อบรมยูโด kodokan koshukai in thailand (jita kyoei project) 4/4
อบรมโคโดกัง+สอบสาย สองวันสุดท้าย (วันที่สี่กับวันสอบ) วันที่สี่ช่วงเช้าเป็นนาเกะโนะคาตะ ช่วงบ่ายเป็นยูโนะคาตะ (ยูโนะคงไม่พูดถึง เพราะเป็นการเรียนครั้งแรก ไม่ได้รู้จุดที่สำคัญ หรือแม้กระทั่งชื่อท่าทั้งหมดก็ยังจำไม่ได้ นาเกะโนะคาตะเรียนเป็นรอบที่มากกว่ายี่สิบครั้ง ในทุกๆรอบที่ผ่านมารายละเอียดค่อยๆสะสมเติมมาเรื่อยๆ แต่สำหรับครั้งนี้มีความพิเศษ บรรลุในสิ่งที่เซนเซต้องการจะสื่อ ตั้งแต่ครั้งแรกๆที่เคยเรียนมา โคโดกังเซนเซทุกท่านที่สอน เคยบอกมานานแล้ว ว่าหุ่นอุเกะของนาเกะโนะคาตะ ไม่ได้สมยอม ตรงนี้เคยไม่เข้าใจ จนกระทั่งครั้งนี้ที่เรียนถึงได้เข้าใจ สำหรับนาเกะโนะคาตะของโคโดกัง เป็นท่าทุ่มมาตรฐานที่เอาไว้สอบสายดำดั้งหนึ่ง(เก้าท่า) และดั้งสอง (สิบห้าท่า) เนื้อหาการเรียนในส่วนนี้เน้นเรื่องความเข้าใจ ที่มาที่ไป ของแต่ละท่า รวมไปถึงพื้นฐานโคโดกังยูโด ก็ใส่อยู่ในคาตะชุดนี้ แต่กับเรื่องทำสวย ที่เน้นเรื่องคะแนน การตัดแต้มในการแข่งขัน อันนั้นไม่เกี่ยวกัน ถือเป็นคนละเรื่อง และในวันนี้ก็ไม่ได้มาเรียนกันในส่วนของวิธีการให้คะแนน การตัดคะแนน แต่มาเรียนหลักพื้นฐานของยูโดที่แทรกอยู่ในนาเกะโนะคาตะ แรกสุด เรโฮ การเคารพกะจะไม่พูดถึงการทำความเคารพแล้ว เพราะมันเป็นพื้นฐานทั่วๆไปของยูโด ก่อนที่เราจะไปเข้าท่า จะไปวอร์มอัพ จะไปรันโดริ หรือจะไปแข่งขัน มันมีการเคารพ หลายครั้ง หลายสิ่งหลายอย่าง และทั้งหมดทั้งปวงสมควรที่จะถูกต้อง ตามขนบธรรมเนียมการเคารพของโคโดกังยูโด ขอนอกเรื่องนิดนึง เป็นคนละช่วงไทม์เฟรม ของการซ้อมการอบรมในครั้งนี้ (ขอไม่บอกว่าช่วงไหนละกัน) แต่เซนเซถามว่า "เค้าสอนอะไรกันเหรอ? ในเมื่อการเคารพให้ถูกต้องยังทำกันไม่ถูก" สมัยก่อนเคยเจ็บจี๊ด เจ็บลึกกับคำถามลักษณะนี้ แต่เดี๋ยวนี้ชินชาซะแล้ว เพราะเซนเซถามแต่ไม่ได้ต้องการคำตอบ เพราะเซนเซถามโดยก็รู้ว่าผมให้คำตอบไม่ได้เช่นกัน เอาเป็นว่าเรื่องนี้ผมมีภูมิต้านทานละ ถามมาผมก็ไม่ต้องไปตอบให้ยุ่งยาก เอาเป็นว่าการเคารพทุกครั้งที่แสดงออกมา อย่างน้อยคนที่เซนเซถามโดยไม่เอาคำตอบ ก็เคารพได้อย่างถูกต้องตามแบบที่เซนเซสอนมา สรุปสั้นๆ ทั้งการเคารพในนาเกะโนะคาตะ การเคารพตอนแข่งขัน ตอนเคารพตอนขึ้นเบาะ ตอนเคารพตอนรันโดริ ตอนเคารพในทุกๆที่ทุกๆครั้งของยูโด คือ- ส้นเท้าชิด นิ้วด้านหน้าเปิดออก- มือแนบอยู่ข้างลำตัว- ช่วงที่เคารพมือเลื่อนมาอยู่ทางด้านหน้า- การก้มประมาณ30องศา หลังไม่งอ คอไม่ตก (คอตกเซนเซบอกว่าเหมือนนักโทษกำลังจะถูกประหารด้วยการตัดคอ)- ค่อยๆทำ ทำอย่างใส่ใจ ใส่ความจริงใจ ความรู้สึกขอบคุณเข้าไป เพราะยูโดเป็นกีฬาที่เล่นคนเดียวไม่ได้ เคารพเข้าเบาะ เคาระของนาเกะโนะคาตะ เสร็จแล้ว การเดินก้าว เดินด้วยเท้าซ้ายก่อนเสมอ และการถอยหลังออกจากเบาะถอยด้วยเท้าขวาก่อนเสมอ การนั่งเคารพ รายละเอียดปลีกย่อยพอมี เช่นเรื่องนิ้วโป้งทับนิ้วโป้ง ไม่ใช่ฝ่าเท้าทับฝ่าเท้า ส่วนการทับจะเอานิ้วโป้งขวาทับนิ้วโป้งซ้าย หรือนิ้วโป้งซ้ายทับนิ้วโป้งขวา อันนี้ได้หมด เอาที่เราสะดวก แต่ฟูจิตะเซนเซแนะนำให้ขวาทับซ้าย เพื่อในเรื่องการขยับเคลื่อนไหวในจังหวะถัดๆไป นอกเรื่องอีกที เคยมีโปรเตอร์ขนาดแผ่นใหญ่ๆที่โฆษณาเกี่ยวกับยูโดของญี่ปุ่น รูปนี้ที่โคโดกังก็มีติดอยู่หลายแผ่น แต่ในรูปการคุกเข่าเป็นการเอาฝ่าเท้าทับฝ่าเท้า เรื่องนี้เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ตั้งแต่ที่โปรเตอร์ออกมาใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งตอนนี้ ว่าการจัดรูปแบบน่าจะมาจากมือสมัครเล่น หรือมาจากผู้ที่ไม่ได้เป็น และเข้าใจในยูโด แน่นอนรูปนี้กระบวนการผลิตไม่เกี่ยวข้องกับโคโกดัง การเคารพ(ยืน นั่ง)การก้าวเท้าแรก ถัดมาเป็นเรื่องของตัวท่า ท่านาเกะแบ่งเป็นห้าหมวด หมวดละสามท่า พูดรวมๆ ไม่ลงลึกในตัวท่า เอาจุดสำคัญที่ควรมีการใส่ใจในการทำทุกครั้ง จุดใหญ่ๆก่อน- ในทุกๆท่าที่เคลื่อนไหว อุเกะไม่ได้ขยับตัวไปเอง หากแต่ถูกคุม ถูกทำให้เสียหลักโดยโทริทีละน้อย ทีละน้อย จนถึงถูกทุ่ม- อุเกะไม่ได้สมยอมในการโดนทุ่ม ช่วงขณะที่จะถูกทุ่ม ก็ยังมีการต้านอยู่- เกือบจะทุกท่า อุเกะเป็นฝ่ายเริ่มจับก่อน แล้วโทริตามทันทีพร้อมด้วยการทำคุสุชิ ยกเว้นท่าท้ายๆที่จับกันในท่าจิกโกไต จะเริ่มจับพร้อมกัน- การเดินจะเดินแบบสืบเท้า ทุกก้าวเน้นไม่ให้ศูนย์ถ่วงกระเพื่อมขึ้นลง- คุสุชิที่โทริทำในก้าวแรก จะยังคงอยู่แต่เพิ่มเติมมากขึ้นในก้าวถัดๆไป ไม่ใช่ทำแล้วผ่อนออก ผ่อนแล้วทำใหม่ เสร็จแล้วก็ผ่อนออกอีก แบบนั้นเป็นการขยับที่ฟุ่มเฟือยและไม่ใช่วิถีทางของยูโด- โทริเป็นคนหาจุดยืนในทุกๆท่าของการทุ่ม