bloggang.com mainmenu search
รีวิว...เครื่องปรับอากาศ SAMSUNG Triangle ตอนที่ 3

สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่านรีวิวตอนที่ 1 และ 2 สามารถตามเข้าไปอ่านได้จากลิงค์ข้างล่าง

รีวิวตอนที่ 1 : //www.bloggang.com/mainblog.php?id=kanichikoong&month=03-07-2014&group=33&gblog=13

รีวิวตอนที่ 2 : //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kanichikoong&month=07-2014&date=03&group=33&gblog=14




ต่อไปก็จะเป็นการนำไปติดตั้งใช้งานจริง



สำหรับสถานที่ที่ผมจะนำแอร์เครื่องนี้ไปติดตั้ง คือบ้านสวนของคุณพ่อผมหลังเดิมที่เคยติดตั้งและทำรีวิวออกมาในครั้งก่อน
แต่อันที่จริงนั้น เมื่อช่วงที่ซัมซุงติดต่อมาครั้งแรกผมก็คิดเอาไว้ว่าจะเอามาติดตั้งที่บ้านผมเองดูบ้าง เพราะบ้านผมเองนั้นตอนนี้มีแอร์ระบบ
Inverter อยู่เพียงเครื่องเดียวใช้ในห้องนอนของผม ซึ่งก็ติดตั้งเมื่อตอนที่สร้างบ้านเสร็จ ก็ราวๆ 5 ปีที่แล้วส่วนแอร์เครื่องอื่นในบ้านผม ล้วนเป็นแอร์ระบบธรรมดาทั้งนั้น ทำให้ในตอนแรกก็ได้คิดเอาไว้ว่าจะลองมาติดตั้งใช้ในบ้านตนเองดูบ้าง ซึ่งเล็งไว้แรกสุดคือจะเอามาเปลี่ยนกับแอร์ในห้องทำงานที่บ้านผมเองเพราะขนาดแอร์และขนาดห้องมันพอดีกันรวมทั้งยังเป็นห้องที่ผมเปิดแอร์ใช้อยู่บ่อยๆรองจากห้องนอน

แต่พอคิดดูดีๆแล้ว ผมก็เจอปัญหาใหญ่ขัดขวางคือแนวของท่อแอร์เดิมที่ติดตั้งไปแล้วของบ้านผมเอง ท่อบางช่วงได้ถูกตู้หนังสือที่ทำขึ้นและติดตั้งภายหลังมาปิดซ่อนแนวท่อแอร์เอาไว้ไม่สามารถรื้อท่อแอร์เก่าออกแล้วเดินท่อใหม่เข้าไปในแนวเดิมได้

ถ้าผมจะติดตั้งแทนเครื่องเดิมจริงความเป็นไปได้ในกรณีที่ไม่ไปยุ่งกับเฟอร์นิเจอร์ในห้องเลย
คือต้องรื้อแอร์เดิมออก แล้วปล่อยท่อเดิมทิ้งไว้แบบนั้น พร้อมกับเดินท่อใหม่ลอยออกมา
แล้วให้ท่อของแอร์ที่จะติดใหม่นั้น เดินลัดเลาะแนบไปตามแนวตู้หนังสือที่ว่า
ส่วนเรื่องที่จะเอาแอร์ใหม่ใช้ท่อของเดิม ก็เป็นไปไม่ได้เพราะของเดิมใช้สารทำความเย็น
R-22
แต่แอร์ของใหม่ใช้
R-410a น้ำมันหล่อลื่นในระบบก็ใช้ต่างชนิดกัน
ท่อของเดิมที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมันหล่อลื่นของเดิมจึงไม่สามารถนำมาใช้ได้กับแอร์ใหม่

