระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศเรื่องข้อกำหนดในการทำข้อเสนอขอรับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 20 กันยายน 2531 ให้ภาคเอกชนสนใจยื่นเสนอแสดงความจำนงที่จะขอรับสัมปทานเพื่อดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ และบริษัทเป็นผู้หนึ่งที่ได้ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวง และโดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้โครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ดังกล่าวข้างต้น เป็นโครงการของประเทศ ซึ่งเมื่อรัฐให้สัมปทานแก่บริษัทแล้ว ดาวเทียมที่บริษัทจัดส่งขึ้นไป ตลอดจนสถานีภาคพื้นดินที่บริษัทสร้างขึ้นจะต้องตกเป็นของรัฐทันที และโดยที่กระทรวงได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเสนอของบริษัทเป็นข้อเสนอซึ่งเป็นที่พอใจของกระทรวง ดังนั้นกระทรวงโดยอนุมัติของรัฐมนตรี จึงได้คัดเลือกและตกลงให้บริษัทได้เป็นผู้ได้รับสัมปทานโครงการนี้ และตามข้อสัญญา ข้อ 1 สิทธิให้บริการวงจรดาวเทียม กระทรวงตกลงให้บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยกระทรวงตกลงให้บริษัทมีสิทธิ์ในการบริหารกิจการ และการให้บริการวงจรดาวเทียมทรานส์ปอนเดอร์ เพื่อการสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า วงจรดาวเทียม และมีสิทธิ์เก็บค่าใช้วงจรดาวเทียมจากผู้ใช้วงจรดาวเทียม ทั้งนี้ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้

ข้อ 2 ระยะเวลาดำเนินกิจการและการคุ้มครองสิทธิ์ กระทรวงตกลงให้บริษัทมีสิทธิ์ในการดำเนินกิจการในข้อ 1 มีกำหนด 30 ปีนับแต่วันลงนามในสัญญา ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า อายุสัญญา และกระทรวงตกลงจะคุ้มครองสิทธิ์ในการดำเนินกิจการและให้บริการวงจรดาวเทียมของบริษัทไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการแข่งขัน และจัดให้ผู้ใช้บริการวงจรดาวเทียมและสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินใช้วงจรดาวเทียม มีกำหนดระยะเวลา 8 ปี นับแต่ลงนามในสัญญา หากพ้นกำหนดระยะเวลา 8 ปีดังกล่าวแล้ว การคุ้มครองสิทธิ์ของบริษัทเป็นอันหมดไป

ข้อ 5 การดำเนินงานและแผนดำเนินงาน 5.1 บริษัทตกลง 5.1.1 จัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดวงที่ 1 ขึ้นสู่วงโคจรออร์บิทอล โพซิชั่น ของกระทรวงตามที่กำหนดในข้อ 12 ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า ตำแหน่งวงโครจร พร้อมจัดให้มีดาวเทียมสำรอง แบล็คอัพ และสำหรับดาวเทียมภาคพื้นดิน กราวน์แบล็คอัพ รวมทั้งจัดให้มีดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ดวงที่ 2 และดวงต่อๆ ไป ขึ้นใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่องกันจนสิ้นอายุดาวเทียมดวงก่อน

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:51:54 น.  

 

5.1.4 จัดส่งดาวเทียมสำรองตาม 5.1.1 ขึ้นอยู่ในตำแหน่งวงโคจรอินออร์บิต แบ็กอัพ หลังจากดาวเทียมดวงแรกเริ่มให้บริการแล้วไม่เกิน 12 เดือน ข้อ 6 คุณสมบัติของดาวเทียม รายละเอียดคุณสมบัติเฉพาะดาวเทียมแซทเทิลไลท์เทคนิเชียน ทุกดวงที่บริษัทสร้างและจัดส่งตามสัญญานี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงก่อน และอุปกรณ์ทั้งหมดของดาวเทียม จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ยอมรับแล้วว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดี ทั้งนี้คุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ตั้งแต่ดวงที่ 2 เป็นต้นไป จะต้องมีคุณสมบัติการใช้งานไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองดวงที่ 1 ตามที่กำหนดในข้อ 7 แต่จำนวนวงจรดาวเทียมชนิดย่านความถี่ซีแบนด์ หรือ เคยูแบนด์ ตามข้อ 7.1.1 ให้เป็นไปตามที่กระทรวงและบริษัทจะตกลงกัน และบริษัทรับรองว่า ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองของบริษัททุกดวงจะไม่ทำอินครายออร์บิต เว้นแต่ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ซึ่งมิใช่เป็นดาวเทียมหลักสำรองแล้วแต่ยังสามารถให้บริการวงจรดาวเทียม ....(สัญญาณหาย)....เพื่อใช้งานต่อเนื่อง
ข้อ 13 การนำวงจรดาวเทียมไปให้ประเทศอื่นใช้ บริษัทจะให้โอกาสเท่าเทียมกันในการขอใช้วงจรดาวเทียมของผู้ใช้วงจรดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศทุกราย และในกรณีที่มีวงจรดาวเทียมเหลือจากปริมาณการใช้ภายในประเทศ บริษัท ด้วยความเห็นชอบของกระทรวง สามารถนำวงจรดาวเทียมที่เหลือไปให้บริษัทอื่นใช้ได้

ข้อ 15 การโอนกรรมสิทธิ์ การส่งมอบ หรือรับมอบทรัพย์สิน บริษัทยอมให้ดาวเทียมทุกดวงที่จัดตั้งตามสัญญานี้ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวง ในวันที่ผ่านการทดสอบใช้งานจากทั้งสองฝ่าย หลังจากดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรแล้ว ส่วนสถานีควบคุมดาวเทียม รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ตามข้อ 5 หลังจากบริษัทจัดตั้งและทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานเรียบร้อยแล้ว บริษัทยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงทันที และกระทรวงจะมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้บริษัทครอบครอง เพื่อใช้ในการดำเนินการตามข้อกำหนด และเงื่อนไขในสัญญาฉบับนี้ อุปกรณ์ที่บริษัทจัดหามาภายหลังการส่งมอบทรัพย์สินตามวรรคแรก เพื่อใช้เกี่ยวกับการให้บริการวงจรดาวเทียมตามสัญญานี้ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่เป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี และได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง

ทั้งนี้ บริษัทยอมให้อุปกรณ์ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงทันที และกระทรวงจะมอบให้บริษัทครอบครองไว้เพื่อใช้ดำเนินกิจการเช่นเดียวกับวรรคแรก และ ข้อ 27 การใช้วงจรดาวเทียมโดยไม่เสียค่าตอบแทน บริษัทตกลงให้กระทรวง หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กระทรวงเห็นชอบ ใช้วงจรดาวเทียมแบบ นัน พรีเอ็นติเบิล ทรานส์พอนเดอร์ ของดาวเทียมที่บริษัทจัดตั้งขึ้น ซึ่งใช้เป็นดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองในย่านความถี่ซีแบนด์ จำนวนหนึ่ง วงจรดาวเทียมทรานส์พอนเดอร์ ตลอดอายุสัญญานี้ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ แก่บริษัท

ทั้งนี้ กระทรวง ส่วนราชการ หรือหน่วยงานดังกล่าว จะไม่นำวงจรดาวเทียมไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระทรวง ส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กระทรวงเห็นชอบ มีสิทธิ์ที่จะใช้ในย่านความถี่เคยูแบนด์ ซึ่งได้ระบุไว้ในข้อ 6 ในเรื่องคุณสมบัติของดาวเทียมด้วย

นอกจากข้อกฎหมายดังกล่าวแล้ว ในส่วนของข้อเท็จจริงสำหรับกรณีการอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งตามสัญญาสัมปทานกำหนดให้ส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่อวกาศ เพื่อให้เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 นั้น ในการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้จัดสร้างและจัดส่งโดยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กระทรวงคมนาคม ตามสัญญาสัมปทาน ปรากฏว่า วันที่ 17 ธันวาคม 2536 ได้จัดส่งดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 1 วันที่ 7 ตุลาคม 2537 ได้จัดส่งดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 2 และวันที่ 16 เมษายน 2540 ได้จัดส่งดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 3 ปรากฏตามเอกสาร หมาย ร 442 และกระทรวงคมนาคม ซึ่งดูแลโครงการดาวเทียมอยู่ในขณะนั้น ได้อนุมัติให้มีการจัดสร้างดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ที่จะจัดส่งขึ้นสู่อวกาศต่อไป คือดาวเทียมไทยคม 4 แต่เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจัดส่งขึ้นสู่อวกาศนั้น บริษัทผู้รับสัมปทานได้ขอเลื่อนกำหนดหลายครั้ง ซึ่งต่อมาบริษัทผู้รับสัมปทานก็ได้ขอแก้กำหนดทางด้านเทคนิค โดยขอเปลี่ยนคุณสมบัติของดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ก็ได้มีการจัดส่งดาวเทียมดวงนี้ขึ้นสู่อวกาศในวงโคจร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548 รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ร 442 ร 443 ร 510 ร 519 ร 521 ร 522 และ ร 518

ในเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดังกล่าว ตามข้อกำหนดประกาศแข่งขันสัมปทานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการสื่อสารภายในประเทศไว้อย่างชัดเจน และกำหนดให้มีดาวเทียมหลัก และระบบดาวเทียมสำรอง แต่ในส่วนของระบบดาวเทียมสำรองนั้น ไม่ได้มีการระบุถึงรายละเอียดในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่าจะเป็นระบบเช่า หรือสร้างอยู่ที่พื้นโลก หรือส่งขึ้นบนอวกาศ ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 490- ร 492

ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาในขณะนั้น ที่ยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ในฐานะประธานบริษัทชินคอร์ปในขณะนั้น ได้เข้าร่วมแข่งขันรับสัมปทานกับเอกชนรายอื่นๆ และเสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุด กระทรวงคมนาคมจึงเชิญเข้าร่วมเจรจาเพิ่มเติมอีกหลายประเด็น รวมถึงประเด็นดาวเทียมสำรอง ซึ่งข้อเสนอเดิมในการยื่นแข่งขันเพื่อรับสัมปทานระยะเวลา 30 ปีนั้น บางช่วงจะเป็นระบบเช่า โดยเช่าจากดาวเทียมประเทศอื่นเพื่อเป็นระบบสำรอง บางช่วงจะมีการสร้างไว้ที่ภาคพื้นดิน และอีกบางช่วงจะสร้างและส่งขึ้นสู่อวกาศ แต่เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเข้าร่วมเจรจาด้วยตนเอง ในการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอครั้งที่ 9/2533 ในวันที่ 27 ธันวาคม 2533 ได้มีการเสนอเพิ่มเติมว่า จะลงทุนมากขึ้นโดยตลอดอายุสัญญา 30 ปี จะสร้างและส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่อวกาศ ตลอดระยะเวลา ห่างจากดาวเทียมหลักไม่เกิน 12 เดือน

ปรากฏตามรายงานการประชุมเอกสาร หมาย ร 474 ซึ่งต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้ทำหนังสือที่ ชว 001/2534 ลงวันที่ 2 มกราคม 2534 และที่ ชว 439/2534 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 เอกสารหมาย ร 460 ยืนยันข้อเสนอเพิ่มเติมดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

ข้อเสนอดังกล่าวนั้นเป็นข้อเสนอที่ทำให้กระทรวงคมนาคมนำเสนอคณะรัฐมนตรี จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติออุมัติให้บริษัทชินคอร์ปได้รับสัมปทาน และมีการลงนามในสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน 2534 โดยระบุเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนงาน คุณสมบัติของดาวเทียม ระบบดาวเทียมสำรอง และการเปลี่ยนแปลงแผนการดำเนินงานนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากระทรวงคมนาคมก่อน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ของสัญญาสัมปทาน ส่วนการที่จะนำวงจรดาวเทียมที่เหลือใช้จากประเทศไปให้ต่างประเทศใช้บริการ ต้องอยู่ภทายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงคมนาคม ตามที่ระบุไว้ในข้อ 13 ของสัญญาสัมปทาน หรือเอกสารหลัก ซึ่งจะมีเอกสารต่างๆ แนบท้ายไว้ โดยเฉพาะแผนดำเนินการนั้นได้ระบุรายละเอียดไว้ว่า ตามสัญญาระยะเวลาสัญญา 30 ปี จะส่งดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง จำนวน 2 ชุด แต่ละชุดมีดาวเทียม 2 ดวง รวมดาวเทียมทั้งหมด 4 ดวง ซึ่งดาวเทียมสำรองจะส่งขึ้นสู่อวกาศ มีระยะเวลาห่างจากส่งดาวเทียมหลักไม่เกิน 12 เดือน

สำหรับการที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ร้องขอเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์นั้น ก็ได้ร้องขอโดยให้เป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม ปรากฏตามหนังสือที่ ชช (ส) 010 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 แต่ดาวเทียมไอพีสตาร์มีรายละเอียดทางเทคนิคที่ไม่เหมือนกับดาวเทียมไทยคม 3 กระทรวงคมนาคมจึงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ศึกษาข้อมูลทางเทคนิคของดาวเทียมไอพีสตาร์ กรมไปรษณีย์โทรเลขเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ ซึ่งไม่ใช่ดาวเทียมสำรองที่จะจัดสร้างแทนดาวเทียมไทยคม 4 แต่อย่างใด ปรากฏตามหนังสือที่ กค 0704 (ปว/14221) ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2545 เอกสารหมาย ร 514 และเมื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวเข้าสู่ทีประชุมคณะกรรมการประสานงานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ที่แต่งตั้งขึ้นตามสัญญาสัมปทานในคราวพิจารณาโครงการดาวเทียม ไอพีสตาร์ครั้งที่ 1/2545 ลงวันที่ 29 สิงหาคม/2545

ปรากฏตามรายงานการประชุมเอกสารหมาย ร 513 ที่ประชุมได้มีมติว่าเป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่เช่นเดียวกับความเห็นของกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานครั้งที่ 2/2545 ลงวันที่ 10 กันยายน 2545 กลับปรากฏตามรายงานการประชุมว่า มีการขอแก้ไขมติครั้งที่ 1/2545 ข้างต้น เป็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมดวงหลักหรือสำรอง ไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ต้องมีการทำแผนสำรอง และคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์นั้นต้องไม่ด้อยไปกว่าดาวเทียมดวงอื่น และเป็นไปตามสัญญาแล้ว ซึ่งเท่ากับมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองได้ตามที่บริษัทผู้รับสัมปทานร้องขอ และเสนอขออนุมัติโครงการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคม ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 515 ทั้งที่ยังไม่มีการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการประสานงานครั้งที่ 2/2545

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:52:25 น.  

 


ครั้นเมื่อมีการทำหนังสือเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตามหนังสือที่ คค 0208/สนผ.1863 ลงวันที่ 18 กันยายน 2545 ซึ่งเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้มีการอนุมัติปรากฏตามเอกสารหมาย ร509 ทั้งนี้ เลขานุการคณะกรรมการประสานงานใช้วิธีทำหนังสือเวียนไปยังคณะกรรมการประสานงาน ปรากฏตามหนังสือที่ คค0208/ว.7386 ลงวันที่ 27 กันยายน 2545 เพื่อขอให้รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2/2545 โดยเป็นการรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/2545 ด้วย และกำหนดไว้ว่า ขอให้แก้ไขภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2545 โดยมิได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานเพื่อลงมติ

พร้อมกันนี้ ในวันเดียวกันนั้น กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือแจ้งบริษัทไทยคมว่า ได้อนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์แล้ว ปรากฏตามหนังสือที่ คค02084 ลงวันที่ 27 กันยายน 2545 เอกสารหมาย ร 510 เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้ตามที่ปรากฏถึงพฤติการณ์ในการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่เป็นการลัดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการในลักษณะที่รวบรัดและรีบเร่ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดปกติวิสัย ยิ่งไปกว่านั้น ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม 2546 บริษัทผู้รับสัมปทานรายนี้ก็ยังได้นำโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่า 16,543 ล้านบาท ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นผู้พิจารณา โดยบริษัทผู้รับสัมปทานได้แนบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งระบุว่าได้มีการพัฒนาดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นครั้งแรกของโลก และได้มีการสร้างอุปกรณ์ไว้โดยเฉพาะเพื่อเชื่อมกับภาคพื้นดิน สำหรับระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศต่างๆ 18 แห่ง มากกว่า 14 ประเทศ โดยมีในประเทศไทย 1 แห่ง และมีแผนการตลาดที่จะจำหน่ายในประเทศไทยเพียงร้อยละ 6 แต่จะจำหน่ายในต่างประเทศ มีปริมาณสูงถึงร้อยละ 94

ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2547 บริษัทผู้รับสัมปทานได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ดังนั้นจากข้อเสนอของผู้ถูกกล่าวหาเอง ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนบริษัทชินคอร์ป ที่ยื่นแข่งขันเพื่อเข้ารับสัมปทาน รวมทั้งเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้รับสัมปทานด้วยวาจาและทำหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้นตลอดอายุสัญญา และจะส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่วงโคจร เพื่อเป็นการสำรองดาวเทียมดวงหลัก และมีระยะเวลาห่างจากดวงแรกไม่เกิน 12 เดือน อยู่คู่กันเพื่อให้ใช้งานได้โดยต่อเนื่อง จึงได้ระบุระบบดาวเทียมสำรองไว้ในสัญญาสัมปทาน ข้อที่ 5.1.4 ข้อ 6 และข้อ 7 ดาวเทียมไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมหลัก มีช่องสัญญาณย่านความถี่ซีแบนด์ จำนวน 25 ทรานส์พอนเดอร์ และเคยูแบนด์ 14 ทรานส์พอนเดอร์ โดยเฉพาะข้อ 27 ได้ระบุให้กระทรวงคมนาคม หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กระทรวงเห็นชอบ ใช้วงจรดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองเฉพาะแต่ในย่านความถี่ซีแบนด์จำนวน 1 วงจรดาวเทียม ได้ตลอดอายุสัญญาโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์มีคุณสมบัติทางเทคนิค พัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะครั้งแรกของโลก ตามที่จดสิทธิบัตรไว้ โดยใช้ย่านความถี่เคยูแบนด์ รับและส่งข้อมูลให้ลูกค้าในลักษณะสปอตบีม 84 บีม เชพบีม 3 บีม และบรอดคาสต์บีม 7 บีม และใช้ย่านความถี่เคเอแบนด์ในการสื่อสารรับส่งข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดิน กับดาวเทียมบนอวกาศในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ ไม่มีย่านความถี่ซีแบนด์ที่จะให้กระทรวงคมนาคมใช้จำนวน 1 วงจรดาวเทียมได้ตลอดอายุสัญญา โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน และไม่มีข้อตกลงว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อทดแทน ทั้งที่ดาวเทียมไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมหลัก มีช่องสัญญาณย่านความถี่ซีแบนด์ และเคยูแบนด์ จึงเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ดวงต่อดวง ได้ด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ได้พิจารณาคุณสมบัติของดาวเทียมไอพีสตาร์แล้ว เห็นว่าดาวเทียมหลักดวงใหม่ไม่ใช่ดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ตามหนังสือที่ คค0704 (ปว)/14221 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2545 หากดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ บริษัทไทยคมก็จะต้องจัดสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง ตามสัญญาสัมปทานข้อ 5.1.1 ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง ประกอบกับในคราวพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ของคณะกรรมการประสานงาน ตามสัญญาสัมปทานครั้งที่ 1/2545 วันที่ 29 สิงหาคม 2545 มีการลงมติว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายงานการประชุม โดยอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองตามผลการประชุมของคณะกรรมการประสานงานตามสัญญาสัมปทานครั้งที่ 2/2545 วันที่ 10 กันยายน 2545 จึงขัดแย้งกัน

