Little drops of water, Little grains of sand Make the mighty Ocean, and the pleasant land. Little deeds of kindness, Little words of love Help to make Earth Happy, Like the Heven above.
Group Blog
 
All Blogs
 
Heifetz As I Knew Him (6) :การเล่นวง chamber และ เบื้องหลังชีวิตศิลปินของ Heifetz

บทที่ 9


แม้ว่า Auer จะเป็นเพียงบุคคลเดียวที่ Heifetz เห็นอยู่ในสายตา และให้ความเคารพยกย่องเป็นอย่างมาก แต่เขากลับคิดว่า Auer ไม่ใช่นักไวโอลินที่เก่งที่สุดในโลก
ในช่วงเวลาที่เขาเรียนกับ Auer ตอนนั้น Auer เป็น concert master ให้กับวง St Petersburg symphony orchestra และได้เล่น solo หลายส่วนในวง


เวลาที่เรา 2 คนฟังแผ่นบันทึกเสียงงาน ballet ของ Tchaikovsky ด้วยกัน Heifetz จะเล่าว่า ตรงนั้น...ตรงนี้ Auer เป็นคนสี เขาเล่าว่าเสียงไวโอลินของ Auer มีเอกลักษณ์ และมีสไตล์การสีที่ไม่สามารถเลียนแบบได้


ความเป็นศิลปินของ Heifetz จากการสอนของ Auer นั้น มีเพียงเจ้าตัวเขาเองเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เขามักจะเล่าว่า Auer สอนการสีไวโอลินแบบถูกโปรแกรมมาให้กับ นร แต่สำหรับ Heifetz แล้ว อันที่จริง Auer ไม่ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการสี หรือ การถือไวโอลินของเขาเลย เพราะ Auerเชื่อว่า เด็กทุกคนจะเลือกทำทุกอย่างในแบบที่ตนเองรู้สึกสบายที่สุดตามธรรมชาติ


Auer แต่งหนังสือเกี่ยวการสอนไวโอลินไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า Violin Playing As I Teach แน่นอน Heifetz มีหนังสือเล่มนี้ในครอบครอง และเขาเก็บมันไว้ในห้องสมุดที่สตูดิโอของเขา ในตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุด แต่ฉันจำไม่ได้ว่า เขาแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้ นร ในชั้นเรียนอ่านด้วยหรือเปล่า

สำหรับฉัน เขานำหนังสือเล่มนี้มาอวด พร้อมกับสั่งว่าให้ค่อยๆอ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดมากๆ เพราะปกติเวลาเขาสั่งให้ทำอะไร จะต้องกำหนดระยะเวลาเสมอไม่เว้นแม้แต่การอ่านหนังสือ

หลังจาก Heifetz ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ฉันได้หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านอีกครั้งและพบว่าการสอนของ Heifetz ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากวิธีการสอนของ Auer

นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทนำ Auer ยังเขียนข้อความที่ฉันคิดว่าคงเป็นคำพูดที่ประทับใจ Heifetz มาก


"สำหรับคนที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักดนตรี แม้ว่าจะเป็นคนที่มีพรสวรรค์ แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคมากมายที่ต้องฝ่าฟันและต้องทนทุกข์ทรมาณกับสิ่งเหล่านั้นตลอดไป จนกว่าจะสามารถขจัดสิ่งลวงตาออกไปได้ จึงจะพบกับชัยชนะ"


นอกจากนี้ Auer ยังเขียนตำหนิพ่อแม่ของบรรดาเด็กอัฉริยะ หรือแม้แต่พ่อแม่ธรรมดาทั่วไป ที่คิดว่าลูกของตนควรจะเป็นนักดนตรี และพยายามผลักดันทุกวิถีทางให้เด็กเป็นนักดนตรีอย่างที่พวกเขาต้องการ โดยไม่สนใจเลยว่าบางทีเด็กก็ไม่ได้มีความถนัดทางนั้น และการผลักดันของพ่อแม่เหล่านี้ ไม่ว่าจะด้วยความหอมหวานของชื่อเสียง เงินทองและชีวิตที่ดีในอนาคต แม้ว่ามันดูเหมือนเป็นความหวังดี แต่ที่จริงแล้วมันคือการทำลายชีวิตของเด็กต่างหาก



แต่ในทางกลับกัน แม้ว่าจะเกิดมาเป็นอัฉริยะก็ตาม อันที่จริงแล้ว Heifetz เอง ก็เคยมีช่วงเวลาที่ยากลำบากเหมือนกัน แถมดูจะหนักหนาสาหัสกว่าคนธรรมดาทั่วไปเสียด้วย


ในช่วงที่เขาเริ่มออกแสดง ก็มีเสียงวิจารณ์ตอบกลับมาจาก W.J. Henderson นักวิจารณ์ดนตรีของสำนักพิมพ์ New York Sun

Henderson กล่าวว่าแม้ Heifetz จะมีเทคนิคอันยอดเยี่ยม แต่กลับขาดความซาบซึ้งและไม่เข้าถึงตัวดนตรี แต่ยังคงแนะนำว่าหากHeifetz ปรับปรุงเรื่องควมเข้าใจในดนตรีได้แล้ว จะต้องประสพความสำเร็จอย่างมาก


หลังจากได้รับคำวิจารณ์ Heifetz เองก็เริ่มเปลี่ยนทัศนะคติเสียใหม่ เขาพบว่ายังมีอะไรมากกว่าการซ้อมไวโอลินเฉยๆ นั่นคือความมีชีวิตชีวา


และอย่างที่เราทราบกันดี Heifetz เป็นผู้ชนะเสมอมา จากพื้นฐานนิสัยของเขาที่ถูกตามใจและยกย่องแต่เด็ก เขาคือผู้ชนะเสมอมา ดังนั้นการได้รับคำวิจารณ์แบบนี้ ทำให้เขาช๊อกอย่างที่สุด

และต้องพยายามอย่างมากเพื่อจะรับฟังคำวิจารณ์ต่างๆ แล้วพยายามเอาชนะให้ได้ ซึ่งเขาเองเล่าว่า เขาซีเรียสถึงขนาดคิดฆ่าตัวตายหลังจากได้อ่านคำวิจารณ์เลยทีเดียว


ในระหว่างที่เขาเล่าให้ฟังถึงชีวิตในช่วงเวลานั้น เขาหยิบกระเป๋าตังค์และนำกระดาษแผ่นหนึ่งออกมาและอ่านข้อความข้างในให้ฉันฟัง


