ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบหก
เสียงนกหวีดจากสตาลินได้ดังปี๊ดดดด..ขึ้นมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน และ เสียงปืนใหญ่ถล่มมายังทางฝ่ายจุดอ่อนของเยอรมันตามคาด คือแนวของพวกกองทัพต่างชาติ โรเมเนียน ที่อยู่ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของสตาลินกราด แม่ทัพ von Kluge ก็เตรียมพร้อมรับมือกับยมทูต.. แม่ ทัพเคิร์ท ได้ติดต่อขอกำลังจากกองทัพหนุน H (ดูในแผนที่) อันเป็นกองทัพหนุนกองเดียวที่มี แต่ตอนที่ติดต่อไปนั้น ฮิตเล่อร์ ไม่ได้อยู่ในศูนย์ กำลังเดินทางไปยังมิวนิค โดยขบวนรถไฟด่วน กับแม่ทัพไกเทล และแม่ทัพ โจด์ล เขาไม่มีทางเลือกใดๆนอกจากต้องโทรศัพท์เข้าไปยังตู้โบกี้ด่วนตู้นั้น..อัน เป็นกฏห้องห้าม แต่ในที่สุด เขาก็ได้รับอนุมัติให้เรียกกองทัพหนุน H เข้ามาช่วยเสริม แต่กว่าจะเดินทางมาถึง..แนวของโรเมเนียนก็แตกร่นไม่เป็นขบวน แม่ ทัพเคิร์ท..ได้ติดต่อรายงานการศึกให้ฮิตเล่อร์รู้ทุกชั่วโมง..และได้ขอให้ ฮิตเล่อร์ส่งกำลังกองทัพที่หก ที่ตั้งมั่นอยู่ในสตาลินกราดให้เข้ามาเสริมกำลังในแนวจุดอ่อนนี่ แต่ฮิตเล่อร์กลับเห็นว่า แค่กำลังกองหนุน H ก็น่าจะเอาอยู่ ..อย่างน้อยก็ชะลอการบุกของรัสเซียไว้ได้ นายพลเคิร์ท..ตอบว่า ฝันไปเหอะท่านครับ..เราต้องการกองทัพอีกหลายกอง กำลังพลมากมายมหาศาลที่จะยันทัพของรัสเซียไว้ได้ ทันทีที่ได้ฟังคำตอบ ฮิตเล่อร์ก็เกิดบันดาลโทสะ จนระงับไม่อยู่ ด่ากระจาย...เรียงตัวนายพลตั้งแต่ยศใหญ่จนถึงยศเล็กสุด นาย พลเคิร์ท อ่อนใจอย่างสุดๆ หันไปดูรายงาน พบว่า กำลังของรัสเซียไปบุกเข้ามาแบบปิดกั้นไม่อยู่ กองทัพหนุน H ก็แหลกราบไปก่อนที่จะได้สู้รบเสียด้วยซ้ำ ฤดูหนาวที่หฤโหด ก็ยิ่งเลวร้ายไปกว่าเดิม พายุหิมะได้ทับโถมเข้ามาจนถนนทั้งหมดถูกปิดกั้นไปด้วยน้ำแข็ง นาย พลเคิร์ท ได้โทรศัพท์ติดต่อรายงานเจ้านายอีกครั้ง เพื่อที่จะบอกว่า กำลังหนุนที่ส่งมานั้น ย่อยสลายไปเรียบร้อยแล้ว..และ ขอให้ส่งกองทัพที่หกมาช่วยด่วน เพราะยังพอมีเวลา..และ ช่องทางเข้ามา แต่ฮิตเล่อร์ บอก..ไม่มีทาง.. ฮิตเล่อร์ได้สั่งให้รถไฟหยุดขบวน และ กลับหลังหันมายังฝั่งตะวันออกโดยด่วน พร้อมทั้งแม่ทัพคู่ใจสองคน..แม่ทัพเคิร์ท บอกว่า งั้นก็ดี จะได้มาช่วยๆกันคิดหน่อย แต่ ฮิตเล่อร์ได้บอกเขาว่า..พรุ่งนี้หลังเที่ยง ค่อยมาพบนะ.. แม่ ทัพ เคิร์ท ได้ยินก็แทบสติแตก เพราะ ทหารทุกคนกำลังอยู่ในความเป็นความตายกลางสมรภูมิรบ..แต่เจ้านายทำท่าเหมือน กับกำลังเล่นจ้ำจี้กันอยู่หรือไงฟะ !! เขาตัดสินใจไปรอพบที่ขบวนรถไฟ..ตามกำหนดที่จะถึงคือ เที่ยงคืนคืนนั้น.. ฮิตเล่อร์ไม่ค่อยชอบใจนัก แต่ก็ต้อนรับตามระเบียบ แม่ ทัพเคิร์ท ได้นำแผนที่มารายงานให้ทราบ และ ย้ำว่า กองทัพที่หกนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่งั้น กองทัพเยอรมันจะตกอยู่ในวงล้อมอย่างไม่ต้องสงสัย.. ฮิตเล่อร์ ส่ายหน้าอย่างอิดหนาระอาใจ เพราะ เขาคิดว่า พวกนายพลนี่มันช่างไม่ได้เรื่อง ทำงานไม่เป็น กระต่ายตื่นตูม ขี้ขลาด ใจปลาซิว.. แต่ก็เอาเถอะ จะส่งทหารจากคอเคซัส มาให้สักหนึ่งกองทัพ.. แม่ทัพก็โวยว่า..จาบ้าเร๊อะ..กว่าจะเดินทางมาถึงนี่ก็สองอาทิตย์..ไม่มีเวลาแล้ว(เฟ้ย) ฮิตเล่อร์ก็ยังเพ้อเจ้อต่อไปว่า..งั้นก็ให้สองกองทัพจากคอเคซัส เอาป่ะ? แม่ทัพ..ก็ว๊ากต่อไปเช่นกันว่า..เราคอยไม่ได้อีกแล้ว..เรื่องนี้ต้องจัดการด่วน ..ไม่งั้นก็อิ๊บอ๋ายกันหมด เข้าจัยยยมั๊ยยย และ ท่านต้องสั่งทหารทั้งหมดในแนวรอบนอกของสตาลินกราด ให้หันมาอุดทางด้านนี้โดยด่วน..ไม่งั้นถ้าเราถูกล้อมละก้อ..คงไม่เหลือรอด??? ฮิตเล่อร์ ก็สติแตกไปตามระเบียบ ทุบโต๊ะปังๆ เข้าข่ายชักดิ้นชักงอทีเดียว..ยังคงปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือแบบไม่มีเยื่อใย แม่ทัพเคิร์ท กลับไปยังกองทัพและเข้านอนในคืนนั้น เตรียมตัวรับข่าวร้ายในวันรุ่งขึ้น.. วัน ที่ 20 พฤศจิกายน รัสเซีย ส่งกำลังบุกเป็นครั้งที่สอง คราวนี้มาทางด้านทิศใต้ของสตาลินกราด ครั้งนี้ กองทัพที่หกที่ฮิตเล่อร์หวงนักหวงหนาก็ได้ตกอยู่ในวงล้อมตามความคาดหมาย (ของ แม่ทัพเคิร์ท) และ แสนยานุภาพของรัสเซียนั้น ใหญ่หลวงนัก ไม่มีกองทัพใดจะทานกำลังกองทัพรถถังของสตาลินได้ .. ในที่สุด กองทัพเยอรมันก็ตกอยู่ในสถานะการคับขัน.. ฮิตเล่อร์..พอได้รับข่าวก็โวยกับแม่ทัพไกเทลลั่น..สั่งว่า.. "ไปจิกตัวไอ้พวกผู้พัน ผู้การ...ส่งมันเข้าคุกไป และ ถอดยศมันซะด้วย..เลี้ยงมันไว้ก็เสียขนมปัง !!" แม่ทัพไกเทล..พยายามบอกเจ้านายว่า อนุญาติให้กองทัพที่หกตีฝ่าด่านออกมาข้างนอกเถอะ เพราะอย่างไรนั้นก็ยังพอมีทางรอด.. แต่ฮิตเล่อร์ไม่ฟังเสียงท่าเดียว วันที่ 22 สามวันหลังที่สตาลินเป่านกหวีด..แม่ทัพพอลลัส แม่ทัพของกองทัพที่หก ได้รับโทรเลขส่งข่าวจากแม่ทัพไกเทลที่อยู่ข้างนอกว่าว่า..กองทัพของเขาได้ถูกปิดล้อมไว้หมดแล้ว เตรียมรอรับศึกของรัสเซียไว้ได้เลย..ส่วนกองทัพข้างนอกจะพยายามตีฝ่าเข้าไปช่วย.. แต่ รัสเซีย..มาในมาดใหม่ในคราวนี้ คือ ไม่จู่โจม..แต่ตั้งหลักไม่ให้ทัพจากภายนอกเข้ามาในสตาลินกราด เท่ากับว่า กองทัพที่หกอยู่ในวงล้อมที่มืดมิด ฮิตเล่อร์ยังอุตส่าห์คิดโปรเจคใหม่ขึ้นมาได้อีก นั้นคือ ประกาศตั้งสตาลินกราดที่อยู่ในความควบคุมของกองทัพที่หกยามนั้น ว่า..ค่ายรบสตาลินกราด และเปลี่ยนชื่อกองทัพที่หก ให้ใหม่ว่า.. กองทัพกล้าตายแห่งสตาลินกราด.. เพื่อเป็นการประกาศศักดิ์ศรี ให้แก่ชาวโลก และ ชาวเยอรมัน ให้ซาบซึ้งถึงความกล้าหาญของทหารเยอรมันที่อยู่ในวงล้อมนั้น วงล้อมที่หมายถึง ระยะรัศมี 25 ไมล์ โดยรอบตะวันตก ตะวันออก 12 ไมล์ โดยรอบ เหนือและใต้ ข้างใน มีทหารกว่าสามแสนคน การติดต่อภายนอกนั้นทำได้อยู่สองทาง คือ วิทยุและ ทางเครื่องบินส่งกำลังบำรุง ส่วนกองทัพเยอรมันข้างนอก..ทุกคนคอยคำสั่งของฮิตเล่อร์ที่จะให้กองทัพนั้นหักด่านออกมา แต่..ฮิตเล่อร์ ก็ยังดื้อสนิท..ทำหูทวนลมไม่รู้..ไม่ชี้เช่นเดิม.....!!
