ตู้เย็น(Refrigetator) เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ เนื่องจากตู้เย็นเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก คนเราเมื่อเหนื่อย มีความกระหาย ก็ต้องการน้ำเย็นจากตู้เย็นมาดับกระหาย การเก็บอาหารเพื่อรักษาสภาพอาหารให้คงคุณค่าและยืดอายุให้ยาวออกไป ก็ต้องอาศัยการเก็บรักษาในตู้เย็นที่มีระดับอุณหภูมิคงที่ และประโยชน์ในการเก็บรักษาของต่างๆ จำพวกเวชภัณฑ์หรือเครื่องสำอาง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตู้เย็น กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตของมนุษย์

การใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธี
การใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธี ช่วยให้ประหยัดไฟได้ และที่สำคัญเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของตู้เย็น หลายคนยังไม่ทราบถึงวิธีในการใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธี ก่อให้เกิดการใช้งานแบบผิดๆ ทำให้อายุการใช้งานของตู้เย็นสั้นลง ตู้เย็นที่ใช้จึงเสียในเวลาก่อนสมควร ซึ่งผมจะขอกล่าวเรื่องของเกล็ดความรู้เล็กๆน้อยๆในการใช้งานตู้เย็นที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เก็บอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยให้ประหยัดไฟ และช่วยยืดอายุการใช้งานให้ใช้งานได้คุ้มค่าตามระยะเวลาที่สมควร

การถอดปลั๊กตู้เย็น ต้องรอก่อนที่จะเสียบปลั๊กใหม่
กรณีนี้ เป็นคำถามที่มีหลายคนสอบถามอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการถอดปลั๊กตู้เย็น ไม่ว่ากรณีที่จะทำการย้ายเครื่องไปตั้งอีกที่หนึ่ง หรือจะมีเหตุอันใดก็แล้วแต่ที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหลเข้าสู่ตู้เย็น พึงระรึกไว้เสมอว่าก่อนเสียบปลั๊กใหม่หรือจ่ายไฟให้เครื่องเดิน ไม่ควรกระทำทันทีหลังจากถอดปลั๊กออก ควรรอเวลาอย่างน้อย 3-5 นาที เนื่องมาจาก แรงดันน้ำยาภายในตู้เย็น ที่ยังไม่สมดุลหลังจากเครื่องหยุดทำงาน อธิบายโดยหลักการคือ แรงดันของสารทำความเย็นหรือน้ำยาภายในตู้เย็นที่ถูกแบ่งออกเป็นสองด้าน คือทางด้านแรงดันสูง ที่ถูกอัดออกมาจากคอมเพรสเซอร์ และทางด้านแรงดันต่ำ ที่ถูกดูดกลับเข้าทางท่อทางดูดของคอมเพรสเซอร์ เมื่อเครื่องหยุดทำงานทันที แรงดันด้านสูงที่ถูกอัดจะไหลไปทางด้านแรงดันต่ำ ในระหว่างที่แรงดันไหลย้อนกลับหากเราเริ่มเดินเครื่องทันทีที่แรงดันยังไม่สมดุล คอมเพรสเซอร์ต้องออกแรงมาก เพื่อจะเอาชนะแรงเสียดทานและแรงเฉื่อยที่เกิดจากแรงดันน้ำยาไม่คงที่ คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักกว่าปกติ กินกระแสมาก หรือมอเตอร์อาจจะล็อกและสตาร์ทไม่ออก ถ้ามีตัวโอเวอร์โหลดต่ออนุกรมอยู่ ตัวโอเวอร์โหลดก็จะตัดไฟก่อนที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะร้อนจนไหม้ หากเป็นเช่นนี้บ่อยครั้ง อาจทำให้คอมเพรสเซอร์มีอายุการใช้งานที่สั้นลงและชำรุดในที่สุด
ดังนั้น พึงจำไว้เสมอ ว่าหลังจากถอดปลั๊กตู้เย็นออก ควรรอเวลา 3-5 นาที ก่อนเสียบปลั๊กให้เครื่องเดินอีกครั้ง เพื่อให้แรงดันน้ำยาสมดุลกันทั้งสองด้าน แต่หากตู้เย็นรุ่นที่มีตัวหน่วงเวลาหรือติดตั้งตัวหน่วงเวลาเสริมเข้าไป ตัวหน่วงเวลาจะทำหน้าที่หน่วงเวลาไม่ให้เครื่องเดินทันทีหลังจากเสียบปลั๊ก เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

