สิงหาคม 2548
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 สิงหาคม 2548
 

ต้นทุนค่าเสียโอกาสกับการเรียนมหาวิทยาลัย

ต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีการประกาศผลของการสอบเอ็นทรานซ์
บางคนดีใจที่สอบได้คณะที่ตนคาดหวัง บางคนเสียดายที่สอบได้ไม่ตรงกับคณะที่ต้องการ
แต่ส่วนใหญ่ในสนามการแข่งขันครั้งนี้ พวกเขาพลาด !
อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ สำหรับผู้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ของเด็กๆ ที่จริงมันมิใช่เรื่องแปลกอะไร หากทำความเข้าใจง่ายๆ ด้วยหลักของอุปสงค์-อุปทาน (demand-supply concept)
ตลาดการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ละปีมหาวิทยาลัยของรัฐรับนักศึกษาน้อยกว่า จำนวนผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นตลาดที่มีอุปทานน้อยกว่าอุปสงค์
ดังนั้น จึงทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน(excess demand) นั่นคือมีเด็กที่สอบเอ็นทรานซ์ไม่ได้จำนวนมาก
แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่มิได้เลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัย บางคนมีโอกาสเรียนแค่ระดับการศึกษาภาคบังคับ บางคนหยุดแค่ชั้นมัธยมต้น บางคนจบลงที่ชั้นมัธยมปลาย
ถามว่า ทำไมพวกเขาเหล่าจึงไม่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป ทั้งๆ ที่รู้ว่า ยิ่งมีความรู้สูงเพียงใด โอกาสที่จะได้ทำงานที่ดี มีเกียรติ มีรายได้สูง ก็ยิ่งมีมากขึ้น
หากมองในแง่ปัญหาทางสังคม พวกเขาเหล่านั้นอาจจะไม่มีโอกาสและขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่หากมองในแง่เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือก และทางเลือกแต่ละทางล้วนก่อให้เกิดต้นทุนในการเลือกด้วยกันทั้งสิ้น เราเรียกต้นทุนที่เกิดจากการเลือกนี้ว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (opportunity cost)
ประเด็นอยู่ที่ว่าการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องอะไรกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
อันที่จริงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัว แต่เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นการศึกษาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเรียนต่อในมหาวิทยาลัยนั้น ทรัพยากรสำคัญที่ทำการจัดสรรอยู่คือ ทรัพยากรเวลา
เวลาเป็นสิ่งที่มีอยู่จำกัด ทุกคนต่างมีทรัพยากรเวลาเท่าเทียมกัน นั่นคือ วันละ 24 ชั่วโมง หรือ สัปดาห์ละ 168 ชั่วโมง หรือ ปีละ8760 ชั่วโมง
ภายใต้เวลาที่มีอยู่จำกัดนี้ แต่ละคนมีทางเลือกที่แตกต่างกัน สำหรับนักเรียนม.6 ก็ต้องตัดสินใจว่า ใน 4 ปีข้างหน้าจะใช้เวลาดังกล่าวในทำอะไรดี บางคนก็เลือกที่จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ขณะที่บางคนเลือกที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยวุฒิการศึกษาแค่ ม.6
ทางเลือกไม่อาจเลือกได้ทุกทาง และมันยังมีทางเลือกที่เราไม่ได้เลือกอีกมากมาย
การเลือกที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย นอกจากจะมีต้นทุนที่วัดออกมาเป็นตัวเงินได้ เช่น ค่าหน่วยกิต ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียนแล้ว ยังมีต้นทุนบางอย่างที่เกิดขึ้นและไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงินที่จ่ายจริงได้ นั่นคือ ค่าเวลาที่เราสูญเสียไปจากการเรียนมหาวิทยาลัย 4 ปี
ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน ถือว่าเป็น “ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเรียนมหาวิทยาลัย” เพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจน ขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลข โดยจะคำนวณให้เห็นว่า การเรียนต่อในรับมหาวิทยาลัยมีต้นทุนที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
สมมติว่านางสาวหวานใจ ตัดสินใจเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน ดังนี้
ค่าหน่วยกิต ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท (8 ภาคการศึกษา) เป็นจำนวนเงิน 120,000บาท
ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ภาคการศึกษาละ 2,000 บาท (8 ภาคการศึกษา)เป็นจำนวนเงิน 16000 บาท
เท่ากับว่า ค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน จึงเท่ากับ 136000 บาท
ในกรณีที่นางสาวหวานใจไม่ใช้เวลา 4 ปีในการเรียน เธอสามารถที่จะหางานทำและมีรายได้ รายได้ดังกล่าวก็คือ ค่าเวลาที่เธอสละไปเพื่อใช้ในการเรียนนั่นเอง
แต่ถ้านางสาวหวานใจไม่เรียนต่อแล้วหางานทำ มีรายได้ประมาณเดือนละ 6,000 บาท (48 เดือน)
เท่ากับว่า ค่าเวลา 4 ปี จะเท่ากับ 288,000 บาท
กล่าวโดยสรุปการตัดสินใจของนางสาวหวานใจ ก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสของการเรียนมหาวิทยาลัย 4 ปี เท่ากับ 424,000 บาท
ถ้าคุณเป็นนักศึกษา คุณเคยคิดหรือไม่ว่าค่าเสียโอกาสในการเรียนของคุณเป็นเท่าใด
ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี เมื่อถูกคำนวณออกมาเป็นตัวเลขแล้ว ถือว่าเป็นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงทีเดียว ยิ่งถ้าเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นตัวเงินก็จะยิ่งสูงกว่าตัวเลขที่คำนวณเสียอีก
แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเลือกที่จะศึกษาต่อ?
เพราะพวกเขาต่างก็คาดว่าการลงทุนในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จะทำให้มีระดับรายได้ในอนาคตสูงขึ้น ระดับความแตกต่างของรายได้ที่สูงขึ้นนี้ มากพอที่จะชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เรียนมหาวิทยาลัย
แต่มีคนอีกจำนวนหนึ่ง ไม่เลือกที่จะเรียนต่อ?
อาจจะเป็นเหตุผลของความไม่พร้อมทางการเงิน หรือบางคนที่มีความพร้อมทางการเงินอาจจะตัดสินใจไม่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะคิดว่าถึงแม้จะเรียนจบแค่ระดับมัธยม แต่มีความสามารถพิเศษที่จะทำงานหาเงินได้มากกว่าคนทั่วๆไป
ดังนั้น การตัดสินใจเรียนต่อ ก็จะยิ่งทำให้เกิดต้นทุนมหาศาลแก่เขา
คนเหล่านี้ อาจจะเป็นนักร้อง นักแสดง ศิลปิน ที่มีรายได้มากมายจากวงการบันเทิง รายได้ที่มากนี้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจพักการเรียนไว้ก่อน แล้วใช้ต้นทุนค่าเสียโอกาสเก็บเกี่ยวรายได้ให้เต็มที่
ถ้าคุณเลือกที่จะเรียนในมหาวิทยาลัย ต้นทุนค่าเสียโอกาสของคุณเป็นอย่างไร?
ชีวิตในมหาวิทยาลัยคุ้มค่ากับต้นทุนที่คุณลงทุนไปหรือไม่?

