ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนห้า
เพียงเก้าเดือนที่ถูกจองจำ..ฮิตเล่อร์ก็ได้รับอิสรภาพในสองวันก่อนวันคริสต์มาส ปี 1924 และหลังจากนั้นไม่กี่วัน เขาก็ขอเข้าพบกับหัวหน้ารัฐบาลบาวาเรีย หรือ.. จะพูดให้ถูกนั่นคือเขาเข้าพบเพื่อขอความกรุณาต่อใบอนุญาตการดำเนินงานของพรรคและของหนังสือพิมพ์ต่อไป.. โดยให้สัญญาว่าจะทำตัวดีๆ ไม่สร้างปัญหา ไม่ด่ารัฐบาล.. อ้ะ..เป็นอันว่าสัญญาเป็นมั่นเป็นเหมาะอย่างนั้น..คนกันเองก็หยวนๆกันไป.. ฮิตเลอ่ร์ได้รับการอนุญาตในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และได้จัดประชุมสมาชิกพรรคทันทีในวันที่ 27 คือวันรุ่งขึ้นต่อมา..คนเข้ามาชุมนุมกันกว่า สี่พันคน.. ฮิตเล่อร์ห่างร้างเวทีไปซะนาน มาคราวนี้ เกิดอาการบ้าน้ำลาย สัญยิง สัญญาอะไรที่ให้ไว้กะใครก็ลืมหมด..ตั้งต้นด่ากราดตามฟอร์ม.. ผลคือ..โดนแบนไปอีกสองปี..ในฐานะ ไม่รู้จักเข็ดหลาบ !! เผอิญว่าในช่วงนั้น..คือ ช่วงที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเมือง Ruhr อันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเยอรมัน จนเป็นเหตุให้ฮิตเล่อร์(และคณะอื่นๆด้วย) ทำการปฏิวัติจนต้องเข้าคุกนั้น.. สิ่งที่ตามมาคือ ยุคข้าวยากหมากแพง เพราะรัฐบาลไวมาร์แก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ ภาวะเงินเฟ้อแบบชนิดที่ว่าจะไปซื้อตั๋วรถไฟใบเดียวต้องเอาเงินขนใส่ท้ายรถบรรทุกแบบสุมท่วมหลังคา ผู้คนจึงหันมาใช้วิธีการแลกเปลี่ยนแทน (คือวิธี Barter) อยากได้อะไรก็เอาของไปแลกเอา เพราะค่าของเงินนั้นไม่มีความหมายอะไร ขนมปังก้อนละสิบล้านมาร์คยังเงี้ย.. โชคยังดีที่..เยอรมันได้คนดีศรีเบอร์ลิน คือนาย Gustav Stresemann รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ที่ยอมรับแผนการแก้เงินเฟ้อของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Charles G. Dawes เพราะ Gustav ได้มองเห็นวิธี ดำเนินการอย่างทะลุปรุโปร่ง ว่านี่คือทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง(อย่างน้อยก็ชั่วคราว) Gustav Stresemann เขานำนโยบายนี้เข้าเสนอต่อฝ่ายสัมพันธมิตรที่กรุงเจนีวา เพื่อขอปรับลดหย่อนค่าปฏิกรรมสงครามจากพันล้านมาร์คต่อปี ลดมาเป็น ห้าสิบล้านมาร์ค และขอรับเงินกู้จากอเมริกาจำนวน 200 ล้านยูเอสดอลล่าร์ เพื่อที่จะนำมาเป็นทุนสำรองในการพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาใช้ใหม่ และทำนุบำรุงซ่อมสร้างโรงงานต่างๆ เพื่อเพิ่มผลการผลิต ประชาชนได้มีงานทำและเพิ่มการส่งออกซึ่งเป็นที่ตกลงยินยอม ด้วยกันทุกฝ่าย..อันส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และในช่วงสั้นๆที่นาย Gustav ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของรัฐบาลผสมบริหารงานร่วมกับรัฐบาลไวมาร์ (หลายๆประเทศในยุโรปมักมีรัฐบาลผสม อันเป็นเรื่องปรกติ)เขาสามารถแก้ปัญหาในภาวะวิกฤตินั้นจากหนักให้เป็นเบาในหลายๆเรื่อง เช่น..โดยการเจรจาออมชอมจนเป็นที่ตกลงในเรื่องฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมือง Ruhr และ เข้าแก้ไขสถานะการณ์โดยการจัดการบริหารรัฐบาลของบาวาเรียเสียใหม่หลังจากที่คณะกบฏโรงเบียร์ของฮิตเล่อร์ได้ทำเละเทะไว้.. ที่สำคัญคือ..