ในกระดาษแผ่นนั้นมีบทกลอนที่ชื่อว่า " If " แต่งโดย Rudyard Kipling เขียนอยู่ ซึ่ง Heifetz เล่าว่า เขาพกกลอนบทนี้ตลอดมาและต้องเปลี่ยนกระดาษใหม่หลายครั้งเพราะเก็บจนขาด เขาเล่าว่ากลอนบทนี้เหมือนเป็นยันต์คุ้มภัย โดยจะหยิบออกมาอ่านเพื่อเตือนใจและให้กำลังใจตัวเอง เขายังบอกอีกว่าได้เขียนเพิ่มเติมลงไปเสมอว่า "Words to Live By"

นี่คือกลอนบทดังกล่าวค่ะ


IF


If you can keep your head when all about you
Are losing theirs and blaming it on you,
If you can trust yourself when all men doubt you
But make allowance for their doubting too,


If you can wait and not be tired by waiting,
Or being lied about, don't deal in lies,
Or being hated, don't give way to hating,
And yet don't look too good, nor talk too wise:


If you can dream--and not make dreams your master,
If you can think--and not make thoughts your aim;
If you can meet with Triumph and Disaster
And treat those two impostors just the same;


If you can bear to hear the truth you've spoken
Twisted by knaves to make a trap for fools,
Or watch the things you gave your life to, broken,
And stoop and build 'em up with worn-out tools:


If you can make one heap of all your winnings
And risk it all on one turn of pitch-and-toss,
And lose, and start again at your beginnings
And never breath a word about your loss;


If you can force your heart and nerve and sinew
To serve your turn long after they are gone,
And so hold on when there is nothing in you
Except the Will which says to them: "Hold on!"


If you can talk with crowds and keep your virtue,
Or walk with kings--nor lose the common touch,
If neither foes nor loving friends can hurt you;
If all men count with you, but none too much,


If you can fill the unforgiving minute
With sixty seconds' worth of distance run,
Yours is the Earth and everything that's in it,
And--which is more--you'll be a Man, my son!


--Rudyard Kipling




Heifetz เล่าว่าในตอนที่เขามาเปิดการแสดงที่อเมริกาใหม่ๆ กลอนบทนี้มีชื่อเสียงมาก มันมีความสำคัญต่อเขาในฐานะศิลปิน เพราะศิลปินจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่ระหว่างความสำเร็จและความหายนะ


ในตอนที่ Heifetz เป็นเด็ก เขารู้จักแต่ความสำเร็จเสมอมา จนกระทั่งได้มาพบกับคำวิจารณ์ เขาจึงรู้จักว่าหายนะคืออะไร ในโลกของศิลปะ ความสำเร็จและความหายนะ มักอยู่ในเหรียญด้านเดียวกันเสมอ


และหลังจากเขาได้รับคำวิจารณ์ แล้วนำมาปรับปรุงตนเอง ในตอนนั้นหล่ะที่ความสำเร็จมาเยือน Heifetz อย่างแท้จริง ชื่อของเขากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความ perfect ทั้งในด้านศิลปะและทางเทคนิค

Heifetz เล่าว่าเขารู้สึกขอบคุณ Henderson หลายต่อหลายครั้ง ที่ช่วยเตือนสติเขาและทำให้เขามีวันนี้ แถมยังเล่าว่าเขาเคยเขียนจดหมายไปขอบคุณคำวิจารณ์ของ Henderson ด้วย




Henderson เขียนหนังสือดนตรีหลายเล่มน่าสนใจ มีเรื่องนี้ด้วย

What Is Good Music? Suggestions To Persons Desiring To Cultivate A Taste In Musical Art

สามารถอ่าน preview ได้ในจาก google book ตาม link นี้ค่ะ

//www.flipkart.com/good-music-suggestions-persons-desiring/1846643457-8zx3fneo8d#previewbook



แม้ว่า Heifetz จะเป็นสุดยอดนักไวโอลินบนเวทีก็ตาม แต่ถึงกระนั้น เขากลับสารภาพว่าเขาตื่นเต้นทุกครั้งก่อนขึ้นเวที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเขาได้รับนิยามว่าเป็นเด็กอัฉริยะ ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนคาดหวังในตัวเขามากๆ และเจ้าความตื่นเต้นเนี่ยหล่ะ คือภัยร้ายต่อการแสดงทุกครั้ง


Auer เขียนในหนังสือของเขาว่า ไม่มีวิธีการใดๆที่จะรักษาอาการตื่นเวทีของนักแสดงได้ ในกรณีที่ศิลปินเป็นนักเปียโน อาจจะโชคดีหน่อย เพราะอาการตื่นเวทีพอจะทุเลาได้โดยการกดคอร์ดแรงๆ 2-3 ครั้ง บนเปียโนในห้องซ้อมหลังเวที โดยที่หน้าเวทีไม่ได้ยิน แต่ในกรณีของนักไวโอลิน เขาไม่สามารถทำเช่นนั้นกับ bow ได้


Heifetz เล่าว่า สาเหตุที่เขาตื่นเต้นก่อนขึ้นเวทีนั้น เพราะว่าเขาไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ (ทุกท่านยังจำได้ใช่ไหมคะ ว่าHeifetz เป็นจอมโบงการ)

แต่ในกรณีนี้ เขามักจะกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่คาดฝัน เช่น กลัวว่าจะลืมโน๊ต, สายไวโอลินอาจจะขาดระหว่างแสดง, นักเปียโนอาจจะดีดผิด, โน๊ตหล่นจากที่ตั้,ง วงออเครสตร้าหรือconductor ที่แสดงด้วยกันเกิดล่ม หรือแม้แต่ผู้ชม....


Heifetz คาดหวังอย่างมาก ให้ผู้ที่มาดูการแสดงไวโอลินของเขา ไม่เพียงแต่รู้สึกว่ามันสวยงาม แต่เขาต้องการให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้นด้วย ดังนั้นระหว่างที่เขาแสดงอยู่ จึงมักจะสอดส่องดูกริยาของผู้ชมเสมอๆ และเมื่อไหร่ที่เขาพบว่าผู้ชมเสียสมาธิและไม่สนใจฟังเพลง เขาจะเริ่มปฏิบัติการดึงความสนใจของผู้ชมทันที แล้วก็เป็นกรรมของผู้ที่เล่น accom ซึ่งมีหน้าที่จะต้องตาม Heifetz ให้ทัน


ปฏิบัติการที่ว่านี่ได้แก่ การเปลี่ยนลักษณะการเล่นที่สีอยู่เป็นประจำ การเปลี่ยนประโยคของเพลง (phrase) หรือแม้แต่การเปลี่ยนนิ้วที่ใช้ และด้วยเหตุนี้ ทำให้เขาต้องเคี่ยวเข็ญ accom ของเขาทั้งนักเปียโนและวงchamber เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเขาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่อยู่บนเวที


การเล่นที่ perfect จนเกินไป การแสดงที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้ว ไม่ใช่แนวทางการเล่นของ Heifetz


