space
space
space
<<
ธันวาคม 2561
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
16 ธันวาคม 2561
space
space
space

พึ่งตนเอง


  มีพี่คนหนึ่งที่ดีกับข้าพเจ้ามาก บอกว่าให้ข้าพเจ้า พึ่งพาตนเอง อย่าคอยหวังพึ่งคนอื่น สมัยก่อนพี่ลำบากมากกว่าข้าพเจ้ามาก ดังนั้น ให้ข้าพเจ้าพึ่งพาตนเอง

พี่เขาไม่รู้ว่าข้าพเจ้าเป็นโรคซึมเศร้า จึงคิดว่าข้าพเจ้าหวังพึ่งคนอื่น ลักษณะอาการของข้าพเจ้าคงเป็นเช่นนั้น

โรคซึมเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ หรือในเด็กเองก็เกิดขึ้นได้ เมื่อดูจากภายนอกแล้ว อาการที่เห็นใกล้เคียงกับอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป แต่ผลกระทบนั้นรุนแรงกว่ามาก ซึ่งทั้งตัวผู้ป่วยเองหรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็นด้วยซ้ำ ปัญหาส่วนใหญ่คนที่ป่วยเป็นซึมเศร้ามักจะไม่รู้ตัวเองว่าตนกำลังป่วยเป็นซึมเศร้า หรืออาจรู้ตัวอีกทีตอนที่โรคกำลังพัฒนาไปสู่ขั้นรุนแรงจนเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว ทำให้โรคนี้กลายเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่พรากหลายต่อหลายชีวิตไปอย่างคาดไม่ถึง

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นไม่ได้ถูกจัดประเภทว่าเป็นคนบ้าหรือคนไม่ดีแต่อย่างใด หากแต่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการป่วยทางอารมณ์ที่ควรได้รับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาในเร็ววันอาจส่งผลเสียถึงชีวิตอย่างหนักได้ โดยอาจจะมีพฤติกรรมคิดสั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้น สาเหตุของการเกิดโรค อาการและวิธีรักษานับว่าจำเป็นยิ่งนักที่ทุกคนจะต้องให้ความใส่ใจตระหนักรู้ โดยคุณสามารถติดตามรายละเอียดดังกล่าวได้ดังต่อไปนี้

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาและการทำจิตบำบัดและผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ  ระยะเวลาในการรักษาอาจใช้เวลานานตั้งแต่ 3 เดือน หรือ 6 เดือน แต่ข้าพเจ้าป่วยมาเป็นมาเวลาหลายปีแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการให้ความร่วมมือในการรักษาจากผู้ป่วยและญาติ อาจเป็นเพราะข้าพเจ้าชอบเก็บตัว ไม่มีเพื่อน ญาติพี่น้องก็ไม่คบค้าสมาคม น้องสาวคนเดียวที่มีก็แต่งงานไปแล้ว ผู้ใหญ่ก็ไม่เคยไปพบแพทย์กับข้าพเจ้าสักครั้ง จะไปก็เมื่อหมอสักแอดมิตแล้ว

โรคซึมเศร้าส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและความคิด โดยอาการต่างๆ เหล่านี้จะคอยสร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในประจำวันอย่างมาก เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับชีวิต ในหัวสมองมักมีแต่ความวิตกกังวล ที่สำคัญผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการประสานความคิดและความรู้สึกของตัวเองเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีพอ

ในไทยเอง โรคซึมเศร้านั้นถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยที่มีความสำคัญและน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยสังเกตได้จากสังคมในปัจจุบันนี้ที่มักมีข่าวเกี่ยวกับปัญหาการฆ่าตัวตาย รวมทั้งปัญหาการทำร้ายร่างกายของตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็นับเป็นเรื่องที่น่าสลดใจไม่น้อยทีเดียว เพราะฉะนั้น ต้นตอสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยประสบปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว การงาน การเงินหรือพบเจอความล้มเหลวสูญเสียในชีวิตอย่างรุนแรง ทุกปัญหานั้นล้วนเป็นสาเหตุนำมาสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้หมดทั้งสิ้น

ตามรายงานจิตวิทยาคลินิก ปี 2007

  • 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้า(Depression)ครั้งแรก มักมีภาวะซึมเศร้าซ้ำอีกหนึ่งครั้งหรือมากกว่า
  • 80 เปอร์เซ็นต์ มีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นถึงสองครั้ง
โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีที่อยู่ในสมองที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) เมื่อสารเคมีดังกล่าวมีปริมาณน้อยลงจากเดิมก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและทางความคิด ซึ่งโดยรวมจะสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยจะมีความรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย เหงา ไม่มีชีวิตชีวา ไม่สนุกสนานกับชีวิตประจำวัน ระสับกระส่าย อยากอยู่คนเดียว นอนไม่หลับ มักสะดุ้งตื่นในกลางดึก ฝันร้ายบ่อย พฤติกรรมเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานที่ลดลง

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้านั้นมาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของกรรมพันธุ์ ด้านพัฒนาการของจิตใจ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยประสบกับความเครียดที่แสนหนัก เจอมรสุมชีวิตที่ไม่ทันได้ตั้งตัว เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้หมดกำลังใจ ตกงาน มีปัญหาเรื่องการเงินที่หาทางออกไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด รวมทั้งพบเจอกับความสูญเสียในชีวิตที่ทำให้เสียใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพ่อแม่ในขณะที่ยังอยู่ในช่วงของวัยเด็ก สูญเสียคนรัก สูญเสียครอบครัว และยังรวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางชนิด ก็สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน รวมถึงการใช้สารเสพติดที่อาจทำให้สารเคมีในสมองผิดปกติ

โดยสรุปแล้วปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้เช่น

  • ภาวะเจ็บป่วยที่สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิต (เช่น โรคมะเร็งหรืออาการปวดเรื้อรัง)
  • ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม
  • ชีวิตที่เครียด (เช่นปัญหาการหย่าร้างหรือขัดสนเงินทอง)
  • พันธุกรรม (มีความผิดปกติของอารมณ์และการฆ่าตัวตายของคนในครอบครัว)
  • ภาวะบาดเจ็บหรือการถูกล่วงละเมิดในวัยเด็กซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาวจากการสั่งการของสมองเพื่อจัดการกับความกลัวและความเครียด
  • โครงสร้างสมองและการใช้สารเสพติด
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นฮอร์โมนจากภาวะตั้งครรภ์หรือภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
  • ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า(Depression) มากกว่าผู้ชายถึง 70 เปอร์เซ็นต์
  • คนที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปีมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า มากกว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 60

โรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปดังนี้

1. Major Depression (โรคซึมเศร้าแบบรุนแรง)

โรคซึมเศร้าชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อภาวะซึมเศร้ารบกวนความสุขในชีวิต การทำงาน การเรียน การนอนหลับ นิสัยการกิน และอารมณ์สุนทรีย์  ติดต่อกันอย่างน้อยสองสัปดาห์ บางคนอาจพบแค่เพียงหนึ่งอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะเกิดเป็นครั้งๆ แล้วหายไป แต่ทั้งนี้ก็สามารถเกิดได้บ่อยครั้ง 

2. Dysthymia หรือ Persistent Depressive Disorder (โรคซึมเศร้าเรื้อรัง)

เป็นโรคซึมเศร้าชนิดที่อยู่ในภาวะที่รุนแรง และสามารถเป็นแบบเรื้อรัง จะมีอาการแสดงของอารมณ์ไม่รุนแรงนัก แต่จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสองปี ในบางช่วงเวลาของภาวะซึมเศร้าประเภทนี้อาจมีภาวะ major depression ร่วมด้วย ซึ่งจะรบกวนการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งนี้มันสามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดการสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดีได้

3. Bipolar หรือ Manic-depressive Illness (โรคซึมเศร้าอารมณ์ตก)

ผู้มีภาวะซึมเศร้าบางคนอาจมีความผิดปกติแบบอารมณ์สองขั้วร่วมด้วย (bipolar disorder) เป็นโรคซึมเศร้าชนิดที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีอารมณ์แปรปรวนรุนแรงสลับไปมาระหว่างความคิดฟุ้งซ่านขาดสติ (Mania) และภาวะซึมเศร้า (Depression) 

สำหรับบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เมื่อซึมเศร้าก็จะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงอารมณ์สนุกคึกคักเกินเหตุ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการพูดมากกว่าที่เคยเป็น มีความกระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานในร่างกายที่เหลือเฟือ ในช่วงอารมณ์สนุกคึกคักเกินเหตุนั้น จะมีผลกระทบต่อความคิดและการตัดสินใจของผู้ป่วย รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากผู้ป่วยในภาวะนี้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นโรคจิต