ต่อมาได้มีการเสนอความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งที่ยังไม่ได้มีการรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้ง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ได้อนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมสำรองตามที่เจ้าหน้าที่เสนอ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 โดยปรากฏว่าในภายหลังได้มีการจัดทำหนังสือเวียนให้คณะกรรมการประสานงานแต่ละท่านรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 เช่นนี้ เมื่อดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 3 ได้ ทำให้ความมั่นคงในการสือสารดาวเทียมของชาติต้องเสียหายจากการที่ไม่มีดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อเป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ได้ทั้งดวง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ทำให้บริษัทผู้รับสัมปทาน คือบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่มีภาระที่จะต้องใช้เงินทุน หรือระดมทุน โดยการกู้ยืมเงินเพื่อเพิ่มทุน เพื่อนำเงินมาลงทุนในการส่งดาวเทียมไทยคม 4 เป็นมูลค่าถึง 4,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับค่าก่อสร้างดาวเทียมไทยคม 3 ตามเอกสารการยื่นขอส่งเสริมการลงทุน และในทางกลับกัน ภาครัฐก็ต้องเสียหายจากการที่ไม่ได้รับมอบทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน คือดาวเทียมไทยคม 4 มูลค่า 4,000 ล้านบาท เช่นกัน

นอกจากนี้ การอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นโครงการที่ได้ให้บริการสื่อสารระหว่างประเทศเป็นหลัก ดังทื่ปรากฏจากคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ ที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ยื่นประกอบการ ยื่นคำร้องขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 501 ที่ได้ระบุถึงแหล่งหารายได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งหวังทางการค้าและรับรองการใช้งานอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้งานในต่างประเทศ โดยได้มีการลงทุนสร้างอุปกรณ์เชื่อมต่อ (gateway) ในประเทศต่างๆ 18 แห่ง รวมกว่า 14 ประเทศ แต่สร้างไว้ในประเทศไทยเพียง 1 แห่งเท่านั้น ส่วนแผนการจำหน่ายระบุไว้ในการจำหน่ายในต่างประเทศถึงร้อยละ 94 แต่จำหน่ายในประเทศเพียงอัตราร้อยละ 6 จึงเห็นได้ว่าส่วนที่จำหน่ายในต่างประเทศถึงร้อยละ 94 ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่ส่วนที่เหลือใช้จากอัตราร้อยละ 6 ที่ใช้ในประเทศตามข้อสัญญาสัมปทาน โดยส่วนที่ใช้ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่นั้น เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากส่วนที่ใช้ในประเทศ ดังนั้นดาวเทียมไอพีสตาร์จึงเป็นดาวเทียมหลักที่จัดสร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศเป็นหลัก ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน และเป็นเรื่องที่อยู่นอกกรอบแห่งสัญญาที่ว่า จะใช้เพื่อเป็นดาวเทียมสำหรับสื่อสารภายในประเทศ และหากเหลือใช้จึงจะให้ต่างประเทศใช้บริการได้ ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขข้อกำหนดการเข้ารับสัมปทาน ซึ่งได้ระบุไว้ในบทนำและข้อ 13 ของสัญญาสัมปทาน

ทั้งพ้นระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ์ผูกขาดที่กระทรวงคมนาคม ผู้ให้สัมปทานจะไม่ให้ภาคเอกชนรายอื่นเข้ามาดำเนินกิจการแข่งขันกับบริษัทผู้รับสัมปทาน มีกำหนดระยะเวลา 8 ปี ตามสัญญาข้อ 2 จึงต้องถือว่าเป็นโครงการใหม่ที่อยู่นอกกรอบสัญญาสัมปทาน และจะต้องเปิดให้มีการประมูลแข่งขันโดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเสนอโครงการใหม่อย่างเสรีและเป็นธรรม ทั้งในด้านการบริหารงาน และอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่รัฐ ตามกระบวนการของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วม หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ด้วยเหตุผลดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:52:57 น.  

 

การที่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ได้ร้องขอและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลควบคุม ตรวจสอบ ของผู้ถูกกล่าวหา ได้พิจารณาอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ว่า อยู่นอกกรอบสัญญาสัมปทาน จึงเป็นการอนุมัติให้บริษัทไทยคมของผู้ถูกกล่าวหาได้สัมปทานดาวเทียมสื่อสารระหว่างประเทศไปโดยไม่ต้องมีการประมูลแข่งขันกัน ซึ่งหากมีการขอรับสัมปทานโดยเปิดให้มีการประมูลแข่งขันกันใหม่อย่างเสรีและเป็นธรรม โดยให้ผู้ประกอบการรายอื่นได้มีโอกาสยื่นข้อเสนอเพื่อแข่งขันกัน ก็จะมีมูลค่าโครงการเป็นเงินถึง 16,543,800,000 บาท เป็นรายได้เข้ารัฐ ดังนั้นการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นประธานคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 6 ได้อนุมัติคำขอส่งเสริมการลงทุนโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 498 การอนุมัติให้แก้ไขข้อกำหนดทางด้านเทคนิคของดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 4 โดยอนุมัติให้เปลี่ยนคุณสมบัติเป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งเป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม

ในส่วนการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 โดยมีการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จากที่บริษัมชินคอร์ปต้องมีสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทไทยคมเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 นั้น ในเบื้องต้นเห็นว่าตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 1 ข้อ 1 ระบุว่า บริษัทชินคอร์ป ตกลงที่จะดำเนินการให้บริษัทใหม่ (บริษัทไทยคม) ลงทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และบริษัทจะต้องถือหุ้นในบริษัทใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตลอดอายุสัญญาของสัญญาหลัก การขออนุมัติแก้ไขสัญญาเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จึงเป็นกรณีที่บริษัทชินคอร์ปต้องดำเนินการขออนุมัติเอง การที่บริษัทไทยคมยื่นหนังสือต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ในบริษัทไทยคม และนำส่งข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทชิคอร์ป ประสงค์จะลดสัดส่วนการถือหุ้น จนต่อมารัฐมนตรีว่การกระทรวงเทคโนโบยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก้ไขสัญญาแล้ว บริษัทชินคอร์ปซึ่งได้รับประโยชน์จากการอนุมัติให้แก้ไขสัญญา ได้เข้าทำการสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 5 ที่ยอมให้บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นในบริษัทไทยคมไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เท่ากับบริษัทชินคอร์ปเปิดโอกาสให้บริษัทไทยคมเป็นตัวแทนการที่บริษัทไทยคมขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทไทยคม จึงเป็นการกระทำในนามของบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเป็นตัวการ

โดยที่ปรากฏว่า ตามที่ได้มีข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานเอกสารหมาย ร 449 ข้อ 4 การจัดตั้งบริษัทใหม่เข้าดำเนินการ บริษัทต้องตั้งบริษัทใหม่ขึ้นเพื่อดำเนินงานตามสัญญานี้ โดยบริษัทต้องดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือน นับจากวันเริ่มให้บริการวงจรดาวเทียมตามสัญญานี้ และให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ ตลอดอายุสัญญาด้วย คือ

4.1 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

4.2 บริษัทจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งขั้นใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

4.3 บริษัทต้องดำเนินการให้บริษัทที่จัดตั้งใหม่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้ ต่อกระทรวง ร่วมกัน และแทนกันกับบริษัท ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้ความว่า บริษัทที่บริษัทชินคอร์ป ผู้รับสัมปทานได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามสัญญาสัมปทานก็คือบริษัทไทยคม เพื่อบริหารโครงการ และได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 1 เพื่อให้บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม รับผิดร่วมกันและแทนกัน โดยทำเป็นสัญญา 3 ฝ่าย โดยฝ่ายผู้รับสัมปทาน มีบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ได้ลงนามร่วมกัน ต่อมาบริษัทไทยคมได้ร้องขออนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน ให้เหตุผลว่า ต้องใช้เงินลงทุนในโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นจำนวนสูงมาก จึงจำเป็นที่จะต้องหาพันธมิตรเข้าร่วมเพื่อร่วมลงทุน จึงทำให้จะต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นปรากฏตามหน้งสือที่ ชช.(ส) 133/2546 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2546 ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 534 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งรับโอนงานจากกระทรวงคมนาคมตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ ได้ทำหนังสือหารือกรณีการขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่จะต้องถือหุ้นในบริษัทไทยคม ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบหนังสือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมา โดยมีข้อสังเกตว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา อันเป็นที่มาขอการอนุมัติสัมปทานโครงการนี้ โดยคณะรัฐมนตรีจึงควรที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาก่อนลงนามในการแก้ไขสัญญา ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 531

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเรื่อดังกล่าว แต่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องคืน โดยแจ้งว่า ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของเรื่องที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 530 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีนโยบายที่จะลดเรื่องที่จะเสนอ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีหนังสือหารือกรณีการส่งเรื่องคืนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบหนังสือหารือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่าเมือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีดังข้อเสนอแนะของสำนักงานอัยการสูงสุด

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงมีดุลพินิจที่จะแก้ไขสัญญาได้ ปรากฏตามหนังสือที่ อส 0017/16522 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2547

ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ความจากบันทึกถ้อยคำของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ที่ให้ไว้ต่อคณะออนุกรรมการไต่สวน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ว่า ได้เกี่ยวข้องกับกรณีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยจำได้ว่า ได้มีการทำบันทึกเสนอจากเจ้าหน้าที่ แต่ตนเองเห็นว่าไม่สมควร เนื่องจากสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศที่ทำกันขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 นายกรัฐมนตรี เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ประกอบกับบันทึกเสนอเรื่องไม่ชัดเจนว่าขออนุมัติอะไร จึงไม่มีการลงนามในบันทึกที่เจ้าหน้าที่เตรียมมาให้ และให้ถอนเรื่องคืนไป และว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่เคยมาชี้แจงด้วยวาจา และตนเห็นว่าสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ จึงไม่เหมาะสมที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และเมื่อรัฐมนตรีโทรศัพท์มาตามเรื่อง ก็ได้อธิบายเหตุผลให้ฟัง รายละเอียดปรากฏตามบันทึกคำให้การของพยาน เอกสารหมาย ร 403

ต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม 2547 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานในเรื่องดังกล่าว ปรากฏตามหนังสือที่ ทก0204.3/816 ลงวันที่ 14 ตุลคม 2547 โดยมีการลงนามแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 529 โดยที่การแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 นั้น ไม่มีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแต่อย่างใด

เห็นว่า การที่มีการกำหนดเรื่องการถือครองหุ้นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ไว้ในข้อที่ 4 ของสัญญาสัมปทานนั้น เป็นนัยสำคัญประการหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหาได้รับสัมปทาน การอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานลดสัดส่วนข้างต้น โดยนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ โดยที่ไมได้นำเสนอต่อคณะรัฐมตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ จึงเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป ผู้รับสัมปทาน เนื่องจากในกรณีที่บริษัทไทยคมทำการเพิ่มทุน เพื่อดำเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงจำนวน 16,543,800,000 บาทนั้น บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยคม จึงไม่ต้องระดมทุนหรือกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อหุ้น เพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ 51 ของตนเอง

ดังจะเห็นได้ว่า ในวันที่ 7 มกราคม 2547 และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 บริษัทไทยคมได้ทำการเพิ่มทุน แต่บริษัทชินคอร์ปไม่ต้องซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น 84,706,801 หุ้น เป็นเงิน 1,296,014,055 บาท แต่กลับกระจายความเสี่ยงไปให้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงประมาณร้อยละ 11 ดังกล่าว ย่อมเป็นผลให้บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินลงทุนคืนจากการโอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปจำนวนดังกล่าวออกไป ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นด้วย ทั้งการลดสัดส่วนดังกล่าวมีผลเป็นการลดทอนความเชื่อมั่น และความมั่นใจในการดำเนินการโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ป ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอำนาจควบคุมบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ และต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทไทยคม ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการดาวเทียม ตามสัญญาสัมปทาน แม้ว่าบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม จะยังต้องร่วมกันรับผิดตามสัญญาสัมปทานอยู่ แต่การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าวก็ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และความมั่นคงในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐ

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การอนุมัติให้ลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทไทยคม จึงเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ผู้รับสัมปทานจากรัฐ โดยไม่สมควร

สำหรับกรณีการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมต่างประเทศ เมื่อดาวเทียมไทยคม 3 เกิดเสียหายนั้น ปรากฏตามสัญญาสัมปทานเอกสารหมาย ร 449 ข้อ 25 การประกันภัยทรัพย์สินตลอดระยะเวลาที่สัญญายังมีผลบังคับอยู่

ข้อ 25.1 บริษัทต้องเอาประกันภัยประเภทคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดต่อทรัพย์สินในข้อ 5 และทรัพย์สินที่เพิ่ม ตามข้อ 15 ที่บริษัทโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงแล้วเต็มมูลค่าของทรัพย์นั้นๆ โดยเอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยและเงื่อนไขการประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจดาวเทียมในลักษณะเดียวกันใช้อยู่ โดยให้กระทรวงผู้รับประโยชน์ร่วม และบริษัทเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ข้อ 25.2 การส่งมอบกรมการประกันภัยตามวรรแรก หรือที่เพิ่มเติม ให้กระทรวงภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทเอาประกันภัยในแต่ละปี หรือวันที่เอาประกันภัยเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ทั้งนี้กระทรวงยินยอมให้บริษัทเป็นผู้เจรจาต่อรองค่าเสียหาย และความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมการประกันภัยดังกล่าว โดยความเห็นชอบของกระทรวง และบริษัทจะต้องแจ้งผลการเจรจาให้กระทรวงทราบเป็นระยะโดยทันที

และข้อ 37 การจัดการทรัพย์สินที่สูญหาย และเสียหายหรือสูญหาย เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินตามข้อ 5 หรือข้อ 15 หรือทรัพย์สินดังกล่าวสูญหายไป บริษัทจะต้องเร่งซ่อมแซงทรัพย์สินที่เสียหาย หรือจัดการหาทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่สูญหายโดยทันที เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงจะมอบเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย ตามข้อ 25 ให้บริษัท และถ้าค่าซ่อมแซมหรือราคาทรัพย์สินที่จัดการมีค่าราคาสูงกว่าเงินค่าสินไหมทดแทน บริษัทตกลงเป็นผู้รับผิดชอบเงินจำนวนที่เพิ่มขึ้นและทั้งหมด

วรรค 2 ในกรณีจัดหาทรัพย์สินทดแทนให้นำความในข้อ 15 ในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ และการส่งมอบ รับมอบทรัพย์สินมาใช้บังคับในกรณีนี้ด้วย และวรรค 3 การจัดหาทรัพย์สินทดแทนดังกล่าวในวรรคแรก บริษัทต้องจัดหาทดแทนให้สามารถดำเนินการตามสัญญาได้โดยต่อเนื่อง แม้บริษัทจะพิจารณาเห็นว่าการลงทุนจัดหาทรัพย์สินทดแทนดังกล่าว ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามสัญญาที่เหลืออยู่ จะไม่คุ้มกับการลงทุนก็ตาม ซึ่งบริษัทอาจเสนอขอให้กระทรวงพิจารณาขยายเวลาสัญญาออกไป นอกจากข้อกฎหมายที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ในส่วนข้อเท็จจริงนั้นก็ปรากฏว่า ในคราวที่บริษัทไทยคมได้ร้องขอเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยร้องขอเป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม และได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 ซึ่งมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศปี 2547 นั้น ได้มีการอนุมีติแผนสำรองของดาวเทียมไทยคม 3ด้วย หากเกิดกรณีเสียหาย

ครั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ได้เกิดเหตุดาวเทียมไทยคม 3 เสียหายขัดข้อง เกี่ยวกับระบบพลังงานบางส่วน

ต่อมาบริษัทไทยคมได้เจรจากับบริษัทประกันภัย ปรากฏว่า ดาวเทียมไทยคม 3 เสียหายเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีบางส่วนใช้งานได้ และได้มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแล้ว ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยบริษัทไทยคมได้ขออนุมัติสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน ปรากฏตามหนังสือที่ ชช(ส) 065/2546 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546

และต่อมาได้ร้องขออนุมัตินำเงินประมาณ 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม จากต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 พร้อมทั้งใช้เป็นช่องสัญญาณสำรอง ปรากฏตามหนังสือที่ ชช(ส) 71/2546 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2546 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติให้บริษัทไทยคมนำเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศเพื่อทดแทนและสำรอง และอีกส่วนหนึ่งจำนวน 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสร้างดาวเทียมวงใหม่ทดแทน ชื่อว่าดาวเทียมไทยคม 5 หรือ 3 อาร์ โดยหากค่าสูงกว่า ให้บริษัทไทยคมรับผิดชอบในส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น

นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติในเรื่องดังกล่าว ปรากฏตามหนังสือที่ อช 409/2546 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2546

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:53:31 น.  

 

ต่อมาบริษัทไทยคมแจ้งว่าจะได้รับเงินสินไหมทดแทนจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะต้องลงนามในหนังสือรีลีส แอนด์ ดิสชาร์จ เพื่อปลดภาระผูกพันให้แก่บริษัทประกันภัย และเปิดบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ กับธนาคารที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ข้างต้น

นายสุรพงษ์ ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคอมร้องขอ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ปรากฏตามหนังสือที่ อช 423/2546 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 บริษัทไทยคมได้นำหลักฐานการสร้างดาวเทียมดวงใหม่มาเบิกใช้จากบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ เพื่อนำไปสร้าวดาวเทียมไทยคม 5 หรือ 3อาร์ จนกระทั่งส่งขึ้นสู่วงจรเมื่อเดือนพฤาภาคม 2549 ซึ่งค่าสร้างมากกว่าค่าสินไหมทดแทนจำนวน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น บริษัทไทยคมได้นำหลักฐานไปเบิกใช้เงินดังกล่าว แต่ยังไม่หมด โดยในปัจจุบันยังมียอดเงินคงเหลือค้างในบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ ที่ประเทศสิงคโปร์ ประมาณ 1,800,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

เห็นว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ นั้น ตามสัญญาสัมปทาน เอกสาร หมาย ร449 ข้อ 37 ได้กำหนดให้บริษัทผู้รับสัมปทาน รีบซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย หรือจัดการหาทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่สูญหายโดยทันที เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงผู้ให้สัมปทานก็จะมอบเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยให้ และถ้าค่าซ่อมแซมหรือราคาทรัพย์สินที่จัดหามีราคาสูงกว่าเงินค่าสินไหมทดแทน บริษัทผู้รับสัมปทานตกลงเป็นผู้รับผิดชอบ จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงข้อสัญญาสัมปทานข้อ 37 ดังกล่าว กรณีที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ซึ่งกรณีนี้ก็คือดาวเทียมไทยคม 3 ถ้าเกิดความเสียหายบางส่วน บริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องดำเนินการซ่อมแซมแล้วจึงมารับค่าสินไหมทดแทนจากทางกระทรวงผู้ให้สัมปทาน แต่ถ้าเกิดความเสียหายทั้งดวงจนไม่สามารถที่จะใช้งาน หรือดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นทดแทน แล้วจึงรับเงินค่าสินไหมทดแทนจากทางกระทรวงผู้ให้สัมปทาน

