27.1 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
26.11 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 6-6
ฐานาฐานะ, 20 กุมภาพันธ์ เวลา 20:56 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7031&Z=7114
...
10:18 AM 2/20/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คุณ GravityOfLove สรุปอุเทศแห่งพระสูตรนี้
เป็นคำง่ายๆ สั้นๆ อย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 6-7
GravityOfLove, 20 กุมภาพันธ์ เวลา 21:20 น.

             บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ คือผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต ไม่เพ้อหวังอนาคต
เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน มีความเพียรพยายามตั้งแต่วันนี้ ไม่รอวันพรุ่งนี้

ความคิดเห็นที่ 6-8
ฐานาฐานะ, 20 กุมภาพันธ์ เวลา 21:25 น.

             สรุปอุเทศได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-9
ฐานาฐานะ, 20 กุมภาพันธ์ เวลา 21:27 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ภัทเทกรัตตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7031&Z=7114

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อานันทภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 32].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              อานันทภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=535

              มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=548

              โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7494&Z=7622
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=565

              จูฬกัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7623&Z=7798
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579

              มหากัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=598

ความคิดเห็นที่ 6-10
GravityOfLove, 20 กุมภาพันธ์ เวลา 22:08 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยพระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น ท่านพระอานนท์สนทนากับภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา
แสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยกถาประกอบด้วยธรรม
และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
             (อุทเทส ในที่นี้หมายถึงบทมาติกาหรือหัวข้อธรรม
             วิภังค์ ในที่นี้หมายถึงการจำแนกเนื้อความให้พิสดาร
             ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ หมายถึงผู้ใช้เวลากลางคืนให้หมดไปด้วยการเจริญ
วิปัสสนากัมมัฏฐานเท่านั้น ไม่คำนึงถึงเรื่องอื่นๆ)
             คำว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ผู้มีราตรีเดียวเจริญ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เทศนาวิธี_4

             ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้น
(ในที่นี้หมายถึงออกจากผลสมาบัติ) เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา
แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
             ใครสนทนากับพวกภิกษุในอุปัฏฐานศาลา แสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง ด้วยกถาประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคล
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
             ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า สนทนาอย่างไร
             ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าพระองค์สนทนาอย่างนี้ว่า

(คาถา)
             บุคคลไม่ควรคำนึงถึง (ในที่นี้หมายถึงไม่ปรารถนาด้วยตัณหาและทิฏฐิ)
สิ่งที่ล่วงแล้ว (ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ ในอดีต) ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
             ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรม (ด้วยอนุปัสสนา ๗) ปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น
ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
             พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยน (เจรจาต่อรอง) กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
             พระมุนี (พระพุทธเจ้า) ผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
             (อนุปัสสนา ๗ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุเทศ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มาติกา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิภังค์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5#find1
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2

             บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
             คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว

             บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
             คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว

             บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
             คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต

             บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
             คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต

             บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
             คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ
             ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
             ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
             ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
             ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
             ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง (สักกายทิฏฐิ ๒๐)

             บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
             คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
             ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

             พระผู้มีพระภาคทรงประทานสาธุการ และตรัสรับรองคำอธิบายนั้น
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-11
ฐานาฐานะ, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 21:16 น.

GravityOfLove, 23 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยพระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
10:07 PM 2/20/2014

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-12
ฐานาฐานะ, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 21:17 น.

             คำถามในอานันทภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-13
GravityOfLove, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 21:26 น.

             ตอบคำถามในอานันทภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเป็นอย่างไร
             (สั้นๆ คือ บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ คือผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต
ไม่เพ้อหวังอนาคต เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน มีความเพียรพยายามตั้งแต่วันนี้
ไม่รอวันพรุ่งนี้)
             ๒. บุคคลคำนึงหรือไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว, บุคคลมุ่งหวังหรือไม่มุ่งหวัง
สิ่งที่ยังไม่มาถึงคืออย่างไร โดยจำแนกตามขันธ์ ๕
             ๓. บุคคลง่อนแง่นหรือไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน คือมีหรือไม่มี
สักกายทิฏฐิ ๒๐
             ๔. พระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เหล่าภิกษุ
พระผู้มีพระภาคทรงประทานสาธุการแก่พระเถระ
             ๕. ทรงสรรเสริญเทศนาเพราะความที่เทศนาอันพระเถระแสดง
ด้วยบทและพยัญชนะทั้งหลายกลมกล่อม บริสุทธิ์ดี

ความคิดเห็นที่ 6-14
ฐานาฐานะ, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 22:19 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในอานันทภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222
...
9:26 PM 2/21/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             พระสูตรนี้ น่าจะเป็นพระสูตรที่พระภิกษุทั้งหลาย
และเทวดา ศึกษากันอย่างกว้างขวาง.

ความคิดเห็นที่ 6-15
ฐานาฐานะ, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 22:22 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อานันทภัทเทกรัตตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222

              พระสูตรหลักถัดไป คือ มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 33].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=548

ความคิดเห็นที่ 6-16
GravityOfLove, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 22:37 น.

             คำถามมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493

             ๑. ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง เข้าไปยัง
สระตโปทะเพื่อสรงสนานร่างกาย ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกลับขึ้นมานุ่งสบง
ผืนเดียว ยืนผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวดาตนหนึ่ง มี
รัศมีงาม ส่องสระตโปทะให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่ที่ยืนอยู่นั้น
แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
             งงเรื่องเวลาค่ะ คือท่านพระสมิทธิอาบน้ำตอนใกล้รุ่ง หลังจากนั้นมีเทวดามาหา
ตอนล่วงปฐมยาม
             ๒. ภัทเทกรัตตสูตร
             [๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง ฯลฯ เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7031&Z=7114&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
             [๕๖๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
อย่างไร คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุ
และรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
             คำว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ทั้ง ๒ พระสูตรนี้ ดูเหมือนความหมายต่างกันนะคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-17
ฐานาฐานะ, 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 23:23 น.

GravityOfLove, 30 นาทีที่แล้ว
             คำถามมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493

             ๑. ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง เข้าไปยัง
...
             งงเรื่องเวลาค่ะ คือท่านพระสมิทธิอาบน้ำตอนใกล้รุ่ง หลังจากนั้นมีเทวดามาหา
ตอนล่วงปฐมยาม
             อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
             ราตรีตอนใกล้รุ่ง น่าจะเป็นปัจฉิมยาม.
             ล่วงปฐมยามไปแล้ว ก็ปัจฉิมยามก็เป็นอันปฐมยามล่วงไปแล้วเหมือนกัน.
             น่าจะแสดงความว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลากลางคืน.

             ๒. ...
             คำว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ทั้ง ๒ พระสูตรนี้ ดูเหมือนความหมายต่างกันนะคะ
             อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
             คำว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน :-
             ภัทเทกรัตตสูตร มีนัยว่า ง่อนแง่นด้วยทิฏฐิ ในขันธ์ 5
             มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร มีนัยว่า ง่อนแง่นด้วยตัณหา ในอายตนะ 12.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 18:34:51 น.
Counter : 775 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
19 กุมภาพันธ์ 2557
All Blog