SmileySmiley :: How Do I Enjoy Life while "Living with Cancer" ::
Group Blog
 
All blogs
 

มิถุนายนกับที่แห่งเดียว ๓ สัปดาห์

สอนโยคะ
ปฏิบัติภาวนา
อาหารสุขภาพ
เยี่ยมชมโบราณสถาน/ประเพณีพิธีกรรม




ท้องฟ้าต่างๆ เวลา
ตอนเย็นบ้าง เช้ามืดบ้าง
มองจากระเบียงบ้านที่ Heaven on Lake
















ตรงนี้ ริมโขง เห็นรุ้งตัวโต


สีสดใส สดชื่น








นานๆ ทีจะได้ถ่ายรูปหางนกยูงใกล้ๆ แบบนี้




สถานที่ปฏิบัติภาวนา




นั่งดูลมหายใจ และสอนโยคะยามเช้า




ลูกศิษย์โยคะ สอนตัวต่อตัวค่ะ (Private Class--55 ชั่วโมง)










นำฝึกชี่กง โยคะ ให้กับทีมงานที่นั่นทุกเช้า




อาหารสุขภาพ มื้อเที่ยง


มื้อเช้ามักจะกินผลไม้ ผักสลัด และน้ำเต้าหู้ น้ำข้าวกล้อง


เมนูอาหารอร่อยนอกบ้าน
ข้าวแรมฟืน แบบสด แป้งถั่วลันเตา กับเส้นหมี่หล่ายหน้า (คือจากชายแดนแม่สาย)


ข้าวแรมฟืนทอด อันนี้ สุดยอด
ยอมกินของทอดก็ตอนนี้แหละ


แม่ค้าชาวไทยใหญ่ ผิวสวยมากๆ


เจ้าบ้านพาไปกินถึงไร่แสงอรุณ ที่เชียงของแน่ะ


ห้องเรียนโยคะสัญจร ที่โบราณสถานวัดป่าสัก


ขี่จักรยานเที่ยวชมโบราณสถานในตัวเมืองเชียงแสน


ร้านกาแฟ Heaven on Earth ใต้ร่มไม้ใหญ่
ในวัดเจดีย์หลวง


และโครงการ "อารามเด็กศิลป์" ของวัดเจดีย์หลวง


พิธีขอฝน
ซึ่งเป็นประเพณี พิธีกรรมดั้งเดิม แต่ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง
เพิ่งทำปีนี้ หลังจากไม่ได้ทำกว่า 10 ปีแล้ว
เพราะปีนี้ ฝนแล้ง การทำนาล่าช้ามาเป็นเดือน
ชาวบ้านจึงร่วมมือร่วมใจกัน อัญเชิญพระพุทธรูปล้ำค่า มาสรงน้ำ




หมวกสาน ที่ระลึกในงานศพ
เห็นเป็นของที่ระลึกที่มีประโยชน์ใช้งานได้จริง


พระเจ้าทองทิพย์








ที่สะดือเมือง มณฑปเป็นงานละเอียดสวยงาม


โรงทอ กลุ่มชาวบ้านไทยลื้อบ้านหาดบ้าย เชียงของ
แม่เฒ่าอายุ 70 ปี บอกว่า มาจากสิบสองปันนา




กับน้องหล้า ที่คอยตามดูแล
อาหาร เครื่องดื่ม ทำห้องพัก รวมถึงมานอนพักเป็นเพื่อน


ดอกไม้จากสวนของบ้าน
"สูดดมดอกไม้ ได้กลิ่นหอมชื่นใจ"





 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 28 มิถุนายน 2553 8:57:24 น.
Counter : 5143 Pageviews.  

งานแสดงภาพวาดของแม่ ในสวนของบ้าน...

ความสุขข้ามวัน ข้ามคืน
ใบหน้าเปื้อนยิ้ม เข้าวันที่ 3 หลังจากจัดงานกันเสร็จไป
ทั้งเหนื่อย ทั้งสนุก และมีความสุขกันทั้งครอบครัว...