ซึ่งการเดินท่อของแอร์ใหม่ ที่บ้านผมเองนั้นมันคงจะเป็นเรื่องยุ่งยากมากและดูไม่ค่อยงามแน่ๆ
มิหนำซ้ำก็ยังต้องโดนท่าน ผบ.สูงสุดของที่บ้านบ่นใส่ผมไปอีกนานแน่แม้ว่าจะเป็นบ้านผมเองก็ตาม
แต่อำนาจการตัดสินใจหลักๆตอนนี้กลับไม่ใช่ของผมเลย
อุ้ย! บ่นนอกเรื่องไปเยอะ...เปลื่ยนประเด็นมาเข้ารีวิวต่อดีกว่า
^_^


และท้ายที่สุดจึงได้ข้อสรุปว่า นำไปติดตั้งให้กับที่บ้านสวนของคุณพ่อผมดีที่สุด
ซึ่งผมก็ได้ให้จัดส่งแอร์ไปที่บ้านสวนของคุณพ่อก่อนล่วงหน้าแล้วผมจึงเดินทางตามไปติดตั้งให้ภายหลัง



มาถึงการติดตั้ง เริ่มแรกทำการวัดระดับ และติดตั้งแผงยึดชุดคอยล์เย็น ในตำแหน่งที่กำหนด





ลองยกชุดคอยล์เย็นขึ้นไปแขวนดู




เตรียมทำการเดินท่อแอร์ โดยท่อทองแดงที่ให้มานั้น เป็นท่อทองแดงแบบหนา ขนาด 3/8 นิ้ว และ 1/4 นิ้ว อย่างละ 1 เส้น พร้อมหุ้มด้วยฉนวนโฟมยางสีขาว มาทั้งสองท่อ ความยาวของท่อทั้งสองคือ 4 เมตร






หยิบม้วนท่อออกมา เตรียมทำการคลี่ออกให้ตรง ตามแนวที่ต้องการ





จากนั้นทำการบานปลายท่อทองแดง แล้วขันแฟร์เชื่อมต่อในส่วนท่อนำสารทำความเย็นทั้งสองท่อ


แล้วจัดการในส่วนของแนวท่อนำสารทำความเย็น ท่อน้ำทิ้ง และสายไฟฟ้า ให้เรียบร้อย






ชุดคอยล์เย็น Fan Coil Unit หลังจากติดตั้งเสร็จ




หลังจากจัดการในส่วนของชุดคอยล์เย็นเสร็จ จึงออกไปนอกบ้าน เพื่อทำการกำหนดจุดติดตั้งชุดคอยล์ร้อน

เมื่อได้จุดติดตั้งชุดคอยล์ร้อนแล้ว ทำการยกชุดคอยล์ร้อนขึ้นไปติดตั้ง โดยยึดเข้ากับขาแขวนที่ใช้เป็นฐานรองรับ


แล้วจึงเดินท่อนำสารทำความเย็น มาต่อเข้ากับชุดคอยล์ร้อน


ตรงนี้ในการติดตั้งนั้น หากพื้นที่ติดตั้งไม่มีข้อจำกัดในเรื่องตำแหน่งการวางคอยล์ร้อน และระยะห่าง
ระหว่างชุดคอยล์เย็นและชุดคอยล์ร้อนก็ควรใช้ท่อให้เต็มตามความยาวที่ผู้ผลิตให้มา นั่นคือ 4 เมตร
เพื่อให้วัฏจักรการไหลของสารทำความเย็นในระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุด ตามที่ผู้ผลิตได้ออกแบบมา
และในกรณีนี้พื้นที่บริเวณนอกบ้าน เป็นที่ว่างที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์อื่นๆจึงทำให้สามารถเลือกจุดติดตั้งคอยล์ร้อนได้ตามแต่ระยะท่อท่อไปถึงผมจึงติดตั้งโดยกำหนดแนวเดินท่อให้เรียบร้อย ก่อนที่จะเลือกจุดวางชุดคอยล์ร้อนทำให้ไม่ต้องตัดท่อในส่วนที่เหลือออก ใช้เต็มความยาว ตามที่ผู้ผลิตได้ให้มา




หลังจากที่ต่อท่อเสร็จ ก็ทำสุญญากาศในระบบเป็นเวลา 30 นาที

ในระหว่างนั้นก็ทำการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าเข้าจุดที่กำหนด



