bloggang.com mainmenu search
แต่เดิมการสร้าง ′พระพุทธรูป′ เป็นคติมหาบุรุษตามคัมภีร์มหา ปุริสลักขณะ รวมกับอิทธิพลของศิลปะกรีกที่นับถือรูปเคารพ จากการเข้ามาบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย จนเกิดเป็นศิลปะคันธารราฐขึ้นหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์กว่า 500 ปี ซึ่งพระพุทธรูปจะทำจากศิลาทราย ไม้ สัมฤทธิ์ และดิน โดยยังไม่มีสีเป็นองค์ประกอบ ต่อเมื่อทฤษฎีมหาบุรุษในพระคัมภีร์ได้รับความนิยมแพร่หลาย จึงนิยมทาพระฉวี (ผิว) พระพุทธรูปด้วยสีทอง หรือทำแผ่นทองมาปิดที่เรียกกันว่าการลงรักปิดทอง


การที่ ′ริมพระ โอษฐ์พระพุทธรูปเป็นสีแดง′ เริ่มนิยมขึ้นที่กลุ่มชนชาวรามัญหรือ ชาวมอญแห่งอาณาจักรสิริธรรมวดี อันมีศูนย์ กลางอยู่ที่หงสาวดีเป็นแห่งแรก เหตุด้วยเนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ ชาวมอญนิยมขบฉันหมากพลูอยู่เป็นประจำ เมื่อสร้างรูปจำลองพระพุทธองค์เลยพลอยนำวัสดุ ที่เรียกว่า ′ชาด′ ทาริมพระโอษฐ์และผู้คนก็ยังนิยมถวายหมากพลูกับองค์พระพุทธรูปเฉกเดียวกับการถวายให้กับภิกษุสงฆ์อีกด้วย

เมื่อชาวพยูนำโดยอนิรุทธ มหาราช หรืออโนรธามังฉ่อขยายอิทธิพลเหนือมอญ ทำให้พุกามรับเอาศิลปะต่างๆ ของชาวมอญเข้าไปด้วย เมื่อสร้างพระก็ทาสีพระพักตร์พระพุทธรูปเป็นสีขาวเหมือนการประแป้งของชาวพยู และทาริมพระโอษฐ์ให้เป็นสีแดงยิ่งทำให้ดูโดดเด่นจึงนิยมกันเรื่อยมา จนเผยแพร่เข้ามายังล้านนา




คลิกชมภาพและอ่านต่อที่นี่.....
Create Date :13 มิถุนายน 2555 Last Update :13 มิถุนายน 2555 19:58:51 น. Counter : 2334 Pageviews. Comments :0