ประเภทของภาวะซึมเศร้าอื่นๆ ที่ได้การยอมรับทางการแพทย์ มีดังนี้

1. Postpartum Depression (โรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตร)

มารดาหลังภาวะคลอดบุตรมักมีอาการซึมเศร้าที่รุนแรงและใช้เวลากลับปกตินาน ภาวะซึมเศร้าที่คุณแม่มือใหม่มักเจอหลังคลอดจะเรียกว่าแบบ "baby blues"

2. Seasonal Affective Disorder หรือ SAD (โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล)

เป็นภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูหนาว (และบางครั้งก็เกิดภาวะใบไม้ร่วง) มักเกี่ยวข้องกับภูมิอากาศที่มีแสงแดดน้อย

3. Premenstrual Dysphoric Disorder (โรคซึมเศร้าก่อนมีรอบเดือน)

ซึ่งเป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังช่วงมีประจำเดือนของผู้หญิง

4. Psychotic Depression (โรคซึมเศร้าโรคจิต)

เป็นภาวะซึมเศร้ารุนแรงที่เกิดในผู้ป่วยโรคจิต(Depression) มักเกิดพร้อมอาการทางจิตเช่น เช่นเห็นภาพลวงตาและภาพหลอน

อาการของโรคซึมเศร้า

1. อาการทั่วไปของโรคซึมเศร้า

หากคุณกำลังกังวลว่าตัวเองหรือคนรอบข้างกำลังเผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้าอยู่ เบื้องต้นสามารถสังเกตได้จากอาการเศร้า เสียใจ และท้อแท้จนไม่อยากทำอะไร บางครั้งก็เป็นไปอย่างไม่ทราบสาเหตุ ถึงแม้มีเรื่องน่ายินดีก็กลับไม่รู้สึกมีความสุขเลย และนอกจากนี้ ผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้ามักแสดงอาการเหล่านี้ออกมาพร้อมๆกันภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หากปล่อยไว้นานจะทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังซึ่งมีอาการรุนแรงกว่านี้มาก ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการบำบัดสภาพร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้องก่อนที่จะก่อให้เกิดความสูญเสีย

  • รู้สึกหมดหวัง ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปหรือจะทำไปเพื่ออะไร
  • ไม่มีความสุขกับสิ่งของหรือกิจกรรมที่ชอบ เช่น รู้สึกเบื่อหน่ายอาหารโปรดหรือการร่วมเพศ
  • น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นเร็วมากอันเนื่องมาจากการรับประทานอาการที่ไม่เหมือนเดิม
  • นอนไม่หลับมาเป็นระยะเวลานาน แต่ในผู้ป่วยบางรายก็นอนนานผิดปกติ
  • มีอาการเครียด หงุดหงิดง่ายขึ้น ไม่รู้สึกผ่อนคลาย
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้เลย บางครั้งก็แสดงอาการหลงๆลืมๆ และใช้เวลานานในการตัดสินใจ
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้าลง รวมถึงการพูด เพราะรู้สึกว่าร่างกายอ่อนแรง
  • รู้สึกอยากฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย บางครั้งผู้ที่มีอาการนี้ก็ไม่รู้ตัวเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น บางที่ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าก็อาจจะแสดงออกด้วยวิธีที่แปลกออกไป จนในบางครั้งอาจไม่ได้ทำให้ผู้พบเห็นหรือเจ้าตัวคิดว่าตนเองนั้นเป็น “โรคซึมเศร้า” เรามาลองดูสัญญาณแปลก ๆ เหล่านั้นกันดีกว่า

 

  • การช้อปปิ้งอย่างบ้าคลั่ง: คุณเคยสังเกตตัวเองไหมว่า คุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้จ่ายโดยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สำหรับใครที่เป็นโรคซึมเศร้า นั่นเป็นเรื่องปกติที่เขาจะซื้อของอย่างเสียสติ ไม่ว่าจะในห้างสรรพสินค้าหรือผ่านโลกออนไลน์ เพื่อหวังจะเบี่ยงเบนความสนใจจากความเครียดหรือปลุกความมั่นใจของตนเอง แต่การรักษาความเครียดด้วยวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ เท่านั้น คุณจะมิได้ใช้จ่ายอย่างเสียสติเป็นเวลายาวนานติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมดังกล่าวนี้ ในบางรายอาจเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพล่าก็เป็นได้  
  • การดื่มอย่างหนัก: หากคุณรู้สึกว่าคุณต้องการดื่มเพื่อจัดการกับความวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้าต่าง ๆ นั่นอาจบ่งบอกได้ว่า คุณเป็นหนึ่งในนั้น แม้ว่าการดื่มจะทำให้คุณรู้สึกอิ่มเอิบและเบิกบานมากขึ้นยามคุณรู้สึกแย่ ๆ ซึ่งแอลกอฮอล์นั้นเป็นตัวกดประสาท ดังนั้น หากคุณดื่มมาก ๆ เข้า นั่นอาจทำให้โรคซึมเศร้ามีผลที่ตรงกันข้ามและย่ำแย่ขึ้นไปอีกได้  
  • ความหลงลืม: โรคซึมเศร้า อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการที่คุณเริ่มหลง ๆ ลืม ๆ ผลการศึกษาแสดงว่า โรคซึมเศร้าหรือภาวะเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานจะเพิ่มระดับคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียดของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ส่วนหนึ่งของสมองอ่อนแอลง อันเกี่ยวโยงกับความทรงจำและการเรียนรู้ แน่นอนว่าโรคซึมเศร้ามีความเกี่ยวเนื่องกับการสูญเสียความทรงจำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนักสำหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือ การรักษาโรคซึมเศร้าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความจำได้  
  • การใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป: การเสพติดโลกออนไลน์มากกว่าโลกความเป็นจริง เป็นอาการหนึ่งของคนเป็นโรคซึมเศร้า กล่าวคือ คุณใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากจนเกินไป ผู้คนที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไปมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาบนสื่อโป๊เปลือย เกม หรือสังคมออนไลน์เสียทั้งสิ้น  
  • กระหน่ำกินอย่างบ้าคลั่งและตามมาด้วยโรคอ้วน: ผลการศึกษาเมื่อปี 2010 จากมหาวิทยาลัยอัลบามาเผยว่า วัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น แถมยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย นอกจากนี้ โรคซึมเศร้ายังเกี่ยวโยงกับการกินอาหารในจำนวนมาก โดยเฉพาะคนวัยกลางคน ซึ่งการรักษาโรคซึมเศร้าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว  
  • การขโมยของ: ประมาณสามส่วนของหัวขโมยทั้งหลาย เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สำหรับใครก็ตามที่รู้สึกไม่มีพละกำลังและรู้สึกว่าตนเองไม่สำคัญ การขโมยของจะช่วยทำให้เขารู้สึกตรงกันข้าม คือ มีพละกำลังและรู้สึกว่าตนเองสำคัญ และพวกเขาจะเฉยชากับสิ่งที่ตนเองกระทำ ซึ่งในความจริงแล้ว สิ่งของที่พวกเขาขโมยมานั้นไม่ได้สำคัญเท่ากับความรู้สึกที่พวกเขารู้สึกเลย  
  • การปวดหลัง: อาการเจ็บหลังเรื้อรัง ส่วนหนึ่งมาจากโรคซึมเศร้า 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเคยผ่านประสบการณ์การเป็นโรคซึมเศร้ามาแล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ผู้คนมักเพิกเฉยต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เพราะพวกเขาคิดว่า การเจ็บปวดต่าง ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด  
  • พฤติกรรมทางเพศ: การเป็นโรคซึมเศร้านั้นเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความต้องการทางเพศ  แต่ในบางรายก็อาจใช้เรื่องเพศเพื่อจัดการรับมือกับปัญหาโรคซึมเศร้า การเป็นโรคซึมเศร้า อาจเพิ่มพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ การนอกใจ การเสพติดการมีเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ทั้งนี้ อาการดังกล่าวอาจเกี่ยวโยงถึงการเป็นโรคอารมณ์สองขั้วได้เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตส่วนตัว  
  • การแสดงออกทางอารมณ์ที่สุดเหวี่ยง: หลาย ๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักหลุดหรือเผลอแสดงอารมณ์มากจนเกินปกติ บางครั้งก็ขี้โมโหหรือระเบิดอารมณ์ออกมา บ้างก็เศร้าเสียใจ หมดหวัง วิตกกังวล และหวาดกลัว ปัญหาสำคัญคือ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น คนบางคนที่เดิมทีเป็นคนนิ่งเฉย เมื่อมีอารมณ์ความรู้สึกพุ่งสูง ก็อาจนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าได้  
  • เสพติดการพนัน: การพนันอาจทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นและกระชุ่มกระชวย แต่หากคุณเสพติดการเล่นนั้นจนเป็นนิสัย คุณอาจเศร้าเสียใจหรือทุกข์ทรมานใจจากมันก็เป็นได้ หลายคนกล่าวว่า พวกเขารู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าก่อนที่พวกเขาจะเริ่มเล่นการพนัน และเมื่อเจอความผิดหวังก็อาจทำให้ความรู้สึกย่ำแย่ลงไปอีกได้  
  • การสูบบุหรี่: มีปัญหากับการเลิกบุหรี่หรือไม่? การเป็นโรคซึมเศร้าจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่าในการสูบบุหรี่ เรียกได้ว่า ยิ่งซึมเศร้ายิ่งสูบหนัก (ประมาณ 1 ซองต่อวัน หรือสูบบุหรี่ทุก ๆ 5 นาที) การเลิกบุหรี่นั้นใช้เทคนิคเดียวกันกับการรักษาโรคซึมเศร้า กล่าวคือ ใช้เทคนิคการบำบัดด้วยการรับรู้หรือใช้ยาเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า  
  • ไม่ใส่ใจตนเอง: การละเลยหรือไม่ใส่ใจตนเอง เป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าและการขาดความมั่นใจในตนเอง พฤติกรรมอาจเริ่มตั้งแต่การไม่แปรงฟัน หรืออาจจะไปถึงขั้นโดดสอบ และไม่ใส่ใจโรคร้ายต่าง ๆ ที่ตนเป็น เป็นต้น

