|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง อยู่หลังกระดูกหัวหน่าว
กลไกในการทำงานก็มีอยู่ว่า เมื่อไตขับฉี่ออกมาแล้วลงมาออกันอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้สัก1/3ลิตร เราก็จะเริ่มปวดและอยากถ่าย หากอดใจไว้ก็จะรู้สึกผ่อนลง... ผ่านไปอีกระยะ ก็จะปวดอีก แล้วก็ผ่อนลงอีก เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเมื่อเราไปเข้าห้องน้ำ ปัสสาวะก็จะขับออกมา
เนื่องจากร่างกายของเราในส่วนของไตเป็นโซนสะอาดปราศจากเชื้อ เรื่อยลงมาเรื่อยๆจนถึงปลายทาง ดังนั้นน้ำปัสสาวะจึงเป็นน้ำปราศจากเชื้อที่จะคอยไหลลงมาล้างเอาเชื้อโรคจากภายนอกที่คืบคลานมาตามท่อทางเดินปัสสาวะด้านนอก... วันใดที่มีอะไรเปลี่ยนไปที่ทำให้เชื้อโรคโดนขับออกช้าลง เช่นมีนิ่ว มีการอุดตัน ฉี่ไม่บ่อยพอ นั่นก็จะเป็นวันเริ่มต้นของการคืบคลานของเชื้อโรคและก่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั่นเอง.....
ลักษณะทั่วไป
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเราโดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆอาจพบเป็นโรคแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า โรค ฮันนีมูน (Honeymoon's cystitis) สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสาวะ
ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทาง โครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดขึ้นกับผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่า และอยู่ใกล้ทวารหนัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงตั้งครรภ์หรือชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆ
ที่จริงอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบรักษาให้หายขาดได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะแต่ต้องกินติดต่อกันนานประมาณ 7 วันเป็นอย่างต่ำ บางครั้งแม้ว่ารักษาไปแล้ว แต่นิสัยการกลั้นปัสสาวะยังไม่ได้แก้ เดี๋ยวก็จะติดเชื้อกลับขึ้นมาอีก ทำให้เกิดอาการปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง เดี๋ยวเป็น ๆ ไม่หายสักที
วิธีรักษาอาการนี้ทำได้ด้วยตนเอง ประการแรกคือ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว ทำเช่นนี้นาน 10-14 วัน เมื่อดื่มน้ำมากก็จะปัสสาวะมาก เป็นการล้างเอาแบคทีเรียออกมา ลดอัตราเสี่ยงของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่อาการอักเสบก็จะหายไปได้เอง สมัยก่อนองค์การอนามัยโลก แนะนำให้รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ แบบนี้แหละ
สำหรับสมุนไพรไทยที่สามารถนำมารักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ สมุนไพรขับปัสสาวะ ซึ่งใช้หลักการเอาน้ำไปล้างกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอย่างเดียวกับที่องค์การอนามัยโลกเคยแนะนำ สมุนไพรไทยรอบตัวที่ใช้ได้ ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง เหง้าสับปะรด ต้นและรากเตยหอม รากหญ้าคา ต้นขึ้นฉ่าย เป็นต้น ทั้งหมดนี้ให้เอามา 1 กำมือ จะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ ใส่น้ำต้มให้เดือด แล้วต้มเคี่ยวให้ตัวยาออกมานาน 10 นาที แล้วดื่มต่างน้ำ ยกเว้นต้นขึ้นฉ่าย ให้เอาต้นสดมา 1 กำมือ แล้วคั้นน้ำดื่ม การดื่มน้ำต้มสมุนไพร ได้ประโยชน์สองทางคือได้ดื่มน้ำมากขึ้นใช้น้ำไปขับปัสสาวะ อีกทั้งยังได้ตัวยาไปขับปัสสาวะ ล้างระบบทางเดินปัสสาวะทั้งหมดด้วย