เพราะอุเกะโดนทุ่มต้องเสียเวลาลุกขึ้น พอลุกได้ก็ไปจุดที่โทริมาร์คไว้ 1. หมวดมืออุกิโอโตชิ- อย่างที่บอกอุเกะเริ่มจับก่อน และโทริจับตาม ถึงเวลาเข้าจับจะห่างกันไม่เยอะแต่ที่แน่ๆ โทริไม่ได้จับก่อนแน่นอน- ก้าวถอยหลังก้าวแรกของโทริมีคุสุชิ ก้าวสองระยะการขยับถอยของโทริจะกว้างขึ้นเล็กน้อย แทบจะมองไม่ออก แต่ตอนนี้ผม (เบิกเนตร) สามารถมองเห็นตรงจุดนั้นได้แล้ว (ถ้าเราเข้าใจในหลัก เราก็จะเริ่มเห็นหลักสำคัญและสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารของนาเกะโนะคาตะได้มากขึ้น)- อย่างที่เน้นย้ำ คุสุชิเกิดขึ้นแล้วจะไม่ผ่อนออก แต่จะเพิ่มมากขึ้นในการขยับครั้งถัดไป ส่วนอุเกะก็จะมีการต้านมากขึ้น จนต้านทานไม่ไหว โทริจึงแสดงท่าทุ่มออกมา ในท่านี้จะอยู่ที่ก้าวที่สาม- อุกิโอโตชิ คำว่าโอโตชิคือทิ้งลง drop ตอนทุ่มจึงต้องดึงลง (ไม่ใช่เปิดขึ้นและค่อยปิดลง) ไทโอโตชิ เซโอโอโตชิ ตามความหมายท่าดั้งเดิมก็คือการทิ้งลงเช่นกัน- ขาในจังหวะที่คุกเข่า จะไม่วางตรง ต้องวางเฉียง วางเฉียงรับน้ำหนักและโทริจัดสมดุลย์ได้ดีกว่า- อย่างที่บอกอุเกะสุดทนโดนทุ่ม ดังนั้นการกระโดดสมยอมเพื่อให้ตัวท่าที่ออกมาเหมือนจะสวย บัดนี้ผมเริ่มมองออกแล้ว ถ้าผมเริ่มมองออก แน่นอนเซนเซที่คลุกคลีกับยูโดทุกวันก็ต้องมองเห็นชัดเจนในจุดนี้ว่าใครโดดให้ หรือใครโดนทุ่มจริงๆ- ขวาซ้ายแล้วต่อท่าสอง เซโอนาเกะ (จริงๆมันคือท่าอิปปงแต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงเรียกว่าเซโอนาเกะ)- ท่านี้ทุ่มโดยขึ้นไหล่ แต่ตอนรันโดริส่วนใหญ่จะหนีบไว้- ที่ท่านี้ขึ้นไหล่ เพราะมีที่มา ยูโดถูกดัดแปลงมาจากยูยิตสู ท่านี้เอามาจากยูยิตสู ความโหดของท่าทุ่มนี้ในยูยิตสูคือการหักข้อศอกพร้อมๆกับทุ่มไปในตัว ท่านี้เลยคงไว้ด้วยการ แขนขึ้นไหล่ แต่ส่วนที่โหดตัดทิ้ง ตอนทำนาเกะไม่ต้องหักแขนครับ- โทริมีคุสุชิ อุเกะมีการต้าน แต่ต้านไม่ไหวถึงถูกทุ่ม ขาก้าวสุดท้าย(ขาขวา)ของอุเกะที่วางขี้นมาขนานกับขาซ้าย ไม่ได้ขยับขี้นมาด้วยตนเอง แต่เป็นเพราะสุดต้านจากการทำคุสุชิของโทริต่างหาก- เรื่องขาก้าวสุดท้ายของอุเกะทำยากมาก ส่วนใหญ่จะสมยอมโดยการก้าวขึ้นไปเอง เพราะจุดนี้ถ้าโทริไม่มีคุสุชิออกมา อุเกะก็ไม่เสียหลัก พอไม่เสียหลักขาก้าวสุดท้ายต้องขยับวางออกมาเองเพื่อให้การทุ่มง่ายขึ้น