Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
9 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

11 :: เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งสัปดาห์: การเลี้ยงดู: นมวัวชนิดไหนดี

() ในปัจจุบัน
เมื่อกล่าวถึงนมวัวสำหรับเลี้ยงทารก
ก็เกือบจะหมายถึง
นมผงสำหรับเลี้ยงทารกเลยทีเดียว
เพราะตระเตรียมสะดวก
จึงเป็นที่นิยมกันมาก
สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผง

ประการแรกมักเกิดปัญหาว่า
จะเลี้ยงลูกด้วยนมตราอะไรดี
ที่จริงคุณจะเลี้ยงลูกด้วยนมตราอะไรก็ได้
แต่ควรเลือกตราที่ร้านเจ้าประจำของคุณขายดี
เพราะนมจะไม่เก่า
และเมื่อตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมตราอะไรแล้วละก็
ไม่ควรเปลี่ยน เพราะอย่างน้อยที่สุด
เมื่อเด็กถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งขึ้น
คุณจะได้แน่ใจว่าสาเหตุไม่ได้มาจากนม

นมผงที่ขายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิด
แต่ละยี่ห้อก็โฆษณาว่านมของตนดีที่สุด
แต่คุณแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมตราอะไรก็ได้
ไม่มีข้อจำกัดว่า
ถ้าคุณไม่เลี้ยงลูกด้วยนมตรานี้แล้วลูกคุณจะไม่โต
เพราะกระเพาะของเด็ก
มีความสามารถในการย่อยนมได้หลายประเภท
นมคนก็ย่อยได้ นมวัวก็ย่อยได้
ยิ่งถ้าคุณเลี้ยงลูกด้วยนมวัว
ทั้งส่วนสูงและน้ำหนักจะเพิ่มเร็วกว่า
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า
นมวัวดีกว่านมแม่
เพราะว่าถึงแม้ร่างกายเด็กจะเติบโตเร็ว
แต่ก็เปรียบเสมือนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไม่ดี
มีไอเสียเยอะ
แต่ก็วิ่งเร็วเพราะกินน้ำมันจุ
แต่พอวิ่ง ๆ ไป
เครื่องยนต์อาจเกิดขัดข้องได้
เด็กทารกก็เช่นเดียวกัน
ถ้าคุณให้กินนมมากเกินไป
บางคนอาจจะเกิดขัดข้อง
เป็นโรค “เกลียดนม”
(โรคนี้จะกล่าวถึงในตอนหลัง)
ถึงแม้เด็กส่วนใหญ่จะไม่เป็นโรคนี้
แต่ในปัจจุบันกุมารแพทย์มักจะเกรงว่า
ถ้าให้เด็กแบกร่างที่หนักอึ้งเสียตั้งแต่ยังเป็นทารก
อาจเกิดอันตรายขึ้นในอนาคตได้

การเลี้ยงดูลูกด้วยนมวัว
ไม่ควรคำนึงแต่เรื่องทำอย่างไรจะให้เด็กอ้วน
แต่ควรคิดด้วยว่า ทำอย่างไร
จะไม่ให้ระบบย่อยอาหารของเด็ก
ทำงานหนักเกินไป
คุณไม่ควรผสมนมให้เด็กข้นเกินไป
ที่จริงอัตราส่วนผสมนมที่เขียนไว้ข้างกระป๋อง
ก็ข้นเกินไปสำหรับเด็กอยู่แล้ว
ลำไส้ของทารกไม่สามารถดูดซึม
นมที่ข้นเกินไปได้
โดยเฉพาะโปรตีน
นมแม่มีโปรตีน 1.3 เปอร์เซ็นต์
นมวัวมี 3.3 เปอร์เซ็นต์
แต่ทารกสามารถย่อยโปรตีนของนมวัว
ได้น้อยกว่าโปรตีนของนมแม่
ดังนั้น ปัญหาสำคัญสำหรับคุณแม่
ที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมวัว
จึงไม่ใช่เรื่องว่าควรเลือกนมตราอะไรดี
แต่อยู่ที่ว่าคุณไม่ควรผสมนมให้ข้นเกินไป
หรือจางเกินไป (เพื่อประหยัดนมซึ่งมีราคาแพง)

