กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
7 เมษายน 2564
space
space
space

ภาษาธรรมไม่ใช่ภาษาไทย


     ที่ว่า ภาษาธรรมไม่ใช่ภาษาไทย   หมายถึงว่า  ศัพท์ทางธรรม   เขามีความหมายจำเพาะของเขา   จะมาด้นมาเดามาตีความเอาเองไม่ได้     ทำไมจะด้นไม่ได้   มีปัญหาอะไรหรอ ?   มันก็ได้ความหมายไม่ตรงกับความหมายของเขาไง    50    เขามีความหมายอย่างหนึ่ง  แต่เราว่าไปอีกอย่างหนึ่ง   นี่มันไม่ตรงกันแล้ว   เพราะฉะนั้น   เมื่อต้องการจะรู้หลักธรรม  เราก็ต้องว่าไปตามเขา  เหมือนเรียนภาษาต่างประเทศ ฉะนั้น

     กัมมัฏฐาน     ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจ และเจริญปัญญา  (นิยมเขียน กรรมฐาน)

กัมมัฏฐาน ๒   (โดยหลักทั่วไป) คือ

     ๑. สมถกัมมัฏฐาน           กรรมฐานเพื่อการทำใจให้สงบ, วิธีฝีกอบรมเจริญจิตใจ
 
   ๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน     กรรมฐานเพื่อการให้เกิดความรู้แจ้ง, วิธีฝีกอบรมเจริญปัญญา

กัมมัฏฐาน ๒  (โดยการปฏิบัติ)  คือ

    ๑. สัพพัตถกกัมมัฏฐาน    กรรมฐานที่พึงต้องการในที่ทั้งปวง หรือพึงใช้เป็นฐานของการเจริญภาวนาทุกอย่าง, กรรมฐานที่เป็นประโยชน์ในทุกกรณี ได้แก่ เมตตา มรณสติ และบางท่านว่า อสุภสัญญาด้วย

    ๒. ปาริหาริยกัมมัฏฐาน    กรรมฐานที่จะต้องบริหาร (ประจำตัว) คือ กรรมฐานข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม ที่เลือกว่าเหมาะกับตน เช่นว่า ตรงกับจริตแล้ว หรือกำหนดเอาเป็นข้อที่ตนจะปฏิบัติเพื่อก้าวสู่ผลที่สูงขึ้นไปๆ แล้ว ต่อแต่นั้นก็จะต้องเอาใจใส่จัดปรับบำเพ็ญตลอดเวลาเพื่อให้ก้าวหน้าไป และได้ผลดี, ทั้งนี้หมายความว่าผู้ปฏิบัติทุกคนพึงปฏิบัติกรรมฐานตั้ง ๒ ข้อ เนื่องจากสัพพัตถกกัมมัฏฐานจะช่วยเป็นพื้นเกื้อหนุนต่อปาริหาริยกัมมัฏฐาน    โดยผู้ปฏิบัตินั้น   พอเริ่มต้น     ก็เจริญเมตตาต่อประดาภิกษุสงฆ์และหมู่ชนตลอดถึงเทวดาในถิ่นใกล้รอบตัวจนทั่ว สรรพสัตว์ เพื่อให้ใจอ่อนโยนต่อกัน และมีบรรยากาศร่มเย็นเป็นมิตร พร้อมกันนั้นก็เจริญมรณสติ เพื่อให้ใจห่างจากทุจริตไม่คิดถึงอเนสนา และกระตุ้นเร้าใจให้ปฏิบัติจริงจัง ไม่ย่อหย่อน ส่วนอสุภสัญญาก็มาช่วยให้โลภะหรือราคะเข้ามาครอบงำไม่ได้ เพราะจะไม่ติดใจแม้แต่ในทิพยารมณ์ แล้วก็มุ่งหน้าไปในปาริหาริยกัมมัฏฐานของตน
   



Create Date : 07 เมษายน 2564
Last Update : 20 ธันวาคม 2566 18:22:41 น. 1 comments
Counter : 487 Pageviews.

 
พอเข้าใจแระ


โดย: เรียนรู้ (สมาชิกหมายเลข 6393385 ) วันที่: 7 เมษายน 2564 เวลา:9:00:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space