การทุ่ม ถึงจะทุ่มไปเหมือนๆกันแต่ความแตกต่างตรงนี้ เซนเซไม่พลาดที่จะแยกแยะได้ว่าอันไหนจริง อันไหนปลอม คาตะกุรุม่า- ตัวท่าทุกคนรู้ๆกันอยู่ ไม่ต้องพูดเยอะ- ช่วงที่ก้มลงยก เข้าจากด้านข้างไม่ใช่การก้มตัวไปด้านหน้า หัวโทริพยายามให้อย่างน้อยก็บริเวณสายของอุเกะ (ถ้าหัวเข้าสูงถึงจะแข็งแรงยกขึ้นได้ แต่มันไม่ใช่สิ่งที่คาตะต้องการจะสื่อ)- ยกแล้วถอยขา เพื่อแสดงให้เห็นถึงวงจรการทุ่มของท่า ยังมีจุดเล็กๆเรื่องมือของอุเกะและโทริ โดยรวมไม่มีการจับแบบขย้ำที่ตัวเสื้อยูโด แต่จะเป็นการตะปบหรือแปะโอบไว้ ช่วงในการจบแต่ละหมวดการทุ่ม เดินกลับไปจัดชุดแล้วหันหลังมาเริ่มการทุ่มในหมวดถัดไป แต่ไอ้การหันตรงนี้ดันมีเรื่องตูดหันหาโชเม็ง ทั้งอุเกะและโทริจะต้องหมุนหันไปในทิศทางที่ตูดไปหันผ่านโชเม็ง จุดนี้ลึกๆแล้วมีความหมาย ในเรื่องของการเคารพ ที่เห็นชัดเจนคือการเคารพเบาะ ถ้าเราคิดสมมุติว่าตรงรูปโชเม็งตรงนั้นมีพระราชาตัวเป็นๆนั่งอยู่ ถัดจากพระราชาลงมา เป็นครูผู้ฝึกสอน ถัดลงมาเป็นนักเรียน ตอนนักเรียนเคารพครู ครูหันตูดเข้าหาพระราชา คงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร การเคารพเบาะก็เช่นกันตามลำดับอาวุโส ครูผู้ฝึกสอนต่อให้จะกี่ดั้งก็ตาม คงไม่ดั้งสูงอาวุโสไปกว่าคนในรูปโชเม็ง การที่นักเรียนเคารพครู แต่ครูกับหันตูดให้กับปรมาจารย์เป็นสิ่งที่ไม่สมควร สิ่งนี้โคโดกังยังให้ความสำคัญเสมอ การเคารพซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเคารพยืนหรือเคารพแบบคุกเข่า จะไม่หันตูดไปทางโชเม็งalways 2.หมวดสะโพกอุกิโกชิ- โอบเอวอุเกะมาแนบชิด ช่วงโอบโทริจะไม่ยืนตัวท่อนบนตรง เพราะยืนตรงตำแหน่งโอบและตำแหน่งเข้าจะไม่ได้ จำแหน่งที่โอบบริเวณสายของอุเกะและโอบเข้าให้ลึก- ทิศทางการทุ่ม ขาโทริท้ายสุดจะอยู่เฉียงไม่หันมาตรง180องศาหรือ90องศา ฮาไรโกชิ- ท่านี้โชว์อุชิโร่มาวาริไทซาบากิ คือการถอยหลังเข้าท่าทุ่ม- คุสุชิสำคัญ (มันก็สำคัญทุกท่า แต่ท่านี้เห็นชัดเจนมาก)- แสดงให้เห็นว่าพื้นฐานท่าของฮาไรโกชิเป็นการเข้าจากทางด้านข้าง แปะแล้วค่อยหมุน- ทิศทางขาปัดขึ้นไป เป็นเฉียงหลัง ท่านี้เป็นท่าทุ่มในหมวดสะโพก ถ้าไปเน้นขาที่ปัดในการทุ่ม มันก็ไม่ใช่ฮาไรโกชิที่นาเกะโนะคาตะต้องการจะสื่อออกมา ทรึริโกมิโกชิ- ท่านี้โชว์มายมาวาริไทซาบากิ คือการเดินหน้าเข้าท่าทุ่ม- การทุ่มของท่านี้ อุเกะเหมือนกับท่อนไม้ท่อนนึงหมุนคว่ำไป- ต้องก้มให้เตี้ยเพื่อเข้าไปดันหว่างของอุเกะ ขณะเดียวกันทิศทางมือด้านบนดึงลง อุเกะจะถูกทุ่มแบบการหมุนของลูกบิดประตู 3.