ไม่ควรนำของร้อนจัด เข้าแช่ในตู้เย็น
การนำเอาของร้อนจัดใส่เข้าไปในตู้เย็นทันที ทำให้อุณหภูมิในตู้เย็นสูงขึ้น คอมเพรสเซอร์ต้องเดินนานขึ้นกว่าเดิม เปรียบเหมือนการรีดผ้าในห้องแอร์นั่นเอง คอมเพรสเซอร์ที่ทำงานหนัก ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น อีกทั้งความร้อนจากของร้อนจัดที่นำไปเข้าตู้เย็นอาจจะทำให้อาหารที่แช่ใกล้เคียงกันภายในตู้ เสื่อมสภาพจากความร้อนที่ได้รับ ดังนั้นควรนำของร้อนจัด วางทิ้งไว้ภายนอกให้มีอุณหภูมิลดลงเสียก่อนที่จะนำเข้าแช่ใต้เย็น และการปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้ ทำให้ความเย็นสูญเสีย และความร้อนเข้าไปแทนที่ ก็ทำให้ตู้เย็นเดินนานขึ้น ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงาน

อากาศภายในตู้เย็นเป็นอากาศที่เย็นและแห้ง
ความชื้นที่ควบตัวกลายเป็นน้ำแข็ง ทำให้อากาศภายในตู้เย็น เป็นอากาศที่เย็นและแห้งมาก อาหารประเภทเนื้อสัตว์และพืชผักหากนำไปแช่ในตู้เย็น ต้องมีการกักเก็บความชื้นไม่ให้เนื้อสัตว์และพืชผักสูญเสียความชื้นออกไป ซึ่งหากเนื้อสัตว์สูญเสียความชื้นจะทำให้ผิวของเนื้อแห้งดูไม่น่าทาน รวมทั้งพืชผักก็เช่นกัน การสูญเสียความชื้นจะทำให้เหี่ยวเฉาดูไม่น่ารับประทานและสูญเสียคุณค่าทางอาหารลงไป ดังนั้นควรการกักเก็บความชื้นให้สัตว์และพืชผักโดยการใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่นอาจจะประยุกต์โดยการห้อหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกใสหรือเรียกว่าพลาสติกแรปที่ใช้แพ็คอาหาร หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด จะช่วยกักเก็บความชื้นให้สัตว์และพืชผักที่แช่ ดูสดใหม่ น่ารับประทานอยู่เสมอ
เนื้อสัตว์ที่แช่จนเป็นน้ำแข็ง หากนำออกมาปรุงอาหาร จะพบว่าเนื้อยุ้ยไม่เหมือนตอนเพิ่งซื้อมาแรกๆ ก็เพราะว่า ในเนื้อสัตว์โดยปกติ จะมีโมเลกุลของน้ำกระจายอยู่ในเนื้อสัตว์ เมื่อโมเลกุลของน้ำในเนื้อสัตว์แข็งตัว ความแหลมคมของผลิกน้ำแข็งที่เกิดขึ้น จะขยายตัวและทิ่มแทงเซลของเนื้อสัตว์ ทำให้บางครั้ง เราสังเกตุว่าเนื้อยุ้ยลงไม่เหมือนกับตอนเพิ่งซื้อมา

