Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
9 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 

Food For Flood "สำรับ" ยามยาก มื้อที่อร่อยที่สุด

วันที่มวลน้ำมหาศาลยังไม่ระบายออกจากแผนที่ประเทศไทย นอกจาก "ที่หลับที่นอน" แล้ว "อาหารการกิน" ถือเป็นอีกเรื่องที่ต้องคิด


ระหว่างทาง "ลงทะเล" ของมวลน้ำก้อนโต หรือปลาวาฬฝูงใหญ่ (แล้วแต่ใครจะเรียก) มหากาพย์การเดินทางครั้งนี้ สร้างผลกระทบมากมายไม่ว่าจะ "ทางตรง" หรือ "ทางอ้อม"

กว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ เรือกสวนไร่นา อาคารบ้านเรือน ตลอดจนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ต่างถูกน้ำ "กวาดเรียบ"

น้ำ จึงกลาย "โจทย์สำคัญ" ให้คิด และปรับชีวิตไปโดยปริยาย

หลายบ้านต้องเทครัวอพยพไปยังศูนย์พักพิง ขณะที่อีกหลายบ้านยัง "ใจดีสู้น้ำ" รอเวลาอยู่กับที่ไม่ยอมไปไหน

จนวันนี้ ถึงคิว กรุงเทพมหานคร ที่ค่อยๆ "จม" ไปทีละเขต

แม้จะมีเสียงจากฟากบริหารออกมาพูดถึงความพยายามในการ "เอา" อุทกภัยให้ "อยู่" หมัด แต่กลับถูกน้ำไล่กระเจิงครั้งแล้วครั้งเล่า

ไม่ว่าจะงัดกระสอบทราย ก่ออิฐ ยาแนว หรือคลุมพลาสติก เท่าที่ "คัมภีร์กันน้ำ" เล่มไหนจะการันตี

ที่สำคัญกว่านั้น หนึ่งในปัจจัยสี่ อย่าง "อาหาร" คงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้

หวั่นน้ำท่วม สินค้าขาดตลาด แห่กักตุนข้าว

มาม่าหมดสต็อกหลังเกิดน้ำท่วม

วิตกคนกรุง กักตุนน้ำดื่ม มาม่า ปลากระป๋อง ขาดตลาด

พาดหัวข่าวต่างๆ สะท้อนถึงความกังวลเรื่องปากท้องของคนเมือง ตั้งแต่ "น้องน้ำ" ยังเดินทางมาไม่ถึง

คำถามคือ เราจะดูแล "ปากท้อง" ตัวเองได้อย่างไร เมื่อน้ำกำลังทั้ง "รุก-รุม-ล้อม" อยู่ตอนนี้


เตรียม-ตุนให้ท้องอิ่ม


"เป็นคนกินยากค่ะ เลยยังไม่ได้คิดอะไรเท่าไหร่" เป็นคำสารภาพจาก อ้อม-เพ็ญสิริ เกษมสุข ถึงการเตรียมตัวรับสถานการณ์น้ำที่กำลัง "งวด" เข้ามาทุกขณะ

ปกติชีวิตสาวออฟฟิศที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้หอพักของเธอแถวๆ โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) ซอยรามอินทรา 109 ถนนพระยาสุเรนทร์ มักมีอาหารสำเร็จรูปติดห้องเอาไว้อยู่บ้าง หรือไม่ก็เป็นของขบเคี้ยวเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้แก้เหงาปาก

ข่าวน้ำท่วมบนหน้าจอทีวี ทำให้อ้อมเป็นกังวลอยู่พอสมควร เพราะห้องที่เธอพักอยู่ทุกวันนี้นั้น อยู่ชั้น 1 และตัวอาคารก็สูงจากถนนไม่มากเท่าไหร่ ก่อนจะออกมาทำงานเท่าที่รู้ เมื่อคืนน้ำก็ล้นท่อระบายน้ำขึ้นมาแล้ว

"ซอยข้างๆ ก็มีน้ำท่วมขังตั้งแต่สองวันก่อนแล้วค่ะ"