หมวดขาโอคุริอาชิบารัย- สังเกตุได้ว่าทิศทางการทุ่ม มักจะผิดทาง เพราะถ้าไปเน้นการทุ่มได้ มากกว่าความปลอดภัย การทุ่มไปทางมือที่จับคอเสื้อจะทุ่มได้ง่ายกว่า แต่ก็ปลอดภัยน้อยกว่าในระดับมือใหม่ มือจะยันพื้น พอมาทำนาเกะเลยไม่รู้จะขยับไปทางไหนดี เอาง่ายๆเน้นที่มือจับแขนเสื้อ ขยับและปัดที่ขาฝั่งนั้น- อุเกะจับก่อน แล้วโทริต้องนำพา ไม่ใช่อุเกะเป็นคนขยับไปเองแบบเตี๋ยมกัน- การขยับตรงนี้ เน้นเรื่องศูนย์ถ่วง ต้องไม่กระเพื่อม การขยับทุกก้าวมีคุสุชิที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่ทำคุสุชิแล้วผ่อนออกแล้วทำใหม่แล้วผ่อนออก จุดนี้ต้องคิดซะว่าจะขยับทำไมสามก้าวมันต้องมีเหตุมีผลของมัน ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ- ท่านี้จังหวะโทริ 2.5ก้าว อุเกะ3ก้าว ถึงจะพอดีกัน- ยังคงเน้นในเรื่องที่โทริทำคุสุชิคุมอุเกะ ไม่ใช่อุเกะเดินมาตามสเต็ปโดยขาดการควบคุม อุจิมาตะ- ทั้งสองคนก้าวขานำตอนจับ ที่สังเกตุเห็นบางคนไม่ขยับ บางคนถอยขา เอาให้แน่- ท่านี้โทริหมุนออกข้างทำคุสุชิออกข้าง ไม่ใช่ดึงขึ้นบน ยกเว้นจังหวะก้าวที่สามเฉียงขึ้น- มีวงกลมสองวง โทริหมุนวงเล็ก อุเกะหมุนวงใหญ่ ท่านี้ต้องช้าหน่อยแต่ไม่หยุด ถ้าโทริเร็วไปอุเกะหมุนตามไม่ทัน หรือถ้าอุเกะเร็วไปมันก็ผิดทฤษฏีคุสุชิ ให้คิดดูว่าบ้ารึเปล่า อุเกะเป็นตัวขยับไปก่อนโทริ เพื่อให้โทริทุ่ม มันไม่เป็นธรรมชาติ- องศาระหว่างโทริกับอุเกะจะต้องค่อยๆพับเข้าไปด้านหลังของโทริ ถ้าขยับก้าวแรกแล้วยังอยู่กันด้านหน้าก็คือผิดตั้งแต่ก้าวแรกแล้ว- ก้าวที่สามของโทริขยับครึ่งก้าว (ผิดกันเยอะ ขาตายไม่ขยับเพราะตื่นเต้นว่าจะทุ่ม) แล้วจับหวะที่ปัดขาคือจังหวะที่โทริทำคุสุชิ อุเกะเสียหลักขยับขาออกมา โทริก็ปัดไปที่ขานั้น- อุจิมาตะของนาเกะโนะคาตะเป็นอุจิมาตะแท้ๆ ท่าทุ่มด้วยขา ดังนั้นต้องปัดที่ขาสอง (จับขวาปัดขาซ้าย) ไม่ใช่ปัดขาแรกหรือเข้าหว่างขา ท่านี้นาเกะโนะคาตะต้องการจะสื่อให้เห็นว่า โทริปัดขาขณะที่อุเกะเสียหลัก วางขาออกมา ปัดขาตรงจังหวะนั้น ขาไหนออกมาก็ปัดขานั้นในการทุ่ม ตรงนี้มช้จริงตอนรันโดริได้ 4.