<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
2 ตุลาคม 2552

อาณาจักรโบราณทวาราวดีที่นครปฐม... พระประโทณเจดีย์อีกครั้ง(ขี่หมูดูพระ)

ออกจากวัดทุ่งพระเมรุ เหวยก็พาผมก็ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์เสือหมู ที่มีสภาพของระบบเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์นักไปยังพระประโทณเจดีย์ เครื่องเริ่มมีอาการกระตุกๆ แต่เราก็ถึงที่หมาย...

ถึงวัดพระประโทณ ผมให้เหวยตรงไปที่อนุสาวรีย์โบราณวัตถุที่อดีตเจ้าอาวาสวัดพระประโทณนำโบราณวัตถุที่พบในบริเวณวัดมาประกอบรวมสร้างไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยนำงานปูนปั้นและงานดินเผาโบราณมาติดประกอบกับปูนฉาบเป็นเจดีย์เล็กๆ ก่อนที่งานศิลปโบราณเหล่านี้จะถูกขโมยสูญหายหมด

ภาพบนเหวยกำลังพิจารณาปูนปั้นและโบราณวัตถุที่พบในบริเวณวัด


เศียรปูนปั้นบนอนุสาวรีย์


ในภาพบนจะเห็นขนดเส้นผมหรือที่เรียกว่าเม็ดพระสกติดประดับอยู่บนเจดีย์ด้วย เม็ดพระศกนี้ปกติจะติดบนเศียรพระพุทธรูป ผมคาดว่าเม็ดพระสกเหล่านี้คงเป็นของพระพุทธรูปขนาดใหญ่พอควร เพราะขนดเส้นผม(เม็ดพระศก)นั้นใหญ่พอๆ กับกำปั้นผมทีเดียว


ภาพบนพระประโทณเจดีย์มุม 45 องศา แสดงการเว้นช่องว่างเป็นจังหวะเล็กใหญ่

จากนั้นเราก็ตรงไปที่เจดีย์

"เหวย... นายรู้จักกฏสัดส่วนทองคำใช่ป่ะ นายลองดูที่พระประโทณดิ" ผมถามเหวย
"1 ต่อ 1.618 กฎของความงามที่ปรากฏขึ้นในธรรมชาติ ที่ชาวกรีกค้นพบ" เหวยตอบ
"เหวยนายเห็นจังหวะของการก่ออิฐที่มีแบ่งส่วนเป็นห้องๆ เกิดช่องไฟเล็กใหญ่ต่างกันป่าว"
"อ๋อ... พี่เป็นไปตามสัดส่วนทองคำเหรอ"
"อืม... จารย์วินัยแกว่าไว้อย่างนั้นนะ นายลองไปวัดดูแล้วกัน"
"เจ๋งอ่ะ...สวยดีอะพี่"

กฎสัดส่วนทองคำหรือ Golden Section เป็นอัตราส่วนของที่ว่างหรือจังหวะที่ให้ความรู้สึกสวยงามลงตัวที่ค้นพบโดยชาวกรีกโบราณ แม้ในความงามตามธรรมชาติ ก็พบสัดส่วนเหล่านี้ปรากฏในรูปแบบความงามที่ลงตัว เป็นต้นว่าอัตราส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเปลือกหอยวงใน ต่อวงถัดออกไปก็จะเป็นไปตามสัดส่วนนี้ ซึ่งสัดส่วนของความความงามตามอัตรานี้ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างและตกแต่งสถาปัตยกรรมของกรีกโบราณ (ลองอ่านนี้ดู //www.geocities.com/~jlhagan/lessons/design2.htm)


การก่ออิฐที่พระประโทณเจดีย์ และจุลประโทนเจดีย์ มีการใช้ช่องและชั้นขนาดเล็กใหญ่สลับกันตามแนวทางกฎสัดส่วนทองคำของกรีก

