bloggang.com mainmenu search


บังกลาเทศ (เบงกาลี: বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (เบงกาลี: গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม่า


ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้




ในปี พ.ศ. 2300 อังกฤษได้เข้าไปยึดครองชมพูทวีป และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมอังกฤษเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกกันว่า ปากีสถานตะวันออก ต่อมาชาวเบงกาลีในปากีสถานตะวันออกไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้ปากีสถานทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรมและเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกาลีจึงจัดตั้งพรรค Awami League (AL) ขึ้นเมื่อปี 2492 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกาลี โดยมี Sheikh Mujibur Rahman เป็นหัวหน้า


เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวันตกส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม อินเดียได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่ายปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้ในการรบและยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514 มีนาย Sheikh Mujibur Rahman หัวหน้าพรรค AL ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของบังกลาเทศ โดยเป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation)


ปาฮาร์ปัวร์


พัฒนาการทางการเมืองของบังกลาเทศภายหลังเอกราช
ประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายและเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง ในปี 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี 2535 นาง Khaledia Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้านซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League พรรค Jatiya Party (JP) และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman) ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาลและเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการหรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรีและนาย Latifur Rahman ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พรรค BNP ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งและ นาง Khaleda Zia ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549



ธากา

เมืองหลวง

(และเมืองใหญ่สุด)    ธากา
23°42′N 90°22′E
ภาษาทางการ    ภาษาเบงกาลี
การปกครอง    สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
 -     ประธานาธิบดี    ซิลลูร์ เราะฮ์มาน
 -     นายกรัฐมนตรี    เชก ฮาซินา
เอกราช    จาก ปากีสถาน
 -     ประกาศ    26 มีนาคม พ.ศ. 2514
 -     เป็นที่ยอมรับ    16 ธันวาคม พ.ศ. 2514
พื้นที่
 -     รวม    144,000 ตร.กม. (92)
55,598 ตร.ไมล์
 -     แหล่งน้ำ (%)    7.0%
ประชากร
 -     2548 (ประเมิน)    141,822,000 (8)
 -     2544 (สำมะโน)    123,151,256[1]
 -     ความหนาแน่น    985 คน/ตร.กม. (11)
2,551 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)    2554 (ประมาณ)
 -     รวม    282.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ (44)
 -     ต่อหัว    1,790 ดอลลาร์สหรัฐ (193)
จีดีพี (ราคาตลาด)    2554 (ประมาณ)
 -     รวม    113 พันล้านเหรียญสหรัฐ
 -     ต่อหัว    $700.59
HDI (2554)    0.500 (ต่ำ) (146)
สกุลเงิน    ตากา (BDT)
เขตเวลา    BDT (UTC+6)
 -     (DST)    not observed (UTC+6)
ระบบจราจร    ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด    .bd
รหัสโทรศัพท์    880 - รหัสย่อย




แผนที่แสดงเขตการบริหารทั้ง 6 เขตของบังกลาเทศ


ประวัติศาสตร์

ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนามาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้


ในปี พ.ศ. 2300 อังกฤษได้เข้าไปยึดครองชมพูทวีป และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก

ต่อมาชาวเบงกาลีในปากีสถานตะวันออก ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้ปากีสถานทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกาลีจึงจัดตั้งพรรค Awami League (AL) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกาลี โดยมี Sheikh Mujibur Rahman เป็นหัวหน้า
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวันตกส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม อินเดียได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่ายปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้ในการรบ และยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514


ในระยะแรก บังกลาเทศปกครองโดยระบอบประธานาธิบดี มีนาย Sheikh Mujibur Rahman หัวหน้าพรรค AL เป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation) ประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสาย และเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง


ในปี พ.ศ. 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 นาง Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League (AL), พรรค Jatiya Party (JP), และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman )ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาล และเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP



ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการ หรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรี และนาย Latifur Rahman ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันเดียวกัน นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ซึ่งคณะที่ปรึกษาดังกล่าวได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน



การเมือง

ฝ่ายนิติบัญญัติ

บังกลาเทศมีเพียงสภาเดียว คือ Jatiya Sangsad หรือสภาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 300 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี โดยมี Barrister Muhammad Jamiruddin Sircar เป็นประธานสภาแห่งชาติคนปัจจุบัน (โดยประธานสภาจะดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการประธานาธิบดี หากประธานาธิบดีไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้)

