Khalil Gibran คาลิล ยิบราน



For Education
















ก่อนจะมาเชียงใหม่ ขอคั่น ด้วยภาพ สวยๆ ของกวี และนักวาด ที่แสนรักก่อนค่ะ 




ความรักไม่ให้สิ่งอื่นใดนอกจากตนเอง และก็ไม่รับเอาสิ่งใดนอกจากตนเอง ความรักไม่ครอบครอง และก็ไม่ยอมให้ถูกครอบครอง เพราะความรักนั้นพอเพียงแล้วสำหรับตอบความรัก'



หลายคนคงจำประโยคนี้ได้ดี ดิฉันมีความเชื่อว่า ความรู้สึกดีๆที่หลายคนยอมรับว่ามีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นเสมอในชีวิต อย่างน้อยคุณก็รักหนังสือเล่มเดียว กับดิฉัน 

The Prophet ของ Khalil Gibran 





เมื่อเธอรัก อย่าได้ว่า 
"พระเป็นเจ้าอยู่ในดวงใจเรา"
แต่ควรพูดว่า
"เราอยู่ในดวงใจพระผู้เป็นเจ้า"
และอย่าได้คิดว่าเธอสามารถนำแนวทางของความรักได้
เพราะถ้าความรักพบว่าเธอมีคุณค่าพอแล้วก็จะเป็นผู้นำแนวทางของเธอเอง
ความรัก 
ไม่มีความปราถนาสิ่งอื่นใดนอกจากที่จะทำตนเองให้สมบูรณ์
แต่ ถ้าหากเธอรัก
และจำต้องมีความปราถนา 
ก็ขอให้ความปราถนาของเธอเป็นดังนี้

เพื่อจะละลายและไหลดังธารน้ำ 
ซึ่งส่งเสียงเพลงกล่อมราตรี

เพื่อจะเรียนรู้ความปวดร้าว 
อันเกิดแต่ความอ่อนโยนละมุนละไมเกินไป
เพื่อต้องบาดเจ็บ 
ด้วยความเข้าใจในความรักของตนเอง

และเพือจะยอมให้เลื่อดหลั่งไหล 
ด้วยความเต็มใจและปราโมทย์
เพื่อจะตื่นขึ้น ณ 
รุ่งอรุณ 
ด้วยดวงใจอันปีติและขอบคุณความรักอีกวัน
หนึ่ง
เพื่อจะหยุดพัก ณ
ยามเที่ยง แลเพ่งพินิจความสุข 
ซาบซึ้ง ของความรัก
เพื่อจะกลับบ้าน ณ
ยามพลบค่ำ 
ด้วยความรู้สึกสำนึกคุณ

และเพื่อจะหลับไปพร้อมกับคำสวดมนต์ภาวนาสำหรับคนรักในดวงใจ
และเพลงสรรเสริญ
บนริมฝีปากของเธอ


ไม่ใช่คุณเพียงคนเดียว ที่ซื้อหนังสือเล่มเดียว ซ้ำๆ ดิฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้


หลายคนคงจำประโยคนี้ได้ดี ดิฉันมีความเชื่อว่า ความรู้สึกดีๆที่หลายคนยอมรับว่ามีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นเสมอในชีวิต อย่างน้อยคุณก็รักหนังสือเล่มเดียว กับดิฉัน The Prophet ของ Khalil Gibran 




ไม่ใช่คุณเพียงคนเดียว ที่ซื้อหนังสือเล่มเดียว ซ้ำๆ ดิฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้ น่าจะเป็นบทเรียนในชั้นเรียน ในเมืองไทย ด้วยซ้ำไป และอาจจะเพราะในประเทศไทย หลักสูตรของการเรียน เรามีแบบแผน ของประเทศอังกฤษ เราจึงรู้จัก แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ถอยหลังลงคลองของ บ้านเมืองเรา ทำให้หลักสุตรเปลี่ยนไป ไม่ค่อยมีใครอยากคิดเขียน หรือเปลี่ยนแปลง แต่ที่น่าแปลก บทกวีของ


