<<
กันยายน 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 กันยายน 2548
 

บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องอรรถประโยชน์ (Utility Theory)

เส้นอุปสงค์ เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ว่าจะตัดสินใจบริโภคภายใต้สถานการณ์ราคาที่แตกต่างกัน
กฎของอุปสงค์ง่ายๆ ที่ว่า “ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าจำนวนน้อยเมื่อราคาสินค้าสูง ในทางตรงกันข้ามจะเลือกซื้อสินค้าจำนวนมากขึ้นเมื่อราคาลดลง”
นักเศรษฐศาสตร์ ทุกยุคสมัยพยายามอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory) ของนักเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิค ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากั(Indifference Curve Analysis) ของพาเรโต สลัทสกิ้ แอลเลน และฮิกซ์ ทฤษฎีว่าด้วยความพอใจอย่างเปิดเผย (Revealed Preference Theory) รวมไปถึงทฤษฎีอื่นๆ อีกมากมาย
ดิฉันจะนำ“ทฤษฎีอรรถประโยชน์” มาวิเคราะห์เหตุการณ์การตัดสินใจของผู้บริโภค ทฤษฎีเบื้องต้นง่ายๆ นี้จะทำให้เราเข้าใจว่าเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องของชีวิตประจำวันจริงๆ มิได้เป็นเรื่องไกลตัว หรือยากอย่างที่คิด
ทฤษฎีอรรถประโยชน์ ระบุว่า “เมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าชนิดหนึ่งมากขึ้น ความพอใจรวม หรืออรรถประโยชน์รวม (Total Utility) จะเพิ่มขึ้น แต่จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลงเรื่อยๆ และเมื่อบริโภคไปถึงจุดหนึ่ง ความพอใจรวมที่ได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นๆ อาจจะไม่เพิ่มขึ้นเลย และหากยังคงบริโภคเลยจุดดังกล่าวไป ความพอใจรวมจะลดลงเรื่อยๆ”
การวิเคราะห์ทฤษฎีนี้มีข้อสมมติว่า อรรถประโยชน์เป็นสิ่งที่สามารถวัดออกมาเป็นหน่วยได้ เรียกว่า ยูทิล (Util) อธิบายแนวคิดดังกล่าวอย่างง่ายๆ จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างอรรถประโยชน์รวม ,อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม ( หมายถึง อรรถประโยชน์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนสินค้าในการบริโภคไปหนึ่งหน่วย) กับจำนวนหน่วยสินค้าที่บริโภค ดังนี้


(ดูจากกราฟประกอบ)

