27.2 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
27.1 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=19-02-2014&group=3&gblog=32

ความคิดเห็นที่ 6-18
GravityOfLove, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 23:32 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-19
GravityOfLove, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 23:57 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยพระมหากัจจานะแสดงเรื่องผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น มีเทวดาตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องสระตโปทะให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่าน
พระสมิทธิ ในราตรีตอนใกล้รุ่ง ได้ถามท่านพระสมิทธิว่า
             ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม
             (อุทเทส ในที่นี้หมายถึงบทมาติกาหรือหัวข้อธรรม
             วิภังค์ ในที่นี้หมายถึงการจำแนกเนื้อความให้พิสดาร
             ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ หมายถึงผู้ใช้เวลากลางคืนให้หมดไปด้วยการเจริญ
วิปัสสนากัมมัฏฐานเท่านั้น ไม่คำนึงถึงเรื่องอื่นๆ)
              คำว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ผู้มีราตรีเดียวเจริญ&detail=on

             ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ
             เทวดากล่าวว่า แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ และท่านทรงจำคาถาแสดง
ราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม
             ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ
             เทวดากล่าวว่า แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ ขอท่านจงเรียนร่ำ และทรงจำ
อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด
             เพราะอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ (หมายถึงข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์)
             เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง
             พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ท่านพระสมิทธิจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วทูลเล่าเรื่องที่ตนสนทนากับเทวดาแด่พระองค์
             ท่านพระสมิทธิทูลขอพระองค์โปรดทรงแสดงอุเทศและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
             พระผู้มีพระภาคตรัสให้ตั้งใจฟังให้ดี แล้วตรัสคาถาว่า

             บุคคลไม่ควรคำนึงถึง (ในที่นี้หมายถึงไม่ปรารถนาด้วยตัณหาและทิฏฐิ)
สิ่งที่ล่วงแล้ว (ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ ในอดีต) ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
             ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรม (ด้วยอนุปัสสนา ๗) ปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น
ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
             พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยน (เจรจาต่อรอง) กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
             พระมุนี (พระพุทธเจ้า) ผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
             (อนุปัสสนา ๗ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุเทศ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มาติกา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิภังค์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5#find1
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
             ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงปรึกษากันว่า
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเรา แต่มิได้ทรงจำแนกเนื้อความ
โดยพิสดาร (อธิบายขยายความ) ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ได้
             ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า
             ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติ
พรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหา
ท่านพระมหากัจจานะ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะเถิด
             เอตทัคคบาลี
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152#146
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหากัจจายนะ

             ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ แล้วเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง
             ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ พึงสำคัญว่า
ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลยรากและลำต้นเสีย ฉันใด
             ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่พร้อมหน้าท่านทั้งหลาย
พวกท่านพากันสำคัญเนื้อความนั้นว่า พึงสอบถามเราได้ ล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเสีย
             พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น
ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก นำออกซึ่งประโยชน์
ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนินตามนั้น
             และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่ท่านทั้งหลายจะพึงสอบถาม
เนื้อความนี้กับพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด
พวกท่านพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด
             ภิกษุเหล่านั้นกล่าวยอมรับ และกล่าวว่า
             แต่ว่าท่านพระมหากัจจานะ อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติ
พรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน ยกย่อง สรรเสริญแล้ว และท่านพอจะจำแนกเนื้อความ
แห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้
             ขอท่านพระมหากัจจานะอย่าทำความหนักใจ โปรดจำแนกเนื้อความเถิด
             ท่านพระมหากัจจานะ กล่าวให้ตั้งใจฟังให้ดี แล้วกล่าวว่า
             ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า
             บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล
...นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
             ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพเจ้าทราบเนื้อความ
โดยพิสดารอย่างนี้คือ

             บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ
             ๑. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้
เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
             ๒. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้
เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
             ๓. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้
เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
             ๔. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้
เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
             ๕. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเราได้
เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
             ๖. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของเราได้
เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วย
ฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึง
ถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
             (มโน ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต, ธรรมารมณ์ ในที่นี้หมายถึงธรรมารมณ์
ที่เป็นไปในภูมิสาม)

             บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ
             มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้
เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วง
แล้ว
             ...
             มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของเรา
ได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกไม่เนื่อง
ด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึง
ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

             บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ
             ๑. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลิน
จักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
             ๒. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้
ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
             ๓. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้
ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
             ๔. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
             ๕. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้
ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
             ๖. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้
ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลิน
มโนและธรรมารมณ์ เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

             บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ
             บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย จึงไม่เพลิดเพลิน
จักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
             ...
             บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้
ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย จึงไม่
เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่
ยังไม่มาถึง

             บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ
             ๑. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุ
และรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
             ๒. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...
             ๓. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
             ๔. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
             ๕. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
             ๖. มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโน
และธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน

             บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ
             มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลิน
จักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
             ...
             มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ ทั้ง ๒ อย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลิน
มโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภวังคจิต
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภพ_3