โดยในส่วนของ Terminal Power (L-N)เป็นจุดเชื่อมต่อของสายเมนไฟฟ้าจากแหล่งจ่าย
และสายเมนไปยังชุดคอยล์เย็น

และส่วน Terminal Communication (F1-F2) เป็นจุดเชื่อมต่อของสายสัญญาณ
ใช้สำหรับติดต่อสั่งการ ควบคุมระหว่างชุดคอยล์เย็น และคอยล์ร้อน



ในกรณีของเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ระบบ Inverter
โดยหลักการทำงานของมันแล้วในขณะที่เราเปิดแอร์อยู่นั้น จะมีการติดต่อสื่อสารระหว่างชุดคอยล์เย็นในบ้านและชุดคอยล์ร้อนนอกบ้าน
เพื่อส่งสัญญาณทางไฟฟ้าที่เปรียบเสมือนข้อมูลไปมาระหว่างกันตลอดเวลา
ซึ่งสัญญาณที่ส่งไปมานั้นก็เป็นสัญญาณที่แปลงมาจากค่าต่างๆที่ตรวจจับได้และถูกเก็บบันทึกไว้
หลักๆคือค่าความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาเพื่อกำหนดรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์
ให้สอดคล้องกันกับอุณหภูมิภายในห้อง
และนอกจากนี้ในแอร์บางรุ่น(อย่างเช่นรุ่นนี้) ยังมีการส่งสัญญาณในส่วนของสถานะการทำงานและการรายงานความผิดพลาดต่างๆในระบบ
เพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้รับทราบได้อีกด้วย

ดังนั้นส่วนของ Terminal Communication (F1-F2) ในวงจรไฟฟ้าของแอร์เครื่องนี้ ก็เปรียบได้กับสายสัญญาณ
ที่ชุดคอยล์ร้อนและ คอยล์เย็น ใช้ติดต่อส่งสัญญาณข้อมูลไปมาระหว่างกันในขณะที่เปิดแอร์และห้ามต่อสลับกันเด็ดขาด





ภายหลังที่เสร็จจากขั้นตอนการติดตั้งทั้งหมด และเก็บงานพันท่อและติดตั้งระบบไฟฟ้าเสร็จ ก็เตรียมเดินเครื่อง




ทดลองเดินเครื่อง กระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ในช่วงแรกซึ่งเป็นช่วงที่แอร์เร่งรอบการทำงาน อยู่ที่ประมาณ 4.2 A 







การทำงานชุดคอยล์ร้อน CondensingUnit ที่ติดตั้งอยู่ภายนอก
เมื่อเปิดแอร์ให้ทำงานที่ระดับความเร็วรอบสูงสุดนั้น ตัวเครื่องทำงานได้ค่อนข้างเงียบและนิ่งพอสมควร
ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการติดตั้งด้วยซึ่งถ้าติดตั้งบนฐานรองรับที่มั่นคงแข็งแรง
ร่วมกับการใช้แผ่นยางรองที่ขาทั้งสี่ก็ช่วยให้เครื่องทำงานเงียบ ได้เยอะเลยทีเดียว





สำหรับชุดคอยล์เย็น Fan Coil Unit ที่ติดตั้งอยู่ภายใน เมื่อเปิดใช้งาน ก็สามารถส่งลมเย็นได้มากและทั่วถึง


ชุดคอยล์เย็น Fan Coil Unit ที่ติดตั้งอยู่ภายใน เมื่อเปิดใช้งาน ก็สามารถส่งลมเย็นได้มากและทั่วถึง ซึ่งการนำมาติดตั้งใช้งานภายในห้องขนาด 4 x 4 เมตร หลังจากเปิดแอร์ในห้องก็เย็นเร็วดี

โดยรวมสำหรับผมก็ค่อนข้างประทับใจในแอร์เครื่องนี้




อุณหภูมิห้องในขณะนั้น แสดงให้เห็นชัดเจนบนหน้าจอแสดงผลที่อยู่ทางด้านขวา


ใช้เวลาไม่นาน หลังจากเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส จากห้องที่ร้อนอบอาว ก็มีอุณหภูมิลดลงตามที่ตั้ง