จากกราฟ เมื่อผู้บริโภคบริโภคสินค้าในปริมาณที่มากขึ้น อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Utility) ที่ได้จากการบริโภคจะค่อยๆลดลง สามารถอธิบายด้วยหลักตรรกะที่ว่า คนเราไม่ชอบบริโภคอะไรที่ซ้ำๆ เดิมๆ บ่อยๆ แม้ว่าการบริโภคจะทำให้เราได้รับความพอใจเพิ่มขึ้น แต่การบริโภคชิ้นหลังๆ ก็มิอาจทำให้เราได้รับความพอใจมากขึ้นเท่ากับการบริโภคชิ้นแรกๆ
ยกตัวอย่าง เวลาที่เราไปรับประทานพิซซ่าที่เป็นบุฟเฟ่ต์ พิซซ่าชิ้นแรกจะทำให้เราได้รับความพอใจมากที่สุด และความพอใจจากการรับประทานก็จะค่อยๆ ลดลง จะเห็นได้ว่าสุดท้ายแล้วแต่ละคนก็จะมีปริมาณการบริโภคที่จำกัด (ทั้งๆ ที่ทางร้านก็อนุญาตให้เราทานปริมาณเท่าใดก็ได้) ทั้งนี้เป็นเพราะว่า การรับประทานชิ้นต่อๆไป มิได้ทำให้เรามีความพอใจที่เพิ่มขึ้นแล้ว ในทางตรงกันข้ามหากเราบริโภคต่อ จะทำให้เราได้รับความพอใจที่ลดลง (อาจจะเนื่องมาจากอาการท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อยก็เป็นได้)
ถ้าวิเคราะห์จากรูปกราฟข้างต้น ผู้บริโภคจะตัดสินใจบริโภคจนถึงระดับที่ ได้รับอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มเป็นศูนย์นั่นเอง
จริงๆ แล้ว หากผู้ผลิตสินค้าเข้าใจถึงความจริงข้อนี้ ก็สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจวางกลยุทธ์กำหนดขนาดหรือปริมาณของสินค้าได้ ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดขนาดของนมกล่องยูเอชทีที่ในอดีตมีเพียงแต่ขนาดมาตรฐานขนาดเดียวคือ ประมาณ 200 ซีซี แต่เมื่อมีการวางกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กขนาดนมกล่องสำหรับเด็กก็ต้องเปลี่ยนไป โดยจะต้องลดขนาดลงในปริมาณที่เด็กสามารถบริโภค เป็นต้น
แต่การตัดสินใจเลือกปริมาณการบริโภคสินค้าของผู้บริโภค มิได้พิจารณาจากจุดบริโภคที่ทำให้เขาได้รับความพอใจรวมสูงสุดเสมอไป เพราะโดยทั่วไป ผู้บริโภคจะต้องสูญเสียอะไรบางอย่างไป เช่น จะต้องเสียเงินในการซื้อสินค้า
ดังนั้น ผู้บริโภคจะต้องเปรียบเทียบระหว่าง ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการบริโภคสินค้าแต่ละหน่วยกับ ผลประโยชน์ หรืออรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าหน่วยนั้นๆ
พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้บริโภคกำลังเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการซื้อสินค้าแต่ละหน่วยอยู่นั่นเอง
หากเราสมมติให้อรรถประโยชน์ของการถือเงิน 1 บาท มีค่าเท่ากับ 1 ยูทิล แสดงว่า การที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินออกไปทุกๆ X บาท เพื่อบริโภคสินค้าจำนวนหนึ่งหน่วย สินค้าหน่วยนั้นๆ จะต้องทำให้เขาได้รับอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการบริโภคสินค้ามากกว่า X ยูทิล
เมื่อใดก็ตามที่ค่าของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม น้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไป ผู้บริโภคก็จะไม่บริโภคสินค้าหน่วยดังกล่าว
จากกราฟข้างต้น สามารถวิเคราะห์ถึงการตัดสินใจเลือกปริมาณสินค้าของผู้บริโภครายนี้ได้ว่า ถ้าราคาสินค้าเท่ากับ 6 บาท เขาจะตัดสินใจซื้อสินค้าเพียง 2 หน่วย แต่ถ้าราคาสินค้าลดลงมาเหลือ 2 บาท เขาจะตัดสินใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 4 หน่วย ผลสรุปที่ได้จะสอดคล้องกับ กฎของอุปสงค์ที่ได้กล่าวไปตั้งแต่ต้นแล้ว
ในฐานะของผู้ผลิต ความเข้าใจในทฤษฎีอรรถประโยชน์จะทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับกลยุทธ์ต่างๆได้ดีขึ้น นอกจากช่วยในการกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว สิ่งที่ผู้ผลิตต้องตระหนักก็คือ ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคมีอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในการบริโภคสินค้าแต่ละหน่วยที่เพิ่มขึ้น
เมื่อใดที่ผู้ผลิต ผลิตสินค้าที่มี value added ในสายตาของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจเพิ่มขึ้น
เท่ากับว่าสามารถในการกำหนดราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นด้วย



Create Date : 07 กันยายน 2548
Last Update : 15 กันยายน 2548 6:53:19 น. 21 comments
Counter : 15723 Pageviews.  
 