คาลิล ยิบราน 




กลับกลายมาเป็น เพื่อนและแนวคิดข้างกาย กับผู้หญิงไทย ชายไทยอย่างน่าชื่นชม 


ในหลักสูตรของมัธยมศึกษาตอนต้น ดิฉันได้เรียนวรรณคดี อังกฤษแล้ว แนวคิดและปรัชญา เรียน
เชคสเปียร์ เพลย์ นี่แหละค่ะ และเป็นโอกาสเรียนภาษาอังกฤษที่ยากขึ้น แต่ไม่ทราบว่า ตอนนี้ไปอย่างไร

และที่ดิฉันเสียดายคือการเรียนวรรณคดีไม่ว่าภาษาไทย หรือภาษา อังกฤษ ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน สามารถ
พัฒนาทางด้านจิตใจ เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ เมื่อเป็นเรื่องของวรรณคดีแล้ว ย่อมจะมีความยิ่งใหญ่ ในความรู้สึก ต่อมาก็นำมาเป็นบทละคร แสดง กันใน โรงเรียน ก่อนจะมาเป็นละครเวที

และภาพยนตร์ 

จะทำให้เรามีแบบแผนทางความคิด อย่างง่าย โรมิโอ และจูเลียต แมคเบธ แฮมเล็ต เดอะเมอชันออฟ เวนิส เวนิชวานิส เทมเพส (แนวคอมเมอดี้)ของ เชคสเปียร์ ที่เขียนเป็นแนว มหากาพย์ ผู้ที่เรียนวรรณคดีอังกฤษ ก็ต้องเรียนก็จะต้องเรียนพื้นฐานเทวตำนาน เทพซีอุส คิวปิดกับไซคี เมโดูซ่า มีรูปปั้นด้วยหินอ่อน เหล่านี้ มีรูปอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ ลุฟท์ ในฝรั่งเศส

และอาจจะเพราะในประเทศไทย หลักสูตรของการเรียน เรามีแบบแผน ของประเทศอังกฤษ คงจำกันได้ ว่า มีหนังสืออ่านนอกเวลาของวิชาภาษาอังกฤษ มีโคลงกลอนอะไรบ้างที่จำกันได้ กวีชาวอังกฤษคนไหนคุูณประทับใจที่สุด อย่าง Robert Burns 

จำได้บ้างไหม..O my love like a red red rose.....ท่องได้ตั้งแต่วัยเยาว์

ไม่รู้หรอกว่ารัก คือ อะไร แถมยังมีวาเลนไทน์ โรงเรียน แยก ชายหญิง


การปฏิรูปการศึกษาเปลียนไปหลายหน พอๆกับการปฏิวัติในประเทศไทย 

จากประเทศ ด้อยพัฒนา Under developing ประเทศไทย ยกระดับ มาเป็น Developing country การช่วยเหลือเรื่องการให้ทุนการศึกษา

จากต่างชาติน้อยลง ผู้เรียนวรรณคดีเป็นภาษาอังกฤษ ลดน้อยลงเพราะเรียนไปก็ไม่มีโอกาสไปเรียนต่อต่างประเทศมากเท่าเดิม

ผู้เรียนคณะอักษรศาสตร์ มีความหวังที่จะสอบต่อในกระทรวงต่างประเทศ 

หรือรับทุนรัฐบาลไปเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอก และกลับมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 





แต่ที่น่าแปลกหนังสือแปลรุ่นสังคมศาสตร์ปริทัศน์ หรือปาจารยสาร ประมาณปีพศ.2511 ทียัง อยู่ในหัวใจของหนุ่มสาว ยุคแสวงหา ก็ยังมีชื่อ 

The Prophet ของ Kahlil Gibran : ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ นอกชั้นเรียน สมัยนั้น และอยู่ในชั้นเรียน ของผู้เรียน วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือธรรมศาสตร์


The Prophet กลับเป็นหนังสือของ เด็กหนุ่มเด็กสาวที่สนใจ หนังสือ เกี่ยวกับปรัชญาชีวิต และทุกคนเก็บเงียบไว้ในใจ