แก้ใขปัญหาปากและท้องของประชาชนได้สำเร็จ นับว่าเขาได้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศอย่างเหลือคณานับ (นาย Gustav Stresemann ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 1926 ) ชีวิตของฮิตเล่อร์ในช่วงนี้นั้นถือว่าสุขสบาย เพราะทุกอย่างถูกแบนไปหมด(จนถึง 1927) เลยได้พักผ่อนเต็มที่ เขาใช้เวลาไปเที่ยวชนบทบริเวณชายแดนใกล้บ้านเกิด (หมายถึงออสเตรีย) และที่สุดโปรดนั่นคือ หมู่บ้านเล็กๆ Berchtesgaden (ในรัฐบาวาเรีย) แต่มันก็เป็นช่วงปีที่เขาได้พบกับเพื่อนใหม่หลากหลายที่พากันมาร่วมชตากรรมในภายหลัง แต่ขอเอ่ยถึงเพื่อนคนสำคัญคนนี้ก่อน คือ Putzi หรือ Ernst Hanfstaengl เพราะคนคนนี้อยู่ใกล้ชิดกับฮิตเล่อร์รวมทั้งรู้จักกับคนวงในคนอื่นๆของเขาเกือบทุกคนและมีชีวิตรอดออกมาเขียนหนังสือให้พวกเราได้รู้จักฮิตเล่อร์ในด้านอื่นๆได้ดีขึ้น เคยเล่าไปคร่าวๆแล้ว..ถึง Putzi นี่ แต่มาขยายตรงนี้ละกัน..ว่า เขาคือไฮโซ ตัวจริงในยุคนั้นทีเดียว เพราะครอบครัวของเขาคือเชื้อสายผู้ดีเก่ายูโรเปี้ยนมาช้านาน อีกทั้งโยงใยกันไปหมด เหมือนๆกับผู้ดีไทยนั่นแหละ ธุรกิจของพวกเขานั้นคือ การเป็นตัวแทนตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนภาพศิลป รวมไปถึง สิ่งตีพิมพ์ และวัตถุโบราณของดีของแท้ต่างๆด้วย (ขอให้เข้าใจว่า.ในยุคสมัยที่ยุโรปเต็มไปด้วยกษัตริย์และราชวงค์ต่างๆนั้น .คนที่จะทำธุรกิจตรงนี้ได้ ต้องเป็นคนมีระดับ ตระกูลไฮโซอันเป็นที่ยอมรับ) ตัวนาย Putzi นี่ก็เป็นคุณหนูแบบมีคุณภาพ คือ จบการศึกษาจาก Harvard ในขณะที่ครอบครัวได้ไปเปิดกิจการที่อเมริกา ตัวเขากลับมาดูแลสาขากิจการที่เยอรมันบ้านเกิด มาพบและชื่นชอบคารมของ ฮิตเล่อร์ ในปี 1922 จนพาตัวเข้ามาคลุกคลีกลายเป็นทั้งเพื่อนและพี่เลี้ยงส่วนตัวในด้านมารยาทสังคม ที่สำคัญ นั่นคือ เขาเป็นนักเล่นเปียนโนที่มีความสามารถ โดยเฉพาะเพลงของวาคเน่อร์ ที่ฮิตเล่อร์แสนหลงไหล !! นอกจากจะเป็นเพื่อนไปไหนมาไหนด้วยแล้ว นาย Putzi คนนี้ยังเป็นนายทุนสนับสนุนเงินช่วยพรรคยามเดือดร้อนอีกด้วย ในครั้งหนึ่ง..หนังสือพิมพ์ของพรรคที่ฮิตเล่อร์บริหารอยู่นั้น (ก่อนถูกปิดไป) พิมพ์ออกมาได้อาทิตย์ละสองหนเพราะขาดทุนหมุนเวียน Putzi ได้ออกทุนให้ซื้อเครื่องพิมพ์แบบใหม่ระบบโรตารี่ให้เป็นจำนวนสองเครื่อง จนสามารถพิมพ์ออกมาจำหน่ายได้ทุกวัน เขาทั้งสองกลายเป็นแขกประจำบ้านของกันและกันไป..แต่นั่นหมายถึงฮิตเล่อร์กลายเป็นแขกของครอบครัว Putzi ได้ทุกเมื่อ Helene ตัวภรรยานั้น เป็นสาวงาม ผมบลอนด์ มีรูปร่างสง่างาม ท่าทางคล่องแคล่วไปด้วยมารยาทสังคมที่ถูกฝึกปรือมาดีเยี่ยม เขาทั้งสองมีลูกชายเล็กๆคนหนึ่ง(ในตอนนั้น) ชื่อว่า Egon ที่ติดฮิตเล่อร์แจ.. แต่ยามที่อีกฝ่ายจะไปหาฮิตเล่อร์ ก็ไปได้แต่ห้องโถงรับรองชั้นล่างของอพาร์ตเม้นท์โทรมๆที่ฮิตเล่อร์ได้เช่าห้องพักอาศัยอยู่ชั้นสอง อย่างน้อยในห้องโถงนั่น ก็มีเปียนโนอยู่หลังหนึ่ง ที่ Putzi มักใช้เป็นที่บรรเลงเพื่อเป็นการบันเทิงของบรรดาประชาชนชาวแฟลต ซึ่งตัวคุณหนู Putzi เคยเปรยๆว่า เพราะพื้นที่ปูไปด้วยกระเบื้องยางเฮงซวยนั่นทำให้เสียงไม่เพราะเท่าที่ควร หลายต่อหลายครั้งที่ฮิตเล่อร์ได้ให้เขาเล่าถึงการเมืองในอเมริกา..และมักฟังไม่ได้ศัพท์ชอบจับเอาไปกระเดียด กล่าวคือ ฮิตเล่อร์ต้องการเชื่อในสิ่งที่ตัวเองเชื่อเท่านั้น อย่างเรื่อง Henry Ford ที่เขียนหนังสือโจมตียิว..