1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30
อาการเหนื่อยคืออะไร
การหาสาเหตุอาการเหนื่อยง่าย : โรคหรือไม่ใช่โรค อาการหอบเหนื่อย เป็นอาการที่พบบ่อยอาการหนึ่ง พวกเราทุกคน คงเคยมีอาการนี้มาก่อน เช่น หลังออกกำลัง แต่อาการเหนื่อยแบบนั้น ถือว่าเป็นอาการเหนื่อยตามปกติ แม้ว่าบางคน อาจมีอาการเหนื่อยมาก ในขณะที่บางคน อาจเหนื่อยน้อยกว่า เมื่อออกกำลังในขนาดเดียวกันก็ตาม อาการเหนื่อยง่ายเรา หมายถึง เมื่อเราออกกำลังแล้วเหนื่อย ในขณะที่คนปกติอื่นๆ ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ทำได้สบายโดยไม่มีอาการอะไร ดังนั้นพูดง่ายๆ คือ คนอื่นๆ เขาทำได้สบายไม่เหนื่อย แต่เราทำบ้างกลับมีอาการเหนื่อย อาการเหนื่อยคืออะไร คนเราปกติต้องหายใจ เราหายใจเข้า เพื่อนำเอาออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ในอากาศไปให้ร่างกายใช้ และหายใจออก เพื่อนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสีย ที่สร้างขึ้นในร่างกายออกไป การหายใจควบคุม โดยศูนย์ควบคุมการหายใจ ในสมอง ซึ่งจะควบคุม ให้ปริมาณการหายใจ เป็นสัดส่วน กับความต้องการของออกซิเจน ในร่างกาย โดยที่ตัวเราเอง ไม่ต้องรับรู้ (Involuntary Breathing) เมื่อร่างกายเรา ต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น ศูนย์ควบคุมการหายใจ ก็จะกระตุ้น ให้เราหายใจเพิ่มขึ้นตาม เมื่อเราต้องการออกซิเจนน้อยลง ศูนย์ควบคุมการหายใจ ก็จะสั่งให้เราหายใจน้อยลง โดยเราไม่รู้สึกตัวว่า หายใจมาก หรือหายใจน้อย แต่ตัวเราเอง ก็สามารถควบคุมการหายใจได้เช่นกัน เช่น ถ้าต้องการ จะกลั้นหยุดหายใจ หรือจะหายใจเร็ว ก็สามารถทำได้ (Voluntary Breathing) การหายใจ ต้องใช้พลังงาน โดยมีกล้ามเนื้อ ช่วยการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครง ของทรวงอก และกระบังลมหดตัว ทำให้ทรวงอกเรา เคลื่อนไหวเป็นตัวสำคัญ รูปที่ 1 เป็นรูปวาด รูปซ้ายแสดงขณะหายใจเข้า กล้ามเนื้อกระบังลม จะหดตัว ทำให้ตำแหน่งของกระบังลม ลดต่ำลง ขณะเดียวกัน กล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครง ของทรวงอก จะหดตัว ดึงให้กระดูกซี่โครง เคลื่อนมาอยู่ในระดับขนานกับพื้น ผลทำให้ปริมาตร ในทรวงอกเพิ่มขึ้น ทั้งในแกนทางแนวตั้ง และแนวราบ รูปขวา แสดงขณะหายใจออก กล้ามเนื้อกระบังลม และกล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงของทรวงอก จะหย่อนตัวกลับสู่สภาพเดิม รูปที่ 2 เป็นรูปที่ได้จาก ผลการทดลองทางการแพทย์ ขณะที่หายใจเข้า ความดันในทรวงอก หรือในช่องเยื่อหุ้มปอดลดลง (กราฟรูปกลาง) จะดึงให้ปอดขยายตัว ผลทำให้ ความดันในถุงลม และหลอดลม ต่ำกว่าความดันในอากาศ (กราฟรูปบน) อากาศจากภายนอก จะไหลเข้าสู่ปอด จนความดันในถุงลม เท่ากับความดันของอากาศภายนอก จึงหยุดคือ หยุดหายใจเข้า แล้วเริ่มหายใจออก (กราฟรูปล่าง) รูปที่ 3 รูปซ้ายแสดงว่า ขณะหายใจเข้าปอด จะขยายตัวออก และอากาศไหลเข้าสู่ปอด รูปขวา ขณะหายใจออก ปอดหดตัว ลงบีบไล่ให้อากาศไหลออกไป การหายใจเกิดจาก การทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยการหายใจคือ กระบังลม และกล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงของทรวงอก ซึ่งต้องใช้พลังงาน ที่เรียกว่า การทำงานเพื่อการหายใจ (Work of Breathing) เมื่อการทำงานนี้ เพิ่มขึ้นถึงขั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเพราะเรา ต้องหายใจมากขึ้น