“ความเสี่ยง” ทำให้การแสดงดูมีชีวิตชีวาน่าตื่นเต้น นี่ต่างหากหล่ะ คือเส่ห์นแห่งเสียงไวโอลินของ Heifetz


ทั้ง Auer และ Heifetz ต่างมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ที่ยอดเยี่ยม ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่ทำให้เขาประสพความสำเร็จ


อันที่จริงแล้วการซ้อมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ไม่ตื่นเต้นและไม่ลืมโน๊ต แต่ถึงอย่างนั้นการที่เอาแต่ซ้อมๆๆ โดยไม่รู้จักวิจารณ์การเล่นของตนเอง และไม่มีการปรับปรุงเสียงที่ออกมา เป็นการซ้อมที่เสียเวลาเปล่า และจะติดเป็นนิสัย


แต่ในขณะเดียวกัน เขากลับต่อต้านการซ้อมด้วยวิธีการบันทึกเสียงการเล่นของตนเอง แล้วมาเปิดฟังเพื่อหาจุดบกพร่อง เพราะ Heifetz มีความเห็นว่า นักเรียนควรฟังเสียงของตนเอง และแก้ไขเสียงที่ออกมา ณ ขณะนั้นเลย เพราะมันกำลังเข้าถึงความรู้สึกขณะกำลังแสดงอยู่จริงๆ


การฟังเสียงบันทึกของตนเอง แล้วมาแก้ไข ทำให้ไม่รู้จักการปรับตัว นอกจากนี้ยังทำให้โน๊ตทั้งแผ่นเต็มไปด้วยรอยขีดเขียนมากมาย และทำให้กังวลในจุดต่างๆที่เขียนไว้ ซึ่งมันจะทำให้เรารู้สึกตื่นกลัวเสมอเมื่อเล่นถึงตรงนั้น แล้วนั่นหล่ะคือหนทางสู่หายนะบนเวที


สำหรับ Heifetz เขาเล่าว่าเฉลี่ยแล้ววันนึงเขาใช้เวลาซ้อมไวโอลินเพียงแค่ 3 ชม.เท่านั้น แต่กลับใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเตรียมเพลงต่างๆ เขาจะอ่านศึกษาโน๊ตเพลงและจดจำมันก่อนก่อนที่จะหยิบไวโอลินมาสีเสมอ ซึ่งการทำเช่นนี้ ช่วยให้ไม่เกิดอาการลืมโน๊ต


อาการลืมโน๊ต หรือ สมองว่างเปล่านี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่หรือมีชื่อเสียงมากขนาดไหนก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ถูกกดดัน เช่นเวลาอยู่บนเวที ทุกคนสามรถลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่ซ้อมมาจนหมดเกลี้ยง


จริงอยู่ว่าการลืมโน๊ต สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่กับศิลปินที่มีความจำดีเยี่ยม

แต่ในกรณีของ Heifetz ดูเหมือนจะเป็นข้อยกเว้น สมองอัฉริยะของเขาสามารถจดจำเพลงต่างๆมากมายได้อย่างไม่น่าเชื่อ ส่วนใหญ่ Heifetz มักจะสีไวโอลินโดยไม่ดูโน๊ต ทั้งๆที่บางเพลง เขาไม่ได้สีมายาวนานเป็นสิบปี


และที่สำคัญคือ ที่เขาจำได้ไม่ใช่เพียงแค่ตัวตัวโน็ต แต่ยังรวมไปถึง อารมณ์ของเพลงและการใช้นิ้ว แถมยังจำได้อีกว่า ตัวเขาเองใช้นิ้วอะไร และในโน๊ตจริงๆเขียนว่าใช้นิ้วอะไร
ไม่เพียงเท่านั้น ที่สำคัญคือเขายังสามารถจำโน๊ตในส่วนของ accom ทั้งตัวโน๊ต อารมณ์และวิธีการเล่นได้ด้วยอีกต่างหาก


แต่ถึงกระนั้น Heifetz ก็เคยเล่าให้ฟังว่า ในชีวิตการเป็นศิลปินของเขา เคยลืมโน๊ต 1 ครั้ง ซึ่งตอนนั้นเขากำลังอยู่ในห้องอัด และช่วงนั้นเขาต้องออกคอนเสิร์ตมากมาย





Heifetz เป็นคนที่มีพลังงานเปี่ยมล้นอยู่เสมอ แม้ว่าในตอนที่เขาอายุมากขึ้นจนเขาต้องใช้ไม้เท้าแล้ว ทุกอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม


ในอดีตสมัยที่เขายังออกทัวร์คอนเสิร์ต เขาสูบบุหรี่จัดถึงวันละ 2 ซอง แต่หลังจากที่เขาได้รู้ถึงอันตรายของมัน ก็ตัดสินใจเลิกโดยเด็ดขาด แต่ยังคงพกบุหรี่และไฟแช็กในกระเป๋าตลอดเวลา เผื่อว่าในวันนึงเขาอาจจะเปลี่ยนใจ แต่ทว่าเหตุการณ์นั้นไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย


การดื่ม เป็นกิจกรรมอันโดดเด่นและเป็นเรื่องปกติของชาวรัสเซียทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ Heifetz

แอลกอฮอลล์ เป็นสิ่งที่ทำลายชีวิตคนมากมาย แต่นั่นไม่เคยมีผลกับ Heifetz เลยไม่ว่าจะกี่ดีกรีก็ตาม ซึ่งอันที่จริงแล้ว จริงๆเพราะเขารู้ตัวเองดีมากกว่าว่าควรจะหยุดตรงไหน


ในตอนที่ฉันรู้จักกับเขา เขามักจะดื่ม bourbon แต่บนโต๊ะของเขากลับมี Vodka ตั้งอยู่เสมอๆ ไว้เผื่อว่าจะเปลี่ยนใจทีวินาทีสุดท้าย และอย่างที่เคยเล่าไป Heifetz จะมีความสุขมากเมื่อใครก็ตามยอมดื่มเป็นเพื่อนเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนผู้นั้นดื่มแล้วไม่ออกอาการอะไร


ฉันได้รู้เรื่องนี้จากตอนที่ครั้งหนึง Heifetz มาหาฉันที่บ้าน และได้พบกับแม่ชีชาวดัชผู้หนึ่งซึ่งเคยเป็นครูของแม่ของฉัน เธอมาพักที่บ้านของฉันชั่วคราว