สำหรับยาจีนก็มีอาหารซึ่งใช้เป็นยาขับปัสสาวะที่หมอจีนแนะนำให้กับคนที่ปัสสาวะไม่สะดวก ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้แก่ หัวผักกาด ผักปลัง หนวดข้าวโพด ฟักเขียว แตงโม แตงกวา เป็นต้น
สำหรับหญ้าหนวดแมวมีรายงานว่าใช้ได้ดีขนาดสามารถขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ผล วิธีการคือใช้ใบแห้งหนัก 4 กรัมชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวันจนกว่านิ่วจะหลุดออกมา แต่หญ้าหนวดแมวมีจุดอ่อนคือ มีเกลือโปตัสเซียมสูงมาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายและผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้สมุนไพรตัวนี้เอง
อย่างไรก็ตามกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นคนละเรื่องกันกับโรคไต ใครก็ตามที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคไตร่วมด้วย แต่ถ้ามีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำซาก การติดเชื้อลามขึ้นไปถึงไต โอกาสที่ไตจะเสียหายก็มี ทางที่ดี หากใครอยากจะดื่มชาหญ้าหนวดแมวเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
อาการ
ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ปวดท้องเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะกะปริดกะปรอย (ออกทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัด รู้สึกปวดแสบปวดร้อยเวลาปัสสาวะ มีอาการเหมือนปัสสาวะจะราดเวลาปวดปัสสาวะ ปัสสาวะแล้ว แต่ยังรู้สึกไม่สุด ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส บางรายอาจมีเลือดปน หรือสีขุ่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนอาการอาจเกิดขึ้นหลังอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือหลังร่วมเพศ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน
เนื่องจากยาปฏิชีวนะฆ่าแบคทีเรียที่เป็นมิตรไปพร้อมๆ กับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อโรค และส่งผลให้ระบบนิเวศของเชื้อจุลินทรีย์ภายในร่างกายเสียความสมดุลทำให้เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดแพร่พันธุ์เร็วผิดปกติจนเกิดเป็นโรคได้ ส่วนกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง (มีการอักเสบ 3 ครั้งขั้นไปใน 1 ปี) จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินปัสสาวะต่ำลงเรื่อง ฯ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นวงจนที่จะส่งผลกระทบซึ่งกันและกันได้ วิธีการบำบัดรักษาในทัศนะการแพทย์จีน ในทัศนะการแพทย์จีน กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากภาวะร้อย-ขึ้นที่สะสมในระบบทางดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นภาวะที่เอื้อต่อการแพร่พันธ์อย่างรวดเร็วของเชื้อแบคทีเรีย เมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย เมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย เมื่อมีเชื้อแบบคทีเรียลุกลามเข้ามาในกระเพาะปัสสาวุก็จะทำให้เกิดอาการอักเสบขึ้นมาได้ หากมีการอักเสบซ้ำซากก็ย่อมจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินปัสสาวะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคลุกลามได้ง่ายยิ่งขึ้น การแพทย์จีนจึงนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมดังนี้ - ขจัดความร้อย-ชื้นและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของทางเดินปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะสามารถต้านทานเชื้อโรคได้มากขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีสำคัญที่สุดในการป้องกันและรักษาต้นเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉพาะกระเพาะปัสสาวะอักเสบชนิดเรื้อรัง, - ช่วยขับปัสสาวะเพื่อขับเชื้อแบคทีเรียและสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย พร้อมทั้งลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะด้วย - ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบที่ก่อให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาการต่าง ๆ ของกระเพาะปัสสาวะอักเสบจึงค่อย ๆ ทุเลาลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังที่มีการดื้อยาปฏิชีวะนะที่สำคัญ คือ ระบบภูมิคุ้มกันของกระเพาะปัสสาวะจะกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิดภาพอีกครั้ง
สิ่งตรวจพบ
มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน บางคนอาจมีการกดเจ็บเล็กน้อยตรงกลางท้องน้อย
สาเหตุของการติดเชื้อ
แบคทีเรียที่พบในทางเดินกระเพาะอาหาร และ ลำไส้ เช่น อี. โคไล เป็นสาเหตุนากรติดเชื้อได้มากที่สุดคือ85% แบคทีเรียตัวอื่นที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ได้แก่ สเต็ปไฟโลคอคคัส ซาโปรไฟติคัส, โปรเทียส, คลิบเซลล่า และ เอ็นเทอโรคอคคัส
หลายปีมานี้จำนวนการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น ในทั้งหญิงและชายมีความเชื่อมโยงกับจุลินทรีย์ 2ตัวที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ คือ คลามัยเดีย ทราโคมาติส และ มัยโคพลาสม่า
อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาเชื้อโรคอาจลุกลาม ทำให้กลายเป็นกรวยไตอักเสบ ได้
การรักษา
1. ขณะที่มีอาการ ให้ดื่มน้ำมากๆ ถ้าปวดมากให้ ยาแก้ปวด และให้ยาปฏิชีวนะเช่น โคไตรม็อกซาโซล 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง, อะม็อกซีซิลลิน 500 มก.ทุก 8 ชั่วโมง หรือนอร์ฟล็อกซาซิน 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน
2. ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุโดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก) นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
ข้อแนะนำ
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการขัดเบา แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการแสดงคล้ายโรคนี้ได้อีก ดังนั้นก่อนให้การรักษาโรคนี้ ควรซักถามประวัติอาการอย่างถี่ถ้วน ( ขัดเบา/ปัสสาวะบ่อย/ปัสสาวะมาก)
2. ในเด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย หรือมีไข้ และอาเจียนไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ การตรวจปัสสาวะจะช่วยวินิจฉัยโรคนี้ได้
3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรดื่มน้ำมาก ๆ (ประมาณวันละ 3-4 ลิตร) เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออก และช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ
4. การป้องกัน ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ เมื่อรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นซ้ำโดย 4.1 พยายามดื่มน้ำมาก ๆ และอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะในห้องน้ำนอกบ้าน หรือระหว่างเดินทางได้ทุกที่ การอั้นปัสสาวะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญแพร่พันธุ์ ประกอบกับในภาวะที่มีกระเพาะปัสสาวะยืดตัว ความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้
4.2 หลังถ่ายอุจจาระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้อง กันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
4.3 สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ (โรคฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนร่วมเพศควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอด และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ
ข้อควรปฏิบัติ
- ดูแลพื้นที่ส่วนตัวให้สะอาดแห้งอยู่เสมอ
- พกกระดาษทิชชู่ติดตัวไว้เสมอนะคะ)เช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลัง อย่าเช็ดแบบย้อนศร เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
- ดูแลห้องน้ำ โถส้วมให้สะอาด
- ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย ไม่ใส่กางเกงที่คับติ้วเกินไป
- ใช้ชุดชั้นในเป็นผ้าฝ้าย หรือบางวันก็ไม่ใส่ก็ได้ค่ะหากอยู่บ้าน หรือเวลานอนก็ไม่สวมก็ได้
- เมื่อเริ่มรู้สึกว่าเกิดอาการฉี่ขัด ดื่มน้ำมากๆช่วยขับถ่ายเชื้อโรคออกทางปัสสาวะ หรือเหงื่อมากขึ้น พักผ่อนให้พอ ร่างกายจะได้แข็งแรงมีภูมิต้านทานเชื้อโรคได้
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารซ้ำชนิดติดกันเป็นเวลานานๆ
1. ทำไมหมอถามอะไรมากมาย
ผมเคยรักษาคนที่มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินด้วยเรื่องนี้ ประโยคแรกที่เขาพูดคือ เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขอยา เรื่องของเรื่องคือเขาเป็นทีไรก็ไปหาร้านขายยา แล้วก็ได้ยามาแบบนึง หลังจากนั้นครั้งต่อๆไปเขาก็ไปที่ร้านเดิมแล้วก็ซื้อยาเดิมๆมาใช้ อย่างมากก็แค่ถามว่าอาการอะไร แล้วก็จัดยามาให้ แต่ผมกลับถามว่าปวดที่ไหนปวดยังไงมีไข้ไหม ฯลฯ จนกระทั่งตัวคนไข้ไม่เข้าใจว่าจะถามทำไม... สุดท้ายผมส่งตรวจปัสสาวะโดยที่คนไข้ก็ค่อนข้างไม่พอใจว่าจะส่งไปทำไมก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นอะไร... ในที่สุดกลายเป็นว่าคนไข้คนนี้เป็นนิ่ว (เลยอธิบายได้ว่าทำไมเป็นบ่อยและไม่หายสักที) หลายทีถามแล้วตรวจแล้วก็เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบธรรมดา ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่านั้น บางทีก็โดนคนไข้โมโหว่าทำให้เสียเวลาเหมือนกัน... ดังนั้นอยากให้เข้าใจครับ ว่าเราไม่ได้ปักใจเชื่อว่าเป็นการอักเสบอย่างเดียว แต่เราต้องหาเหตุอื่นๆไว้บ้าง
2. ทำไมรักษาไม่หาย เลี้ยงไข้หรือเปล่า
หลายคนประสบปัญหาว่ารักษามาหลายครั้งไม่หายสักที ก็ขอยกตัวอย่างมาให้ดูกัน คนแรก บ่นกับผมว่ามาหลายครั้งแล้วไม่หายสักที ผมลองเปิดย้อนประวัติดูเห็นว่าเป็นหลายครั้ง แต่ว่าแต่ละครั้งห่างกันนานเหมือนกัน ลองสอบถามกลับไป ถามไปถามมาในที่สุดก็รู้ว่าคนไข้คนนี้ยังไม่ปรับการใช้ชีวิต ก็ยังคงฉี่ไม่เป็นเวลา อั้นไว้นานๆเหมือนเดิม..... แบบนี้เรียกว่าหายแล้วแต่ไปทำให้เป็นซ้ำ