ฮิตเล่อร์ก็อยากจะเชื่อแต่แค่นั้นว่า ดูดิ..นายเฮนรี่ ฟอร์ด ยังคิดเหมือนกันกะเขาเลย หากแต่ไม่เคยสนใจที่จะรู้สักนิด ว่าชื่อเสียงความสำเร็จทางด้านอุตสาหกรรมวิศวะเครื่องยนตร์ของ Henry Ford นั้นก้องโลกเพียงไร หรือ..เรื่องขบวนการ KKK {Ku Klux Klan} ที่ได้ระบาดในอเมริกาถึงเรื่องการเหยียดหยามสีผิวของคนบางกลุ่มอันเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจฟังเป็นพิเศษ Putzi เคยลงทุนที่จะเสนอตัวสอนภาษาอังกฤษให้แก่ฮิตเล่อร์แบบตัวต่อตัว เพียงวันละสองชั่วโมง..เพื่อที่จะได้สามารถอ่านข่าวสารของชาวบ้านชาวเมืองเขาได้มั่ง แต่..ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใย ด้วยเหตุผลเดียวกับที่เขาอ้างแบบเด็กๆในยามที่ Putzi พยายามที่จะให้เขาออกไปสังคมกับคนระดับ William Bayarn Hale เพื่อนร่วมชั้นเรียนของประธานาธิบดี วิลสัน (ศิษย์เก่าฮาร์วาร์ด) ซึ่งในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าฝ่ายข่าวทั่วภาคพื้นยุโรปของหนังสือพิมพ์ Hearst หรือ Prince Henckel-Donnersmarck หรือ อภิมหาเศรษฐีผู้ทรงอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจของยุโรปคนอื่นๆก็ตาม ฮิตเล่อร์อ้างว่า.."ก็ไอ้คนพวกนั้น มันจะมีปัญญาคิดอะไรด๊ายย..เวลาคุยกันมันก็คงเซ็งกันเองมั๊ง..ถึงอยากได้คนอย่างเราไปร่วมวงด้วยไงล่ะ ป๊าดธ่อ..ไปให้โง่น่ะดิ..ถ้าพวกมันอยากคุยกะเรานักก็ให้มันมาจอยกลุ่มเราซิ แต่จะให้เราไปร่วมนั้น..ไม่มีทาง เชอะ!!!" ในวันหนึ่งขณะที่ Putzi นั่งบรรเลงเพลงอยู่บนเปียนโนในบ้านของ Heinrich Hoffman ช่างภาพประจำตัวของฮิตเล่อร์นั้น การสนทนาได้มาถึงการแต่งเพลงให้ท่วงของดนตรีที่จะนำมาใช้ในการปลุกใจ Putzi จึงเล่นเพลงเชียร์กีฬาทำนอง กระตุ้นเร้าใจประจำมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดให้ฟัง ในช่วงที่ว่า Harvard fight ! fight ! fight ! หรือ Rah ! Rah ! Rah ! นั้น ประทับใจฮิตเล่อร์มาก ถึงกับลุกขึ้นยืน และเดินก้าวเท้า ขยับไม้ขยับมือ เหมือนกับตัวเองเป็น ผู้เชิญคทานำหน้าริ้วขบวน หรือที่เมืองไทยนิยมใช้ทับศัพท์กันนักว่า ดรัมเมเย่อร์ Putzi ได้เริ่มมาสังเกตถึงความผิดปรกติบางประการของฮิตเล่อร์ในครั้งแรกก็เมื่อคืนวันคริสต์มาสที่เขาเพิ่งออกมาจากคุกหมาดๆว่า..เขาเป็นคนประหลาดที่เกลียดการจุมพิต หรือการสัมผัสรัดรึงอย่างที่สุด เพราะในวันนั้น เขาและเฮเลนได้เชิญฮิตเล่อร์ให้มาฉลองเทศกาลที่แฟลตที่พัก ครั้งแรก ฮิตเล่อร์ปฏิเสธ แต่หลังจากที่โดนขอร้องหนักๆเข้า เขาบอกว่า งั้นจะมา..แต่จะอยู่แค่ครึ่งชั่วโมงนะ !! แล้วเขาก็มาตามนัด บรรดาแขกสาวๆกำลังสนุกสนานกัน ใครคนหนึ่งในกลุ่มได้ดึงตัวเขาไปยืนใต้กิ่ง mistletoe พร้อมทั้งยื่นปากไปจูบเขาจิ๊ดนึง แค่นั้นแหละ..เหมือนโลกทะลาย ฮิตเล่อร์ยืนนิ่งขึง ริมฝีมากเม้มเข้าหากันแน่น ประหนึ่งกำลังสะกดโทสะไว้อย่างเต็มกำลัง ซึ่งทั้ง Putzi และ Hoffman ได้พยายามทำเป็นเรื่องขบขันเข้าไกล่เกลี่ยสถานะการณ์ แต่ ฮิตเล่อร์บอกลาทุกคนอย่างเสียไม่ได้ก่อนที่จะหันหลังกลับแทบในทันที เรื่องนี้ได้มีการบันทึกไว้ ในสมัยที่เขายังเด็กๆ แม่ของเขา Klara ได้ใช้วิธีนี้ปลุกเขาให้ตื่นจากการนอนอย่างขี้เซา โดยการเรียกพอลล่าน้องสาว ให้ขึ้นไปจูบพี่ฮิตเล่อร์ แค่นั้นแหละ เขาจะรีบกระโดดลุกขึ้นจากที่นอนราวกับติดสปริง แต่ครั้งหนึ่ง..