อยากจะมาเล่าย้อนหลังไปหน่อยถึงเรื่องของท่านรอมเมลมั่ง หากจะเล่าแต่รัสเซีย เดี๋ยวคนอ่านจะเซ็งแย่ คนเล่ายังเซ็งเล๊ยยย เรื่อง สงครามทางด้านอาฟริกาเหนือนี่นะ คือเวทีของการงัดข้อของเหล่าแม่ทัพของสัมพันธมิตร อันเป็นที่มาของเรื่องที่น่าขันชวนหมั่นใส้ที่เมธาวดีรับปากว่าจะนำมาเล่า สู่กันฟัง แต่..จะโรยพื้นฐานไว้ให้ เพื่อว่ามาอ่านต่อยอดทีหลังแล้วจะเข้าใจเด่นชัด ต้องขอเล่าย้อนถึงความสำคัญในการสู้รบชิงชัยชนะของสงครามโลกครั้งที่สองนี้ ที่สำคัญมากขนาดเรียกว่าเป็นการ"ชิงดำ"กันก็ว่าได้..และเป็นที่รู้จักกันอย่างทั่วไปของชื่อเสียงของแม่ทัพคนสำคัญระดับ"สุดยอด" ของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ผู้บัญชาการ รอมเมล (ฝั่งอักษะ) ผู้โดดเดี่ยว แต่ก็พอมีกองทัพเสริมแบบสะเปะสะปะจากอิตาลี กับ ผู้บัญชาการ มอนตี้ (มอนต์คอมเมอรี่) ของฝั่ง สพม. พร้อมทั้งผู้ช่วยตามมากลุ้มรุมอีกนับไม่ถ้วน... แน่นอนค่ะ..เรากำลังพูดถึงสงครามฝั่งอาฟริกาเหนือ ที่้เราเรียกว่า..ยุทธการแห่งทุ่งทะเลทราย เอล อะลาเมน..(The Battle of El Alamein 1942) ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนว่า เอล อะลาเมนนั้น..คือ..ผืนทะเลทรายที่กว้างขวางใหญ่โตที่อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโร ประมาณ 150 ไมล์ที่ผู้ที่สามารถควบคุมในเขตนี้ได้ หมายถึงการควบคุมการเดินเรือในคลองสุเอซ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการบล๊อคการเดินเรือของอังกฤษแบบแช่แข็ง และ เป็นการปิดประตูตีแมว ที่หมายถึงว่าอังกฤษไม่สามารถย่นระยะทางในการส่งกำลังบำรุงได้อีกต่อไป..หรือถ้าจะต้องทำ..หมายถึงว่าจะต้องเดินทางอ้อมทวีปอาฟริกาไปทางใต้ที่จะเป็นการยืดระยะทางไปอีกหลายพันไมล์ และเท่ากับว่าจะไปเป็นเหยื่อให้กับเรืออูของเยอรมันที่เฝ้าคอยสอยอยู่...(ดูแผนที่) แน่นอนว่า แม่ทัพที่จะต้องมาคุมในส่วนนี้ ต้องเป็นระดับหัวกระทิที่สุดเทียมทาน..ฮิตเล่อร์ได้ท่านผบ. เออร์วิน รอมเมล..มานำทัพ..ที่เรียกว่า Afrika Korps ทางอังกฤษ..เริ่มแรกทีเดียว..เชอร์ชิลล์ได้เลือกผบ.โคลด โอชิเลค ( Claude Auchinleck) แต่..ในที่สุดก็ต้องถอดออกจากตำแหน่งแบบฟ้าผ่า เพราะเชอร์ชิลล์ได้เห็นแล้วว่า สิ่งที่แตกต่างระหว่าง โอชิเลค กับ รอมเมล นั้นคือ "บารมี" หมายถึง รอมเมลนั้นเป็นที่รักและน่ายำเกรงในหมู่ทหารด้วยกันทั้งน้อยใหญ่..สั่งลุยที่ไหน ทหารยองทำตามแบบถวายหัว...ส่วนโอชิเลคนั้น..ไม่มีเครดิตเท่ากับรอมเมลในส่วนนี้..ดังนั้นการสู้รบในสงครามทะเลทรายที่ต้องการความ"ใจสู้" และ "ความสุดยอดของการทรหดอดทน" ของทหารนั้น..แม่ทัพจะต้องเป็นที่ยอมรับด้วยหัวจิตหัวใจ.. ดังนั้น..ตำแหน่งนี้จึงตกไปอยู่กับ แม่ทัพ เบอร์นาร์ด มอนคอมเมอร์รี่...หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "มอนตี้" ภาพ....Rommel studying maps during the battle at El Alamein ภาพ เชิญดูการรบตามแผนที่เอนิเมชั่นค่ะ... //www.bbc.co.uk/history/interactive/animations/wwtwo_map_n_africa/index_embed.shtml ยุทธการ El Alamein คือความหวังเฮือกสุดท้ายของเยอรมันในการที่จะมีชัยเหนือสพม. หลังจากที่ย่ำแย่มาจากเวที บริเตน และ สตาลินกราด เพราะถ้าเข้าครอบครองส่วนนี้ได้ หมายถึงปิดประตูคลองสุเอซ.. เข้ายึดประเทศในกลุ่มเมติเตอเรเนียน..อีกทั้งขยายปีกเข้าไปคุมบ่อน้ำมันในตะวันออกกลางทั้งหมด.. ในการสู้รบครั้งนี้..รอมเมลได้วางแพลนในการโจมตีไว้ว่าจะเริ่มจากทิศใต้ขึ้นไป..(อันเป็นความถนัดของกองทัพเยอรมันที่จะล่อไล่ข้าศึกให้ไปตกทะเล) ซึ่งกลเม็ดนี้..ผบ.มอนตี้..ได้ทราบล่วงหน้าแล้ว..ทั้งจากการคาดเดาในอุปนิสัยรวมไปถึงการมี"ตัวช่วย" จากเครื่องถอดรหัสอีนิกม่า..ที่ส่งมาให้รายวันจาก Bletchley Park อีกทั้ง ทางสพม.ได้ทำการประเมินแล้วว่า..การส่งกำลังบำรุงของเยอรมันนั้น..ไม่เพียงพอต่อการนำทัพแบบสายฟ้าแลบของรอมเมลอย่างแน่นอน เพราะมีการตั้งทัพสกัดอย่างหนาแน่นจากประเทศภาคีสงครามอื่นๆ.. ในปี 1942 เสบียงได้ส่งถึงรอมเมลเพียงแต่ 33% จากจำนวนที่ต้องการทั้งหมด..ซึ่งนับว่าเข้าข่ายแร้นแค้นเลยทีเดียว ดังนั้น..สิ่งเดียวที่รอมเมลต้องทำให้ได้..นั่นคือ "ต้องชนะ" และคุมคลองสุเอซให้ได้เร็วที่สุดเท่านั้น...(ก่อนที่จะอดตาย..) ฝ่ายมอนตี้..ก็ใจเย็น..รอให้ทางอีกฝั่งหนึ่งล้าและอดอยากไปก่อน จึงชอบที่จะเล่นเจ้าล่อเอาเถิดไปวันๆ..พอให้มีการปะทะบ้างประปราย... ซึ่งท่านแม่ทัพกองพลรถถัง รอมเมล ให้มีอาการโคตะระเซ็ง เพราะการขาดตอนของการส่งกำลังบำรุงและเสบียง ซึ่ง ส่วนใหญ่จะได้รับจากทางอากาศมั่ง เรือดำน้ำมั่ง เรือพิฆาตมั่ง นานน๊านนทีจะได้รับเต็มที่จากเรือบรรทุกสัมภาระ ถ้ามันเกิดเหลือรอดผ่านตาฝูงบินมือระเบิดของ RAF เข้ามาได้ ซึ่งน้อยครั้งเสียเหลือเกิน แต่ ทางฝ่ายสพม. อเมริกาส่งอาวุธและเสบียงมาเป็นคันรถไฟทั้งวันทั้งคืน สนับสนุนกองกำลังของอังกฤษอย่างอิ่มหมีพีมัน โดยตรงขึ้นที่ท่าเมืองมอร๊อคโค และอัลจีเรีย ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 1942 เป็นต้นมา และอเมริกาไม่ได้ส่งมาแค่เสบียงข้างของเครื่องใช้ หากแต่ เป็นกำลังพลที่มีความสามารถในชื่อว่า The Desert Rats พร้อมอาวุธที่มันสมัยนานาชนิด เจ้าหนูทะเลทราย นี้คือ หน่วยผสมระหว่าง ทหารอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาฟริกาใต้ อินเดีย การ สู้รบและการทำงานของหน่วยนี้ คือการทำงานใต้พื้นดินจริงๆ..เป็นการขุดอุโมงค์ยาว เพราะจากประสบการณ์ที่ได้ปะทะกับฝูงบิน Stukas และ ME-110 ของแม่ทัพ Kesselring ที่โปรยระเบิดควบคุมพื้นที่ในการสู้รบของอาฟริกาเหนือในช่วงของสงครามระยะ แรกๆนั้น..อีกทั้งการไล่รุกของแม่ทัพรอมเมลที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ราวกับกองทัพปีศาจนั้น ทำให้ หน่วยหนูทะเลทรายต้องใช้วิธีทำงาน"ใต้ดิน" (มีเป็นภาพยนตร์ออกมาฉาย ในชื่อ The Desert Rats นี่แหละ) กอง ทัพนี้ ไม่มีหน่วยทหารอเมริกันเข้ามร่วมด้วย จะว่าไปแล้ว ทหารจีไอ.. ไม่ได้เป็นที่นิยมชมชื่นนักในหมู่สพม.