ทั้ง 2 คนได้สนทนากันมากมาย Heifetz รู้สึกสนใจเธอมาก เพราะเธอไม่เคยรู้เรื่องอะไรอื่นเลยนอกจากเรื่องราวในคอนแวนต์ พวกเขาคุยกันอย่างออกรส Heifetzg เสริฟวอดก้าให้กับท่านแม่ชี พร้อมกับเชียร์ให้ดื่มหมดแก้วหลายต่อหลายครั้ง เขาชวนให้เธอเล่าเรื่องของตนเองตั้งแต่ชื่อเดิมของท่านก่อนที่จะเข้ามาอยู่ภายใต้ศาสนา แถมยังบอกให้เปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อเดิมนั้นแทนชื่อทางศาสนาที่ใช้อยู่ในตอนนี้ เขาเรียกท่านด้วยชื่อเดิม แล้วยังอนุญาตให้ท่านเรียกเขาว่า จิม อีกด้วย
ในภายหลัง Heifetz มาบอกกับฉันว่า เขาไม่เคยเห็นผู้หญิงคนไหนที่มาดื่มกับเขาแล้วไม่ฟุบลงกับโต๊ะ




นอกจาก Heifetz จะเป็นคนที่มีความจำอันยอดเยี่ยมแล้ว เขายังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งคือการควบคุมจังหวะได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งในแง่ tempo และ rhythm


นักดนตรีน้อยคนนักที่สามารถควบคุม 2 อย่างนี้ได้ตลอดเวลา แต่ที่น้อยยิ่งกว่าคือ คนที่สามารถคุมทั้ง 2 อย่างนี้ได้ แล้วยังรู้สึกสบายและอิสระไปพร้อมๆกัน ซึ่งความอิสระนี้ยังรวมไปถึงการตีความอีกด้วย


Heifetz มักจะตำหนินักเรียนที่เล่นจังหวะคงที่แข็งๆเหมือนเครื่องเคาะจังหวะเป๊ะๆ หรือเล่นตามที่โน๊ตเขียนทุกประการ ความมีชีวิตชีวา โดยที่จังหวะยังคงเดิมคือสิ่งที่เขาต้องการ

แต่การที่ผู้เล่นจะสามารถรู้สึกเป็นอิสระได้ เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเล่นเพลงนั้นจนคล่อง และขจัดปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆไปได้แล้ว ซึ่ง Heifetz เข้าใจตรงนี้ดี และยินดีที่จะรอให้นักเรียนพร้อมเสียก่อน


Auer เขียนในหนังสือของเขาว่าอีกปัญหาหนึ่งที่มีผลต่อการตีความคือบรรดารายละเอียดมากมายของเครื่องหมายและข้อความต่างๆที่เขียนอยู่ในโน๊ต


เครื่องหมายกำกับเสียงดัง-เบา การเน้นเสียง จังหวะ ข้อความบอกอารมณ์และสีสัน เครื่องหมายบอกประโยคเพลง การใส่ลูกจบ การเล่นซ้ำๆกัน การทำVibrato การเปลี่ยนโบว์ บลาๆๆๆๆๆ มากมายร้อยแปดข้อความที่เขียนกำหนดอยู่ในเพลง ซึ่งนั่นหมายถึงนักดนตรีจะต้องจำทั้งหมดนี้และแสดงมันออกมาให้ผู้ฟังได้ยิน ซึ่งหลายๆอย่างมีเพียงนักไวโอลินเท่านั้นที่ได้สามารถได้ยินและเข้าใจ


ในกรณีของนักฟังเพลงที่เป็นผู้ชื่นชอบดนตรีธรรมดาๆ เมื่อรายละเอียดบางอย่างหายไปหรือครบถ้วนมากขึ้น เขาจะบอกแต่เพียงว่า เพลงที่ได้ฟังนั้นไพเราะและมีการตีความแตกต่างไปจากเวอร์ชั่นอื่นๆที่เคยได้ฟังมา แต่พวกเขาไม่รู้หรอกว่านักดนตรีทำให้มันแตกต่างกันได้อย่างไร


ซึ่งนี่เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่ต้องแนะนำนักเรียนให้รู้จักใช้เครื่องหมายและข้อความในโน๊ตเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ ทำอย่างไรมันถึงจะฟังดูแล้วเป็นอิสระ ได้ใจความครบถ้วน และไม่ได้เหมือนถูกโปรแกรมมา


ในกรณีของ Heifetz เนื่องจากเขามีความสามารถในการจดจำโน๊ตเพลงได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้เขาไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้ ดังนั้นสิ่งเดียวที่เขาต้องทำคือการตีความ


คีตกวีที่มีชื่อเสียงหลายคน อาจจะไม่ได้ใช่คนที่ตีความเพลงของตนเองได้ดีที่สุดเสมอไป เช่น Korngold Goldmark Conus Vieuxtemps และ Spohr หรือแม้แต่ sonata ของ Strauss ตัว Heifetz เองพยายามซึบซับชิวิตของคีตกวีทั้งหลาย และแปลความเพลงของเขาเหล่านั้นออกมา ซึ่งในบางครั้งเขาก็เพิ่มเติมบางอย่างลงไป ที่คิดว่าตัวผู้แต่งเองอาจจะลืมมันไป



ขออนุญาตอธิบายความแตกต่างของ tempo กับ rhythm นิดนึง เพราะดูว่าค่อนข้างจะสับสน

ลองเปรียบเทียบกับการเต้นของหัวใจดู
Tempo คือความเร็วในการเต้น แต่ละครั้งว่าช้า - เร็ว
ส่วน rhythm คือ ความสม่ำเสมอในการเต้น ตุ๊บ ตุบ

ไม่ว่าหัวใจจะเต้นช้าหรือเร็วแค่ไหน ไอ้ ตุ๊บ ตุบเนี่ยก็จะยังคงสม่ำเสมอตลอด หัวใจเต็นเร็ว ก็ตุ๊บๆ เร็วเท่าๆกัน เต้นช้าก็ตุ๊บๆช้าเท่าๆกัน

(หวังว่าจะไม่ทำให้งงเพิ่มขึ้นนะคะ แหะๆ)




Auer เล่าว่ารางวัลราคาแพงที่นักดนตรีต้องจ่ายให้กับความสำเร็จนั่นคือ ความล้มเหลวในชีวิตครอบครัว


เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะตารางชีวิตของนักดนตรีไม่เคยมีความแน่นอน การทำงานให้สตูดิโอหรือการแสดงคอนเสิร์ต ทำให้ต้องกลับบ้านดึกเสมอๆ และมักจะไม่มีโอกาสได้อยู่กับเด็กๆในเวลาที่พวกเขาต้องการ


สำหรับ Heifetz นอกจากเขาจะมีปัญหาครอบครัวในวัยเด็ก ซึ่งทำให้ตัวเขาไม่ค่อยเข้าใจว่าอะไรคือครอบครัวแล้ว ยังมีอีกหนึ่งปัญหา คือ ความที่เขาไม่รู้จักคำว่า “พอ” ในดนตรี


“ There is always room for improvement”

เป็นอีกหนึ่งคำขวัญประจำใจของ Heifetz แม้ว่าตัวเขาเองจะมีความเชื่อว่าความสมบูรณ์แบบนั้นเป็นไปได้ แต่กลับไม่เคยยอมรับมัน


