|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
อาการของโรคไต
ข้อมูลจาก แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร กองโภชนาการ
ไตมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
1. ขับถ่ายของเสียอันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน (มีมากในเนื้อสัตว์ และอาหารจำพวกถั่ว) ซึ่งของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีเอตินีน กรดยูริค และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ หากของเสียประเภทนี้คั่งอยู่ในร่างกายมาก ๆ จะเกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะดังกล่าวว่า ยูรีเมีย
2. ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่ น้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แคลเซียมฟอสฟอรัส เป็นต้น
3. ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียม ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น หากไตมีความบกพร่องมาก ๆ ผู้ป่วยอาจมีโรคโลหิตจาง หรือกระดูกผุ เป็นต้น หากไตไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เพียงพอ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ หรือมีโรคแทรกจะทำให้ระดับของเสีย และปริมาณน้ำคั่งค้างในร่างกาย หรือในเลือด จะปรากฏอาการเหล่านี้ คือ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ มีอาการบวมที่มือและเท้า ปวดหลังในระดับชายโครง ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย มีสาเหตุที่สำคัญมาจากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ต้องรักษาโดยการล้างไต หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต หากรักษาโรคทั้งสองนี้ได้ก็จะทำให้โรคไตที่เกิดขึ้นทุเลา หรือชะลอการเปลี่ยนแปลงได้
การป้องกันโรคไต
การป้องกันมิให้เกิดโรคไตนั้นจะต้องมีการควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติ ด้วยการควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจใช้ยาร่วมในการควบคุม และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สม่ำเสมอ สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย คือ โรคไตอักเสบ ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายของหน่วยกรองไต การเกิดโรคนี้บางรายไม่ทราบสาเหตุ บางรายถ่ายทอดทางพันธุกรรม และบางรายมีการติดเชื้อเป็นสาเหตุเสริม นอกจากนี้ยังมีโรคไตที่เกิดจากนิ่ว โรคถุงน้ำในไต โรคติดเชื้อ สารเคมี เช่น ตะกั่ว ปรอทจากยา เช่น ยาแก้ปวด จากสารเสพติด เช่น เฮโรอีน เป็นต้น อาการของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียการทำงานไปประมาณร้อยละ 90-95 สามารถทราบได้โดยการตรวจเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม โลหิตจาง เหนื่อยง่าย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคไตมีอะไรบ้าง
♥ ปัสสาวะมีเม็ดเลือดแดง อาจเกิดจากโรคนิ่ว ไตอักเสบหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มะเร็ง ของระบบทางเดินปัสสาวะหรือโรคไตเป็นถุงน้ำ เป็นต้น ♥ ปริมาณปัสสาวะมากกว่า 3 ลิตรหรือน้อยกว่า 400 ต่อวัน ♥ ถ่ายปัสสาวะบ่อย จำนวนครั้ง กลางวันมากกว่า 5-6 ครั้ง กลางคืนมากกว่า 3-4 ครั้ง โดยเฉพาะเวลากลางคืน หลังจากที่นอนหลับแล้ว จะต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ ถ้าเกิดเป็นประจำอาจจะเป็นโรคเบาหวาน เบาจืด โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นโรคไตเรื้อรัง โดยทั่วไปการถ่ายปัสสาวะบ่อยในเวลากลางวัน มักจะเกิดจากความวิตก กังวลทางจิตใจ ซึ่งกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะอยู่เรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้เป็นโรคไต ♥ ปัสสาวะมีฟองมาก เมื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจพบว่ามีโปรตีน (ไข่ขาว) ออกมามากผิดปกติ ♥ อาการบวม บวมที่ขาทั้งสองข้าง เปลือกตาบวม หรือบวมทั้งตัว ♥ อาการปวดหลัง หรือปวดท้อง ปวดแบบตื้อๆ เมื่อยๆ หรือเจ็บเวลากดหรือทุบบาๆ ด้านหลัง แสดงว่าอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตอักเสบ ถ้ามีอาการไข้สูง หนาวสั่น ร่วมกับอาการปวดหลังมักเป็นอาการของกรวยไตอักเสบติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน มีโรคที่ทำให้เกิดภาวะไตเสื่อม ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรค SLE เป็นต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต ???