ด้วยกัน เนื่องจาก(เขาว่า) ยะโส ซุ่มซ่าม เซ่อซ่า หากแต่ ในสงครามครั้งนี้ อเมริกาเข้ามาร่วมด้วยโดยที่ประธานาธิบดี รูสเวลส์ได้ตั้งข้อแม้ว่า อเมริกาจะเป็นหัวหน้าผู้นำทัพ และ การตัดสินใจต้องขึ้นอยู่กับแม่ทัพ ไอเซ่นฮาวร์ แต่ผู้เดียว เชอร์ชิลล์จำต้องยอมรับข้อแม้นี้อย่างไม่มีเงื่อนใข ทั้งๆที่ในใจขมขื่นเต็มทน Eisenhower-Montgomery-Bradley.jpg ข้อ แม้นั้น ไม่ใช่มาจากทิฐิของรูสเวลต์เพียงคนเดียว หากแต่มันเป็น ศักดิ์ศรีแห่งความทรนงของอเมริกันชนทั้งประเทศ จากประวัติศาสตร์สงครามกลางเมือง(กับอังกฤษ)และการปฏิวัติครั้งใหญ่ ในปี 1812 นั้นมา การเข้ามาร่วมของอเมริกา ไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้กับรอมเมล..เพราะเขาได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ามา แล้ว..ว่ามันต้องลงเอยแบบนี้ เขาได้พยายามที่จะบอกกับศูนย์ปฏิบัติการที่รัสเตนเบอร์ค ที่ทุกครั้งเขาก็ได้รับแต่เสียงเย้ยหยันมาจากท่านผู้นำ และคู่หู เกอริง..ที่เสียดสีประชดประชันไปถึงความไม่เอาไหนของหน่วยรบอเมริกัน (อย่าว่าแต่เกอริงเลยที่คิดอย่างนี้ นายทหารระดับสูงของอังกฤษก็คิดเหมือนกัน อันเป็นสาเหตุของการทำงานที่ขัดแย้ง แถมท่านแม่ทัพแพตตันก็แสนจะขวานผ่าซาก โอย..ดูไม่จืด) แต่.. คนที่เดือดร้อนจริงๆนั่นก็คือ แม่ทัพรอมเมล เพราะศึกเข้ามาประชิดทั้งขวาทั้งซ้าย ตะวันออก เจอกับอังกฤษ ตะวันตกเจอกับอเมริกา ขนาดเขาต้องส่งข่าวไปบอกฮิตเล่อร์ว่า การสู้รบที่อาฟริกาเหนือนี่ ถือว่าจบสิ้น เพราะมองไม่เห็นทางชนะ(พฤศจิกายน 1942) แต่ฮิตเล่อร์ก็ได้บอกมาแต่ประโยคเด็ดที่ซ้ำซากว่า..บู๊ตของเยอรมันได้ย่างก้าวไปที่ไหน มันต้องคงติดหนึบอยู่ที่นั่น.. การ ส่งทัพของอเมริกานั้น..ขึ้นตรงเลยที่ พื้นที่ในอาณานิคมของฝรั่งเศสแบบไม่เกรงใจเยอรมันเลยสักนิด แถมยังเป็นการท้าทายแบบเปิดเผยซะอีก กล่าวคือ หลังจากที่ ฝรั่งเศสได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของเยอรมัน ก็ได้แบ่งเป็นสองรัฐบาล ในส่วนใต้และเขตอาณานิคมคือ ส่วนในการดูแลของรัฐบาลวิชี่ ที่ไม่ได้ถูกยึดครอง โดยนาซี หมายถึงในอาฟริกาเหนือนี่ด้วย ดังนั้น การรุกรานโดยอเมริกาในส่วนนี้นั้น ฝรั่งเศสก็ทำสบัดสะบิ้งมีการต่อสู้นิดหน่อย เพื่อเป็นพิธี เพราะยังไม่รู้ว่าสงครามครั้งนี้ จะออกหัวหรือก้อย ใครจะชนะ และเป็นการเตือนฮิตเล่อร์นัยๆด้วยว่า..ถ้ายังอยากได้ฝรั่งเศสแบบหมดจดก็ต้องมาป้องกันอาณานิคมให้ด้วย.. แต่..ฮิตเล่อร์ก็ทำเฉย..ในที่สุด สพม.ก็ได้ยึดครองส่วนนี้ไปอย่างไม่ต้องลงแรง.. ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มองเกมส์พลาดไปหนึ่งดอก นั่นก็คือ หลงลืมไปสนิท ว่า..ควรที่จะไปยึดครอง Tunisia ให้เสร็จสรรพด้วยในยามที่มีโอกาส เพราะ นั่นคือช่องเปิด ทางเดินหายใจให้ กับรอมเมล..ที่ได้รับการส่งกำลังบำรุงมาในด้านนั้น..ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1942 คือวันที่อาณานิคมฝรั่งเศสในอาฟริกาเหนือได้ยกธงขาวให้กับสพม.นั้น ทาง เยอรมันได้เคลื่อนย้ายกำลังจากฐานทัพที่เมืองเนเปิล อิตาลี เป็นการใหญ่ เพื่อที่จะมาอุดช่องโหว่ตรงตูนิเซีย..ก่อนที่ สพม.จะนึกขึ้นมาได้.. แม่ ทัพเกสเซลริง รีบระดมกำลังพลแบบเร่งด่วน ได้หน่วยอากาศโยธินที่เคยถูกลืมตั้งแต่สงครามครั้งบุก Malta (ที่ฮิตเล่อร์มองไม่เห็นความสำคัญและไม่ได้เรียกใช้) เขารวบรวมต้อนทหาร ได้เต็มเครื่องบินที่ต้องขนถึงสี่สิบกว่าเที่ยว ข้ามฟากทะเลเมดิเตอเรเนียนไปยังอาฟริกา ลงที่สนามบินของตูนิเซีย.ทหารเดินลงมาได้อย่างสบาย แบบไม่ต้องวิ่งหัวซุกหัวซุนอย่างทุกครั้ง เพราะ ทั้งสนามบินเต็มไปด้วยเครื่องบินของลุฟท์วัฟฟ์ ทั้ง สตุก้า และ ME-110 ใน อิตาลี แม่ทัพเกสเซลริง ได้ปะกับ นายพลมือขวาคนสนิทของรอมเมลเข้าพอดี เขาคือ นายพล Walter Nehring ที่เผอิญมาพักรักษาตัวเพราะบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดในโรงพยาบาลที่อิตาลี และหายแล้วพร้อมที่จะกลับไปยังฐาน แม่ทัพเกสเซลริง บอกว่า ไม่ต้องไปแล้ว ขึ้นเครื่องบินไปรบที่ตูนิเซียเลย เดี๋ยวนี้ ไปบัญชาการรบให้กับกองพลที่ 19 เนห์ริง งงเป็นไก่ตาแตก..ถามว่า "กองพลที่ 19 ที่ไหนกัน กองทัพเราไม่มีกองพลนี้ซะหน่อย" แม่ทัพก็ตอบมาว่า.."เออ..ตอนนี้มีแล๊ะ ท่านผู้นำท่านเพิ่งตั้งมาให้ใหม่" และ เมื่อนายพลเนห์ริ่ง ได้บินมาถึงตูนิเซีย ก็พบว่า กองพลที่ 19 ที่ว่านั่นก็คือ ทหารอากาศโยธินแค่หยิบมือเดียวพร้อมอุปกรณ์โดดร่มเท่าที่จำเป็น รวมทั้งทหารที่เพิ่งลงมาจากเครื่องบินที่ว่า.. รถที่นำมาให้ใช้ในการทำงานของเขา ก็คือ รถแท๊กซี่ ยี่ห้อของฝรั่งเศส เครื่องมือสื่อสารที่ต้องใช้ติดต่อ..ก็คือ ต้องพึ่งบริการขององค์การโทรศัพท์ของฝรั่งเศสอีกนั่นแหละ. Walter Nehring ภายในอาทิตย์นั้น นายพลเนห์ริ่งก็ได้ยึดครอง เมืองตูนิส และ เมืองบิซเซอร์ท ได้อย่างเรียบร้อย (เพราะไม่มีใครขวาง) เขารวบรวมกวาดต้อนผู้คนให้อยู่เป็นที่เป็นทาง พร้อมที่จะรับศึกกับอเมริกา หน่วยรบอเมริกันในเหล่ายานเกราะโยธินหน่วยแรกพยายามที่จะเข้าบุกเมืองบิซเซอร์ทภายใต้การนำขบวนของอังกฤษ อเมริกา ใช้รถถัง รุ่น M-3 Stuart {Honey} ที่มีปืนใหญ่ขนาด 37 มม.ประดับประดาไว้อยู่ พร้อมกับปืนกลหลายกระบอก แต่หลังจากการสู้รบ จึงได้รู้ว่าระบบการสั่นสะเทือนของปืนนั้น มันช่างเลวร้าย เพราะทุกครั้งที่ลั่นกระสุนออกไปห้าหกนัด ลำกล้องจะค้าง สายกระสุนจะผ่านออกไปฟรีๆโดยที่ไม่ลั่นอีกเลย.. แต่ด้วยพวกมากกว่า คราวนี้ อเมริกามีชัยเหนือเยอรมัน เพราะสามารถบุกเข้าไปทำลายฐานกองบิน และเครื่องบินได้ราบคาบ.. แต่ พอถึงวันขอบคุณพระเจ้า..เยอรมันได้เข็นรถถังรุ่นใหม่ออกมาเป็นครั้งแรก ป้ายแดงแจ๋เชียว มันคือรุ่น Mark IV ที่แข็งแรงขนาดกระสุน 37 มม. ต้องเด้งออกมา คราวนี้..ฝ่ายเยอรมันต่างรอคอยว่า..ไอ้พวกแมงเม่าอเมริกัน มันจะมาอีกเมื่อไหร่ฟะ? การ ปะทะครั้งใหญ่ครั้งแรก คือ ที่เนิน" Longstop Hill" อังกฤษเป็นคนตั้งชื่อ มันเป็นเนินที่สามารถมองลงไปเห็นพื้นที่ตูนิเซียได้โดยรอบทั้งอังกฤษและ อเมริกาใช้ช่วยกันรบเป็นสามารถ แต่ยังไม่สามารถเข้าควบคุมพื้นที่ได้ ฮิตเล่อร์สั่งให้ยึดหัวหาดไว้อย่างมั่นคง..เพราะเขาได้ตั้งนายพลขึ้นมา บัญชาการใหม่แทน นายพลเนห์ริ่ง นั่นคือ นายพล Jurgen von Arnim (ตัวแสบ จะเล่าต่อทีหลังว่าแสบยังไง) ที่ได้รับการหนับหนุนจากแม่ทัพ เกสเซลริง อย่างเต็มที่ในด้านการส่งบำรุงกำลังและเสบียง เพราะตรงจุดนี้ใกล้กับอิตาลี ในขณะที่ รอมเมล ไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไรเลย..!! Jurgen von Arnim ในที่สุดพระเอกรอมเมลของเราก็ทำใจเป็นพระอีกต่อไปไม่ไหว..