Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
2 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 

ริ้วรอยบนใบหน้าทำให้เราดูเศร้าและโกรธได้มากขึ้น

งานวิจัยเผยริ้วรอยและรอยยับบนใบหน้าอาจทำให้เราตีความอารมณ์ผู้อื่นคลาดเคลื่อน ผลจากการทดลองพบใบหน้าผู้ใหญ่สูงวัยถูกตีความว่ามีอารมณ์โกรธและเศร้ามากกว่าผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า ทั้งที่ใบหน้าดังกล่าวแสดงออกถึงอารมณ์ปกติ

งานวิจัยแรกเป็นของ คาร์ลอส การ์ริโด (Carlos Garrido) นักศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตท (Penn State University) สหรัฐฯ ซึ่งได้ให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยดูภาพถ่ายใบหน้าทั้งหมด64ภาพ และคาดเดาอารมณ์จากใบหน้าที่เห็น ผลคือผู้ทดลองตีความใบหน้าของผู้ใหญ่สูงวัยว่าเศร้าและมีอารมณ์โกรธมากกว่าผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า ทั้งที่ทุกภาพเป็นการแสดงสีหน้าปกติ

การ์ริโดกล่าวว่า ริ้วรอยบนใบหน้าเป็นสาเหตุให้มุมปากดูตกลงและคิ้วดูขมวด ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้คลาดเคลื่อนว่าเป็นอารมณ์โกรธหรืออารมณ์เศร้า ซึ่งการค้นพบนี้อาจส่งผลต่อระบบการรักษาผู้สูงอายุ ตัวอย่างเช่นแพทย์อาจเข้าใจว่าผู้ป่วยที่สูงอายุอาจรู้สึกเจ็บปวดมากเกินจริงเนื่องจากรอยย่นบนใบหน้า เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ไลฟ์ไซน์ระบุว่า ยังต้องมีงานวิจัยอีกมากมายืนยันการค้นพบนี้ ซึ่งผลจากการทดลองก็ไม่ได้เป็นภาพพจน์ที่คนทั่วไปรู้สึกต่อผู้สูงอายุ และนักวิจัยยังพบด้วยว่า ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างความเศร้าและความโกรธในชีวิตจริงของผู้สูงอายุตามที่ผู้เข้ารับการทดลองคาดคิด กับความเศร้าและความโกรธตามที่พวกเขาตีความจากภาพถ่าย

อีกงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าคนอายุน้อยมีปัญหาในการจำแนกอารมณ์บนใบหน้าของผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า โดยงานวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วในวารสารเอกซ์เพอริเมนทัลโซเชียลไซโคโลจี (Experimental Social Psychology) ได้ให้คนอายุน้อยดูภาพใบหน้าที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงอารมณ์สุข อารมณ์เศร้า หรืออารมณ์โกรธ โดยผู้เข้ารับการทดลองได้ประเมินภาพของใบหน้าที่เยาว์วัยกว่าว่าแสดงอารมณ์ได้ชัดเจนกว่าใบหน้าที่มีอายุ

อีกแง่หนึ่ง คือคนอายุน้อยมองภาพของผู้สูงอายุว่าแสดงออกทางอารมณ์ที่หลากหลาย และแสดงถึงอารมณ์แท้จริงได้น้อยกว่าที่พยายามสื่อออกมา ซึ่ง ดร.เออร์ซูลา เอสส์ (Dr.Ursula Hess) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ท (Humboldt University) ในเบอร์ลิน เยอรมนี ผู้ทำการศึกษาดังกล่าว เสริมว่าริ้วรอยทำให้การแสดงออกทางสีหน้าสับสน

ในงานวิจัยที่ต่อเนื่องนักวิจัยได้ใช้ภาพถ่ายของคนจริงที่ได้รับการฝึกให้แสดงออกทางสีหน้าอย่างชัดเจนถึงอารมณ์สุข อารมณ์เศร้าและอารมณ์โกรธ ซึ่งก็ได้ผลคล้ายๆ กัน แต่พวกเขายังพบอีกว่า ผู้เข้ารับการทดลองใช้เวลาในการพิจารณาภาพใบหน้าของผู้สูงอายุนานขึ้นและประเมินว่าแสดงออกถึงความเศร้าชัดเจนมากกว่าใบหน้าผู้อายุน้อย

เอสส์กล่าวว่า ภาพพจน์ของผู้สูงวัยอาจมีอิทธิพลต่อผลศึกษาดังกล่าว ซึ่งยังต้องมีการศึกษาให้มากกว่านี้ หรือเป็นไปได้ว่าแทนที่จะเชื่อมโยงผู้สูงอายุกับความเศร้าโดยตรง คนอายุน้อยอาจมีความเชื่อมโยงกับผู้สูงวัยที่บุคลิกสัมพันธ์กับความเศร้าก็เป็นได้

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2556
0 comments
Last Update : 2 มิถุนายน 2556 21:38:12 น.
Counter : 732 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.