bloggang.com mainmenu search

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน
โดย นายแพทย์ สามารถ ราชดารา สมาคมเวชศาสตร์นิวเคลียร์แห่งประเทศไทย


สารกัมมันตรังสีคืออะไร

คือ สสารหรือธาตุที่เรารู้จักกันทั่วๆไป เช่น ออกซิเจน คาร์บอน ไอโอดีน โปแตสเซี่ยม ฯลฯ โดยที่อะตอมของธาตุเหล่านี้ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ โปรตอน นิวตรอนและอิเลคตรอน การที่อะตอมของธาตุจะมีเสถียรภาพ ไม่สลายตัวไปส่วนประกอบทั้งสามจะต้องสมดุลย์กัน ถ้าไม่สมดุลย์จะต้องมีวิธีทำให้อยู่ในสภาพเสถียรโดยการปลดปล่อยพลังงานออกมา ในรูปของรังสี อะตอมของธาตุที่มีการปลดปล่อยรังสีเช่นนี้เรียกว่าสารกัมมันตรังสี ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณรังสีก็จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเราเรียกว่าค่าครึ่งชีวิตของ การสลายตัว ซึ่งมีค่าที่แตกต่างกันไปตามชนิดของธาตุต่างๆโดยอาจสั้นเป็นวินาทีหรืออาจจะ นานเป็นล้านๆปีได้ ธาตุต่างๆนั้นสามารถพบได้ทั้งที่อยู่ในสภาวะเสถียรคือไม่มีการปล่อยรังสี และที่มีการปลดปล่อยรังสี เช่นไอโอดีน ซึ่งแม้ว่าสภาวะความเสถียรจะต่างกันแต่มีคุณสมบัติอื่นๆเหมือนกันทุกประการ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน รูปที่ 1


สารกัมมันตรังสีมีอันตรายหรือไม่และอย่างไร


รังสี มีหลายชนิดและมีแหล่งกำเนิดได้จากหลายๆแหล่งเช่นจากสารกัมมันตรังสีดังกล่าว ข้างต้นหรือจากการผลิตขึ้นโดยมนุษย์เช่นเครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น ถ้าเป็นรังสีชนิดเดียวกันแล้วไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็มีคุณสมบัติเหมือนกัน นั่นคือถ้ารังสีเดินทางผ่านเซลล์ของร่างกายมนุษย์ก็จะทำอันตรายต่อสารพันธุ กรรมในเซลล์ให้ได้รับความเสียหาย แต่โดยทั่วไปแล้วถ้าปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับมีปริมาณน้อย ความเสียหายต่อสารพันธุกรรมก็น้อยร่างกายเราสามารถทำการซ่อมแซมให้กลับมาดี เหมือนเดิม ถ้าปริมาณรังสีมากขึ้นความเสียหายก็จะมากขึ้นจนร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมให้ กลับคืนเหมือนเดิมได้ทั้งหมด และโดยที่สารพันธุกรรมมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ดังนั้นเมื่อสารพันธุกรรมได้รับความเสียหายการควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ก็ผิดปกติไป เช่นเซลล์เจริญเติบโตโดยไม่สามารถควบคุมได้จนกลายเป็นมะเร็งเป็นต้น แต่มิใช่ว่าจะต้องเกิดมะเร็งเสมอไป โดยปกติถ้าภูมิต้านทานของร่างกายเราแข็งแรงดีและปริมาณเซลล์ที่ผิดปกติเหล่า นั้นมีจำนวนไม่มากภูมิต้านทางของร่างกายก็จะสามารถกำจัดเซลล์เหล่านั้นให้ หมดไปได้ไม่เจริญต่อไปเป็นมะเร็ง ผู้ที่ได้รับปริมาณรังสีในกรณีข้างต้นนั้นจะไม่รู้สึกหรือไม่มีอาการผิดปกติ ใดๆเลย หากร่างกายไม่สามารถกำจัดเซลที่ผิดปกติเหล่านั้นให้หมดไปได้ เซลก็จะค่อยๆเจริญเติบโตอย่างผิดปกติไปเรื่อยๆจนเกิดอาการหรือพบความผิดปกติ ได้ในภายหลังเป็นเดือนเป็นปีหรือเป็นหลายสิบปีได้

ถ้าได้รับรังสีใน ปริมาณมากขึ้นอีกความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลมากจนเซลไม่สามารถมีชีวิตอยู่ ได้และตายไปเอง ในกรณีนี้ผู้ที่ได้รับรังสีก็จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นอย่างทันทีหรือ 2-3 วันหลังได้รับรังสี ทั้งนี้อาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับได้รับรังสีมากน้อยเพียงใด อาการที่อาจพบได้เช่นคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผมร่วง ผิวหนังอักเสบ มึนงง สับสน เซลล์เม็ดเลือดและเกร็ดเลือดถูกทำลาย มีเลือดออกในทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกันบกพร่องไป และสุดท้ายถ้าได้รับรังสีในปริมาณสูงมากผู้นั้นจะเสียชีวิตได้ในทันที


สารกัมมันตรังสีที่รั่วออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดความเสียหายมีอันตรายมากแค่ไหน


สาร กัมมันตรังสีที่รั่วออกมามีหลายชนิดเช่น ไอโอดีน-131 ซีนอน-137 ซีเซี่ยม-137 สตรอนเชี่ยม-90 เป็นต้น การที่จะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหนนั้นนอกจากปริมาณที่รั่วออกมามากแค่ไหนแล้ว ยังขึ้นกับคุณสมบัติของสารแต่ละอย่างด้วย สารบางชนิดมีค่าครึ่งชีวิตสั้นเมื่อรั่วออกมาไม่นานก็สลายตัวหมดไปไม่ก่อให้ เกิดอันตรายใดๆเช่นซีนอน-137 มีค่าครึ่งชีวิตเพียง 3.8 นาที ดังนั้นไม่กี่นาทีก็หมดไปเอง บางชนิดเป็นอนุภาคเล็กๆสามารถลอยไปกับลมได้แต่เมื่อลมหยุดพัดก็จะตกลงสู่ เบื้องล่างปนเปื้อนในดินหรือในน้ำเช่นซีเซียมเป็นต้น บางชนิดมีลักษณะเป็นกาซถ้ามีค่าครึ่งชีวิตนานก็จะสามารถลอยไปได้ไกลเช่น ไอโอดีนเป็นต้น แต่ถ้าฝนตกก็จะสามารถละลายไอโอดีนให้ตกลงสู่เบื้องล่างได้เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าในกรณีการรั่วไหลที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นสารกัมมันตรังสีที่ จะมีความเสี่ยงมากที่สุดต่อประเทศไทยได้แก่ไอโอดีนเนื่องจากเป็นกาซสามารถ ลอยไปได้ไกลและเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ ส่วนซีเซียมจะมาในลักษณะปนเปื้อนมากับอาหารต่างๆซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการ ตรวจวัดปริมาณรังสีก่อนนำเข้าประเทศ สำหรับไอโอดีนที่ลอยมาจะเป็นอันตรายมากแค่ไหนก็ขึ้นกับปริมาณที่รั่วออกมา ว่ามากน้อยแค่ไหน ลมแรงเพียงใดและพัดไปในทิศทางใด เนื่องจากไอโอดีนมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 8 วัน ดังนั้นถ้าลมไม่แรงก็อาจจะมาไม่ถึงประเทศไทย


สารกัมมันตรังสีไอโอดีนที่รั่วออกมาดังกล่าวมีอันตรายต่อร่างกายอย่างไร


ดัง กล่าวข้างต้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับว่าปริมาณที่มาถึง ประเทศไทยจะมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ดีคงไม่มีโอกาสที่จะมีปริมาณมากถึงระดับที่ก่อให้เกิดอาการเฉียบ พลันหรือเสียชีวิต แต่ความพิเศษของไอโอดีนรังสีก็คือถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะเข้าไป สะสมอยู่มากในต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่ที่บริเวณคอ เนื่องจากต่อมไทรอยด์จะต้องใช้ไอโอดีนในการสร้างเป็นไทรอยด์ฮอร์โมนต่อไป ดังนั้นต่อมไทรอยด์จะได้รับปริมาณรังสีมากกว่าอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ถ้าหากได้รับเข้าไปมากต่อมไทรอยด์ก็อาจจะเกิดอาการอักเสบหรือถูกทำลายหมดทำ ให้ร่างกายขาดไอโอดีน ถ้าได้รับเพียงปริมาณน้อยๆความเสียหายต่อสารพันธุกรรมไม่มากร่างกายซ่อมแซม ได้ก็จะไม่เกิดอันตรายแต่อย่างใด แต่ถ้าได้รับในปริมาณปานกลางก็อาจมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทยรอยด์ได้ใน ภายหลัง ทั้งนี้มิได้หมายความว่าทุกคนที่ได้รับในปริมาณนี้จะเกิดเป็นมะเร็งทุกคน เพียงแต่มีโอกาสมากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ได้รับรังสีเลยเท่านั้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน รูปที่ 2



มีวิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายรับสารกัมมันตรังสีไอโอดีนหรือไม่


วิธี ป้องกันไม่ให้เข้าสู่ร่างกายที่ทำได้ก็คือไม่เข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีสาร กัมมันตรังสีและไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเท่านั้น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะมีวิธีป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีไอโอดีนเข้า ไปสะสมอยู่ในต่อมไทรอยด์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีความสามารถจับไอโอดีนได้ในปริมาณจำกัดปริมาณ หนึ่ง ถ้าต่อมไทรอยด์มีปริมาณไอโอดีนในต่อมจะเพียงพอแล้วก็จะไม่จับไอโอดีนที่ได้ รับเข้าไปอีก เราจึงใช้วิธีรับประทานสารไอโอดีนที่ไม่มีรังสีเข้าไปจนทำให้ต่อมไทรอยด์มี ไอโอดีนมากพอที่จะไม่จับไอโอดีนเพิ่มเติมอีก ดังนั้นเมื่อเราได้รับไอโอดีนรังสีก็จะไม่เข้าไปสะสมในต่อมไทรอยด์ต่อไป


