Phuping Palace ChiangMai











ถ้าจะถามดิฉันว่าถ้ามาจังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันจะพาไปไหนก่อน ดิฉันคงตอบว่า ไปพระธาตุดอยสุเทพและพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ก่อนละค่ะ 




















Kinari : Mother& Child : Khun Kaimook Chuto sculpture.





Chakrabhand Posayakrit : National Artist 





Janine Yasovant MPA. Writer



There is a romantic fairytale in Southeast Asia about love between a human and a mythological creature, who was half-human, half bird and lived in the Himaphan forest. The seven Kinaree princesses always bathed in the forest at the Anodass pond which had crystal-clear water.

The seven Kinaree princesses removed their wings and tails while they took a bath. Pran Boon, the great hunter and a friend of the king Prasuthon, stole Manorah's wings and tail, caught her with a lasso and offered her as a gift to Prasuthon. Both immediately fell in love. Prasuthon hid the wings and tail of Manorah from her for fear that one day she might fly away from him. The king also appointed her to be queen. 



The royal advisor was dissatisfied because he wanted his daughter to be the queen. When Prasuthon left the city to fight for his kingdom, the royal advisor told Prasuthon's mother that Manorah brought bad luck to and all the omens would disappear after Manorah's death. Although the king's mother loved Manorah, as she was a great dancer; she wanted to protect her son from bad luck, because Manorah was not a pure human. They decided to burn her alive.



Manorah asked for the last chance to dance for her mother-in-law to worship the fire. In order to do this dance, she had to wear her wings and tail. After she completed the dance, she fled and left a message for Prasuthon that she would wait for him at the KrailasMountain but he had to meet her before seven years, seven months and seven days, or else they would have no chance to meet each other again.

Prasuthon was victorious and returned to find that his wife had fled to the KrailasMountain. He asked Pran Boon to lead him to Himaphan forest. The journey took him seven years, seven months and six days to reach the bottom of KrailasMountain. However, he still could not reach her because her palace was on the cliff. In order to meet her in time, he had to catch the foot of a big bird to fly to Manorah's palace.

The king of Nakorn Kinaree kingdom wanted Prasuthon to prove his love and sincerity to Manorah. If he really loved her, he should be able to identify her from six sisters, who all had the same physical features. Prasuthon could not identify Manorah by her physical features, but he could remember the ring he gave to her and which she still wore until the day they would meet each other again. Finally, they meet each other again and stay together forever. 



Manorah folk dance in southern Thailand is often performed by minority ethic groups, Manorah dance and drama includes classical gesture (Norah Maebot) and interpretive gesture (Norah Thambot). Manorah emphasizes the dance rather than the stories which derive from Ramayana and Mahabharata epics. All performers of Manorah are men, who cross-dress to play female roles.



Manorah or Norah is a traditional Malaysian folk dance drama. Some scholars in Malaysia believed that Manorah is a primitive performing art, originating in Southern Thailand, and could have evolved from the ritual of propitiation of hunters. Nowadays, Manorah is largely performed as an art form for the people. 





The word Norah derives from the name of a heroine in the Manorah tale in Buddhist literature. There are two types of Manorah, one is performed for a specific ritual purpose such as the release of a vow or to celebrate the coming of age, the other is performed purely for entertainment and a wedding ceremony or festival. Manorah is popular in Kedah, Perlis and Kelantan in Malaysia, as well as in various provinces in Southern Thailand. It is also known as Norah or Lakorn Chatri. The music instruments used include a pair of hand Cymbals, a pair of small knobbed gongs, a pair of wooden sticks, a barreled-shaped double-headed drum, reed instruments and a single-headed vase-shaped drum. The language that is used depends on the local dialects. Kelantan actors use the Kelantanese dialect, while in Perlis a mix of Thai and Perlis dialects is used. In Southern Thailand the Southern Thai dialect is used










สีน้ำมันบนผ้าใบ
ฝีมือท่านอาจารย์ จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ
อายุภาพเขียน 50 ปี
สมบติของ : ราชวงศ์จักรี
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศ์








จานีน ยโสวันต์ 
มีเทพนิยายอันโรแมนติกเกี่ยวกับความรักระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตครึ่งมนุษย์
 ครึ่งปักษาที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ นางกินรีทั้ง 7 พระองค์ทรงสรงน้ำอยู่ที่
สระอโนดาตที่มีน้ำใสดุจผลึกแก้ว โดยที่นางกินรีทั้งหมดถอดปีกและหางออก
วางไว้  พรานบุญ นายพรานมือฉมังผู้เป็นพระสหายของพระสุธนได้ขโมยปีกและ
หางของนางมโนราห์ซึ่งเป็นนางกินรีที่มีรูปโฉมงดงามสุด มัดนางด้วยบ่วงบาศแล้ว
นำนางไปเป็นของขวัญแด่พระสุธน ทั้งคู่ตกหลุมรักซึ่งกันและกันในทันทีที่แรกพบ
พระสุธ
นได้เก็บซ่อนปีกและหางของมโนราห์เพราะกลัวว่าวันหนึ่งเธอจะบินหนีไป
จากเขาและยังได้แต่งตั้งให้นางเป็นพระราชินีอีกด้วย