 
 
 
กราฟวาดไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ ขออภัยนะคะ อิอิ
บทนี้ พยายามเอาเนื้อหาหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาใช้วิเคราะห์คะ เลยเลียงไม่ได้ ที่จะต้องมีกราฟ ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วเดี่ยวนี้ทฤษฏีเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคพัฒนาไปมากกว่านี้เยอะแล้วคะ แต่เห็นว่าทฤษฏีเก่าๆแบบนี้ ก็ยังง่ายแก่การวิเคราะห์ แล้วก็เป็นพื้นฐานที่จะพูดถึง demand function ในบทถัดๆไปด้วยคะ ... ไม่รู้ว่า จะเป็นทฤษฏีเกินไปเหรอป่าว อิอิ .... รอรับคำติชมนะคะ
 
 

โดย: AjarnTik (pinkoptio ) วันที่: 7 กันยายน 2548 เวลา:21:55:09 น.  

 
 
 
ลืมบอกไป ว่า บทความนี้ จะลงใน นิตยสาร S+M Strategy and Marketing เล่มเดือนกันยายน 2548 นี่คะ
 
 

โดย: AjarnTik (pinkoptio ) วันที่: 7 กันยายน 2548 เวลา:22:01:36 น.  

 
 
 
โง่
 
 

โดย: จอย1 IP: 203.118.114.161 วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:13:56:16 น.  

 
 
 
กราฟสวยมาก
 
 

โดย: แจง IP: 203.154.27.79 วันที่: 6 กรกฎาคม 2550 เวลา:12:12:41 น.  

 
 
 
อยากอ่านอยู๋พอดี ได้ความรู้เพิ่มขึ้นทีเดียวครับ ขอบคุณนครับ สำหรับควมรู้ดีๆ
 
 

โดย: เด็กคณิตศาสตร์ IP: 161.200.255.162 วันที่: 10 กรกฎาคม 2550 เวลา:0:31:13 น.  

 
 
 
อ่านแล้วได้ความรู้ดี แต่ใช้คำศัพท์ซับซ้อนไปนิดจ๊ะ
 
 

โดย: ดัส IP: 58.137.30.254 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:14:17:09 น.  

 
 
 
 
 

โดย: .33 IP: 125.26.54.94 วันที่: 5 สิงหาคม 2550 เวลา:11:35:04 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี
 
 

โดย: หนึ่ง IP: 125.24.144.18 วันที่: 9 สิงหาคม 2550 เวลา:13:28:50 น.  

 
 
 
อ่านแล้งก็ดีคือตอนนี้กำลังจะทำโปรเจ้ทอยู่จะได้นำเอาทฤษฎีนี้ไปใช้กับโปรเจ้ทของตนเองบ้างเครียดค่ะ
 
 

โดย: วุ้นเส้น IP: 202.44.45.19 วันที่: 25 สิงหาคม 2550 เวลา:11:38:55 น.  

 
 
 
อยากทราบความหมายของอรรถประโยชน์
 
 

โดย: น้องนิว IP: 117.47.25.227 วันที่: 4 กันยายน 2550 เวลา:18:46:59 น.  

 
 
 
ขขอบคุณนะคะอยากได้ความรู้อยู่พอดี มีอีกไหมค่ะช่วยส่งมาที่ savitree-aaahotmail.comwfhws,8tj
 
 

โดย: sasa2 IP: 61.19.38.194 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:12:13:47 น.  

 
 
 
เนื้อหาดีมีสาระ กำลังต้องการอยู่พอดีเลย ขอบคุณนะคะ
 
 

โดย: เล็กกี้ IP: 61.7.147.145 วันที่: 11 ตุลาคม 2550 เวลา:14:39:18 น.  

 
 
 
อรรถประโยชน์ มีกี่ชนิดคะ
 
 

โดย: แป้ง IP: 58.9.80.170 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:15:35:09 น.  

