
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
การดูนกในธรรมชาติ
ข้อความ : คู่มือสื่อมวลชน โครงการอบรมดูนก ห้องเรียนธรรมชาติสื่อมวลชน-เทเลคอมเอเชีย 8-10 พฤศจิกายน 2539
ก ารดูนกในธรรมชาตินี้ คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล เคยเรียกว่า " ปักษีทัศนา " ส่วนชาวผิวขาวมักเรียกกันว่า Birdwatching หรือ Birding เป็นงานอดิเรกที่นิยมกันมาก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ทั้งๆ ที่มีจำนวนชนิดของนกน้อยกว่าในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา หรือ ทวีปเอเชีย
เดิมชาวผิวขาวนิยมดูนกกันเพื่อความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวซึ่งมีหิมะตก เพราะชาวผิวขาวไม่รู้จะไปไหน ต้องนั่งจับเจ่าอยู่แต่ในบ้าน จึงนำเอาอาหารต่างๆ ทั้งเมล็ดพืช เมล็ดข้าว ผลไม้ และอาหารอื่นๆ ไปใส่ไว้ในที่ใส่อาหารนก (bird feeder) แล้วนำไปวางไว้ในสวน เพื่อล่อให้นกเข้ามากิน เนื่องจากในฤดูหนาวมีหิมะตกตลอด อาหารจึงหาได้ยาก ทำให้ชาวผิวขาวได้ดูนกเพื่อคลายความเหงา ได้รับความรู้เกี่ยวกับนก และได้รับความเพลิดเพลินมากด้วย ในปัจจุบัน การดูนกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานอนุรักษ์ไปแล้ว และชาวต่างประเทศต่างมุ่งที่จะออกไปดูนกในธรรมชาติไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนขอ งตน จึงเดินทางไปดูนกในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา หรือ ทวีปเอเชีย ซึ่งมีจำนวนชนิดของนกมากกว่าในทวีปอเมริกาเหนือ หรือในทวีปยุโรปหลายเท่านัก การดูนก คือ การเดินทางไปชมธรรมชาติหรือป่าเขาลำเนาไพรที่เรามักนิยมทำกัน แต่ในการเดินทางไปชมธรรมชาติในครั้งนี้ เราจะเน้นที่นก ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมีกล้องสองตา (binoculars) ติดตัวไปด้วยเสมอ เพื่อช่วยให้เราเห็นนกได้อย่างชัดเจน เห็นรายละเอียดของรูปร่างและสีสัน รวมทั้งพฤติกรรมต่างๆ ของนก ราวกับว่า นกที่เราเห็น กำลังเกาะ กระโดด หรือ บินอยู่ใกล้ๆ ตัวเรา ซึ่งกล้องสองตานี้จะช่วยให้เรากับนกอยู่ใกล้กันมากขึ้นเสมือนหนึ่งว่าเรากับ นกอยู่ในโลกเดียวกันนั่นเอง
Create Date : 03 สิงหาคม 2548 |
Last Update : 3 สิงหาคม 2548 15:58:15 น. |
|
7 comments
|
Counter : 738 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 3 สิงหาคม 2548 เวลา:15:59:23 น. |
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 3 สิงหาคม 2548 เวลา:15:59:38 น. |
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 3 สิงหาคม 2548 เวลา:15:59:54 น. |
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 3 สิงหาคม 2548 เวลา:16:00:22 น. |
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 3 สิงหาคม 2548 เวลา:16:00:38 น. |
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 3 สิงหาคม 2548 เวลา:16:01:02 น. |
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 3 สิงหาคม 2548 เวลา:16:01:23 น. |
|
| |
|
ยุง บิน ชุม |
 |
|
 |
|
การดูนกนั้นมีประโยชน์ต่อนักดูนก (birdwatcher or birder) มากมายหลายประการทีเดียว แต่อาจสรุปเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. ได้รับความเพลิดเพลิน แ ละช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียด เนื่องจากนกเป็นสัตว์โลกที่น่ารัก และมักมีสีสันสวยงาม พฤติกรรมต่างๆ ของนก ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด การบิน การหากิน หรือการทำรังวางไข่ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ทำให้เรามองแล้วเกิดความเพลิดเพลินสบายตาเป็นอย่างยิ่ง เสียงร้องของนกยังช่วยทำให้เราได้รับความเพลิดเพลิน นกจึงทำให้คนดูนกมีความสุข ความสดชื่น และผ่อนคลายความตรึงเครียดให้กับคนดูนกด้วย
2. ฝึกให้เป็นคนหูไวตาไว เพราะเราจะต้องคอยมองหานก คอยใช้กล้องสองตาส่องไปทางโน้นที ทางนี้ที ตั้งแต่บนพื้นดิน ในกอหญ้า ในพุ่มไม้ บนต้นไม้ทุกๆ ระดับความสูง ตั้งแต่โคนต้นจนถึงยอดไม้ แม้กระทั่งในท้องฟ้า หรือในน้ำ เพราะนกอาจจะอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งก็ได้ นอกจากนี้ เรายังต้องแยกตัวนกออกจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวนกให้ได้ด้วย เราจึงจะรู้ว่า นกอยู่ตรงไหน เพราะนกหลายชนิดมักมีสีสันกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การฝึกหานกบ่อยๆ จะทำให้เราเป็นคนตาไว และเรายังต้องเป็นคนหูไวอีกด้วย เพราะนอกจากจะต้องฟังเสียงร้องของนกแล้ว ยังต้องค้นหาให้พบด้วยว่าเสียงร้องนั้นดังมาจากทางไหนด้วย เราจึงจะหานกพบ
3. ได้รับความรู้เกี่ยวกับชนิดของนก พฤติกรรมต่างๆ ของนกชนิดนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การกระโดด การบิน การหากิน การเกาะ หรือ การทำรังวางไข่ รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับแหล่งอาศัย และการแพร่กระจายของนก ความสัมพันธ์ของนกกับสิ่งมีชีวิตอื่นและกับสภาพแวดล้อม หากเราเดินทางไปดูนกในธรรมชาติบ่อยๆ เราจะบอกได้ว่า ในพื้นที่นั้นๆ ควรจะพบนกอะไรได้บ้าง หรือ เมื่อพบนกชนิดใดชนิดหนึ่ง เราก็บอกได้ว่า ในพื้นที่นั้นมีพืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบใด
4. เกิดความรักนก และคิดที่จะให้นกคงอยู่ต่อไป การดูนกจึงช่วยให้เรามีสำนึกที่จะอนุรักษ์นก และสภาพแวดล้อมที่นกอาศัยอยู่ เพราะเราคงช่วยกันรักษานกและสภาพแวดล้อมเหล่านั้น และช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ใครต่อใครช่วยกันอนุรักษ์นกและธรรมชาติด้วย แต่การที่เราจะช่วยกันอนุรักษ์นกได้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับนกด้วย ซึ่งก็ได้โดยการดูนกนั่นเอง ดังนั้น ในบางครั้ง นักดูนกอาจต้องเดินทางเข้าไปในป่าเพื่อสำรวจชนิดและประชากรของนกในพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลทางวิชาการเพื่อการค้นคว้าวิจัยต่อไป และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์นกในพื้นที่นั้นๆ ด้วย