งานนี้ ผึ้ง น้องสาวคนเล็กเป็นต้นคิดและเป็นผู้จัดการ
ด้วยเหตุว่า พี่ๆ น้องๆ อยู่กันครบหน้า
จึงอยากจัดเอาภาพวาดของแม่ออกมาแสดง ที่สวนของบ้านเรานี่ล่ะ



กลุ่มผู้ชมที่เชิญไปก็มี เพื่อนๆ นักเรียนวาดสีน้ำของแม่
จากห้องเรียนที่มอเกษตรเมื่อปลายปี 2552 ที่ผ่านมา
ผู้สนใจภาพวาดที่เป็นเพื่อนแม่ เพื่อนลูกที่รู้จักแม่
นักเขียนรูป ญาติๆ สนิทของครอบครัวเรา
เพื่อนบ้านที่รู้จักทักทายกัน

จัดกันในสวนเล็กๆ ข้างบ้าน
ตอนแรกกะกันว่า มีแขกสัก 15 - 20 คน
ญาติพี่น้อง 30 คน รวมๆ คงจะ 50 คน
เอาเข้าจริง ถึงวันงาน รวมๆ กัน 117 คน!!!


ตอนจัดสถานที่


สวนเล็กๆ อบอุ่น


แม่กับรูปภาพของเธอ
ภาพนี้ใช้สีอะคริลิกเพิ่งวาดเสร็จไม่นานมานี้


งานของแม่เป็นไง...เธอเริ่มวาดตอนอายุเกือบ 60
ตอนนี้ แม่ย่างเข้า 71 ปี


ดอกไม้ที่บานในบ้าน




แม่ถ่ายภาพกับลูกสาว ลูกเขย (คุณวาทิศยังมาไม่ถึงงาน)
























ศิลปิน กับผู้จัดการ :)






































































 

Create Date : 18 มกราคม 2553    
Last Update : 19 มกราคม 2553 13:08:20 น.
Counter : 1864 Pageviews.  

ความงามยามเช้าตรู่...แสงจันทร์สะท้อนน้ำ

ยามเช้าแต่ละวัน
เมื่อตื่นทันท้องฟ้าเปลี่ยนสี
ในความมืด เปลี่ยนเป็นสีฟ้าเข้ม
แล้วจางลงเป็นสีเทาอมฟ้า
การเปลี่ยนสี มีเสียงดนตรีจากนกน้อยส่งเสียงจุ๊บจิ๊บจ๊อกแจ๊ก
บรรเลงคลอกันไปทุกๆ วัน

เช้าวันหนึ่ง ในเดือนพฤศจิกายน วันที่ 3
เมื่อตี 4 มีแสงสว่างจากทางแม่น้ำโขง
เป็นสีนวลกลมโต สะท้อนน้ำ โอ...นั่นเป็นแสงจันทร์
นั่งดูอยู่นาน...ซึมซับกับความงาม
กว่าจะยอมไปหยิบกล้องมาบันทึกไว้ เพื่อแบ่งปัน

หากตื่นเช้าต่อกันทุกวันหลายๆ ปี
คงจะมีโอกาสได้เห็นพระจันทร์ตกน้ำ พระจันทร์ลับเหลี่ยมเขาได้บ่อยๆ
ในขณะที่ฟ้าเปลี่ยนสี

แต่นี่...ไม่น่าเชื่อ ว่าเป็นครั้งแรกของชีวิต
ที่มีโอกาสเห็นความงดงาม ในวันจันทร์เต็มดวง
มหัศจรรย์ของธรรมชาติอันแจ่มกระจ่าง

ภาพถ่าย เมื่อ 05:29


ภาพถ่าย เมื่อ 05:50 ดูพระจันทร์สะท้อนน้ำ
และ 06:05 กระต่ายบนดวงจันทร์ หันหัวไปทางไหน?


ภาพถ่าย เมื่อ 06:11 จันทร์ลับเหลี่ยมเขา




 

Create Date : 06 มกราคม 2553    
Last Update : 6 มกราคม 2553 18:32:20 น.
Counter : 3610 Pageviews.  

