"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
96. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 7



เมื่อเราได้กำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา “เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ” แล้ว
เราต้องทำ “ศีล” ที่เรากำหนดตั้งเอาไว้ ให้เป็นปกติของเรา
โดยใช้ “สมาธิ” และ “ปัญญา” ร่วมกัน ดังนี้
 
1. เราต้องหมั่นอบรมจิต (สมถภาวนา) ด้วยการหมั่นทำจิต ให้สงบ ให้ระงับ ให้ตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิ เพื่อไม่ปล่อยให้จิต “ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อำนาจของ อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ จนเกิดการละเมิดศีล” 

2. เราต้องหมั่นอบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) ด้วยการหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในสิ่งต่างๆ ดังนี้ 

          2.1 เราต้องหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรละเมิดศีล ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ 

          2.2 เราต้องหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความไม่เที่ยง ในความไม่ยั่งยืน ในความไม่อาจจะตั้งอยู่ได้ยาวนาน (อนิจจัง) ของ “อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่” ที่เกิดขึ้นในจิตใจ 

ธรรมดาของอารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ
เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว
ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่ง (สังขาร) ร่วม
มันจะดับลงไปเอง ในเวลาไม่นานนัก

 
          2.3 เราต้องหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็นทุกข์ เป็นโทษ และเป็นภัย (ทุกขัง) ของการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อำนาจของ  “อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่” จนทำให้เกิด “การละเมิดศีล” 

          2.4 เราต้องหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ใช่ของของตน (อนัตตา) ของ “อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่” ที่เกิดขึ้นในจิตใจ 

อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ
คือสิ่งที่ สามารถจะทำให้ลดลงได้ จางคลายลงได้ และดับสูญสิ้นไปจากจิตใจได้ (อนัตตา)

 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ตามที่ได้กล่าวมา
จะทำให้เกิด การหมดสิ้นความลังเลสังสัย ใน "สิ่งที่เรา ได้กำหนดตั้งเอาไว้ ให้เป็นศีล"
และ หมดสิ้นความลังเลสงสัย ใน “อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ ที่เป็นมูลเหตุของ การละเมิดศีล
นี้ชื่อว่า “พ้นวิจิกิจฉา
 
***************
 
เมื่อเราปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” จนทำให้เกิด “การหมดสิ้นความลังเลสงสัย” หรือ “พ้นวิจิกิจฉา” ได้แล้ว
ก็จะทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย” จนทำให้เกิด การปล่อยวาง “การกระทำที่เป็นการละเมิดศีล” ได้
และ ทำให้เกิด การปล่อยวาง “อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล” ได้
คือ ไม่หลงยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งดังกล่าว ว่า “เป็นตัวเป็นตนของตน หรือ เป็นของของตน
นี้ชื่อว่า “พ้นสักกายทิฏฐิ
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
จนทำให้เกิด “การพ้นวิจิกิจฉา” และ “การพ้นสักกายทิฏฐิ
จะทำให้ “ศีล” กลายเป็นปกติของเรา (ไม่ต้องยึด ไม่ต้องถือ)
นี้ชื่อว่า “พ้นสีลัพพตปรามาส
 
***************
 
ผู้ที่ปฏิบัติศีล 5 จนเป็นปกติของตนได้
ชื่อว่า “ผู้พ้นจากภัยเวร 5 ประการ
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
จนทำให้ “ศีล 5” กลายเป็นปกติของเราได้
จะทำให้ “ความทุกข์” ของเรา ดับลงไปได้ ในระดับหนึ่ง
ทำให้จิตใจของเรา มีความสุขสงบ เป็น “สมาธิ” ขึ้น (สัมมาสมาธิ)  
และ ทำให้เกิด “ปัญญา” ในทางธรรม มีความเห็นที่ถูกที่ตรงขึ้น (สัมมาทิฏฐิ)
ส่งผลให้เรา มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน “พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์” คือ
1. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
2. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
3. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
 
ผู้ที่ปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
จนทำให้เกิด “มรรคผล” ตามที่กล่าวมา
ชื่อว่า “ผู้มีศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ"


และนี้ชื่อว่า “ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
 
***************
 
ผู้ที่ปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
จนทำให้เกิด “มรรคผล” ตามที่กล่าวมา
ชื่อว่า “ผู้กำลังเดินไปตามทาง อริยมรรคมีองค์ 8” หรือ “ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8
 
***************
 
ผู้ที่ปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
จนได้ “บรรลุมรรคผล” ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้น
ชื่อว่า “ผู้บรรลุพระโสดาบัน
 
***************

อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล หมายถึง โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค และ อรหัตผล
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 24 เมษายน 2565
Last Update : 24 เมษายน 2565 5:58:52 น. 0 comments
Counter : 329 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.