ทาน คือการทำกุศลที่ได้บุญ การให้อภัย คือการทำกุศลที่ได้บุญมากกว่า
Group Blog
 
All blogs
 
The Road to Serfdom ... หนทางสู่ความเป็นไพร่

วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11233 มติชนรายวัน


The Road to Serfdom ... หนทางสู่ความเป็นไพร่

โดย วินัย วงศ์สุรวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)



ในหนังสือ The Road to Serfdom อันโด่งดังที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1944 นาย Friedrich Hayek นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้เขียนเตือนถึงอันตรายของแนวคิดแบบ "กลุ่มนิยม" (Collectivism) ว่าเป็นหนทางอันตรายซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียอิสรเสรีภาพส่วนบุคคล

ปัญหาหลักของลัทธิกลุ่มนิยมคือ การตัดสินว่าอะไรเป็นสิ่งดีสำหรับสังคม-ประเทศชาติ ปัญหาที่ว่านี้ ถือเป็นปัญหาโลกแตก เพราะไม่ว่านโยบายแบบไหนก็ย่อมส่งผลดีต่อคนพวกหนึ่ง แล้วก็ส่งผลร้ายต่อคนอีกพวกหนึ่ง

ในเมื่อไม่มีนโยบายใดที่ทุกฝ่ายจะเห็นดีเห็นงามด้วยกันอย่างเป็นเอกฉันท์ ลัทธิกลุ่มนิยมจึงจำเป็นต้องใช้อำนาจอิทธิพลข่มขู่มิให้ผู้เสียประโยชน์กล้าหือลุกขึ้นมาขัดขืน-โต้แย้ง

วิธีการได้มาซึ่งอิทธิพลที่ว่ามักเป็นไปด้วยวิธีโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งมุ่งเน้นการล้างสมองกลุ่มประชาชนที่หูเบา-กล่อมง่าย

หรือที่ร้ายยิ่งไปกว่านั้นคือการใช้เดชนอกกรอบประชาธิปไตยฉกอำนาจมาเป็นของตนเองโดยอ้างความจำเป็นและความชอบธรรมต่างๆ นานา

แน่นอนว่าผู้นำที่สุจริตย่อมไม่นิยมแนวทางการแสวงหาอำนาจแบบนี้

สุดท้ายผู้นำที่เกิดมาจากลัทธิกลุ่มนิยมจึงเป็นพวก เสือ-สิงห์-กระทิง-แรด ที่ใช้คำว่า "ประโยชน์ส่วนรวม" เป็นข้ออ้างเพื่อรวมอำนาจ แล้วก็ข่มขู่บังคับให้คนอื่นต้องทำอะไรตามอำเภอใจของตน

การใช้อำนาจบาทใหญ่ ด้วยข้ออ้างที่ว่าทำไป "เพื่อส่วนรวม" หรือ "เพื่อชาติ" นั้น เป็นภัยมืดอันน่าสะพรึงกลัว เพราะข้ออ้างดังกล่าวสามารถนำมาใช้บังคับและกีดกันเสรีภาพได้ในทุกๆ แง่มุมของชีวิต เช่น ห้ามพูดเรื่องนั้น ห้ามเขียนเรื่องนี้ ห้ามดูไอ้นั่น ห้ามอ่านไอ้นี่ ห้ามผลิตสิ่งนั้น ห้ามบริโภคสิ่งนี้ ห้ามเถียงเรื่องนั้น และต้องมีความเชื่อฟัง-สามัคคี-พร้อมเพรียงในเรื่องนี้ ... มิฉะนั้นแล้วจะถูกคุกคามจากทางการ หรือจากอำนาจเถื่อนที่มีผู้นำเป็นผู้หนุนหลัง

นาย Hayek สรุปว่า เมื่อระบอบกลุ่มนิยมได้ลิดรอนเสรีภาพของปัจเจกชนจนหมดสิ้นแล้ว ประชาชนที่เคยเป็นเสรีชน ก็เตรียมข้อมือสักเลกไพร่ไว้ได้เลย

ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ของสหรัฐ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 มีคำกล่าวอันโด่งดังว่า "อย่ามัวมานั่งถามว่าประเทศชาติจะทำอะไรให้คุณ แต่โปรดคิดว่าคุณจะทำอะไรเพื่อประเทศชาติ"

Milton Friedman นักปราชญ์สำคัญแห่งลัทธิเสรีนิยม เชื่อว่า คำกล่าวนี้ไม่คู่ควรจะเป็นอุดมการณ์ของสังคมแห่งเสรีชน

ทั้งนี้ เพราะ "ชาติ" มิได้เป็นเทพที่จะคอยบันดาลสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้กับประชาชน เหมือนอย่างที่คำพูดท่อนแรกของเคนเนดีเปรียบ ("ประเทศชาติจะทำอะไรให้คุณ")

ในทำนองเดียวกัน ประชาชนก็มิใช่บ่าวที่มีหน้าที่ทำงานรับใช้ "ชาติ" เหมือนอย่างที่คำพูดท่อนหลังของเคนเนดีเสนอ ("คุณจะทำอะไรเพื่อประเทศชาติ")

ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เสรีชนมีหน้าที่อะไร?

ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม เสรีชนมิได้มีหน้าที่อะไรนอกเหนือไปจากการดูแลความสงบสุขร่มเย็นของครอบครัว และการแสวงหาความเจริญก้าวหน้าให้ตนเองภายใต้กรอบของกฎหมาย

พ่อค้าผู้รู้งาน มิควร จะปิดร้านมาสมัครเป็นข้าราชการ "เพื่อชาติ"

นักแสดงผู้สร้างความสุขความบันเทิงให้กับประชาชนทั่วประเทศหาได้มีหน้าที่เปลี่ยนอาชีพมาเป็นครู-เป็นตำรวจเพื่อรับใช้สังคมไม่

ในทำนองเดียวกัน วิศวกรผู้หลักแหลมมิได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมด้วยการเลิกอาชีพวิศวกรเพื่อไปเป็นทหาร

ทั้งนี้ เพราะพ่อค้าผู้รู้งานอาจมิได้เป็นเสมียนผู้รอบรู้ระบบราชการ ผู้มีพรสวรรค์ทางการแสดงอาจมิได้มีพรสวรรค์ทางการสอนหนังสือหรือจับผู้ร้าย และผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพวิศวกรอาจมิใช่ทหารอาชีพที่ดีก็ได้

การที่ใครสักคนพยายามดิ้นรนเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยเหมาเอาเอง (แบบผิดๆ) ว่าตนมีความเข้าใจอันถ่องแท้ถึงความต้องการของชาติบ้านเมืองนั้น สุดท้ายอาจลงเอยทำสิ่งที่เป็นโทษทั้งต่อตนเองและต่อสังคมได้โดยง่าย

ประวัติศาสตร์มีตัวอย่างมากมายที่พิสูจน์ให้เห็นว่า การที่ปัจเจกชนมุ่งสร้างความเจริญให้กับตนเองและครอบครัวนั้น เป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่จะสร้างความรุ่งเรืองสงบสุขให้กับสังคม ทั้งนี้ เพราะพ่อค้าที่รู้งาน, นักแสดงผู้มีพรสวรรค์, วิศวกรผู้หลักแหลม ฯลฯ ในสังคมที่มีระบบการแข่งขันทางตลาดอย่างเสรีภายในขอบเขตของกฎหมายนั้น ต่างใช้พรสวรรค์และหยาดเหงื่อสร้างประโยชน์เพื่อสังคมไปพร้อมๆ กับการมุ่งมั่นสร้างความก้าวหน้าร่ำรวยให้ตนเอง

นี่คือทฤษฎี มือที่มองไม่เห็น (The Invisible Hand) ของ Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์รุ่นบุกเบิกที่เขียนไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1776

หลักเสรีนิยมของ Friedman และ Smith นั้น ปราศจากการใช้อำนาจของคนหรือกลุ่มคน มาก่อความเดือดร้อนวุ่นวาย หรือคุกคามสิทธิเสรีภาพของคนอื่นๆ ภายใต้ข้ออ้างประเภท "ทำไปเพื่อชาติ" หรือ "เสียสละเพื่อส่วนรวม" ทั้งนี้ เพราะประชาชนทุกคนรู้ดีว่าการมุ่งมั่นทำงาน-ประกอบธุรกิจเพื่อความรุ่งเรืองก้าวหน้าของตนเองนั้น เป็นการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างดีที่สุดแล้ว

ในส่วนของรัฐนั้น Milton Friedman เห็นว่ารัฐควรมีหน้าที่หลักๆ ในขอบเขตอันจำกัดคือ

1.ทำนุบำรุงและปกป้องเสรีภาพของประชาชนจากการคุกคามทั้งภายนอกและภายใน

2.ดูแลบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยตามบทบัญญัติของกฎหมาย

และ 3.คอยส่งเสริมการแข่งขันตามระบบตลาดเสรี เพื่อป้องกันผู้บริโภคจากการถูกเอารัดเอาเปรียบของระบบผูกขาด