อย่าใช้ของมีคม ทิ่มแทงน้ำแข็ง
น้ำแข็งในช่องแช่แข็ง สำหรับตู้เย็นแบบธรรมดาที่ไม่ได้เป็นแบบโนฟรอส ซึ่งจะสะสมขึ้นและหนาขึ้นเรื่อยๆ หากมีปริมาณที่มากจนทำให้เปิดปิดฝาช่องแช่ไม่สะดวก ต้องมีการละลายน้ำแข็ง ทำโดยการกดปุ่มละลายน้ำแข็งภายในตู้ หรือการถอดปลั๊กออก(แต่อย่าลืมเสียบกลับเดี๋ยวของจะเน่า) แต่ไม่ควรเด็ดขาด ที่จะใช้ของมีคมแซะน้ำแข็งในตู้ เพราะคมจากสิ่งของมีคม อาจจะทิ่มแทงทางเดินน้ำยาที่อยู่ในแผงของช่องแช่แข็งทำให้แตกหรือเป็นรู และน้ำยาในระบบ รวมกับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ก็จะรั่วออกมา หากเดินเครื่องต่อไปเรื่อยๆโดยที่ไม่ทราบว่าน้ำยาไม่มีในระบบ และน้ำมันที่ทะลักตามน้ำยาออกมาก็มีน้อยจากเดิม เครื่องจะเดินนานขึ่น เพราะภายในตู้ไม่เย็นตัวควบคุมอุณหภูมิจึงไม่ตัดการทำงาน มอเตอร์ทำงานต่อไปเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่มีน้ำมันมาระบายความร้อนและหล่อลื่น การระบายความร้อนจากน้ำยาก็ทำไม่ได้ ทำให้คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด และมอเตอร์ไหม้ในที่สุด

วางตู้เย็นในบริเวณที่ระบายความร้อนได้ดี
การระบายความร้อนของน้ำยาในตู้เย็น อาศัยการถ่ายเทความร้อนจากอากาศธรรมชาติที่พัดผ่าน แผงร้อนด้านหลังของตู้ เพื่อให้น้ำยาเปลี่ยนสถานะ จึงจำเป็นต้องอาศัยการถ่ายเทอากาศที่ดี เพื่อช่วยในการระบายความร้อนจากแผงคอนเด็นเซอร์(แผงร้อน) จึงควรวางตู้เย็นให้ห่างจากผนังด้านหลังเป็นระยะประมาณ 1ฟุต หรืออย่างน้อยจริงๆ ก็ควรห่างจากผนังประมาณ 4-5นิ้ว เพื่อช่วยให้อากาศพัดผ่านเข้าไปถ่ายเทความร้อนให้ตู้เย็น ช่วยให้ประหยัดไฟได้


การใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธี
การใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธี ช่วยให้ประหยัดไฟได้ และที่สำคัญเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของตู้เย็น หลายคนยังไม่ทราบถึงวิธีในการใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธี ก่อให้เกิดการใช้งานแบบผิดๆ ทำให้อายุการใช้งานของตู้เย็นสั้นลง ตู้เย็นที่ใช้จึงเสียในเวลาก่อนสมควร ซึ่งผมจะขอกล่าวเรื่องของเกล็ดความรู้เล็กๆน้อยๆในการใช้งานตู้เย็นที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เก็บอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยให้ประหยัดไฟ และช่วยยืดอายุการใช้งานให้ใช้งานได้คุ้มค่าตามระยะเวลาที่สมควร