ส่วนแสงสีฟ้าที่เห็นอยู่ในช่องลมออกนั้น คือแสดงไฟสำหรับแสดงสถานะ ของระบบฟอกอากาศ Virus Doctor ซึ่งจะสว่างขึ้น เมื่อเปิดโหมดระบบฟอกอากาศ Virus Doctor





นอกเหนือไปจากคุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่ และรูปทรงที่แปลกใหม่

เครื่องปรับอากาศรุ่นนี้ ยังคงมีฟังชั่นเสริมอีกหลายด้าน และหนึ่งในนั้นคือ รองรับการสังการและควบคุมระยะไกล ผ่านทางสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ด้วย Application บนโทรศัพท์มือถือ Smart Phone


รองรับการใช้งานบน Smart Phone ระบบปฏิบัติการ Android และ iOS (iPhone)


ซึ่งผมได้ทดลอง ใช้งานฟังชั่นนี้ โดย Smart Phone ที่ผมใช้นั้น คือ SAMSUNG Galaxy Note 3 และ iPhone 5 ซึ่งก็สามารถใช้งานได้อย่างน่าประทับใจ ไม่ต่างไปจากแอร์เครื่องก่อนที่เคยซื้อมาติดตั้งและทำรีวิวไปในครั้งก่อน


สำหรับท่านใดที่ต้องการดู ในส่วนของรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการตั้งค่าเพื่อใช้งานฟังก์ชั่นเสริม Smart Wi-Fi ที่ผมเคยเขียนลายระเอียด และขั้นตอนการตั้งค่าในตอนนี้เอาไว้แล้ว ใน Blog ของผม ซึ่งสามารถเข้าไปดูเพิ่มได้ตามลิงค์นี้
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=kanichikoong&date=03-06-2013&group=33&gblog=10


และรวมไปถึงขั้นตอนของการลงทะเบียน เพื่อใช้งานในโหมดนอกบ้าน ซึ่งเป็นการควบคุมระยะไกล ก็สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=kanichikoong&month=09-06-2013&group=33&gblog=11


และนอกจากนี้ สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องข้อมูลของตัวผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือไปจากนี้ ท่านสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ในเว็บไซด์ผู้ผลิต ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมของเครื่องปรับอากาศรุ่นที่นำมารีวิวในครั้งนี้ ก็ตามลิงค์นี้
//www.samsung.com/th/consumer/home-appliances/airconditioner/split-type/AR13HVSDLWKNST-features?subsubtype=invertor





และท้ายที่สุดนี้ ผมก็หวังว่า รีวิวชุดนี้ จะเป็นประโยชน์ให้แก่บุคคลที่สนใจ รวมไปถึงเป็นข้อมูลในการนำไปประกอบการตัดสินใจได้บ้าง รีวิวฉบับนี้ หากมีข้อขาดตกบกพร่องอะไรไป ผมเองก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาติดตามรับชม ขอของคุณทุกความคิดเห็นและคำติชม 

และก็ต้องขอขอบคุณบริษัท ไทยซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด ที่ได้สนับสนุนเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ เพื่อนำมาทำรีวิว




ขอทิ้งท้ายการรีวิว ด้วยภาพคอยล์ร้อนของแอร์เครื่องใหม่(ทางซ้าย) และทางขวาซึ่งเป็นแอร์ รุ่น Smart Wi-Fi Inverter 18,000 BTU ซึ่งก็คือแอร์เครื่องที่ซื้อมาติดตั้งและทำรีวิวออกมา เมื่อช่วงปีก่อน ซึ่งก็ยังคงถูกใช้งานอยู่อย่างต่อเนื่อง





รีวิวฉบับนี้ ก็ต้องขอจบลงแต่เพียงเท่านี้...สวัสดีครับ 
Create Date :03 กรกฎาคม 2557 Last Update :3 กรกฎาคม 2557 6:40:35 น. Counter : 14703 Pageviews. Comments :40