หลังจากไปเที่ยวที่ London Eye เรียบร้อยแล้ว เราไปเที่ยวกันต่อน่ะค่ะ นี่เลยค่ะ British Museum พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 1753 หรือตรงกับปี พ.ศ.2296 ตามพระราชบัญญัติแห่งรัฐสภา เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์เก่าแก่ของโลก และถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมนุษย์ จัดแสดงทรัพย์สมบัติของชาวแอสซีเรียน มัมมี่อียิปต์ ศิลาโรเซตตา ประติมากรรมจากวิหารพาเธนอน แจกันพอร์ตแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเกรทคอร์ตซึ่งเพิ่งเปิดในปี 2000 เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ 12 รายการที่น่าสนใจมากที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ และเป็นพื้นที่จัดแสดงในร่มขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป หลังคาช่วงแรกของพิพิธภัณฑ์จะมุงด้วยหลังคากระจก ออกแบบโดยสถาปนิก "เซอร์ นอร์แมน โฟ" สว่างชนิดไม่ต้องง้อแสงไฟ รอบๆ มีร้านขายขนม มีโต๊ะประชาสัมพันธ์ มีร้านขายของที่ระลึกและขายหนังสือ กลุ่มที่เข้ามานอกจากนักท่องเที่ยวแล้ว ยังมีพวกกลุ่มนักเรียนอีกด้วยที่แรกที่เราจะไปชมกันก็คือ Reading Room หรือห้องอ่านหนังสือนั่นเอง หนังสือที่หายากที่สุดก็จะมีให้อ่านในห้องอ่านหนังสือนี้ และที่นี่เคยมีบุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง "คาร์ล มาร์กซ์" และ "เลนิน" มานั่งอ่านหนังสือที่นี่ด้วยต่อไปคือ "ห้องอียิปต์" ว่ากันว่าสมบูรณ์ที่สุด จะเป็นรองก็แต่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโรเท่านั้น ภายในห้องจะจัดแสดงทรัพย์สมบัติของชาวแอสซีเรียน มัมมี่อียิปต์ และศิลาโรเซตตา ซึ่งเป็นศิลาจารึกอียิปต์สมัย 196 ปีก่อนคริสตกาล สลักเป็น 2 ภาษา คืออียิปต์ และกรีกศิลานี้ใช้แบบตัวอักษร 3 แบบ แบบแรกเรียกว่า "เฮียโรกลีฟิก" อักษรอียิปต์โบราณ ใช้เพื่อกรณีพิเศษ หรือเกี่ยวกับศาสนา แบบที่ 2 เรียกว่า "เดโมติก" ภาษาโดยทั่วไป เป็นภาษาธรรมดาที่ใช้ในอียิปต์ และแบบที่ 3 คือภาษากรีก ก้อนหินจะแบ่งเป็น 3 ช่วงชัดเจน จารึกบนหินก้อนนี้ทำให้ปริศนาของอียิปต์ถูกไขออก จากศิลาโรเซตตา มาที่วิวัฒนาการมัมมี่ เริ่มที่ซากศพชาวอียิปต์ที่ถูกฝังบนพื้นทราย เป็นซากศพสมบูรณ์ ว่ากันว่า เล็บ และเส้นผมงอกมาเรื่อยๆ ทุกปี ปรื๋อ!! น่ากลัวอ่ะถัดมาเป็นมัมมี่สตรี ระบุว่าเป็นสตรีที่มีฐานะและหน้าตาดี โครงหน้าที่เห็นชัดคือจมูกโด่งเป็นสันสวยงาม มัมมี่ทั้ง 2 นี้ เป็นการอธิบายว่า ในสมัยอียิปต์โบราณนำศพไปฝังไว้ในทะเลทรายร้อนระอุ ความร้อน และความแห้งแล้งทำให้ร่างกายแห้งอย่างรวดเร็ว แบคทีเรียไม่มีโอกาสย่อยสลายศพเสียก่อน จึงกลายเป็นมัมมี่ไปตามธรรมชาติส่วนตู้โชว์มัมมี่ที่สมบูรณ์ พร้อมอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว แสดงถึงความพยายามของชาวอียิปต์ศึกษา เพื่อจะรักษาสภาพศพให้คงทนอยู่ได้ ด้วยการแช่อาบศพเพื่อชะงักการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แล้วพันด้วยแถบผ้าลินิน เรียกกรรมวิธีนี้ว่า การทำมัมมี่ขั้นตอนการทำมัมมี่ ขั้นแรกคือ การแช่อาบศพ อาบศพด้วยเหล้าที่ทำจากน้ำตาลสด และชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์ ผ่าช่องท้องด้านซ้าย เพื่อเอาอวัยวะภายในออก เหลือไว้แต่หัวใจ ที่เชื่อว่าเป็นศูนย์รวมแห่งปัญญา ผู้ตายยังต้องใช้ในโลกแห่งวิญญาณ ชำระล้างอวัยวะภายในจนสะอาดกลบด้วยเกลือเม็ดเนตรอน สอดขอที่ทำด้วยสำริดเข้าทางช่องจมูกเกี่ยวเอาเนื้อสมองออกมา วางกลบด้วยเกลือเม็ดให้แห้ง ช่องว่างภายในก็ใส่เกลือเม็ดป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ศพจะถูกแช่เกลือ 40 วันจนแห้ง และจะถูกนำมาชำระด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์อีกครั้ง เคลือบผิวหนังด้วยน้ำมันให้ผิวหนังคงสภาพอ่อนนุ่ม อวัยวะภายในที่แห้งจะถูกจับยัดเข้าไปพร้อมขี้เลื่อย หรือใบไม้ และผ้าลินิน เพื่อให้ดูเหมือนยามมีชีวิตอยู่ ไม่ยุบตัวลง จากนั้นจะชำระศพด้วยน้ำมันหอมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะนำไปพันผ้าลินินการพันห่อมัมมี่ขั้นแรก จะพันศีรษะและลำคอก่อน ด้วยแถบผ้าลินินแล้วก็จะพันนิ้วมือ และนิ้วเท้าแยกกันทีละนิ้ว แล้วก็พันห่อแขนและขา แต่ละทบก็จะใส่เครื่องราง เพื่อปกปักรักษาผู้ตายในระหว่างการเดินทางไปสู่ภพใหม่ ผู้เชี่ยวชาญจะพันแขนขามัมมี่เข้ากับส่วนร่าง ตำรา "มนตราสำหรับผู้ตาย" ก็จะรวมห่อไปด้วยให้ถือไว้ในมือของมัมมี่จากนั้นจะพันผ้าเพิ่มรวมให้ร่างถูกพันรวมกันหมด แต่ละชั้นของผ้าลินิน ผู้ทำมัมมี่จะทาไว้ด้วยเรซิ่น เพื่อให้ผ้าลินินยึดติดกัน แล้วห่อด้วยผ้าผืนใหญ่อีกทีหนึ่ง จะวาดรูปเทพ "โอซีรีส" บนผ้าที่ห่อมัมมี่นั้น เอาผ้าผืนใหญ่ห่ออีกชั้นหนึ่ง แล้วมัดตราสังด้วยแถบผ้าลินินตลอดร่างเป็นครั้งสุดท้าย ปิดด้านบนของมัมมี่ด้วยแผ่นกระดาน ก่อนจะเอาไปใส่ในโลงศพ 2 โลงซ้อนกัน เอาโลงไปใส่ในโลงหินแกะสลัก พร้อมด้วยเครื่องเรือน เสื้อผ้า ของมีค่า อาหารและเครื่องดื่ม จะถูกจัดวางไว้อย่างพร้อมเพรียง เป็นเสบียงให้ผู้ตายได้เดินทางสู่ปรภพCool Slideshowsพล่ามมามากมายเกี่ยวกับมัมมี่ เดี๋ยวจะเบื่อกันเสียก่อน แต่ก่อนที่จะไปต่อกันที่อื่น ก็จะมีรูปปิดท้ายของมัมมี่อีกนั่นแหละ แต่อันนี้เป็นมัมมี่ของแมว และปลาค่ะพิพิธภัณฑ์นี้ใหญ่มาก ๆ ค่ะ เดินจนเมื่อยเลยค่ะ มีหลายห้องมากมาย ทั้งห้องญี่ปุ่น เกาหลี และอีกมากมายอธิบายไม่หมดเลยค่ะ เอาเป็นว่าเอารูปรวม ๆ มาให้ดูดีกว่าน่ะค่ะ
ขอบคุณนะคะที่พาเที่ยว