2. อาการของโรคซึมเศร้าตามเพศและอายุ

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่

อาการของโรคซึมเศร้าอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ส่วนมากผู้ป่วยมักมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเศร้าหรือว่างเปล่าเป็นเวลานาน
  • รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย หรือกระวนกระวายใจอยู่บ่อย ๆ
  • รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีค่า หรือรู้สึกผิด
  • อ่อนเพลีย
  • พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป
  • มีความลำบากในการมีสมาธิ จดจำรายละเอียด หรือทำการตัดสินใจ
  • ปัญหาการนอนหลับ เช่น นอนหลับมากขึ้น หรือ นอนไม่หลับ
  • รู้สึกหมดความสนใจในกิจกรรมหรืองานอดิเรกเดิมที่เคยสนใจ
  • มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
  • มีความคิดเรื่องความตายและการฆ่าตัวตาย
  • คิด พูด และทำงานช้าลง
  • สะเพร่า
  • เสพสารเสพติด

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชาย

แม้ว่าผู้ชายและผู้หญิงต่างมีอาการของโรคซึมเศร้าได้เหมือนกัน แต่ก็มีอาการเฉพาะเจาะจงบางอย่างที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อ้างอิงจาก 2013 report in the journal JAMA Psychiatry ผู้ชายที่มีโรคซึมเศร้ามักจะพบอาการดังต่อไปนี้ได้มากกว่าผู้หญิง

  • โกรธ
  • ก้าวร้าว
  • การเสพยาหรือการใช้แอลกอฮอล์
  • พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ (risk-taking behaviour)

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้หญิง

ผู้หญิงจะเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าผู้ชายถึง 70% อ้างอิงจาก The National Institutes of Health. จากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ รวมถึง 2013 JAMA Psychiatry report กล่าวไว้ว่าผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากถึงสองเท่า ผู้หญิงที่มีโรคซึมเศร้ามักจะพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้

  • เครียด
  • แยกตัวสันโดษ
  • กระสับกระส่าย
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ
  • สูญเสียความสนใจเดิม

อาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

วัยรุ่นก็สามารถมีอาการของโรคซึมเศร้าได้เหมือนผู้ใหญ่ แต่ว่าอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนั้นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะปกติของการเข้าสู่ช่วงการเป็นวัยรุ่น อาการแสดงอื่น ๆ ที่บอกถึงโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นได้แก่

  • หมกมุ่นเรื่องความตาย เช่น กลอนหรือภาพวาดที่บ่งบอกถึงความตาย
  • มีพฤติกรรมอาชญกรรม เช่น การขโมยของในร้าน
  • มีการแยกตัวออกจากครอบครัวและเพื่อน
  • อ่อนไหวต่อการวิพากย์วิจารณ์
  • ผลการเรียนแย่ลงหรือขาดเรียน
  • พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและการขับรถโดยประมาท
  • การดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติด
  • มีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลหรือแปลกประหลาดไปจากเดิม
  • มีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะนิสัยหรือการแต่งตัวภายนอกอย่างสิ้นเชิง
  • ทิ้งข้าวของของตัวเอง

3. อาการตามชนิดของโรคซึมเศร้า

อาการของโรคซึมเศร้าชนิด Major Depression

  • มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกซึมเศร้า มีความกังวลบ่อยๆ มีอารมณ์ที่หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุขและมักรู้สึกกระวนกระวายอยู่ตลอดเวลา
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ผู้ป่วยจะรู้สึกสิ้นหวังต่อการใช้ชีวิต มักมองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิดหวังบ่อยๆ มักคิดว่าตัวเองไม่มีค่า มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง คิดถึงแต่ความตาย และพยายามทำร้ายตัวเองอยู่บ่อยครั้ง
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้และการทำงาน ผู้ป่วยจะไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจเรื่องที่จะทำให้เกิดความสนุกสนานกับชีวิต ไม่สนใจงานอดิเรก เพิกเฉยต่อกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ มีความรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน ทำงานได้ช้าและมีคุณภาพต่ำลง ไม่มีสมาธิต่อสิ่งที่ทำ การตัดสินใจแย่ลงและความจำเสื่อม
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ มีพฤติกรรมตื่นนอนเร็ว ในผู้ป่วยบางรายจะหลับนานเกินไป เบื่ออาหารจึงส่งผลทำให้น้ำหนักลด ในขณะที่บางคนรับประทานอาหารมากเกินไปจึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อมีอาการป่วยมักรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง แน่นท้อง และปวดเรื้อรัง ที่สำคัญผู้ป่วยยังมีความสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวอย่างแย่ลงด้วย

อาการของโรคซึมเศร้าชนิด Dysthymia

ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าต่อเนื่องเรื้อรังเป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน อาจถึงขั้นสูญเสียหน้าที่การงาน การใช้ชีวิต รู้สึกไม่พึงพอใจในตนเอง ไม่มีความสุขตลอดเวลา มองโลกในแง่ร้าย แต่ผู้ป่วยยังคงใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แต่มักไม่ค่อยมีความพอใจเมื่อมีสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต เสมือนหนึ่งเป็นคนขาดชีวิตชีวา ขาดวิญญาณซึ่งโรคซึมเศร้าแบบ Dysthymia นี้มีสิทธิ์เปลี่ยนเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงได้ (Major depression)

อาการของโรคซึมเศร้าชนิด Bipolar หรือ Manic-depressive illness

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีอาการร่าเริงเกินกว่าเหตุ หงุดหงิดง่าย นอนน้อยลงจากเดิม มักหลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่ มีพฤติกรรมพูดมาก ชอบคิดที่จะแข่งขัน มีความต้องการทางเพศสูง มีพลังงานมาก ตัดสินใจในแต่ละครั้งไม่ดี และมีพฤติกรรมหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน

ความแตกต่างของโรคซึมเศร้า และโรคเครียด

โรคซึมเศร้ากับโรคเครียด ดูเหมือนจะมีลักษณะอาการที่ใกล้เคียงกัน จนทำให้บางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถแยกตัวเองออกมาได้ว่า อาการที่เกิดขึ้นมาจากความเครียด หรือโรคซึมเศร้ากันแน่ เราสามารถมีวิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 โรคได้ด้วยอาการขั้นพื้นฐานดังนี้

อาการที่มาจากความเครียด (Stress)

ความเครียดหรือโรคเครียด โดยทั่วไปจะเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น หากเป็นความเครียดธรรมดา สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย ความเครียดจะไปสั่งผลกระตุ้นทั้งในแง่ดีและแง่ลบ ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถตั้งรับกับความเครียดได้มากน้อยแค่ไหน โดยพบว่าอาการทั่วไปของความเครียดคือ

  1. ไม่สามารถทนต่อความรู้สึกได้
  2. นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับ
  3. กระสับกระส่าย กังวล และเหมือนจะประสาทเสีย
  4. รู้สึกไม่มีแรง หมดแรง
  5. รู้สึกว่าปัญหาที่เข้ามาในชีวิตยุ่งยากมากเกินจนรับได้
  6. มีปัญหาเรื่องสมาธิและความจำสั้น

อาการที่มาจากโรคซึมเศร้า (Depression) 