คนที่สอง มาถึงแล้วก็ขอยาพร้อมทั้งบอกว่าไม่หายสักที พอถามว่าได้ยาอะไรรักษายังไงบ้าง เธอก็หยิบซองยาที่มียาเหลืออยู่2เม็ด และบอกว่าขอยาตัวนี้เพิ่ม.. อ๊ะ ยาเดิมทำไมไม่หมด. พอลองดูประวัติ ก็เลยรู้ว่าเธอเป็นมาหลายครั้ง หมอที่ดูคนสุดท้ายก็เลยต้องเพิ่มยาเป็นแบบ7วัน เธอก็กินซะ4วัน เห็นว่าไม่มีอาการก็เลยหยุดยาไปเองทั้งที่รู้ว่าต้องกินจนหมด พอเป็นรอบนี้ก็เลยเอามากินใหม่
ในการรักษา หากคนไข้เป็นมาหลายครั้ง ก็ต้องเพิ่มระยะเวลาการให้ยา เพราะเชื้อที่อยู่ก็มักจะมีความดื้อมากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งต้องเปลี่ยนยา และในที่สุดเชื้ออาจดื้อยาหลายๆชนิด (ยาใหม่ก็แพงขึ้นเรื่อยๆ เปลิองงบประมาณรพ. และเสียสุขภาพ) เดี๋ยวนี้ผมก็ยังพบลักษณะแบบนี้อีก กับคนที่กินยาไม่ค่อยครบสักที จนกระทั่งรักษาไม่ค่อยหายซะแล้วเพราะเชื้อที่ออกมาดื้อยาไปหมด
คนที่สาม เป็นมาหลายครั้ง พอเริ่มเป็นครั้งที่สามก็เลยไปเอกซ์เรย์ เพื่อหาว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ ก็ไม่พบลักษณะนิ่ว... แต่พอเป็นครั้งหลังๆ ก็มีลักษณะปัสสาวะที่เข้าได้กับการมีนิ่ว คนนี้ก็ได้รับการตรวจเพิ่มเติมจนรู้ว่าเป็นนิ่ว
นิ่วถือเป็นสิ่งแปลกปลอม ที่จะเป็นแหล่งเกาะตัวของเชื้อโรคอย่างดี ทำให้ยาฆ่าเชื้อได้ไม่ดีพอ ดังนั้นเมื่อเป็นมาหลายๆครั้ง หมอที่ดูแลก็อาจจะแนะนำให้เอกซ์เรย์เพื่อหาว่ามีนิ่วหรือไม่ (บางครั้งถึงมีก็ไม่เจอในx-rayเพราะว่า นิ่วมีทั้งประเภทที่เห็นในx-ray และไม่เห็นในx-ray)
ในทางกลับกัน คนที่หนึ่งและสองข้างต้น หากตนเองยังไม่อาจปฏิบัติตัวให้ดีพอได้แล้วมาขอให้ทำเอกซ์เรย์คอมฯ หรือเอกซ์เรย์หานิ่ว หากไม่เห็นความจำเป็นใดๆ หมอก็มักไม่ส่งตรวจครับ เพราะถือว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่ก็ทำให้เกิดโรคได้อยู่แล้วไม่ว่าจะมีนิ่วหรือไม่
3. ทำไมไม่มียาสลายนิ่ว
หลายครั้งผมจะได้รับการถามจากคนไข้ว่า ทำไมไม่จ่ายยาสลายนิ่วหรือยาล้างไตมาด้วย ยาสลายนิ่วในที่นี้ไม่ได้เป็นยาสลายนิ่วแบบที่หมอเฉพาะทางโรคทางเดินปัสสาวะสั่งจ่ายให้ ....(พวก Rowatinex Uralyt
อันนี้ไม่ได้โฆษณา เพราะผมไม่เคยสั่งจ่ายใครไป เคยแต่มีสัตวแพทย์สั่งจ่ายให้แมวตัวเอง) ยาล้างไตก็ไม่มีอยู่แล้วในทางการแพทย์
หากแต่ยาสลายนิ่วของคนทั่วไปหมายถึง ยาขับปัสสาวะ และยาล้างไตหมายถึง ยาที่กินแล้วฉี่เป็นสีเขียว สีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วงฯลฯ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรเหมือนกัน บางครั้งมาโรงพยาบาลพร้อมด้วยความเชื่อที่ได้มาจากร้านค้าว่าการรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบต้องใช้ยาสีๆเหล่านี้ หลายๆคนเมื่ออธิบายไปก็มักเล่ากลับมาว่า แต่มี...... บอกมาว่าได้ผล ปู่ย่าตายายใช้กันมาได้ผล หมอคงไม่รู้เท่าหรอก.... อืม..... สรุปว่าผมไม่นิยมวิชาเหล่านี้ครับ ไม่สั่งยาพวกนี้ให้ อยากได้ไปหาซื้อเอาเอง (ถ้าดีจริง ทำไมไม่มีในบัญชียาหลักแห่งชาติทั้งที่ราคาถูกแสนถูกกันนะ)
4. ถ้าไม่ใช่โรคนี้แล้วเป็นโรคอื่นได้ไหม
