สิงหาคม 2548
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
4 สิงหาคม 2548
 

การทำรังวางไข่ของนกในประเทศไทย

การทำรังวางไข่ของนกในประเทศไทย
ข้อความ : ชีวิตนกจากบันทึกและความทรงจำ เล่ม 2 หน้า 305-311

ตามปกติ นกประจำถิ่น (Resident) ในประเทศไทยจะผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน แต่นกบางชนิดอาจเริ่มทำรังตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว

ระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม มักเป็นช่วงเวลาที่ลูกนกเจริญเติบโตมาก จนต้องออกไปอยู่นอกรัง แต่พ่อนกและแม่นกยังคงต้องเลี้ยงดูลูกนกอยู่ จนกว่าลูกนกจะเจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกไปหากินได้เองตามลำพัง

อย่างไรก็ดี สำหรับนกน้ำนั้น ส่วนมากจะผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในฤดูฝน ราวเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม และอาจจะเลยไปจนถึงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ด้วย ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีน้ำเจิ่งนอง และมีอาหารอุดมสมบูรณ์ โดนเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายนไปจนถึงเดือนธันวาคม จะเป็นช่วงเวลาที่พบนกน้ำทำรังวางไข่มากที่สุด

นอกจากนกประจำถิ่นแล้ว ยังมีนกอีกหลายชนิดที่บินอพยพเข้ามาผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในประเทศไทย นกเหล่านี้เรียกกันว่า Breeding Visitor ซึ่งบางชนิด เช่น นกปากห่าง (Asian Openbill) และ นกแอ่นทุ่งใหญ่ (Oriental Pratincole) บินอพยพเข้ามาผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในประเทศไทยในช่วงฤดูแล้ง จึงเรียกกันว่า Dry Season Breeding Visitor

นกบางชนิด เช่น นกแต้วแล้วธรรมดา (Blue-winged Pitta) นกแต้วแล้วอกเขียว (Hooded Pitta) นกยางดำ(Black Bittern) และนกอีลุ้ม(Watercock)บินอพยพเข้ามาผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในประเทศไทยในช่วงฤดูฝน จึงเรียกกันว่า Wet Season Breeding Visitor

เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ นกแต่ละชนิดจะเริ่มจับคู่ ถ้าหากเป็นนกที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มักจะแยกออกจากฝูงไปเป็นคู่ๆ นกบางชนิด เช่น นกกระเรียน(Sarus Crane) หรือ นกเงือก (Hornbills) จะจับคู่กันจนตลอดชีวิตของนกคู่นั้น แต่นกส่วนใหญ่จะจับคู่กันเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เดียว พอถึงฤดูผสมพันธุ์ของอีกปีหนึ่ง จะเปลี่ยนไปจับคู่ใหม่ เช่นนี้เรื่อยไป

นกหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนกที่ตัวผู้มีสีสันสวยงามกว่านกตัวเมียมาก นกตัวผู้จะจับคู่กับนกตัวเมียหลายตัวในฤดูผสมพันธุ์หนึ่ง เช่น ไก่ฟ้า (Pheasants) ซึ่งนกตัวผู้จะอยู่กับนกตัวเมียหลายตัวในเวลาเดียวกัน แต่นกกระจาบ (Weavers) จะจับคู่และผสมพันธุ์กับนกตัวเมียแต่ละตัว โดยที่นกตัวเมียเหล่านี้มิได้มารวมอยู่ในฝูงเดียวกันแบบไก่ฟ้า

นกบางชนิด เช่น นกโป่งวิด (Greater Paintedsnipe) นกอีแจว (Pheasant-tailed Jacana) และนกคุ่มอืด (Buttonquails) นั้น นกตัวเมีย ซึ่งมีสีสันสวยงามกว่านกตัวผู้ จะจับคู่กับนกตัวผู้หลายตัวในฤดูผสมพันธุ์หนึ่ง