ที่ปรึกษาของพระเจ้าแผ่นดินรู้สึกไม่พอใจเพราะเขาต้องการให้บุตรสาวของเขาได้
เป็นพระราชินี เมื่อพระสุธนได้ออกไปต่อสู้เพื่อราชอาณาจักร ที่ปรึกษาได้เพ็ดทูล
กับพระมารดาของพระสุธนว่า นางมโนราห์จะนำภัยพิบัติและความเสียหายมาสู่
บ้านเมือง ความตายของนางมโนราห์เท่านั้นที่จะทำให้ความเลวร้ายสูญสิ้นไป
ถึงแม้ว่าสมเด็จพระมารดาของพระสุธนจะรัใคร่นางมโนราห์เพียงใด เพราะเธอเป็น
นางรำที่มีความสามารถมาก แต่สมเด็จพระมารดาเกิดความเป็นห่วงพระโอรสที่จะ
พบกับภัยอันตราย เนื่องจากนางมโนราห์มิใช่มนุษย์จริงๆ ความคิดเห็นทั้งหลาย
ลงตัวอยู่ที่ต้องเผานางมโนราห์ทั้งเป็น







ความฉลาดเฉลียวของนางมโนราห์ เธอร้องขอโอกาสสุดท้ายที่จะเต้นระบำให้กับ
มารดาของพระสุธนเพื่อการบวงสรวงการบูชายัญด้วยไฟ เธอได้ขออนุญาตสวมปีก
และหาง หลังจากที่เธอร่ายรำเสร็จลง เธอมอบจดหมายให้แก่พระสุธนและบินหนี
ไปจากพิธีบูชายัญ ในเนื้อความของจดหมายแจ้งว่า เธอจะรอคอยพระสุธนที่เขา
ไกรลาส แต่พระสุธนกว่าจะได้พบเธอจะต้องใช้เวลารอคอยถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
มิฉะนั้นทั้งคู่ก็จะไม่ได้พบกันอีกเลย

พระสุธนออกรบได้รับชัยชนะและกลับมา ทรงพบว่าภรรยาได้บินหนีกลับเขา
ไกรลาสไปเสียแล้ว พระองค์ทรงร้องขอให้พรานบุญนำพระองค์ไปที่ป่าหิมพานต์
การเดินทางนี้ใช้เวลา 7 ปี 7 เดือน  และ 6 วัน จึงเดินทางมาถึงเชิงเขาไกรลาส
อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังไม่พบนางมโนราห์เพราะปราสาทที่พำนักของเธออยู่บน
ยอดเขาสูง เพื่อที่จะพบเจอเธอได้ทันเวลา พระองค์ทรงเดินทางด้วยวิธีเกาะเท้า
ของนกยักษ์บินขึ้นไปบนปราสาทของนางมโนราห์

พระบิดาของนางกินรี ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักร นครกินรีทรงมีพระ
ประสงค์ให้พระสุธนได้พิสูจน์ความรักและความจริงใจที่มีต่อมโนราห์ ถ้าเขารักเธอ
จริง เขาควรจะสามารถระบุว่านางมโนราห์เป็นผู้ใด จากนางกินรีพี่น้องทั้ง 7 องค์ที่
มีรูปร่างลักษณะนางกินรีทั้ง 7 องค์ที่คล้ายคลึงกัน พระสุธนเกือบไม่สามารถที่จะ
บอกความแตกต่างได้ แต่พระองค์ทรงจำแหวนหมั้นที่มอบให้กับนางมโนราห์ ได้
และพระองค์ก็ได้เลือกนางมโนราห์จากการสวมแหวนที่พระองค์มอบให้ และ
ท้ายที่สุดพระสุธนและนางมโนราห์ได้อยู่ครองรักร่วมกันตลอดไป

การแสดงรำมโนราห์ในภาคใต้ของประเทศไทยมักจะแสดงโดยชาวบ้านท้องถิ่น
การรำมโนราห์และการแสดงละคร มีทั้งการร่ายรำแบบเดิม(โนราห์แม่บท)และ
แบบแก้ไขใหม่ (โนราห์ตามบท) มโนราห์นั้นเน้นในเรื่องการร่ายรำมากกว่าเรื่องราว
ที่รับมาจากมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ ผู้แสดงทั้งหมดเป็นผู้ชาย แต่งตัว
เพื่อเล่นเป็นบทผู้หญิง