ตามความต้องการออกซิเจน ของร่างการเพิ่มขึ้นก็ตาม จะมีการกระตุ้น ให้เรารู้สึกว่า เราต้องหายใจ แและออกแรงหายใจ เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ความรู้สึกนี้ก็คือ ความรู้สึก ของการเริ่มมีอาการเหนื่อย ซึ่งจะมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรายังคงออกกำลังต่อไปอีก และเราจะต้องรักษาระดับ การออกแรงหายใจเพิ่มขึ้นตาม จนถึงขั้นหนึ่ง ที่เราทนไม่ได้ ที่จะรักษาการหายใจ ให้อยู่ในระดับที่กล่าวมาแล้วต่อไปได้อีก เนื่องจากกล้ามเนื้อช่วยการหายใจ เกิดอาการล้า ทำงานต่อไม่ไหว ต้องหยุดออกกำลัง แต่ถ้าเรายังฝืนออกกำลังต่อไปอีก อาจทำให้เราหายใจได้ไม่เพียงพอ จนถึงเกิดภาวะที่ทางการแพทย์เรียกว่า เกิดการภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory Failure) ได้ ซึ่งถ้าช่วยไม่ทัน หรือไม่ถูกวิธีอาจมีอันตรายถึงตายได้ กล้ามเนื้อการหายใจ ต้องออกแรงมากขึ้น ถ้าเรามีเนื้อปอดแข็ง ไม่ยืดหยุ่นได้ตามปกต หรือมีหลอดลมตีบก็ตาม จะทำให้เกิดอาการล้าเร็วขึ้น เมื่อออกกำลัง ทำให้ออกกำลังได้น้อยกว่าคือ เหนื่อยเร็วกว่าคนปกติ แต่บางคราวการออกกำลังนั้น ถูกจำกัดโดยการล้าของกล้ามเนื้ออื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อแขนและขา เป็นต้น ไม่เกี่ยวกับการหายใจ รูปที่ 3 สาเหตุของอาการเหนื่อย สาเหตุของอาการเหนื่อยอาจเป็นจากโรค หรือไม่ใช่จากโรคก็ได้ และแบ่งเป็นเหนื่อยอย่างปัจจุบัน คือ เพิ่งเป็นมา 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังคือ เป็นมานานแล้ว สาเหตุจากโรค โรคปอด โรคหัวใจ โรคอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการเหนื่อยอย่างปัจจุบัน จากอุบัติเหตุเกิดบาดเจ็บที่ทรวงอก เพราะอาจมีอันตรายถึงปอดและหัวใจ โรคอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการเหนื่อยเรื้อรัง โรคสมองและประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Disease) เช่น หลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ (Muscular atrophy or Dystrophy) และ Myasthenia Gravis เป็นต้น จมูกอักเสบเรื้อรัง โรคโลหิตจาง โรคคอพอกเป็นพิษ ต่อมธัยรอยด์ทำงานเกินขนาด (Thyrotoxicosis or Hyperthyroidism) ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism) การพิการของกระดูกทรวงอกจำกัดการเคลื่อนไหวของทรวงอก ทำให้การหายใจลำบากขึ้น ออกแรงมากขึ้น กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับ (Gastroesophageal Reflux) และท้องอืด โรคไตเรื้อรัง โรคตับในระยะรุนแรง สาเหตุไม่ใช่จากโรค ไม่ใคร่ได้ออกกำลัง (Physically Unfit) ขณะกำลังรื้อฟื้นจากไข้ พักผ่อนไม่พอ เครียด กังวล ท้อใจ (เหนื่อยใจ) ประสบการณ์เท่าที่พบ ในการเป็นแพทย์มานาน ผู้ป่วยที่มาหา ด้วยเหนื่อยง่าย สาเหตุมักไม่ใช่เป็นจากโรค (เกินครึ่ง) แต่ก็มีโรคเป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อย ซึ่งถ้าไม่รักษา หรือรักษาช้าไป อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือต้องพิการมีอาการเหนื่อยไปตลอดชีวิตก็ได้ ความรุนแรงของอาการเหนื่อย แพทย์มักจะถามถึงความรุนแรง ของอาการเหนื่อย ว่ามีมากน้อยเพียงไร โดยดูความสามารถ ในการออกกำลัง เพื่อประเมินดูสมรรถภาพผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค ที่ใช้กันทั่วไปแบบง่ายๆ คือ ใช้ Word Scale (Modified Medical Research Council