หมวดทิ้งตัวด้านหน้าโทโมนาเกะ- อุเกะเน้นเรื่องอุเกมิม้วนตัวขึ้นมายืน เรื่องเดิมเหมือน โทริทำคุสุชิ อุเกะต้านแต่ต้านไม่อยู่ ไม่ใช่ขยับเดินตามไป อุเกะก้าวสุดท้ายคือมันสุดทนก้าวขาวางออกไปเพื่อให้สมดุลย์กลับมาแต่เป็นโอกาสที่โทริอาศัยแรงขยับตรงนั้นมาทุ่ม- จังหวะสุดท้ายคือท่าทางจะมาลงล๊อคเหมือนการม้วนตัวอุเกมิทั่วไป อุระนาเกะ- จุดที่โคโดกังเน้นคือ โทริคุมอุเกะ มือสองข้างคุมทั้งด้านหน้าและหลังของอุเกะ ขาสองข้างของโทริคุมช่วงล่างของอุเกะ- โคโดกังใช้นาเกะโนะคาตะเพื่อศึกษายูโด ดังนั้นการทุ่มของอุระนาเกะไม่ใช่เรื่องสำคัญ สรีระไม่พร้อมที่จะถูกทุ่ม เซนเซจะดูแค่การคุมหุ่นอุเกะ คุมอยู่แล้วโทริยกขึ้น จากนั้นค่อยๆหย่อนก้นลงแล้วทิ้งไปด้านหลัง อุเกะก็จะค่อยๆทำอุเกมิ (ไม่เหมือนกับการแข่งขันที่โยนยาวไปด้านหลัง)- มือทุบลงมาของอุเกะเป็นตัวช่วยในการทำอุเกมิ ถ้าโดนโยนจริงก็ใกล้เคียงกับนางลอย ซูมิไคเอชิ- นาเกะโนะคาตะจะมีสองท่าที่เป็นการจับแบบจิโกไต ระยะห่างของโทริอุเกะจะห่างมากกว่าท่าอุจิมาตะ (ประมาณ90เซน) คือซูมิไคเอชิกับอุกิวาซะ- จิโกไตเป็นการดึงกันทั้งฝั่ง ทิ้งน้ำหนักลงก้นทั้งคู่ ถ้าทำทั้งอุเกะโทริจะดึงกันพอดี ถ้าทำแค่คนเดียวสมดุลย์จะเสีย กลายเป็นการทำท่าจิโกไตแบบปลอมๆ แล้วตัวท่าทุ่มทั้งหมดก็จะเสียไป- ครั้งแรกโทริโยกขวา อุเกะเอียงมาซ้าย อุเกะไม่อยากเสียหลักต้านกลับมาทางขวา โทริอาศัยตรงนั้นช่วงที่อุเกะพยายามดึงสมดุลย์กลับมาทางขวา เสยด้วยท่าซูมิไคเอชิออกไป- การตบเบาะของท่านี้ยากกว่าโทโมนาเกะ เพราะมือตอนทำจิโกไตจะอยู่ใต้รักแร้ (มือของโทโมอยู่คอเสื้อ ม้วนตัวตบเบาะง่าย) ช่วงที่เสยด้วยซูมิไคเอชิ โทริต้องเปิดช่องเล็กน้อยทางรักแร้ซ้าย เพื่อให้อุเกะขยับมือทำอุเกะมิได้โดยไม่ขัดกับตัวโทริ- ขาขวาของอุเกะที่ก้าวออกไปม้วนตัวอุเกมิ ไม่ใช่ว่าอุเกะขยับเอง แต่เกิดจากการทำคุสุชิของโทริแล้วอุเกะต้านไม่อยู่ ขยับขาเพื่อปรับสมดุลย์ให้ดีขึ้น แล้วขาตรงนั้นดันไปพอดีกับการจังหวะทำอุเกมิตอนโดนทุ่ม 5.