นอกจากเก็บของบางอย่างขึ้นที่สูง น้ำดื่ม นม และอะไรที่คิดว่าน่าจะ "กินง่าย" สำหรับตัวเองคือเสบียงที่เธอเตรียมเอาไว้รับน้ำเหนือตอนนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเป็นคนที่กินอะไรยากมาเป็นทุนเดิม ที่สำคัญ หากท่วมขึ้นมาจริงๆ อ้อมเองก็ไม่คิดแช่น้ำอยู่เป็นสัปดาห์อยู่แล้ว

"กาแฟ นม บิสกิต เลย์ โจ๊ก แอปเปิ้ล ฝรั่งค่ะ" ที่นี่คือลิสต์เมนูในดวงใจ

แน่นอน ตอนนี้ เธอย้ายตัวเองไปพักบ้านญาติที่ต่างจังหวัดเรียบร้อย

ส่วน แจน - วรรณวิสา ฤทธิ์สกุลวงษ์ ตั้งหลักรับน้ำอยู่กับครอบครัวที่บ้าน ย่านลาดพร้าว 101 ตอนนี้อยู่ในขั้นเตรียมความพร้อมรับมือด้วยการ ก่อปูนกั้นประตูทางเข้าบ้าน และขนของขึ้นข้างบนเรียบร้อยหมดทุกอย่างแล้ว

"ทำตั้งแต่ท่วมบางบัวทองแล้วค่ะ" เธอยืนยัน

ไม่ได้โอเวอร์เกินเหตุ แต่ด้วยประสบการณ์จากตาและยายที่เคยผ่านน้ำท่วมมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ทำให้ที่บ้านค่อนข้างพร้อมพอสมควร

"แค่เดือนเดียวค่ะ" คือระยะเวลาที่ให้โอกาสตัวเองเดือดร้อนกับน้ำท่วม พอๆ กับบริมาณเสบียงที่มี

"ส่วนใหญ่เป็นพวกปลากระป๋อง หรือ อาหารกระป๋องน่ะค่ะ เพราะที่บ้านก็เป็นร้านขายของชำด้วย" เธอบอก

ขณะที่ แตง - พิริยา ยงเพชร กับพ่อ และแม่ของเธอเตรียมตัวเพียงทำรั้วกันน้ำเท่านั้น แต่ไม่ได้ย้ายของขึ้นที่สูง เพราะที่บริเวณบ้านค่อนข้างสูงพอสมควร

"เตรียมเสบียงไว้บ้าง แต่ไม่เยอะ เอาแค่พอสมควร ซื้อน้ำเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็เป็นพวกอาหารแห้งเป็นบางส่วน ปลากระป๋อง, ข้าวสาร, มาม่า, น้ำพริกแบบแห้ง" เธออธิบาย

เหตุผลหลักที่ทั้ง 3 คนเลือกใช้อาหารแห้ง เครื่องกระป๋องก็เพราะ ความสะดวก และที่สำคัญยังสามารถเก็บได้นานด้วย

"ไม่มีไฟฟ้าใช้ อย่างน้อยปลากระป๋องก็ยังเปิดกินได้แหละค่ะ เพราะกว่าจะรอความช่วยเหลือจะเข้ามาถึงเรา เราก็คงเกือบตายก่อน" อ้อมออกความเห็น

แต่ถ้าถามถึงเรื่องสารอาหาร

"ชั่วโมงนี้ขอแค่พออิ่มก่อนดีกว่าคะ ยังไม่ต้องคิดว่าจะได้สารอาหารครบหรือไม่ครบหรอก" ทั้ง 3 สาวต่างยืนยันเป็นเสียงเดียว

น้ำนอง ท้องอิ่ม (+ครบ 5 หมู่)


เปรียบเทียบสภาพน้ำล้อมบ้าน อย่กว่าแต่จะหาซื้ออะไรกินเลย แค่คิดจะฝ่าระดับน้ำเหนือเข่าขึ้นไปก็ลำบากแล้ว หากย้อนมองสภาพความเป็นอยู่ท่ามกลางมวลน้ำที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะลดง่ายๆ เช่นนี้ ถ้าไม่หาพื้นที่ลี้ภัยชั่วคราวรอน้ำลด การทำใจยอมรับสภาพ และปรับตัวดูจะเป็นทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหุงหาอาหารในสถานการณ์ดังกล่าว คำตอบของทั้ง แตง อ้อม และแจน ดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่อยู่ในใจของหลายๆ คน แต่สำหรับนักโภชนาการชำนาญการพิเศษ อย่าง ณัฏฐิรา ทองบัวศิริไล จากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เธอกังวลถึงสุขภาพในระยะยาว หากต้องพึงพาของกินเฉพาะอย่างเป็นเวลานานเกินไป