การถอดปลั๊กตู้เย็น ต้องรอก่อนที่จะเสียบปลั๊กใหม่
กรณีนี้ เป็นคำถามที่มีหลายคนสอบถามอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการถอดปลั๊กตู้เย็น ไม่ว่ากรณีที่จะทำการย้ายเครื่องไปตั้งอีกที่หนึ่ง หรือจะมีเหตุอันใดก็แล้วแต่ที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหลเข้าสู่ตู้เย็น พึงระรึกไว้เสมอว่าก่อนเสียบปลั๊กใหม่หรือจ่ายไฟให้เครื่องเดิน ไม่ควรกระทำทันทีหลังจากถอดปลั๊กออก ควรรอเวลาอย่างน้อย 3-5 นาที เนื่องมาจาก แรงดันน้ำยาภายในตู้เย็น ที่ยังไม่สมดุลหลังจากเครื่องหยุดทำงาน อธิบายโดยหลักการคือ แรงดันของสารทำความเย็นหรือน้ำยาภายในตู้เย็นที่ถูกแบ่งออกเป็นสองด้าน คือทางด้านแรงดันสูง ที่ถูกอัดออกมาจากคอมเพรสเซอร์ และทางด้านแรงดันต่ำ ที่ถูกดูดกลับเข้าทางท่อทางดูดของคอมเพรสเซอร์ เมื่อเครื่องหยุดทำงานทันที แรงดันด้านสูงที่ถูกอัดจะไหลไปทางด้านแรงดันต่ำ ในระหว่างที่แรงดันไหลย้อนกลับหากเราเริ่มเดินเครื่องทันทีที่แรงดันยังไม่สมดุล คอมเพรสเซอร์ต้องออกแรงมาก เพื่อจะเอาชนะแรงเสียดทานและแรงเฉื่อยที่เกิดจากแรงดันน้ำยาไม่คงที่ คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักกว่าปกติ กินกระแสมาก หรือมอเตอร์อาจจะล็อกและสตาร์ทไม่ออก ถ้ามีตัวโอเวอร์โหลดต่ออนุกรมอยู่ ตัวโอเวอร์โหลดก็จะตัดไฟก่อนที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะร้อนจนไหม้ หากเป็นเช่นนี้บ่อยครั้ง อาจทำให้คอมเพรสเซอร์มีอายุการใช้งานที่สั้นลงและชำรุดในที่สุด
ดังนั้น พึงจำไว้เสมอ ว่าหลังจากถอดปลั๊กตู้เย็นออก ควรรอเวลา 3-5 นาที ก่อนเสียบปลั๊กให้เครื่องเดินอีกครั้ง เพื่อให้แรงดันน้ำยาสมดุลกันทั้งสองด้าน แต่หากตู้เย็นรุ่นที่มีตัวหน่วงเวลาหรือติดตั้งตัวหน่วงเวลาเสริมเข้าไป ตัวหน่วงเวลาจะทำหน้าที่หน่วงเวลาไม่ให้เครื่องเดินทันทีหลังจากเสียบปลั๊ก เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

ไม่ควรนำของร้อนจัด เข้าแช่ในตู้เย็น
การนำเอาของร้อนจัดใส่เข้าไปในตู้เย็นทันที ทำให้อุณหภูมิในตู้เย็นสูงขึ้น คอมเพรสเซอร์ต้องเดินนานขึ้นกว่าเดิม เปรียบเหมือนการรีดผ้าในห้องแอร์นั่นเอง คอมเพรสเซอร์ที่ทำงานหนัก ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น อีกทั้งความร้อนจากของร้อนจัดที่นำไปเข้าตู้เย็นอาจจะทำให้อาหารที่แช่ใกล้เคียงกันภายในตู้ เสื่อมสภาพจากความร้อนที่ได้รับ ดังนั้นควรนำของร้อนจัด วางทิ้งไว้ภายนอกให้มีอุณหภูมิลดลงเสียก่อนที่จะนำเข้าแช่ใต้เย็น และการปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้ ทำให้ความเย็นสูญเสีย และความร้อนเข้าไปแทนที่ ก็ทำให้ตู้เย็นเดินนานขึ้น ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงาน

อากาศภายในตู้เย็นเป็นอากาศที่เย็นและแห้ง
ความชื้นที่ควบตัวกลายเป็นน้ำแข็ง ทำให้อากาศภายในตู้เย็น เป็นอากาศที่เย็นและแห้งมาก อาหารประเภทเนื้อสัตว์และพืชผักหากนำไปแช่ในตู้เย็น ต้องมีการกักเก็บความชื้นไม่ให้เนื้อสัตว์และพืชผักสูญเสียความชื้นออกไป ซึ่งหากเนื้อสัตว์สูญเสียความชื้นจะทำให้ผิวของเนื้อแห้งดูไม่น่าทาน รวมทั้งพืชผักก็เช่นกัน การสูญเสียความชื้นจะทำให้เหี่ยวเฉาดูไม่น่ารับประทานและสูญเสียคุณค่าทางอาหารลงไป ดังนั้นควรการกักเก็บความชื้นให้สัตว์และพืชผักโดยการใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่นอาจจะประยุกต์โดยการห้อหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกใสหรือเรียกว่าพลาสติกแรปที่ใช้แพ็คอาหาร หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด จะช่วยกักเก็บความชื้นให้สัตว์และพืชผักที่แช่ ดูสดใหม่ น่ารับประทานอยู่เสมอ
เนื้อสัตว์ที่แช่จนเป็นน้ำแข็ง หากนำออกมาปรุงอาหาร จะพบว่าเนื้อยุ้ยไม่เหมือนตอนเพิ่งซื้อมาแรกๆ ก็เพราะว่า ในเนื้อสัตว์โดยปกติ จะมีโมเลกุลของน้ำกระจายอยู่ในเนื้อสัตว์ เมื่อโมเลกุลของน้ำในเนื้อสัตว์แข็งตัว ความแหลมคมของผลิกน้ำแข็งที่เกิดขึ้น จะขยายตัวและทิ่มแทงเซลของเนื้อสัตว์ ทำให้บางครั้ง เราสังเกตุว่าเนื้อยุ้ยลงไม่เหมือนกับตอนเพิ่งซื้อมา

อย่าใช้ของมีคม ทิ่มแทงน้ำแข็ง
น้ำแข็งในช่องแช่แข็ง สำหรับตู้เย็นแบบธรรมดาที่ไม่ได้เป็นแบบโนฟรอส ซึ่งจะสะสมขึ้นและหนาขึ้นเรื่อยๆ หากมีปริมาณที่มากจนทำให้เปิดปิดฝาช่องแช่ไม่สะดวก ต้องมีการละลายน้ำแข็ง ทำโดยการกดปุ่มละลายน้ำแข็งภายในตู้ หรือการถอดปลั๊กออก(แต่อย่าลืมเสียบกลับเดี๋ยวของจะเน่า) แต่ไม่ควรเด็ดขาด ที่จะใช้ของมีคมแซะน้ำแข็งในตู้ เพราะคมจากสิ่งของมีคม อาจจะทิ่มแทงทางเดินน้ำยาที่อยู่ในแผงของช่องแช่แข็งทำให้แตกหรือเป็นรู และน้ำยาในระบบ รวมกับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ก็จะรั่วออกมา หากเดินเครื่องต่อไปเรื่อยๆโดยที่ไม่ทราบว่าน้ำยาไม่มีในระบบ และน้ำมันที่ทะลักตามน้ำยาออกมาก็มีน้อยจากเดิม เครื่องจะเดินนานขึ่น เพราะภายในตู้ไม่เย็นตัวควบคุมอุณหภูมิจึงไม่ตัดการทำงาน มอเตอร์ทำงานต่อไปเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่มีน้ำมันมาระบายความร้อนและหล่อลื่น การระบายความร้อนจากน้ำยาก็ทำไม่ได้ ทำให้คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด และมอเตอร์ไหม้ในที่สุด

วางตู้เย็นในบริเวณที่ระบายความร้อนได้ดี
การระบายความร้อนของน้ำยาในตู้เย็น อาศัยการถ่ายเทความร้อนจากอากาศธรรมชาติที่พัดผ่าน แผงร้อนด้านหลังของตู้ เพื่อให้น้ำยาเปลี่ยนสถานะ จึงจำเป็นต้องอาศัยการถ่ายเทอากาศที่ดี เพื่อช่วยในการระบายความร้อนจากแผงคอนเด็นเซอร์(แผงร้อน) จึงควรวางตู้เย็นให้ห่างจากผนังด้านหลังเป็นระยะประมาณ 1ฟุต หรืออย่างน้อยจริงๆ ก็ควรห่างจากผนังประมาณ 4-5นิ้ว เพื่อช่วยให้อากาศพัดผ่านเข้าไปถ่ายเทความร้อนให้ตู้เย็น ช่วยให้ประหยัดไฟได้