ไม่นานจากนั้น ฮิตเล่อร์มีโอกาสอยู่กับเฮเลนภรรยาของ Putzi ตามลำพัง ขณะที่เธอนั่งเล่นอยู่บนโซฟา เขาเดินเข้าไปคุกเข่าลงตรงหน้า ซบศรีษะลงไปแทบตักเฮเลน พร้อมทั้งพูดว่า "ผมอยากให้มีใครสักคนมาดูแลผมบ้างจัง" เฮเลนจึงถามเขาไปว่า.. ทำไมคุณไม่คิดหาใครมาแต่งงานสักคนล่ะ ? ฮิตเล่อร์ตอบหน้าตาเฉยว่า.."นอกจากประเทศชาติแล้ว..ผมไม่สามารถรักใครได้อีก" การที่ฮิตเล่อร์เริ่มพูดจาออกประสาทๆเช่นนี้ เพราะกลไกเบื้องหลังของเขาคนหนึ่งคือ Alfred Rosenbergบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Voelkischer Beobacher ที่ฮิตเล่อร์ได้มอบอำนาจให้ดูแลแทนในช่วงที่เขามี"ธุระ"ต้องไปติดคุกนั้น นาย Alfred คนนี้ มีความสามารถในด้านการ โปรปะกันดาอย่างยอดเยี่ยมโดยเฉพาะเรื่องชักนิยายเกี่ยวกับว่า ในโลกนี้มีอยู่แต่สองเผ่าพันธ์ที่ต้องเป็นอริกันไปจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง เผ่าพันธ์แรกคือ แอเรี่ยน {Aryan} ที่มากด้วยบารมี ดีเลิศประเสริฐศรี สืบเชื้อสายมาครั้งแต่ครั้งโรมันก่อนคริสต์ศักราช อีกเผ่าหนึ่งคือ ยิว ที่เลือดเนื้อของชนเผ่านี้เต็มไปด้วยความชั่วร้าย ไปที่ไหนเดือดร้อนที่นั่น และยิวได้พยายามทุกอย่างที่จะล้มล้างฝ่ายตรงข้ามให้หมดไปจากโลก ฮิตเล่อร์ขานรับนิทานเรื่องนี้อย่างหมดใจ นาย Alfred ได้กลายเป็นผู้วางแผนกำจัดยิวทางด้านทฤษฎีอย่างเต็มตัว (ในปี 1940 ฮิตเล่อร์มีโครงการที่จะสร้าง University of Nazism เพื่อการศึกษาของยุวชนนาซี และได้เตรียมให้นาย Alfred รั้งตำแหน่งอธิการบดี) จากที่ฮิตเล่อร์เคยพูดปาวๆว่าเบื่อพวกไฮโซหัวสูง..แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็ได้ถอยเมอซิเดส-เบ๊นซสีแดงคันใหม่ออกมาเฉิดฉายไปทั่วเมือง มิหนำซ้ำ..ยังไปสร้างสาขาใหม่ที่ Berchtesgaden สถานที่ตากอากาศทิวทัศน์เทือกเขาแอลป์แสนสวยสุดเลิฟอีกด้วย {ในขณะที่เจ้าหนี้อย่าง Putzi ยังอาศัยอยู่แฟลตและไปไหนมาไหนด้วยจักรยานคู่ชีพ} และที่ร้านขายของเล็กๆในหมู่บ้านของเบอร์ทเทสกาเตน ตรงข้ามกับบังกาโลที่พักของฮิตเล่อร์ มีสาวสวยสองพี่น้องทำงานอยู่ในนั้น Anni ผู้พี่ กับ Mitzi ผู้น้อง คนหลังนั้นได้สวยสะดุดตาฮิตเล่อร์ เขาถึงกับเปิดประตูเข้าไปทักทายและแนะนำตัวเอง จนต่อมา เขาได้เชิญ Mitzi ไปดูคอนเสิร์ต แต่ Anni ผู้พี่สาวไม่อนุญาตให้ไป เนื่องจากอายุของคนทั้งสองต่างกว่ากันถึง 20ปี แต่ฮิตเล่อร์ก็ไม่ลดละ ในไม่กี่วันต่อมาเขาจึงเชิญทั้งพี่ทั้งน้องให้ไปร่วมฟังการประชุมในพรรค จนเขาสามารถพาสาวงามออกเดทได้ในเวลาต่อมา.. จากปากคำของ Mitzi เธอเล่าว่า..ฮิตเล่อร์มักพาเธอไปเดินที่ปาร์ค หรือนั่งเจ๊าะแจ๊ะตามร้านกาแฟ.. มีครั้งหนึ่งขณะที่เดินเล่นเลียบทะเลสาบ เขาบีบไหล่เธอค่อนข้างแรงและบอกว่า...อยากกอดเธอเหลือเกิน จากนั้น..เมื่อเธอเริ่มพูดถึงแผนการในอนาคตที่จะไปอยู่ร่วมกัน ฮิตเล่อร์มักบ่ายเบี่ยงในทำนองว่า ที่มิวนิคมีห้องเช่าเยอะแยะ ถ้าอยากไปละก้อจะจัดหาให้ !! และเขาเองก็พยายามพาตัวไปคบค้ากับพวกที่เขาเคยบอกว่าเกลียดนักเกลียดหนา ถึงกับยอมเป็นข้าทาสรับใช้ คนคนนั้นคือ Winifred Wagner ลูกสะใภ้ของ Richard Wagner นักดนตรีผู้ทรงพลังแห่งศตวรรษ Siegfried และ Winifred Winifred เป็นภรรยาของ Siegfried Wagner ลูกชายคนหนึ่งของริชาร์ด ที่มีอายุต่างกับสามีถึง 28 ปี สาเหตุที่ แต่งงานกันเพราะแม่สามี Cosima เป็นคนจัดแจงเจ้ากี้เจ้าการให้ เพราะเบื่อในพฤติกรรมลักเพศของลูกชายคนนี้ เสียเหลือเกิน เธอเชื่อว่า หากว่าหาเมียเด็กๆให้ อาจจะหายจากการเลี้ยงต้อยเด็กหนุ่มซะที.. และ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ.....