รู้จักกันก่อนและสมุดเยี่ยม Guestbook เฟซบุ๊ค ชะเอมหวาน รวมเวปหาทุนและแหล่งทุน Scholarship เรียนโทสองประเทศในปีเดียว
หาตัวเองให้เจอ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
12 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

5 นักบริหารแถวหน้า เปิดสูตรสยบความเสี่ยง


source: 12 Jul 12 ,  ฐานเศรษฐกิจ

ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือการเมือง"ความเสี่ยง"มักถูกหยิบยกขึ้นมาถกแถลงเพื่อหาทางป้องกันเพื่อไม่ให้ความเสี่ยงคุกคามจนองค์กรสูญเสียทิศทางและเป้าหมายที่ตั้งไว้  ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย    โดยชมรมบริหารความเสี่ยง ได้จัดการสัมมนาภายใต้หัวข้อ

"การบริหารจัดการภายใต้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ"

โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงของภาคธุรกิจต่างๆที่มีประสบการณ์กับการ "บริหารความเสี่ยง" มาแลกเปลี่ยนมุมมองและเคล็ดลับในการรับมือสิ่งที่คาดไม่ถึง ซึ่ง"ฐานเศรษฐกิจ"เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจจึงถ่ายทอดนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้

" มีความเสี่ยงที่ไม่เคยพบมาก่อนเกิดขึ้น"

วงสัมมนาเปิดประเด็นหัวด้วยโต้โผใหญ่ในการจัดงาน   นายสุรงค์  บุลกุล  ประธานชมรมบริหารความเสี่ยง สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ. ปตท. ซึ่งกล่าวให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่า ความจริงเรื่องของความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้จัก  และคุ้นเคยเป็นอย่างดี  เพียงแต่ในระยะหลังที่ผ่านมามีความเสี่ยงที่ไม่คุ้นเคย  และไม่เคยพบมาก่อนเกิดขึ้น  ดังนั้น  การบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการช่วยพิจารณาในการกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน  ยกตัวอย่างเช่น  ในช่วงนี้เศรษฐกิจยุโรปมีปัญหาที่ค่อนข้างมีนัยที่สำคัญมาก  ซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องมองแนวโน้ม   รวมถึงการฟื้นตัวว่าจะเป็นอย่างไร  

สุรงค์ชี้ว่าวิกฤติยูโรส่งผลต่อการทำธุรกิจในประเทศไทย เพราะระบบการเงินการธนาคารของโลกเป็นระบบที่เชื่อมต่อกัน  เพราะฉะนั้นการไม่ฟื้นตัว(เศรษฐกิจ)   หรือการทรงตัวของยุโรปจะมีผลกระทบทางด้านการเงินการคลังของภูมิภาคเอเชียด้วย  เนื่องจากประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก  

"หากจะพูดง่ายๆก็คงเปรียบเสมือนว่าบริษัทคือรถยนต์  โดยระบบบัญชีการเงินเป็นระบบที่จะตรวจสอบสภาพของรถ  ความสามารถสมรรถนะของรถ  ซึ่งดูพื้นฐานจากข้อมูลในอดีต  ส่วนเรื่องการพยากรณ์หรือการทำยุทธศาสตร์  และเรื่องการวางแผน  เป็นหน้าที่ของสายกลยุทธ์ที่จะต้องดำเนินการ  ขณะที่การบริหารความเสี่ยงก็คือเครื่องกำหนดว่า  อัตราเร่งหรืออัตราความเร็วที่ธุรกิจจะเดินต่อไปมีอะไรบ้าง  เพราะฉะนั้น  การบริหารความเสี่ยงก็จะมีความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต  และจะมีมากยิ่งขึ้นเนื่องจากความเสี่ยงจะเกิดขึ้นจากหลากหลายมิติ" สุรงค์กล่าวตอนหนึ่ง

  • "ยึดติดมากเกินไปก็เป็นความเสี่ยง "


ด้านทางฝั่งขององค์กรที่มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)โดยนายไพบูลย์  กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ  สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า การประเมินความเสี่ยงที่รัดกุมรอบคอบจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความตระหนัก ที่นับวันความเสี่ยงและวิกฤติเศรษฐกิจจะมีบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น  มีความซับซ้อนของปัญหาในหลายมิติที่เชื่อมโยงถึงกัน  โดยในบางครั้งมองว่าเรายึดติดกับโมเดลในอดีตมากเกินไป  ทำให้มีการคาดการณ์ที่ไม่ตรงนัก  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ใช่ว่าสิ่งดังกล่าวเหล่านั้นจะไม่จำเป็น  เพียงแต่อย่าให้หลงงมงายในสูตรคณิตศาสตร์หรือสถิติที่ผ่านมามากเกินไปเท่านั้น  เพราะทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้วตามยุคสมัย  สำหรับการดำเนินนโยบายในโลกที่มีความผันผวน  และเชื่อมโยงกันสูงเช่นนี้  เรื่องของหลักการทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ก็สำคัญ   แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือสามัญสำนึก

"การที่เราหวังพึ่งหลักการทางคณิตศาสตร์มากเกินไป  หรือยึดติดมากจนเกินไปก็เป็นความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง  เนื่องจากสูตรไม่สามารถครอบคลุมความเสี่ยงทุกอย่างได้หมด" ผู้บริหารจากแบงก์ชาติระบุและกล่าวต่อว่า  ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณสูตรต่างๆที่ซับซ้อนได้นั้น  ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะสามารถพยากรณ์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้  แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือความเชื่อมั่นที่มากเกินไป  คิดว่ามีระบบที่ดีแล้วจนทำให้วางใจในการจัดการความเสี่ยง  ซึ่งหากไม่ใช้สามัญสำนึกก็จะกลายเป็นความเสี่ยงที่อันตรายอย่างยิ่ง

บทเรียนที่สำคัญที่สุดของวิกฤติที่ผ่านมา(วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์และวิกฤติยูโร) ก็คืออย่าไปเชื่อโมเดลมากนัก  เพราะโลกไม่ใช่สิ่งที่คาดเดาง่ายอีกต่อไป  พยายามอย่าว่าจ้างผู้อื่นทำการบริหารความเสี่ยงให้ 


ระเด็นที่สำคัญก็คือต้องไม่ลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้ไม่มีความชำนาญ  อย่าหวังพึ่งพิงทางการมากเกินไป  ซึ่งภาคธุรกิจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมรับวิกฤติ  พร้อมรับเหตุการณที่ไม่คาดคิดด้วยตนเอง  "เวลาที่อันตรายมากที่สุดก็คือเวลาที่ภาครัฐบอกว่าเอาอยู่  ดังนั้นขอให้ท่านรีบกลับไปทำการบ้านของท่านเองว่าท่านต้องเอาอยู่ด้วยตนเอง  ไม่ใช่ว่าให้คนอื่นเอาอยู่ให้ท่าน  หรือจะกล่าวโดยสรุปก็คือจะต้องช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด" นายไพบูลย์กล่าว

  • ประเทศไทยขาดความคิด


นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า  ประเทศไทยเป็นประเทศที่ลงทุนน้อย  โดยเฉพาะเรื่องของการวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนเพียงแค่ 0.2% ของจีดีพี(ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) เท่านั้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ซึ่งเทียบไม่ได้กับประเทศเกาหลีที่มีการลงทุนด้านดังกล่าวถึง 3%ของจีดีพี  โดยการที่ไทยขาดการลงทุนในเรื่อง R&D และการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบอย่างมองการณ์ไกลจะส่งผลให้ไทยหายสาบสูญไปจากตลาดได้ในที่สุด  ซึ่งความแตกต่างของการพัฒนานั้น  หัวใจหลักสำคัญก็คือการลงทุนที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม

นายไพบูลย์สรุปส่งท้ายว่า  ประเทศไทยไม่ได้ขาดเงิน  แต่อาจจะขาดความคิด เขาติงการนำเสนอข่าวสาร เรื่องดอกเบี้ยหรือค่าเงินสูงต่ำเกินไป  เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่เรื่องภาคเศรษฐกิจ ภาคการเงินเป็นแค่ภาพลวงตา     ใจความสำคัญอยู่ที่นักธุรกิจที่จะลงทุนเพิ่มศักยภาพของประเทศ  เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน  หรือเพิ่มทักษะแรงงาน  ส่วนรัฐบาลก็มีหน้าที่ว่าจะทำอย่างไรให้ระบบการศึกษาเจริญ  เพื่อช่วยให้เยาวชนฉลาดขึ้น  และคิดเองได้มากขึ้น

  • "กระจายความเสี่ยงไม่ให้กระจุกตัว"


ด้านนางกอบกาญจน์  วัฒนวรางกูร   ประธานกรรมการบริหาร  บริษัท  โตชิบาไทยแลนด์ จำกัด เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงภาพใหญ่ด้วยการชี้ว่า    ปัจจุบันต้องให้ความสำคัญ R&D ให้มากยิ่งขึ้น  เพื่อให้ประเทศไทยยังอยู่ในสายตาของนักลงทุน  เนื่องจากทุกวันนี้จะมีประเทศเกิดใหม่เกิดขึ้น  ทั้งพม่า  และเวียดนาม  ซึ่งแรงงานได้รับอนิสงส์ขององค์ความรู้จากประเทศไทยไปมาก  เพราะฉะนั้นเราจะต้องสร้างคนที่จะสามารถตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลง  และพร้อมที่จะอยู่บนโลกนี้ให้ได้  เพราะปัญหาจะมีมามากขึ้นและถี่ขึ้น  โดยภาคธุรกิจเองจะต้องตระหนักในเรื่องของการสร้างองค์กร  หรือคนในองค์กรให้เก่งเท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

