|
The Wrestler - ละครชีวิต
ภาพยนตร์เรื่อง The Wrestler ทำให้ผมเปลี่ยนทัศนคติในทางลบที่มีให้กับกีฬาและคนคนหนึ่งให้หายไปอย่างสิ้นเชิง
อย่างแรกคือกีฬามวยปล้ำและอย่างที่สองคือดาราภาพยนตร์ที่ชื่อ Mickey Rourke

กีฬามวยปล้ำถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน ตัวมันเองและตัวผู้เล่นไม่เคยได้รับความนิยมอย่างบ้าคลั่งในประเทศอื่นนอกจาก อเมริกาและญี่ปุ่น แม้กระนั้นในเมืองไทยของเราก็มีกลุ่มหนึ่งที่กีฬาประเภทนี้เป็นที่ชื่นชอบ ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆชั้นประถม มีรายการทีวีนำเอามวยปล้ำญี่ปุ่นมาฉายโชว์ทุกสัปดาห์ และผมก็เคยนั่งดูหลายครั้ง
จำได้คนเดียวคือนักมวยปล้ำชื่อ ดัม มัสสึโมโตะ โด่งดังเอามากๆ ก่อนที่ความนิยมมวยปล้ำจะลดลงเหลือแค่เฉพาะกลุ่มเช่นเคย - สาเหตุที่ผมเลิกดูมวยปล้ำเพราะไปหลงไหลกีฬาฟุตบอลแทน แต่ที่สำคัญคือได้รับข้อมูลจากญาติรุ่นพี่คนหนึ่งว่าไอ้ที่สู้กันอยู่บนเวทีนั้น มันไม่ใช่สู้กันจริงๆ แต่มันเป็นการแสดงทั้งนั้น
ตอนนั้นยังเด็กเลยรู้สึกว่าถูกหลอกและเลิกดูไป ตอนหลังๆเลยไม่ได้สนใจกีฬาชนิดนี้เลย
Mickey Rourke เป็นนักแสดงที่ผมไม่ชอบเท่าไร เพราะผมรู้สึกไปเองว่าเขาแสดงหนังไม่เก่ง มีแต่วางมาดแบบแมนๆเท่ห์ๆ และยังมีเรื่องราวนอกจอที่พอได้ยินแล้วก็รู้สึกแปลกๆ (เช่น เคยหนีกองถ่ายไปชกมวยหาลำไพ่พิเศษเป็นต้น)
The Wrestler - เป็นชื่อเรื่องที่หมายถึงนักมวยปล้ำและนักแสดงนำที่ชื่อ มิคกี้ โรท ไม่ได้มีส่วนทำให้ผมอยากดูหนังเรื่องนี้เลย แต่ชื่อผู้กำกับ Darren Aronofsky ต่างหากที่ทำให้ผมซื้อมันมาดู
Darren Aronofsky ที่ผมไม่เคยผิดหวังในฝีมือกำกับภาพยนตร์ เขาทำให้ทึ่งมากๆ อย่างที่ผมเคยเขียนถึงงานของเขาเรื่อง PI แล้ว ยังทำให้หลอนแบบใจขาดใน Requiem for a Dream และงงจนบอกใครไม่ได้ใน The Fountain และในหนังนักมวยปล้ำนี้ก็ทำเอาผมน้ำตาซึมในบทสรุปซีนสุดท้าย
หนังพูดถึง Randy "The Ram" Robinson นักมวยปล้ำชื่อดังในยุค 80 ในยุคปัจจุบันที่เขากลายเป็นชายวัยกลางคนต้นๆ 50 ที่ตอนนี้ไม่มีงานอื่นทำ ไม่มีบ้าน หย่ากับภรรยา มีลูกสาวที่เขาไม่เคยพบหน้ามานาน ถ้าหากเขาไม่มีงานขึ้นแสดงมวยปล้ำก็ไม่มีเงินจ่ายค่าห้องเช่าโทรมๆ บางครั้งต้องไปรับจ๊อบยกของที่ซุปเปอร์มาเก็ดที่เพื่อนเป็นผู้จัดการอยู่
ที่ทำให้ผมทึ่งคือหนังแสดงถึงเบื้องหลังของกีฬามวยปล้ำนี้อย่างละเอียดยี่ถิบ พวกเขาเป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ถึงในทางการตลาดจะแบ่งฝ่ายเป็น 2 ข้างคือกลุ่มธรรมมะและกลุ่มอธรรม (คือพวกชอบเล่นโกง รุมสองหรือเอาเก้าอี้มาตีแบบนี้) แต่จริงๆแล้วทุกๆอย่างมีการจัดเตรียมเอาไว้ ว่าใครจะเล่นแบบไหน จะใช้อะไรตี และใครจะเป้นผู้ชนะ
แต่ที่ผู้กำกับบอกให้เข้าใจ (ทั้งๆที่น่าจะคิดเองได้มานานแล้ว) คือถึงมันเป็นการแสดง แต่ก็ใช่ว่าผู้เล่นจะไม่เจ็บปวด !!!!