แตกต่างจากความเครียดอย่างไร? ความแตกต่างของโรคนี้กับความเครียดคือ จะเกิดขึ้นใน "ระยะยาว" การปล่อยผ่านโดยรู้สึกว่ามันเป็นแค่ความเครียด จะไม่ช่วยทำให้อาการดีขึ้น แต่จะยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากสารเคมีในสมองผิดปกติ เพราะความเศร้าจะควบคุมความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา

ความเครียดไม่ใช่มาจากโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ใดก็ตาม ก็จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ไม่นานก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่โรคซึมเศร้าแม้จะพยายามดึงใจตัวเองกลับมาอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้รู้สึกดีขึ้น โรคซึมเศร้าจะมีอาการต่อเนื่องตั้งแต่เช้าจนเข้านอน ติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ จึงควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซึมเศร้า

การที่คุณเคยเป็นโรคซึมเศร้านั้นเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคนี้ต่อไปในอนาคต มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่เคยหายจากการเป็นโรคซึมเศร้าในครั้งแรก ยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ต่อไปได้อีก นอกจากนี้ 80% ของผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคซึมเศร้า 2 ครั้ง ยังสามารถเป็นต่อไปได้ อ้างอิงจากรายงานเมื่อปี 2007 ใน Clinical Psychology Review มีคนที่ฆ่าตัวตายมากถึงสองในสามมีอาการของโรคซึมเศร้า จากแหล่งข้อมูลทางสุขภาพ A.D.A.M โรคซึมเศร้ายังสามารถส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคุณและการทำงาน และโรคซึมเศร้ายังสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ภาวะอ้วน หัวใจวาย หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพจิตที่แย่ลงอย่างมากในผู้สูงอายุ

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า

เมื่อสังเกตแล้วว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวกำลังตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้าทั่วไป หรือแม้กระทั่งหลังผลการวินิจฉัยของแพทย์แล้วก็ตามว่าเป็นโรคซึมเศร้า คุณสามรถดูแลตัวเองหรือผู้ป่วยควบคู่ไปกับการบำบัดได้ดังนี้

  1. หางานอดิเรกทำ เช่น ทำอาหารหรือต่อจิกซอว์ ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกสนุกนัก แต่กิจกรรมยามว่างเหล่านี้จะช่วยสร้างสมาธิและทำให้สามารถจดจ่อได้มากขึ้น
  2. ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและไม่มีความสามารถ การตั้งเป้าหมายเล็กๆ จะสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย
  3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้สารเอ็นโดรฟิน (endorphin) หลั่งออกมา ซึ่งทำให้รู้สึกมีความสุข อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นสมองให้มีความตื่นตัวมากขึ้นในระยะยาว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ แค่เดินออกกำลังสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอ
  4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ แม้จะรู้สึกเบื่ออาหาร ผู้ป่วยควรพยายามรับประทานอาหารที่สด สะอาด และทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ ร่างกายจึงจะรู้สึกสดชื่นและมีพลังงาน
  5. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ แม้การนอนจะเป็นเรื่องที่ควบคุมยากมากในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่การพักผ่อนให้เพียงพอ (6-8 ชั่วโมง) จะช่วยให้ลืมความกังวลไปได้ชั่วขณะ และเมื่อตื่นขึ้นมาร่างกายและสมองก็จะมีความพร้อมสำหรับกิจกรรมของแต่ละวันมากขึ้น

การประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง

ผู้ป่วยส่วนมากไม่แน่ใจในอาการผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นกับตัวเอง และผู้ป่วยมักเข้าใจผิดคิดว่าอาการเหล่านั้นจะสามารถหายไปเองได้ ดังนั้นการทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเองจะช่วยให้ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้เร็ว ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือ ซึมเศร้ารุนแรงชนิดที่มีอาการทางจิตร่วมลงได้ ช่วยลดภาระในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษา และสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถกลับมาเป็นปกติสุขได้โดยเร็ว   

วิธีการประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง โดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข  โดยให้ประเมินอาการในช่วงเวลา 15 วันที่ผ่านมา ท่านมีอาการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด

ข้อ

อาการ

ไม่มีเลย

0 คะแนน

เป็นบางวัน

1-7 วัน

1 คะแนน

เป็นบ่อย มากกว่า7 วัน

2 คะแนน

เป็นทุกวัน

3 คะแนน

1

เบื่อ ไม่สนใจ ไม่อยากทำอะไรเลย

2

ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้

3

หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป

4

เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง

5

เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป

6

รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่า ตัวเอง ล้มเหลว หรือทำให้ตนเอง หรือครอบครัวผิดหวัง

7

สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ

8

พูดช้า ทำอะไรช้าลงจนคนอื่นสังเกตเห็นได้ หรือกระสับกระส่ายไม่สามารถอยู่นิ่งได้เหมือนที่เคยเป็น

9

คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายไปคงจะดี

เมื่อประเมินอาการครบทั้ง 9 ด้านแล้ว ให้รวมคะแนนทั้งหมด หากผลรวมของคะแนนมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ควรไปพบหรือขอคำปรึกษาจากบุคลากรด้านจิตเวชหรือรับการรักษาจากจิตแพทย์โดยทันที ไม่ควรปล่อยให้มีอาการเรื้อรังนานเป็นเดือนหรือเป็นปี 

การทดสอบและวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

ถึงแม้ว่าคุณสามารถประเมินเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง แต่ว่ามีเพียงแพทย์เท่านั้นที่สามารถวินิจฉัยโรคซึมเศร้าได้ ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า แพทย์จะตรวจและทดสอบเพื่อแยกภาวะอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน เช่น ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกในสมอง ปัญหาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือภาวะวิตามินพร่อง ซึ่งการทดสอบดังกล่าวจำเป็นต้องตรวจร่างกายและตรวจเลือด รวมถึงการพูดคุยเรื่องยา วิตามิน หรืออาหารเสริมทั้งหมดที่คุณใช้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการที่เหมือนโรคซึมเศร้าได้ แพทย์ยังจำเป็นต้องถามคำถามเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของคุณ โดยคุณอาจต้องตอบแบบสอบถาม

อ้างอิงจาก สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) คุณจำเป็นต้องมีอาการที่เข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยจึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า คุณจำเป็นต้องมีอย่างน้อย 5 อาการจาก 9 ข้อดังต่อไปนี้ เป็นเวลานานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และอาการต่อไปนี้ต้องส่งผลต่อการทำงานหรือชีวิตประจำวันของคุณ

  • รู้สึกเศร้าหรือมีอารมณ์เศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน
  • สูญเสียความสนใจหรือความรู้สึกสนุกกับสิ่งที่เคยรู้สึกสนใจหรือสนุก
  • น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่มีสาเหตุอธิบาย
  • นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป
  • อ่อนเพลียหรือรู้สึกหมดพลังงาน
  • กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้า ทั้งการเคลื่อนไหว คำพูด ความคิด
  • รู้สึกไร้ค่าและรู้สึกผิด
  • มีปัญหาด้านการคิด การใช้สมาธิ และการตัดสินใจ
  • มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตาย

ภาวะซึมเศร้าในรูปแบบอื่น ๆ ยังมีเกณฑ์การวินิจฉัยที่แตกต่างกันออกไป

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างถูกต้อง

1. การรักษาโดยการใช้ยา

สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการใช้ยานั้น จะมียาหลากหลายชนิดด้วยกันที่เลือกใช้รักษา ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดที่ทำให้ง่วงและไม่ทำให้ง่วง สำหรับยาที่ใช้ในการแก้โรคซึมเศร้าจะไม่ทำให้เกิดการเสพติดแต่อย่างใด นั่นแสดงว่าผู้ป่วยสามารถหยุดรับประทานยาได้เมื่ออาการเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ในส่วนของยาแก้โรคซึมเศร้านั้นไม่ได้ออกฤทธิ์เพียงเพื่อช่วยลดความกังวลเท่านั้น แต่มันจะทำให้อารมณ์ของคุณหายจากอาการเศร้าได้จริงๆ ทั้งนี้ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องทานยาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะสามารถเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงหรือมีอารมณ์ที่แจ่มใสขึ้น และสำหรับการใช้ยานั้นมักจะต้องใช้เวลานานถึง 4-6 สัปดาห์ยาจึงจะออกฤทธิ์และแสดงผลลัพธ์ได้อย่างเต็มที่

ยารักษาภาวะซึมเศร้า (Depression Medications)

ตามอ้างอิงของ The National Alliance on Mental Illness (NAMI)

1. SSRIs (Selective serotonin reuptake)

เป็นยาลดอาการซึมเศร้า(antidepressants)ที่แพทย์นิยมใช้มากที่สุด ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาภาวะซึมเศร้า(Depression)โดยทำให้มีสารสื่อประสาท serotonin ในสมองมากขึ้น