อันนี้เป็นบทความที่เขียนเล่นๆไว้ตั้งนานแล้วคะ คิดว่าน่าจะให้ข้อคิดดีดี กับคนที่ยังเรียนอยู่นะคะ ^_^


Create Date : 27 สิงหาคม 2548
Last Update : 27 สิงหาคม 2548 9:02:28 น. 14 comments
Counter : 8867 Pageviews.  
 
 
 
 
เป็น "บทความที่เชียนเล่น" แต่น่าสนใจไม่ใช่เล่นนะครับ

คงอย่างที่ คุณ จขบ. บอก "เป็นการศึกษาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด " ดังนั้น ทุกอย่างในชีวิตประจำวันร ของเรา จึงใช้ ระบบคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์เข้ามาประกอบ --บางครั้งโดยไม่รู้ตัว---

ผมชอบอ่าน "อาหารสมอง" ครับ และคิดว่า คุณ จขบ. ก็ทำให้ เรื่อง ของเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่เรื่อง ที่ต้อง "ปรนกะไดอ่าน" แต่อย่างใด

รออ่านชิ้นต่อไปนะครับ
 
 

โดย: Nutty Professor วันที่: 27 สิงหาคม 2548 เวลา:17:20:32 น.  

 
 
 
ขอชมกับบทความของอาจารย์ติ๊กครับ
ขอให้เขียนต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
 
 

โดย: ลุงแอ็ด IP: 210.203.179.22 วันที่: 28 สิงหาคม 2548 เวลา:15:10:13 น.  

 
 
 
อิอิ...
 
 

โดย: wbj วันที่: 29 สิงหาคม 2548 เวลา:10:13:27 น.  

 
 
 
ผ่านมาเยี่ยมอาจารย์ครับ
 
 

โดย: ขามเรียง วันที่: 4 กันยายน 2548 เวลา:11:20:42 น.  