แต่สำหรับฉันแล้ว Heifetz ดูจะเป็นปัญหาเดียว เพราะความเจ้ากี้เจ้าการของเขากับชีวิตของฉัน ซึ่งอันที่จริงแล้วที่ถูกต้องคือเขามักจะวุ่นวายกับทุกๆคนที่เขารู้จักเลยต่างหาก

บ่อยครั้งที่ฉันต้องยกเลิกนัดกับคนอื่นๆ เพราะต้องมาพบเขาด้วยเหตุผลที่ว่า “มีบางอย่างสำคัญมาก” หรือ “มีสิ่งที่สำคัญกว่าเรื่องที่เธอกำลังทำอยู่ในตอนนี้” ซึ่งฉันไม่สามารถปฏิเสธได้ และตอบกลับไปได้แต่เพียงว่า

“ ค่ะ คุณไฮเฟต”


โชคดีที่ Michael สามีของฉันเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของฉันกับHeifetz เป็นอย่างดี และไม่ถือสา แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่นเสมอไป เพราะปัญหาเริ่มเกิดขึ้นตอนที่ Ada ลูกสาวของฉันเกิด

Heifetz ออกอาการเหมือนเด็กที่อิจฉาเวลามีน้องเกิดใหม่ และเขาปฏิเสธเธอในทีแรก จนกระทั่งวันนึงเมื่อลูกสาวของฉันอายุได้ 5 เดือน และฉันตัดสินใจพาเธอไปที่บ้านของเขา


แทบไม่น่าเชื่อว่าเขาจะต้อนรับเราเป็นอย่างดี

แต่ที่แย่คือเมื่อ Heifetz ส่งเสียงบอกว่าใครใหญ่ที่สุดในบ้านนี้ ซึ่งเขามักจะทำเป็นประจำ เขาทำให้ Ada กลัวอย่างมาก แต่ไม่ว่าเขาจะกล่าวอะไร Ada ก็ตอบสนองได้เพียงอย่างเดียวคือการร้องไห้เท่านั้น

ซึ่งนั่นเป็นที่มาของคำพูดที่เขาชอบพูดเสมอๆว่า

“เด็กๆนั้นน่าเอ็นดู แต่ไม่น่าได้ยิน”

หลังจากเด็กน้อยเริ่มชินกับเสียงของคุณลุงแล้ว เธอก็ยอมให้เขาอุ้มได้ซักพัก และฉันพบว่า Heifetz ใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อที่จะอยู่ร่วมกับเด็ก ซึ่งฉันคิดว่าเขาคงต้องพยายามกับลูกของเขาเหมือนกัน



หลังจาก Ada เกิด Heifetz ก็จัดแจงให้ตนเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของฉัน
ซึ่งเขามักจะเชิญตนเองไปดินเนอร์สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง (ซึ่งฉันต้องเป็นคนขับรถไปรับ-ส่ง)


ด้วยความที่ Heifetz เชื่อว่าเขาเกิดมามีสายเลือกนักแต่งบ้านอยู่ในตัว ดังนั้นอย่างที่เคยเล่าไปในตอนแรก เขามักจะเข้ามาเจ้ากี้เจ้าการช่วยจัดบ้านเสมอพร้อมกับคติประจำตัว


“ There is always room for improvement”

เขานิยมใช้คตินี้กับทุกๆเรื่องไม่เฉพาะกับดนตรี


ในตอนที่ Ada ยังเด็ก เธอได้รับอนุญาตให้เรียกเขาว่า ลุงJascha ส่วนตัวเขาเองก็ชอบเรียกเธอตามสไตล์รัสเซียว่า Adatchka และทุกครั้งที่เขามาที่บ้าน ฉันจะต้องแต่งตัว Ada ในเสื้อผ้าตามแบบที่เขาชอบ รวมไปถึงต้องบอกคนอื่นๆและแขกที่จะมาที่บ้านให้ปฏิบัติตามด้วย


แม้ว่า Heifetz จะบอกว่าให้ฉันเชิญแขกมาได้เต็มที่ และไม่ต้องยกเลิกนัดกับใครเวลาที่เขามา แต่เขายังคงต้องการตรวจสอบดูรายชื่อก่อนว่าในวันนั้นเขาจะต้องเจอะกับใครบ้าง และมีใครบ้างที่เขาไม่อยากจะเจอะอีกเป็นครั้งที่ 2


ทุกๆครั้งฉันจะต้องกำชับแขกคนอื่นๆ ถึงสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนที่จะมาพบ Heifetz โดยเฉพาะผู้หญิงที่แม้จะอนุญาตให้แต่งตัวตามสบาย แต่ว่าจะต้องไม่สวมกางเกง


นอกจากนี้ ต้องห้ามแขกทุกคนมิให้ถามถึงเรื่องเกี่ยวกับไวโอลิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแสดงหรือผลงานของเขา เรื่องศิลปินที่เขาชื่นชอบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องส่วนตัว

แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ฉันลืม และแขกผู้หนึ่งเกิดถามขึ้นมา

Heifetz ฟังคำถามด้วยความอดทนเงียบๆ จากนั้นตอบไปว่า

“หยุดถามเสียทีเถอะ มิฉะนั้นผมจะส่งบิลไปเก็บเงิน”



ซึ่งนั่นก็ได้ผล แขกผู้นั้นเพียงแต่หัวเราะเบาๆด้วยความกลัว และหยุดพูดในทันที


แต่อันที่จริงแล้ว Heifetz เป็นคนที่ชอบพบปะพูดคุยกับผู้คนใหม่ๆอยู่เสมอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยของคนๆนั้นด้วย เพียงแต่มีอยู่ 3 เรื่องที่เขาไม่ต้องการจะคุยด้วยนั่นคือ การเมือง , ดนตรี และ ศาสนา


รูปนี้ไม่ใช่ที่บ้าน Agus นะคะ
แต่เป็นรุป Heifetz กำลังสนทนากับ Katharine Hepburn และ Peter Lorre
ที่บ้านของ Lawrence Tibbett ใน New York


ในชีวิตของศิลปิน มีอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ “ผู้จัดการส่วนตัว” จากนิสัยของ Heifetz ที่พวกเราทราบกันมา คงไม่ต้องสงสัยเลยว่าคนอย่างเขาจะต้องมีปัญหาแน่ๆ


“ใครจะไปอยากได้ผู้จัดการ แต่ถ้าไม่มีพวกเขาแล้วใครจะทำงานหล่ะ”