SSRIs ที่ใช้กันมากที่สุด คือ

  • Prozac (fluoxetine)
  • Zoloft (sertraline)
  • Lexapro (escitalopram)
  • Paxil (paroxetine)
  • Celexa (citalopram)

ผลข้างเคียงที่พบโดยทั่วไปของ SSRIs ได้แก่

  • ความผิดปกติทางเพศ
  • ปัญหาทางเดินอาหารเช่นคลื่นไส้ท้องผูกและท้องร่วง
  • ปากแห้ง
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดหัว
  • ความวิตกกังวลหรือความกระวนกระวายใจ
  • น้ำหนักมากขึ้น
  • เหงื่อออก

2. Serotonin and Norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)

เป็นกลุ่มยาลดอาการซึมเศร้า(antidepressants)ที่นิยมใช้รองลงมา serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) จะยับยั้งการดูดซึมกลับของ serotonin และ norepinephrine ทำให้มีปริมาณสารสองตัวนี้มากขึ้นในสมอง

ตัวอย่างยากลุ่มSNRIs เช่น:

  • Effexor (venlafaxine)
  • Pristiq (desvenlafaxine)
  • Cymbalta (duloxetine)
  • Fetzima (levomilnacipran)
  • Savella (milnacipran) เป็น SNRI แต่ใช้เพื่อรักษา อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง(fibromyalgia) แทนภาวะซึมเศร้า(Depression)

ยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคล้ายคลึงกับยา SSRIs รวมทั้งความเมื่อยล้าและอาการปัสสาวะขัด

3. Norepinephrine-dopamine reuptake inhibitor (NDRI)

ยานี้จะยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาท(neurotransmitter)สองตัวคือdopamine และ norepinephrine ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ คือ Wellbutrin (bupropion) Wellbutrin มีผลข้างเคียงที่คล้ายคลึงกับยา SSRIs และ SNRIs แต่จะทำให้เกิดความผิดปกติทางเพศน้อยกว่า แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการชัก

4. Tricyclics

Tricyclic antidepressants (tricyclics หรือ TCAs) เป็นยาที่ใช้กันมานานทำงานโดยการยับยั้งการดูดซึมกลับของ serotonin และ norepinephrine โดยกลไกที่แตกต่างจาก SNRIs ยากลุ่มนี้มีการใช้น้อยลงเพราะก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากและร้ายแรง จะใช้ยากลุ่มนี้เมื่อใช้ยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล

ตัวอย่างของสาร tricyclics ได้แก่ :

  • Elavil (amitriptyline)
  • Norpramin (desipramine)
  • Sinequan (doxepin)
  • Tofranil (imipramine)
  • Pamelor (nortriptyline)
  • Avantyl (nortriptyline)
  • Vivactil (protriptyline)

ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงบางอย่างของสาร tricyclics ได้แก่ :

5. MAOIs

monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) สามารถยับยั้งเอนไซม์ monoamine oxidase ซึ่งหยุดการทำงานของสารสื่อประสาทต่างๆรวมถึง serotonin และ norepinephrine ในสมอง

ตัวอย่างของ MAOIs ได้แก่ :

  • Nardil (phenelzine)
  • Marplan (isocarboxazid)
  • Parnate (tranylcypromine sulfate)
  • Emsam (selegiline) เป็นยาที่พัฒนาล่าสุด ชนิดแผ่นแปะ ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายา MAOI อื่น ๆ

เช่นเดียวกับยากลุ่ม tricyclics  ยากลุ่มMAOIs มีการใช้น้อยลงเนื่องจากผลข้างเคียงและปฏิกิริยากับสารอื่นค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่นถ้าคุณกินอาหารที่มีสารประกอบ tyramineจำนวนมาก(พบในชีส ผักดอง และไวน์แดง) พร้อมกับยากลุ่ม MAOI จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นอาจเกิดความดันโลหิตสูงรุนแรงที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตีบ(stroke)

อาจพบความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงหากคุณใช้ยากลุ่ม MAOI ร่วมกับยาเหล่านี้:

  • ยาคุมกำเนิด
  • ยาแก้ปวดบางชนิด
  • ยารักษาภูมิแพ้และหวัด
  • สมุนไพรบางชนิด

การใช้ MAOI ร่วมกับ SSRI อาจทำให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่น serotonin syndrome

***เพิ่มเติม : Serotonin syndrome เกิดจากการงานของระบบ serotonin ในระบบประสาทส่วนกลางทำงานมากผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดอาการผิดปกติทั้ง mental status, ระบบ neuromuscular, ระบบ autonomic ที่ทำงานผิดปกติไป***

6. ยาอื่น ๆ

ยาอื่น ๆ ที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มข้างต้นที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้า(Depression) ได้แก่

  • Trazadone
  • Nefazodone
  • Remeron (mirtazapine)
  • Abilify (aripiprazole)
  • Seroquel (quetiapine
  • Viibryd (vilazodone)
  • Brintellix (vortioxetine)

2. การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยานั้นทำได้ด้วยการเปลี่ยนความคิดเพื่อพิชิตความเศร้า และรวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น นั่นก็คือ ผู้ป่วยที่มีอารมณ์เศร้ามักจะมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งก็เป็นวัฏจักรที่จะทำให้ภาวะซึมเศร้านั้นอยู่กับตัวผู้ป่วยนาน ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเกิดอารมณ์เศร้าจึงควรบอกและค่อยๆ พูดกับผู้ป่วยให้หยุดเศร้าสักประเดี๋ยว แล้วให้ย้อนกลับไปคิดว่าเมื่อสักครู่เกิดอะไรขึ้น เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้นแน่นอนว่าจะมีความคิดอะไรบางอย่างแว็บเข้ามาในสมอง จากนั้นให้ลองพิจารณาดูว่าความคิดนั้นถูกต้องแค่ไหน หากคิดว่าไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ อารมณ์จะดีขึ้นทันที อย่างน้อยก็จะทำให้ผู้ป่วยมองโลกในแง่ดีจนกว่าจะเผลอไปคิดในแง่ร้ายอีกครั้ง

1. จิตบำบัดสำหรับโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้านั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายๆปัจจัยมารวมกัน การใช้จิตบำบัดหรือการบำบัดด้วยการพูดคุยถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับปัจจัยด้านจิตใจ พฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และปัจจัยภาวะแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า และการใช้จิตบำบัดนี้ยังช่วยแยกแยะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ด้วย โดยโรคซึมเศร้าต่างรูปแบบกันก็มีเป้าหมายการรักษาที่ต่างกันและมีวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยต่างกัน เช่น

  • หาปัญหาชีวิตต่างๆที่ส่งผลต่อโรคซึมเศร้าหรือทำให้โรคซึมเศร้าแย่ลง
  • หาความคิดหรือความเชื่อในทางลบหรือผิดจากความเป็นจริงที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่ซึมเศร้า เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง และความรู้สึกที่หมดหนทาง
  • สร้างความสามารถที่จะรับมือกับความเครียดและแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
  • หาความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่จะพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน
  • สร้างเป้าหมายชีวิตที่เป็นไปได้และวางแผนการดูแลตนเอง
  • สร้างความพึงพอใจและการควบคุมวิถีชีวิต
  • เข้าใจเหตุการณ์ที่เจ็บปวดในอดีต

จิตบำบัดสองรูปแบบที่ใช้มากที่สุดคือพฤติกรรมและปัญญาบำบัด(cognitive behavioral therapy)หรือซีบีที(CBT) และปฏิสัมพันธ์บำบัด(interpersonal therapy) โดยพฤติกรรมปัญญาบำบัดนั้นพยายามที่จะช่วยให้ผู้ที่ซึมเศร้าค้นพบความคิดและความเชื่อในทางลบหรือไม่ดีต่อสุขภาพและเปลี่ยนความคิดและความเชื่อเหล่านั้นเป็นในทางบวกซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดความเจ็บป่วยทางจิตใจได้หลายประเภท ผู้ที่เข้าร่วมจิตบำบัดมักจะมีการบ้านให้กลับไปทำโดยให้บันทึกความคิดด้านลบที่เกิดขึ้นกับสิ่งต่างๆ

ส่วนปฏิสัมพันธ์บำบัดจะเน้นไปที่การค้นหาความสัมพันธ์ของบุคคล แยกแยะปัญหาของความสัมพันธ์นั้น และพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ค้นพบรูปแบบทางสังคมในเชิงลบของตนเอง เช่น การแยกตัวจากสังคมและความก้าวร้าว และช่วยพัฒนาวิธีในการโต้ตอบกับคนอื่นได้ดีขึ้น

สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ(National Institute of Mental Health)ระบุว่าจิตบำบัดเพียงอย่างเดียวอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก

2. การบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้าสำหรับโรคซึมเศร้า

ถ้าจิตบำบัดและยาใช้ไม่ได้ผล จิตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยการกระตุ้นสมอง การบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้า(electroconvulsive therapy)หรืออีซีที(ECT)มีใช้มานานมากแล้วโดยใช้ครั้งแรกในปี 1940 ซึ่งการบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้านั้นจะใช้กระแสไฟฟ้าปล่อยผ่านสมองขณะที่ดมยาสลบอยู่ การรักษานี้จะทำให้ชักช่วงสั้นๆซึ่งควบคุมได้โดยส่งผลต่อเซลล์ประสาทและสารเคมีในสมอง ตามข้อมูลจากเครือข่ายความเจ็บป่วยทางจิตใจแห่งชาติ(National Alliance on Mental Illness)คนส่วนใหญ่จะต้องรักษาสี่ถึงหกครั้งก่อนจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การช็อตไฟฟ้านี้จะมีผลข้างเคียงชั่วคราวได้แก่ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ สับสน และความจำเสื่อม

3. การกระตุ้มสมองด้วยแม่เหล็กสำหรับโรคซึมเศร้า

แทนที่จะใช้กระแสไฟฟ้า การกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็ก(transcranial magnetic stimulation)หรือทีเอ็มเอส(TMS)จะใช้สนามแม่เหล็กกระตุ้นเซลล์ประสาทและช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า การรักษานี้ไม่ต้องใช้ยาดมสลบและเน้นไปที่บริเวณของสมองที่เกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ ผลข้างเคียงจากการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กนั้นได้แก่ กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก ปวดหัวหรือเวียนหัว และชัก(ถ้าเคยชักมาก่อน)

4. การกระตุ้นเส้นประสาทวากัส (vagus nerve) สำหรับโรคซึมเศร้า

สำหรับโรคซึมเศร้าเรื้อรังหรือโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้าหรือการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กนั้น การกระตุ้นเส้นประสาทวากัส(vagus nerve stimulation)หรือวีเอ็นเอส(VNS)ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง การรักษาวิธีนี้จะใช้อุปกรณ์ฝังเข้าไปเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทวากัสด้วยสัญญาณไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทไปส่วนของสมองที่ควบคุมอารมณ์และการนอนหลับตลอดทั้งวันซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สร้างจังหวะให้กับสมอง ผลข้างเคียงเฉพาะที่ของการรักษาด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทวากัสเช่นปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก(กลารกลืน ความปวด และการไอ) ปวดคอ และปัญหาการหายใจระหว่างออกกำลังกาย

5. ธรรมชาติบำบัดสำหรับโรคซึมเศร้า

มีการใช้ธรรมชาติบำบัดหลายวิธีเช่นเดียวกับการรักษาทางเลือกหรือการรักษาเสริมซึ่งอาจช่วยรักษาโรคซึมเศร้าเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น(รวมถึงการใช้ยา) การรักษาเหล่านี้ได้แก่

  • ออกกำลังกายซึ่งช่วยหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นอารมณ์
  • โยคะ การทำสมาธิ และการฝึกจิตอื่นๆช่วยลดความเครียดและบรรเทาอารมณ์เชิงลบได้
  • การยวดช่วยลดฮอร์โมนความเครียดและเพิ่มสารสื่อประสาทที่ช่วยให้อารมณ์คงที่
  • การฝังเข็มอาจส่งผลดีต่อสารสื่อประสาท

อาหารเสริมบางชนิด เช่น โฟเลต (folate)เอสเอ็มอี (SAMe) หรือเอส-อะดีโนซิล-เอล-เมทไธโอนีน (S-Adenosyl-L-Methionine) และหญ้าเซนต์จอห์นเวิร์ธ (St. John's wort) อาจช่วยรักษาโรคซึมเศร้า แต่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ผลในการรักษา

ข้อควรปฏิบัติเมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

  1. ไม่ควรตั้งเป้าหมายในการทำงานมากจนเกินไป และไม่ควรรับผิดชอบทุกอย่างจนเกินความสามารถของตัวเอง
  2. ควรแยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อย แล้วค่อยๆ เรียบเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังเพื่อลงมือแก้ไข
  3. ห้ามบังคับตัวเองหรือตั้งเป้าหมายกับตัวเองสูงเกินไป เพราะนั่นจะยิ่งเป็นการเพิ่มความกดดันและเสี่ยงต่อความล้มเหลวในภายหลัง
  4. หมั่นหากิจกรรมที่ชอบและทำให้ตัวเองรู้สึกดีมาทำบ่อยๆ เพื่อให้เกิดอารมณ์ที่เพลิดเพลินและทำให้มีชีวิตชีวาสดใส
  5. ไม่ควรตำหนิตัวเอง เมื่อไม่สามารถทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จได้ตามที่วางแผนไว้ ควรรู้จักให้อภัยตัวเองและให้โอกาสตัวเองได้เริ่มต้นใหม่

โรคซึมเศร้า หากปล่อยไปโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด นอกจากจะทำให้อาการยิ่งรุนแรงเพิ่มมากขึ้นแล้ว อาจส่งผลเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และคนรอบข้างได้ เพราะโรคซึมเศร้านั้น เป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่มีสติอยู่กับตัว ลงมือทำอะไรลงไปมักไม่ค่อยมีสติ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียใดๆ จึงควรให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นการดีที่สุด

ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าควรรับประทานวิตามินเพื่อช่วยภาวะซึมเศร้าหรือเปล่า? คำตอบก็คือ สำหรับในผู้ป่วยบางคนแล้วการรับประทานวิตามินเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากมีการขาดวิตามินหลายชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ และเมื่อคุณมีอาการของโรคซึมเศร้า ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์หรือนักจิตบำบัดก่อนเริ่มรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมใดๆ  

โดยในบทความนี้เราจะมายกตัวอย่างวิตามินที่เมื่อขาดแล้วจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้ากัน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกไว้เสมอว่าอาหารคือแหล่งวิตามินที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงวิตามินเหล่านี้ด้วย ดังนั้นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะทำให้คุณได้รับวิตามินที่จำเป็นเหล่านี้ในปริมาณที่มากพอ

วิตามินบีรวม

วิตามินบีรวม เป็นวิตามินที่จำเป็นต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ วิตามินชนิดนี้สามารถละลายในน้ำและไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกายได้ ดังนั้นร่างกายจึงต้องการวิตามินบีเพิ่มในแต่ละวัน วิตามินบีอาจลดลงจากการดื่มแอลกอฮอล์ น้ำตาล นิโคติน หรือคาเฟอีน ซึ่งหมายความว่าหากคุณกำลังรับประทานอาหารพวกนี้ในปริมาณมากก็จะทำให้คุณอาจขาดวิตามินบีได้

ความสัมพันธ์ระหว่างวิตามินบีรวมและโรคซึมเศร้า

วิตามิน B1 (Thiamine): สมองใช้วิตามินตัวนี้ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดมาเป็นพลังงาน ดังนั้นหากไม่มีวิตามินตัวนี้ จะทำให้สมองไม่มีพลังงาน การขาด Thiamine นี้ พบได้ไม่บ่อยแต่อาจเกิดร่วมกับการติดแอลกอฮอล์ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตหรือประสาทได้

วิตามิน B3 (Niacin): การขาด niacin จะทำให้เกิดโรคหนังกระ (Pellagra) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการทางจิตและความจำเสื่อม อาหารที่ขายอยู่ในปัจจุบันมักมี Niacin ทำให้โรคนี้พบได้น้อยมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการขาดวิตามินชนิดนี้แบบไม่มีอาการก็อาจจะทำให้เกิดอาการกระวนกระวายและวิตกกังวล รวมถึงการทำงานของสมองและร่างกายที่ช้าลงได้

วิตามิน B5 (Pantothenic acid): การขาดวิตามินตัวนี้พบได้น้อย แต่อาจมำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและซึมเศร้าได้

วิตามิน B6 (pyridoxine): วิตามินตัวนี้ช่วยในการสร้างกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะ Serotonin, Melatonin และ Dopamine การขาดวิตามินนี้พบได้น้อย แต่อาจทำให้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีแผลที่ผิวหนังและสับสนได้ กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินชนิดนี้คือกลุ่มที่ติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยโรคไตวาย และผู้หญิงที่กำลังรับประทานยาคุมกำเนิด และการใช้ยาในกลุ่ม MAOIs ก็จะทำให้ร่างกายมีการวิตามินชนิดนี้น้อยลงเช่นกัน มีแพทย์หลายคนเชื่อว่าร่างกายได้รับวิตามินชนิดนี้จากอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