หลังจากจับคู่กันแล้ว นกตัวผู้และนกตัวเมียจะเกี้ยวพาราสีกัน ซึ่งมีลีลาการเกี้ยวพาราสีแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของนก หลังจากนั้นจึงเริ่มทำรัง หรืออาจจะทำรังและเกี้ยวพาราสีไปพร้อมๆ กันก็ได้

รังของนก นอกจากจะใช้ในการวางไข่ กกไข่ และเลี้ยงลูกนกแล้ว รังยังช่วยให้ไข่และลูกนกปลอดภัยจากศัตรู และจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ ป้องกันพายุ น้ำฝน และความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย นอกจากนี้ รังยังช่วยรักษาระดับความอบอุ่นภายในรังให้คงที่อยู่ตลอดเวลา เพื่อการพัฒนาของคัภพะ (embryo) ภายในไข่ และการเจริญเติบโตของลูกนก

เนื่องจากนกวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน รูปแบบของรังที่โบราณ (primitive) ที่สุดจึงเป็นรังที่คล้ายคลึงกับรังของสัตว์เลื้อยคลานมากที่สุด นั่นคือ วางไข่ไว้ในแอ่งบนพื้นดิน แล้วกลบด้วยดิน หรือ พืช ส่วนรังที่ประณีตที่สุด ได้แก่ รังที่นำวัสดุต่างๆ มาสอดประสานกันจนประณีตอย่างเหนียวแน่นห้อยลงมาจากปลายกิ่งไม้ แกว่งไป แกว่งมาได้

รูปแบบของรัง
รังของนกมีมากมายหลายแบบ นกบางชนิดทำรังบนพื้นดิน หรือ ในกอพืชบนพื้นดิน แต่นกบางชนิดทำรังไว้บนต้นไม้ บนหน้าผาหิน หรือแม้แต่ตามส่วนต่างๆ ของสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราศึกษาเกี่ยวกับรังของนกอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เราจะพบว่า นกที่มีวิวัฒนาการต่ำจะสร้างรังแบบง่ายๆ แต่นกที่มีวิวัฒนาการสูงจะสร้างรังแบบสลับซับซ้อน และแน่นหนามากขึ้น

รังบนพื้นดิน (Ground Nest)
รังที่มิได้นำวัสดุใดๆ มาก่อสร้างขึ้น เป็นเพียงแอ่งบนพื้นดินโล่งๆ ซึ่งอาจเป็นแอ่งตามธรรมชาติหรือแอ่งที่นกใช้เท้าขุดคุ้ยขึ้น นกบางชนิดอาจใช้ปากช่วยในการขุดคุ้ยด้วย แล้วลงไปนั่งหมุนตัวไปมาจนกลายเป็นแอ่งพอดีกับตัวนก นกบางชนิดอาจหาใบไม้ใบหญ้ามารองรังบ้าง นกที่สร้างรังแบบนี้ เช่น ไก่ป่า (Red Junglefowl) ไก่ฟ้า (Pheasants) นกกระทา (Partridges) นกคุ่ม (Buttonquails) นกตบยุง (Nightjars) นกนางนวล (Gulls) นกนางนวลแกลบ (Terns) นกตีนเทียน (Black-winged Stilt) นกกระแตผี (Thick-knees) นกหัวโต (Plovers) นกกระแตแต้แว๊ด (Red-wattled Lapwing) และนกแอ่นทุ่ง (Pratincoles)
ไข่ของนกเหล่านี้ มีสีสันและลวดลายกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมาก จนทำให้ศัตรูแลเห็นได้ยาก แม้ว่าจะอยู่บนพื้นดินโล่งๆ นอกจากนี้ สีสันและลวดลายของนกที่กำลังกกไข่ยังกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมอีกด้วย นกที่ทำรังแบบนี้จัดว่าเป็นนกที่มีวิวัฒนาการต่ำ