ส่วนใหญ่เป็นคำถามที่จะเกิดขึ้นหลังการรักษาครั้งที่3-4 อย่างที่บอกไว้ก่อนว่าอาการข้างต้น ไม่ได้เป็นอาการของการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเพียงอย่างเดียว หากแต่มีโรคอื่นด้วย ดังนั้นหากรักษาอย่างถูกวิธีและมั่นใจว่าทำตัวได้ดีแต่โรคไม่หายและหมอยังไม่เอ่ยปากสงสัยว่าทำไมไม่หาย ก็ให้บอกหมอว่าคุณเป็นมาถี่ๆหลายครั้งแล้ว (บางครั้งเป็นมา5-6ครั้ง แต่ว่าหมอที่ดูแต่ละครั้งเป็นคนละคนกันหมด โดยเฉพาะในรพ.รัฐบาล) อย่าเพิ่งเปลี่ยนที่ที่รักษาในทันที
ปัญหาก็คือการเปลี่ยนที่รักษาบ่อยๆจะทำให้การรักษาทำได้ไม่ต่อเนื่องและยากขึ้น หมอคนที่ดูคุณเป็นคนถัดไปอาจจะไม่รู้ว่ายาที่เขากำลังสั่งจ่ายให้ เป็นยาตัวที่คุณเคยใช้แล้วไม่ได้ผล รวมทั้งข้อมูลที่จะบอกว่าเป็นโรคอื่นๆนอกเหนือจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่ ก็จะหายไปทั้งหมด ทำให้หมอคนที่ดูแลคนต่อไปต้องมาเริ่มทุกอย่างที่ศูนย์ใหม่ (โดยหมอแมว)
ข้อมูลจาก //www.thailabonline.com/sec6stone.htm //women.sanook.com/health/healthcare/sick_29528.php //www.thaiclinic.com หรือ //www.sirirajonline.com หมอแมว //www.tpabookcentre.com/catalog/hotnews/hotnew22-8-11-2548.html (พญ.ลลิตา ธีระสิริ) //www.alro.go.th/alro/alro_prov/template/newspaper_1.jsp?provCode=01
Create Date : 28 มีนาคม 2551 |
|
2 comments |
Last Update : 23 มิถุนายน 2553 22:05:07 น. |
Counter : 5093 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: ธงชัย อินต๊ะ IP: 182.53.3.244 17 กันยายน 2560 20:24:08 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
ทับเที่ยง ตรัง Aberdeen United Kingdom
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]
|
เติบโตมาในตระกูลคนจีนแต้จิ๋ว ที่บุพการีทั้ง 2 หอบเสื่อผืน หมอนใบ อาศัยกิน-นอนใต้ท้องเรือ รอนแรมจากจังหวัดทางภาคใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ ในตำบลเก็กเอี๊ยะ มณฑลกวางตุ้ง จังหวัดซัวเถา ทางฝ่ายอาปา ส่วนอาหมะมาจากตำบลโผว่เล้ง จังหวัดซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง เช่นเดียวกัน ท่านทั้ง 2 มากันคนละรอบมาเจอกันที่เมืองไทย มาขึ้นฝั่งทางภาคตะวันออกของประเทศไทย คิดว่าคงเป็นจังหวัดชลบุรี่ หรือไม่ก็คงเป็นจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง อันนี้ท่านเองก็เรียกชื่อจังหวัดไม่ถูกค่ะ
ญาติพี่น้องของบุพการี่ที่มาด้วยกัน ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปอยู่คนละจังหวัด ส่วนอาปาและอาหมะของเรา ลงมาปักหลักอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรัง ไม่เคยย้ายไปไหนอีกเลย ตราบจนท่านทั้ง 2 สิ้นชีวิต เราภูมิใจที่สุดที่เกิดมาเป็นลูกของอาปาและอามะ เพราะท่านมีชีวิตอยู่แบบพอเพียง ไม่เคยเป็นหนี้ใคร หากเป็นหนี้ในการซื้อของมาขายก็จะรีบเอาไปใช้คืนในวันถัดมา รักท่านที่สุดเลย บ้านเปิดเป็นร้านโชวห่วยเล็กๆ ที่ท่านทั้ง 2 สามารถเลี้ยงดูเราทั้ง 10 คนจนเติบใหญ่มาจนทุกวันนี้
|
|
|
|
|
|
|
อักษรต้อนรับ.....คุณmonata
สีของตัวอักษร.....ป้ามด
นาฬิกากุ๊กกู้......คุณice coffee
รูปไอคอนเล็กๆ......คุณsunshire mummy
ภาพพิ้นหลังสวยๆ.......คุณไหม
ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