หลวงน้ำทา...ที่ผู้คนมักใช้เป็นทางผ่านจากลาว ไปเชียงรุ่ง

ทริปก่อนเข้าหลวงน้ำทา ไปเมืองสิง ก่อนค่ะ

หลวงน้ำทาอาจจะเป็นแค่แขวงหนึ่งในประเทศลาว
ที่ใครๆ ก็เห็นเป็นเพียงทางผ่าน เพื่อไปเมืองเล็กๆ ในแขวงอย่างเมืองสิง หรือผ่านเพื่อมุ่งหน้าไปยัง "บ่อเต็น" เมืองชายแดนอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อมโยงไปยังประเทศจีน เพื่อไปท่องเที่ยว เมืองล้า และเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) ศูนย์กลางของชนชาติไตลื้อ

ฉันก็เป็นอีกคนที่ตอนแรก คิดว่าจะไม่ค้างคืนด้วยซ้ำ
ตอนนั้น ออกจากเมืองสิง ถึงหลวงน้ำทา บ่ายโมง
เมื่อดูเวลาและเส้นทางแล้ว ยังไงซะก็ต้องค้างที่ไหนสักคืนหนึ่ง
ก่อนจะถึงหลวงพระบาง...

ก่อนจะสรุปเอาเองว่า "เมืองหลวงน้ำทางไม่มีอะไร ให้เที่ยว"
ก็ลองดูว่าจะไปไหนได้บ้าง พบว่า พื้นที่รอบตัวเมือง เป็นหมู่บ้านของชนเผ่าต่างๆ ทั้ง ไตลื้อ ไทดำ อาข่า แลนแตน ม้ง

เพื่อนรุ่นน้องของอ้ายกาง มารับที่คิวรถ ไปร้านอาหารบานาน่า ที่กำลังจะจัดงานทำบุญเปิดร้านในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

อาหารในรูป เป็นอาหารมังสะวิรัติ ไปกิน 2 มื้อ ทำอร่อยดี น้องชื่อปุ้ย เป็นเจ้าของและแม่ครัวเอก ถ้าใครได้ไปหลวงน้ำทา แนะนำนะ ร้านนี้ ชื่อ บานาน่า...


อากาศที่หลวงน้ำทาร้อนมาก ก็ถนนเส้นทางขยาย ผิวถนนสะท้อนแดดระอุไอร้อนเป็น 2 เท่า

ไม่มีอารมณ์เที่ยว ไปนอนดีกว่า...

รีสอร์ทชื่อ ลาวบ้านนา...ทำบ้านพักสไตล์ชนเผ่า ไม่มีทีวี ไม่มีตู้เย็น ในห้องแทบจะไม่มีของที่เป็นพลาสติก มีแต่ขวดน้ำดื่มอย่างเดียวมั๊ง..

ภาพข้างบน "เตาไฟ" นั้น อยู่ในครัวของครอบครัว...ในบริเวณรีสอร์ทแหละ


ถ่ายรูปเล่นซะหน่อย ใช้ขาตั้งกล้อง ไปคนเดียวก็งี้แหละ :(


รีสอร์ทลาวบ้านนา อยู่ห่างจากใจกลางเมือง 3 กม. ไม่ไกลมากหรอก
นั่งรถแป๊ปเดียว ตอนเย็น เข้าเมือง ไปดูตลาดมืดสักหน่อยหนึ่ง



ถือว่าเป็นตลาดเล็กๆ เลยแหละ มีของกินเล่น อาหารสุก
ผลไม้นิดหน่อย ขนม และร้านข้าวซอยหลายร้าน

พวกของที่ระลึกไม่ค่อยมีขาย
อ้อ..มีเครื่องเล่นพวกม้าโยก ให้เด็กๆ เล่นนิดหน่อย

บรรยากาศในตัวแขวงหลวงน้ำทา ยามค่ำ เกือบๆ จะเงียบเหงา
มีนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกบางตา
เห็นตึกธนาคารต่างประเทศลาว ใหญ่โต ป้ายไฟแอลอีดี ขึ้นข้อความเลื่อนไหล แสงสีแดงสว่างจ้า...