รังที่มีขนนกรองรับ (Feather Nest)
รังแบบนี้พัฒนามาจากรังบนพื้นดิน โดยมีการนำเอาวัสดุต่างๆ เช่น ใบไม้ ใบหญ้ามารองรัง แต่ส่วนใหญ่เป็นขนนกที่กองสุมรวมกันไว้ ขนนกส่วนใหญ่จะเป็นขนนกที่นกตัวเมียสลัดออกมาเองหรือคาบเอามาจากที่อื่น เช่น รังของเป็ดแดง (Lesser Whistling-duck) ส่วนมากรังแบบนี้จะซ่อนอยู่ในกอพืชรกทึบ

รังที่ทำด้วยพืชน้ำ (Marsh Nest)
รังแบบนี้พัฒนามาจากรังบนพื้นดินเช่นกัน แต่ทำไว้ตามพื้นดินแฉะๆ ที่มีพืชชายน้ำขึ้นอยู่บ้าง โดยการคาบเอาพืชน้ำต่างๆ มากองสุมรวมกันไว้ให้พอมีแอ่งตรงกลางเพื่อใช้วางไข่ได้ สีสันของเปลือกไข่จะกลมกลืนกับวัชพืชน้ำที่ใช้ทำรังด้วย รังแบบนี้มักซ่อนอยู่ในกองวัชพืชจนแลเห็นได้ยาก นกที่สร้างรังแบบนี้ ได้แก่ นกกระเรียน (Cranes) นกอัญชัน (Rails) นกอีโก้ง (Purple Swamphen) นกอีล้ำ (Common Moorhen) นกกวัก (White-breasted Waterhen) นกอีลุ้ม (Watercock) นกฟินฟุท (Masked Finfoot) นกโป่งวิด (Greater Paintedsnipe) นกพริก (Bronze-winged Jacana) และนกอีแจว (Pheasant-tailed Jacana)

รังลอยน้ำ (Floating Nest)
รังแบบนี้พัฒนามาจากรังที่ทำด้วยพืชน้ำ แต่ว่าทำไว้ตามกอพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำหรือริมน้ำ รวมทั้งบนกอพืชลอยน้ำ เช่น จอก และผักตบชวาด้วย นกจะใช้พืชน้ำต่างๆ มากองสุมรวมกันไว้ พอให้มีแอ่งสำหรับใช้วางไข่เช่นกัน แต่ว่ารังนี้จะลอยอยู่กับที่ในน้ำ เช่น รังของนกเป็ดผี (Grebes)

รังแบบโพรง (Cavity Nest)
รังแบบนี้มิได้นำวัสดุใดๆ มาก่อสร้างขึ้นเช่นกัน แต่ว่านกจะเลือกโพรงไม้ธรรมชาติ หรือ รอยแตกรอยแยกของก้อนหินเป็นที่วางไข่ ซึ่งในบางครั้ง นกอาจคาบวัสดุต่างๆ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า หรือ เอาขนนกมารองพื้นโพรงบ้าง เช่น รังของนกตะขาบ (Rollers) นกกะรางหัวขวาน (Hoopoe) นกขุนช้างขุนแผน (Trogons) นกแก้ว (Parrots) และนกเค้า (Owls)
นกบางชนิด เช่น นกเงือก (Hornbills) ทำรังในโพรงไม้เช่นกัน แต่จะนำเอาโคลนและมูลนกมาทำเป็นผนังปิดปากโพรงรังจนเกือบมิดชิดอีกด้วย เหลือไว้เพียงช่องเล็กๆ พอโผล่ปลายปากออกมาได้เท่านั้น
นกบางชนิด เช่น นกกระเต็น (Kingfisher) และ นกจาบคา (Bee-eaters) ขุดเป็นอุโมงค์ลึกลงไปในดินหรือดินปนทราย ซึ่งมักจะเป็นบริเวณตลิ่งหรือเนินดิน และมีที่วางไข่อยู่ทางตอนปลายสุดของอุโมงค์ ซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่นๆของอุโมงค์ นกกระเต็นบางชนิด เช่น นกกระเต็นลาย(Banded Kingfisher)และนกกินเปี้ยว (Collared kingfisher) อาจขุดโพรงรังเข้าไปในจอมปลวกก็ได้
นกโพระดก (Barbets) จะใช้ปากเจาะโพรงทางด้านใต้ของกิ่งไม้ผุๆ แต่นกหัวขวาน (Woodpeckers) มักใช้ปากเจาะโพรงตามลำต้นที่มีเนื้อไม้ไม่แข็งนัก โพรงรังที่นกโพระดกหรือนกหัวขวานเจาะไว้นี้ เมื่อเลิกใช้แล้ว นกชนิดอื่น เช่น นกตะขาบ นกกะรางหัวขวาน นกขุนช้างขุนแผน และนกแก้ว รวมทั้งสัตว์อื่นๆ เช่น บ่าง กระรอกบิน และตะกวด สามารถใช้เป็นโพรงรังได้ต่อไป
นกที่ทำรังแบบนี้จัดเป็นนกที่มีวิวัฒนาการต่ำเช่นกัน เพราะมิได้นำวัสดุใดๆ มาก่อสร้างให้เป็นรูปรังเช่นเดียวกับรังบนพื้นดิน แต่วางไข่ไว้บนพื้นโพรงเลยทีเดียว