 
 
 
ดีค่ะเพราะว่าต้องการหาคำนี้อยู่พอดีเลยอ่ะ นี่ถ้าว่าเค้าโง่อ่ะ ไม่รู้จักดูตัวเองซะบ้างนะ ถ้าฉลาดจริงๆอ่ะแล้วจะเข้ามาดูทำไมของเค้า คนที่โง่ไม่ใช่เค้าแล้วล่ะ แต่เปงเธอมากกว่านะ หัดตักน้ำใส่กะโหลกชะโง้กดูเงาตัวเองบ้างนะ ก่อนที่จะมาว่าคนอื่นเค้าอ่ะ เค้าทำให้ดูก็ดีแค่ไหนแล้ว ยังจะมาว่าเค้าอีก ถ้าฉลาดจริงก็ไม่ต้องเข้ามาสร้างความวุ่นวาย จิตใจสำนึกอ่ะหวังว่ายังคงมีอยู่อ่ะ แล้วน้องอายอ่ะรู้จักป่ะ แสดงว่าไม่รู้จักถึงได้ไม่รู้จักอายแบบนี้ไง
 
 

โดย: เอ IP: 125.25.254.40 วันที่: 7 กันยายน 2551 เวลา:21:33:33 น.  

 
 
 
ขอบคุณนะคะ สำหรับความรู้เรื่องนี้
กำลังเรียนอยู่พอดีเลย ทำให้เราเข้าใจมากกว่าเดิมเยอะเลยค่ะ
 
 

โดย: noobie IP: 78.86.250.215 วันที่: 19 กันยายน 2551 เวลา:2:46:13 น.  

 
 
 
คือว่ามีคำถามนะครับ

ถามว่า ถ้าจะชื้อรถที่แพงและคุณภาพดี กับ พอใช้ราคาปานกลาง พอจะอธิบายทางเศรษศาสตร์ได้หรือป่าวว่าอันไหนคุ้มค่ากว่ากัน ถ้าคนที่ชื้อมีความสามารถในการชื้อเท่ากันทั้งสอง
 
 

โดย: khom IP: 219.93.178.162 วันที่: 25 กันยายน 2551 เวลา:23:02:59 น.  

 
 
 
ยกตัวอย่างดีกับ แต่ตอนช่วงของการอธิบาย กราฟMU ยังดูงงนะครับ ขอบคุณกับ
 
 

โดย: Pon IP: 202.28.68.201 วันที่: 20 มกราคม 2552 เวลา:23:37:42 น.  

 
 
 
ขอบคุณคะ
 
 

โดย: นน IP: 117.47.40.244 วันที่: 1 เมษายน 2552 เวลา:16:33:54 น.  

 
 
 
ดีครับ.........กระจ่างขึ้นเยอะ
 
 

โดย: นีออน IP: 61.7.144.32 วันที่: 21 ตุลาคม 2552 เวลา:14:59:10 น.  

 
 
 
อรรถประโยชน์มี5ชนิ

แต่มีอาไรบ้าว

อ่า
 
 

โดย: อยากรุ้อ่า IP: 124.121.60.44 วันที่: 31 ตุลาคม 2552 เวลา:17:50:43 น.  

 
 
 
ก้อดีค่ะแต่น้องอยากดั้ยอรรถประโยชน์รวมด้วยอ่า
 
 

โดย: meew _bass@hotmail.com IP: 180.180.199.89 วันที่: 2 ธันวาคม 2553 เวลา:20:27:15 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ajarntik
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ได้รับทุนภูมิพล(ปริญญาตรี)
เศรษฐศาสตร์ มธ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
แล้วได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มธ.)
มีประสบการณ์สอน 15 ปี จากสถาบันกวดวิชาเดอะเบรน
และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อนจะผันตัวเองออกมาทำธุรกิจส่วนตัว พร้อมๆไปกับงานที่ปรึกษา
[Add ajarntik's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com