ไอหมอก ทุ่งนา รวงข้าว และภูเขา ภาพที่เห็นระหว่างทาง


แถวๆ ตลาดเช้า


ในตลาด ผักกาดเขียว หน่อไม้ และอื่นๆ


หางหวาย หรือยอดหวาย ของชอบของฉัน อันใหญ่มากๆ มันอ้วนๆ สั้นๆ


ตลาดเมืองลาว มักมีของแบกดิน เป็นพวกชาวบ้านที่ไม่มีแผงประจำ
เก็บผลผลิต หรือหาของป่า ได้เมื่อไรก็ค่อยมาขาย


ไปขอถ่ายรูป เอื้อยคนนี้ ชาวไทดำ
ที่นี่ เขาขายอาหารใส่เป็นจานๆ 3,000 กีบ - 5,000 กีบ
ก็ดีนะ จะได้รู้ราคา กับปริมาณ ซึ่งใส่จานแบบนี้ ที่หลวงพระบางไม่มี
เขาจะใส่เป็นถุงๆ เลย

รูปล่าง เป็น ตัวหม่อน ทอดกรอบ


มีอาหารขายหลายอย่าง
ที่สะดุดตา คือ ยอดหวาย
เนื้อเยอะมากๆ


ในอาคาร มีของขายเยอะแยะแหละ รวมทั้งขนม ต่างๆ
ฉันกินขนมมัน
ขวาล่าง เห็นข้าวแต๋น ก็ถามเขาว่า เรียกอะไร "ข้าวแต๋น"
คนทำเป็นชนเผ่าอะไร "ลาวยวน"
เง้อ...มี 'ไทยวน' ได้ ก็มี 'ลาวยวน' ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า 'กะล่อม'


ชาวอาข่า ที่มาตลาด


ร้านข้าวซอย
นึกถึง "พี่แก้ว" คนขายข้าวซอยที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

ฉันกิน เส้นข้าวซอย กับผักลวก แห้ง...

เอื้อยคนนี้ เป็นคนไตลื้อเมืองสิง มาอยู่ที่นี่ เกือบ 20 ปีแล้ว
เธอบอกว่า คนขายข้าวซอยเกือบทั้งนั้นที่เป็นคนไตลื้อ

กระปุกพริกดอง รูปล่างกลาง วิธีทำ:
เอาพริกขี้หนู กระเทียมแกะล้างให้สะอาด ผึ่งไว้
ต้มน้ำเกลือให้เดือด พักไว้ให้เย็น
เทใส่ ดองไว้ 7-10 วันจะมีรสเปรี้ยว อร่อย


ตอนบ่าย ขี่จักรยานไปเที่ยวบ้านแลนแตน
เส้นทาง 3 กิโลเมตร
ใกล้หมู่บ้านเป็นทางลูกรัง แบบ "บ้านนมยาน" ก็ขี่จักรยานกระเด้งกระดอนตลอดเวลา 2 กิโลเมตร

ด้านหนึ่งเป็นเนินเขา และบ้านคน อีกด้านหนึ่งเป็นทุ่งนา


มีสายน้ำ และความเขียวขจี อุดมสมบูรณ์


ชาวแลนแตน กำลังลงแขกเกี่ยวข้าว ที่ลาวเรียก เอาแฮง (ขอแรงกัน)

รูปขวาล่าง ฮวงจุ้ยดีใช่ม๊ะ ด้านหน้ามีลำธาร ไหลต่อเนื่องมาจากน้ำตกน้ำดี ถัดไปเป็นที่ราบทุ่งนา ไกลออกไปมีเนินขึ้นไป ปลูกต้นยาง แล้วภูเขาสูงเป็นป่าไม้...

ฉันยืนดูอยู่ตรงนี้นาน...พอจะเห็นว่า ที่แบบนี้แหละ เป็นที่ดินที่ดีที่สุด และเหมาะแล้วที่เรียกหมู่บ้านว่า "บ้านน้ำดี"


ชาวแลนแตน แต่งตัวเป็นเอกลักษณ์ ด้วยผ้าฝ้ายย้อมฮ่อม
เด็กเล็กๆ ก็แต่งตัวเหมือนผู้ใหญ่


ที่คิวรถ ได้คุยกับพ่อเฒ่าไทดำ คนหนึ่ง
พอถามว่า ชนเผ่าใดที่มาอยู่หลวงน้ำทาเป็นเผ่าแรก
เขาตอบด้วยความมั่นอกมั่นใจว่า "ไทดำ ไทดำมีหลายก่อนเผ่าอื่น อยู่บ่อนนี้มาบักดนๆ"...

