ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
16 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
การวิจัยแบบทดลอง และ การวิจัยแบบไม่ทดลอง

การวิจัยแบบทดลอง

1. การวิจัยแบบทดลอง (experimental research design)
เป็นกระบวนการศึกษาที่ผู้วิจัยจัดกระทำ / ให้สิ่งทดลองกับตัวแปรอิสระแล้วดูผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม โดยเปรียบเทียบกับกลุ่าที่ไม่ได้จัดกระทำมีการควบคุมตัวแปรภายนอกให้ผลที่ได้จากการทดลองเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระที่ได้จากการจัดกระทำอย่างแท้จริง
จุดมุ่งหมายของการวิจัยแบบทดลอง เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปร 2 ตัวที่สนใจ และเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี ลักษณะสำคัญของการวิจัยแบบทดลองคือ มีการจัดกระทำ (manipulate) มีการควบคุม (Control) และมีการสุ่ม (randomization)

การวิจัยแบบทดลองมี หลายรูปแบบ เช่น

แบบที่ 1 (Pretest - Posttest control group design) มีรูปแบบสังเขป ดังนี้

วิธีการ 1. สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามจำนวนที่ต้องการ
2. สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
3. ทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับทั้ง 2 กลุ่ม
4. จัดกระทำกับกลุ่มตัวอย่าง (ให้ Treatment)
5. ทดสอบหลังการทดลอง (Post-test) ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
6. เปรียบเทียบ Pre-test และ Post-test ของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
7. เปรียบเทียบค่าที่วัดได้จากทั้ง 2 กลุ่ม

สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ Independent - T - test dependent t-test หรือ ANCOVA


แบบที่ 2 Post - test only control group design เป็นแบบวิจัยที่มีการสุ่มกลุ่มควบคุมและกลุ่ม ทดลอง แต่ทดสอบหลังการทดลองอย่างเดียว


วิธีการ 1. สุ่มตัวอย่างจากประชากรตามจำนวนต้องการ
2. สุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม
3. ให้การจัดกระทำ / ให้ Treatment แก่กลุ่มทดลอง
4. วัดค่าตัวแปรตามและเปรียบเทียบค่าที่วัดได้ทั้งสองกลุ่ม

สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ Independent t- test


แบบที่ 3 Solomon four group design เป็นแบบวิจัยที่มีการสุ่มกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง อย่างละ 2 กลุ่ม และให้ได้รับการทดลอง 2 กลุ่ม ทั้งนี้เพื่อการควบคุม แหล่งที่ทำให้ ขาดความตรงภายใจ และอิทธิพลปฏิกิริยาร่วมระหว่าง Pre-test และ post - test เพื่อ ผลการทดลองที่ได้เป็นผลจากการที่ผู้วิจัยจัดกระทำจริง ๆ


วิธีการ 1. สุ่มตัวอย่างจากประชากรเท่าที่ต้องการ
2. สุ่มกลุ่มตัวอย่างจาก 1 เข้ากลุ่มโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
3. สุ่มกลุ่มรับการทดลอง 2 กลุ่ม จัดให้เป็นกลุ่ม 1 และ 3
4. สุ่มกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จากกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม
5. ทำการทดสอบก่อนทดลองในกลุ่ม 1 และ 2
6. จัดกระทำ / ให้ Treatment กับกลุ่ม 1 และ 3
7. ทำการทดสอบหลักการทดลองทั้ง 4 กลุ่ม
8. ทดสอบผลการจัดกระทำ โดยหาความแตกต่างระหว่าง Pretest - Posttest