หายจริงๆฮ่ะ.. วิธีนี้ใครจะนำไปใช้ก็ไม่ว่ากันนะฮะ เพราะ Winifred มีลูกติดๆกับแบบหัวปีท้ายปีเรียงเป็นเถาปิ่นโต คือ Wieland 1917-1966 Friedelinde 1918-1991 Wolfgang 1919 Verena 1920 เพราะความหลงไหลในเสียงเพลงของวาคเน่อร์มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ทำให้ฮิตเล่อร์มีความรู้สึกว่าครอบครัวนี้คือส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ Putzi ก็ได้แนะนำให้ฮิตเล่อร์เริ่มเข้าสังคมแบบถูกต้องคือ ต้องหัดเต้นรำบ้าง.. แต่ก็ถูกตอกกลับมาว่า......การเต้นรำไม่ใช่เรื่องของ(ว่าที่)ผู้นำระดับประเทศที่จะต้องมาใส่ใจปฏิบัติ ศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดอย่าง Putzi มีหรือจะยอม..เขาตอกกลับคืนไปหนึ่งดอกว่า.. "คุณอย่าลืมซิว่า..ทั้ง พระเจ้าเฟรดเดอริคมหาราช (ที่รวบรวมอาณาจักรปรัสเซียเข้าด้วยกันสำเร็จ) และ นโปเลียนมหาราช ล้วนแล้วแต่เป็นนักเต้นรำที่สวยงามนะ" ฮิตเล่อร์เองหรือจะยอมจำนน.. สบัดหน้าพรืดดด..กระแทกคืนอย่างข้างๆคูๆว่า "ก็คงเป็นเพราะไอ้เวียนนาวอลทซ์ นี่ละม๊างงง..เกลียดนักเชียว เต้นรำกันจนประเทศชาติ ล่มจม ยังไม่รู้สึกสำนึกในกะลาหัว เชอะ !!" พูดถึง Winifred นี่ก็เล่าให้จบเสียเลย เดี๋ยวจะลืมกลับมาย้อนทีหลัง.. ครอบครัววาคเน่อร์นี้ได้จัดมหกรรมดนตรีที่ ยิ่งใหญ่ทุกปีที่เมือง Bayreuth อันเรียกว่า The Bayreuth Festival อันเปรียบเสมือนการการเถลิงเกียรติของเพลงทั้งหมดของวาคเน่อร์ พอหลังจากที่ Cosima และ Seigfried ได้ถึงแก่กรรมไปในปี 1930 ทุกอย่างก็ตกเป็นของเธอแต่ผู้เดียว ก็พอดีกับเป็นช่วงรุ่งโรจน์ชัชวาลย์ของพรรคนาซีพอดี๊.. ฮิตเล่อร์ได้โอบอุ้มเทศกาลนี้อย่างเต็มที่เมื่อตอนที่เขามีสิทธิที่จะทำได้..ทั้งยกให้เป็นงานระดับชาติ ปลอดเรื่องภาษี และเรื่องเงินสนับสนุน อีกทั้งเหล่าบรรดาลูกๆของ Winifred ต่างล้วนอยู่ดีกินดี เนรมิตสิ่งใดได้ดังใจ พอหลังสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้น รายการคิดบัญชีกลับคืนก็มาเป็นหางว่าว เธอถูกสั่งคัดชื่อออกจากกรรมการของมหกรรม แต่ลูกๆของเธอยังอยู่ในคณะกรรมการบริหารที่ต้องห้ามแม่ตัวเองเข้าและเหยียบย่างเข้ามาในบริเวณงาน ถึงแม้ว่าจะเป็น วาคเน่อร์คนหนึ่งก็ตาม ตามมติเสียงส่วนใหญ่ และเธอได้ให้สัมภาษณ์ในปี 1975 ว่า "ไม่เคยเสียใจที่ได้รู้จักและสนิทสนมกับฮิตเล่อร์ มันเป็นประสบการณ์ที่ดีและมิตรภาพที่ประทับใจ" ฮิตเล่อร์มีรายได้หลายทาง จากการที่เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ของพรรค จากหนังสือ Mein Kampf บ้าง และจากค่าผ่านประตูอีกตั้งบานเบิก แต่ก็ยังไม่วายโกงภาษี เพราะหลังจากที่สรรพากรสำรวจย้อนหลัง ก็เจอเข้าเต็มๆ ว่ามีการงุบงิบไม่น้อย ก็เลยมีการไล่เบี้ยว่า เบ๊นซ์นี้ท่านได้แต่ใดมา.. คำตอบก็คือ ก็กู้แบ๊งค์มาซื้อในนามของพรรคน่ะซิ สองหมื่นกว่ามาร์คเชียว และ มีรายจ่ายที่แสดงคือ ค่าจ้างคนขับเดือนละ 200 มาร์ค และเลขาส่วนตัวคือ นาย Rudolf Hess เดือนละ 300 พอมีเบ๊นซ์ฉุยฉายเข้า