ทั้งนี้ หากค่าซ่อมแซมหรือราคาดาวเทียมดวงใหม่มีราคาสูงกว่าจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน ทางบริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องรับผิดชอบในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ตามข้อสัญญาดังกล่าว การที่มีการอนุมัติให้บริษัทผู้รับสัมปทาน นำวงเงินบางส่วนจำนว 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนช่องสัญญาณเดิม และใช้เป็นสำรอง จึงขัดต่อสัญญาสัมปทาน เนื่องจากบริษัทไทยคมทำผิดสัญญา ไม่มีดาวเทียมสำรองไทยคม 3 มาโดยตลอด และบริษัทไทยคมผู้รับสัมปทานจะต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินการให้มีดาวเทียมใช้ได้อย่างพอเพียง และโดยต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องนำเงินค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับไปสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาสัมปทาน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแล ควบคุมตรวจสอบ ของผู้ถูกกล่าวหา ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคม ผู้รับสัมปทานร้องขอ การอนุมัติให้นำเงินบางส่วนที่ได้รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เกิดความเสียหายดังกล่าวไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนและใช้สำรอง จึงเป็นการอนุมัติที่ไม่ชอบ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม และบริษัทชินคอร์ป เพราะในช่วงเวลานั้นบริษัทไทยคมไม่ต้องใช้เงินทุนของตนเอง หรือไม่ต้องระดมทุน โดยกู้ยืมเงินหรือดำเนินการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินการซ่อมแซมดาวเทียมไทยคม 3 หรือจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ ตามสัญญาสัมปทาน และยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงผู้ให้สัมปทาน

ในทางกลับกัน ยังทำให้เกิดความเสียหายแก่ภาครัฐ เนื่องจากทรัพย์สินที่ทำประกันภัยเป็นของรัฐ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรัฐจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลและคงไว้เป็นหลักประกันความมั่นคง หากเกิดกรณีไม่สามารถซ่อมแซมหรือจัดหาทรัพย์สินทดแทนเพื่อใช้ดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนตามสัญญาให้แล้วเร็จก่อน การที่บริษัทไทยคมซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานโดยตรง ได้ประโยชน์จากการที่ไม่ต้องใช้เงินทุนหรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในโครงการดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรอง ไทยคม 3 มูลค่า 4,000 ล้านบาท จากการไม่ต้องดำเนินการ กระบวนการรับสัมปทานใหม่จากโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่า 16,459,000,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 จากการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรเป็นเวลา 8 ปี มูลค่าไม่เกิน 16,459,000,000 ล้านบาท จากการไม่ตจ้องจัดสรรสร้างดาวเทียมสำรองดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง จากการไม่ต้องใช้เงินทุน หรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงิน มาเพื่อรักษาสัดส่วนที่บริษัทชินคอร์ปจะต้องถือไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทไทยคม โดยการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 ให้คงเหลือสัดส่วนที่จะต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และจากการไม่ต้องซ่อมแซมหรือจัดหาดาวเทียมมาทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย ซึ่งเมื่อซ่อมแซมและจัดหามรดกแทนแล้ว จะต้องตกเป็นทรัพย์สินของรัฐ ตามสัญญาสัมปทาน แต่ได้นำเงินค่าสินไหมทดแทนที่กระทรวงคมนาคมได้รับจากบริษัทประกันภัย ไปใช้ในการเช่าดาวเทียมต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย จำนวน 268 ล้านบาท ซึ่งบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ผู้ได้รับสัญญาดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจากรัฐโดยตรง และมีภาระต้องรับผิดร่วมกันและแทนกัน

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:54:35 น.  

 

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยกรณีสุดท้ายในเรื่องของการอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ ซึ่งในเรื่องนี้มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าการดำเนินการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้กู้ยืมเงินแก่สหภาพพม่าดังกล่าวนี้เป็นไปโดยชอบ และเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคมหรือไม่

ข้อนี้ปรากฏข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการที่ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรีได้บริหารราชการในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งผู้บริหารประเทศจะต้องดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปิพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี จะต้องไม่ดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของสว่นตนด้วย แต่ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนพยานหลักฐาน กลับปรากฏถึงพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นลำดับมา ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2546 เอกอัครราชทูตสหภาพพม่าประจำประะเทศไทย ได้นำส่งหนังสือจากนายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่า ถึงนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น เพื่อขอให้ประเทศไทยพิจารณาให้สินเชื่อจำนวน 3,000 ล้านบาท แก่รัฐบาลสหภาพพม่า เพื่อการก่อสร้างโครงการ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน แต่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ สหภาพพม่า ได้มีหนังสือลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย แจ้งว่า กระทรวงสื่อสารไปรษณีย์ และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า มีโครงการจะพัฒนาการให้บริการระบบโทรคมนคม ในเขตชนบทและพื้นที่ห่างไกล โดยการใช้บรอดแบนด์ แซทเทลไลท์ เทอร์มินัล และระบบไฟเบอร์ออพติก เคเบิ้ล

จึงขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในลักษณะเงินกู้แบบผ่อนปรน มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และแบบให้เปล่า มูลค่า 1,050,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมากระทรวงการคลังได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 เห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้ในการซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศแก่รัฐบาลสหภาพพม่า ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากนั้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ตจึงมีการทำสัญญาเงินกู้ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กับธนาคารการค้าต่างประเทศ แห่งสหภาพพม่า โดยกระทรวงการคลัง และรัษฎากร แห่งสหภาพพม่า เป็นผู้ค้ำประกัน

ในการรับเงินตามสัญญากู้เงินดังกล่าว กำหนดให้ผู้กู้ส่งคำขอรับการให้สินเชื่อ พร้อมสัญญาจัดซื้จัดจ้างสินค้าทุน หรือบริการให้ผู้ให้กู้พิจารณาอนุมัติก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า ก็ได้ส่งคำขอรับการให้สินเชื่อ พร้อมสัญาจัดซื้อจัดจ้าง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ระหว่างกระทรวงสื่อสารไปรษณีย์และโทรเลขแห่งสหภาพพม่า กับบริษัทไทยคม ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ บางส่วนจำนวน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้อนุมัติคำขอดังกล่าว และได้แจ้งให้ธนาคารการค้าของต่างประเทศสหภาพพม่าทราบ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 ต่อมาธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า มีหนังสือลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 แจ้งการโอนสิทธิรับเงินของบริษัทไทยคม ให้แก่บริษัทฮาตาริ ไวร์เลสจำกัด และธนาคารเพื่อการส่งอกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้จ่ายเงินสินเชื่อให้แก่ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า โดยจ่ายตรง ให้แก่บริษัทไทยคม จำนวน 9.702,733.03 ดอลลารดอลลาร์สหรัฐฯ และให้แก่บริษัทฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด จำนวน 5,577,266.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ

เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลในสมัยแรก ที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสพบและหารือข้อราชการกับผู้นำของสหพพม่าหลายครั้ง โดยในระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2544 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภพพม่าอย่างเป็นการทางการ ตามคำเชิญของ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.ท.ขิ่น ยุ้ต์ เลขาธิการสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ต่อมาระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภาพพม่าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย และ พล.ท.ขุ่น ยุ้นต์ ว่าทั้งสองฝ่ายได้หารือและเสนอความร่วมมือกันในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนสหภาพพม่า เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การตลาด และความร่วมมือทางวิชาการ ต่อมาวันที่ 6-8 ตุลาคม 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้พบและหารือกับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่เมืองบาหลี ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หลังจากการประชุมดังกล่าวแล้ว นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่า ได้มีหนังสือถึง นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอวงเงินสินเชื่อ จำนวน 3,000 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องจักรกล การก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ ชินโนวรรณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาคำขอของรัฐบาลสหภาพพม่า ในระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ได้จัดให้มีการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง และที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า ปรากฏผลการประชุมได้มีการทำปฏิญาพุกามว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย กัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยทั้ง 4 ประเทศจะให้ความร่วมมือกันในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในการให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพพม่า ตลอดจนการให้ความร่วมมือในระหว่างประเทศ ทั้ง 4 ด้านดังกล่าวนั้น มิได้ระบุถึงการพัฒนาระบบโทรคมนาคม โดยที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อจากรัฐบาลไทยในครั้งแรก ก็ด้วยความประสงค์ที่จะใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการคมนาคม ซึ่งอยู่ในกรอบความร่วมมือที่ประเทศไทยเคยเสนอในชั้นที่ผู้ถูกกล่าวหาเดินทางไปเยือนสหภาพพม่าใน 2 ครั้งแรก และข้อตกลงร่วมกันตามปฏิญญาพุกาม ว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น นายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 569-576 ได้ความทำนองเดียวกันว่า เมื่อรัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม กรมเอเชียตะวันออกได้พิจารณาและเสนอรายงานพร้อมข้อคิดเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียไว้ ซึ่งปรากฏในข้อเสียว่า เป็นเรื่องที่อาจจะมีข้อครหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ และเมื่อระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีการพบปะหารือข้อราชการแบบทวิภาคีในการประชุมรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต นายสุรเกียรติ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ยังได้แจ้งเรื่องที่อาจมีข้อครหาว่าผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ ให้นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่าทราบ และขอให้โครงการดังกล่าวอยู่ในวงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท ครั้นเมื่อนายสุรเกียรติ์นำเรื่องเสนอต่อผู้ถูกกล่าวหาแล้ว กลับมีการสั่งด้วยวาจาให้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีก เป็น 4,000 ล้านบาท