Scale) โดยแบ่งเป็น Grade 0 ถึง 4 Grade 0 ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ยกเว้นไปออกกำลังอย่างหนัก Grade 1 มีอาการเหนื่อยเมื่อเดินเร็วๆ บนทางราบ หรือ เดินขึ้นเขา Grade 2 ต้องเดินบนทางราบได้ช้ากว่าคนปกติที่มีอายุขนาดเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงเกิดอาการหอบเหนื่อย หรือต้องหยุดพักเพื่อหายใจเมื่อเดินบนทางราบได้ระยะหนึ่ง Grade 3 ต้องหยุดพักหายใจเพราะเหนื่อยเมื่อเดินได้ประมาณ 100 หลา หรือในราว 2-3 นาที Grade 4 มีอาการเหนื่อยเมื่อต้องออกจากบ้าน หรือเหนื่อยเมื่อสวมหรือถอดเสื้อผ้าออกเอง หรืออาจใช้การแบ่งของสมาคมโรคหัวใจของนครนิวยอร์ค (New York Heart Association Functional Classification) Class I ออกกำลัง (Physical Activity) ได้ไม่จำกัดเหมือนคนปกติ Class II จำกัดการออกกำลังเพียงเล็กน้อย ไม่เหนื่อย สบายดีไม่มีอาการถ้าอยู่เฉยๆ แต่ออกกำลังตามธรรมดามีอาการเหนื่อยบ้าง Class III ต้องจำกัดการออกกำลังอย่างมาก ไม่เหนื่อย สบายดีไม่มีอาการถ้าอยู่เฉยๆ ออกกำลังเล็กน้อยก็เหนื่อย Class IV ไม่สามารถออกกำลังได้โดยไม่เหนื่อย แม้แต่อยู่เฉยๆ ก็อาจจะเหนื่อย อาการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อออกกำลังเพิ่มขึ้น หน่วยกายภาพบำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพหลายแห่ง จะใช้การแบ่งที่ละเอียดกว่า ในการประเมินอาการ และติดตามผลการรักษาผู้ป่วย เช่น ใช้ Rating Scale for Dyspnea (Modified Borg Scale) เป็นต้น การตรวจหาสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อย การซักประวัติ ตรวจร่างกายที่ได้มาตราฐาน ตรวจเลือด ตรวจหน้าที่ตับ ไต ต่อมธัยรอยด์ เอกซ์เรย์ทรวงอก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจสมรรถภาพปอด จะบอกถึงสาเหต ุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย ได้เกือบหมด สาเหตุของโรคที่สำคัญ คือ โรคปอดและโรคหัวใจ โรคปอดเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด สถิติจากศูนย์ควบคุมโรค ในสหรัฐ ในปี 2543 ชาวอเมริกันประมาณ 30 ล้านคนหรือ 11.03% ของประชากร ป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรัง ในขณะเดียวกัน มีชาวอเมริกัน 22 ล้านคน หรือ 8.09% ป่วยเป็นโรคหัวใจ สำหรับในประเทศไทย ในปี 2545 สถิติจากกระทรวงสาธารณสุข ปรากฎว่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เข้ามารับการตรวจจากแพทย์ ปีละ 24.4 ล้านราย และระบบไหลเวียนของเลือด 7.2 ล้านราย อัตราตายของคนไทย จากโรคปอด ซึ่งรวมถึงปอดบวมและวัณโรค ด้วยอัตรา 31.9 ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งเป็นโรคหัวใจ จะมีอัตราตาย 27.7 จากประชากร 100,000 คน สำหรับโรคปอด ในผู้ป่วยที่อายุน้อย และหนุ่มสาว มักเป็นโรคหอบหืด ส่วนอายุมาก มักจะเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมปอดโป่งพอง การตรวจเอกซ์เรย์ปอด และตรวจสมรรถภาพปอดจะตรวจพบผู้ป่วยได้เกือบทั้งหมด แต่บางคราว แพทย์อาจต้องการการตรวจเพิ่มเติม เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน และเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับโรคหัวใจนั้น โรคที่พบบ่อยคือ โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ โรคนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยด้วย ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 25 ปีมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ 0.