
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
นกออก
เคยดูไหมครับ ละครตอนเย็นของช่อง7 ไม่ได้อยากดูหรอกครับ จะดูข่าวITV แต่แฟนจะดูละคร เพลงมันร้องว่าวิญญาณชั่วร้ายนกออก ทะเลาะกันประจำว่านกออกมันกินปลา ชั่วร้ายที่ไหนกัน แล้วมันก็ไม่ได้สีดน้ำตาลเหมือนในเรื่องซะหน่อย หวกับตัวสีขาวต่างหาก เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้่องเลยไปหาข้อมูลทางปักษีวิทยามาประกอบครับ เผื่มีคน search มาพบ ถ้าพี่ๆท่านใดมีรูปภาพประกอบก็ช่วยหน่อยนะครับ นกออกตัวจริงจะได้ไม่ถูกมองเป็นผู้ร้าย (ใครคิดว่าผมบ้าก็ช่างเถอะ)
Create Date : 04 สิงหาคม 2548 |
Last Update : 4 สิงหาคม 2548 14:23:33 น. |
|
4 comments
|
Counter : 1473 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 4 สิงหาคม 2548 เวลา:14:24:23 น. |
|
โดย: ดกดกด IP: 124.157.181.188 วันที่: 9 ธันวาคม 2549 เวลา:10:48:38 น. |
|
โดย: จอย IP: 124.120.43.84 วันที่: 28 มกราคม 2551 เวลา:19:43:24 น. |
|
| |
|
ยุง บิน ชุม |
 |
|
 |
|
ชื่อสกุลมาจ ากภาษาละตินคือ haliaeetos แปลว่านกอินทรีทะเล หรือนกออก (ภาษากรีก hais แปลว่าทะเล และ aetos แปลว่านกอินทรี) นกในสกุลนี้ปากอ้วน
โคนสันขากรร ไกรบนตรง บริเวณอื่นโค้ง ขอบขากรรไกรหยัก รูจมูกกลม ปีกกว้างมาก ขนปลายปีกยาวกว่าขนกลางปีกเล็กน้อย ขนปลายปีกเส้นที่3 นับจากด้าน นอกยาวที่สุด ขนปลายปีกเส้นที่4และ5 สั้นกว่าเล็กน้อย ปลายหางมนหรือเป็นหางพลั่ว แข้งอ้วน ยาวปานกลาง มีขนคลุมด้านบนประมาณ1ใน3 จนถึงครึ่งหนึ่งของความยาวแข้ง แข้งส่วนที่เหลือทางด้านหน้าของโคนนิ้วเป็นเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน บริเวณอื่นเป็นเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห เล็บด้านล่างเป็นร่อง ทั่วโลกมีนกสกุลนี้ 8 ชนิด พบในประเทศไทย 3 ชนิด
นกออก White-bellied Sea Eagle (Haliaeetus leucogaster ZGmelinX 1788.) ชื่ออื่น White-breasted SeaEagle
ช ื่อวิทยาศาสตร์ Haliaeetus leucogaster ชื่อชนิดมาจากภาษากรีกว่า leuc, -o หรือ leukos แปลว่าสีขาว และ gast, =er, -ero, -r, -ro แปลว่าท้อง ความหมายคือ "นกอินทรีทะเลที่มีท้องสีขาว" พบครั้งแรกที่เกาะ Prince's Island ประเทศอินโดนีเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย
นกออกมีการกระจา ยพันธุ์ในอินเดีย หมู่เกาะนิโคบาร์ จีนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จนถึงออสเตรเลีย
ล ักษณะทั่วไป เป็นนกขนาดกลางถึงใหญ่ (66-69ซม.) ตัวเต็มวัย หัว คอ และลำตัวด้านล่างสีขาว ตัดกับสีลำตัวด้านบนที่เป็นสีน้ำตาลแกมเทาชัดเจน ตัวไม่เต็มวัยหัว และคอหอยสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างสีออกแดงแต่จะจางลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล หางมีลายจุดสีขาว ขณะบินเห็นปีกค่อนข้างหักเป็นมุมเหนือลำตัว หางสีน้ำตาล ปลายหางสีขาวเป็นหางพลั่วชัดเจน
อุปนิสัยและอาหาร มีกิจกรรมและหากินในเวลากลางวัน พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ และแม่น้ำขนาดใหญ่ มักชอบเกาะตามหลักที่อยู่ในน้ำหรือกิ่งไม้แห้งริมน้ำ บางครั้งร่อนอยู่กลางอากาศในระดับที่ค่อนข้างสูง อาหารได้แก่สัตว์น้ำต่างๆ เช่น งูทะเล ปลาหมึก ปลา เป็นต้น หาอาหารด้วยการเกาะกิ่งไม้หรือร่อนกลางอากาศคอยจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบจะบินลงโฉบด้วยกรงเล็บ จากนั้นจึงนำไปฉีกกินบนหลักหรือกิ่งไม้
ก ารผสมพันธุ์ นกออกผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือน ต.ค.-ก.พ. ทำรังตามต้นไม้บนหน้าผาริมทะเลหรือใกล้แหล่งน้ำที่ใช้หากิน รังเป็นแบบง่ายๆ โดยนำกิ่งไม้มาวางซ้อนกัน รังมีขนาดใหญ่พอสมควร เส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 1.25-1.50 ม. ลึก 50-75ซม. และอยู่สูงจากพื้นดิน 10-50 ม. ไข่สีขาว ขนาดเฉลี่ย 53.4x77.7 มม. รังมีไข่ 2ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ๆ มีขนอุยสีขาวปกคลุม แต่ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้โดยเฉพาะการหาอาหาร พ่อแม่ต้องคอยหาอาหารมาป้อน และเลี้ยงลูกจนกว่าจะแข็งแรง บินและล่าเหยื่อเป็น ประมาณ 1.5-2เดือน หลังออกจากไข่ ลูกนกจะทิ้งรังไป
สถานภาพ เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักตามชายฝั่งทะเลทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ทั้งสองฝั่ง ปัจจุบันจำนวนลดน้อยลงมาก
กฏหมายจัดนกออกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
อ้างอิงจาก หนังสือชุด นกในเมืองไทย เล่ม3 โดย รศ.โอภาส ขอบเขตต์ ผู้ล่วงลับ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สารคดี