การตรวจปัสสาวะ
เมื่อมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคของทางเดินปัสสาวะ แพทย์จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะของผู้ป่วยเพื่อให้มีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจขั้นต้นที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ของทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคไตอื่นๆ
การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคไต
การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคไต และโรคทางเดินปัสสาวะมักจะทำเพื่อวินิจฉัยโรคไตวาย หรือความผิดปกติของไตอื่น ๆ เช่น เมื่อมีอาการบวม การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไตอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ หรืองดอาหารก่อนเจาะเลือด แต่ถ้าสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน หรือต้องการตรวจไขมันในเลือดด้วยจะต้องงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ผลเลือดที่แสดงถึงการทำงานของไตแพทย์จะสามารถบอกได้ถึงภาวะการทำงานของไตว่าปกติ หรือผิดปกติมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปในกรณีที่ตรวจเลือด เพื่อตรวจเช็คร่างกายประจำปีจะมีการตรวจการทำงานของไตร่วมด้วยเสมอ
โรคไตเป็นโรคที่รักษาไม่หาย จริงหรือไม่
โรคไตบางชนิดก็รักษาให้หายขาดได้ ถ้ารักษาถูกวิธี และเริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรก เช่นโรคไตอักเสบติดเชื้อ นิ่วในไต ไตวายเฉียบพลัน ถ้าหากเป็นโรคไตวายเรื้อรังก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต( เฉพาะผู้ป่วยบางราย)
ไตวายเฉียบพลัน
ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่สำคัญ เกิดจากการสูญเสียเลือด น้ำ หรือเกลือแร่จากร่างกายอย่างรุนแรง เช่น เสียเลือดจากอุบัติเหตุ เสียเลือดหลังการผ่าตัด เลือดออกในกระเพาะอาหาร ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียนอย่างรุนแรง หรือช๊อคจากสาเหตุต่างๆก็ทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้อาจเกิดจากยา หรือสารพิษที่มีพิษกับไตโดยตรง อาการสำคัญของไตวายเฉียบพลัน คือ มีปัสสาวะลดลงอย่างรวดเร็วร่วมกับสาเหตุต่าง ๆ ผู้ป่วยมักจะมีอาการหนักจนต้องรีบรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์จะให้การรักษาอย่างเร่งด่วน และจำเป็นต้องล้างไตในผู้ป่วยบางรายผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคที่เป็นสาเหตุของไตวายเฉียบพลัน ไม่ว่าจะเป็นการเสียเลือด เลือดออก ท้องเสีย อาเจียน หรือช๊อค แต่ถ้ารักษาหาย ไตก็จะฟื้นตัวกลับเป็นปกติได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษาแบบไตวายเรื้อรัง
เป็นโรคไตห้ามดื่มน้ำมากและจำกัดอาหารเค็ม ใช่หรือไม่
การจำกัดน้ำดื่มและจำกัดอาหารเค็มนั้น จะจำกัดเฉพาะผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณปัสสาวะน้อย อยู่ในระยะที่มีอาการบวม มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีความดันโลหิตสูง แต่ถ้าไม่อยู่ในภาวะเหล่านี้ก็ไม่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
อาหารสำหรับคนเป็นโรคไต ควรเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยด้วยโรคไตนอกเหนือจากการปฏิบัติตัวด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว ก็ควรรู้จักการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ในระยะแรกของผู้ป่วยโรคไตประเภทที่มีการรั่วของไข่ขาวออกมาทางปัสสาวะมากๆ จะมีระดับไข่ขาวในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอเพื่อชดเชยไข่ขาวที่สูญเสียไปทางปัสสาวะ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรังระยะหลังๆเมื่อมีสารพิษต่างๆคั่งอยู่ในร่างกายมากขึ้น ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องจำกัดอาหารประเภทโปรตีนเพราะการทานอาหารโปรตีนมากๆจะทำให้มีของเสียคั่งค้างมากขึ้น สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายพิการระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีความดันโลหิตสูงและยังไม่มีอาการบวม ระยะนี้ผู้ป่วยมักจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละวันเท่าเทียมกับคนปกติ ดังนั้นระยะนี้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องจำกัดหรือลดน้ำดื่มและเกลือโซเดียม ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยที่เป็นไตวายในระยะหลังๆ เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นจนไม่สามารถขับน้ำและเกลือโซเดียมได้เท่าคนปกติ ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีปัสสาวะน้อย บวมและความดันโลหิตสูง ซึ่งอาการดังกล่าวจำเป็นต้องลดน้ำและเกลือโซเดียมลง โดยทั่วไป ควรจำกัดอาหารเค็ม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณปัสสาวะน้อย อยู่ในระยะที่มีอาการบวม มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีความดันโลหิตสูง แต่ในบางรายเป็นโรคไตที่มีการสูญเสียเกลือทางปัสสาวะมากกลับจำเป็นต้องให้อาหารเค็มหรือให้เกลือทดแทน ในรายที่มีอาการไตวายเรื้อรัง มีปัสสาวะน้อย ควรจำกัดอาหารโปรตีน ไขมัน จำกัดผลไม้ ส่วนอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมีผลดีในขณะที่เป็นไตวาย แต่ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรังมีหลายระยะ ระยะเริ่มแรกอาการจะน้อยมาก แต่เมื่อเป็นจนถึงระยะปานกลาง และระยะรุนแรง อาการจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะเพิ่มพูนจนไปถึงไตวายระยะสุดท้ายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น นอกจากผู้ป่วยจะได้รับความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นจึงควรชะลอการดำเนินของโรคไตวายเรื้อรังด้วยการควบคุมอาหารอาหารจำกัดโซเดียม ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง เมื่อสั่งให้ "กินอาหารจำกัดโซเดียม" หมายความว่าจะต้องงดอาหารที่มีโซเดียมมาก
อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่
อาหารที่มีรสเค็ม เพราะมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือ) มาก เช่น เกลือป่น เกลือเม็ด น้ำปลา น้ำบูดู ซอสหอย ซอสเนื้อ ซอสถั่ว ซีอิ๊ว ซอสที่มีรสอื่นนำ มีรสเค็มแผง เช่น ซอสพริก (มีรสเปรี้ยว และเผ็ดนำ ความจริงมีรสเค็มด้วย) ซอสมะเขือเทศ ซอสรสเปรี้ยว ๆ เป็นต้น อาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม อาหารดองเปรี้ยว เช่น หลาเจ่า แหนม ไส้กรอกอีสาน หัวหอมดอง หน่อไม้ดอง ผัดกาดเขียวดองเปรียว ผักดองสามรส กระเทียมดองสามรส เป็นต้น อาหารที่มีรสหวาน และเค็มจัด เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น
อาหารจำกัดโปแตสเซียม
การจัดอาหารให้มีโปแตสเซียมน้อย กระทำได้ยากกว่าการจัดให้มีโซเดียมน้อย เพราะธาติโปแตสเซียมมีในอาหารทั่วไปทั้งสัตว์ และพืชต่างจากโซเดียม ซึ่งมีมากแต่ในสัตว์ (เช่น เนื้อ นม ไข่) อาหารที่มีโปแตสเซียมมาก คือ พวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ และนม พวกผัก ได้แก่ หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่วดำ และถั่วปากอ้า มีมากเป็นพิเศษ พวกผลไม้ ได้แก่ กล้วย ส้ม และน้ำส้มคั้น แตงโม แตงหอม มะละกอ ลูกท้อ ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน เบ็ดเตล็ด กากน้ำตาล ช็อกโกแล็ต มะพร้าวขูด ดั้งนั้นเมื่อผู้ป่วยต้องกินอาหารจำกัดโปแตสเซียม จึงต้องจำกัดอาหารทั้งพวกเนื้อสัตว์ พวกผัก และผลไม้ ประเภทที่มีโปแตสเซียมสูง ๆ
อาหารจำกัดโปรตีน มีประโยชน์อย่างไร
อาหารจำกัดโปรตีนจะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของไต และช่วยลดระดับของเสียที่คั่งอยู่ในร่างกายผู้ป่วย ทำให้อาการบางอย่างของโรคไตวายลดลง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก เป็นต้น อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ (ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา) เครื่องในสัตว์ ไข่ นม และถั่ว
คำว่า "จำกัด" ในที่นี้หมายถึง