เวลาที่เขาเล่าถึงผู้จัดการของเขาในอดีต ส่วนใหญ่มีแต่เรื่องบ่นๆ เพราะผู้จัดการส่วนตัวของเขามักจะจัดตารางแน่นเอี๊ยด โดยที่ไม่ถามความเห็นของเขา ซึ่งเขาเล่าว่ามีครั้งหนึ่งเขาต้องเล่นคอนเสิร์ตในขณะที่ไม่สบาย เขาติดเชื้อที่ตรวจพบได้ยากและมีไข้สูงมากตอนแสดง ซึ่งเขาเล่าว่าตอนนั้น เขาตาลายไปหมด และรู้สึกเหมือนผู้ชมและเวทีกำลังแกว่งไปมา แต่เขาก็ยังคงยืดหยัดเล่นจนจบการแสดงโดยที่ไม่มีใครสังเกตุเห็นถึงความผิดปกติเหล่านั้น


ไม่เพียงแต่คุณผู้จัดการจะมีหน้าที่ในการจัดตารางการซ้อมและแสดงคอนเสิร์ต เขายังคอยทำหน้าที่ดูแลเรื่องการปรากฏตัวต่อสาธารณะชนของ Heifetz รวมถึงแผนโปรโมทต่างๆอีกด้วย ซึ่งผู้จัดการของเขานั้นทำทุกวิถีทางเพื่อให้เขาดังเปรี้ยงปร้าง เพราะมันจะทำให้บัตรคอนเสิร์ตขายจนหมดเกลี้ยง


“เงิน เงิน เงิน” คือคำพูดที่ Heifetz บ่นถึง


เขายังจำได้ถึงการแข่งขันสุดโหดในเวลานั้น และดูเหมือนจะลืมไปว่า ด้วยความสามารถของคุณผู้จัดการเนี่ยหล่ะ ที่ทำให้เขากลายเป็นนักไวโอลินที่มีค่าตัวแพงที่สุดในเวลานั้น


Accompanist เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ Heifetz พิถีพิถันในการเลือกสรรเป็นอย่างมาก เขาไม่เคยบ่นถึงฉัน แต่มักจะเล่าถึงเรื่องในอดีตให้ฟัง โดยเฉพาะเรื่องของ “ชาวฮังกาเรียน ผู้ไม่เคยได้รับอากาศบริสุทธิ์”

Heifetz เล่าว่า นักเปียโนผู้นี้มักจะปิดหน้าต่างของรถไฟตลอดเวลาที่ออกทัวร์คอนเสิร์ต แม้ว่าตอนนั้นจะเป็นช่วงหน้าร้อนที่อากาศร้อนจัดก็ตาม นิสัยของนักเปียโนท่านนี้ ช่างแตกต่างกับ Heifetz โดยสิ้นเชิง เพราะ Heifetz เป็นคนที่ชอบอากาศบริสุทธิ์เป็นที่สุด


Heifetz ชอบใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกบ้าน หรือเมื่อเวลาที่เขาอยู่ในบ้านก็จะเปิดประตูหน้าต่างรับลมเสมอๆ ไม่เว้นแม้แต่ในฤดูหนาว และนั่นส่งผลให้บิลค่าแก๊สสูงพุ่งพรวด ซึ่งเขาเองก็มักจะบ่นอยู่เสมอๆแถมไม่ค่อยจะยอมจ่ายมันเท่าไหร่


นอกจากบุคคลสำคัญ 2 คนที่ว่าแล้ว Heifetz ยังมีอีก 1 กลุ่มคน ที่ดูเหมือนจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเขา นั่นคือ บรรดานักข่าวทั้งหลาย


อย่างที่เราทราบกันดี Heifetz เป็นคนที่ไม่ชอบถูกตั้งคำถาม หรือมาเซ้าซี้ถามเรื่องส่วนตัวซอกแซก แต่ทว่านั่นหล่ะ คืออาชีพหลักของบรรดานักข่าว

และด้วยความบังเอิญว่า Heifetz เองก็เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องความสามารถในการพูดจาทิ่มแทงใจ และบอกปัดคำถามต่างๆ ในบางครั้งเขาก็ตอบคำถามต่างๆด้วยคำตอบโง่ๆเพื่อที่จะได้หลุดจากการถูกต้อนให้จนมุม ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีนักข่าวหลายคนไม่พอใจและตั้งตนเป็นปรปักษ์กับเขา แถมบางคนยังประกาศตนอีกว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อล้มเขาให้ได้ในวันที่เขาไม่ได้เล่นคอนเสิร์ตอีกต่อไปแล้ว




แผ่นโปรแกรมการแสดงของ Heifetz เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1951 ซึ่งจัดขึ้นที่ Symphony Hall ในเมือง Boston โดยมี Emanuel Bay ทำหน้าที่เป็นนักเปียโน accom
(นักเปียโนท่านนี้รู้สึกจะเป็นชาวรัสเซียนะคะ โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเขาเป็นชาวฮังกาเรียนผู้ไม่เคยได้รับอากาศบริสุทธิ์)


แผ่นโปรแกรมในรูปนี้ มีบิตขายอยู่ใน ebay ค่ะ ราคาอยู่ที่ 52 US ใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ลองหากันดูนะคะ


Heifetz ชื่นชอบการเล่นวง Chamber เป็นชีวิตจิตใจ และเขายังบรรจุมันลงในแผนการสอน master class ของเขาอีกด้วย ตอนที่ฉันอยู่ในชั้นเรียน ต้องเล่น chamber อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนหรือมากกว่า โดย Heifetz จะเชิญนักเรียนcelloจากชั้นเรียนของ Piatigorsky ที่ USC มาเล่นร่วมกัน


Heifetz จะบอกกับนักเรียนล่วงหน้าเพียง 2-3 วัน ว่าจะมีการเล่น chamber แต่ไม่ได้บอกว่าใครมีหน้าที่ต้องเล่นส่วนไหนหรือเครื่องอะไร ดังนั้น นักเรียนทุกคนจะต้องเตรียมพร้อมเสมอและสามารถเล่นโน๊ตได้ในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน 1 หรือ 2 หรือแม้แต่ในส่วนของ วิโอลา เพราะเมื่อถึงเวลาที่เล่นจริงๆ เขาก็มักสลับเปลี่ยนตำแหน่งของแต่ละคนเสมอหลังจากจบเพลง


Heifetz มองว่า ข้อดีของการเล่นวง chamber คือ นักเรียนจะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ได้ซึมซับเทคนิคและสไตล์การสีไวโอลินของผู้เล่นคนอื่นๆได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะนักเรียนส่วนใหญ่หรือแม้แต่ศิลปินที่มือชื่อเสียง ก็มักจะไม่เคยมีโอกาสได้เล่นวง chamber ซักเท่าไหร่เช่นกัน