นอกจากอิฐสอดินที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ที่พระประโทณเจดีย์หรือที่จุลประโทนเจดีย์ แต่เดิมจะมีลวดลายปูนปั้นประดับอยู่ด้วย ปัจจุบันลวดลายปูนปั้นที่ยังเหลืออยู่บางส่วนถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครปฐม(ตรงองค์พระปฐมเจดีย์) และมีอยู่อีกเล็กน้อยที่อดีตเจ้าอาวาสวัดพระประโทณนำมารวบรวมสร้างไว้ทีอนุสาวรีย์ที่ได้กล่าวไปแล้ว(สามภาพด้านล่างแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครปฐม)

ปูนปั้นรูปกินนรเล่นพิณเปี๊ยะ


ปูนปั้นที่มีรายละเอียดและความงดงามสะท้อนถึงฝีมือช่างชั้นสูง


การแต่งกายของคนยุคทวาราวดี ศึกษาได้จากงานปูนปั้น เนื่องด้วยไม่มีการค้นพบภาพเขียนของยุคทวาหลงเหลืออยู่

ในศิลปกรรมของทวาราวดี นอกจากสัดส่วนทองคำของกรีกที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเว้นจังหวะให้สวยงามบนพระเจดีย์ ยังมีงานศิลปะที่แสดงออกถึงการได้รับอิทธิพลจากกรีกโบราณ เช่นลายปูนปั้นรูปหัวเสาไอโอนิค และคอริเทียน ทีปั้นประดับอยู่ตามสถาปัตยกรรม หัวเสาแบบกรีกนี้นี้ยังปรากฎในวงล้อธรรมจักรของทวาราวดี แสดงให้เห็นถึงการเดินทางเคลื่อนไหวและรวมตัวของวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ(กรีก>>อินเดีย>>ไทย)

ปูนปั้นมีรูปแบบอย่างหัวเสาไอโอนิก(Ionic)ของกรีก ที่ใช้ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมทวาราวดี ถ่ายภาพจากอนุสาวรีย์วัดพระประโทณเจดีย์



ซี่ล้อของธรรมจักรทวาราวดี สลักเป็นรูปหัวเสาแบบกรีก



"พี่เจดีย์ใหญ่ๆ อย่างนี้เขาสร้างได้นี่เก่งนะ... มันต้องใช้ทั้งวิศวะกร ทีมช่างและแรงงานขนาดไหน...และก็มีสถาปนิคที่เขียนแบบ ผมนึกถึงแบบร่างต้นแบบ"
“มีนะมีการค้นพบแบบร่างของเจดีย์ บนแผ่นดินเผาอยู่ด้วย”
“อืม... เจ๋ง อะพี่”

ภาพร่างแบบของเจดีย์บนแผ่นดินเผา ทำให้เห็นภาพรวมของเจดีย์ที่นิยมสร้างในยุคนั้น

จากนั้นเราก็ขึ้นไปบนเจดีย์ เดินชมบนพระเจดีย์โดยรอบ และขึ้นไปบนยอดสีขาวที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยา



พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่บนยอดพระประโทณเจดีย์ เหวยให้ความเห็นว่า ในการสร้างยอดเจดีย์ ผู้สร้างคงต้องการให้ผู้มาสักการะต้องใช้ศรัทธา ความกล้าหาญและความอ้อนน้อมในการปีนขึ้นมา... เพราะการจะปีนถึงบนยอดนี้ได้ทั้งเหนื่อยจนแทบจะคลานปีน อีกทั้งต้องรวบรวมความกล้าด้วยสูงหวาดเสียวจนน่ากลัว


กรุอารยธรรมที่บริเวณลานวัด ฝังเรื่องราวของยุคสมัยไว้ ให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษา

ออกจากวัดพระประโทณก็ขี่หมูมุ่งไปที่จุลประโทน

ดอกไม้แปลกตานี่คือดอกอุตพิดกำลังบานอยู่รายรอบซากหักพังของจุลประโทณ ส่วนมือนั่นมือของผมเอง...