รังแบบง่ายๆ (Platform Nest)
รังแบบนี้เป็นรังของนกที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นมาหน่อย เพราะมิได้ใช้พื้นดินหรือพื้นโพรงเป็นที่วางไข่ แต่ได้ใช้วัสดุอื่นๆ เช่น กิ่งไม้ แขนงไม้ และต้นหญ้าสดบ้าง แห้งบ้าง เอามาเรียงซ้อนกันอย่างง่ายๆ ไม่เป็นระเบียบ เพื่อก่อให้เป็นรังขึ้นมา โดยให้มีแอ่งตรงกลางพอใช้วางไข่ได้เท่านั้น
นกบางชนิดอาจสร้างรังแบบนี้ไว้บนพื้นดินหรือตามหน้าผาหินก็ได้ รังบางรังอาจจะดูบอบบางจนสามารถมองเห็นไข่นกจากทางด้านใต้ของรังได้ เช่นรังของนกเขา (Doves) และนกพิราบ (Pigeons) แต่รังส่วนใหญ่จะค่อนข้างแน่นหนา เช่น รังของนกกระปูด (Coucals) เหยี่ยวปีกแตก (Hawks) เหยี่ยวปีกแหลม (Falcons) นกอ้ายงั่ว (Darters) นกกาน้ำ (Cormorants) นกกระสา (Storks) นกยาง (Egrets) นกกระทุง (Pelicans) นกช้อนหอย(Ibises) และอีกา (Crows)

รังแบบถ้วย (Statant Cubbed Nest)
รังแบบนี้เป็นรังของนกที่มีวิวัฒนาการสูง ทำไว้ตรงง่ามกิ่งไม้ เพื่อให้ง่ามกิ่งไม้รองรับรังไว้ แต่บางครั้งก็ทำไว้บนกิ่งไม้ใหญ่ หรือ บนกอพืชอิงอาศัย (epiphyte) โดยใช้กิ่งไม้เล็กๆ แขนงไม้ ใบไม้ และใบหญ้าที่นำมาขัดสานกันไว้อย่างเป็นระเบียบ และเหนียวแน่นทั้งทางก้นรังและทางขอบรังจนดูคล้ายถ้วย
รังเหล่านี้มักมีวัสดุนิ่มๆ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า หรือ ขนนกรองรังอีกชั้นหนึ่ง บางครั้งอาจมีการนำเอาใยแมงมุม เยื่อไม้ หรือ ไลเคนมาพันหรือประดับไว้รอบรังอีกชั้นหนึ่งด้วย เพื่อยึดรังให้เหนียวแน่นคงทนยิ่งขึ้น และยังพรางตาศัตรได้อีกด้วย เพราะทำให้รังของมันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น
รังแบบนี้ได้แก่ รังของนกอีแพรด (Fantails) นกปรอด (Bulbuls) นกแซงแซว (Drongoes) นกขมิ้นน้อย (Ioras) นกอีเสือ (Shrikes) นกเขียวก้านตอง (Leafbirds) และนกเขียวคราม (Fairy-bluebirds) นกที่สร้างรังแบบนี้จะอยู่ในอันดับนกเกาะคอน (Order Passeriformes) ทั้งสิ้น