ผู้ที่เล่น chamber ต้องไม่โดดเด่นอยู่คนเดียว และต้องฝึกที่จะรู้จักรับฟังผู้เล่นคนอื่นๆ เพื่อที่จะได้ช่วยกันประคองให้สามารถเล่นเพลงไปได้ตลอดรอดฝั่ง

นอกจากนี้การเล่นร่วมกับผู้อื่น ทำให้นักเรียนที่ฝีมืออ่อนด้อยเกิดแรงบันดาลใจโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เจ้าตัวมีความพยายามฝึกฝนตนเองมากขึ้น และมีบ่อยครั้งที่นักเรียนเหล่านี้ สามารถเล่นเพลงในท่อนยากๆได้อย่างไม่น่าเชื่อ


Heifetz ชอบกำกับนักเรียนตอนเวลาที่สีไวโอลิน ไม่เว้นแม้แต่เวลาที่กำลังเล่น Chamber อยู่ บ่อยครั้งที่เขาลงมาเล่นกับนักเรียน และสอนพวกเราโดยที่ไม่ต้องเอ่ยปากบอก ส่วนวิธีการของเขานั้น ก็เพียงแค่เน้นสีบางจุดในเด่นชัด ใส่อารมณ์ลงไป หรือเพียงแค่สบตา แล้วคอยดึงพวกเราให้ไปในทิศทางตามที่เขาต้องการ


ฉันมีโอกาสได้เล่นวง chamber ร่วมกับ Heifetz หลายต่อหลายครั้ง ทั้งในชั้นเรียน ที่บ้านของเขา และที่บ้านของคนอื่น

มีครั้งหนึ่งที่ฉันจำได้ดี เราไปเล่นร่วมกันที่บ้านของ Piatigorsky นัก cello ผู้มีชื่อเสียงและเป็นเพื่อนกับ Heifetz

วันนั้นเราเล่นเพลง Piano trio in C minor ของ Brahms ด้วยกัน


ทำนองหลักของเพลงนั้นค่อนข้างยาวและโรแมนติกมาก และในช่วงแรก Piatigorsky เป็นคนเริ่มเล่นก่อน ซึ่งเขาก็ตีความดนตรีออกมาได้อย่างงดงามและไพเราะ แต่ในระหวางนั้น ฉันก็แอบเห็นสีหน้าของ Heifetz ในตอนนั้นเช่นกันว่ามีท่าทีหงุดหงิด

และไม่ต้องสงสัยเลยว่า เมื่อถึงตาของเขาที่ต้องเล่นในประโยคเดียวกัน ฉันจะต้องพยายามตามการเล่นของเขาซึ่งแตกต่างจาก Piatigorsky ไปโดยสิ้นเชิงให้ได้ เสียงที่เขาแสดงออกมา คือสิ่งที่เขาอยากจะบอกกับ Piatiogorsky


แล้วก็มาถึงในตอนที่ตื่นเต้น คือเมื่อถึงท่อนที่ทั้งคู่ต้องเล่นพร้อมกัน ฉันหวั่นใจอย่างมากว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะทั้งคู่ต่างเล่นเพลงไปในแนวทางที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

แต่ปรากฏว่า ทั่งคู่ต่างสามารถเล่นร่วมกันได้อย่างสวยงามที่สุด ไม่มีการทะเลาะกันว่าใครผิดใครถูก หรือว่าเพลงนี้ควรจะเล่นไปในทิศทางใด และอันที่จริงแล้วไม่มีแม้แต่คำพูดใดๆเลยด้วยซ้ำ เพราะทั้ง 2 คน สนทนากันผ่านเสียงดนตรีไปเรียบร้อยแล้ว




Piano Trio in C Minor, Op 101 by Johannes Brahms

ใน youtube ไม่มีเวอร์ชั่นที่ Heifetz กับ Piatigorsky เจอะแต่ผลงานของเด็กๆเกาหลีเขาเล่นกัน ดูแล้วน่ารักดี เก่งๆทั้งนั้นเลย


ทุกท่านยังจำได้หรือไม่ ว่า Heifetz มีปัญหาทางสุขภาพ ที่เกิดจากการสีไวโอลินของเขา แม้ว่าเขาจะหมั่นเช็คสุขภาพและตรวจสอบมันอยู่เสมอ แต่เมื่อเวลานั้นมาถึง เขาก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงมันได้


เขาตำหนิตัวเองหลายต่อหลายครั้ง ว่าไม่ฟังคำเตือนของพ่อของเขา ที่แนะนำให้เลิกเล่นไวโอลินตอนอายุ 55 ปี และยังคงสีไวโอลินต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเขามีอายุได้ 73 ปี เมื่อถึงตอนนั้น กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ขวาของเขารวมทั้งเส้นเอ็นต่างๆ หลุดออกจากกระดูก มันบาดเจ๊บจนเกินจะเยียวยาแล้ว และสุดท้ายหมอก็ยืนยันว่าต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด


การผ่าตัดสำเร็จได้ด้วยดี แต่มันช่วยรักษาเขาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

ครั้งแรกที่เขาสีไวโอลิน หลังจากผ่าตัด คือในงานปีใหม่ ที่บ้านของช่างซ่อมไวโอลินของเขา และเพื่อช่วยให้เขาสามารถยกแขนขึ้นได้ จึงต้องมีอุปกรณ์เสริมเป็นแท่งเหล็กติดสปริง ที่ช่วยให้เขาสามารถยกแขนขึ้นด้วยข้อศอกได้


Heifetz พยายามใช้อุปกรณ์เสริมนี้อยู่พักหนึ่ง แต่ทว่าหลังจากสีไปซักพัก เขาก็สะบัดเครื่องช่วยนั่นออกไปเสีย แล้วพยายามสีไวโอลินต่อไป


ฉันจำเหตุการณ์ตอนนั้นได้ดี เพราะฉันตกใจมากแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ที่สำคัญคือในวันนั้นนักเปียโนที่นัดกันไว้เกิดไม่มา และฉันต้องเล่นแทนโดยไม่ได้ซ้อมมาก่อน พร้อมกับต้องคอยเฝ้าดูเขาในระหว่างที่กำลังดีดเปียโนไปด้วย


และเมื่อเขาไม่สามารถยกหัวไหล่ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้อีกต่อไป เขาจึงแก้ไขโดยการค่อยๆ ลดความสูงของไวโอลินในมือซ้ายลงเรื่อย ๆ เพื่อที่มือขวาของเขาจะได้ยังสามารถสีได้ และเมื่อเพลงจบลง ก็พบว่าเขาหมดแรงโดยสิ้นเชิง


ไม่มีเสียงบ่นใดๆออกจากปากของเขาหรือแม้แต่คำแนะนำต่อผู้เล่นคนอื่นๆที่เขามักจะทำเป็นประจำ จะมีแต่เพียงความอับอายและคำพูดที่กล่าวด้วยความรู้สึกเจ็บปวดว่า