วันสิ้นเดือนพฤศจิกายน เขาบินด่วนไปยังศูนย์ที่รัสเตนเบอร์ค ไม่ ใช่รีบไปรับเงินเดือนหรอกนะ แต่เขาต้องการพบและเจรจาให้แตกหักกับท่านผู้นำ ซึ่งเหตุการณ์ก็เหมียนเดิม นั่นคือ ท่านแม่ทัพเกอริงนั่งขนาบข้างแบบเกาะติด เขา ได้บอกถึงสถานะการณ์อันเลวร้ายที่ หน่วยอาฟริกาคอร์ปกำลังได้รับอยู่ แต่ก็ไม่ทันได้พูดจบ ทั้งสองคนก็รีบด่วนสรุปว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ทหารระดับผู้บังคับบัญชากองพล มันไม่สนใจ รบไม่เป็น (แบบเดิมๆที่ ทั้งฮิตเล่อร์และเกอริงไม่เคยยอมรับความผิดของตัว) โดย เฉพาะความผิดพลาดครั้งนี้ ทั้งคู่โยนให้กับรอมเมลอย่างหน้าตาเฉย..บอกว่า ก็เพราะนายนั่นแหละ ที่วิ่งหนี(ใน เอล อะลาเมน) แบบหางจุกมา ไม่งั้นเราก็ไม่แพ้ ท่านรอมเมลได้ฟังก็เกิดบันดาลโทสะขึ้นมาอย่างสุดที่จะกลั้น..เขาเถียงแบบไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมว่า " จะไม่ให้วิ่งได้งัย..ในเมื่อไม่มีน้ำมันมาส่งส่วยสักหยด จะรอให้รถถังนอนตายหง่า จอดรอให้ข้าศึกมาลากไปหรือยังไง หาาาา.????." เขาได้ตะคอกใส่หน้าคนทั้งสองต่อไปว่า "อ้อ..ไม่ใช่แค่นั้นนะ ไอ้ห่วยลุฟท์วัฟฟ์ ที่มีหน้าที่ส่งกระสุน และ ระเบิดน่ะ มันหดหัวอยู่ที่ไหน เครื่องไม่เคยผงกหัวบินฝ่าเข้ามเลยสักลำ แล้วจะให้ทำยังไง จะบอกให้เอาบุญนะว่า สงครามที่อาฟริกาน่ะ หมดหวังแล้ว จะทำอย่างไรกันตอนนี้ก็รีบๆทำกันซะ จะถอนทหารออกหรือจะปล่อยให้มันตายอยู่ที่นั่น ก็ว่ามา เพราะอเมริกากำลังจะขึ้นฝั่งอิตาลีอยู่วันสองวันนี่แล้ว" และทุกอย่างที่รอมเมลพูดออกมานั้นคือความจริง..ที่ฮิตเล่อร์รับไม่ได้ และ มันทำให้เขาเกิดโทสะ(เช่นเคย) ถึงขนาดเค้นเสียงพูดออกมาว่า " ฟังนะ ท่านแม่ทัพ เราไม่ต้องการได้ยินเรื่องไม่เป็นเรื่องอย่างนี้อีกต่อไป..หน่วยอาฟริกา เหนือจักต้องต่อสู้และป้องกันพื้นที่อย่างกล้าหาญให้เหมือนกับ กองทัพกล้าตายสตาลินกราดที่กำลังจะป้องกันเมืองอย่างถวายชีวิต กองทัพของไอเซ่นฮาวร์จะต้องถูกทำลายตั้งแต่เริ่มย่างก้าวเข้ามาในเขตของ อิตาลี เข้าจั๋ยย?" "ด๊ายยย..ย่อมด้ายยย..ถ้างั้น ก็ส่งกำลังพล รถถัง อาวุธ น้ำมัน เสบียง เครื่องบินลำเลียง มาให้ครบชุดที่ต้องการซิ..จะสู้ให้เห็นดำเห็นแดงไปเลย" รอมเมลร้องขอ แต่สิ่งที่เขาได้รับกลับไปนั่นคือ การเลื่อนตำแหน่งให้เป็น ผบ.สูงสุดแห่งกองทัพยานเกราะโยธิน เยอรมัน-อิตาลี !! รอม เมลกลับไปยังฐาน..มือเปล่าเหมือนกับตอนขาไป..เขาได้รับคำสั่งเพิ่มมาว่า หน่วยอาฟริกาคอร์ป จะต้องสู้จนถึงทหารคนสุดท้าย โดยไม่มีการรับปากว่าจะส่งกำลังสนับสนุนใดๆ ท่านแม่ทัพได้เขียนจดหมายถึง ภริยาว่า.."ตอนนี้ เรารอแต่ปาฏิหารย์บังเกิดเท่านั้น..ทุกอย่างจงขึ้นอยู่กับพระเจ้า เราจะพยายามอยู่สู้รบให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้" และเพื่อความสะใจของ ฮิตเล่อร์ในเวลาต่อมา..เขาเอาหน่วยรบที่ดีที่สุดในกองทัพของรอมเมล คือหน่วย กองพลรถถังที่ 21 ไปเสริมให้กับ หน่วยของ นายพล von Arnim !!!! เดือน มกราคม 1943 หน่วยรบของนายพล ฟอน อาร์นิม ที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกๆทางก็ได้รับชัยชนะในการปะทะกับหน่วยรบ 168 ของอเมริกัน แบบทิ้งกันไม่เห็นฝุ่น เพราะ ได้จับเชลยศึกมากกว่า 600 นาย และหลังจากที่ได้มีการสอบสวนเรียงตัว จึงได้ทราบว่า ทหารจีไอเหล่านั้น ไม่มีความรู้ในเรื่องของภูมิศาสตร์และการสงครามของภาคพื้นยุโรปแต่อย่างใด เขา ให้มารบก็รบ ทั้งๆที่ในชีวิตส่วนใหญ่ก็ไม่เคยต่อสู้กับใคร นอกจากไล่เตะกันเอง..และ. .ที่ถูกเกณฑ์มานี่ ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า รบไปเพื่ออะไร.. อีกทั้ง ซักไปซักมาก็ได้ใจความว่า..ต่างล้วนแล้วแต่ไม่ชอบหน้าทหารแนวร่วม(อังกฤษ)ของตัวเองซะด้วยซ้ำ แม่ ทัพเสืออากาศ เกสเซลริ่ง รับเขียนรายงานเรื่องนี้ขึ้นมาอย่างเป็นการด่วน ใส่สีตีใข่ให้อย่างเรียบร้อย ก่อนที่จะนำเสนอต่อฮิตเล่อร์ เพราะในฐานะที่เขาเป็นผู้บัญชาการรบในด้านอาฟริกานี่ ที่มีศึกทั้งสองด้าน ฉะนั้น..มันปลื้มหยอกอยู่ซะเมื่อไหร่ ที่รู้ว่า ด้านอเมริกานั้นมัน"หมู"กว่าที่คิดไว้ วัน ที่ 9 กุมภาพันธ์ แม่ทัพ เกสเซลริ่ง ได้เรียกสองเสือเข้ามาพบที่ฐานทัพอากาศ เมือง เรนนุซ,ตูนิเซีย นั่นคือ รอมเมล และ ฟอน อาร์นิม เพื่อสั่งงานให้เริ่มทำการบดขยี้ทัพอเมริกัน ภายในเร็ววัน เพราะในยามนี้ ฝ่ายอักษะได้ทราบแล้วว่า แม้แต่ฝรั่งเศส และ อังกฤษ ก็เดียจฉันท์จีไอ พอๆกันกับที่เยอรมันมีความรู้สึกกับทหารอิตาเลี่ยน แผน ของแม่ทัพมีว่า..ฐานของทัพอเมริกันนั้นอยู่ที่เมือง Sbeitla และ เมือง Kasserine (ใกล้กับชายแดนของอัลจีเรีย เขตของรอมเมลพอดี ดูในแผนที่) รอมเมลจึงรับผิดชอบในการไล่ขยี้มาจากทางด้านเมือง Gafsa ฟอน อาร์นิม ก็บุกทางด้านเมือง สเบตลา และต้อนทัพจีไอไปยังเขตท่าเรือ Bone ที่อัลจีเรีย.. คือพูดง่ายๆว่าต้อนให้อเมริกาออกไปจากการเป็นเสี้ยนหนามของ อาฟริกาคอร์ปนั่นแล.. ทั้งรอมเมล และ ฟอน อาร์นิม ต่างก็รู้ดีว่า ในกองทัพของตัวเองไม่มีน้ำมันพอที่จะทำงานใหญ่ระยะทางไกลเช่นนี้ นอกจากว่า ในระยะทางการสู้รบที่ว่านี่ ต้องชนะรายทางเพื่อแย่งชิงน้ำมันมาจากข้าศึกให้ได้..!! กำหนดการโจมตีตามแผน คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ อันเป็นวันแห่งความรักพอดี๊... แผนนี้ ได้รั่วไปถึงอังกฤษ เพราะรหัสอีนิคมาได้ถูกถอดข้อความอย่างเรียบร้อย..ยกเว้นตำแหน่งการเดินทัพที่แน่นอน และ วันนั้นเวลา ตีสี่ ทัพเยอรมันได้เคลื่อนบุกโจมตีตามแผน อเมริกาได้ส่งรถถัง Honey และปืนใหญ่ 37 มม.ออกมาต้อนรับ แต่ก็เจอกับ 75 และ 88 มม. ของเยอรมันเข้าไป ถึงกับหมดสภาพ อีกทั้ง แม่ทัพเกสเซลริ่งยังส่ง เมสเซอชมิทท์ มาโรยกระสุนให้กับหน่วยทหารราบจนแตกกระเจิง อเมริกา ต้องถอยหลังไปเข็น รถถังรุ่นใหญ่ออมารับมือ นั่นคือ รุ่น Sherman หากแต่ว่า รถถังรุ่นเชอร์แมนนี้ มีจุดอ่อนมากมาย เช่น ใช้น้ำมันเบนซิน (ไม่ใช่ดีเซล เหมือนกับชาวบ้าน) แถมถังน้ำมัน ดันไปอยู่ที่ท้ายเครื่อง จนเป็นที่เรียกขานขนานนามว่า Ronson ที่หมายถึง ชื่อของไฟแชีครุ่นเดอะ ที่สะกิดเบาๆที่ท้ายแล้วไฟลุกพรึ่บ.. เพราะ ข้าศึกไม่ต้องทำอะไรมาก รอยิงที่บั้นท้ายเครื่องให้ไฟลุก ก็เรียบร้อย.. ในสงครามครั้งนั้น รถถังเชอร์แมนที่ว่านี่..