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 6-20
[ต่อ]
             ท่านพระมหากัจจานะกล่าวต่อไปว่า
             ท่านทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลสอบถาม
เนื้อความนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด
พวกท่านพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น
             ภิกษุเหล่านั้นยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระมหากัจจานะ
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลเล่าเรื่องราวทั้งหมดแด่พระองค์ แล้วทูลต่อไปว่า
             ท่านพระมหากัจจานะจำแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์นั้นแล้ว
โดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ โดยพยัญชนะดังนี้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถาม
เนื้อความนั้นกับเรา เราก็จะพยากรณ์เนื้อความนั้นอย่างเดียวกับที่มหากัจจานะ
พยากรณ์แล้วเหมือนกัน
             ก็แหละเนื้อความของอุเทศนั้นเป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจำเนื้อความ
นั้นไว้อย่างนั้นเถิด
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-21
ฐานาฐานะ, 22 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 23:48 น.

GravityOfLove, 22 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยพระมหากัจจานะแสดงเรื่องผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
11:57 PM 2/21/2014

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-22
ฐานาฐานะ, 22 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 23:49 น.

             คำถามในมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-23
GravityOfLove, 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 07:44 น.

             ตอบคำถามในมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493

             ๑. เทวดาบอกท่านพระสมิทธิให้เล่าเรียน และทรงจําอุเทศ และวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์
             ๒. บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเป็นอย่างไร
             (สั้นๆ คือ บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ คือผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต
ไม่เพ้อหวังอนาคต เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน มีความเพียรพยายามตั้งแต่วันนี้
ไม่รอวันพรุ่งนี้)
             ๓. บุคคลคำนึงหรือไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว, บุคคลมุ่งหวังหรือไม่มุ่งหวัง
สิ่งที่ยังไม่มาถึงคืออย่างไร โดยจำแนกตามอายตนะ ๑๒
             ๔. บุคคลง่อนแง่นหรือไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน คือเพลิดเพลินหรือ
ไม่เพลิดเพลินในอายตนะ ๑๒
             ๕. ท่านพระมหากัจจานะอธิบายขยายความเรื่องผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เหล่าภิกษุ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
เนื้อความที่ท่านแสดงเหมือนกับที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง

ความคิดเห็นที่ 6-24
ฐานาฐานะ, 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 15:27 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493
...
7:44 AM 2/23/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             เท่าที่ได้ศึกษามา ได้เคยเห็นพระสูตรใดที่ท่านพระมหากัจจานะ
ได้พยากรณ์พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ ให้พิสดารบ้าง?

             คำว่า มหากัจจายนะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหากัจจายนะ

ความคิดเห็นที่ 6-25
GravityOfLove, 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 18:46 น.

             มธุปิณฑิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ
             [๒๔๘] ท่านมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจะกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว. ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวดังนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ...
             แล้วไม่ทรงชี้แจง เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย
             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้- ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3752&Z=3952&pagebreak=0#248top

ความคิดเห็นที่ 6-26
ฐานาฐานะ, 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 19:08 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
...
6:46 PM 2/23/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ยังมีพระสูตรอื่นอีก คืออุทเทสวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8295&Z=8510

             ขอถามความเห็นเกี่ยวกับเทวดาที่มาสนทนากับท่านพระสมิทธิ.
             เทวดานั้นมาถาม เพราะไม่รู้ หรือว่า มาเพื่อให้ท่านพระสมิทธิ
ได้ศึกษาร่ำเรียน และทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ความคิดเห็นที่ 6-27
GravityOfLove, 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 19:17 น.

             น่าจะเพราะเพื่อให้ท่านพระสมิทธิได้ศึกษาร่ำเรียน เป็นวัตถุประสงค์หลัก
วัตถุประสงค์รองคือ ตัวเองก็ไม่รู้จริงๆ จึงอยากมาถามเพื่อทบทวน
             และในพระสูตรถัดไป (โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร) เทวดาอีกรูปหนึ่ง
ก็มาถามภิกษุอีกรูปหนึ่งเหมือนกัน
             เทวดานั้นจำอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญไม่ได้ แต่จำคาถาได้
(คือจำได้เท่าไหร่ก็บอกตามจริง)

ความคิดเห็นที่ 6-28
ฐานาฐานะ, 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 19:24 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
...
7:17 PM 2/23/2014

             น่าจะเป็นอย่างนั้น กล่าวคือ
             เทวดานั้นจำไม่ได้ แต่รู้ว่า อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
             เทวดานั้นประสงค์จะถามเพื่อทบทวน ทั้งเตือนด้วยจิตอนุเคราะห์แก่พระภิกษุ
             อาจเป็นไปได้ว่า เทวดานั้นจะได้ฟังอีกครั้ง พร้อมๆ กับพระภิกษุรูปนั้น
หรือว่า อาจจะมาสอบถามกับพระภิกษุนั้นอีกครั้งภายหลังที่ร่ำเรียนและทรงจำด้วยดีแล้ว.

ความคิดเห็นที่ 6-29
ฐานาฐานะ, 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 19:27 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222

              พระสูตรหลักถัดไป คือ โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 34].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7494&Z=7622
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=565

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 18:35:43 น.
Counter : 461 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
26 มีนาคม 2557
All Blog