ในอเมริกา
กุมารแพทย์จะเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนผสมนม
ให้แก่เด็กเป็นราย ๆ ไป
แต่สำหรับประเทศที่หมอไม่พออย่างของเรา
หมอมักจะมีงานยุ่ง
จนไม่มีเวลาดูแลเด็กแต่ละคนอย่างละเอียด
จึงมักแนะนำให้คุณแม่ปฏิบัติ
ตามสลากข้างกระป๋อง
ผลก็คือเด็กมักจะได้รับนมที่ข้นเกินไป
และทำให้อ้วนเกินไป
กลายเป็น “เด็กยักษ์นั้น“
ดูภายนอกก็รูปร่างใหญ่โตดีอยู่หรอก
แต่อวัยวะภายในนั้นคงจะเหนื่อยอ่อน
กับภาระแบกรับน้ำหนักอยู่ไม่น้อยทีเดียว

โดยทั่วไปแล้ว สัดส่วนในการผสมนมผง
ใช้นม 1 ช้อนเล็ก ผสมกับน้ำ 1 ออนซ์(30 ซี.ซี)
และนม 1 ช้อนใหญ่ ผสมกับน้ำ 2 ออนซ์(60 ซี.ซี.)
ซึ่งทั้งช้อนเล็กและช้อนใหญ่นี้
จะอยู่ในกระป๋องของนมผงแต่ละชนิด

นอกจากปัญหา “เด็กยักษ์”
เพราะได้รับการเลี้ยงดูดีเกินไป
ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของชนชั้นกลางขึ้นไป
ซึ่งมีฐานะดีพอที่จะซื้อนมผง
ชนิดราคาแพงเลี้ยงลูกได้
ประเทศเรายังมีปัญหาเด็กผอมแกร็น
เพราะขาดอาหาร
รวมทั้งปัญหา “เด็กอ้วนฉุ”
แต่ขาดอาหารเพราะถูกแม้เลี้ยงด้วย
“นมข้นหวาน”
เนื่องจากแม่มีความรู้น้อย
ไม่ทราบว่านมข้นหวานนั้นใช้เลี้ยงทารกไม่ได้
เพราะมีน้ำตาลมากเกินไป
แต่มีโปรตีนและไขมันน้อยมาก
ทำให้เด็กอ้วนเพราะน้ำตาล
แต่ร่างกายกลับขาดธาตุอาหารที่สำคัญ
คือ โปรตีน วิตามิน
โดยเฉพาะวิตามิน
ทำให้เด็กเป็นโรคที่ชาวบ้านเรา
เรียกว่า “เกล็ดกระดี่ขึ้นตา”
(ซึ่งจะทำให้ตาดำขุ่น เป็นแผลแห้ง
และบอดได้ในที่สุด)
ปัญหานี้อาจแก้ได้ด้วยการรณรงค์โฆษณา
ให้แม่รู้ถึงโทษของการเลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวาน

นอกจากนั้นยังมีแม่จำนวนไม่น้อย
ที่จำใจต้องเลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวาน
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ดี
แต่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
ให้ซื้อนมผงเลี้ยงลูก
เพราะราคาแพงเกินฐานะ
จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ตัวแม่เองก็ขาดอาหารจนไม่มีน้ำนมจะเลี้ยงลูก

สำหรับปัญหานี้ จะแก้ได้ก็ต่อเมื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้เท่านั้น ที่มาของสาระดีๆ ขอขอบคุณ




 

Create Date : 09 สิงหาคม 2553
0 comments
Last Update : 9 สิงหาคม 2553 23:39:07 น.
Counter : 378 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


หนูเหนือ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หนูเหนือ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.