สู้ สู้ ไม่ท้อ
คำที่เกี่ยวกับการเมือง เป็นคำที่เกี่ยวกับการเมือง ที่บางท่านอาจยังไม่รู้ มาเล่าสู่กันฟังเผื่อจะเป็นประโยชน์ 1.นักกวนเมือง Demagogue มาจากคำว่า เดโมส (demos) ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายถึงประชาชนหรือขบวนการต่อต้าน (mob) ก็ได้ ดังนั้น เดมาก็อก จึงแปลว่าผู้นำม็อบ หรือผู้นำขบวนการต่อต้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 2. นักการเมือง Politician หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานทางการเมืองโดยทั่วไป เช่น สมาชิกพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครผู้ทำงานการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี บุคคลเหล่านี้เรียกได้มีอาชีพเป็นนักการเมืองโดยแท้ 3. นักวิ่งเต้น Lobbyists มาจากคำว่า Lobby หมายถึง ห้องพักผ่อนหรือห้องนั่งเล่น(ของสมาชิกรัฐสภา) อันเป็นสถานที่ที่หัวคะแนนหรือผู้สนับสนุนทางการเมืองจะสามารถเข้าไปพบปะกับผู้แทนราษฎรของตนได้ คำนี้ต่อมากลายเป็นคำที่ใช้เรียกผู้หาเสียงสนับสนุนมืออาชีพที่รู้จักมักคุ้นกับบรรดาสมาชิกผู้แทนราษฎรของพรรคต่าง ๆ จำนวนมาก และสามารถที่จะขอคะแนนสนับสนุนจากสมาชิกผู่้แทนราษฎรในการลงมติเรื่องสำคัญๆ ได้ ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ มีการจ้างคณะผู้หาเสียงสนับสนุนอย่างนี้ให้ช่วยหาเสียงสนับสนุนให้แก่ประเทศของตนก็ได้เช่น การขอไม่ให้รัฐสภาลงมติตัดความช่วยเหลือหรือตัดสิทธิพิเศษบางประการที่เคยให้ประเทศของตน เป็นต้น 4. นิรโทษกรรม Amnesty หมายถึง การกำหนดให้การกระทำที่เป็นโทษและมีความผิดตามกฎหมาย ให้เป็นการกระทำที่ไม่มีโทษและไม่มีความผิดตามกฎหมาย อีกทั้งยังจะไม่ต้องชดใช้ค่าทดแทนสินไหมใด ๆ และไม่ต้องรับโทษใด ๆ ทั้งสิ้น การกำหนดเรื่องที่เป็นความผิดไม่ให้เป็นความผิดทั้ง ๆ ที่เป็นความผิด ย่อมจะอธิบายไม่ได้ด้วยตรรกะใด ๆ ทั้งสิ้น ว่ากันว่า หลักนิรโทษกรรมของไทยนั้นได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เหตุเกิดมาจากคราวที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองได้เป็นผลสำเร็จแล้ว การยึดอำนาจนั้นเป็นความผิดและเป็นคดีอาญาแผ่นดิน แต่เมื่อได้กระทำสำเร็จแล้วจึงได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าให้มีการออกกฏหมายนิรโทษกรรมได้ คณะปฏิวัติในยุคต่อ ๆ มา จึงได้ใช้กลไกนี้ลบล้างคววามผิดที่ได้กระทำขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้งดเว้นไม่กล่าวถึงแนวความคิดในเรื่องนิรโทษกรรมนี้ไว้เลย 5. ในพระปรมาภิไธย In the Name of the King หมายถึง การที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะดำเนินกิจการใด ๆ ในนามของพระมหากษัตริย์ อธิบายง่าย ๆ ได้ว่าทำแทนพระมหากษัตริย์นั่นเอง ตัวอย่างเช่น การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่ผู้พิพากษาหรือตุลาการจะต้องดำเนินการในพระปรมาภิไธย ทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล 6. การเนรเทศ Deportation หมายถึง การขับไล่คนใดคนหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่งให้พ้นไปจากราชอาณาจักร หรืออาณาเขตประเทศของตน 7. การปฏิวัติ Revolution หมายถึง การใช้กำลังขับไล่รัฐบาลที่ครองอำนาจโดยชอบธรรมอยู่นั้นให้พ้นไป และยึดอำนาจนั้นให้กลับมาเป็นของตน การปฏิวัติมักจะเป็นไปในรูปของการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือเสมอ 8. การยุบสภา Dissolution of Parliament หมายถึง การประกาศการสิ้นสุดอายุของสภาผู้แทนราษฎรก่อนครบวาระตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การประกาศยุบสภานั้นเป็นมาตรการหรือเครื่องมือสำคัญของฝ่ายบริหารในการที่จะคานอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติในระบบรัฐสภา (parliamentary system) เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติมีสิทธิที่จะเสนอญัตติต่อสภาให้ลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารได้ ฝ่ายบริหารก็สามารถใช้วิธีการยุบสภาได้เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจนั้นอย่างเกินขอบเขต 9. ความนิยมความเป็นกลาง (Nutralism) ได้แก่การไม่ผูกพันฝักใฝ่ในฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยเฉพาะในยุคสงครามเย็น เมื่อโลกได้แบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายที่นิยมความเป็นกลาง จึงได้สร้างกลุ่มของตนเองขึ้นมาเป็นขบวนการอีกขบวนการหนึ่ง เรียกว่า ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด 10. ทรราชย์โดยเสียงส่วนใหญ่ Tyranny of the Majority เป็นแบบการปกครองที่นักการเมืองต่างพากันหวาดเกรงกันมาก นั่นคือ การปกครองโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ไปกระทำการชั่วร้ายต่าง ๆ แล้วกลับอ้างเอาว่า เสียงส่วนใหญ่ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เรามักจะกล่าวเปรียบเทียบกันอยู่เสมอว่า ถ้าเอาพระ 500 รูป กับอันธพาล 5000 คน มาร่วมประชุมกันเพื่อหาข้อยุติในเรื่องอบายมุข เสียงนักเลงย่อมเหนือกว่าเสียงพระ การใช้เสียงส่วนใหญ่ตัดสินในลักษณะนี้จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก และไม่ควรยึดถึือรับเอาเป็นหลักการของการตัดสินโดยเสียงส่วนมาก
Free TextEditor
Create Date : 14 เมษายน 2552 | | |
Last Update : 14 เมษายน 2552 14:34:32 น. |
Counter : 654 Pageviews. |
| |
|
|
|