Create Date :16 ธันวาคม 2552
Last Update :16 ธันวาคม 2552 18:51:53 น.
Counter : Pageviews.
Comments :22
- Comment
เอาไว้พักผ่อนครับ ประมาณเดือนนึงถึง 2 เดือนจะไปซักครั้ง
คือผมซื้อตู้เย็นไว้ด้วย พอกลับผมก็ถอดปลั๊กเช็ดให้แห้ง แล้วเปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้เลย
ใส่ถ่านหุงข้าวไว้2-3 ก้อน คือผมอยากทราบว่าจะมีผลเสียอะไรบ้างมั๊ยกับตู้เย็น ช่วยแนะนำวิธีดูแลรักษาตู้เย็นที่ไม่สามารถเสียบปลั๊กทิ้งไว้ได้ เพราะห้องไม่มีคนอยู่ ผมต้องปิดประตูตู้เย็นด้วยมั๊ยครับ ตู้เย็นเป็นแบบประตูเดียว ละลายน้ำแข็ง ตอนแรกก็ไม่คิดจะซื้อ เพราะไม่ได้อยู่ แต่แถวนั้นไกล หาของกินค่อนข้างลำบาก เลยต้องตัดสินใจซื้อ ศึกษาในเน็ตแล้วเหมือนกัน รู้ว่าไม่ไค่อยดี แต่อยากให้แนะนำหน่อยครับ
โดย: ทิวลิป IP: 119.31.126.141 17 มกราคม 2553 11:43:32 น.
โดย: สิท IP: 171.99.99.189 7 มีนาคม 2555 11:00:04 น.
อาจจะมีปัญหาที่ตัวโอเวอร์โหลดไหม้ หรือเป็นที่ตัวรีเลย์ของมอเตอร์คอมเพรศเซอร์
หรือที่เลวร้ายที่สุด คอมเพรสเซอร์อาจจะไหม้ไปแล้วก็เป็นไปได้ ทางที่ดีควรเรียกช่างมาทำการตรวจสอบก่อน
เรื่องน้ำยารั่ว ผมว่าเป็นไปไม่ได้ที่น้ำยาจะรั่วเพราะเปิดตู้ทิ้งไว้ทั้งคืน เพราะมันไม่เกี่ยวกัน แต่ถ้าแบบว่ากรณีที่คุณเอามีดหรือของมีคมไปแซะ-งัดน้ำแข็งในช่องฟรีช แล้วตู้ไม่เย็นอีกเลย นั่นและครับ จึงจะสันนิษฐานได้ว่าสาเหตุอันดับต้นๆเป็นเรื่องน้ำยารั่ว
โดย: KanichiKoong
โดย: นุ่นค่ะ IP: 10.148.101.5, 1.20.1.133 7 กรกฎาคม 2555 7:59:57 น.
โดย: การ์ตูน IP: 124.121.159.51 7 กันยายน 2556 14:26:30 น.
โดย: อาม IP: 110.170.129.2 14 ตุลาคม 2556 8:49:14 น.
โดย: pauline IP: 98.180.53.218 8 ธันวาคม 2556 1:31:45 น.
โดย: สุ IP: 1.46.166.124 5 กรกฎาคม 2557 1:29:31 น.
ผมขอแนะนำวิธีคิดอัตราการกินไฟแบบคร่าวๆ ให้คุณสุลองนำไปใช้ดูนะครับ เพราะผมเองก็ไม่อาจจะบอกว่ากินไฟไปมากน้อยแค่ไหน เพราะไม่ได้เห็นว่าเป็นตู้แบบไหน และตู้แต่ละแบบ ก็กินไฟไม่เท่ากันครับ
วิธีตรวจสอบด้วยตนเเองแบบง่ายๆ
ก่อนอื่น คุณลองสังเกตฉลากที่ระบุข้อมูลจำเพาะ(Name plate) ของตู้แช่เครื่องนั้นดูก่อนนะครับ ลองหาข้อมูลที่ระบุจำนวนกำลังไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ (W)
เมื่อทราบจำนวนวัตต์แล้ว ลองเอามาหาร 1000 ก็จะได้ค่าที่แสดงว่าตู้แช่นั้นใช้ไฟฟ้ากี่หน่วยในหนึ่งชั่วโมง