มโนราห์ หรือ โนราห์เป็นการแสดงระบำแบบดั้งเดิมของประเทศมาเลเซีย ผู้มี
ความรู้บางคนในประเทศมาเลเซียเชื่อว่ามโนราห์เป็นศิลปะการแสดงโบราณที่มีต้น
กำเนิดจากภาคใต้ของประเทศไทย และอาจวิวัฒนาการมาจากพิธีการเซ่นสรวง
ของเหล่านายพราน ทุกวันนี้ได้มีการแสดงมโนราห์กันอย่างกว้างขวางในฐานะที่
เป็นรูปแบบศิลปะสำหรับประชาชนทั่วไป คำว่ามโนราห์มาจากชื่อของตัวเอกหญิง



ในนิยายเรื่องมโนราห์ที่เป็นนิยายอิงพระพุทธศาสนา มีการแสดงมโนราห์อยู่สอง
ประเภท ประเภทแรกนั้นแสดงเพื่อเหตุผลทางพิธีกรรมเฉพาะเช่นการแก้บนหรือ
เพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ที่จะมาถึง อีกประเภทคือการแสดงเพื่อความบันเทิง งาน
แต่งงาน งานรื่นเริงต่างๆ มโนราห์นั้นเป็นที่นิยมในเมืองเคดาห์ ปะลิส และ กลันตัน
ในประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับหลายๆ จังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย
มโนราห์ยังมีชื่ออื่นๆ คือโนราห์ หรือละครชาตรี เครื่องดนตรีที่ใช้คือ ฉาบ1 คู่ ฆ้อง
ขนาดเล็ก กรับไม้ กลองสองหน้า รูปถัง ปี่ กลองรูปทรงแจกันหน้าเดียว ภาษาที่
ใช้ขึ้นอยู่กับสำเนียงท้องถิ่น นักแสดงชาวกลันตันก็ใช้สำเนียงกลันตัน ชาวปะลิสก็
ใช้สำเนียงไทยและปะลิส ทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ใช้สำเนียงท้องถิ่นภาคใต้






Create Date : 11 สิงหาคม 2551
Last Update : 23 สิงหาคม 2561 13:55:04 น.
Counter : 2931 Pageviews.

7 comments
  


วันนี้เอาชามาฝากค่ะ
ขอให้เป็นคืนที่ดีนะคะ ^ ^

ปล.ยังอ่านไม่จบ แต่คิดถึงเสมอนะคะ
พร่งนี้ปอมาอ่านต่อค่ะ งุงิ
โดย: Butterflyblog วันที่: 13 สิงหาคม 2551 เวลา:20:06:46 น.
  
สมัยเรียนหนังสือ ไปมาทั่วเลยพวกวัดๆโบราณ
ทั้งวัดพระสิงห์ เจดีย์เจ็ดยอด
พระธาตุดอนเต้า พระธาตุลำพูน วัดเจดีย์ซาว
วัดเจดีย์หลวงจำเริ่องราวไม่ค่อยได้ รู้แต่ว่า...
กินขนมจีนน้ำเงี้ยวที่เกาะคา อร่อยมาก อิอิ
จำได้แต่เรื่องกิน

เออ..ร่มที่ถ่ายมาสีสดดีจัง
แต่กันฝนได้หรือเปล่า (ไม่เคยถือ)
ถ้าฝนตกสีจะจางมั้ยหนอ
แต่ดูเป็นอุษาคเนย์ดี
เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ได้ใช้ร่มสีสดๆสู้แดดแบบบ้านเรา
โดย: กูรูขอบสนาม IP: 124.121.93.129 วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:8:08:41 น.
  
คิดถึงเมืองไทย

คิดถึงเชียงใหม่มากๆๆๆๆๆๆค่ะ
โดย: asita วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:15:06:00 น.
  
จำวัดที่ดอยสุเทพได้ เพราะไปพลัดหลงกับครอบครัวมาแล้วสมัยยังเป็นเด็ก! ได้ดูภาพรำลึกความหลังอีกครั้ง รวมทั้งภาพร่มสีสด ๆ เหล่านี้ด้วย

เห็นด้วยค่ะ ว่าไม่ว่าอะไรก็พึ่งมากไม่ได้ ประมาทไม่ได้..โดยเฉพาะโลกเทคโนโลยี

ว่าแต่ภาพไม่ขึ้น ไม่เห็นชารียาใส่ผ้าถุงผมยุ่งเลย....
โดย: กังสดาล IP: 125.25.14.58 วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:19:24:24 น.
  
สวัสดีครับ..ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ..ยินดีที่ได้รู้จักครับผม..รักษาสุขภาพนะครับ..
โดย: สิงห์นครพิงค์ วันที่: 15 สิงหาคม 2551 เวลา:4:53:04 น.
  
ดูรูปแล้วอยากไปด้วยจังเลยค่ะ
โดย: yadegari วันที่: 15 สิงหาคม 2551 เวลา:6:20:50 น.
  


โดย: ทีม IP: 118.172.66.80 วันที่: 8 ธันวาคม 2552 เวลา:10:54:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SwantiJareeCheri
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2551

 
 
 
 
 
1
2
4
8
10
12
14
19
23
26
28
 
 
11 สิงหาคม 2551
All Blog