เกี่ยวกับความคิด และปรัชญา ที่ได้มาด้วยความ อยากรู้ มีคนกล่าวถึง 

หรือเป็นหนังสือน่าอ่าน ทีแผงหนังสือ และได้รับการแปล โดยปรมาจารย์

ดร.ระวี ภาวิไล นานมาแล้ว ภาพวาดประกอบเป็นสิ่งหนึ่งมี่ดิฉันหลงไหล

เป็นรูปเปลือยอะไรที่สวยสดงดงามเช่นนี้ เหมือน อีกมิติหนึ่งของโลก





งามหมดจดเหมือนชีวิตครอบครัว และการสนทนา ระหว่างความรัก ที่เหนือจากสิ่งอื่นใด

ไม่มีการแยก เพศ พจน์ ชั้น วรรณะ เป็นหนังสือที่ผ่อนคลาย ไม่มีการบังคับ ให้อ่าน และเป็นหนังสือข้างกาย วางอยู่ทุกหนแห่งได้ 

ไม่มีปํญหา จนบัดนี้ดิฉันก็ยังพบว่ามีหลายๆคน ที่รักคาลิล ยิบราน

และรักความงามของบทกวี เจอหนังสือที่ไหนก็อดจะซื้ออีกไม่ได้ 

มนุษย์ เมื่อมีชิีวิต การอ่านเป็นบทเริ่มต้นแรกของการแสวงหา

ตรงนี้ ดิฉันมีคำถามเสมอว่า คนทั่วไปมองหญิงไทยอย่างไร 




ศาสนา พุทธ เหมือนกับจะเป็นอะไรที่ให้โอกาส สำหรับผู้ชายเท่านั้น

ดิฉันมองความไม่เท่าเทียมระหว่างชายและหญิง 


มีความเท่าเทียมที่ไหนบ้างในโลก จีน ยิ่งแล้วใหญ่ที่ครอบครัวพึงปรารถนาลูกชายเท่านั้น 

อยู่ในเส้นตรงที่เห็นง่ายๆ เด็กผู้หญิง วัยที่อยู่ในโรงเรียน 

จะไปวัดได้ยามเทศกาล หรือโรงเรียนพาไป ผู้ปกครองพาไป 

และเหมือนกับว่าพระพุทธเจ้าก่อนออกบวช ก็ตั้งชื่อลูกว่าราหุล แปลว่า ห่วง หรือบ่วง

และพระองค์ท่าน ก็ตัดสินใจออกบวช ด้วยการหนีออกไปจากวัง 


ดิฉันคิด และคิดมาตลอดว่า ทำไมศาสนาพุทธ สร้างความรู้สึก ให้ผู้หญิงมีสภาพ เป็นนางมาร ไปทันทีเรียกผู้หญิงว่า สีีกา ทันที 

ไม่ว่าผู้หญิง นั้นจะอยู่ในสภาพ แม่ ภรรยาหรือคู่รัก 

แต่อย่างไรก็ตามดิฉัน ก็ยังเป็นพุทธศาสนิกชน 


และดิฉันคิดว่าผู้หญิงไทย ส่วนใหญ่ มีความอ่อนโยน ความรู้สึกต่อต้าน


จึงไม่เกิด แต่ผู้หญิงนี่แหละที่ทำอาหารดีๆ ส่งให้วัด


ปรัชญาชีวิตของ คาลิล ยิบราน ที่ ให้ความรู้สึกเสมอภาค และเข้ามาสู่จิตใจ หญิงชายในประเทศไทยจนสามารถ ดึงความหมายออกเป็น ฉากเหมือนละครเวทีที่ อยู่บนความเอิบอิ่มและ 

มีฉากงดงามคู่ไปกับกาลเวลาที่สร้างวุฒิภาวะของของมนุษย์




อย่างเงียบกริบและสดใส

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เป็นหลังสือที่เรามีกันคนละหลายเล่ม บางคนซื้อทุกครั้งที่เห็น และบางคนซื้อทุกครั้งทีหนังสือหาย 