ตู้แช่เปิดค้างไว้ ทำให้อุณหภูมิในตู้ไม่ถึงจุดที่ตัวควบคุมจะตัดการทำงาน จึงทำให้ตัวควบคุมต่อวงจรไฟฟ้าให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานต่อเนื่องกัน ตลอดช่วงที่เปิดค้าง ซึ่งเปิดค้างประมาณกี่ชั่วโมงก็นำจำนวนชั่วโมงมาคูณกับหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เราหาได้ตอนแรกครับ จะได้หน่วยไฟฟ้าแบบคร่าวๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ไปในขณะที่ประตูเปิดค้าง แล้วนำค่าไฟต่อหน่วยมาคูณกัน ก็จะได้ค่าไฟที่เพิ่มมาแบบคร่าวๆแล้วครับ
ซึ่งถ้าเป็นตู้แช่แบบประตูกระจก ซึ่งมีประตูเดียว ระยะเวลาที่เปิดตู้ค้าง 5 ชั่วโมง ก็ไม่ได้เพิ่มค่าไฟขึ้นมากนักหรอกครับ สบายใจได้
โดย: AC&EE
โดย: Lookmee IP: 1.46.77.182 21 สิงหาคม 2557 21:32:25 น.
ครั้งหนึ่งก็ประมาณ3-4นาที อยากจะทราบว่ากรณีนี้เครื่องมีปัญหาหรือว่านี่คือการ
ทำงานตามปรกติ รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดย: บี IP: 110.171.183.187 12 ตุลาคม 2557 12:28:05 น.
โดย: sakuraba IP: 1.46.10.202 3 มีนาคม 2558 17:24:11 น.
โดย: ขวัญ IP: 49.230.168.37 20 เมษายน 2558 8:55:02 น.
โดย: โชติกา ถนอมกุล IP: 180.183.124.10 21 เมษายน 2558 9:10:42 น.
โดย: นัส IP: 27.55.149.224 2 ตุลาคม 2558 20:30:59 น.
โดย: ปิ IP: 124.122.229.159 29 ธันวาคม 2558 9:11:24 น.
ถ้าไม่อยากถอดปลั๊ก จะทำตามแบบที่ว่า ก็ไม่มีผลเสียต่อตู้เย็นครับ ปรับความเย็นในระดับต่ำสุดแล้วเสียบไทม์เมอร์ไว้ได้
แต่ไทม์เมอร์ที่นำมาใช้งาน ยังไงก็ควรเลือกของที่มีคุณภาพหน่อยนะครับ เพราะเห็นว่าไม่มีใครอยู่บ้านเลย หากใช้ไทม์เมอร์ของไม่ดีอาจจะมีปัญหาตรงไทม์เมอร์ได้
โดย: KanichiKoong
โดย: จุฑ IP: 49.237.216.193 27 กุมภาพันธ์ 2559 12:39:45 น.
โดย: พัชรา IP: 171.6.250.167 7 มิถุนายน 2559 8:51:26 น.
โดย: คิง IP: 27.55.230.53 26 มีนาคม 2560 16:57:39 น.
ช่วงวันหยุดสงกรานต์ปิดช่องฟรีซไม่สนิท (ประมาณ 2 วัน) กลับถึงบ้านสักพัก ถึงสังเกตพบว่า ตู้เย็นมีเสียงดัง ตรวจดูจึงพบว่าช่องฟรีซปิดไม่สนิท ความเย็นยังปกติดีค่ะ แต่เสียงดังมาก
ลองถอดปลั๊กออก 2 ชม.ช่วง 2-4 ทุ่ม แล้วค่อยเสียบใหม่ เสียงเบาลงไป แต่ก็ยังดังกว่าปกตินิดนึงค่ะ แต่พอตื่นเช้า พบว่าเสียงดังมากเหมือนเดิมอีกแล้วค่ะ
ควรแก้ไขยังไงดีคะ?
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
โดย: มิน IP: 27.254.180.225 21 เมษายน 2560 11:05:58 น.
โดย: ไก่ IP: 49.230.16.45 19 มิถุนายน 2563 12:14:18 น.