รังแบบถ้วยบนพื้นดิน (Ground Cupped Nest)
รังแบบถ้วยที่ทำอยู่บนพื้นดินในกอวัชพืช โดยใช้พื้นดินรองรับรัง เช่น รังของนกกระจิ๊ดหางขาวเล็ก (White-tailed Leaf Warbler) บางครั้ง รังอาจมีด้านข้างของรังสูงขึ้นมา และมีหลังคาด้วย จนกลายเป็นรูปโดม หรือ แบบลูกบอล เช่น รังของนกแต้วแล้ว (Pittas) นกระวังไพร (Scimitar Babblers)นกกระจาบฝน (Larks) และนกเด้าดิน (Pipits)

รังแบบถ้วยในโพรง (Cavity Cupped Nest)
รังแบบถ้วยที่ทำไว้ในโพรงไม้ธรรมชาติ เช่น รังของนกติ๊ด (Tits) นกกางเขนดง (White-rumped Shama) และนกขุนทอง (Hill Myna) หรือในโพรงไม้ที่เจาะขึ้นเองในลำต้นไม้ผุๆ เช่น รังของนกไต่ไม้ (Nuthatches) หรือในโพรงดิน เช่น รังของนกภูหงอน (Yuhinas) หรือในซอกหิน เช่น รังของนกเอี้ยงถ้ำ (Blue Whistling Thrush) นกมุดน้ำ (Brown Dipper) และนกกางเขนน้ำ (Forktails) รังบางรังอาจทำไว้ในกอฝอยลม เช่น รังของนกกระจิ๊ดคอสีเทา (Ashy-throated Warbler)

รังแบบติดทางด้านข้าง (Adherent Nest)
รังแบบนี้พัฒนามาจากรังแบบถ้วย แต่มิได้ใช้ง่ามไม้ในการรองรับรัง เนื่องจากนกบางชนิดมีน้ำลายเหนียวๆ ซึ่งใช้เชื่อมด้านข้างของรังติดกับกิ่งไม้หรือผนังถ้ำได้ เช่น รังของนกแอ่นฟ้า (Treeswifts) และนกแอ่น (Swifts) ซึ่งเป็นรูปถ้วยครึ่งใบ รังเหล่านี้อาจทำด้วยน้ำลายล้วนๆ หรือใช้กิ่งไม้ วัสดุนุ่มๆพวกใบพืชหรือขนนกมาทำเป็นรูปรังก็ได้
รังของนกบางชนิด เช่น รังของนกนางแอ่น (Swallows) ใช้โคลนเป็นส่วนประกอบในการสร้างรัง เพื่อเชื่อมรังให้ติดกับผนังถ้ำหรือผนังอาคาร และมีหญ้าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างให้เป็นรูปรัง

รังแบบลูกบอล (Globulur Nest)
รังแบบนี้พัฒนามาจากรังแบบถ้วย โดยการสร้างขอบรังให้สูงขึ้น แล้วทำเป็นหลังคาโค้งลงมา แล้วเหลือช่องทางเข้าออกรังอยู่ทางด้านข้าง ทำด้วยใบไม้ ใบหญ้า และวัสดุอื่นๆ ที่นำมาสอดประสานกันอย่างแน่นหนาและคงรูปอยู่ได้อย่างเหนียวแน่น อยู่บนง่ามไม้หรือในกอพืช มีลักษณะค่อนข้างกลมหรือ กลมแบบลูกบอล เช่น รังของนกกระติ๊ด (Munias)