 
 
 
แวะมาหาเจ้า
 
 

โดย: กุยแกเจ้าคะ (กุนซือเอกแห่งรัฐวุ่ย ) วันที่: 4 กันยายน 2548 เวลา:22:49:50 น.  

 
 
 
ยินดีที่ได้รู้จักครับ
 
 

โดย: OutOfMyMind IP: 61.91.207.71 วันที่: 5 กันยายน 2548 เวลา:12:32:40 น.  

 
 
 

อืม.....ใช่เลย
 
 

โดย: ACM IP: 203.151.140.114 วันที่: 6 กันยายน 2548 เวลา:1:08:41 น.  

 
 
 
ผมเคยเป็นนักดนตรีอาชีพมาก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจมาทำงานประจำ และเริ่มวางแผนผังชีวิตเพื่อตอบคำถามตัวเองว่า เราคือใคร และจะเป็นอย่างไรในอนาคต ก็ได้คำตอบตอนตัวเองอายุย่างเข้า 40 ซึ่งในขณะที่เพื่อนๆ ที่เลือกทางเดินด้วยการเป็นศิลปิน เล่นดนตรีเป็นอาชีพ หลายๆ คนก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันต้องดินรนในการหารายได้ ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในประเทศไทย ไม่เคยมีการสอนให้คนเรารู้จักวางแผนทางการเงินในการเรียนระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัย อย่างจริงจัง ซึ่งัญหาในการออม ก็ยังเป็นปัญหาหลักของปรเทศในปัจจุบัน ค่าเสียโอกาสที่ไม่เรียนต่อ จึงเป็นต้นทุนที่เรียกว่า Hidden cost ซึ่งหากประมาณจากจำนวนประชากรที่ไม่มีงานทำ หรือใช้แรกงานที่ไมมีทักษะ จำนวนมาก ก็ไม่รู้เป็นจำนวนเท่าไหร่ สำหรับศิลปินในปัจจุบัน หากเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยเปรียบเทียบกับรายได้โดยทั่วไปของประชากรทั้งประเทศ อาจจะโอเวอร์ จนเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของเงินเฟ้อ หรือเปล่า น่าคิดมั๊ย
 
 

โดย: ขลัง (สมชาย) IP: 203.144.230.38 วันที่: 28 กันยายน 2548 เวลา:16:52:42 น.  

 
 
 
สุดยอกกก
 
 

โดย: GoTTio IP: 61.91.120.178 วันที่: 11 ตุลาคม 2548 เวลา:21:36:33 น.  

 
 
 
เยี่ยมมากครับ
 
 

โดย: จอมยุทธ์ IP: 203.154.65.99 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:19:06:02 น.  

 
 
 
อยากเข้า แต่เวลาเข้าไปจะไปลงทะเบียนเรียนอย่างไง ผมงงอ่ะครับ และต้องเรียนอ่ะไรก่อน ลงอย่างไงก็ไม่รู้ ไม่อยากจะเข้าและมหาลัย ช่วยอธิบายให้ผมฟังหน่อยคับ พี่ๆ
 
 

โดย: รุ่นน้องที่อยากเข้ามหาลัย IP: 125.26.18.154 วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:23:12:03 น.  

 
 
 
แต่ทีพี่ๆเขียนมาก็เป็นข้อความที่ดีมากคับ แต่ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยนะ เรื่องการลงทะเบียน งง
 
 

โดย: รุ่นน้องที่อยากเข้ามหาลัย IP: 125.26.18.154 วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:23:13:51 น.  

 
 
 
เข้ามาลงทะเบียนเรียนกะ อ.ติ๊ก ครับ
 
 

โดย: Munda IP: 124.120.122.246 วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:8:40:29 น.  

 
 
 
น่าสนใจมากมายค่ะ

- - เรียนเสดสาด ปี2ละค่ะ - -

ไม่เคยคิดถึงแง่มุมนี้...

แต่อย่างที่จารย์บอกเรื่อยๆๆว่า "ทุกอย่างเป็นเศรษฐศาสตร์"
 
 

โดย: jingo IP: 58.9.189.252 วันที่: 11 มิถุนายน 2551 เวลา:12:06:11 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ajarntik
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ได้รับทุนภูมิพล(ปริญญาตรี)
เศรษฐศาสตร์ มธ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
แล้วได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มธ.)
มีประสบการณ์สอน 15 ปี จากสถาบันกวดวิชาเดอะเบรน
และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อนจะผันตัวเองออกมาทำธุรกิจส่วนตัว พร้อมๆไปกับงานที่ปรึกษา
[Add ajarntik's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com