"คนเราต้องการสารอาหารต่างกันนะคะ" เธอตั้งข้อสังเกต

เพราะในจำนวนผู้ประสบภัยมีผู้คนหลากหลาย ทั้ง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ คนท้อง หรือคนป่วย ซึ่งต้องการสารอาหารเพื่อบำรุงร่างกายแตกต่างกัน การเอาใจใส่กับอาหารการกินโดยเฉพาะช่วงน้ำท่วมอย่างนี้ แม้จะดูเป็นการเรียกร้องที่ "เกินไป" แต่ก็ไม่ควร "ละเลย"

"คุณอาจจะทานผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้ แต่ก็น่าจะดูด้วยว่ามีอะไรสามารถแทนแป้ง หรือแทนโปรตีนได้บ้าง"

เธอยกตัวอย่างกรณีที่ของกินยอดนิยมอย่าง "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" หรือ "ปลากระป๋อง" ขาดตลาด ผู้บริโภคก็ยังมี ขนมปังกรอบ ขนมเปี๊ยะ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ แทนได้อยู่ แต่ข้อควรระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือเชื้อโรคที่อาจ "แถม" มากับน้ำ

"ช่วงน้ำท่วม หมู หรือไก่ อาจติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ เหมือนกับของกินที่มีส่วนประกอบของกะทิ หรือยำที่นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยก็อาจเสียได้ง่าย อาหารที่ต้องใช้มือสัมผัสโดยตรงก็อาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย"

"กล้วยน้ำว้า" และ "ส้ม" เป็นผลไม้ 2 ชนิดที่เธอคิดว่าน่าจะเหมาะกับสถานการณ์แบบนี้ เพราะผักใบเขียวดูจะเป็นอะไรที่ถือว่ายากพอควร ที่สำคัญ วิตามินพวกนี้ล้วนแต่ต้อง "ปรุงเพิ่ม"

แต่หากเป็นของขบเคี้ยว หรืออาหารแห้ง คุกกี้ แคร็กเกอร์ อาหารเช้าจำพวกซีเรียล กินคู่กับนมยูเอชที (นมที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิเกิน 135 องศาเซลเซียส) ก็เป็นตัวเลือกที่ทดแทนสารอาหารได้ค่อนข้างครอบคลุมเหมือนกัน

แต่ถ้าเด็กเล็กที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ

"โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด - 3 เดือนแรก แนะนำให้กินนมแม่อย่างเดียว เพราะนมผงจะทำให้ท้องร่วงได้ง่าย" เธอยืนยัน

แม้เด็กจะหย่านม หรือตัวแม่ไม่มีน้ำนมแล้วก็ตาม ณัฏฐิรา อธิบายว่าสามารถกระตุ้นน้ำนมได้ ด้วยการให้ลูกดูดบ่อยๆ แต่ตัวแม่เองก็ต้องดื่มน้ำให้มากกว่าปกติด้วยเหมือนกัน

สำหรับคนทั่วไป อาหารกระป๋องจำพวกข้าวกระป๋องที่สามารถกินได้เลย หรืออาหารปรุงสำเร็จบรรจุกระป๋องต่างๆ อาจมีราคาสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตัวเลือกสำหรับสารอาหารยามยากจะขีดวงจำกัดอยู่เพียงเท่านั้น ถั่วตัด กระยาสารท หมูหยอง ไก่หยอง เนื้อสวรรค์ ไข่เค็ม เนื้อแดดเดียว ปลาแห้ง หรือปลาเล็กปลาน้อย ก็ล้วนแต่เป็นตัวเลือกที่ไม่น่ายากเกินความสามารถ

เพื่อให้ท้องอิ่ม และไม่ต้องพึ่งโรงหมอ หลังน้ำลดนั่นเอง.