จำเป็นที่จะต้องรับประทานสารหรือยาไอโอดีนที่ไม่มีรังสีหรือไม่

จำ เป็นหรือไม่ขึ้นกับ 2 ปัจจัยคือโอกาสที่จะได้รับไอโอดีนรังสีเข้าไปสะสมในต่อมไทรอยด์ในปริมาณที่ มากน้อยแค่ไหน และโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์มากน้อยแค่ไหน เด็กเล็กจะมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าปริมาณไอโอดีนรังสีในบรรยากาศมีน้อยก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับ ประทาน ถ้ามีปริมาณมากขึ้นอีกหน่อยและอายุน้อยก็ควรจะต้องรับประทานแต่ถ้าอายุมาก แล้วก็อาจจะยังไม่จำเป็น มีข้อแนะนำว่าถ้าอายุมากกว่า 40 ปีแล้วโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์จากกรณีนี้น้อยมากไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องรับประทานยาแต่อย่างใดนอกเสียจากว่ามีโอกาสที่จะได้รับปริมาณรังสีมาก ในขนาดที่ต่อมไทรอยด์อาจจะถูกรังสีทำลายจนหมดได้


จะรับประทานยาไอโอดีนดังกล่าวป้องกันไว้ก่อนเลยดีหรือไม่

ไม่ แนะนำ เนื่องจากการรับประทานยาไอโอดีนที่ไม่มีรังสีก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้ ที่สำคัญที่สุดคืออาจเกิดอาการแพ้สารไอโอดีน หากรุนแรงมากอาจถึงเสียชีวิต ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นคลื่นไส้ อาเจียน เด็กเล็กๆอาจเกิดต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง ส่วนในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์อาจทำให้เกิด อาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ แม้ว่าผลข้างเคียงดังกล่าวพบได้ไม่มากนักแต่หากไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่ควร เสี่ยง


จะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อใดควรจะรับประทานยาไอโอดีนดังกล่าว

เนื่อง จากประชาชนทั่วไปไม่มีทางทราบได้เลยว่าตัวเองจะมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และการคำนวณความเสี่ยงมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีฟังข่าวจากหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ปริมาณการปนเปื้อน สำหรับประเทศไทยได้แก่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นก็ควรฟังข่าวจากทางการญี่ปุ่นว่าบริเวณใดมี การปนเปื้อนมากถึงระดับที่ต้องรับประทานยาเพื่อป้องกัน


ถ้าต้องรับประทานยาดังกล่าวจะต้องรับประทานอย่างใด


เนื่อง จากยาไอโอดีนจะสามารถป้องกันไม่ให้ไอโอดีนรังสีเข้าสู่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น หากไอโอดีนรังสีเข้าสู่ต่อมไทรอยด์แล้วก็จะไม่ได้ผล เนื่องจากไอโอดีนจะค่อยๆถูกจับเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ดังนั้นยิ่งได้รับยาช้าเท่าใดก็จะมีผลป้องกันน้อยลงเท่านั้น จึงควรรับประทานยาก่อนที่จะได้รับไอโอดีนรังสีอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก็จะได้ผลดีที่สุด และยาจะมีผลป้องกันอยู่เป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จึงจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาดังกล่าวทุกๆ 24 ชั่วโมงหรือวันละครั้งจนกว่าจะออกจากบริเวณที่ปนเปื้อน การรับประทานก็จะต้องรับประทานให้มากพอที่จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่มตัว โดยแนะนำว่าสำหรับผู้ใหญ่ให้รับประทานยาโปแตสเซี่ยมไอโอไดด์วันละ 130 มิลลิกรัม ส่วนในเด็กก็ละปริมาณลงตามน้ำหนัก


การใช้ยาทาแผลที่มีไอโอดีนทาที่คอหรือรับประทานเกลือผสมไอโอดีนที่มีขายทั่วไปจะช่วยป้องกันได้หรือไม่


ไม่ ได้เลยเนื่องจากปริมาณไอโอดีนที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีนี้น้อยมากไม่ เพียงพอที่จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่มตัวได้ และถ้ายิ่งได้รับไอโอดีนรังสีเข้าไปแล้วก็ยิ่งไม่มีผลใดๆเลย


ยาไอโอดีนดังกล่าวสามารถป้องกันอันตรายจากรังสีชนิดอื่นๆหรือป้องกันการเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นได้หรือไม่


ไม่ได้เลย

ที่มา : //www.oaep.go.th/

Create Date :22 มีนาคม 2554 Last Update :22 มีนาคม 2554 9:05:33 น. Counter : Pageviews. Comments :2