
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
เรื่องเหี้ยๆ
 ภาพจากนิตยสาร Advance Thailand Geographic ฉบับที่64
เหี้ย (ตัวเงิน ตัวทอง) ชื่อสามัญ : Water Monitorชื่อวิทยาศาสตร์ : Varanus salvator ลักษณะทั่วไป ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉก มีลายดอกสีขาวหรือเหลือง เป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสลับดำกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด นิสัย ดุ ใช้หางเป็นอาวุธฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำว่ายน้ำดำน้ำเก่ง ถิ่นอาศัย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกา ในไทยพบได้ทุกภาค อาหาร ไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า การสืบพันธุ์ ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ ลูกออกมาจากไข่แล้วหากินเอง ไข่เปลือกนิ่มแต่เหนียว สถานภาพ สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
 ภาพจาก //www.deqp.go.th ตะกวด (แลน) ชื่อสามัญ : Common Monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ : Varanus bengalensis
ลักษณะทั่วไป พื้นตัวสีเทาเหลืองหรือน้ำตาลเทา เกล็ดเป็นสีเหลือง หรือเป็นจุด ๆ มองผ่าน ๆ จึงดูตัวเป็นสีเหลือง นิสัย ไม่ดุเท่าเหี้ย ขึ้นต้นไม้เก่ง แต่ว่ายน้ำและดำน้ำไม่เก่งเท่าเหี้ย ปกติชอบอยู่ใกล้น้ำเช่นเดียวกัน แต่บางทีอาจพบตามป่าโปร่งและเนินเขาไกลจากลำน้ำ ถิ่นอาศัย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและพม่า อาหาร ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า การสืบพันธุ์ โตเต็มที่เมื่ออายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 20 ฟองในฤดูฝน ฟักออกเป็นตัวง่าย ออกไข่ในหลุมดิน เช่นเดียวกับเหี้ย สถานภาพ สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
 ภาพจากนิตยสาร Advance Thailand Geographic ฉบับที่64 เห่าช้าง ชื่อสามัญ : Rough-Necked Monitorชื่อวิทยาศาสตร์ : Varanus rudicollis
ลักษณะทั่วไป ตัวสีดำเข้ม มีลายเลือนๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอใหญ่เป็นแหลมๆ นิสัย ชอบอยู่ในป่าทึบและเดินหากินบนพื้นดิน แต่ก็ขึ้นต้นไม้เก่งๆ ว่องไวปราดเรียวและซุกซ่อนตัวเก่ง ดุกว่าเหี้ย เข้าใกล้จะพองคอขู่ฟ่อๆ ถิ่นอาศัย ภาคใต้ของประเทศไทยและพม่า หมู่เกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อาหาร ไก่ นก ปลา กบ เขียด กินได้ทั้งของสด และของเน่า การสืบพันธุ์ เริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม วางไข่ ตามหลุมที่ขุดเป็นโพรง เมื่อออกไข่แล้วจะไม่ฟักไข่ ลูกออกจากไข่จะหากินเอง สถานภาพ สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
 ภาพจาก //www.koratzoo.or.th ตุ๊ดตู่ ชื่อสามัญ : Red-headed Monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ : Varanus dumerilii
ลักษณะทั่วไป ลำตัวยาว 50-125 เซนติเมตร เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นสัตว์ไม่มีพิษ นิสัย เชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่หลบนอน ชอบนอนตามโพรงไม้ หรือซอกหิน เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลบนอนตามเดิม ถิ่นอาศัย พบอาศัยในป่าดิบชื้นภาคใต้ของประเทศไทยและพบในมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สิงคโปร์ อาหาร เนื้อสัตว์และแมลงต่าง ๆ การสืบพันธุ์ วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203 - 230 วัน สถานภาพ สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
Create Date : 28 กันยายน 2548 |
Last Update : 28 กันยายน 2548 9:18:42 น. |
|
9 comments
|
Counter : 3869 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 28 กันยายน 2548 เวลา:11:08:07 น. |
|
โดย: นกแก้ว-->ไก่ (vewrriii ) วันที่: 29 พฤศจิกายน 2548 เวลา:10:49:06 น. |
|
โดย: ใบเฟิร์น IP: 125.24.84.7 วันที่: 16 กรกฎาคม 2549 เวลา:10:13:04 น. |
|
โดย: 12 IP: 58.64.89.125 วันที่: 4 กันยายน 2549 เวลา:18:58:45 น. |
|
โดย: พอมคะ IP: 125.24.165.244 วันที่: 7 ธันวาคม 2549 เวลา:18:05:25 น. |
|
โดย: ==NO NAME== IP: 222.123.38.110 วันที่: 18 มกราคม 2554 เวลา:20:30:35 น. |
|
| |
|
ยุง บิน ชุม |
 |
|
 |
|