วิตามิน B12: เนื่องจากวิตามินตัวนี้สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง การขาดจึงทำให้เกิดภาวะซีดร่วมกับอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิต การจะขาดวิตามินตัวนี้ได้ จะต้องมีการขาดอย่างเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายสามารถเก็บวิตามินตัวนี้ได้ไว้ที่ตับได้นานถึง 3-5 ปี และมักเกิดจากการขาด Intrinsic factor ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ดูดซึมวิตามิน B12 จากทางเดินอาหาร ภาวะนี้เรียกว่า Pernicious anemia และเนื่องจากว่า Intrinsic factor นี้จะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน B12 เพิ่มขึ้น

กรดโฟลิค (Folic acid): วิตามินชนิดนี้จำเป็นต่อการสร้างสาย DNA และจำเป็นต่อการสร้างสาร SAM (S-Adenosyl Methionine) การรับประทานอาหารได้น้อย อาการเจ็บป่วย การติดแอลกอฮล์และยาหลายชนิดทำให้เกิดการขาดวิตามินตัวนี้ได้ และมักจะแนะนำให้รับประทานวิตามินชนิดนี้เสริมในหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติทางระบบประสาทของทารก

วิตามิน C

การขาดวิตามินแบบที่ไม่เกิดอาการอาจทำให้มีอาการซึมเศร้า ซึ่งต้องรับประทานวิตามินเสริมเพื่อช่วยลดอาการ การเสริมวิตามินนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นหากคุณกำลังเข้ารับการผ่าตัด หรือเป็นโรคที่กำลังมีการอักเสบ นอกจากนั้น ความเครียด การตั้งครรภ์ และการให้นมบุตร ก็ยังเป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายต้องการวิตามิน C เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยาแอสไพริน Tetracycline และยาคุมกำเนิดจะทำให้ระดับวิตามินซีในร่างกายลดลง

แร่ธาตุ

การขาดวิตามินบางชนิดอาจเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าและโรคทางกายได้ เช่น แมกนีเซียมแคลเซียม ซิงค์ เหล็ก แมงกานีส และโพแทสเซียม

คำถามจากผู้ป่วยท่านอื่นเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายสนิทมั้ยคะ

คำตอบ: ซึมเศร้าสามารถหายได้ค่ะ..แต่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาและบำบัดอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดยา เฝ้าระวังเมื่อมีอาการกำเริบ และต้องไปพบจิตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

ดิฉันจะช่วยคุณแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร เมื่อท่านคอยแต่ปฏิเสธความช่วยเหลือ

คำตอบ: คุณแม่ได้ทานยาต่อเนื่องมั้ยคะ..โรคซึมเศร้าหากขาดยา/ทานยาไม่สม่ำเสมอจะทำให้โรคกำเริบ จนทำให้ผู้ป่วยมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองได้นะคะ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ พาคุณแม่ไปพบจิตแพทย์ ให้ท่านทานยาให้ครบตามหมอสั่ง หลังจากทานยาไปแล้วประมาณ2อาทิตย์อาการจะค่อยๆดีขึ้น และควรเฝ้าระวังความเสี่ยงที่คุณแม่อาจจะทำร้ายตัวเอง/ฆ่าตัวตายได้ เช่น ไม่ควรปล่อยให้อยู่คนเดียว จัดเก็บของใช้ในบ้านที่อาจมีความเสี่ยงให้อยู่ในที่มิดชิด เช่น เชือก ผ้า ยาล้างห้องน้ำ ของมีคม อาวุธต่างๆ และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

เป็นภาวะซึมเศร้านะคะ รักษามาได้ประมาณ 3 เดือนแล้วค่ะ ได้รับยา sertraline และ clonazepam มาทานค่ะ แต่การนอนยังนอนได้ประมาณ4-5 ชั่วโมงเองค่ะ ปรึกษาหมอแล้ว คุณหมอก็ไม่ได้เปบี่ยนตัวยาให้ค่ะ ควรทำอย่างไรคะ

คำตอบ: อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเรื่องการบำบัดผ่อนคลาย (relaxation therapy) และ/หรือการบำบัดโดยการประมวลความคิด (cognitive therapy)ร่วมด้วยกับการให้ยาค่ะ นอกจากนี้แล้ว ควรนอนให้เป็นเวลา ไม่ทานคาเฟอีน ออกกำลังกายเป็นประจำ อยู่ในห้องนอนที่มืดไม่มีเสียงรบกวนค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

อาการของโรคซึมเศร้าข้างต้นเริ่มแบบไหน

คำตอบ: วิธีสังเกตอาการของโรคซึมเศร้าค่ะ มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 5 อย่าง หรือมากกว่า ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 1). อารมณ์เศร้าตลอดทั้งวัน เด็กหรือวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย 2). หมดความสนใจ หรือความสุขในกิจกรรมต่างๆ 3). เบื่ออาหารและน้ำหนักลด 4). นอนไม่หลับหรือนอนมากเกือบทั้งวัน 5). ความคิดและการเคลื่อนไหวเชื่องช้าหรือพลุ่งพล่านกระวนกระวาย 6). เหนื่อย / อ่อนเพลียง่ายหรือไม่มีแรง 7). รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากผิดปกติ 8). ไม่มีสมาธิหรือมีความลังเลใจ 9). มีความคิดอยากตาย คิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย หรืออาจใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าแบบ 2 คำถาม 1.ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมถึงวันนี้ ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวังหรือไม่ 2.ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมถึงวันนี้ ท่านรู้สึก เบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลินหรือไม่ ถ้าคำตอบ “ไม่มี” ทั้ง 2 คำถาม ถือว่าปกติ ไม่เป็นโรคซึมเศร้า ถ้าคำตอบ “มี” ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้อ (มีอาการใด ๆ ในคำถามที่ 1 และ 2) หมายถึง เป็นผู้มีความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ให้แจ้งผลและแนะนำให้พบบุคลากรทางด้านสาธารณสุข หรือแพทย์ - ตอบโดย Danuchar Chaichuen (พว.)

คำตอบ 2: อาการของโรคซึมเศร้าขั้นแรกให้สังเกตุอาการดูนะคะว่า ช่วง2สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณมีอาการเหล่านี้มากแค่ไหน1. ตื่นเช้ามารู้สึกเบื่อหน่ายขี้เกียจไม่อยากจะทำอะไรเลย 2.รู้สึกไม่สบายใจ ท้อแท้ หดหู่อยากร้องไห้ 3. หลับยาก หลับมากผิดปกติ (ปกติจะหลับ6-8 ชม/วัน)หรือหลับน้อยหลับๆตื่นๆ 4. เหนื่อยง่ายไม่มีแรงเพลียๆ 5. เบื่ออาหารหรือทานได้เยอะเกินปกติ 6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเองรู้สึกผิด โทษตัวเอง 7. ขาดสมาธิเหม่อลอยดูทีวีไม่รู้เรื่องขาความตั้งใจต่องานต่างๆที่ทำ 8.พูดช้าลง ทำกิจกรรมต่างๆได้ช้าลงหรือกระสับกระส่ายไม่สามารถอยู่นิ่งได้ 9. มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง คิดว่าถ้าตายไปคงจะดีกว่ามีชีวิตอยู่ หากมีอาการเหล่านี้เกือบทุกวัน(มากกว่า7 วันขึ้นไป) แนะนำให้พบจิตแพทย์นะคะเพื่อทำการประเมินและวินิจฉัยอย่างแม่นยำและรับการรักษาได้อย่างถูกวิธี..ปล.ภาวะซึมเศร้าเกิดจากการทำงานของสารสื่อนำประสาทไม่สมดุล การรักษาจะมียาให้รับประทานเพื่อปรับสารสื่อประสาทให้สมดุล และเมื่ออาการดีขึ้นอาจรักษาด้วยการทำจิตบำบัดค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

รู้สึกซึมเศร้าและปวดหัวหลังจากกินยาคุมไปได้2อาทิตย์ค่ะ เกี่ยวกันมั้ยคะ แล้วจะเป็นผลข้างเคียงหรือเปล่า

คำตอบ: เกี่ยวกันได้คะ เพราะสองอาการนี้เป็นผลข้างเคียงของการทานยาคุม สำหรับผลข้างเคียงของเม็ดยาคุมกำเนิดมีดังนี้ค่ะ คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดหัว เป็นฝ้า เลือดออกกระปริบกระปรอย ประจำเดือนผิดปกติ ความดันสูง ซึมเศร้า กังวล หรืออาจมีอาการอื่นๆแต่พบได้น้อยเช่น ปวดประจำเดือน ปวดขา เส้นเลือดขอด อ่อนเพลีย ความรู้สึกทางเพศลดลงค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

