ทาน คือการทำกุศลที่ได้บุญ การให้อภัย คือการทำกุศลที่ได้บุญมากกว่า
Group Blog
 
All blogs
 
เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)


เหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ คนไทยแบ่งพัก แบ่งพวกกันอยู่ ทำให้แตกความสามัคคี อย่าเชื่อหรือฟังใครง่ายนะค่ะ ลองอ่านนี้ดีกว่า คติเตือนใจคนไทย ชาวพุทธ เกี่ยวกับกาลามสูตร อย่าเชื่ออะไรใน 10 อย่างนี้ หวังว่าเป็นคติหรือไว้พิจารณาเป็นแง่คิดดีๆ ค่ะ ทางสายกลางทำให้เราได้มีศาสนาพุทธเกิดขึ้นทุกวันนี้ ไม่อยากให้ใคร มีความคิดหรืออคติ อุดมการณ์มากเกินไปเลยจริงๆ เพราะมันอาจจะทำร้ายอะไรได้หลายๆ อย่าง โดยไม่ได้คิด จงมีสติ กันดีกว่าค่ะในการทำอะไรให้ใครบางคนมีความสุข ไม่ใช่คิดแต่เอาชนะ ใครบางคน แต่มาร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อแก้ปัญหากัน แต่แบบสันติวิถี คนไทยด้วยกันไม่รักกัน จะให้ประเทศอื่นมารักน่ะ อายเขานะค่ะ ยิ่งมีเพื่อนบ้านเราดูอยู่ตอนนี้ เขาคงคิดแย่ๆกับเรา ให้คิดดี ทำดี แต่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และอย่าทำให้ใครมาตายเพราะในสิ่งที่เราคิดดีกว่าค่ะ ใครบ้างจะทำได้ ช่วยตอบหน่อย



//biolawcom.de/article/139




พระสูตรความย่อ
เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)
ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง

ที่มา : พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙ - ๑๘๔

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปถึง นิคมของพวกกาลามะชื่อว่าเกสปุตตะ พวกชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้ทราบว่าพระองค์เสด็จมาถึง ทั้งทราบกิตติศัพท์ แห่งพระพุทธคุณของพระองค์ จึงพากันไปเฝ้าพระองค์ถึงที่ประทับ และกราบทูลพระ องค์ว่าได้มีสมณพราหมณ์ที่มายัง เกสปุตตนิคมนี้ ต่างก็พูดประกาศเฉพาะลัทธิของพวก ตน และพูดตำหนิลัทธิของพวกอื่น จึงมีความสงสัยว่า ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ





พระพุทธเจ้าตรัสว่า ควรแล้วที่ท่านจะสงสัย ท่านทั้งหลาย

อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้
อย่าได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา
อย่าได้เชื่อถือ โดยเดาเอาเอง
อย่าได้เชื่อถือ โดยคาดคะเน
อย่าได้เชื่อถือ โดยความตรึกตามอาการ
อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว
อย่าได้เชื่อถือ โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
อย่าได้เชื่อถือ โดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมใดเป็นอกุศล มีโทษ ผู้รู้ติเตียน และการปฏิบัติธรรม เหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์ เมื่อนั้น ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ความโลภ,ความโกรธ,ความหลง นี้ เมื่อเกิดขึ้นในคนเราแล้ว จะเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์?

พวกชนกาลามโคตร ต่างกราบทูลว่าไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้า : ท่านทั้งหลาย บุคคลผู้โลภ,โกรธ,หลง ย่อมฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ คบชู้ พูดเท็จก็ได้ ย่อมชักชวนผู้อื่น ให้กระทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์ชั่วกาลนานก็ได้

กาลามโคตร : จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้า : ท่านทั้งหลาย ท่านเห็นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล มีโทษหรือ ไม่มีโทษ ท่านผู้รู้ติเตียนหรือสรรเสริญ?

กา. เป็นอกุศล มีโทษ ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า

พ. การปฏิบัติธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์ มิใช่หรือ?

กา. ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นว่า การปฏิบัติธรรมเหล่านี้ ไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

ท่านทั้งหลาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานั้นแหละ เราจึงได้ กล่าวไว้ว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้เชื่อถือด้วยเหตุต่าง ๆ ๑๐ ประการ เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนเอง ว่า ธรรมใดเป็นอกุศล มีโทษ ผู้รู้ติเตียน และการปฏิบัติธรรมเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์ เมื่อนั้นท่านควรละธรรม เหล่านั้นเสีย

ท่านทั้งหลาย อย่าได้เชื่อถือ ด้วยเหตุต่าง ๆ ๑๐ ประการ เมื่อใด ท่านรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมใด เป็นกุศล ไม่มีโทษ ผู้รู้สรรเสริญ และการปฏิบัติธรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์ เป็นสุข เมื่อนั้น ท่านควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

ที่มา : //www.navy.mi.th



บทขยายความ กาลามสูตร

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น





สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ
ตัวอย่าง

1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
2. อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
3. อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
5. อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
7. อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้

ที่มา : เว็บไซท์ buddha4u






Create Date : 03 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2551 1:50:29 น. 0 comments
Counter : 1011 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

drunkcat
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




กตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติจากพระครรภ์พระมารดาแล้ว ในที่สุดองค์สมเด็จพระประทีปแก้วใกล้จะถึงวาระที่จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๔ อสงไขยกับแสนกัป ควรจะได้เป็นพระพุทธเจ้า

ในวันหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ก็ทรงพบเด็กเกิดใหม่ วันต่อมาทรงพบคนแก่ คนป่วย แล้วก็คนตาย วันสุดท้ายทรงพบสมณะ

ความจริงเวลานั้นพระที่แต่งตัวแบบนี้ ไม่มีในโลก แต่ว่าเทวทูตทั้ง ๕ ที่เรียกกว่า เทวทูต คือ เด็กก็ดี คนแก่ก็ดี คนป่วยก็ดี คนตายก็ดี พระก็ดี ที่ปรากฏกับสายพระเนตรขององค์สมเด็จพระชินสีห์ เมื่อยังเป็นสิทธัตถะราชกุมาร ท่านบอกว่า เวลานั้นเทวดาแสดงขึ้นให้ปรากฏ ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระบรมสุคตเห็นคนเกิดยังเด็กเล็ก แล้วต่อมาพบคนแก่ แล้วก็พบคนป่วย แล้วก็พบคนตาย น้ำพระทัยขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า

"โลกนี้ทุกข์หนอ ไม่มีอะไรเป็นสุข หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้"

ต่อมาวันสุดท้าย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเห็นสมณะวิสัยก็เข้าใจว่าทางนิพพานมีอยู่ ทางนี้เป็นทางสิ้นทุกข์ เหตุฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูจึงได้ตัดสินพระทัยออกบวช นี่ขอเล่าลัดๆ นะ แต่ความจริงเรื่องนี้ยาวมาก
Friends' blogs
[Add drunkcat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.