เดินชมเจดีย์จุลประโทนโดยรอบและเราก็ขี่หมูมุ่งไปวัดธรรมศาลา




วันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ขอสันติสถิตในดวงใจทุกท่าน... สวัสดี




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2552
9 comments
Last Update : 3 ตุลาคม 2552 17:25:05 น.
Counter : 3095 Pageviews.

 

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
1.พิณเปี๊ยะมีมาแต่สมัยทวารวดี....อืม....น่าสนใจ
2.กฎสัดส่วนทองคำ เดี๋ยวขอเข้าไปอ่านเพิ่มเติมก่อนนะ
3.การร่างภาพในสมัยก่อน.....อืม....เป็นอย่างงี้เอง
4.การขึ้นไปไหว้พระที่สูงๆนั้นบังคับให้ต้องเดินอย่างสุภาพเรียบร้อย บางแห่งบันไดแคบมากต้องถอยหลังลงเป็นการสักการะแบบหนึ่ง....เป็นข้อสันนิษฐานที่ดี
5..ได้เห็นหน้าเหวย........อืมๆ
6.ได้เห็นดอกอุตพิดและมือพี่ไบรท์.....55555
7.กรุอารยธรรมเป็นยังไงเหรอคะ..แบบเอาสิ่งของสมัยปัจจุบันใส่แคปซูลไว้ให้เด็กอีก100ปีดูใช่ป่าว

 

โดย: นก (popang ) 3 ตุลาคม 2552 15:06:21 น.  

 

การรับษาโบราณวัตถุที่วัดพระประโทณ น่าจะบันทึก
เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเลยนะครับ

ใครจะคิดถึงว่า การเชื่อมหรือโบกโบราณวัตถุเข้าด้วยกัน
แถมยังเดินดูได้รอบๆ แต่น่าเสีนดายว่าจะเห็นภาพแบบ
นูนต่ำเท่านั้น ไม่เห็นสามมิติ แต่ก็ยังดีกว่าสูยหายไป
อย่างไร่ร่องรอย

สิ่งที่น่าทึ่งอีกอย่างก็คือหัวเสาไอโอนิก(Ionic)ของกรีก
การเดินทางของศิลปะในรูปแบบที่คงที่ ไม่ปรับเปลี่ยนมาก
นัก นี่เป็นความยิ่งใหญ่ของโบราณสถานของไทย

อารยธรรมเหล่านี้ ผมอยากให้ย่อยๆได้ง่ายๆ (การศึกษา)สำหรับอนุชนรุ่นหลังครับ

 

โดย: Insignia_Museum 4 ตุลาคม 2552 14:39:43 น.  

 

อืมเจอบล็อคนี้โดนบังเอิญค่ะ กำลังจะพยายามทำบล้อคเกี่ยวกับนครปฐมจากหนังสือที่ไปเจอโดนบังเอิญที่ห้องสมุดกศน. (ข้างองค์พระน่ะคะ ) ชื่อ "ตำนานเมืองนครปฐม ที่ระลึก 22 มีนาคม 2527 พระธรรมสิริชัย ชิตวิปุโล " อ่านแล้วมีเรื่องเก่าๆพอสมควร ว่างๆอย่าลืมไปอ่านนะคะ (น่าจะว่างทำอาทิตย์หน้า)

 

โดย: แม่น้องกะบูน 4 ตุลาคม 2552 18:57:11 น.  