ถูกเผาผลาญไปนับไม่ถ้วน งาน นี้อเมริกาเสียหาย เสียหน้าแบบยับเยิน เพราะเยอรมันสามารถทะลวงมาจนถึงจุดหมายคือ Kesserine อีกทั้งตลอดทางที่ผ่านมา ตามเก็บซากของทิ้งจากจีไอได้เพียบ ตามรายการดังนี้ รถถัง 44 คัน รถบรรทุก 22 คัน ปืนใหญ่ ปืนเล็ก อีกพะเรอเกวียน รอมเมล..พร้อมที่จะตามขยี้ให้สิ้นซาก เขาจึงวิทยุไปหา ฟอน อาร์นิม ให้ส่งกำลังมาเสริมโดยด่วน..จุดนัดหมายคือ ที่ ปากทางเข้าเมืองเคสเซอรีน ทัพอเมริกันอาจจะหมูจริงอย่างที่เยอรมันคิด หากแต่อย่างหนึ่งที่เยอรมันไม่รู้ นั่นก็คือ เหล่าปืนใหญ่ของอเมริกันนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในโลก และเหล่าทหารปืนใหญ่ที่ว่านี้ ได้คอยตั้งรับอยู่ที่ปลายเนินขาลงจากทางเข้าเมืองเคสเซอรีนนี่เอง.. รอม เมล..นำทัพรุดหน้าข้ามเนินเข้าเมืองไปได้ หากแต่..ต้องมาเจอตอใหญ่ยักษ์ นั่นคือ การต้อนรับด้วยกองทัพปืนใหญ่ของอเมริกัน อีกทั้ง เหล่าทหารราบพร้อมอาวุธของ ของอังกฤษ นำโดยแม่ทัพเซอร์ เบอร์นาร์ด มอนตี ที่ตีกระหนาบมาทางด้านข้าง.. จิ้งจอกทะเลทรายอย่างรอมเมล..ก็ถอยไปอย่างไม่เป็นขบวน กลับหลังหันวิ่งแทบไม่ทัน.. และ แม่ทัพ ฟอน อาร์นิม ไม่ได้ส่งทัพมาช่วยตามที่รอมเมลได้วิทยุสั่งงานไป..ด้วยเหตุผลเดียวคือ ไม่อยากเห็นใครได้ดี(เพราะถ้าส่งไปช่วย และรอมเมลเกิดชนะขึ้นมาอีก ก็จะดังไปกันใหญ่) สองอาทิตย์ต่อมา..รอมเมลป่วยหนักจนต้องถูกส่งตัวไปเยอรมันเพื่อเข้าทำการรักษาในโรงพยาบาล แม่ทัพเกสเซลริ่งแอบสัญญากับ ฟอน อาร์นิม ว่า ถ้ายังไงรอมเมลป่วยจนกลับมาทำงานไม่ได้ ก็จะยกตำแหน่งให้เขาอย่างแน่นอน !! ฝ่ายอเมริกา เห็นท่าไม่ดี..จึงต้องรีบเปลี่ยนโผการคุมทหารใหม่อย่างเป็นการด่วน นั่นคือ การก้าวเข้ามาของ นายพล จอร์ช แพตตัน และ นายพล โอมาร์ แบรดลี่ย์ รวมทั้งพัฒนาด้านอาวุธแบบใหม่ออกมาใช้มากมาย จนเยอรมันเริ่มทานทัพไว้ไม่อยู่ ความเสียหายและสูญเสียมีมากจนฮิตเล่อร์เกิดความแหยง.. ในที่สุด เขาก็สั่งเลิกทัพในด้านอาฟริกา ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1943 แต่..ทุกอย่างก็ช้าไปซะแล้ว เพราะ ทัพของนายพลแบรดลี่ย์ และ เซอร์ มอนตี้ เข้าพร้อมกันที่ตูนิเซีย ไล่ต้อนทหารเยอรมันและอิตาเลี่ยนไปจนเกือบตก ทะเลเมดิเตอเรเนียน จับเชลยศึกได้ 150,000 คน อาฟริกาได้ถูกเปลี่ยนมือ. ช่องแคบซิซิลี ได้เปิดเป็นอิสระให้กับการเดินเรือลำเลียงสัมภาระให้กับสพม. และนั่นหมายถึง..การรบบนภาคพื้นดินในยุโรปได้กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววัน !! ทีนี้กลับมาเล่าเรื่องของสตาลินกราดนะ..สถานะการณ์ใน เมืองที่มีทหารเยอรมันร่วมสามแสนนายภายใต้การนำของแม่ทัพพอลลัสถูกปิด ล้อมอยู่ นั้นเริ่มย่ำแย่ เพราะฮิตเล่อร์ได้สั่งเสียงแข็งว่า ต้องสู้จนทหารคนสุดท้าย แถมการส่งเสบียงที่จะมาจากทางเครื่องบินนั้น แทบไม่มีหวัง.. เนื่อง จากเผอิญว่า ท่านแม่ทัพใหญ่เกอริงได้มาเยี่ยมเยือนศูนย์บัญชาการอีกครั้ง..นายพลเคิร์ ทจึงรีบเข้าประกบติดเพื่อหวังว่า เกอริงอาจจะช่วยเจรจากับท่านผู้นำให้อีกครั้ง ถึงการอนุญาติให้กองทัพที่ หกของแม่ทัพพอลลัสหักด่านฝ่าวงล้อมออกมา เพราะในขณะนั้น ทางกองทัพยังพอมีกระสุนเพียงพอที่จะทำการต่อสู้ ก่อนที่เสบียงจะหมดร่อยหรอไปเฉยๆ ตามเวลาที่ผ่านไปแต่ละวัน ฮิตเล่อร์ ได้เรียกเขาไปพบและบอกว่า "ท่านแม่ทัพเกอริงบอกเราว่า สามารถจัดส่งเสียงให้กับกองทัพที่หกได้" "ไม่มีทางขอรับ" นี่คือคำตอบจากนายพล ฮิตเล่อร์จึง"ให้หา"เกอริงให้เข้ามายืนยัน.. ทันทีที่เกอริงได้ปรากฏตัวเข้ามาในห้อง ฮิตเล่อร์จึงถามย้ำว่า "นี่ท่าน..ว่างัยล่ะ เรื่องการส่งสัมภาระและเสบียงให้ทหารใน สตาลินกราดน่ะ?" ท่านเกอริงรีบทำ"นาซีสลุต"จนใขมันที่พุงกระเพื่อมเป็นลอน..ก่อนที่จะตอบอย่างแข็งขันว่า "แน่นอน..ลุฟท์วัฟฟ์ของเราสามารถจัดการได้อย่างเรียบร้อย ขอท่านอย่าเป็นห่วง" "จะมีทางทำงั้นได้ง๊ายย.??" แม่ทัพเคิร์ทแย้งขึ้นมา "เฉยๆเหอะ..ไม่ใช่เรื่องของอ็ง อย่าสะเออะ" เกอริงหันมาเล่นงาน นายพลเคิร์ทจึงหันไปทางฮิตเล่อร์ และพูดว่า "ท่านขอรับ ขอกระผมถามข้อข้องใจกับท่านแม่ทัพเกอริงสักหน่อยนึงได้ไหม?" ฮิตเล่อร์พยักหน้าอนุญาติ เขาจึงถามเกอริงว่า "ท่านแม่ทัพ ท่านทราบหรือไม่ว่า สัมภาระและเสบียงที่ต้องส่งนั้น วันละกี่ตันถึงจะพอ?" "ไม่รู้งะ..แต่ลูกน้องมันรู้" เกอริงสบัดหางเสียงตอบ นายพลเคิร์ทจึงสอนมวยให้ โดยรายงานด้วยปากเปล่าว่า " ในต่อวัน ลุฟท์วัฟฟ์จะต้องส่งสัมภาระถึง 300 ตัน จึงจะพอเพียงแต่ความต้องการ และเนื่องจากทัศนวิสัยที่ไม่สามารถบินได้ทุกวัน จึงจำเป็นต้องเผื่อไว้โดยการส่งเพิ่มจำนวนเป็นวันละ 500 ตัน" "โอ๊ยย..เรื่องปอกกล้วย.." เกอริงตอบแบบง่ายๆ แต่นายพลเคิร์ทก็กลั้นโทสะไม่ได้แล้ว จึงกระชากเสียงตอบไปว่า "ขอให้จริงเถ๊อะ..เห็นมีแต่เหลวกลับมาละไม่ว่า" และเขาก็เดินออกมาจากห้องโดยไม่ฟังเสียงที่ไล่ตามหลัง.. เสียงวิทยุสื่อสารจากสตาลินกราดก็กระชั้นเข้ามาในทุกวัน แม่ทัพพอลลัสกำลังตกอยู่ในความลำบาก เขาร้องขอเสบียงถึงวันละ 750 ตัน นั่นหมายถึงอาหารและยารักษาโรค รวมทั้งเครื่องกันหนาว..ถ้าฮิตเล่อร์ต้องการจะให้พวกเขาอยู่สู้รบ เก อริง..ไม่เคยรู้และไม่เคยสนใจเลยว่า กองทัพอากาศของรัสเซียกำลังเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอย่างกล้าแกร่ง จนเครื่องบินลำเลียงของเยอรมันเริ่มเจออุปสรรค เพราะ สตาลินเริ่มเดินหมากรบ..(พฤศจิกายน 1942) นายพลเคิร์ท ได้จดรายงานของการส่งสัมภาระแต่ละวันตามที่ เกอริงได้รับปาก รายงานของเขาอ่านว่า..วันแรก 110 ตัน วันที่สอง 120 ตัน บางวันคือ 140 ตัน นั่นคืออย่างเก่ง.. มันแค่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของจำนวนที่ต้องการ แถมบางวัน เครื่องไม่บินซะด้วยซ้ำ.. เพียง เริ่มวันแรกของเดือนธันวาคม กองทัพที่หกของแม่ทัพพอลลัสก็เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลน..และ อดหยาก เขาจึงนำรายงานกลับไปหาท่านผู้นำอีกครั้ง แต่ก็เหมือนเดิม นั่นคือ ท่านแม่ทัพเกอริง คงนั่งเกาะติดข้างโต๊ะทำงาน พร้อมทั้งคำแก้ตัวต่างๆนาๆ.. ฮิตเล่อร์ก็หลับหูหลับตาเชื่อเหมือนกับทุกครั้ง เขาบอกกับนายพลเคิร์ทว่า... " ท่านแม่ทัพอากาศเกอริงได้ให้สัญญาว่า การบินไท....