และบางคนซื้อแจกเพื่อน หลังจากพบว่าคุณค่าหลายๆอย่างที่เพื่อน น่าจะ

ได้รับรู้มากขึ้น แต่เป็นเพียงเสียงเงียบเท่านั้น 


หลายท่านที่อ่าน อาจจะสงสัยว่าดิฉันเริ่มมาบ่นอะไร ให้ใครฟ้ังอยู่ ไม่ใช่

การบ่น แต่ดิฉัันเพียงจะเล่าให้คุณทราบว่า ดิฉันมีความพยายามมานาน

ที่จะให้ ประัเทศ ไทย เปิดประตุูสูุ่๋โลกกว้าง มีแต่ดิฉันเปิดหน้าต่างดูท้องฟ้า โชคดีว่า อินเตอร์เนต ทำให้ ความปฏิสัมพันธ์ ง่ายขึ้น โลกของเราแคบลง ผู้หญิงไทยมีการศึกษามากขึ้น เปิดใจรับฟัง และเริ่มใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะคูณๆทั้งหลายที่อยู่ต่าง ประเทศ ที่คุณอยากให้บ้านเมืองและ การเสียสละกันมากกว่านี้ 

แต่ ความหวังของเรามันล่มสลายทุกครั้ง เมื่อเกิดการ 

ปฏิวัติรัฐประหาร เพื่อนต่างชาติ หลายคน หัวเราะ 

ดีแล้วที่เขาไม่เลือกเมืองไทย แต่ความจริงคงไม่มีสาวไทยคนใด 

ชวนเขามาอยู่ ดิฉัน คิดเช่นนี้

เรื่องของอำนาจ เพียงมันจะมาอยู่เพียงชั่วครู่แล้วจากไป ตามวาระกรรม 

หนังสือที่ดิฉันรักมากที่แปลมาเป็นภาษาไทยแล้ว มีดังนี้นะคะ 

วิญญาณขบถ แปลโดย กิติมา ขัติยา น่านรังษี

ผู้พเนจร (The Wanderer) 
หนังสือเล่มนี้เผยให้เห็นความจริงแท้อันเป็นนิรันดร์แหงความขัดแย้ง และความหน้าไหว้หลังหลอกในด้านบุคคล จิตวิญญาณ สังคมและการเมือง ด้วยภาพลักษณ์ของภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ คาลิล ยิบราน.

เรื่องผู้เบิกทาง (The Forerunner) 



ปีกหัก The broken wing 

ดิฉันอยากฟัง ผู้ที่เคยอ่าน หรือ อ่านแล้ว ยังอ่านอยู่ Comment ให้ฟัง 


แลกเปลี่ยน หรือผูดถึงเรื่อง คาลิล ยิบราน กับความรัก ที่เหมือนเสาวิหาร

ก็ลองเขียนมาเลยนะคะ ทุกคนค่ะ ดิฉันอยากรู้ว่า ที่ดิฉัน พูดถึง ความสามารถในการอ่าน คิด และเขียน และประสบการณ์ ทำให้เราให้คุณค่ากับ สิ่งที่ตัวอย่างของความดี และ ความงามที่เป็น เรื่อง ของจิตใจ โลกจะน่าอยู่มากขึ้น 

และดิฉันแนะนำให้คุณ มีหนังสือของคาลิล ยิบราน

ไว้ที่บ้านสัก1 เล่ม นะคะ โลกของ คุณ จะไม่ถูกแบ่งแยกเลย 



Janine Yasovant MPA. 

30 July 2008







Create Date : 30 กรกฎาคม 2551
Last Update : 23 สิงหาคม 2560 12:01:40 น.
Counter : 5209 Pageviews.

14 comments
  
I read the broken wing when I was 16. i did't understan what does its mean but for now.
that book though me so many things make me stronger. know how life is. i'm glad i got to read that book ka
so sorry my english its not good at all and also i can't type in thai
forgive me naka
โดย: new usa old thai IP: 68.50.25.219 วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:9:20:49 น.
  
รู้สึกว่าข้าพเจ้าจะสมภาพเหล่านี้ไว้เยอะทีเดียว สั่งซื้อมาเป็นไฟล์ภาพ อิอิ ดีใจที่ชอบเหมือนๆกันนะคะ
โดย: บุปผาลีลาวดี วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:15:43:35 น.
  