รังแบบเปลญวน (Pensile Nest)
รังแบบนี้พัฒนามาจากรังแบบถ้วย เพียงแต่ว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ง่ามกิ่งไม้ในการรองรับก้นรัง แต่นกจะสร้างขอบของรังให้ยึดติดอยู่ใต้ง่ามไม้เลยทีเดียวเป็นรังซึ่งทำด้วยหญ้า ใบไม้ และแขนงไม้เล็กๆ เช่น รังของนกขมิ้น (Orioles) และนกแว่นตาขาว (White-eyes)

รังแบบแขวน (Pendulous Nest)
รังแบบนี้พัฒนามาจากรังแบบเปลญวน แต่ว่าจะใช้พวกใบหญ้ามาสอดประสานกันอย่างประณีตจนเป็นรูปถุง หรือ ลูกตุ้มห้อยติดอยู่กับกิ่งไม้อย่างอิสระเวลามีลมพัดมา จะแกว่งไปแกว่งมาได้ นกที่สร้างรังแบบนี้ ถือว่าเป็นนกที่มีวิวัฒนาการสูงสุดในการสร้างรัง
รังบางรังอาจมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านล่างของรัง เช่น รังของนกกระจาบ (Weavers) แต่รังบางรังอาจมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านข้างของรัง เช่น รังของนกพญาปากกว้าง (Broadbills) นกกินปลี (Sunbirds) นกกาฝาก (Flowerpeckers) และนกปลีกล้วย (Spiderhunters)


Create Date : 04 สิงหาคม 2548
Last Update : 4 สิงหาคม 2548 1:24:50 น. 12 comments
Counter : 5282 Pageviews.  
 
 
 
 
I'll be BACK! :) ;) //www.storp3.org/anne-geddes
 
 

โดย: anne geddes IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:4:26:11 น.  

 
 
 
mmm.. nice design, I must say.. //www.storp3.org/cipro
 
 

โดย: cipro IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:4:50:12 น.  

 
 
 
mmm.. nice design, I must say.. //www.storp3.org/cipro
 
 

โดย: cipro IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:5:14:00 น.  

 
 
 
Luogo molto buon:) Buona fortuna! //www.storp3.org/chi
 
 

โดย: chi IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:5:38:10 น.  

 
 
 
E evidente che il luogo e stato fatto dalla persona che realmente conosce il mestiere! //www.storp3.org/canzoni
 
 

โดย: canzoni IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:6:02:45 น.  

 
 
 
E evidente che il luogo e stato fatto dalla persona che realmente conosce il mestiere! //www.storp3.org/canzoni
 
 

โดย: canzoni IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:6:27:15 น.  

 
 
 
Inferno! luogo grande per sicuro! //www.storp3.org/biscotti
 
 

โดย: biscotti IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:6:52:01 น.  

 
 
 
mmm.. nice design, I must say.. //www.storp3.org/giovanni
 
 

โดย: giovanni IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:7:16:57 น.  

 
 
 
mmm.. nice design, I must say.. //www.storp3.org/giovanni
 
 

โดย: giovanni IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:7:41:57 น.  

 
 
 
Ich erklare meinen Freunden uber diese Seite. Interessieren! //www.storp3.org/sabrina-ferilli
 
 

โดย: sabrina ferilli IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:8:07:34 น.  

 
 
 
Desidero appena dire che e un luogo ben cotto //www.storp3.org/winnie-the-pooh
 
 

โดย: winnie the pooh IP: 85.255.119.131 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:8:58:00 น.  

 
 
 
 
 

โดย: ดรีพนดือีพึนะ IP: 125.26.239.58 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:10:32:52 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ยุง บิน ชุม
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ยุง บิน ชุม's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com