ฮิตเลอร์ก็เช่าบ้านพักตากอากาศถาวรที่ Berchtesgaden ค่าเช่าเดือนละ 100 มาร์ค ที่เขาไปตามพี่สาวต่างมารดาคือ เอนเจล่า พร้อมทั้งลูกสาวสองคนมาช่วยอยู่ดูแลเฝ้าบ้าน ตอนนั้น เจลิ ลูกสาวคนโตของเอนเจล่า อายุ 20 กำลังเป็นสาวสะพรั่ง ท่าทางขี้เล่น สนุกสนาน ซึ่งสร้างความเพลิดเพลินให้กับน้าชายอย่างฮิตเล่อร์ยิ่งนัก จน ใครต่อใครมักเห็นสองน้าหลานหัวเราะต่อกระซิกนั่งรถกินลมไปปิคนิคกันเป็นประจำ พอตกในปีต่อมา คือ 1929 ฮิตเล่อร์ได้ใช้ชีวิตสมฐานะนักการเมืองใหญ่ โดยการเช่าตึกหรูทั้งฟลอร์ ที่มีอยู่ทั้งหมดเก้าห้องเป็นที่อยู่อาศัย และแน่นอน..ห้องที่อยู่ติดกันกับเขาคือ ห้องของหลานสาวสุดที่รัก เจลิ !! ในช่วงนี้ชีวิตทางการเมืองของเขาเป็นไปอย่างราบเรียบ เพราะยังอยู่ในระหว่างห้ามการปราศรัย ฉะนั้น..เขาจึงมอบอำนาจทางด้านนี้ให้แก่สองพี่น้องตระกูล Strasser คือ Gregor และ Otto ที่มีความสามารถในหลายๆด้าน และเป็นผู้นำพรรคนาซีทางด้านใต้ของรัฐบาวาเรีย Gregor เป็นคนหนึ่งที่สามารถทาบรัศมีของฮิตเล่อร์ได้ในทุกๆด้าน อีกทั้งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ทั้งรายวันและ รายปักษ์ เพียงแต่ความคิดอ่านทางด้านการเมืองออกจะแตกต่างกันไปคนละทาง เพราะเขามีแนวไปทางมาร์คซิสต์เล็กๆ..ในด้านการบริหารที่ดินให้เป็นสัดเป็นส่วน หมายถึง เอามาแบ่งปันทำกินให้ทั่วถึง แต่ทางฮิตเล่อร์ กลับสนับสนุนผู้ลงทุน และอยากสงวนที่ดินของราชวงค์ให้ยังอยู่อย่างเดิม..นี่คือที่มาของการแตกแยกในภายหลัง.. Gregor มีบรรณาธิการที่มีความสามารถอยู่คนหนึ่งจัดว่าเป็นมือขวาในการบริหารงานทีเดียว..ชื่อว่า Paul Josef Goebbels ที่มีดีกรีถึงปริญญาเอกอักษรศาสตร์ นายเกิบเบิลส์ เป็นชายร่างเล็กที่มีขาพิการลีบเล็กข้างหนึ่งแต่กำเนิด ซึ่งเป็นเหตุให้เขารับราชการทหารไม่ได้ แต่ความสามารถในด้านการเขียนและด้านโปรปะกันดาอย่างไม่เป็นรองใคร (มีเด็กนักเรียนเข้ามาอ่าน ขอให้เข้าใจว่า Propaganda ภาษาอังกฤษออกเสียงว่า พร็อพพะกันดะ แต่ได้มาแปลงเป็นสำเนียงไทยๆและเป็นที่เข้าใจอย่างกว้างขวางว่า โปรปะกันดา อันหมายถึงการโฆษณาชวนเชื่อรวมไปถึงโครงสร้างอื่นๆในการโน้มน้าวจิตใจคน) Paul Josef Goebbels เพราะการแตกแยกในด้านความคิดเห็นระหว่าง Gregor และ ฮิตเล่อร์นี้ ในเรื่องการแบ่งสรรที่ดินจึงเป็นที่มาของ การประชุมความเห็นของพรรคที่ Hanover วันนั้น..ฮิตเล่อร์ได้ส่งตัวแทนไปประชุม นามว่า นาย Feder ซึ่งการประชุมได้มีการโต้แย้งกันอย่างถึงพริกถึงขิง จนเข้าขั้นบันดาลโทสะ นายเกิบเบิลส์เลขาคนสนิทของ Gregor ฉุนขาด ถึงกับลุกขึ้นยืนพร้อมทั้งกล่าวบริภาษเจ้าของความคิดที่ตรงข้าม (คือ ฮิตเล่อร์) และยังประกาศต่อไปว่า..ขอสนับสนุนการไล่นายฮิตเล่อร์ออกไปจากพรรค !! ข่าวมาถึงหูของฮิตเล่อร์ เขาจึงขอจัดการโต้วาทีกับนาย Gregor ถึงเรื่องนี้ ที่เมือง Bamberg และ ฮิตเล่อร์ฉลาดพอที่ไม่เลือกให้เป็นวันอาทิตย์ เพราะ พรรคพวกของฝ่ายตรงข้ามจะแห่กันมาไม่ได้ ฉะนั้น คนที่มาคือคู่กรณีล้วนๆ นั่นคือ Gregor และ Goebbels กับผู้ติดตามอีกไม่มากนัก สรุปว่า การโต้แย้งที่ดำเนินไปแทบทั้งวันนั้น ฮิตเล่อร์ชนะขาดลอย..และเสน่หาพาทีของเขานั้น ทำให้นายเกิบเบิลส์ถึงกับเคลิ้มไคล้ไหลหลงเปลี่ยนใจมาเลื่อมใสศรัทธาอย่างหมดใจ ถึงกับกลับมาเขียนบรรยายว่า "ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองจะคิดผิดไปถึงขนาดนี้ ฮิตเล่อร์ โอ.. ฮิตเล่อร์คนเดียวคือคำตอบทั้งหมดในการกอบกู้เยอรมันให้กลับมาเป็นหนึ่ง" และเพราะเหตุนี้..