ดังนั้น จึงยังสรุปตาม พ่อเฒ่าเผ่าแลนแตน ไม่ได้ซะทีเดียวว่า ชาวแลนแตนมาอยู่ก่อนใคร...




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2552    
Last Update : 26 ตุลาคม 2552 15:06:35 น.
Counter : 4735 Pageviews.  

ผู้คน ในมุมหนึ่งของโลก...เมืองสิง, ลาว

พวกเค้าทำมาหากินในอู่ข้าวอู่น้ำของลาว ที่ชื่อเมืองสิง
ที่นี่ การทำนา ได้ผลผลิตมากกว่า ที่ไหนๆ
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว (คุ้นๆ มั้ย)

ชนเผ่า มี
- ไทลื้อ
- ไทดำ
- อาข่า (ก้อ) มีเยอะมากๆ
- ข่ามุ
- ม้ง

พวกเขาเรียกตัวเองว่า "ไตลื้อ" ที่บรรพบุรุษมาจากเมืองล้า เชียงรุ่ง สิบสองปันนา
ที่จริง ระยะทางไปเมืองล้า ไปเชียงรุ่ง ไม่ถึง 100 กิโลเมตร

เด่นเรื่องอาหาร เป็น ข้าวซอย และข้าวแลงฟืน
ซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตของเมืองสิง รวมถึงภาคเหนือของลาว


เมืองสิง อยู่ที่ไหน??
ทางเหนือของลาว ใกล้ชายแดนจีน

ลองดูแผนที่นะ



ต้นแบบเสื้อสายเดี่ยว.....



การเดินทางไปหลวงพระบางคราวนี้ เลือกเดินทางแบบกึ่งชาวบ้าน กึ่งนักท่องเที่ยว ก็แบกเป้เพื่อจะนั่งรถโดยสารกลับบ้านที่หลวงพระบาง โดยมีเวลาไปดูวิถีชีวิตชนบทของลาวด้วย มีเวลา 7 วัน

นั่งรถทัวร์ จากกรุงเทพฯ ไป เชียงของ ชั่วข้ามคืนก็ถึงแล้ว
ผ่านด่าน ต.ม. ลงเรือข้ามฟาก 40 บาท 5 นาที
เมืองห้วยทราย ของแขวงบ่อแก้วเมืองลาว ผ่าน ต.ม. ของลาวไม่เสียค่าธรรมเนียม ใช้พาสปอร์ตประทับตราก็เสร็จ แลกเงินกีบซะที่ตรงด่านนั่นล่ะ


นั่งรถตู้คิว ในราคาคนละ 300 บาท ห้วยทรายถึงหลวงน้ำทา เวลา 3 ชั่วโมง แพงจัง (แต่ถ้าซื้อตั๋วผ่านบริษัททัวร์ หรือไกด์ เขาคิด 400 เลยแน่ะ)

มีพระสงฆ์ไทยท่านหนึ่ง เดินทางกับลูกศิษย์ผู้ชาย 2 คน
จะไปบ่อแก้ว ซื้อตั๋วผ่านไกด์ คิดคนละ 800 บาท ทั้งๆ ที่ซื้อกับคนขับรถตู้ คนละ 500 บาทเอง....งือ

ละแวกเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว มีหมู่บ้านชนเผ่าเยอะแยะ
ถ้าใครสนใจจะข้ามไปเที่ยว 1-2 วัน ก็น่าสนุกค่ะ มีเบอร์โทรเจ้าของรถตู้ด้วย เขานำเที่ยวได้...ถ้าสนใจถามมานะ รถไม่ถึงกับใหม่มาก ฝุ่นๆนิดหนึ่งด้วย

ป้ายชนิดน้ำมัน อ่านว่า "กาส้วน"