เท่าที่อ่านคาดว่า เจ้าของบล็อกต้องมีความรู้ด้าน Gender หรือ Feminism บ้างไม่มากก็น้อย
ชินวิพากษ์ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ค่ะ อีกอย่างงานเขียนชิ้นนี้เคยอ่านนานมากกกก สมัยเรียนก็โดนบังคับให้อ่าน

สำหรับหนังสือดีๆ ชินเชื่อว่าสมัยนี้คงมีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานเขียนชิ้นเก่าหรือใหม่ อาจารย์คงบังคับให้เด็กอ่านยากขึ้น เพราะสื่อต่างๆ มันเย้ายวนชวนหลงไหล

คงไม่เหมือนสมัยที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นเรื่องห่างไกล เต็มที่ดูทีวี ฟังวิทยุ หรือขอเพลงตามรายการในคลื่นวิทยุ เขียนจดหมาย ...ชินมองว่าเด็กสมัยนี้น่าเห็นใจนะ สังคมประกอบสร้างแท้ๆ

มิติมุมมองหญิงชายระหว่าง เอเชียและตะวันตกก็ต่างกัน บางทีการจะนำแนวตะวันตกมาใช้ในไทยทีเดียว บางทีก็มาเจอระบบชายเป็นใหญ่ มันก็ตัน คอตกเหมือนกันนะคะ
...เอ๊ะนี่ชินพร่ำอะไรกันนี่ คุณพูดถึงงานเขียนของคาลิล ยิบราน นี่น่า

อินเตอร์เน็ตมันเป็นประตูสู่โลกกว้างก็จริง แต่เด็กไทยใช้ไม่ค่อยเป็นกันเท่าไ หร่
โดย: shin chan (alei ) วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:17:59:33 น.
  
แต่ก่อนท่องได้ทั้งเล่ม
เดี๋ยวนี้ชักลางเลือน
จำได้แต่ "เมื่อความรักเรียกร้องเธอ จงตามมันไป"
เอ๋..ใช่หรือเปล่า

แต่จำ "หิ่งห้อย" ( Firefly) ของรพินทรนาถ ฐากูร ได้มากกว่า

"ความเพ้อฝันของข้าคือหิ่งห้อย
จุดสว่างทรงชีวิต
ระยิบในอนธการ"

"บรรณาการแห่งข้าขลาดเกินกว่าจะเรียกร้อง
ให้เธอรำลึกถึง
และเพราะเหตุนี้เธอจึงอาจจดจำมันได้
ตัดชื่อข้าทิ้งจากบรรณาการนั้น
หากมันเป็นภาระที่หนักเกิน
แต่โปรดเก็บรักษาบทเพลงของข้าไว้ "

อาจจะเป็นเพราะเป็นบทกวีสั้นๆ
เลยจำได้ง่ายกว่า

ปาจารยสารยังมีเก็บอยู่ เฉพาะเล่มหลังๆ
ส่วนสังคมศาสตร์ปริทัศน์รับไม่ทัน
แต่ไปอ่านในห้องสมุด พอๆกับอักษรศาสตร์พิจารณ์

สถานที่ทำงานของสังคมศาสตร์ปริทัศน์
คือบ้านไม้เก่าๆครำคร่าแถวจุฬา
ซึ่งถูกรื้อออกต่อมาเพื่อสร้างหอพักชายจุฬา
เคยไปหาคุณสุชาติ บก.เครางามเพื่อขอข้อมูลบางอย่าง
ที่นั่น


หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2516
คุณสุชาติถูกปลดออกจากการเป็น บก.
หายล่องหนไปพักใหญ่ แล้วกลับมาในฐานะ บก.โลกหนังสือ
สิงสถิตที่ชั้นลอยในร้านหนังสือดวงกมล สยามสแควร์
จนกระทั่งเลิกราอีกครั้ง

ทุกวันนี้ นิตยสารโลกหนังสือ ตั้งแต่เล่มแรกถึงเล่มอำลายังอยู่ครบ
ว่างๆก็ยังหยิบขึ้นปัดฝุ่นอ่าน
โดย: กูรูขอบสนาม IP: 124.121.145.129 วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:19:54:02 น.
  
เข้ามาอีกครั้ง ขอแก้ไขข้อมูลเบื้องบน
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ไม่ใช่ 2516

ถ้าจำโคลงกลอนภาษาอังกฤษ จำแวบๆตอนหนึ่งได้

I wandered lonely as a cloud
That floats on high o'er vales and hills,
When all at once I saw a crowd,
A host of golden daffodils;
Beside the lake, beneath the trees,
Fluttering and dancing in the breeze.