  • "ระมัดระวังความเสี่ยงมากเกินไป ธุรกิจจะไม่เติบโต"


นางกรรณิกา  ชลิตอาภรณ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่  ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า  การบริหารความเสี่ยงที่สำคัญของธนาคารก็คือการกระจายความเสี่ยงออกไปในหลายภาคธุรกิจ  โดยไม่ให้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการระมัดระวังความเสี่ยง  และการดำเนินธุรกิจให้สามารถไปด้วยกันได้  ซึ่งหากระมัดระวังความเสี่ยงมากเกินไป  ธุรกิจก็จะไม่เติบโต  แต่ในมุมกลับกันหากให้ธุรกิจนำหน้าองค์กรก็อาจจะต้องเผชิญความเสี่ยงที่มากเกินไป
"ธุรกิจธนาคารถูกกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อความต่อเนื่องของธุรกิจ   สำหรับรองรับเหตุการณ์วิกฤติที่อาจเกิดขึ้นอย่างทันท่วงทีโดยไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ  เพราะธุรกิจธนาคารมีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจมาก  ซึ่งหากเกิดปัญหากับธนาคารเดียวก็อาจจะส่งผลกระทบไปทั่วประเทศได้จากการเชื่อมโยงของระบบ"

  • "หัวใจของการบริหารความเสี่ยงคือการเตรียมพร้อม"


ขณะที่นายชนินท์  ว่องกุศลกิจ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. บ้านปู กล่าวว่า บริษัทจดทะเบียนควรที่จะมีการตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง  เพื่อรับมือวิกฤติที่จะเกิดขึ้น  โดยการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นควรมีทั้งแผนระยะสั้น  และระยะยาว  ซึ่งการจัดตั้งคณะกรรมการสามารถจัดตั้งได้ตามความพร้อมของบริษัทในรูปแบบใดก็ได้

หากฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาแล้ว  หัวใจสำคัญของการบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือการเตรียมความพร้อมรับมือต่อสถานการณที่ไม่คาดคิด  และการพัฒนาบุคลากรให้มีความเท่าทันโลกยุคโลกาภิวัตน์  นอกจากนี้การลงทุนที่มีศักยภาพของภาครัฐก็จะเป็นส่วนสำคัญให้การผลักดันประเทศให้เดินหน้าต่อไปโดยไม่ตกหล่นจากเวทีโลก

กล่าวโดยสรุปแล้วนักบริหารที่คุ้นเคยกับความเสี่ยงทั้งห้ามองว่า

กุญแจดอกสำคัญในการบริหารความเสี่ยง ต้องพร้อมทั้งข้อมูล สัญชาตญาณ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต หากเข้าถึงในหลักการดังกล่าวความเสี่ยงจะเปลี่ยนเป็นโอกาสทันที




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 12 กรกฎาคม 2555 16:06:15 น.
Counter : 1482 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ชะเอมหวาน
Location :
Dalian(China),Guildford(UK),กทม.,สกลนคร United Kingdom

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Edutainment
International Business
Bossa Nova& Easy Listening

ถ้าถามอะไรในนี้ไม่ได้ตอบ
กรุณาส่งไปทางเฟซบุ๊คเลยนะคะ
ไม่ค่อยได้เช็คบล็อกค่ะ
ขอบคุณค่ะ


 ยินดีต้อนรับ
ณ บ้านชะเอมหวานค่ะ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนกันเสมอนะคะ
จขบ.เป็นอาจารย์เล็กๆค่ะ
ฟรีแลนซ์ พิธีกรงานแต่งงาน
สะสมโปสการ์ดค่ะ
ฟังเพลงสบายๆ
ชอบแต่งหน้าแต่งตัว
แต่งกลอน ขีดๆเขียนๆ
ท่องเที่ยว
ก็เป็นกำลังใจให้กันด้วยค่ะ จุ๊บๆ 





บ้านนี้จขบ.ต้องการสร้างสรรค์ให้เบา สบายๆค่ะ
เอนทรี่เก่าๆเกี่ยวกับอาหารและการท่องเที่ยวจะย้ายบ้านไปที่

Amiley lala(ท่องเที่ยวและอาหาร)



POSTCARD & International Business


ถ้าจะโหวตขอหมวดการศึกษา

และหมวดดนตรีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ
credit::::
photo by พี่เป็ดสวรรค์)
Head blog กับของตกแต่งจาก

pk12th
และ

คุณกุ้ง Kungguenter


Follow amiley on Twitter



New Comments
Friends' blogs
[Add ชะเอมหวาน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.