สำหรับบทบาทอื่นๆ ของรัฐที่มีแนวโน้มไปในทาง "กลุ่มนิยม" เช่น การแบ่งสรรผลประโยชน์หรือการเจ้ากี้เจ้าการกับธุรกิจหรือชีวิตประจำวันของผู้คนนั้น สมาชิกในสังคมต้องพิจารณาไตร่ตรองด้วยความระมัดระวัง ก่อนที่จะมอบอำนาจเหล่านี้เพิ่มเติมให้รัฐ

ทั้งนี้ เพราะหากไม่ระวังให้ดี รัฐอาจกลับกลายมาเป็นผีดิบที่ฉุดกระชากเสรีชนไปตามถนนอันนำไปสู่ความเป็นไพร่อย่างไม่รู้ตัวก็เป็นได้

วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11233 มติชนรายวัน


Create Date : 12 ธันวาคม 2551
Last Update : 12 ธันวาคม 2551 0:29:38 น. 4 comments
Counter : 942 Pageviews.

 
ถูกต้อง

มันเป็น "คำขอที่มิอาจปฏิเสธได้"

เสียง นักการเมือง เค้าว่ากันพรรณนั้น


โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 12 ธันวาคม 2551 เวลา:11:20:48 น.  

 







วันนี้วันหยุด พักผ่อนเยอะ ๆนะค่ะ


เอาความคิดถึงมาฝากค่ะ ดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ เป็นห่วงค่ะ/นู๋หญิง


โดย: นู๋หญิงจ๋า วันที่: 13 ธันวาคม 2551 เวลา:16:12:55 น.  

 
Sportron สปอร์ตทรอน


โดย: Sportron สปอร์ตทรอน (mlmboy ) วันที่: 13 ธันวาคม 2551 เวลา:21:55:05 น.  

 
สวัสดีค่ะ สบายดีไหมเอ่ย อากาศเปลี่ยนแล้ว รักษาสุขภาพด้วยน๊า ขอบคุณมากน่ะคะ ที่เข้าไปทักทาย เยี่ยมเยือนเจนนี่ในบล็อคที่แล้ว วันนี้ว่างนิดหน่อยคะ เลยเข้ามาอัพบล็อค อัพเดทรูปใหม่ๆ สดๆร้อนๆให้ชมกัน ว่างๆอย่าลืมเข้าไปชมน่ะคะ

ป.ล.หากเพื่อนๆคนไหนที่ไม่ชอบเสื้อแดงก็อย่าได้ถือโทษโกรธเจนนี่น่ะคะ ความคิดแตกต่างกัน แต่มิตรภาพผ่านตัวหนังสือของเรา ยังคงมั่นเหมือนเดิมน่ะคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: สาวอิตาลี วันที่: 14 ธันวาคม 2551 เวลา:16:21:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

drunkcat
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




กตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติจากพระครรภ์พระมารดาแล้ว ในที่สุดองค์สมเด็จพระประทีปแก้วใกล้จะถึงวาระที่จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๔ อสงไขยกับแสนกัป ควรจะได้เป็นพระพุทธเจ้า

ในวันหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ก็ทรงพบเด็กเกิดใหม่ วันต่อมาทรงพบคนแก่ คนป่วย แล้วก็คนตาย วันสุดท้ายทรงพบสมณะ

ความจริงเวลานั้นพระที่แต่งตัวแบบนี้ ไม่มีในโลก แต่ว่าเทวทูตทั้ง ๕ ที่เรียกกว่า เทวทูต คือ เด็กก็ดี คนแก่ก็ดี คนป่วยก็ดี คนตายก็ดี พระก็ดี ที่ปรากฏกับสายพระเนตรขององค์สมเด็จพระชินสีห์ เมื่อยังเป็นสิทธัตถะราชกุมาร ท่านบอกว่า เวลานั้นเทวดาแสดงขึ้นให้ปรากฏ ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระบรมสุคตเห็นคนเกิดยังเด็กเล็ก แล้วต่อมาพบคนแก่ แล้วก็พบคนป่วย แล้วก็พบคนตาย น้ำพระทัยขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า

"โลกนี้ทุกข์หนอ ไม่มีอะไรเป็นสุข หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้"

ต่อมาวันสุดท้าย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเห็นสมณะวิสัยก็เข้าใจว่าทางนิพพานมีอยู่ ทางนี้เป็นทางสิ้นทุกข์ เหตุฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูจึงได้ตัดสินพระทัยออกบวช นี่ขอเล่าลัดๆ นะ แต่ความจริงเรื่องนี้ยาวมาก
Friends' blogs
[Add drunkcat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.