โรคซึมเศร้ารึกษาให้หายขาดได้หรือไม่

คำตอบ: ซึมเศร้ารักษาได้ค่ะ แต่หากจะให้หายขาดคงลำบากหน่อยนะคะ เพราะสาเหตุหลักของโรคโรคซึมเศร้าคือสารเคมีในสมอง การรักษาด้วยการทานยาเป็นวิธีการช่วยปรับสารเคมีในสมองให้สมดุลค่ะ ฉะนั้นหากคุณหยุดทานยาโอกาสที่โรคจะกำเริบซ้ำก็มีค่ะ ยังไงแนะนำให้พบจิตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และ ทานยาสม่ำเสมอนะคะ หากอาการคุณดีขึ้น100% จิตแพทย์จะค่อยๆปรับลดยาให้และมีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลตัวเองให้คุณค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

โรคซึมเศร้ารักษาโดยไม่ใช้ยาได้หรือไม่

คำตอบ: การทำจิตบำบัดค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจิตแพทย์ต้องประเมินอาการก่อนว่ารุนแรงแค่ไหน หากรุนแรงมากและมีอาการเป็นระยะเวลานานจำเป็นต้องใช้ยาควบคู่กันไปค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)


โรคซึมเศร้า (depression) เป็นโรคที่พบอันดับต้นๆในกลุ่มโรคทางจิตเวช  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สูญเสียทรัพยากรบุคคล  เนื่องจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจสูญเสียการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ 

สาเหตุของโรคเกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองที่ควบคุมอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมและพันธุกรรมที่ผิดปกติไป นอกจากนี้โรคเรื้อรังหลายชนิดก็สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น โรคเซลล์ประสาทสมองเสื่อม มะเร็ง เป็นต้น

สารสื่อประสาทในสมองที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ คือ noradrenaline (NE), dopamine (DA) และ serotonin (5-HT) โดยสารสื่อประสาทดังกล่าวต้องทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมสภาวะอารมณ์ การลดลงของสารสื่อประสาททั้ง 3 ที่บริเวณสมองส่วนควบคุมอารมณ์ คือ สมองส่วนที่เรียกว่า hippocampus และ prefrontal cortex ส่งผลถึงการควบคุมสภาวะของอารมณ์รวมถึงสภาวะโรคซึมเศร้า

นอกจากการควบคุมสภาวะของอารมณ์แล้วในสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับความจำอีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจมีสภาวะความจำที่ผิดปกติไปด้วย

เป้าหมายที่สำคัญในการรักษาโรคซึมเศร้า คือ การหายขาดจากอาการซึ่งหมายถึงภาวะที่ไม่มีอาการผิดปกติหรือมีอาการน้อยมาก  รวมถึงการที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แต่มีผู้ป่วยเพียงประมาณร้อยละ 30-35 เท่านั้นที่มาถึงจุดนี้ได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในครั้งแรกจึงจำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือนหรืออาจถึง 1 ปี เพื่อรักษาสมองส่วนดังกล่าวให้กลับมาเป็นปกติได้อย่างเต็มที่และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ 

ยาที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้าทุกตัวมีกลไกเพิ่มสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องให้มากพอที่จะทำให้เกิดผลทางชีวภาพ ปรับสมดุลของสภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติไป ยารักษาอาการซึมเศร้ารุ่นแรก ได้แก่

1. ยากลุ่ม monoamine oxidase inhibitors, MAOIs

เป็นยาที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ monoamine oxidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้าง amine ให้เป็นสารไม่ออกฤทธิ์ เมื่อเกิดการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าวทำให้สารสื่อประสาทมีปริมาณมากพอที่จะออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นผลดีในการรักษาอาการซึมเศร้า

2. ยากลุ่ม tricyclic antidepressants, TCAs

เป็นยารักษาอาการซึมเศร้ารุ่นแรก แต่ยังคงมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ทางสารสื่อประสาท norepinephrine. และ serotonin โดยลักษณะโครงสร้างทางเคมีของยากลุ่ม TCAs แบ่งเป็น

  • ชนิด tertiary amine ได้แก่ ตัวยา amitriptyline ,imipramine, clomipramine, doxepin และ trimipramine
  • ชนิด secondary amine ได้แก่ตัวยา nortriptyline, desipramine  และ nortriptyline

ยาในกลุ่ม TCAs ออกฤทธิ์ยับยั้งการเก็บกลับสารสื่อประสาท norepinephrine และ serotonin เข้าสู่เซลล์ประสาท ทำให้สารสื่อประสาทออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับในสมองได้มากขึ้น

ต่อมายารักษาการซึมเศร้ารุ่นใหม่ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า ประกอบด้วยยาหลายกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มตามการออกฤทธิ์ของยาต่อสารสื่อประสาทแต่ละชนิด ได้แก่

3. ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors, SSRIs

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ผ่านการยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาท serotonin เป็นหลัก และมีผลเล็กน้อยต่อการยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาท norepinephrine หรือ dopamine ได้แก่ ยา fluoxetine, sertraline, paroxetine, citalopram, escitalopram, fluvoxamine, vortioxetine โดยยาแต่ละตัว มีผลข้างเคียงของยาแตกต่างกัน การดูดซึมของยาการกระจายตัวของยาในร่างกายแตกต่างกัน ทำให้ผู้ป่วยแต่ละรายมีการตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

4. ยากลุ่ม selective serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors, SNRIs

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยยับยั้ง การเก็บกลับทั้งสารสื่อประสาท serotonin และ norepinephrine ตัวยาในกลุ่มนี้ได้แก่ venlafaxine, duloxetine, desvenlafaxine, milnacipran ผู้ป่วยสามารถทนต่อยา กลุ่มนี้ ได้ดีกว่ายารุ่นแรก ยากลุ่มนี้เป็นยาตัวเลือกลำดับถัดมาสำหรับการรักษาโรคซึมเศร้า

5. ยากลุ่ม noradrenergic dopaminergic reuptake inhibitors, NDRIs

ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาในการรักษาโรคซึมเศร้า ยากลุ่มนี้ถือเป็นยาเสริมที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวในกลุ่มคือ bupropion ตัวยามีผลเพิ่มระดับสารสื่อประสาท norepinephrine และ dopamine อาจเป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการเฉยชาหรืออ่อนเพลีย

6. ยากลุ่ม noradrenergic reuptake inhibitors, NaRI

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ ยับยั้งการเก็บกลับสื่อประสาท noradrenaline ตัวยาในกลุ่มนี้ได้แก่  reboxetine และ atomoxetine  เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพยากลุ่มนี้ พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าน้อยกว่ายากลุ่ม SSRIs

7. ยากลุ่ม noradrenergic and specific serotonergic antagonist, NaSSA

ยาในกลุ่มนี้มีกลไกการออกฤทธิ์ ที่ค่อนข้างแตกต่างจากยาอื่นที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ยากลุ่มนี้สามารถใช้เป็นยาช่วยให้นอนหลับได้ โดยไม่รบกวนคุณภาพของการนอนหลับได้ แต่อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้จากกลไกการออกฤทธิ์ของยา ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ mirtazapine, mianserin

8. ยากลุ่ม serotonin antagonist/receptor inhibitor, SARI

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการเก็บของสารสื่อประสาท serotonin เหมือนยากลุ่ม SSRI แล้วยังมีคุณสมบัติปิดกั้นตัวรับบางชนิด ทำให้เกิดคุณสมบัติที่แตกต่าง จากยากลุ่ม SSRI ทำให้เกิดอาการง่วง ช่วยนอนหลับ โดยไม่ลดคุณภาพของการนอน จึงเป็นยาที่แนะนำให้ใช้ ในผู้ป่วยนอนไม่หลับ ตัวอย่างยาในกลุ่มได้แก่ Trazodone

นอกจากนี้ยังมี ยากลุ่ม melatonergics ซึ่งได้รับการยอมรับให้ใช้รักษาโรคซึมเศร้า ประเทศในยุโรป โดยยาออกฤทธิ์เลียนแบบสารเมลาโทนินในร่างกายจึงมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ

แนวทางการเลือกใช้ยารักษาอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจำเป็นต้องพิจารณา ข้อมูลด้านต่างๆ เช่นความปลอดภัยของยาโอกาสที่ยาจะทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆที่ผู้ป่วยได้รับ หรือผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของยาจากหลักฐานทางวิชาการ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วย และ ขนาดยาและวิธีการบริหารยา ควรง่ายและสะดวกในการใช้ยา นอกจากนี้ยังต้องติดตามประเมินอาการซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องร่วมกับใช้วิธีการรักษาอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลผู้ป่วย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.honestdocs.co/most-common-psychiatric-disorders

จี๋ กวางน้อย




Create Date : 16 ธันวาคม 2561
Last Update : 16 ธันวาคม 2561 20:04:55 น. 0 comments
Counter : 970 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 4154448
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




บอกความจริง

space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4154448's blog to your web]
space
space
space
space
space