เอ๊ย ขอโทษค่ะ ลืมไป.. ลุฟท์วัฟฟ์จะดีขึ้น เพราะตอนนี้กำลังทำแผนงานใหม่ เพิ่มตารางบิน ปรับปรุงการลำเลียงใหม่ ในสองสามวันนี้แหละ เค้าให้สัญญาแล้วนะ" แต่.. กองทัพรัสเซียก็ได้บุกลึกเข้ามาทางฝั่งตะวันตกเข้าทุกที ทุกที ยึดฐานการบินของเยอรมันได้มาตลอดรายทาง..นั่นหมายถึงการลำเลียงเสบียงเริ่ม ยากขึ้น เส้นทางก็ไกลออกไปทุกที ทุกที แถม..เครื่องของลุฟท์วัฟฟ์ก็ถูกสอยร่วงลงไปไม่เว้นแต่ละวัน.. แผนปฏิบัติการ วินเทอร์ เกล {Operation Winter Gale} คือชื่อเก๋ๆสำหรับการต่อสู้กู้สตาลินกราด ที่เยอรมันจัดกองทัพขึ้นใหม่สำหรับการนี้โดยเฉพาะ ภายใต้การนำของ นายพล Herman Hoth ที่มีอาวุธใหม่ รถถังใหม่ ทหารรุ่นใหม่ นาย พลเคิร์ทรับฟังแผนการปฏิวัติงานครั้งนี้ด้วยใจห่อเหี่ยว เพราะ เขารู้ดีว่า กองทัพเยอรมันยังไม่แข็งถ้าจะเทียบกับกองทัพแดงของสตาลิน.. การเคลื่อนพล นั้นกำหนดคือ วันที่ 12 ธันวาคม อุณภูมิตำกว่าศูนย์ กองทัพรถถังของแผนพายุเหมันต์ (ตั้งให้เองง่ะ) ก็ได้เคลื่อนตัวไปยังสตาลินกราดอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 18 ธันวาคม ก็มาถึงชายเขตของเป้าหมาย ที่สตาลินกราดอยู่ห่างไปเพียง 40 ไมล์ วันที่ 19 ก็มาถึงริมแม่น้ำ Myshkoa วันที่ 20 พายุเหมันต์ก็พากันข้ามไปอย่าง่ายดาย สตาลินกราด อยู่หางไปเพียงแค่ 30 ไมล์ ใกล้เสียจนส่งสัญญาณพลุไปให้พรรคพวกที่ถูกล้อมในเมืองได้เห็นเป็นขวัญตา และ ขวัญบำรุงใจ วัน ที่ 21 ก็ใกล้เข้าไปอีกนิด แต่แล้ว กองทัพชื่อเก๋นี้ก็ต้องหยุดกึก..เบรคตัวโก่ง เพราะ ทหารเหนื่อยแทบขาดใจ อีกทั้งเส้นทางการส่งกำลังบำรุงขาดการต่อเนื่อง เพราะ หน่วยกู้ชาติชาวนาได้คอยตัดกำลังอยู่รายทางเบื้องหลัง และกว่าจะรวบรวมทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทาง กองทัพก็เสียศูนย์ของการปฏิบัติงานไปแล้วเรียบร้อย นายพลเคิร์ท ก็ยังไม่หยุดความพยายามที่ขะร้องขอให้ท่านผู้นำเปลี่ยนใจ สั่งการให้กองทัพที่หกตีฝ่าวงล้อมออกมา.. ครั้งแรก ฮิตเล่อร์ก็ออกลังเลนิดหน่อย แต่บอกว่า ขอให้รอดูความสำเร็จของกองทัพพายุเหมันต์ที่เข้าไปช่วยก่อน แต่วันที่ 22 ก็แล้ว..23 ก็แล้ว..กองทัพที่ว่านี้ หยุดกึกแหง๋แก๋ ไม่ได้เคลื่อนไปให้ไกลกว่านั้นสักฟุตเดียว ทางศูนย์บัญชาการ ก็เลยเรียกกลับหน่วย ไม่ต้องรบ..ต้องแร๊บมันแล้ว..!! เอา เป็นว่า ไม่ว่านายพลไหนๆจะพยายามบอกกับฮิตเล่อร์ว่า หน่วยกองทัพที่หกที่ถูกปิดล้อมอยู่ในสตาลินกราดนั้นจะอยู่ได้อีกเพียงสอง อาทิตย์เท่านั้น เพราะ ลุฟท์วัฟฟ์ไม่สามารถส่งส่วยให้ได้ ระยะทางมันไกลเกินกำลังของกองบิน สัญญาที่เกอริงที่ได้ให้ไว้ มันมีค่าเพียงลมปากของชายโง่ๅคนหนึ่งเท่านั้น ฮิตเล่อร์ก็ยังดื้นดันทุรัง..นายพลเคิร์ทอ่านเกมส์ของข้าศึกออกว่า.. ฝ่าย รัสเซีย..ไม่ต้องทำอะไรเลยกับสตาลินกราด แค่ปิดล้อมไว้และ ขยายวงไล่กองทัพเยอรมันให้กระเด็นห่างไกลออกไปทุกทีด้วยกองทัพที่ขนาดมหาศาล ส่วน รอบนอกของสตาลินกราด..มีกำลังเพียงส่วนน้อยไว้คอยดูแลเพียงเท่านั้น และ..มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ถ้า กองทัพที่หกจะตีฝ่าออกมาเสียตั้งแต่แรก และมาพบกับกองกำลังสนับสนุนที่ฮิตเล่อร์ส่งมา ก็น่าจะออกมาในรูปที่ไม่ยับเยินเช่นนี้. ในวันที่ 9 มกราคม รัสเซียได้ส่งนายทหารนำธงสันติเข้าไปใน สตา ลินกราด เพื่อที่จะบอกว่า ถ้ากองทัพที่หก ยอมแพ้แต่โดยดี รัสเซียก็จะไว้ชีวิต ดูแลเป็นอย่างดี จัดการส่งกลับเยอรมันอย่างปลอดภัย หรือ ใครมาจากที่ไหนก็จะส่งไปที่นั่น หมายถึง.. ภายหลังจากที่เลิกสงครามแล้ว และต้องการคำตอบภายในเช้าวันรุ่งขึ้น เวลา 10.00 น. ตรง แม่ทัพ ฟอน พอลลัส รีบติดต่อท่านฮิตเล่อร์ด่วน ถามว่า จะเอางัยกันดี ยอมๆเค้าดีกว่าน่า.. ฮิตเล่อร์ ตะโกนกลับมาว่า เมิงจะบ้าไปแล้วหรือไงฟะ..ไม่มีทาง..!! เวลา แห่งเส้นตายได้ผ่านไป..ไม่มีคำตอบใดๆจากกองทัพที่หก รัสเซียก็ส่งกระสุนจากปากกระบอกปืนใหญ่ไปกำนัลเสียทีเดียวพร้อมๆกัน..จากทุก ทาง สองวันต่อมา หน่วยรถถังและหน่วยทหารราบ ก็เคลื่อนตัวเข้าสู่เมือง..เยอรมันก็สู้สุดฤทธิ์ เพราะไม่มีทางเลือกอื่นใด และในวันเดียวกันนั้น ฟอน พอลลัส ได้ส่งข้อความถึงฮิตเล่อร์ ว่า เห็นทีจะเอาไว้ไม่อยู่ไว้อย่างแน่นอน วันที่ 16 มกราคม คือวันสุดท้ายที่กองทัพเยอรมันแทบไม่มีกระสุนหรือวัตถุระเบิดเหลือที่จะสู้ อีกต่อไป..ทหารไม่มีอาหาร ไม่มียารักษาโรค ไม่มีเครื่องนุ่งห่มที่หนาพอ ทุกคนเริ่มมองเห็นชะตาชีวิตอยู่รำไร วันที่ 24 รัสเซียได้ส่งสาส์นมาอีกครั้ง..บอกว่า จะให้โอกาสอีกครั้งหนึ่ง..เอาป่ะ ยอมแพ้มาซะดีๆ แม่ทัพ ฟอน พอลลัส ก็วิทยุถึงฮิตเล่อร์ บอกเล่าตามนื้อความที่ว่า.. ฮิตเล่อร์ ก็เหมียนเดิม..คือ ไม่ยอมท่าเดียว ยังไงก็ไม่ยอมแพ้ แถมสั่งมาว่า ให้อยู่สู้จนทหารคนสุดท้าย.. ก็เป็นอันว่า..ทุกคนต้องปฏิบัติตามนั้น พยายามที่จะฝืนสู้ต่อไป แต่ลูกน้องหน่วยอื่นไม่ยอมตายด้วย พากันวางอาวุธกันเป็นแถวๆ ในวันที่ 31 มกราคม แม่ทัพฟอน พอลลัส ได้ส่งวิทยุถึงฮิตเล่อร์ว่า นี่คือวันสุดท้ายของกองทัพที่หกแห่งเยอรมัน .. ฮิตเล่อร์ รีบแจกเหรียญกล้าหาญผ่านทางอากาศ แถมแต่งตั้งให้ แม่ทัพ ฟอน พอลลัส ขึ้นเป็นระดับ จอมพล.. เพราะ จากอดีตที่ผ่านมาของเยอรมันนับตั้งแต่ยุคบิสมาร์ค ไม่เคยมี จอมพลคนไหนยกมือยอมแพ้แก่ข้าศึก จอมพลหมาดๆ ฟอน พอลลัส ได้กล่าวว่า ขอให้เยอรมันจงเจริญ...ก่อนที่จะวางสายไป พร้อมทั้ง ชูมือยกธงขาวยอมแพ้แก่รัสเซียในวันที่ 2 กุมภาพันธ์.. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2003 คือการครบรอบ 60 ปี แห่งนักรบ สตาลินกราด ที่มีการสวนสนามและแสดงคารวะ.. เยอรมันได้ทิ้งสภาพของสตาลินกราดไว้เช่นนี้ คือ แขวง..Traktorozavodskiy จากประชากร 75,000 คน เหลือมีชีวิตรอดเพียง 150 แขวง..ฺBarrikadnity จากประชากร 50,000 คน เหลือมีชีวิตรอด 76 แขวง..Ermanskiy จากประชากร 45,000 คน เหลือมีชีวิตรอด 32 คน.. //www.achtungpanzer.com/panzer.htm //afvinteriors.hobbyvista.com/ //www.armourinfocus.co.uk/ //www.battlefield.ru/index.html รถถังเบา M3 Stuart(Honey)
Panzer IV Ausf. F กองพลยานเกราะที่ 15 ,DAK
V V V
ต่อ...