ฮิตเล่อร์จึงดำเนินการเลื่อนตำแหน่งให้เกิบเบิลส์ โดยมอบตำแหน่งหัวหน้าสาขาพรรคที่สาขาเบอร์ลินให้อย่างทันควัน ไม่ต้องปงต้องเป็นมันแล้ว..บรรณาธิการต๊อกต๋อยนั่นน่ะ !! เพราะการทำเช่นนี้เท่ากับตัดแขนขาของ Gregor แถมมิหนำซ้ำฮิตเล่อร์ยังเสี้ยมสอนให้นายเกิบเบิลส์คอยสอดแนมดูความเคลื่อนไหวของอดีตนายเก่าแล้วเอามารายงานให้ถ้วนถี่ด้วยต่างหาก เนื่องจากปัญหาที่ฮิตเล่อร์ถูกห้ามปราศรัย และในฐานะที่เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายโปรปะกันดา จะมานั่งเฉยๆก็คงไม่ได้ ฉะนั้น..เกิบเบิลส์จึงถูกเลือกให้ทำหน้าที่แทนในช่วงปี 1925-1927 ปัญหาต่อไปของฮิตเล่อร์นั่นก็คือ หน่วย SA ที่ล้วนแล้วแต่เป็นที่ชุมนุมของพวกทหารผ่านศึก และ อดีตหน่วยเสรีเยอรมันซึ่งพวกนี้ไม่สนใจเรื่องการเมือง ไม่มีวินัยวันวันได้แต่เมาเหล้าหยำเป เขาจึงเอือมระอากับพวกนี้เสียจริงๆเลยตัดปัญหาด้วยการตั้งหน่วยองครักษ์ขึ้นมาใหม่ ในนามของ หน่วย SS ที่อยู่ในเครื่องแบบสีดำที่ดูน่าเกรงขาม ซึ่งต่างกับสีน้ำตาลของ SA และเขาได้เลือกให้ Heinrich Himmler มาเป็นผู้ดูแล โดยเรียกมาสดๆซิงๆจากฟาร์มเลี้ยงไก่บ้านนอกที่ฮิมม์เล่อรได้หลบไปอยู่ตั้งแต่ปฏิวัติคราวที่แล้ว ปูมหลังของฮิมม์เล่อร์นั้นคือนักการเกษตร แต่ได้ลองพยายามไปหากินทางนี้แล้ว.. ผลคือ เจ๊งหมด เลยต้องมาพึ่งใบบุญพรรคนาซีอีกตามเดิม (เบื้องหลังจริงๆแล้ว..ฮิมม์เล่อร์ก็คือลูกน้องเก่าของ Gregor อีกเช่นกัน) พอปี 1928 Goring ได้รับนิรโทษกรรมกลับคืนสู่เยอรมันอย่างสง่าภาคภูมิ และพอดีกับการเลือกตั้งที่พรรคนาซีได้รับเลือกให้เข้าร่วมรัฐบาล ฉะนั้น..เพื่อเป็นการตอบแทนรางวัลในการที่ได้ร่วมเป็นร่วมตายกันมา ทั้งเกอริงและ เกิบเบิลส์ได้เข้าไปนั่งในสภาตามบัญชีรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ของพรรค 12 คน ยกเว้น ฮิตเล่อร์ เพราะเขาไม่ได้ถือสัญชาติเยอรมัน หรือสัญชาติใดๆทั้งสิ้น เนื่องจาก เขาขอลาออกจากการเป็นสัญชาติออสเตรียนเรียบร้อยไปเมื่อ 1925 และยังติดเรื่องคดีอยู่จึงขอสัญชาติเยอรมันยังไม่ได้เช่นกัน.. ฉะนั้น..เขาจึงเป็นได้แค่ "สส.หลังฉาก" ก็เท่านั้น ฮิตเล่อร์จึงได้แต่คอยโอกาสที่จะกลับมาเป็นของเขา เพราะ เขาพอคาดประมาณการณ์ได้ว่า เยอรมันในยุคตื่นตัวได้เพราะเงินกู้จากสารพัดประเทศเพียงเพื่อเอามาใช้หนี้..มันจะต้องล่มลงอีกในไม่นาน เขาสังหรณ์อะไรนั้น..มันมักไม่ค่อยพลาดซะด้วยซิ !! และสิ่งที่ได้คาดคิดไว้ก็ปรากฏขึ้นมาจริงๆ.. นั่นคือ เศรษฐกิจทั่วโลกล่มพร้อมๆกับ สต๊อคที่อเมริกาดิ่งลงเหวในปี 1929 เล่นเอาเยอรมันพลอยกระทบไปด้วย..แต่แล้วก็มีผู้เชี่ยวชาญในการแก้ใขปัญหาชาวอเมริกัน (อีกนั่นแหละ) ที่มาช่วยกู้สถานะการณ์ไว้ได้ เขาคนนั้นคือ นายธนาคาร Owen D.Young โดยจัดการวางแผนการจ่ายหนี้ของเยอรมันเสียใหม่ ยืดไปอีก 59 ปี (ข่าวว่า..เงินจากธนาคารของเขาแทบทั้งหมดคือเงินฝากของพวกยิว) Owen D.Young คราวนี้ นาย Gustav Stresemann คนดีศรีเบอร์ลินไม่มีโอกาสได้อยู่ช่วยเหลือ เพราะเขาได้เสียชีวิตไปซะก่อนในเดือน ตุลาคมนั่นเอง ฮิตเล่อร์ได้ทีในวิกฤติคราวนี้..