สถิติที่ใช้ทดสอบ Inelysendist t-test , dependivt t- test , ANOVA , ANCOVA



การวิจัยแบบกึ่งทดลอง

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research design) มีแบบแผนคล้ายการวิจัยแบบทดลอง คือมีการจัดกระทำแต่ควบคุมได้ไม่เต็มที่เพราะไม่ต้องมีการควบคุมหรือการสุ่ม อาจไม่ต้องมีกลุ่มเปรียบเทียบ หรือการสุ่มไม่ต้องครบทุกขั้นตอน เป็นการวิจัยที่กระทำกับคน และทำให้สภาพแวดล้อมจริงตามธรรมชาติ ทำให้มีข้อจำกัดบางครั้ง ไม่สามารถสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้ หรือไม่ได้จัดกลุ่มควบคุม แต่อย่างไรก็ดีต้องมีการจัดกระทำ และติดตามศึกษาผลจากการจัดกระทำนั้น ๆ ในที่นี้จะนำเสนอแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีนักวิจัยนิยมใช้เพียง 3 แบบ ได้แก่

แบบที่ 1 non - randomized control group pretest - posttest design เป็นการวิจัยแบบกลุ่มควบ คุมไม่ได้สุ่ม แต่มีการทดสอบก่อนหลังการทดลอง แต่ไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยา ร่วมระหว่างการทดสอบก่อนทดสอบ กับการจัดกระทำที่ให้ในกลุ่มควบคุมได้
วิธีการ 1. เลือกกลุ่มตัวอย่าง 2กลุ่ม จัดให้เป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม
2. ทดสอบก่อนทดลอง (Pretest) แก่ทั้ง 2 กลุ่ม
3. ให้ Treatment / จัดกระทำกับกลุ่มทดลอง
4. ทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่มทดลองและทดสอบ Posttest กับกลุ่ม ควบคุม
5. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Posttest - Pretest ของทั้ง 2 กลุ่ม

สถิติที่ใช้เปรียบเทียบ Independent t-test , dependent t-test , ANCOVA



แบบที่ 2 Time series design การวิจัยแบบอนุกรมเวลา ใช้สำหรับการศึกษาระยะยาวทำให้ เห็นลำดับขั้นตอนการพัฒนาของตัวแปร ต้องใช้เวลาในการติดตามนานไม่ต้องมีกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีการควบคุม

วิธีการ 1. เลือกกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม
2. ทดสอบติดต่อกันหลายครั้งก่อนให้ Treatment (การจัดกระทำ) เว้นระยะเวลาในการทดสอบพอสมควร
3. จัดกระทำ
4. ทดสอบหลังการจัดกระทำหลายครั้งให้แต่ละครั้งห่างกันพอสมควร
5. สังเกตผลการเปลี่ยนแปลงของการทดสอบ ก่อนการจัดกระทำครั้งสุดท้ายหลังการ จัดกระทำครั้งแรก ว่าแตกต่างจากครั้งที่ 1 ไปครั้งที่ 5 มากน้อยเพียงใด
6. พิจารณาค่าความแตกต่างของการทดสอบก่อนการจัดกระทำ ครั้งที่ 1 - 2 - 3 กับ การทดสอบหลังกระทำครั้งที่ 2 - 3 - 4 ถ้าเกิดความต่างกันมากกว่าปกติน่าจะเป็น ผลจากการจัดกระทำ

สถิติที่ใช้ ANOVA แบบวัดซ้ำ



แบบที่ 3 Control group time series design ใช้กรณีติดตามกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลานานตามธรรมชาติ อาจได้ลำดับขั้นตอนของการ พัฒนาการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มได้ชัดเจน แต่จะเสียเวลานานและไม่สามารถ ควบคุมปฏิกิริยาร่วมระหว่างการเลือกกับการจัดกระทำและการทดสอบก่อนการ ทดลองกับการจัดกระทำได้

วิธีการ 1. เลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรให้เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
2. ทดสอบก่อนการจัดกระทำทั้งสองกลุ่ม ติดต่อกันหลายครั้งโดยการทดสอบแต่ละครั้งเว้นระยะห่างกันพอสมควร
3. จัดกระทำกับกลุ่มทดลอง ส่วนกลุ่มควบคุม จัดสภาพทุกอย่างให้เหมือนกลุ่มทดลอง
4. ทดสอบหลังการจัดกระทำ ให้แต่ครั้งต่างกันพอสมควร
5. สังเกตการเปลี่ยนแปลงจาก Posttest ครั้งที่ 1 กับ Pretest ครั้งที่ 4 ทั้งสองกลุ่ม