หมวดทิ้งตัวด้านข้างโยโกกาเกะ- ท่านี้การขยับมือใกล้เคียงกับท่าโอคุริอาชิบารัย แต่ทิศทางการขยับตัวไปกันคนละทาง (โอคุริไปข้าง, โยโกกาเกะดึงถอยหลัง)- จังหวะถอยก้าวแรก ทำคุสุชิดึงอุเกะมาด้านหน้าเล็กน้อย ก้าวสองมือถึงค่อยบีบเข้าทำคุสุชิครึ่งนึง ก้าวสุดท้ายทำคุสุชิเต็ม อุเกะน้ำหนักลงไปอยู่ที่นิ้วก้อยขาขวา แล้วโทริค่อยสลับขาทิ้งตัว- ช่วงลงพื้นอุเกะตบเบาะไม่ยาก ขายกขึ้นก่อนแล้วค่อยๆปล่อยวางลง (สมัยก่อนท่านี้อุเกะถูกทุ่มแล้วขาจะชี้คาไว้ ซึ่งดูแล้วผิดธรรมชาติเลยมีการปรับเปลี่ยน)- โทริเหนื่อย ท่านี้จะลงข้างแต่จะไม่มีมือช่วยโทริตบเบาะ (อุเกะลงหลังแต่ยังมีมือซ้ายช่วงในการตบเบาะ) โยโกกุรุม่า- ไม่รู้จักหลักที่ใช้ในการแข่งขัน แต่ถ้าดูตามลำดับท่านี้ของโคโดกัง น้อยมากที่จะเห็นสเต็ปการขยับที่สมบูรณ์- การเข้าเหมือนกับอุระนาเกะทุกอย่าง แต่อุเกะรู้ทันไม่อยากโดนทุ่มด้วยอุระนาเกะ ออกแรงต้าน แล้วแรงการต้านตรงนั้นทิศทางมันไปลงกับท่าโยโกกุรุม่าพอดี- ทิศทางที่ตรงคือ ขาสองข้างที่แยกวางขาออกไป จุดกึ่งกลางมันอยู่เฉียงพอดี จุดประสงค์ของท่านี้คือสอนหามุมท่าทุ่มที่แรงต้านจะน้อยที่สุดของอุเกะ ท่านี้ปรับใช้ได้กับหลายๆท่า แต่ท่าที่ตัวอย่างเห็นชัดเจนคือท่าโออุจิการิ อุกิวาซะ- ท่าแรกสุดอุกิโอโตชิเป็นท่าสบายๆ ท่าสุดท้ายก็สบายๆเช่นกัน จิโกไตแล้วเหวี่ยงไปตามทิศทางแรง- ช่วงที่เหวี่ยงเป็นจังหวะที่อุเกะออกแรงต้านกลับมาในทิศทางตรงกันข้ามพอดี จบห้าหมวดตอนเข้ามาทำยังไงขากลับก็ทำย้อนกลับ หลังจากแสดงท่าครบทั้งซ้ายขวาแล้ว อาจจะมีงงๆบ้างว่าจะเคารพกันเองกันหรือจะเคารพโชเม็งก่อน ให้จำว่าสิ่งแรกตอนเข้ามาบนเบาะคือเคารพโชเม็ง สิ่งหลังสุดที่ออกจากเบาะคือเคาระโชเม็ง แนวคิดตรงนี้ก็แทรกวิธีการเคารพเบาะที่ถูกต้องไว้เช่นกันคือเคารพครั้งแรกที่เข้าเบาะกับสุดท้ายก่อนที่จะออกจากเบาะ ก็คือโชเม็ง อย่าลืมขากลับตอนถอยสามก้าว ขาถอยเริ่มจาก ขวา ซ้าย ขวา ยูโนะคาตะไม่ลงรายละเอียดครับ เพราะเป็นการศึกษาครั้งแรก ยังไม่เข้าใจเหตุและผลของคาตะชุดนี้มากนัก เรื่องสอบวันสุดท้ายของการอบรม มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ทุกท่านที่สอบและทุกท่านมี่ไม่สอบก็ช่วยกันพยายาม ให้กำลังใจและผ่านกันได้ครบทุกท่าน มีหลายจุดที่มองในมุมมองของเซนเซผ่านทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นแล้วเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ แต่เซนเซก็พยายามคุมตัวเองไว้เพื่อที่จะให้จบอย่างสวยงาม - เซนเซบอกชื่อท่า แล้วให้คนที่จะสอบทวนพูดชื่อท่าออกมาก่อนจะแสดงท่าทุ่ม ตรงนี้เป็นการช่วยเหลือผู้สอบอย่างที่สุดแล้ว เพราะท่าที่แสดงออกมาตรงกันกับคำพูดชื่อท่าของเซนเซรึเปล่า เพราะปัญหาเรื่องการสื่อสาร บางครั้งท่าที่เราแสดงออกมาอาจจะไม่ตรงกันกับท่าที่เซนเซต้องการจะสอบ ชื่อท่ายูโดบางท่าใกล้เคียงกัน เสียงใกล้กันถ้าได้ยินผิด ทำผิดท่า ก็อาจตะทำให้ผู้ที่ทำการสอบไม่ผ่านเกณฑ์ได้ เช่นโคอุจิการิกับโออุจิการิ อาจฟังผิดได้เซโอนาเกะกับอิปปงเซโอนาเกะ ถ้าฟังไม่ทัน ฟังไม่ครบ อาจจะผิดท่าได้ ยังมีอีกหลายท่าที่เซนเซไม่เรียกมาใช้ในการสอบเพราะชื่อท่ามันยากจนเกินไป เช่นฮาไรทรึริโกมิอาชิ , อุสึริโกชิ - ผลของการแพ้ชนะในการแข่งขันเป็นกฏกติกาของการเลื่อนดั้ง แต่ท่านที่ไม่ได้มีโอกาสไปลงแข่งขัน เซนเซก็เข้าใจ เปลี่ยนเป็นการทดสอบดูการวิธียูโดของผู้สอบแทนด้วยการรันโดริ จุดนี้เป็นเวลาที่ใช้ในการสอบอยู่ การส่งเสียงเชียร์หรือทำเป็นเรื่องเล่นๆ ถือว่าไม่สมควร - ในขณะที่สอบ บางท่านมีปัญหาเรื่องร่างกาย เนื่องจากจริงจังและตั้งใจในการสอบ การฝึกซ้อมก่อนที่จะสอบจากเมื่อวานหรือวันก่อนหน้านั้น ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ การตบเบาะการขยับตัวอาจจะเพี้ยนไปบ้าง ก็ได้บอกเซนเซให้รับทราบ เซนเซตอนกลับมาสั้นๆแต่ความหมายผมว่ามันก็ชัดเจน "วันนี้เป็นวันสอบ" สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่เรื่องผิด เป็นแค่เรื่องที่วัฒนธรรมไม่ตรงกันเฉยๆ ถ้ารู้กันแล้วคราวหน้า มีการปรับเปลี่ยนระวังในสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เซนเซสบายใจ บรรยากาศในการอบรมและการสอบจะได้สบายๆแต่โดยรวมถือว่าจบสวย ทุกคนแฮปปี้ ตามจุดที่ตั้งใจไว้ แต่ต่างคนต่างเป้าหมายบางคนตั้งใจในความรู้ก็ได้ความรู้กลับไปบางคนตั้งใจเรื่องดั้งก็สำเร็จสมหวังกลับไปบางคนเน้นเรื่องมิตรภาพก็ได้เจอะเจอกลับไป โดยส่วนตัวผมก็มีเป้าหมายเช่นกัน แต่คืออะไร (รู้ๆกันอยู่) ส่วนใครไม่รู้ก็ขอไม่บอกละกันคร้าบ
Create Date : 13 ธันวาคม 2560 |
|
2 comments |
Last Update : 13 ธันวาคม 2560 9:50:26 น. |
Counter : 1005 Pageviews. |
|
|
|
ขอให้มีความสุขมากๆ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
และคิดหวังสิ่งใดขอให้สำเร็จสมปรารถนานะคะ