bloggang.com mainmenu search





ถ้าลองมองย้อนกลับไปในอดีต (ราวๆ 20-30 ปีก่อน) แอร์บ้านในยุคนั้นเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงมาก เมื่อเที่ยบกับค่าเงินปัจจุบัน แถมยังเป็นแอร์ที่มีหน้าตาเรียบๆรูปทรงทื่อๆ

อีกทั้งยังไม่มีลูกเล่นมากมายเหมือนแอร์ในปัจจุบัน รูปแบบของแอร์บ้านและแอร์สำนักงาน ที่ครองตลาดในยุคนั้นคงหนีไม่พ้นแอร์แบบตั้ง/แขวน ที่คอยล์เย็นหรือชุดที่ติดตั้งในอาคารมีรูปร่างเป็นตู้เหล็กทรงสี่เหลี่ยม ช่างแอร์ทั่วๆไปมักจะเรียกกันว่า "คอยล์เย็นรุ่นหน้าตรง" หรือ "ทรงกล่องไม้ขีด"




ภาพที่ 1 คอยล์เย็นรุ่นหน้าตรง หรือ ทรงกล่องไม้ขีด



และแอร์ชนิดนี้ ที่ติดตั้งในสมัยก่อน ก็จะนิยมใช้เบรกเกอร์ควบคุมที่เป็นสวิตซ์อัตโนมัติ หรือเรียกกันทั่วไปว่า "ทิชิโน่" ซึ่งมาจากคำว่า bticino ที่เป็นชื่อทางการค้าของผู้ผลิตสวิตซ์อัตโนมัติแบบดังกล่าว เป็นเจ้าแรกๆ แต่ภายหลังก็เริ่มมีผู้ผลิตหลายๆยี่ห้อ ที่ผลิตสินค้าแบบนี้ออกมา 



ภาพที่ 2 สวิตซ์อัตโนมัต (ทิชิโน่) 


สวิตซ์อัตโนมัติ ทิชิโน่ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสามารถพื้นฐานคล้ายคลึงกับ เซอร์กิต เบรกเกอร์ ทั่วๆไป คือมันสามารถปลดวงจรไฟฟ้าได้เองอัตโนมัติเมื่อมีการใช้กระแสไฟเกินพิกัด หรือเกิดการลัดวงจร 

แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของสวิตซ์อัตโนมัติ ทิชิโน คือการทำงานที่รวดเร็วเม่นยำ เพราะระบบกลไกลภายในเป็นแบบที่รวมเอารูปแบบการทำงานสองอย่างไว้ในหนึ่งเดียว คือทริปด้วยอำนาจแม่เหล็กและผลของความร้อน รวมไปถึงมันยังสามารถปรับตั้งค่าพิกัดกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานได้หลายระดับ โดยสามารถเลือกใช้แผ่นฟิวส์ หรือแผ่น shunt ที่แถมมาให้ เพื่อปรับตั้งค่ากระแสที่เหมาะสมต่อการใช้ 

ซึ่งแต่ละแผ่นจะมีขนาดที่แตกต่างกัน ได้แก่ 15 A , 20 A , 25 A และ 30 A นอกจากนี้ยังสามารถปรับตั้งค่าเปอร์เซ็นของพิกัดกระแสที่กำหนดบนแผ่น shunt ว่าต้องการให้พิกัดกระแสใช้งานอยู่ในระดับไหน โดยพิกัดกระแสที่ปรับตั้งจะเริ่มต้นที่ 3.75 A ไปจนถึง 30 A 




จุดเด่นในด้านพิกัดกระแสที่สามารถปรับตั้งได้นี้ ทำให้สวิตซ์อัตโนมัติ ทิชิโน่ เหมาะสมมากที่จะนำมาใช้ควบคุมแอร์ในสมัยก่อน เพราะแอร์ในยุคนั้นค่อนข้างจะกินกระแสสูง อีกทั้งช่วงเริ่มสตาร์ทคอมเพรสเซอร์ก็กระชากไฟค่อนข้างมาก เพราะใช้คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ หากคอมเพรสเซอร์เกิดสตาร์ทไม่ออกก็จะสามารถตัดวงจรได้รวดเร็วก่อนที่คอมเพรสเซอร์จะเสียหาย ที่สำคัญราคาของแอร์ในยุคนั้นที่ค่อนข้างจะแพงมาก สวิตซ์อัตโนมัติ ทิชิโน่ ราคาตัวละ 300-400 บาท จึงเป็นทางเลือกที่คุ้มในการป้องกันความเสี่ยงของแอร์ยุคนั้น

แต่ในยุคปัจจุบัน ถ้าถามว่า สวิตซ์อัตโนมัติ ทิชิโน่ ยังคงมีความจำเป็นที่จะนำมาใช้กับแอร์หรือไม่ ซึ่งผู้เขียนก็บอกได้เลยว่า มันแทบจะไม่มีความจำเป็นแล้ว แอร์ที่ผลิตมาในปัจจุบันมีระบบป้องกันในส่วนวงจรไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และดีขึ้นกว่าแอร์ในอีต ดังนั้นใช้เพียงเบรกเกอร์แบบธรรมดา ก็พอแล้ว 



แต่ถ้าใครจะนำไปใช้งานกับแอร์ที่ติดตั้งใหม่ ก็สามารถนำไปใช้งานได้ไม่เสียหายอะไร แค่เพียงอาจจะเสียเงินเพิ่มขึ้นมา จากราคาเบรกเกอร์แบบปกติกว่าเท่าตัว
Create Date :10 กันยายน 2556 Last Update :6 ธันวาคม 2559 6:44:18 น. Counter : 36676 Pageviews. Comments :2