อุ่ย มีรูปผิด รูปใหญ่ เห็นมีรถทัวร์นั่น ยังอยู่เชียงของค่ะ


ถนนเส้น ห้วยทราย ถึงหลวงน้ำทา
ลาดยางอย่างดี เรียบกริบ แต่ขึ้นเขา โค้งเยอะมากๆ
คนขับเขาชินทาง ขับเร็ว และเข้าโค้ง จนได้ยินเสียงเอี้ยดดดดดดด
กลิ่นยางไหม้อบอวลเลยแหละ


แวะกินข้าวระหว่างทาง
มีร้านอาหาร เขาทำเฝอใส่ไก่งวงด้วย เลี้ยงแบบธรรมชาติ
ถ้าได้มาละแวกนี้ อย่าลืมถามถึงไก่งวง

ที่รู้เพราะมีคนจีนเขาสั่งเฝอไก่ แต่พอกิน เนื้อมันชิ้นใหญ่ๆ เขานึกว่าเป็นหมู ทำมาผิดหรือเปล่า?? จึงได้เห็นไก่งวง

กวางกินส้มโอ...เปรี้ยวสุดๆ ได้น้ำจิ้มมา เป็นพริก เกลือ และแป้งนัว!!!! เห็นมั้ย เกล็ดๆ ดีนะที่ยังไม่ได้คลุกรวมกัน


ถึงคิวรถ ระหว่างแขวงที่หลวงน้ำทา
แล้วนั่งตุ๊กตุ๊ก ต่อไป คนละ 10,000 กีบ ไปคิวรถ ระหว่างเมือง
กินข้าวซอย เส้น+ผัก แห้ง ที่ร้านของป้าคนที่อุ้มหลาน ลูกสาวของป้าอัธยาศัยดีมากๆ

นั่งในรถบัสเล็ก


ระหว่างทางฝนตก ได้เห็นรุ้งพาดฟ้าเหนือเทือกเขา


แวะส่งคนลงตลาดเก่าเมืองสิง
ถ้าจะไปหาเรือนพัก ให้ลงที่นี่แหละ เรือนพักส่วนใหญ่อยู่ละแวกนี้

น่าเสียดายมาก เขาย้ายตลาดไปที่ใหม่ใหญ่ขึ้น
ทำให้ที่นี่ เป็นตลาดมืด ขายอาหารสุกเฉพาะตอนเย็น มีแค่ 5-6 ร้าน
คนมาขายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ไม่ค่อยมีคนซื้อ จึงไม่มาขายอีก...

ตลาดนี้ จึงเงียบเหงา เกือบร้าง


บ้านเรือน สถาปัตยกรรม ถนนหนทาง ในเมืองสิง
++ บ้านไม้ใหญ่ๆ ขวามือ รูปกลาง เป็น "เรือนพญาเซกอง" ประวัติว่า สร้างตั้งแต่ ค.ศ.1400
++ ที่เมืองสิง สามเณรขี่จักรยานกันจีวรว่อน...


เดินเล่น รัศมี 2 กม. จะเห็นบ้านรูปแบบต่างๆ


บ้านไตลื้อ ไทดำ


บรรยากาศเมืองสิง
รวมถึง ป้อมปราการยุคฝรั่งเศส (ขวามือบน)


แถว เรือนพญาเซกอง ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นพิพิทธภัณฑ์ชนเผ่า...


วัดเชียงใจ
จากข้อมูลที่อ่านเจอ ว่าอายุมากกว่า 500 ปี
แต่ที่วัดไม่มีใครทราบประวัติ...

เป็นวัดลื้อ น่าจะยุคเดียวกับเรือนพญาเซกอง....


หน้าจั่ว เป็นแบบไตลื้อแท้ๆ
มีอุโบสถ ที่มีนาคสีฟ้า เขาปิดไม่ให้ผู้หญิงเข้า
เอาไว้ให้พระสงฆ์ สามเณร (สาธุ และจัว) สวดมนต์ในวันขึ้นและแรม 15 ค่ำ


กับ สิงห์...ในวัดเชียงใจ


วัดเชียงอิน... ไม่ได้เข้าไปในวิหาร
วัดนี้อยู่ใกล้ๆ คิวรถ และตลาด
ชอบกุฏิพระ...