Create Date : 12 กรกฎาคม 2556 |
Last Update : 12 กรกฎาคม 2556 6:29:36 น. |
|
1 comments
|
Counter : 2916 Pageviews. |
|
|
|
หลังจากที่เยอรมันและอิตาลีประสบกับการพ่ายแพ้ที่อาฟริกาเหนือแล้ว สถานะการณ์สงครามต่อไปแทบไม่ต้องเดา..ว่า สพม.ต้องยกพลรบขึ้นฝั่งในฝั่งยุโรปแน่นอน
และ..มันจะเป็นฝั่งไหนไปไม่ได้ นอกจาก ตรงใต้สุดของรองเท้าบู๊ตอิตาลี ..มุสโสลินีออกอาการตื่นกลัวจนแทบครองสติไม่อยู่ เพราะการพ่ายแพ้ในครั้งนี้ อิตาลี สูญเสียมากว่าเยอรมัน นับจากชีวิตทหาร อาวุธ และที่สำคัญคือ การสูญเสียขวัญและกำลังใจของประชาชน ที่เพิ่งมองเห็นว่า ตั้งแต่ประเทศชาติได้มาคบค้ากับเยอรมัน
ในยุคของฮิต เล่อร์นี่ มีแต่พากันอิ๊บอ๋าย..ชาวอิตาเลี่ยนเริ่มก่อหวอด เดินขบวนประท้วง นัดหยุดงานกันเป็นครั้งใหญ่ ที่มิลานและ ตูริน ในฤดูร้อน(1943)
มุสโสลิ นี รับแจ้นปากคอสั่นไปฟ้องพี่เอื้อยฮิตเล่อร์ทันที โดยเดินทางไปพบที่ Salzburg คราวนี้ถึงกับกราบกรานอ้อนวอนให้ฮิตเล่อร์เจรจาสงบศึกกับสตาลิน เพื่อจะได้นำกำลังถอนทัพมายัน
ทางฝั่งนี้ และฮิตเล่อร์รับโวยวายเป่ากระหม่อม อิล ดูซ มุสโสลินีทันทีว่า ยังไงๆ สงครามครั้งนี้เราต้องชนะแน่นอน ไม่ต้องเป็นห่วง เกลอเอ๋ยยย..!!
ที่ฮิตเล่อร์เชื่อเช่นนั้น เพราะ เขาได้ถูกอังกฤษทำกลล่อหลอกให้แบบเต็มรัก กล่าวคือ
อังกฤษ แกล้งส่งศพในเครื่องแบบของนายทหารอังกฤษ ให้ลอยน้ำตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ไปที่น่านน้ำของสเปน ชาวประมงมาพบและลากขึ้นมาฝั่งมาได้ ก็มีการเรียกหาการชันสูตรกันวุ่นวาย
ได้ใจความว่า ในกระเป๋าเครื่องแบบหรูหราของศพนั้น มีเอกสาร"ลับเฉพาะ" ของราชการว่า สพม. เตรียมตัวขึ้นฝั่งที่กรีซ พร้อมๆกันหลายทัพ ทูตทหารเยอรมันประจำประเทศสเปน รีบส่งข้อความนี้ไปยังฮิตเล่อร์ทันที เขาเชื่อสนิท..!!
แต่ มุสโสลินี และ แม่ทัพ ฟอน เกสเซลริ่ง ไม่ค่อยเชื่อ จึงพยายามบอกกับฮิตเล่อร์ว่า ไม่น่าจะใช่..อาจป็นกลลวงของข้าศึก ซิซิลี น่าจะเป็นจุดหมายกว่าที่ไหนๆ..!!
ฮิตเล่อร์ เถียงคอเป็นเอ็นว่า..ไม่ใช่แน่นอน..มันต้องไปขึ้นที่กรีซ..เพราะ เอกสารมันว่าไว้อย่างนั้น !! (ว๊าววว...โง่วววววนี่)
ว่าแล้วเขาก็ส่งกองทัพรถถังขนาดมหึมา พร้อมด้วยกองทัพทหารราบ ไปยังประเทศกรีซ เพื่อคอยรับมือกับกองทัพของสพม.
แต่ทหารเหล่านั้น วันๆไม่ทำอะไรมากมาย นั่งตีรัมมี่กันเอิกเกริก เพราะ ไม่มีวี่แววของข้าศึกแม้แต่คนเดียว
ว่าแล้ว ฮิตเล่อร์ก็ออกเดินทาง เขาเองก็ตื่นเต้นในสงครามกับสงครามฝั่งตะวันออกจนไม่มีสติที่จะคิดถึง เรื่องอื่น เขาไปที่ Zaporoch'ye ทางชายแดนเส้น Crimean ฝั่งรัสเซีย
เพราะ แม่ทัพ ฟอน มานสไตน์ (Gen. von Manstein) เพิ่งจะยึดเมือง Kharkov คืนกลับมาได้ ฮิตเล่อร์ เริ่มมีความหวังรำไรขึ้นมาอีกครั้ง..ในการที่จะยกทัพไปยึดเมือง
สำคัญๆลุ่มแม่น้ำ วอลก้า..(อีกครั้ง)
แต่ มาถึงตอนนี้ ทันทีที่ได้ฟังแผนการบุกรัสเซีย.. นายทหารทั้งหลายเริ่มสำนึกตัวแล้ว..ว่า ไอ้ท่านผู้นำคนนี้ มันเป็นคนเสียสติ มันทำทุกอย่างเพื่อสนองความอยากของมันเอง
มิใช่เพื่อประเทศชาติหรือ ศักดิ์ศรีของทหารเยอรมันแต่อย่างใด..
ใน ช่วงนั้นก็มีคนที่พยายามจะลอบสังหารฮิตเล่อร์โดยการยัดระเบิดไปในลังเหล้า บรั่นดีที่ส่งไปบนตู้รถไฟเดียวกันกับท่านผู้นำ แต่..ระเบิดไม่ทำงานขึ้นมาซะเฉยๆ
ก็เลยรอดไปเหมือนกับทุกๆครั้ง ที่ฮิตเล่อร์มักมี "ผีคุ้ม"
5 กรกฏาคม คือวันที่ ฮิตเล่อร์ได้ส่งกองทัพบุกรัสเซียครั้งใหญ่อีกครั้ง..ประเดิมด้วย 17 กองพลรถถังอันเป็นขบวนแรก
ก่อนออกเดินทาง..ท่านผู้นำได้ยืนประกาศลั่นกลองรบด้วยตัวเอง ว่า
"ทหารกล้าแห่งอาณาจักร์ไรค์ซทั้งหลายยยยยย.....วันนี้คือวันสำคัญยิ่งที่ ประวัติศาสตร์จะต้องบันทึกไว้สำหรับชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของเรา
และ เป็นการประกาศให้โลกได้รู้ทั่วกันว่า ใครที่บังอาจขวางทางของเรา..มันจะต้องพินาศย่อยยับ"
และจอมทัพในครั้งนี้ คือ แม่ทัพ คูเดอเรียน..
วันที่ 10 กรกฏาคม ห้าวันหลังจากกองทัพๆเดินทางออกไปเห็นหลังไวๆ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ก็เดินแถวขึ้นฝั่งตอนใต้ของ อิตาลี อย่างสะดวกสะบาย..
เท่านั้นไม่พอ ยังมีการแข่งขันด้วยอีกต่างหาก ว่า ใครจะไปถึงซิซิลีก่อนใคร..(เบื้องหลังและสาเหตุของการแข่งขันกันให้ถึงเป้า หมายนี่ จะนำมาเล่าในตอนท้ายสุดของเรื่องนี้ หมายถึงว่า เมื่อสงครามเลิกแล้ว) ระหว่าง เซอร์ มอนตี้ และ แพตตัน..
ฮิตเล่อร์ ได้ยินข่าวก็รีบให้มุสโสลินีมาพบด่วน ในวันที่ 19 กรกฏาคม ที่ เมือง Feltre ทางตอนเหนือของอิตาลี การพบปะครั้งนั้น ยาวนานถึงห้าชั่วโมง
และ ฮิตเล่อร์เป็นฝ่ายพูดอยู่คนเดียว(เหมือนเดิม) มุสโสลินีได้แต่ถามอย่างคนหมดหนทางว่า แล้วจะเอายังไงดีล่ะ..เพราะ ซิซิลีได้ตกอยู่ในกำมือของสพม.แล้ว..
ฮิตเล่อร์ได้ตอบอย่างกำปั้นทุบดินว่า..
" ไม่เห็นต้องเอายังไงเลย..ก็ลุกขึ้นมาสู้ซิวะ..ทหารเยอรมันก็อยู่ตรงนั้นแล้ว ลื้อสั่งให้ทหารของลื้อมาช่วยกันให้แข็งขันหน่อยดิ..แล้วอั๊วจะส่งทหารไป ช่วยเสริมอีก"
มุสโสลินีได้แต่พยักหน้าหงึกหงัก เพราะไม่รู้จะว่าอะไรให้ดีขึ้นไปกว่านั้น แถม.. มิหนำซ้ำ ยังได้รับรายงานข่าวมาว่า ฝูงบินของสพม.ได้บินส่งระเบิดถล่มอิตาลีกลางวันแสกๆ
ทันที่ที่กลับมา.. อิล ดูซ ก็ได้พบว่า ฐานะทางการเมืองเขาได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง เขาถูกคณะปฏิวัติที่นำโดยไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่
พระเจ้า Victor Emmanuael III กษัตริย์แห่งอิตาลี ทีเดียวเชียว..พระองค์ถอดเขาออกจากรัฐบาล และ จับส่งตัวเข้าที่คุมขัง
ทัพ เยอรมันไม่สามารถช่วยอะไรได้ เพราะ แม่ทัพเกสเซลริงต้องมาปะทะกับกองทัพของเซอร์ มอนตี้อย่างดูเด็ดเผ็ดมัน ตามคำสั่งของท่านผู้นำที่ว่า ห้ามแพ้..
