ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 กรกฏาคม 2563
 
All Blogs
 
พระนางสร้อยดอกหมาก

วัดพนัญเชิง เป็นวัดใหญ่ที่สำคัญวัดหนึ่งในจังหวัดอยุธยา ตั้งอยู่ที่แหลมบางกะจะ เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งชาวบ้านนับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์กันมาก ตำนานเกี่ยวกับการสร้างวัดพนัญเชิงนั้นมีมาเก่าแก่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา

          เรื่องราวของพระเจ้าสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมากนั้น มีกล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ ฟังดูเหมือนเรื่องเลื่อนลอย แต่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้ค้นคว้าแล้วปรากฏว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งนั้นมีตัวจริง เคยเป็นกษัตริย์ซึ่งครองเมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่หนองโสน ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยา และเป็นผู้สร้างวัดสำคัญ คือ "วัดพนัญเชิง" และ "วัดมงคลบพิตร" ซึ่งยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

          ตำนานเกี่ยวกับพระเจ้าสายน้ำผึ้งและพระนางสร้อยดอกหมากเล่าว่า ครั้งนั้นกษัตริย์ครองกรุงอโยธยาสิ้นพระชนม์ลง ไม่มีรัชทายาทสืบสันติวงศ์ บรรดาอำมาตย์จึงปรึกษากันหาคนดีมีบุญมาเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยให้เสี่ยงทายเรือพระที่นั่ง เรือพระที่นั่งนั้นก็ลอยไปจอดกลางทุ่งนาแห่งหนึ่ง ซึ่งเด็กเลี้ยงควายกำลังเล่นกันอยู่

          เด็กคนหนึ่งเล่นเป็นกษัตริย์ ตัดสินลงโทษประหารชีวิตเพื่อนอีกคนหนึ่งโดยใช้ไม่ไผ่ทำเป็นดาบ พอเพชฌฆาตลงดาบปรากฏว่าเด็กชาวนานั้นคอขาดกระเด็นไปตามคำสั่ง บรรดาอำมาตย์เห็นเป็นเหตุอัศจรรย์ จึงเชิญเด็กชาวนานั้นขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงอโยธยาสืบมา

          ทางฝ่ายพระเจ้ากรุงจีน มีธิดาบุญธรรมซึ่งกล่าวกันว่ามีกำเนิดจากจั่นหมาก จึงได้นามว่า "สร้อยดอกหมาก" มีสิริโฉมงดงาม ครั้นนางเจริญวัยโหรได้ทำนายว่า นางจะได้เป็นคู่ครองของกษัตริย์แห่งเมืองอโยธยา พระเจ้ากรุงจีนส่งสาสน์มายังพระเจ้ากรุงอโยธยาถวายนางเป็นชายา

          พระเจ้ากรุงอโยธยาได้รับสาสน์นั้นก็มีความยินดี รีบจัดกระบวนเรือออกไปรับตัวนาง ขณะที่เรือพระที่นั่งผ่านไปถึงวัดปากคลอง ได้ทอดพระเนตรเห็นรวงผึ้งใหญ่เกาะอยู่ที่ใต้ช่อฟ้า จึงทรงอธิษฐานว่าหากพระองค์มีบุญญาธิการ จะได้ปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ขอให้น้ำผึ้งหยดลงมาที่เรือ ครั้นหันหัวเรือเข้าไป น้ำผึ้งก็หยดลงมาที่หัวเรือดังคำอธิษฐาน ผู้ที่เห็นเหตุการณ์จึงพากันขนานพระนามว่า "พระเจ้าสายน้ำผึ้ง"

          เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองจีน พระเจ้ากรุงจีนได้รับเสด็จและจัดการอภิเษกสมรสให้อย่างสมพระเกียรติ จากนั้นพระเจ้าสายน้ำผึ้งก็พาพระนางสร้อยดอกหมากเสด็จกลับกรุงอโยธยา ครั้นมาถึงบริเวณที่เป็นวัดพนัญเชิงในปัจจุบัน พระเจ้าสายน้ำผึ้งก็ให้พระนางสร้อยดอกหมากรออยู่ในเรือพระที่นั่ง ส่วนพระองค์เสด็จเข้าพระราชวังเพื่อเตรียมรับเสด็จ

          ครั้นเรียบร้อยแล้วก็ให้คนมาเชิญเสด็จพระนางสร้อยดอกหมากเข้าไปในวัง แต่พระนางสร้อยดอกหมากเกิดความน้อยพระทัยที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่เสด็จออกมารับเอง จึงรับสั่งว่าถ้าไม่เสด็จออกมารับก็จะไม่เข้าไป ครั้นคนนำความไปกราบทูล พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงเห็นเป็นเรื่องขบขัน รับสั่งว่านางอุตส่าห์มาจากเมืองจีนจนมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าไม่ยอมขึ้นมาก็เชิญประทับอยู่ในพระที่นั่งนั้นเถิด

          เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากได้ทรงทราบความก็ยิ่งน้อยพระทัยมากถึง กับทรงกลั้นใจตาย เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จออกไปรับและได้ทรงทราบก็เศร้าโศกเสียพระทัยยิ่งนัก จึงเชิญศพนางไปพระราชทานเพลิงศพและให้สร้างพระอารามขึ้นตรงบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพ พระราชทานนามว่า "วัดพระนางเชิง" ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนไปว่า "วัดพนัญเชิง"

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
https://abhinop.blogspot.com
https://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.




Create Date : 14 กรกฎาคม 2563
Last Update : 11 มีนาคม 2564 16:40:30 น. 1 comments
Counter : 299 Pageviews.

 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
//abhinop.blogspot.com
//abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 11 มีนาคม 2564 เวลา:11:37:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.