เด็กหนุ่มชาวอาข่า หรือ ก้อ (คนไตลื้อเรียก)
กำลังคอยให้คนมาจ้างไปทำนา ช่วงนี้ ที่เมืองสิงเป็นฤดูเก็บเกี่ยว


ไฮไลท์ของทุกๆ ทริป คือการไปตลาดเช้า
ละลานตา...ทั้งพืชผักสดๆ ผู้คน เสื้อผ้าสีสันสดใส


บรรยากาศของการจับจ่าย


สังเกตพวกเขาว่า เป็นชนเผ่าใด
ได้จาก ทรงผม เครื่องประดับผม เสื้อผ้า และกระบุง


สีสันตลาดเช้าเมืองสิง


เครื่องจักสานชนิดต่างๆ ทำจากไม้ไผ่และหวาย


ขนม และผลไม้
ซ้ายมือสุด เป็นข้าวเม่า
ขวามือสุด เป็นข้าวฟืน หรือข้าวแลงฟืน


พาหนะชนิดต่างๆ ที่นำพาผู้คนมาตลาด


เด็กๆ ที่เมืองสิง


ระหว่างเดินเล่น จะไปบ้านไทดำ บ้านแลนแตน ระยะทาง 3 กม.
มาได้ 2 กิโลแล้ว


++ ชาวโลโล พูดภาษาโลโล และภาษาจีนกลาง เป็นหลัก
พูดลาวได้บ้าง
++ เสื้อผ้าที่ใส่ต้องนั่งเย็บมือ ใช้เวลาเยอะมาก
บางคนเปรี้ยวๆ ก็ใส่เสื้อยืดนุ่งยีนส์แล้ว แต่เป็นส่วนน้อย
ผู้หญิงคนนี้ (ซ้ายล่าง) อายุ 44 แล้ว แต่มันส์ดี...
++ พวกเขาเปรยเชิงบ่น ว่า ใครๆ ก็มาถ่ายรูป แล้วไม่เคยเอามาให้เลย
งวดนี้ คงต้องหาทางส่งรูปกลับไป...


ผู้หญิงโลโลรูปกลาง หน้าตาเหมือนคนแถวทิเบต ป่ะ?


ครัวไตลื้อ ของครอบครัวที่ไปพักอยู่ด้วย
ครัว เป็นแบบครัวในเรือน
ใช้ฟืนเป็นหลัก การปรุงอาหารใช้เกลือ ไม่ใช้น้ำปลาและซีอิ๊ว


++ บนซ้าย ข้าวฟืน ไม่ได้กิน เพราะเขาปรุงด้วย น้ำผักดอง และถั่วเน่าปรุงรสเป็นน้ำๆ (เคยกินครั้งหนึ่งที่หลวงพระบางแล้ว แสลง)
++ ซ้ายล่าง เป็น น้ำหนัง หรือ หนังควบ เป็นอาหารไตลื้อพื้นบ้านโบราณ
เวลาเอามาปิ้ง มันจะพองกรอบ


ฤดูเก็บเกี่ยว
ครอบครัวนี้ ก็ต้องไปนา "เฮ็ดนา"


ขอสารภาพว่า แต่ก่อนพอเห็นกองฟางอยู่ในนา
ก็นึกว่า เป็นแค่กองฟาง ที่เขาตีข้าวเก็บข้าวเปลือกไปแล้วเท่านั้น
ไม่คิดว่า จะมีรวงข้าวอยู่ที่กองฟางนั้นด้วย....


พักที่เมืองสิง 4 คืน จากนั้น ก็กลับมาทางตัวแขวง "หลวงน้ำทา" ค้างอีก 2 คืน...

หลวงน้ำทา...ที่ผู้คนมักใช้เป็นทางผ่านจากลาว ไปเชียงรุ่ง




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2552    
Last Update : 26 ตุลาคม 2552 19:56:21 น.
Counter : 6507 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

Minie'
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 54 คน [?]




รู้โลกเรียนธรรม

Friends' blogs
[Add Minie''s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.