สถิติที่ใช้ t-test


การวิจัยแบบไม่ทดลอง

การวิจัยแบบไม่ทดลอง (non - experimental research design) หมายถึงการแสวงหาคำตอบของปัญหาการวิจัยโดยอาศัยการเก็บข้อมูลจากสิ่งที่เป็นอยู่ ที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติผู้วิจัยไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ เพื่อทราบลักษณะคุณสมบัติของประชากรหรือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มประชากรหรือเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่สนใจของเหตุการณืทีเกิดขึ้นในปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต ทั้งนี้ผู้วิจัยไม่ได้จัดกระทำใด ๆ กับกลุ่มตัวอย่าง รูปแบบการวิจัยขอนำเสนอในที่นี้ 3 แบบ คือ

3.1 การวิจัยแบบสำรวจ (Server design) เป็นวิธีการศึกษาข้อเท็จจริงจากตัวอย่าง เช่นการรวบรวมสถานการณ์หรือลักษณะของประชากรจากกลุ่มตัวอย่างฉนั้นวิธีการกำหนดขอบเขตประชากรและวิธีการเลือกตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของประชากรจึงมีความสำคัญสำหรับการวิจัยแบบสำรวนี้ การวิจัยทำได้แต่ง่าย ๆ ไม่ซ้ำซ้อนจนถึงซ้ำซ้อน วัตถุประสงค์การวิจัยแบบสำรวจเพื่อบรรยาย, อธิบาย, ทำนาย เรื่องราวต่าง ๆ ทีเกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสำรวจแบบตรวจสอบรายการ การวิจัยแบบนี้มีข้อดี คือ ทำได้ในปัญหาการวิจัยหลายลักษณะ เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก แต่ข้อมูลจะผิวเผิน และสิ้นเปลืองงบประมาณ

3.2 การวิจัยแบบย้อนรอย Ex - post facto design เป็นการศึกษาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับของตัวแปร อย่างน้อย 2 ตัว จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ผลการวิจัยจะบอกได้ว่าตัวแปรสัมพันธ์กันอย่างไร มากน้อยเพียงใดและมีทิศทางทางบวกหรือทางลบ ทำวิจัยได้กว้างขวางโดยศึกษาจากกลุ่มเดียวกันหรือหลายกลุ่มเปรียบเทียบ การเก็บรวบรวมทำได้ไม่จำกัดขึ้นกับความสนใจตัวแปรนั้น ๆ โดยมากใช้กับวิธีที่เป็นวิจัยแบบทดลองไม่ได้แต่คำตอบของวิธีนี้ ตัวแปรไม่สามารถอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลได้ เนื่องจากไม่ได้มีการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระ ไม่มีการสุ่ม

3.3 การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study design) เป็นวิธีการวิจัยที่มีการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้ง เป็นรายบุคคล รายกลุ่มบุคคล เพื่อวิเคราะห์เหตุของปัญหาที่มีความสำคัญ น่าสนใจ พร้อมการหาวิธีแก้ปัญหานั้น ๆ โดยมีการนำทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล มีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบ และสิ่งสำคัญต่อการค้นพบข้อค้นพบแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

ที่มา
//www.bcnr.ac.th/e_le/f_res/les9.htm


Transparent Language



Create Date : 16 พฤษภาคม 2552
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 13:28:54 น. 1 comments
Counter : 43863 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะมาเยี่ยมเยียนค่ะ เพิ่งมีบล๊อกใหม่เหมือนกัน แวะไปชมบ้างนะคะ บล๊อกไม่สวยเพราะแต่งไม่เป็น

ตอนนี้มีข่าวทุนเรียนฟรีที่อังกฤษ 1ปี จำนวน 12ทุน มาให้ติดตามกันได้ในบลอกนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: mookyja วันที่: 22 พฤษภาคม 2552 เวลา:5:34:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.