จัดชุด (อาหาร) ลุยน้ำ

"เพราะนิสัยคนไทยยังไงก็ต้องกินข้าว" บางสุ้มเสียงจากฟากนักวิชาการเปรียบเทียบถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วงน้ำท่วมที่แม้จะอัดแน่นไปด้วยสารอาหาร และการคำนวณแคลอรี่มาให้ตรงเป๊ะสักเพียงใด ถ้าลอง "สวยแต่รูป จูบไม่หอม" แม้จะถูกส่งให้ถึงมือผู้ประสบภัย แต่ก็มักจะได้รับการหยิบเป็นลำดับท้ายๆ อยู่ดี

เมนูน้ำท่วม จึงค่อนข้างมีรายละเอียดมากกว่าแค่ตาเห็น

ทาง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกรมอนามัย จึงได้ เซตเมนู "ชุดอาหารอิ่มท้อง" ขึ้นมาสำหรับเป็นทางเลือก ทั้งผู้ช่วยเหลือ และผู้รับการช่วยเหลือจะสามารถนำไปประยุตก์ใช้เพื่อให้มากกว่าอิ่มท้องรอน้ำลดได้

แน่นอนว่า นอกจากจะถูกหลักโภชนาการ ยังสามารถเก็บเอาไว้ได้นานเกินกว่า 3 วัน โดยอาหารภายในชุดประกอบไปด้วย

กลุ่มข้าว-แป้ง ได้แก่ ขนมปังกรอบคุ กกี้ แคร็กเกอร์ ขนมเปี๊ยะไส ถั่ว ขนมปังไส้ สับปะรด ข าวแต๋น ซีเรียล ข้ าวตังหน้ าธัญพืช ข าวตู มันฉาบ เผือกฉาบ

กลุ่มถั่วและธัญพืช ได้ แก่ ถั่วลิสงคั่ว ถั่วกรอบแก ว ถั่วทองทอด ถั่วปากอ้า กระยาสารท ถั่วตัด งาตัด

กลุ่มผลไม้แห้ง ได้ แก่ กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยฉาบ เป็นต้น

กลุ่มน้ำพริก ได้แก่ น้ำพริกเผา น้ำพริกตาแดง น้ำพริกปลาปน น้ำพริกปลาสลิด น้ำพริกปลาย่าง

กลุ่มปลาและเนื้อสัตว์ ได้แก่ ปลานิลแดดเดียว ทอดหมูแดดเดียวทอด ไข่เค็ม ปลาหวาน หมู/เนื้อทุบ ปลาฉิ้งฉ างอบกรอบ ไก่/หมู/ปลาหยองหมูแผ่น หมูยอ หมู/เนื้อสวรรค์

อาหารกระป๋องสำเร็จรูปต่างๆ ได้ แก่ ปลากระป๋อง หัวไชโป๊ว ผักกาดกระป๋อง เป็นต้น

อื่นๆ ได้แก่ น้ำดื่ม นมถั่วเหลือง นมสด UHT น้ำผลไม้

ตัวอย่างชุดอาหารอิ่มท้อง

แบบที่ 1 ประกอบด้วย ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว คุ๊กกี้ ข้าวตู กล้วยตาก มันฉาบ น้ำพริกตาแดง หมูแดดเดียว ปลากระป๋อง ไก่หยอง ผักกาดกระป๋อง น้ำดื่ม นมถั่วเหลือง/นมสดUHT

แบบที่ 2 ประกอบด้วย ขนมปังกรอบ ข้าวแต๋น กล้วยฉาบ ถั่วทองทอด น้ำพริกปลาย่าง ปลาแดดเดียว ปลากระป๋อง ไข่ เค็มหมูยอ ซีเรียล น้ำดื่ม นมถั่วเหลือง/นมสดUHT

แบบที่ 3 (สำหรับชาวมุสลิม) ประกอบ ด้วยขนมปังกรอบ กล้วยตาก น้ำพริกเผา ปลานิลแดดเดียวทอด ไข่เค็ม ปลาหวาน ปลากระป๋อง ซีเรียล หัวไชโป้ว น้ำดื่ม น้ำผลไม้ นมถั่วเหลือง/นมสดUHT




 

Create Date : 09 พฤศจิกายน 2554
0 comments
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2554 18:01:24 น.
Counter : 467 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


bunbaramee
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add bunbaramee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.