bloggang.com mainmenu search

ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล เผย อากาศที่ร้อนขึ้นกว่าเดิมในช่วงนี้ เกิดจากรังสีจากดวงอาทิตย์ เป็นรังสีคลื่นสั้นเมื่อโลกคลายความร้อนออกไปเป็นรังสีคลื่นยาว จึงได้รับความร้อนระอุจากรังสีทั้งสองทาง

        นายวัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล เปิดเผยว่า ปกติฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้แสงอาทิตย์ที่ส่องมายังประเทศไทยตั้งฉากพอดี คือจะตรงกับศีรษะของคนกรุงเทพในตอนเที่ยงวัน ของวันที่ 27 เม.ย.(วันนี้) ทำให้มีการคาดการณ์ว่า จะเป็นวันที่ร้อนที่สุด
         แต่ที่จริงแล้ว อาจจะไม่ร้อนที่สุด เพราะหากมีอากาศร้อนแล้วมีลมพัดนำความชื้นเข้ามา อาจทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองได้ และถ้ามีมวลอากาศเย็นจากจีนเข้ามาจะมีพายุฤดูร้อนด้วยค่ะ ฝนจะช่วยคลายความร้อนได้ ซึ่งจากสถิติอุณหภูมิสูงสุด ในเดือนเมษายนของกรุงเทพมหานคร ในรอบ 61 ปี คือปี 2494-2554 พบว่ากรุงเทพมีอุณหภูมิสูงที่สุดตรงกับวันที่ 27 เม.ย. แค่ 2 ครั้งเท่านั้น คือในปี 2497 และ 2502 โดยเมื่อวันที่ 27 เม.ย.2554 อุณหภูมิอยู่ที่ 34.3 องศาเซลเซียส แต่วันที่ร้อนที่สุด คือ วันที่ 18 เม.ย.2554 อุณหภูมิอยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส
          ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น เพราะ การสร้างเมืองที่มีแต่ปูน คอนกรีตมากมาย ทำให้ที่พื้นมีการปลดปล่อยพลังงานความร้อนมากขึ้น ถ้าพื้นเป็นพืชคลุมดินความชื้นก็จะช่วยเก็บความร้อนไว้ได้ และรังสีจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถ้ายืนอยู่กลางแจ้งจะได้รับรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์ เป็นรังสีคลื่นสั้น และเมื่อโลกคลายความร้อนออกไปเป็นรังสีคลื่นยาว จึงได้รับความร้อนระอุจากรังสีทั้ง 2 ทาง




ที่มา news.thaipbs
Create Date :28 เมษายน 2555 Last Update :28 เมษายน 2555 10:56:15 น. Counter : Pageviews. Comments :0