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย อายุ 35-44 ปีมีโอกาสเป็น 14.7 รายต่อประชากร 100,000 รายอายุ 75-84 ปีมีโอกาสเป็น 1252.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 44 ปี ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง โดยเฉพาะมีเอกซ์เรย์หัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (อี เค จี) ปกติแล้วอาจพูดได้เลยว่าโอกาสที่อาการเหนื่อยง่ายจะเป็นจากโรคหัวใจนั้นน้อยมาก แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจก็มีความจำเป็น ที่ต้องให้แพทย์ผู้ชำนาญทางโรคหัวใจตรวจหาสาเหตุที่แน่นอนและรักษาต่อ โรคทางสมองนั้นส่วนใหญ่ การตรวจร่างกายก็พอจะบอกได้ว่า เป็นโรคทางสมองหรือไม่ แต่จะเป็นชนิดไหนนั้นต้องมีการตรวจ และรักษาต่อ โดยแพทย์ผู้ชำนาญทางสมอง สำหรับโรคอื่นๆ นั้น เช่น โรคโลหิตจาง โรคของต่อมธัยรอยด์ โรคไต โรคตับ และโรคกรดไหลย้อนกลับ นั้นอาจจำเป็นต้องตรวจต่อ และรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะโรคเช่นกัน โรคคัดจมูก หรือที่รู้จักกันในนามโรคแพ้อากาศนั้นพบบ่อยในบ้านเรา โรคทำให้มีจมูกอักเสบและบวม รูจมูกตีบตัน บางคราวอาจเกิดจากดั้งจมูกคดจากอุบัติเหตุ ทำให้หายใจลำบากเวลานอนหรือเวลาออกกำลัง ต้องอ้าปากหายใจเพราะหายใจได้ง่ายกว่า แพทย์ผู้ชำนาญโรคหู คอ จมูกจะให้การดูแลโรคนี้ได้อย่างดี การตรวจหาสาเหตุของอาการเหนื่อยที่ไม่ใช่จากโรค ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อย มักเกิดจากการที่ไม่ใคร่ได้ออกกำลัง พักผ่อนไม่พอหรือหลับไม่สนิท โดยเฉพาะมีเรื่องเครียด กังวล ไม่ว่าจะเป็นจากการงาน หรือเรื่องภายในครอบครัว อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายได้ ผู้ป่วย มักจะมีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม รู้สึกอากาศไม่เข้าไปในปอด หายใจลึกๆ 3-4 ครั้งแล้วจะสบาย หรือชอบถอนหายใจ บางคราว ผู้ป่วยมีปัญหา แต่ตนเองคิดว่าไม่ได้คิดอะไร เพราะแก้ไขได้ แต่จริงๆ แล้วจิตใต้สำนึก ยังคงเก็บปัญหาไว้อยู่ก็ได้ ผู้ป่วยพวกนี่ จะสบายขึ้น จากการได้รับยาคลายเครียดอ่อนๆ โดยเฉพาะเวลานอน แต่มีบางราย อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ บางคราวจะมีอาการอื่น เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก กรดในท้องมาก ท้องเดินบ่อย มึนศีรษะ ปวดศรีษะ หรือตกใจง่ายร่วมด้วย สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลัง ทางหน่วยกายภาพบำบัด จะบอกได้ถึงว่า ผู้ป่วยมีการขาดการออกกำลังหรือไม่ เป็นมากน้อยแค่ไหน เป็นที่ส่วนไหนของร่างกาย และมีการบริการ เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ (Physical Fitness Exercise Program) โดยแนะนำนำวิธีบริหาร ที่เหมาะสมกับโรค อายุ และอาชีพของผู้ป่วย ศูนย์ปอด และระบบทางเดินหายใจ ของโรงพยาบาลกรุงเทพ มีบริการที่จะหาสาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย และถ้าพบสาเหตุอื่น ที่ไม่ใช่โรคของปอด และระบบทางเดินหายใจ ก็จะส่งผู้ป่วยต่อไป ให้ผู้ที่ชำนาญโรคเฉพาะทางนั้นๆ ของโรงพยาบาล ซึ่งมีบริการอย่างครบวงจรดูแลรักษาต่อ ข้อมูลจากศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ
Create Date : 01 เมษายน 2551
47 comments
Last Update : 23 มิถุนายน 2553 22:03:08 น.