แต่..น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ เยอรมันก็ยับเยินไปตามระเบียบ..
ฮิตเล่อร์ได้ยินข่าวว่าเกลอรัก อิล ดูซ ถูกจับตัว ทหารเยอรมันพ่ายทัพ..ถึงกับตกใจแทบช๊อค..หลังจากที่รวบรวมสติได้ ก็รีบวางแผนการใหม่ทันที
แผนการแรก นั่นคือ ส่งทหารไปลุยที่อิตาลีเลย แล้วแย่งชิงตัวสหายรักมาปลอบขวัญ..คนที่จะทำงานใหญ่นี้ได้ นั่นก็คือ
ล..ที่เคยผ่านศึก
อิตาลีในดินแดนเทือกเขาแอลป์มาก่อน(ในครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ) และในตอนนั้น รอมเมลก็หายดีจากการป่วยใข้แล้ว
ฮิต เล่อร์จึงเรียกประชุม จัดตั้งคณะกรรมมาธิการสงครามอิตาลีขึ้นมาชุดใหม่แบบเร่งด่วน..อันประกอบด้วย เกอริง, เกิบเบิล,ฮิมม์เล่อร์,รอมเมล และ แม่ทัพโดนิทซ์
(ตอนนี้กำลังเป้นใหญ่สุดขีด เพราะแม่ทัพใหญ่ เรเดอร์ ได้ลาออกไปเพราะโคตรฉุนที่ถูกฮิตเล่อร์ตำหนิการทำงานในกองทัพ)
ข้อความในการประชุมคือ การแย่งชิงตัวมุสโสลินี และ การยึดอำนาจคืน..
ตอน นั้น ซิซิลี และ อาฟริกา ได้ตกอยู่ในกำมือของสพม.อย่างเด็ดขาด เพราะแม่ทัพ เกสเซลริ่ง ได้พาทหารกว่าแสนคนถอยทัพออกไปจากพื้นที่ลงไปทางด้านใต้ ไปตั้งหลัก
เพื่อกลับมาใหม่ในคราวโอกาสเหมาะ
คราวนี้..หลังจากการแตก พ่ายของอิตาลี ทำให้ฮิตเล่อร์เริ่มพูดจารู้เรื่อง รู้ภาษาคน...กับพวกนายพลที่คุมทัพอยู่ทางรัสเซียขึ้นบ้างนิดหน่อย..คือ การถอนกำลังจาก
ฝั่งนี้ เพื่อส่งไปรบทางอิตาลี แต่กองทัพได้เดินทางออกไปแล้ว..ไม่เห็นหลังไวๆอย่างเมื่อสองอาทิตย์ก่อน กว่าจะเรียกกลับ และส่งไปอิตาลีนั่นก็ต้องใช้เวลากว่าจะถึงก็เดือน กันยายนนั่นแหละ
ฮิตเล่อร์รีบบอกว่า ไม่ด๊าย ไม่ด้าย ชั้นจะเอากองทัพด่วนกว่านั้น รอม่ะด๊ายยย..
แต่.. มันไม่มีทางไหนเลย นอกจากจะเนรมิตขึ้นมา..ฮิตเล่อร์จึงรีบติดต่อเจรจาเรื่องการเป็นภาคีกับแม่ ทัพอิตาเลี่ยนคนใหม่ที่เพิ่งขึ้นมานั่งบัลลังค์(หลังจากปฏิวัติ) คือ จอมพล เปียโตร บาโดกลิโอ (Marshal Pietro Badoglio) เพื่อช่วยกันทำสงครามกับสพม. อย่างที่เคยทำไว้กับมุสโสลินี
แต่เขาหารู้ไม่ว่า แม่ทัพอิตาเลี่ยนก็แอบเจรจาผูกข้อมือเป็นเสี่ยวกับฝ่ายสพม.เช่นกัน..
V
V
V
V
แหม่...แม่ทัพเรเดอร์จะไม่ออกจากตำแหน่งได้ไงฮับ
จำ สงครามทางน้ำกันได้รึเปล่า?????? ทัพเรือภายใต้การบัญชาของเรเดอร์แพ้อังกฤษหมด ไหนจะเรือ Graff Spree ที่ริเวอร์เพลต ไหนจะบิสมาร์คที่บอลข่าน ไหนจะเรื่องการบุก Scapa Flow ด้วยเรืออู เรียกว่าแพ้เรียบ.......
ทัพเรือเยอรมันมาพอเคียงบ่า เคียงไหล่กับทางฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ด้วยฝูงหมาป่าของโดนิตซ์นี่แหละครับ ที่ทำเอาคนอังกฤษเดือดร้อนทั้งประเทศถึงขนาดต้องเอาเมล็ดถั่วคั่วมาบดกินแทน กาแฟ....
อีกอย่าง...เรื่องนายพลกัดกันนั้น จะสงสารมอนต์โกเมอรี่เหรอ....ผมว่ามอนต์โกเมอรี่แกไม่เดือดร้อนกับแพ ตตันเท่าไหร่หรอกครับ คงคิดซะว่าหมาเห่าใบตองแห้ง แถมตัวมอนต์โกเมอรี่เองก็กัดกลับเหมือนกัน แต่แกกัดแบบลอนดอนเนี่ยน ผู้ดีอังกฤษแท้ๆ ที่กัดผ่านบันทึกสงครามของมอนต์โกเมอรี่ที่ออกมาพิมพ์ขายทีหลัง
มอนต์โกเมอรี่น่ะนิ่งจะตายไปครับ ขนาดเชอร์ชิลล์ที่ว่าใหญ่คับเกาะอังกฤษมอนต์โกเมอรี่บางครั้งยังไม่สนเล้ยยย
แต่ ที่น่าสงสารสุดน่ะผมว่าไอเซนฮาวมากกว่า เพราะไหนจะต้องมาทนกับแพตตัน ไหนจะต้องมาทนกับมอนต์โกเมอรี่ และไหนจะต้องมาทนกับแรงกดดันจารกบ้านเกิดตัวเอง
ตัวไอเซนฮาวเองไม่ใช่นายทหารที่ปรากฏว่าเก่งทางด้านรบทัพจับศึกนะครับ แต่เป็นนายทหารที่ขึ้นชื่อในเรื่อง "นักประสานสิบทิศ"
ลอง คิดดูจิ ถ้าหากว่าอเมริกันเอาคนแบบแมคอาเธอร์มาคุมทางด้านฝั่งยุโรปจะเป็นไง...ผมว่า สงครามทางฝั่งยุโรปคงจะเห็นแม่ทัพฝ่ายสัมพันธมิตรกัดกันเองมากกว่ารบกับ เยอรมันเสียอีก เพราะตอนแมคอาเธอร์นี่ขึ้นชื่อในเรื่องอีโก้สูงเหมือนกัน ถึงขนาดตอนสงครามเกาหลีเค้ายังโดนแดกเลยว่า รบกับเพนตากอนมากกว่ารบกับคอมมิวนิสต์
ดูละครชีวิตสงครามโลกครั้งที่ สองแล้วอดทึ่งทางฝั่งอเมริกาไม่ได้ ที่วางคนถูกที่ ถูกตำแหน่ง ถูกเวลาเหลือเกิน.....ถ้าหากพลิกเอาแมคอาเธอร์มาคุมฝั่งยุโรป เอาไอเซนฮาวไปคุมฝั่งแปซิฟิก สงครามอาจจะจบช้ากว่านี้เป็นปีก็ได้ ใครจะรู้ ปรมาณูอาจจะได้หย่อนที่แผ่นดินเยอรมันก็ได้......
เครดิตอันนี้ต้อง ยกให้กับยอดเสธ.แห่งศตวรรษที่ยี่สิบ นายพล Marshal ที่วางคนได้ถูกที่เหลือเกิน เพราะตัวนายพล Marshal นี่แหละครับที่เป็นนายของแมคอาเธอร์กับไอเซนฮาวอีกที ตัวนายพล Marshal เค้าเหมือนกับรู้การล่วงหน้าว่าจะได้มานั่งตำแหน่งเสธ.สูงสุดแห่งกองทัพ อเมริกัน เพราะท่านเป็นคนที่มีบัญชี "หนังหมา" แนบติดกายไว้ตั้งแต่ยังดำรงตำแหน่งนายทหารธรรมดา เอาไว้จดบันทึกรายชื่อและบุคลิกลักษณะของนายทหารต่างๆที่ท่านเล็งว่าคนพวก นี้มะธรรมดา ซึ่งนายพลไอเซนฮาว, แมคอาเธอร์, แบรดลีย์, แพตตัน, นิมิตซ์ ฯลฯ ก็ล้วนอยู่ในบัญชีหนังหมาของทั่น Marshall ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองปะทุเสียอีก
เก่งไหม นายพลคนนี้....รู้การล่วงหน้า เตรียมตัวพร้อมสรรพ สมกับเป็นเสธ.ใหญ่แห่งกองทัพอเมริกาจริงๆ
จากคุณ : เมธาวดี - [ 30 มิ.ย. 47 23:08:25 ]
ท่านมอนตี้ท่านเป็นทหารผู้ดีค่ะ เป็นทหารที่อเมริกันไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะ เสื้อผ้า(เครื่องแบบ)ของท่านต้องรีดเรียบกรีบโง้ง
ทุกครั้ง และที่ทหารอเมริกันเก็นแล้วช๊อคคาตา..
นั่นคือ ..ฝนตก..ท่านมอนตี้(ในเครื่องแบบ)เดินกางร่ม ไปขึ้นรถถัง
เตรียมตัวออกรบ..
ใครต่อใครพากันขำกลิ้ง..ค่อนขอดกันไม่เลิก..!!
General George C. Marshall รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