พรรณนาคุณพระขีณาสพ...นิคมคาถา...

พรรณนาคุณพระขีณาสพ

พระพุทธเจ้าข้า
ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก...
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้
ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลย
แม้ฉันใด.

พระพุทธเจ้าข้า
แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ...
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ผ่านมาสู่คลองโสต...
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ผ่านมาสู่คลองฆานะ...
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ผ่านมาสู่คลองชิวหา...
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ผ่านมาสู่คลองกาย...
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจ

ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย

จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น
ฉันนั้นเหมือนกันแล.

นิคมคาถา

[๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑
ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ ๑
ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑
ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นอุปาทาน ๑
ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑
ผู้น้อมไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑

ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ
เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ

ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น
ไม่ต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี

เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
ย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด

รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์
ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาทั้งสิ้น
ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น

จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว
ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.


จากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรคภาค ๒
พรรณนาคุณพระขีณาสพ-นิคมคาถา


...............................................

^
โดยอธิบาย อารมณ์...
รูปารมณ์ (อารมณ์ คือ รูป)
สัททารมณ์ (อารมณ์ คือ เสียง)
คันทารมณ์ (อารมณ์ คือ กลิ่น)
รสารมณ์ (อารมณ์ คือ รส)
โผฏฐัพพารมณ์ (อารมณ์ คือ กายสัมผัส)
ธรรมารมณ์ (อารมณ์ คือ ความนึกคิดในใจ)

ทรงเปรียบ อารมณ์ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์)
เหมือน ลม

เปรียบอารมณ์เข้าสู่จิตได้ทางอายตนะทั้ง ๖(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
เหมือนลมพัดมากระทบภูเขาศิลาทางทิศต่างๆ(เหนือ ใต้ ออก ตก)

เปรียบจิตของพระภิกษุที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเมื่อกระทบอารมณ์
เหมือน ภูเขาศิลาไม่สะท้านสะเทิอนด้วยแรงลม

นั่นคือ อารมณ์ทั้งหลาย(รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์)
ไม่ว่าจะเข้ามาสู่จิตทางอายตนะใด (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
ก็ไม่สามารถทำให้จิตของพระภิกษุที่ตั้งมั่นหวั่นไหวได้


เหมือน ลม ไม่ว่าจะพัดมาจากทิศทางใด
ก็ไม่สามารถทำให้ภูเขาศิลาสะท้านสะเทือนได้
....ฉันใด ฉันนั้น...



ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ
เพราะเห็นความเกิดและความดับแห่งอายตนะ

จิตของท่านตั้งมั่นหลุดพ้นแล้ว
ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้นด้วย


^
(ข้อสังเกต :-
พระสูตรแทบทุกสูตรที่มีมา จะพูดย้ำ ๒ ครั้ง ตอนขึ้นต้นและลงท้าย
นั่นคือ ความหมายของส่วนตอนต้นและตอนท้ายนั้นจะเป็นทำนองเดียวกัน)


ณ ตรงนี้ ก็เช่นกัน ส่วนต้นและส่วนท้ายก็มีความหมายเดียวกัน
นั่นคือ หมายแสดงให้เห็นว่า

ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น
ย่อมเห็นความเกิดดับของอารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖

จิตของท่านหลุดพ้น ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตสังขาร
หรืออารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะ ๖ นั่นเอง


โดยอธิบาย
อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์
เมื่ออายตนะภายใน ๖ และภายนอก ๖ ผัสสะกันเป็นคู่
ทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นที่จิต (รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์)
ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะปรุงแต่งจิต ทำให้จิตหวั่นไหวไปตามอารมณ์(จิตสังขาร)
ทำให้เกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามมา หรือก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง

แต่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น จิตของท่านตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ตั้งมั่นอยู่โดยลำพังตนเอง โดยไม่ต้องอิงอาศัยอารมณ์ใดๆ


อารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะ ๖ ก็สักแต่ว่าเป็นอารมณ์
ไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิต เพราะจิตท่านตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์แล้ว

ดังนั้นถึงอารมณ์จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จิตของท่านก็ไม่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามอารมณ์เหล่านั้น
คงเป็นเพียงรู้สักว่ารู้ เห็นสักว่าเห็น
...โดยประการฉะนี้



ยินดีในธรรมทุกๆท่านครับ






Create Date : 24 กันยายน 2552
Last Update : 9 ตุลาคม 2552 19:07:41 น. 1 comments
Counter : 745 Pageviews.  

 
อนุโมทนา สาธุฯครับ
แจกแจ้งพระสูตรได้ดี มีเหตุมีผลตริตรองตามได้


โดย: ตามความเป็นจริง IP: 58.9.94.20 วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:10:16:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]