ถือโอกาสเปิดรายการตีรัฐบาลไวมาร์ยับเยิน เขาพร้อมทั้งพรรคพวกเริ่มการเปิดประชุมครั้งยิ่งใหญ่ที่ Nuremberg ในเดือนสิงหาคม ที่มีคนเข้าร่วมฟังกว่า หกหมื่นคน และครั้งนี้ คือการประกาศศักดิ์ศรีของความเป็นผู้นำของฮิตเล่อร์อย่างแท้จริง.. เสียง Heil Hitler ! ดังกระหึ่มไปทั่วเมือง พร้อมทั้งแขนที่ยกขึ้นมาตั้งตรงไปข้างหน้าแสดงความเคารพโดยพร้อมเพรียงอย่างมิได้นัดหมาย และจากรายได้ตรงนี้ ฮิตเล่อร์ได้ซื้อวังเก่า Barlow บนถนน Brienner เอามาดัดแปลงใหม่เป็นสำนักงานของพรรค โดยเรียกว่า The Brown House โดยตกแต่งด้วยภาพของพระเจ้าเฟรดเดอริคมหาราชตรงกลางห้องโถงรับแขก
Create Date : 05 มีนาคม 2548 |
Last Update : 12 กรกฎาคม 2556 4:47:36 น. |
|
22 comments
|
Counter : 2678 Pageviews. |
|
|
|
เผอิญว่าในช่วงนั้น..คือ ช่วงที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเมือง Ruhr อันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเยอรมัน
จนเป็นเหตุให้ฮิตเล่อร์(และคณะอื่นๆด้วย) ทำการปฏิวัติจนต้องเข้าคุกนั้น..
สิ่งที่ตามมาคือ ยุคข้าวยากหมากแพง เพราะรัฐบาลไวมาร์แก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ ภาวะเงินเฟ้อแบบชนิดที่ว่าจะไปซื้อตั๋วรถไฟใบเดียวต้องเอาเงินขนใส่ท้ายรถบรรทุกแบบสุมท่วมหลังคา
ผู้คนจึงหันมาใช้วิธีการแลกเปลี่ยนแทน
(คือวิธี Barter) อยากได้อะไรก็เอาของไปแลกเอา เพราะค่าของเงินนั้นไม่มีความหมายอะไร ขนมปังก้อนละสิบล้านมาร์คยังเงี้ย..
โชคยังดีที่..เยอรมันได้คนดีศรีเบอร์ลิน คือนาย Gustav Stresemann รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ที่ยอมรับแผนการแก้เงินเฟ้อของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Charles G. Dawes เพราะ Gustav ได้มองเห็นวิธี
ดำเนินการอย่างทะลุปรุโปร่ง ว่านี่คือทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง(อย่างน้อยก็ชั่วคราว)
เขานำนโยบายนี้เข้าเสนอต่อฝ่ายสัมพันธมิตรที่กรุงเจนีวา เพื่อขอปรับลดหย่อนค่าปฏิกรรมสงครามจากพันล้านมาร์คต่อปี ลดมาเป็น ห้าสิบล้านมาร์ค และขอรับเงินกู้จากอเมริกาจำนวน 200 ล้านยูเอสดอลล่าร์ เพื่อที่จะนำ
มาเป็นทุนสำรองในการพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาใช้ใหม่ และทำนุบำรุงซ่อมสร้างโรงงานต่างๆ เพื่อเพิ่มผลการผลิต
ประชาชนได้มีงานทำและเพิ่มการส่งออกซึ่งเป็นที่ตกลงยินยอม ด้วยกันทุกฝ่าย..อันส่งผลให้เศรษฐกิจภายใน
ประเทศได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
และในช่วงสั้นๆที่นาย Gustav ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของรัฐบาลผสมบริหารงานร่วมกับรัฐบาลไวมาร์ (หลายๆประเทศในยุโรปมักมีรัฐบาลผสม อันเป็นเรื่องปรกติ)เขาสามารถแก้ปัญหาในภาวะวิกฤตินั้นจากหนักให้เป็นเบา
ในหลายๆเรื่อง
เช่น..โดยการเจรจาออมชอมจนเป็นที่ตกลงในเรื่องฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมือง Ruhr และ เข้าแก้ไขสถานะการณ์
โดยการจัดการบริหารรัฐบาลของบาวาเรียเสียใหม่หลังจากที่คณะกบฏโรงเบียร์ของฮิตเล่อร์ได้ทำเละเทะไว้..
ที่สำคัญคือ..แก้ใขปัญหาปากและท้องของประชาชนได้สำเร็จ
นับว่าเขาได้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศอย่างเหลือคณานับ
(นาย Gustav Stresemann ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 1926 )