แม้จะปรากฏในหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงานภายในของประเทศไทยเอง และที่มีไปยังหน่วยงานของรัฐบาลสหภาพพม่า รวมทั้งที่ปรากฏในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการให้วงเงินกู้สินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่าว่า เป็นการให้วงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้เป็นกรณีสืบเนื่องมาจาก การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมตามที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอ และติดตามสอบถามความคืบหน้าเป็นระยะตลอดมา การระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินสินเชื่อว่า เพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศมีลักษณะเป็นทำนองหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า เพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม อันอาจทำให้เกิดข้อครหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่กรมเอเชียตะวันออก เสนอรายงานไว้ดังกล่าว ดังนั้นการพิจารณาและอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าในครั้งนี้นั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามกรอบความร่วมมือของทุกเรื่องดังกล่าวแล้ว

ข้อเท็จจริงยังปรากฏต่อไปอีกว่า เป็นการดำเนินการที่มีผลประโยชน์การประกอบธุรกิจของบริษัทไทยคม ซึ่งได้ความจาก นายณัฐพงษ์ เต็มศิริพงศ์ และนายเผด็จ ว่องพยาบาล พนักงานของบริษัทไทยคม เบิกความต่อศาลว่า บริษัทไทยคมได้ไปประกอบกิจการด้านโทรคมนาคมในสหภาพพม่า ตั้งแต่ปี 2541 และในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม เจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม และบริษัทเอไอเอส ยังได้ไปสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ จีเอสเอ็ม ผ่านดาวเทียม แข่งกับบริษัทต่างชาติ แล้วได้รับคำชมเชยจากกระทรวงสื่อสารไปรษณีย์ และโทรเลขแห่งสหภาพพม่า จนกระทั่งได้มีการทำสัญญาโรมมิ่งอะกรีเมนท์ กับกระทรวงสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า และบริษัทไทยคม เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากสหภาพพม่าในการขยายการให้บริการโทรศัพท์ มาตั้งแต่ปลายปี 2546 แล้ว และยังปรากฏต่อมาจากเอกสารหมาย ร 565- ร 568 ว่า หลังจากมีการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม แล้ว รัฐบาลสหภาพพม่า โดยกรมความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ได้มีหนังสือขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และหลังจากมีการเจรจาหารือกันแล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่า ได้แจ้งโครงการที่จำเป็นต่อการปรับปรุงคุณภาพการบริการโทรคมนาคม ได้แก่ แผนการพัฒนาโทรคมนาคมสหภาพพม่า ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยสัญญาณดาวเทียม โครงการการส่งสัญญาณทั่วประเทศของสหภาพพม่า โดยเป็นระบบใยแก้วนำแสง 1,500 กิโลเมตร และโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสหภาพพม่า ซึ่งมีบริษัทไทยคม เป็นผู้จัดหา ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกในทุกโครงการ โดยเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์บรอดแบรนด์เซทเทิลไลท์ และอุปกรณ์เพิ่มเติม เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม และด้านเทคนิค กับช่วยเหลือในการติดตั้งในโครงการแรก กับเป็นผู้บริหารจัดการ และที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและเทคนิคใน 2 โครงการหลัง อันแสดงให้เห็นว่า บริษัทไทยคม ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:55:32 น.  

 

ส่วนข้อที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า บริษัทไทยคมขายสินค้าให้กับรัฐบาลสหภาพพม่าตามพันธสัญญาที่มีต่อกันมาแต่เดิม และเป็นการซื้อขายกันตามปกติ ไม่ว่าจะได้รับเงินสินเชื่อหรือไม่ รัฐบาลสหภาพพม่าจำเป็นต้องซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นประจำอยู่แล้วนั้น เห็นว่า ในการประชุมระดับผู้นำ ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติให้ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ร่วมเดินทางเป็นคณะ อย่างเป็นทางการไปด้วย ระหว่างการประชุมยังมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม จำนวน 8 คน และบริษัท เอไอเอส จำนวน 2 คน เข้าร่วมทำการสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนทีจีเอสเอ็มผ่านดาวเทียม ต่อมาทางการสหภาพพม่าได้มีหนังสือ ลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย เสนอโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในเขตชนบท และพื้นที่ห่างไกลของกระทรวงสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า และขอรับความช่วยเหลือจากไทย มูลค่า 24.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งสหภาพพม่ายังได้มีหนังสือลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 ขอเพิ่มวงเงินกู้สินเชื่อ จาก 3,000 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท และมีหนังสือ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ติดตามผล รวมทั้งการขอลดดอกเบี้ย ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา ได้สั่งการต่อนายสุรเกียรติ์ ให้แจ้งไปว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการว่า ให้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท โดยจะให้การอุดหนุนชดเชยในส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยด้วย และภายหลังที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ในวันที่ 15 มีนาคม 2547 ได้มีการประชุมระหว่าง นายสุรเกียรติ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อ 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า โดยลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 5.75 เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติวงเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า ตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่ต่อมาสหภาพพม่าได้ขอให้ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น เป็น 5 ปี ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาเห็นชอบ คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องมีมติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นระยะเวลากู้ 12 ปี โดย 5 ปีแรกชำระเฉพาะดอกเบี้ย สำหรับ 7 ปีที่เหลือชำระเงินต้น และดอกเบี้ย โดยการที่อนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อมูลค่า 4,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขดังกล่าว เป็นการให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคาร ตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 การให้กู้เงินดังกล่าวจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องขอคุ้มครองความเสียหายตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว

ผู้ถูกกล่าวหายังสั่งการให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท หากได้รับความเสียหาย ก็ให้กระทรวงการคลังจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ชดเชยแก่ธนาคารตามจำนวนที่เสียหาย และให้ชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยที่ได้รับจากรัฐบาลสหภาพพม่า กับต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคาร และกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายที่จะต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีชดเชยความเสียหายแก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2549 และปีงบประมาณ 2550 รวมเป็นเงินจำนวน 140,349,600 บาท

การขอวงเงินกู้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมระดับผู้นำ ว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม และบริษัทเอไอเอส ได้ไปสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จีเอสเอ็มผ่านดาวเทียม ในการประชุมด้วยดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทไทยคมนั่นเอง

ส่วนที่ได้ความว่า มีการใช้เงินที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อไปซื้อสินค้าต่างๆ จากผู้ประกอบกิจการอื่นในประเทศไทยอีกหลายรายการ ก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อที่ว่า บริษัทไทยคมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการในกรณีนี้ได้ และที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้างต่อไปว่า การจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ที่การพิจารณาและดุลพินิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยนั้น เห็นว่า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 และอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ในการพิจารณาและอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าครั้งนี้ ได้ความจาก นายปกรณ์ และนายสถาพร ชินจิตร อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ว่า เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐบาล และโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย จึงต้องขอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศ โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิได้รับชดเชยในส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของธนาคารอีกด้วย

ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า การดำเนินการกรณีนี้พิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และการดำเนินการเป็นผลให้บริษัท ปตท.สผ.จำกัด(มหาชน) ได้รับสัมปทานบ่อแก๊สธรรมชาติ ที่สหภาพพม่านั้น เป็นการนำเอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันมากล่าวอ้าง ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 คู่สมรส ยังคงถือหุ้นรายใหญ่อยู่อย่างแท้จริงในบริษัทไทยคม และบริษัทชินคอร์ป จึงเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทไทยคม โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 51 ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 599 กรณีย่อมเป็นการไม่สมควรที่จะอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า

ดังนี้ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การดำเนินการในกรณีนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม และบริษัท ชินคอร์ป

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า การดำเนินการทั้ง 5 กรณีดังกล่าวมาข้างต้น เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่

เห็นว่าในช่วงเวลาที่มีการดำเนินการตั้ง 5 กรณีตามคำร้องนั้น ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับรัฐมนตรีอื่น ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา และจะต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 201 และ 202 ในการบริหารราชการแผ่นดินมี พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น โดยความในมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กำหนดให้ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมีอำนาจกำกับโดยทั่วไป ซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกรณีที่จำเป็น จะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติคณะรัฐมนตรีก็ได้ มีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในการปฏิบัติตามนโยบาย

ส่วนการจัดระเบียบราชการในกระทรวงต่างๆ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ แต่มีข้อจำกัดว่า อำนาจดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 11 กล่าวคือ ต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้ง หรือลดทอนอำนาจที่มีอยู่ของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้บทบัญญัติมาตรา 217 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ในการให้รัฐมนตรีพ้นจากการเป็นรัฐมนตรี แสดงให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินว่า มีขอบเขตกว้างขวางมาก โดยมีอำนาจเหนือข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งในทุกกระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทบวงต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการ กำกับดูแลกระทรวง ทบวง และรัฐวิสาหกิจนั้นๆ

โดยนายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลตามลำดับชั้นผ่านรัฐมนตรี หรือเข้าไปเป็นประธานกรรมการ ในบรรดาคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐนั้น ในส่วนของ กสท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ปรากฏตามประกาศบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน ) เรื่องโครงสร้างองค์กรสายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อ ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 อนุมัติให้แปลงสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยยังคงมีอำนาจและสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และปรากฏตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องแต่งตั้งกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทนี้ และกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่า ความเห็นของกระทรวงการคลังในเรื่องดังกล่าวเป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 23 ดังกล่าว สำหรับในส่วนของ กสท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้วเช่นกันนั้น เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) โดยการแปลงสภาพจาก กสท.ตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และได้รับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของ กสท. ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมทั้งหมด เพื่อให้กิจการดำเนินไปโดยต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้บริษัทยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจสังกักกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน และยังปรากฏตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ว่า อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาตรา 22 และ 23 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนทุนเป็นหุ้นตามกฎหมายดังกล่าว ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลังทั้งหมด และระหว่างที่กระทรวงการคลังยังไม่ได้โอนหุ้นที่ถือให้แก่บุคคลอื่น มิให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดในส่วนที่ว่าด้วยผู้ถือหุ้นและจำนวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนพึงถือไว้ได้ มาใช้บังคับ และให้ถือว่าความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับบริษัทนั้น เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ประกอบกับข้อบังคับของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน ) ข้อ 27 กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่ตั้งบุคคลเพื่อเป็นกรรมการบริษัท และข้อ 25 กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อน ถึงคราวออกตามวาระได้

วรรค 2 กระทรวงการคลังเห็นว่า เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นไปด้วยความเหมาะสม จึงเห็นควรให้คณะกรรมการบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ใหม่ ดังนั้น วรรค 3 โดยให้ถือความเห็นของกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามนัย มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 สำหรับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 โดยมาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ มาตรา 7 ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาประเทศโดยการให้สินเชื่อค้ำประกัน รับประกันความเสี่ยง ให้บริการที่จำเป็นตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมเศรษฐกิจ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มอบหมายและผู้จัดการเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน อย่างน้อย 3 คน วรรค 2 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามวรรค 1 คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การให้ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่งด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา 15 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 14 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ(3) รัฐมนตรีให้ออกด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี มาตรา 19 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริหารได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด ดังนั้นเมื่อได้พิจารณาถึงที่มาการแต่งตั้ง และการให้คุณให้โทษ ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนทำให้เห็นได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายกรัฐมนตรี มีความเกี่ยวข้องอยู่ด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลโดยตรงตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ยังมีอำนาจกำกับดูแลโดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น รวมทั้งผ่านคณะกรรมการคณะต่างๆ ที่รับผิดชอบกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐนั้นๆ อยู่ด้วย

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:56:03 น.  

 

ใน 5 กรณีที่ถูกกล่าวหานั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้อง สั่งการที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีโดยชัดแจ้ง อยู่ 2 กรณี คือ กรณีการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต และให้นำค่าภาษีสรรพสามิตไปหักออกจากค่าสัมปทาน เพื่อจะต้องแบ่งส่วน แบ่งรายได้ให้แก่หน่วยงานภาครัฐผู้ให้สัมปทาน โดยเป็นการสั่งการและมอบนโยบายให้ปฏิบัติเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้าราชการ และคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้

อีกกรณีหนึ่งคือ กรณีอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้วงเงินสินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่า โดยผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการและมอบนโยบายผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ข้าราชการและคณะกรรมการของธนาคารดังกล่าว

ส่วนอีก 3 กรณีคือ กรณีการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วมและให้นำค่าใช้เครือข่ายร่วมหักออกจากส่วนแบ่งค่าสัมปทานก่อนจะนำส่งหน่วยงานภาครัฐผู้ให้สัมปทาน และกรณีการละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม และสนับสนุนธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ

ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาล้วนแต่เป็นผู้กำกับดูแลในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นลำดับชั้นลงไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ทั้งผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ด้วย สำหรับคณะกรรมการประสานงานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ สัญญาสัมปทานข้อ 39 ระบุให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นข้าราชการประจำ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม รวม 4 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ร 449 ส่วน ทศท. และ กสท. แม้จะได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดย ทศท.เป็นบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) กสท. เป็นบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) แต่ทั้ง 2 หน่วยงานนี้ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ทั้งหมด การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัททั้ง 2 เป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 เพียงแต่ ทศท. และกสท. อยู่ในสังกัดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำกับดูแลเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ในช่วงแรก ต่อมาได้โอนงานส่วนนี้ให้กระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ดูแลรับผิดชอบ ตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดังกล่าว ต่างเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับ 3 กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เริ่มต้นมาจากการร้องขอของบริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือที่มีไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรณีการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า และกรณีอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และอนุมัติให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท.ได้นั้น

ตามคำให้การและคำเบิกความของ นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้จัดการผลประโยชน์ นายพิชัย อยู่คง ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการคณะกรรมการ ทศท. นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลประโยชน์ และนางพจนีย์ ไทยจินดา ผู้อำนวยการกองผลประโยชน์ที่ 1 ฝ่ายผลประโยชน์ ได้ความในทำนองเดียวกันว่า คณะกรรมการกลั่นกรองได้มีการพิจารณาหลักการที่บริษัท เอไอเอส เสนอต่อ ทศท. เพื่อพิจารณารวม 2 ครั้ง ในวันที่ 21 และ 28 สิงหาคม โดยวาระเพื่อพิจารณาเป็นวาระจรทั้ง 2 ครั้ง มีนายสุธรรม มะลิลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท. เป็นผู้ที่นำเรื่องเข้าที่ประชุม ในการประชุมครั้งแรก ซึ่งไม่ได้เสนอโดยฝ่ายบริหารผลประโยชน์ดังที่เคยปฏิบัติมา และการนำเสนอปัญหาทางด้านเทคนิค เกี่ยวกับการที่บริษัท เอไอเอส ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่พอ และ ทศท.ควรรับผิดในช่วงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้เครือข่ายร่วม เกิดขึ้นจากการหารือกันระหว่างนายสุธรรมกับนายวรุฒ ซึ่งเป็นข้อเสนอต่อ ทศท.ว่า ควรอนุมัติให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท.ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ทศท.ได้อนุมัติเรื่องนี้แล้ว การดำเนินการต่อจากนั้นไม่เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติ โดยมีพฤติการณ์ของฝ่ายผู้บริหาร ทศท.ที่จะสนองตอบการร้องของบริษัท เอไอเอส อย่างรวดเร็ว ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการ ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า และกรณีอนุมัติให้ใช้เครือข่ายร่วม และหักค่าใช้จ่ายเครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท. กรณีโครงการดาวเทียมสื่อสารในประเทศที่บริษัท ชินคอร์ป ขออนุมัติให้บริษัท ไทยคม ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ก็มีพฤติการณ์ทำนองเดียวกัน โดยปรากฏว่าได้มีการเสนอรายงานและมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอนุมัติไปก่อนที่คณะกรรมการประสานงานจะได้รับรองรายงานการประชุม ทั้งไม่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยแม้จะมีการเสนอเรื่องเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วก็ตาม แต่ปรากฏจากบันทึกถ้อยคำของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ให้ถ้อยคำต่ออนุกรรมการไต่สวนว่า ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เนื่องจากสัญญาสัมปทานเรื่องดังกล่าว มีผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ จึงให้ถอนเรื่องกลับคืนไป นอกจากนี้ นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลบประโยชน์ในขณะนั้น เบิกความว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้น่าจะมีการส่งสัญญาณมาจากภายนอก เนื่องจากบริษัท เอไอเอส มีข้ออ้างในเรื่องที่จะให้บริการแก่ประชาชนในราคาที่ถูกลง แต่ต่อมากลับมีการให้เหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของบริษัท เอไอเอส และประชาชน เพื่อให้สามารถดำเนินการอนุมัติให้ตามคำร้องขอของบริษัท เอไอเอสได้ นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ผู้อำนวยการส่วนวางแผนการเงิน เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 231 ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ค่อนข้างรวดเร็ว และมีความพยายามที่จะเสนอเรื่องให้ทันในวันที่ 12 เมษายน 2544 ที่มีการประชุมคณะกรรมการ ทศท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำอันไม่สมเหตุสมผล และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหา ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตลอด ดังที่ได้วินิจฉัยไปข้างต้น

ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การดำเนินการทั้ง 5 กรณีดังกล่าวเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผู้ถูกกล่าวหาใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของบริษัท ชินคอร์ป ตามคำร้อง

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:56:28 น.  

 

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้น และเงินปันผล ตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ เพียงใด เห็นว่าเมื่อผลของการดำเนินการทั้งหมดเป็นการเอื้อประโยชน์โดยตรงแก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส กลับบริษัท ไทยคม ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ย่อมทำให้บริษัท ชินคอร์ป ได้รับประโยชน์ในรูปผลกำไรจากการประกอบการของตนเอง และเงินปันผลกำไรตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม นอกจากนี้ยังเป็นการให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไป ถึงความมั่นคงของกิจการอันก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้สนใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเงินปันผลค่าหุ้นและเงินค่าขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ที่รับไว้ในนามผู้คัดค้านที่ 2-5 จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ.ศ.2542

แต่โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินดังกล่าวระหว่างสมรสกันตามกฎหมาย จึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่า ศาลจะสั่งให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้หรือไม่ เห็นว่า การจะได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินไม่ว่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น อันเนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน หรือเป็นสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่จะสามารถยกขึ้นยันต่อบุคคลอื่นได้นั้น ได้ความว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาโดยชอบและในทางที่สมควร

คดีนี้ได้ความจากการไต่สวนว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ชินคอร์ป ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด มาตั้งแต่ปี 2546 หุ้นที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถืออยู่รวมกันมีจำนวนมากและเป็นสัดส่วนที่สูง ทั้งยังร่วมดำเนินกิจการด้วยกันและมีผลประโยชน์ร่วมกันตลอดมา ดังได้ความจากผู้คัดค้านที่ 3 ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนักบริหาร ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 ดูแลจัดการด้านการเงินและทรัพย์สิน ในช่วงเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาก่อตั้งบริษัทแอมเพิลริช แล้วขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในส่วนของผู้ถูกกล่าวหาให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ได้ความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ออกเงินจ่ายค่าซื้อหุ้นให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาแทนบริษัท แอมเพิลริช ไปก่อน จากนั้นผู้ถูกกล่าวหาจึงนำเงินที่ได้รับดังกล่าวคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในภายหลัง

นอกจากผู้คัดค้านที่ 1 ยังมีส่วนร่วมในการหลีกเลี่ยงข้อห้ามการเป็นผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยการโอนหุ้นในส่วนของตนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แสวงหาประโยชน์ร่วมกันตลอดมา เมื่อฟังว่าเงินปันผลค่าหุ้น และเงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาอันเป็นการได้มาโดยมิชอบเสียแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่อาจอ้างว่า เงินดังกล่าวเป็นสินสมรส หรือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันเพื่อรับการคุ้มครองสิทธิในส่วนของตนได้

ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้ด้วย

ส่วนเงินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของแผ่นดินเพียงใดนั้น เห็นว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินไว้ 2 กรณี ได้แก่คำว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือหนี้สินลดลงผิดปกติ และคำว่า ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความหมายของคำดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า มูลคดีของการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน อาจแยกได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่ง กับที่ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว พบว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติกรณีนึง กับการที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อีกกรณีหนึ่ง ที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 คัดค้านในทำนองว่า ก่อนผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระแรก ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีทรัพย์สินตามรายการที่ระบุในบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ผู้ถูกกล่าวหายื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมูลค่ารวมท 15,124 ล้านบาท จึงไม่อาจให้ทรัพย์สินในส่วนนี้ตกเป็นของแผ่นดินได้นั้น เห็นว่า คดีนี้ คตส.ดำเนินการไต่สวน และผู้ร้องยื่นคำร้องกล่าวถึงการที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของบริษัท ชินคอร์ป โดยเป็นผู้ถือหุ้น แล้วปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีกระทำการต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือ และทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้อง ก็มุ่งเฉพาะเงินปันผล และเงินที่ได้จากการขายหุ้นเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีอยู่ในกรณีหลัง อีกทั้งทางไต่สวนของ คตส. และคำร้องของผู้ร้อง ไม่มีคำขอบังคับไปถึงทรัพย์สินอื่น จึงไม่มีข้อต้องพิจารณาตามคำคัดค้านดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1

แต่อย่างไรก็ดี ยังมีข้อต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า เงินปันผล และเงินที่ได้จากการขายหุ้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควรทั้งจำนวนหรือไม่ ในข้อนี้หากพิจารณาความหมายของคำว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และร่ำรวยผิดปกติ แล้ว เห็นว่า ไม่ว่ามูลคดีจะเป็นกรณีใดกรณีดังที่กล่าวมา ทรัพย์สินอันจะนำมาพิจารณาว่าเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ย่อมต้องเป็นทรัพย์สินนอกเหนือจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอยู่แล้ว อันอยู่ในความหมายธรรมดาของการร่ำรวยผิดปกตินั่นเอง สำหรับเงินปันผลค่าหุ้นที่ได้จากบริษัท ชินคอร์ป เป็นส่วนของกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท ชินคอร์ป บางส่วนและที่ได้จากเงินปันผลตามจำนวนที่ถืออยู่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม บางส่วน ถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว และต้องตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวน ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้น เป็นเงินที่มีมูลค่าเดิมของหุ้นรวมอยู่ด้วย ทรัพย์สินที่ได้มานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว คือ ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น การจะให้ค่าขายหุ้นตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวน ย่อมเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 และเมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่ตนปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัญญาสัมปทานจากรัฐ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 ประกอบพฤติการณ์กับผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 หาทางหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามกฎหมาย ด้วยการให้ผู้คัดค้านที่ 2-5 เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ไว้แทน รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี กระทำการต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมไม่เป็นการสมควรที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้รับประโยชน์ที่มีผลมาจากการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงถือว่า ประโยชน์จากราคาหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ส่วนที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่วันก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวาระแรก คือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 8:57:02 น.  

 

เมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ศ 7 แล้วปรากฏว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นวันที่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีราคาซื้อขายเฉลี่ยหุ้นละ 213.09 บาท เมื่อคำนวณมูลค่าหุ้นหลังเปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาทแล้ว เท่ากับราคาซื้อขายในวันดังกล่าวมีราคาหุ้นละ 21.309 บาท ครั้นคำนวณจากหุ้นจำนวน 1,419,490,150 หุ้น ที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 30,247,915,606.35 บาท อันถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มีอยู่แต่เดิม และไม่อาจให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้องของผู้ร้องได้

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินคงมีเฉพาะเงินปันผลค่าหุ้น จำนวน 6,898,722,129 บาท และเงินที่ได้จากการขายหุ้นหังหักราคาหุ้นที่มีอยู่เดิมแล้ว จำนวน 39,474,965,325.70 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,373,687,454.74 บาท พร้อมดอกผลของเงินจำนวนดังกล่าว

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า มีเหตุที่ศาลต้องเพิกถอนคำสั่งอายัดของ คตส.ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้ง 22 หรือไม่ เพียงใด

เห็นว่าสำหรับผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 ได้ความว่า การยื่นคำร้องขอพิสูจน์ต่อ คตส. และคตส.มีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดทรัพย์สินแล้ว ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.036/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ที่ คตส.037/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 และที่ คตส.014/2551 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 จึงไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ์ และศาลไม่จำต้องพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 ต่อไป

ส่วนผู้คัดค้านอื่นนั้น เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้วินิจฉัยแล้วว่า เงินปันผลและเงินที่ได้จากการขายหุ้นจำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อพิจารณารายการทรัพย์สินที่ คตส.มีคำสั่งอายัดไว้ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส และผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นแทนดังที่วินิจฉัยมา ปรากฏว่ามีจำนวนเพียงพอกับจำนวนที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยคำคัดค้านของผู้คัดค้านอื่นที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ของ คตส.อีกต่อไป

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 9:03:07 น.  

 


ศาลพิพากษาว่า ให้เงินที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล เฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝาก นับตั้งแต่วันฝากเงินจนถึงวันที่ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โดยบังคับเอาจากทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบ อันได้แก่ บัญชีเงินฝากและหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้

คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.016/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้แก่ บัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ บัญชีเลขที่ 127-2-37287-9 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-2-31081-2 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลบ บัญชีเลขที่ 001-0-55188-2 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-414524-4 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12631-3 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12222-0 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-1-11300-9 ชื่อบัญชี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-2-41335-5 ชื่อบัญชี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-78188-1 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-11188-9 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-13095-6 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-27722-2 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ บัญชีเลขที่ 127-2-37342-2 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ 127-2-37343-0 ชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม บัญชีเลขที่ 001-1-55232-5 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาย่อยเซ็นจูรี บัญชีเลขที่ 208-1-00022-9 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-31008-8 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-13092-2 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12632-1 ชื่อบัญชี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

หน่วยลงทุน น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทขพาณิชย์สะสมทรัพข์ตราสารหนี้ เลขทะเบียนที่ 111-8-0226591-6 จำนวน 13215,843.1522หน่วย หน่วยลงทุนของพานทองแท้ ชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทยสะสมทัพย์ ตราสารหนี้ เลขที่บัญชี 001-8-0283005-7 จำนวน 70,815,404.7729 หน่วย

ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.017/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้แก่ บัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-0-63930-3 ชื่อบัญชี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม บัญชีเลขที่ 001-1-1-55021-8 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-03165-7 ชื่อบัญชีคุณหญิพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-04128-8 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-04129-6 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาซอยอารีย์สัมพันธ์ บัญชีเลขที่ 056-2-00065-1 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) สาขาถนนสุขสวัสดิ์ บัญชีเลขที่ 164-2-28388-9 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-0-44839-0 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย บัญชีเลขที่ 013-2-08229-9 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารทหาไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเพนนินซูลา บัญชีเลขที่ 202-3-00330-0 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารนครหลวงจำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย บัญชีเลขที่ 108-3-09761-3 ชื่อบัญชีนางพจมาน ชินวัตร

ตามคำสั่งคณะรรมการตรวจสอบที่ คตส.029/2550 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2550 บัญชีเงินฝากธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน 8 บัญชีเลขที่ 084-3-02118-9 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ฝากธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน 8 บัญชีเลขที่ 084-3-02187-4 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์

ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.028/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 หน่วยลงทุนของคุณหญิงพจมานชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ เลขที่ทะเบียน 001-8-266016-6 จำนวน 57,799,458.9970 หน่วย

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 9:04:00 น.  

 

ศาลบันทึกรายงานกระบวนการพิจารณาไว้ว่า นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ ผู้ร้อง ผู้รับมอบอำนาจของผู้ถูกกล่าวหา ทนายผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้าน และทนายผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 21 มาศาล ส่วนผู้คัดค้านที่ 22 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลให้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความที่มาศาลฟังในวันนี้แล้ว โดยถือว่าผู้คัดค้านที่ 22 ทราบคำพิพากษาของศาลในวันนี้ด้วยแล้ว

 

โดย: I love Thailand 27 มีนาคม 2553 9:06:11 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: นนนี่มาแล้ว 27 มีนาคม 2553 9:26:11 น.  

 

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 27 มีนาคม 2553 15:17:54 น.  

 

พริ้งอ่านจนมึนคำพิพากษายาวๆมากค่ะ

 

โดย: pringpring 27 มีนาคม 2553 18:09:21 น.  

 

ขอบคุณที่ไปทักทายค่า

รักษาสุขภาพด้วยนะค้า

 

โดย: kiriya 29 มีนาคม 2553 5:57:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


I love Thailand
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add I love Thailand's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.