Counter : 2317 Pageviews.
โดย: ลูกแมง 1 เมษายน 2551 21:15:20 น.
โดย: รุ้งมณี 12 พฤษภาคม 2551 16:44:06 น.
โดย: maew_kk 12 พฤษภาคม 2551 22:45:19 น.
โดย: กวนฐานฮวา ณ อเบิอร์ดีน IP: 88.105.63.156 18 พฤษภาคม 2551 21:37:30 น.
โดย: ยายเก๋า ,ชมพร (ชมพร ) 23 พฤษภาคม 2551 23:16:43 น.
โดย: maew_kk 24 พฤษภาคม 2551 9:57:27 น.
โดย: madame kp IP: 85.69.113.190 29 พฤษภาคม 2551 13:55:19 น.
โดย: ayopolie 11 มิถุนายน 2551 13:56:52 น.
โดย: grippini 12 มิถุนายน 2551 2:36:53 น.
โดย: mearnss 16 มิถุนายน 2551 12:22:25 น.
โดย: Nerine 19 มิถุนายน 2551 20:01:29 น.
โดย: Opey 4 กรกฎาคม 2551 7:53:28 น.
โดย: Nerine 4 กรกฎาคม 2551 20:05:50 น.
โดย: mearnss IP: 118.175.84.108 7 กรกฎาคม 2551 9:15:40 น.
โดย: mearnss 8 กรกฎาคม 2551 9:42:31 น.
โดย: mearnss 8 กรกฎาคม 2551 9:50:32 น.
โดย: Nerine 8 กรกฎาคม 2551 23:28:11 น.
โดย: mearnss 10 กรกฎาคม 2551 10:27:43 น.
Location :
ทับเที่ยง ตรัง Aberdeen United Kingdom
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [? ]
เติบโตมาในตระกูลคนจีนแต้จิ๋ว ที่บุพการีทั้ง 2 หอบเสื่อผืน หมอนใบ อาศัยกิน-นอนใต้ท้องเรือ รอนแรมจากจังหวัดทางภาคใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ ในตำบลเก็กเอี๊ยะ มณฑลกวางตุ้ง จังหวัดซัวเถา ทางฝ่ายอาปา ส่วนอาหมะมาจากตำบลโผว่เล้ง จังหวัดซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง เช่นเดียวกัน ท่านทั้ง 2 มากันคนละรอบมาเจอกันที่เมืองไทย มาขึ้นฝั่งทางภาคตะวันออกของประเทศไทย คิดว่าคงเป็นจังหวัดชลบุรี่ หรือไม่ก็คงเป็นจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง อันนี้ท่านเองก็เรียกชื่อจังหวัดไม่ถูกค่ะ ญาติพี่น้องของบุพการี่ที่มาด้วยกัน ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปอยู่คนละจังหวัด ส่วนอาปาและอาหมะของเรา ลงมาปักหลักอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรัง ไม่เคยย้ายไปไหนอีกเลย ตราบจนท่านทั้ง 2 สิ้นชีวิต เราภูมิใจที่สุดที่เกิดมาเป็นลูกของอาปาและอามะ เพราะท่านมีชีวิตอยู่แบบพอเพียง ไม่เคยเป็นหนี้ใคร หากเป็นหนี้ในการซื้อของมาขายก็จะรีบเอาไปใช้คืนในวันถัดมา รักท่านที่สุดเลย บ้านเปิดเป็นร้านโชวห่วยเล็กๆ ที่ท่านทั้ง 2 สามารถเลี้ยงดูเราทั้ง 10 คนจนเติบใหญ่มาจนทุกวันนี้
กลัวเหมือนกัน
ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