Continuous as the stars
that shine and twinkle on the Milky Way,
They stretched in never-ending line
along the margin of a bay:
Ten thousand saw I at a glance,
tossing their heads in sprightly dance.

The waves beside them danced; but they
Out-did the sparkling waves in glee:
A poet could not but be gay,
in such a jocund company:
I gazed - and gazed - but little thought
what wealth the show to me had brought:

For oft, when on my couch I lie
In vacant or in pensive mood,
They flash upon that inward eye
Which is the bliss of solitude;
And then my heart with pleasure fills,
And dances with the daffodils.

ของใครเอ่ย
โดย: กูรูขอบสนาม IP: 124.121.145.129 วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:20:20:31 น.
  
โอ้ มังคุดไม่ค่อยมีความรู้เรื่องศิลปะเท่าไหร่ ได้แต่ดูค่ะ
โดย: mungkood วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:21:01:00 น.
  
สวัสดีครับผม....

มาขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยม & คอมเม้นท์ ให้ที่บล็อกผมครับ
ฝันดี และ ราตรีสวัสดิ์ ครับผม....
โดย: Romancini วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:0:31:40 น.
  
ชอบภาพวาดแบบนี้เหมือนกัน จะว่าก็ชอบอีกหลายแบบนะค่ะ
โดย: ต๋อย (Roseshadow ) วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:1:32:02 น.
  
ง่า ดูไม่ค่อยเป็นเหมือนกัน แต่ดูแล้วฟังเพลงคลอตามไปแบบนี้ให้อารมณ์ได้ดีจริงๆค่ะ
โดย: bmyvalentine วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:7:21:14 น.
  
ไปเชียงใหม่มาเหมือนกันค่ะ พักผ่อนให้สนุกนะคะ
โดย: ลูกสิงโต วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:12:56:10 น.
  
อืมๆ... บอกตามตรงว่าอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจครับ
เห็นความพยายามที่จะสื่อ เพียงแต่ผมอ่านแล้ว
ไม่เข้าใจเองน่ะ


แต่ผมมั่นใจอย่างนึงว่า ถ้าเลือกเกิดได้ ไม่ว่าจะอีกกี่ครั้งก็ตาม
ผมจะเลือกเกิดและตายเป็นผีที่แผ่นดินไทยครับ...
โดย: ST.Exsodus วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:16:51:47 น.
  


สวัสดีค่ะ คุณเชรียา
ปอเองเคยสะดุด กับชื่อของ ยิบราน เหมือนกันค่ะ
แต่นานมากแล้ว รู้สึกว่าช่วงนั้นๆ ไม่ได้สนใจ หรือใส่ใจ
เกี่ยวกับเรื่องราวแนวนี้เลย....

แต่ภาพวาดแบบนี้ โดยส่วนตัวก็ชอบค่ะ แต่ไม่มีความลึกซึ้งในความหมาย...ขอบคุณที่เอามาขยายความคิดเห็น
ให้ได้ชม ได้อ่านค่ะ

Take Care...^ ^

ปอแวะมาเสริฟของว่างค่ะ งุงิ

สบายดีนะคะ
โดย: Butterflyblog วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:17:24:31 น.
  
แวะเข้ามาทักทายค่ะ สบายดีนะคะ ...


เหะๆ นุชไม่มีความรู้เรื่องหนังสือเท่าไหร่
ไม่เป็นไรใช่มั้ยคะ ถ้านุชจะทิ้งคอมเม้นท์
แบบคนละเรื่องราวกับเนื้อหาของบล๊อก ^_^

ปล. ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมไปหาที่บล๊อกมากๆ ค่ะ
โดย: My LeOZaA วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:19:28:07 น.
  
ผมชอบภาพศิลปะ โดยเฉพาะภาพที่2อะ
โดย: MM (ongchai_maewmong ) วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:20:20:10 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SwantiJareeCheri
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2551

 
 
1
2
4
9
11
12
14
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
31
 
 
All Blog