ให้รับประทานแต่น้อย แต่ไม่ได้ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด คือให้รับประทานได้วันละ 20-25 กรัม นั่นคือ เนื้อสัตว์ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ หรือหมูย่างประมาณ 4 ไม้
การจำกัดปริมาณน้ำ
หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันให้เหมาะสม ตามวิธีการคำนวณง่าย ๆ คือ ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต้องการ คือ
- อาหารโปรตีนต่ำ 40 กรัมโปรตีนต่อวัน ร่วมกับเสริมกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด หรืออาหารโปรตีนสูง 60-75 กรัมโปรตีนต่อวัน - พยายามใช้ไข่ขาว และปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน - หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ - หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ และกะทิ - งดอาหารเค็ม จำกัดน้ำ - งดผลไม้ ยกเว้นเช้าวันฟอกเลือด - งดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นมสด เนย ไข่แดง - รับประทานวิตามินบีรวม, ซี และกรดโฟลิก - รับประทาน อาหารวิตามินดีชนิด 1-alpha hydrocylated form ตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงวิตามินเอ
การรักษาโรคไตนั้นนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้ว การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคไตส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน ผู้ป่วยจึงไม่ควรเพิ่ม ลด หยุดยา หรือไปซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตราย
Create Date : 20 มีนาคม 2551 |
|
8 comments |
Last Update : 23 มิถุนายน 2553 22:09:45 น. |
Counter : 1863 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: เขมรดอย ยงยุทธ IP: 203.151.46.130 12 พฤศจิกายน 2551 15:57:10 น. |
|
|
|
| |
โดย: maxiiz IP: 118.173.178.131 22 มกราคม 2552 16:02:42 น. |
|
|
|
| |
โดย: เดช IP: 113.53.163.106 7 มิถุนายน 2552 22:23:26 น. |
|
|
|
| |
โดย: ประทุม ศรีรักษา IP: 202.28.120.92 25 ตุลาคม 2553 21:32:34 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
ทับเที่ยง ตรัง Aberdeen United Kingdom
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]
|
เติบโตมาในตระกูลคนจีนแต้จิ๋ว ที่บุพการีทั้ง 2 หอบเสื่อผืน หมอนใบ อาศัยกิน-นอนใต้ท้องเรือ รอนแรมจากจังหวัดทางภาคใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ ในตำบลเก็กเอี๊ยะ มณฑลกวางตุ้ง จังหวัดซัวเถา ทางฝ่ายอาปา ส่วนอาหมะมาจากตำบลโผว่เล้ง จังหวัดซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง เช่นเดียวกัน ท่านทั้ง 2 มากันคนละรอบมาเจอกันที่เมืองไทย มาขึ้นฝั่งทางภาคตะวันออกของประเทศไทย คิดว่าคงเป็นจังหวัดชลบุรี่ หรือไม่ก็คงเป็นจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง อันนี้ท่านเองก็เรียกชื่อจังหวัดไม่ถูกค่ะ
ญาติพี่น้องของบุพการี่ที่มาด้วยกัน ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปอยู่คนละจังหวัด ส่วนอาปาและอาหมะของเรา ลงมาปักหลักอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรัง ไม่เคยย้ายไปไหนอีกเลย ตราบจนท่านทั้ง 2 สิ้นชีวิต เราภูมิใจที่สุดที่เกิดมาเป็นลูกของอาปาและอามะ เพราะท่านมีชีวิตอยู่แบบพอเพียง ไม่เคยเป็นหนี้ใคร หากเป็นหนี้ในการซื้อของมาขายก็จะรีบเอาไปใช้คืนในวันถัดมา รักท่านที่สุดเลย บ้านเปิดเป็นร้านโชวห่วยเล็กๆ ที่ท่านทั้ง 2 สามารถเลี้ยงดูเราทั้ง 10 คนจนเติบใหญ่มาจนทุกวันนี้
|
|
|
|
|
|
|
เราก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเพราะอากาศที่นี่หนาวมากด้วยหรือเปล่า หลังจากดื่มน้ำไม่ถึงแก้ว ไม่ถึง 10 นาทีต้องลุกไปเข้าห้องน้ำแล้ว น่าเบื่อและรำคาญมากเลย ยิ่งเวลานอนอีก ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำทุกๆ 1 ชั่วโมงเลย เป็นตั้งแต่อยู่เมืองไทยแล้ว แต่อาการไม่แย่ขนาดนี้ ตัวเราเองไม่ชอบที่จะหาหมอเลย ทีนี้หละได้เจอหมอบ่อยแน่ๆ
นัดหมอตรวจเรื่องนี้แล้ว เป็นวันพุธที่ 9 เมษายนนี้