ไม่ว่าชีวิตข้างหลังจะเจ็บปวดแค่ไหน แต่เมื่อเดินออกจากห้องแต่งตัวพวกเขาก็ต้องทำตัวฮึกเหิมเอาใจแฟนๆ จะเป็นแผ่นไม้ก็ดี แผ่นเหล็กก็ดี เมื่อแฟนๆยื่นให้ก็ต้องเอามาตีหัวตีท้อง ต้องยืนอย่างสง่าบนเวที แม้ว่าเบื้องหลังที่ยืนในสังคมอื่นๆพวกเขาแทบจะไม่มี
แต่ละซีนหนังตอกย้ำถึงความเจ็บปวด ทั้งๆที่เป็นการแสดง บรรดานักมวยปล้ำต้องออกกำลังกายอย่างหนักในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายและผิวหนังแข็งแกร่ง / พวกเขาต้องซ่อนใบมีดโกนเพื่อไว้กรีดตามเนื้อตัวให้เลือดออกสมจริง / ต้องชกกันจริงๆเพื่อให้หน้าแดง / บางโชว์ก็ต้องเอาถาดบ้าง แม๊คยิงกระดาษบ้าง มายิงตามเนื้อตัว / กระทั้งเอาลวดหนามมาตีกัน เพื่อเพิ่มความมันส์สะใจแก่ผู้ชม
และเมื่อถึงวันหนึ่ง หลายๆคนที่หมดสภาพในการแสดงบนเวที บางคนขาพิการ / แขนพิการ / มีอาการทางสมอง / หรือกระทั้งเป็นโรคหัวใจ สิ่งที่พอจะหาเงินยาไส้ได้ก็คือไปนั่งในชมรมและจัดวันให้บรรดาแฟนพันธ์แท้ (ที่มีน้อยมากบางคนมีเหลือแฟนๆแค่ 2-3 คน) เข้าพบเพื่อถ่ายรูป แจกลายเซ็น ขายวีดีโอ เลี้ยงชีพไปวันวัน

Darren Aronofsky กำกับดีมากครับ บทภาพยนตร์ก็มีเหตุมีผล แต่ที่เด่นที่สุดคือภาคการแสดง มาริสา โทเม และ ราเชล วู๊ด แสดงได้ดีตามบทนักแสดงเปลื้องผ้าและลูกสาวของแรนดี้ กำลังใจเพียงสองอย่างของเขา แต่ที่เด็ดที่สุดคือ มิคกี้ โรท ที่ไม่ได้ทำงานหลายปีจนลืม - แสดงได้อย่างเข้าถึงบทจริงๆ ชนิดที่ผมต้องหยิบเอาหนังเก่าๆที่เขาเล่นที่มีเก็บไว้มาดูใหม่ เพราะคิดว่าที่ผ่านมาประเมินเขาต่ำเกินไป
และคราวหนังออกฉายเมื่อปีที่แล้วหนังก็ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ ได้เข้าชิงรางวัลใหญ่ๆมากมาย โดยเฉพาะโรท ที่ตอนรับแสดงเขาไม่ได้ค่าตัวสักบาท - อารอนอฟสกี้ บอกว่าโรทว่า "คุณจะไม่ได้ค่าตัว แต่จะได้เข้าชิงออสก้าร์" - และมันก็เป็นไปตามนั้น โรทได้เข้าชิงไปแพ้ ณอน เพนท์ แต่เขาได้ลูกโลกทองคำมาปลอบใจ และการกลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในแวดวงมายา
ดูภาพยนตร์แล้วก็ย้อนมาดูตัวเอง - ในสังคมทุกวันนี้เราก็ต้องแสดงกันในแต่ละบทบาทของชีวิต ผมมาทบทวนดูแม้แต่ตัวผมเองก็เถอะ ชีวิตเราหลายๆอย่างเลือกไม่ได้ เมื่อจำเป็นจะต้องทำ ก็ต้องร้องรำไปให้เข้ากับเพลงที่มันบรรเลงอยู่ ไปขัดขืนมันเข้าก็ย่อมจะโดนด่าว่า ทุกๆคนย่อมมีและย่อมจะได้แสดงในแต่ละบทบาท ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความรัก / การงานอาชีพ / ครอบครัว / ญาติพี่น้อง - บางครั้งเราต้องสวมบทบาทนักแสดงออกไปในสังคม
คนที่เปรียบเทียบได้คมคายที่สุดที่ผมเคยอ่านเห็นจะเป็น อ.คึกฤทธิ์ ในหนังสือสี่แผ่นดิน ที่บอกประมาณว่า "ชีวิตเราก็เหมือนเวทีละคร คนเล่นก็เล่นไป พวกปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงไป หากใครเล่นใครรำได้เข้าจังหวะ คนๆนั้นก็จะมีคนชม" (อันนี้ผมพิมพ์จากความจำนะ ไม่ถูกเป๊ะหรอก)
รูปแบบของหนังถึงจะฉีกไปจากเรื่องเดิมๆของเขา แต่ประเด็นหลักก็เหมือนกันคือเขาพยายามนำคนดูไปในโลกที่หลายๆคนมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นโลกของนักคณิตศาสตร์ใน PI หรือพวกเด็กติดยาใน Requiem for a Dream
ในขณะที่โลกของนักมวยปล้ำ ที่บนเวทีกับชีวิตจริงจะแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน แรนนี่ในสภาพที่เกือบจะสิ้นหวังสุดๆ ยังมีแรงใจเล็กๆในโลกของเขา คือนักเต้นโชว์อย่าง แคสสิดี้ (Marisa Tomei) และลูกสาวเพียงคนเดียวของเขา สเตฟานนี่ (Evan Rachel Wood) ที่เขาอยากให้เธอให้โอกาสเขาอีกครั้งที่ทิ้งเธอไป

ด้วยความช่วยเหลือของ แคสสิตี้ แรนนี่สามารถทำให้สเตฟานนี่ยกโทษให้เขาได้ เขาพาเธอไปกินอาหารก่อนจะเดินเล่นกันริมชายหาด พ่อกับลูกได้ปรับความเข้าใจ
แต่ชีวิตมันก็ไม่ง่ายขนาดนั้น ถึงวันหนึ่งแรนนี่ก็เล่นไม่เข้าจังหวะ และทำให้ทุกอย่างมันล่มสลายอย่างไม่น่าจะเป็น
อารอนอฟสกี้ ย้ำถึงการแสดงในโลกจริงของแทบทุกตัวละคร แรนดี้บนเวทีมวยปล้ำ / แคสสิตี้บนเวทีโชว์ในบาร์ / สเตฟานี่ในฐานะเลสเบี้ยน แต่ละคนต่างก็ต้องเล่นบทบาทของตัวเองให้ดีที่สุด
แรนดี้ก็เหมือนกับหลายคน เขายึดติดการแสดงบนเวทีมวยปล้ำและนำมันมาผูกพันกับชีวิตจนขาดการควบคุมจนดูเหมือนทุกๆอย่างของเขามันล้มเหลว - และแม้กระทั่งถึงจุดๆหนึ่งแล้ว แรนดี้ ก็ยังเลือกจะไปยืน"แสดง"บนเวที แม้รู้ว่าตัวเองคงจะไม่มีโอกาสเดินลงมาแล้วก็ตาม.....
และหลังจากดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว มันทำให้ผมดูกีฬามวยปล้ำได้อย่างตาสว่างมากขึ้น (และทำให้รู้ตัวเองก็มีอคติแบบไม่ค่อยดีเท่าไรในบางเรื่อง) หนังออกเป็นแผ่นแล้ว หามาชมกันให้ได้นะครับ
Create Date : 04 สิงหาคม 2552 |
Last Update : 4 สิงหาคม 2552 9:33:26 น. |
|
13 comments
|
Counter : 1386 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:10:12:42 น. |
|
|
|
โดย: komyooth วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:17:10:52 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 9 กันยายน 2552 เวลา:14:29:28 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:22:05:44 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:17:41:40 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:18:07:04 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:19:58:13 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:14:11:58 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:14:52:16 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:9:41:17 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 31 ตุลาคม 2552 เวลา:20:24:06 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา:13:53:22 น. |
|
|
|
โดย: Bernadette วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:13:32:20 น. |
|
|
|
| |
|
|
แบร์เขียนอีกมุม ความเป็นตัวตนของมิกกี้รูท
Mr.cozy เขียนในมุมมองของผู้กำกำบ เยี่ยมเจงเจง
อ่าเรากะชอบดัม เหมือนกาลลล กะบ้าสโตนโคล ด้วย
มีโปสเตอร์ มีหนังสือ เราว่าช่วงนั้นมวยปล้ำ นี้เป็ฯดาราเลยงะ ใช่อะปะ ดัมกะมาร้องเพลง แฟนแฟน กริ๊ดดดดตริม
คนที่เปรียบเทียบได้คมคายที่สุดที่ผมเคยอ่านเห็นจะเป็น อ.คึกฤทธิ์ ในหนังสือสี่แผ่นดิน ที่บอกประมาณว่า "ชีวิตเราก็เหมือนเวทีละคร คนเล่นก็เล่นไป พวกปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงไป หากใครเล่นใครรำได้เข้าจังหวะ คนๆนั้นก็จะมีคนชม" (อันนี้ผมพิมพ์จากความจำนะ ไม่ถูกเป๊ะหรอก)
เรากะชอบเหมือนกาลล คล้ายๆๆกับของงานเขียนหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง (ปาป๊าชอบอ่าน ต้องอ่านตาม)
งานประพันธ์เรื่อง ละครแห่งชีวิต ที่เป็นหนังสือนอกเวลาด้วยยย
ท่านเขียนทำนองว่า มองดูละครและย้อนดูตัว
และสุนทราภรณ์ กะเอามาร้องเพลง คนสมัยปู๊นนน ชอบร้องกานน
แม้นดูละครแล้วกลับมาย้อนดูตัว
ละครชีวิต
ทำ ถึงยามสำราญขอท่านฟังฉันหน่อยก่อน
แม้นดูละครแล้วกลับมาย้อนดูตัว
พระ นาง ตัวโกงถึงคราวออกโรงพันพัว
ชวนหัวเมามัวเต้นยั่วดังฝัน
ละครระกำช้ำจิตใจ ละครดีใจเราหัวร่อ
นั่นแหละภาพล้อเราทุกวัน
บทตัวละครมีแต่ยอกย้อนชวนให้
ระเริงจิตใจให้เคลิ ้มไปพลัน
ละครมีสอนใจกัน ละครเลิกแล้วลืมพลัน
เหมือนนอนหลับฝันเพียงคืน
กับความรู้สึกของเรามันเหมือน การกลับมามีชีวิตใหม่อ่า