“ นี่ไม่ใช่การสีไวโอลิน”


และแม้ว่าหลังจากผ่าตัด เขาจะพยายามซ้อมไวโอลินในแบบใหม่ เพื่อให้เคยชินกับสภาพร่างกายของเขา แต่ทว่าไหล่ของเขาเปลี่ยนแปลงไปแล้วและเขาไม่สามารถถือไวโอลินแบบเดิมได้อีก ซึ่งนั่นทำให้เขาไม่มีวันที่จะสีไวโอลินแบบเดิมได้อีกต่อไปแล้ว จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต



แม้ว่างานปีใหม่ครั้งนั้นจะดูน่าเศร้า แต่ก็คงต้องบอกว่า Heifetz เป็นคนที่ชอบจัดงานปีใหม่มากๆ ตามปกติแล้วเขาจะไปเช่าบ้านหรือ apartment ในทะเลทราย แต่ในช่วงหลังๆ ที่เขาเริ่มชราลง ก็หันกลับมาจัดที่บ้านพักชายหาดหรือที่ bevery hill แทน


งานปีใหม่ของ Heifetz จะเริ่มตอนราว 1 ทุ่ม และแขกทุกคนจะไม่ได้รับอนุญาตให้มางานก่อน 6 โมง

พวกเราจะตั้งวง chamber เล่นกันตั้งแต่ 1 ทุ่ม ยาวเรื่อยไปจนถึง ราว 4 ทุ่ม จึงจะพักทานอาหารและพุดคุยกันจนถึงราวเที่ยงคืน จากนั้น Heifetz จะเปิดเพลง light music แบบที่เขาชอบ และเปิดฟลอเต้นรำกัน ซึ่งนี่คนเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาอนุญาตให้ผู้มาร่วมงานสามารถควงคู่เดทของตนมาได้


งานเต้นรำจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนสว่าง และทุกครั้งดูเหมือนว่า Heifetz ผู้มีพลังงานเต็มเปี่ยม จะเป็นคนสุดท้ายที่ยอมลงจากเวที


วันปีใหม่ ในช่วงปีท้ายๆในชีวิตของ Heifetz ในตอนที่เขาอายุราว 86 ปี เขาไม่บ่น หรือวุ่นวายอะไรอีกแล้ว เขาเพียงแค่นั่งอยู่บนโซฟามุมโปรดที่ตั้งอยู่ข้างๆเปียโนของเขา และปล่อยให้ฉันจัดการทุกอย่าง ด้วยความชราเขาทำได้เพียงแต่เฝ้าดูพวกเรา เพราะแม้แต่การพูดคุยสำหรับเขาก็ยากลำบากแล้ว


ในตอนนี้เขาไม่มีนักเรียนอีกแล้ว แต่ Heifetz ยังคงต้องการให้งานปีใหม่ยังคงดำเนินต่อไป และสั่งให้ฉันเชิญเพื่อนนักดนตรีอาชีพของเขามาแทนเพื่อเล่นวง chamber ด้วยกัน

แต่แม้ว่าทุกคนจะถูกเตือนว่าไม่ให้ซ้อมมาก่อน เพราะเสห่นของการเล่น chamber คือการที่ทุกคนใช้ไหวพริบในการมาเล่นด้วยกัน แต่พวกเขากลับทำเพราะเข้าใจว่าการเล่นที่สมบูรณ์แบบจะทำให้ Heifetz พอใจ แต่พวกเขาเข้าใจผิดและ Heifetz ก็จับได้ในทันที


เขาโกรธมากจนหน้าแดงก่ำ เอาไม้เท้ากระแทกที่เปียโนที่รักของเขา และตามด้วยการตะโกนด้วยเสียงอันดัง โวยวายต่อว่าผู้มาร่วมงานอย่างรุนแรง


“ฉันบอกแล้วใช่ไหมว่าไม่ต้องซ้อม นี่ไม่ใช่คอนเสิร์ต นี่คืองาน chamber music evening!”


ซึ่งแม้มันจะดูน่าอายมาก แต่เขาไม่สนใจ เพราะเขาถือว่าที่นี่คือบ้านของเขา ซึ่งเขาสามารถจะทำทุกอย่างที่ต้องการได้

หลังจากฉันปลอบให้เขาสงบลง เขาก็สั่งให้ฉันไปหยิบโน๊ตอะไรก็ได้ในห้องสมุดส่วนตัวของเขา ให้หยิบเพลงซึ่งทุกคนไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน การเล่นในหนนี้ ไม่สมบูรณ์แบบเท่าครั้งแรก แต่มันก็ทำให้ Heifetz มีความสุข เขายังคงยึดมั่นในประเพณีงานปีใหม่แบบเดิมๆของเขา ตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต......

---------------------------จบบทที่ 9------------------------------------


Schubert trio no.1
1st. Movement

1953 in Rubinstein's house.

Jascha Heifetz- Violin
Artur Rubinstein- Piano
Gregar Piatigorsky- Cello




ปล. เรื่องของ Heifetz นี้ ไม่ได้แปลจากหนังสือทั้งหมด หนังสือสนุกและมีรายละเอียดเยอะมากๆ จขบ แค่อ่านๆแล้วมาเล่าๆรีวิวให้ฟังนะคะ ตัวเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการแปลหนังสือ และภาษาก็ไม่ได้แข็งแรงอะไร ดังนั้นหากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยค่ะ








Create Date : 18 เมษายน 2552
Last Update : 21 เมษายน 2552 10:46:48 น. 0 comments
Counter : 1424 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vitamin_C
Location :
Pasadena United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีค่ะ อากาศดี ก็อารมณ์ดีเนอะ .......^-^

คิดถึงบ้านที่เมืองไทยเป็นที่สุด
ถ้าไม่นับห้องสมุดๆเจ๋งๆกับพิพิธภัณฑ์ดีๆ กับอาหารหลากหลายเชื้อชาติให้กินได้ไม่ซ้ำทุกวันแล้วหล่ะก็ เมืองไทยชนะขาดในทุกกรณี ว่าแต่เมื่อไหร่ ห้องสมุดกับพิพิธภัณฑ์ของบ้านเราจะพัฒนาซักทีน้อ....


ถึงแม้ว่าบล๊อกนี้จะไม่ค่อยมีสาระ แต่เนื้อหาและข้อความทั้งหมด
รวมไปถึงรูปภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่ายเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ ของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์น จำกัด
ห้ามผู้ใดนำไปเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของบล๊อก หรือ จากกองบรรณาธิการ

หากมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาติดต่อหลังไมค์
หรือ
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น 966/10 ซ.พระราม6 19 ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กทม 10400
โทร 02-6137140
Email vitavitac@gmail.com
Friends' blogs
[Add Vitamin_C's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.