 

สวัสดีครับทุกท่าน

-น้องนกโปแป้ง... เอิ๊กดีใจที่ได้รับความรู้ ใช่แล้วครับกรุอารายธรรมเป็นแบบที่น้องนกว่าไม่ผิดเลย

-พี่อิม อินซิกเนีย ใช่ครับ ที่จริงอนุสาวรีย์นี้สร้างมาสัก 70 ปีแล้วนะครับ คิดว่าในยุคนั้นทางกรมศิลป์คงไม่มีการดูแลอย่างทั่วถึงนัก ทางอดีตเจ้าอาวาสเลยแก้ปัญหาด้วยวิธีตามที่กล่าวไว้ ส่วนเรื่องหัวเสานอกจากจะปรากฎลวดลายแบบไอโอนิกแล้วยังมีลายหัวเสาแบบคอริเทียนในศิลปทวาด้วยนะครับ และจริงครับ... คือ เรื่องโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปทุกวันนี้กลายเป็นเรื่องที่ศึกษากันในหมู่คนเฉพาะกลุ่ม

-แม่น้องกะบูน ดีจังเลยครับที่จะนำเรื่องเก่าๆ มาเล่าให้กันฟัง

ขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมนะครับ

 

โดย: เจ้าของบล็อก (bite25 ) 5 ตุลาคม 2552 10:08:23 น.  

 

กฏสัดส่วนทองคำ น่าสนใจมากค่ะคุณไบร์ท
อ่านแล้วรู้สึกทึ่งกับหัวเสาแบบกรีึกเหมือนกันค่ะ

เสือหมูอย่างเท่ห์อ่ะคุณไบร์ท^^

ปล. จากบล็อค ถือเป็นต่างกรรม ต่างวาระก็แล้วกันค่ะ

 

โดย: coji 5 ตุลาคม 2552 13:41:01 น.  

 

สวัสดีค่ะ

วันนี้มาลงทะเบียนไว้นะคะ
พรุ่งนี้มาอ่านค่ะ

ขอบคุณนะคะ

 

โดย: raya-a 5 ตุลาคม 2552 16:37:34 น.  

 

ผมอ่านการ์ตูนเรื่อง โจโจ้ล่าข้ามศตวรรษ

ภาคสตีลบอลรัน ก็มีเรื่องกฎสี่เหลี่ยมทองคำ

แบบเดียวกับที่พี่อธิบายเป๊ะเลย

ผมนึกว่า อีตาคนเขียน มั่วซะอีกนะเนี่ย

 

โดย: หะลวง IP: 125.24.177.37 6 ตุลาคม 2552 17:12:06 น.  

 

สวัสดี...บ่ายวันพุธ

คุณภาโคจิ เสือหมูได้ยินคนแถบหาดใหญ่บางคนเรียก รถหัวดำครับ สมัยก่อนเป็นรถใช้งาน เด๋วนี้กลายเป็นของเล่นของสะสมแบบนั้นแล้ว

คุณรยา ขอบคุณที่เข้ามาลงทะเบียนอ่านนะครับ อืมคิดว่าคงได้อ่านบ้างแล้ว

หะลวง ตาคนเขียนโจโจ้(การ์ตูนยอดนิยมในอดีต) ตานี่ขี้โม้เป็นตุเป็นตะ แต่มันดี จับโน่นชนนี่ได้เป็นเรื่องราวน่าสนใจ

มีความสุขทุกท่านนะครับ

 

โดย: bite25 7 ตุลาคม 2552 15:34:11 น.  

 

สวัสดีจ้าพี่ไบท์ เข้ามาล่าช้าไปหน่อย ช่วงนี้วุ่นๆยังไงก็ไม่รู้ เลยเพิ่งได้เข้ามาอ่าน น่าทึ่งกับการสร้างสถาปัตยกรรมใหญ่ๆสมัยโบราณจัง ไม่น่าเชื่อว่ายุคนั้นประเทศไทยได้รับอิทธิพลด้านศิลปะจากกรีกโบราณแล้ว

พี่ไบท์สบายดีนะคะ

 

โดย: ไผ่ (Coucou Bamboo ) 8 ตุลาคม 2552 11:31:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


bite25
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




New Comments
[Add bite25's blog to your web]

MY VIP Friend