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกสรรโดยรัฐสภา และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี มีบทบาทหน้าที่ในด้านพิธีการ มีอำนาจในการแต่งตั้งรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะผู้พิพากษาและคณะผู้พิพากษา แต่เมื่ออยู่ในฐานะผู้รักษาการขณะที่ไม่มีรัฐบาล ประธานาธิบดีจะมีอำนาจเพิ่มขึ้นในการควบคุมกระทรวงกลาโหมและสามารถประกาศกฎอัยการศึก รวมทั้งสามารถยุบสภาฯ ตามที่ได้รับการเสนอโดยนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการได้ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. Iajuddin Ahmed ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545 พรรคที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาจะได้รับโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลก่อน โดยหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากจะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ล่าสุดพรรค Bangladesh Nationalist Party นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 และได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีรัฐบาลรักษาการโดยมี ดร. Fakhruddin Ahmed ดำรงตำเหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ (Chief of Caretaker Government) เพื่อดูแลกระทรวงต่างๆ และเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550


Jatiyo Sangshad Bhaban

ฝ่ายตุลาการ

บังกลาเทศใช้ระบบศาลแบบอังกฤษ โดยมีทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลสูงสุดซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือ Appellate Division และ High Court Division และยังมีศาลระดับล่างได้แก่ district courts thana courts และ village courts นอกจากนี้ยังมีศาลพิเศษอื่นๆ เช่น ศาลครอบครัว ศาลแรงงาน เป็นต้น



สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ตามที่รัฐบาลบังกลาเทศของนาง Khaleda Zia ได้สิ้นสุดวาระการบริหารประเทศเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ประธานาธิบดีแต่งตั้งอดีตประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเพื่อจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้คัดค้านการแต่งตั้งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าประธานศาลฎีกามีความใกล้ชิดกับพรรครัฐบาล ประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed ได้ตัดสินใจเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลรักษาการและคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง และได้นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการจลาจล และการถอนตัวจากการเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในที่สุดประธานาธิบดีจึงได้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งประกาศเลื่อนการเลือกตั้งซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด นาย Fakhruddin Ahmed อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งบังกลาเทศได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการต่อจากประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยมีภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลรักษาการชุดใหม่ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และจัดการเลือกตั้งที่ บริสุทธิ์ยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและนอกประเทศ โดยจะดำเนินการดังนี้
แยกศาลยุติธรรมออกจากฝ่ายการเมือง
ปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ถูกต้อง
ปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นและกลุ่มอิทธิพล
ทำให้ระบบราชการปลอดจากการครอบงำทางการเมือง
ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลรักษาการของบังกลาเทศจะใช้เวลาในการปฏิรูปการเมืองประมาณ 6 – 9 เดือนก่อนที่จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่



Jatiyo Sangshad Bhaban


นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

บังกลาเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีพรรคสำคัญ 2 พรรคคือพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) และพรรค Awami League (AL) โดยที่ทั้งสองพรรคได้ผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้านตลอดมา


ด้านความมั่นคง

รัฐบาลบังกลาเทศที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อปราบปรามการก่อการร้าย เช่น การจับกุมการค้าอาวุธที่ผิดกฎหมาย การจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกระบุแน่ชัดว่าเป็นผู้ก่อการร้าย การประกาศว่ารัฐบาลจะไม่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย การปราบปรามกิจกรรมการก่อการร้ายในสถานศึกษา การจัดการประชุมระดับชาติเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย การสืบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดต่าง ๆ และการจัดตั้งการปฏิบัติการ “Operation Clean Heart” ซึ่ง เป็นการรวมกองกำลังทหารร่วมกับตำรวจในการจับกุมผู้ต้องสงสัยเรื่องการก่อการร้ายทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลชุดที่ผ่านมายังประกาศที่จะยกเลิกกฎหมายต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งออกโดยรัฐบาลในอดีต อย่างไรก็ดี นโยบายการปราบปรามการก่อการร้ายได้ถูกวิพากษ์วิจารย์จากพรรคฝ่ายค้าน นักศึกษา และประชาชนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกระทำไปเพื่อจำกัดบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล


ด้านเศรษฐกิจ

แม้บังกลาเทศจะเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งไทยไม่ควรมองข้าม โดยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรทางทะเล พร้อมกันนี้ยังสามารถเป็นตลาดสินค้าต่าง ๆ ของไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจบริการจะทำรายได้ให้กับบังกลาเทศคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของ GDP แต่ประชาชนบังกลาเทศส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และประกอบอาชีพการเกษตร รัฐบาลบังกลาเทศเน้นในเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom) โดยใช้การทูตเชิงเศรษฐกิจ (economic diplomacy) ให้ความสำคัญกับการดึงการลงทุนจากต่างชาติ (อนุญาตให้คนต่างชาติลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับชาวบังกลาเทศ) รวมทั้งการเรียกความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดหุ้นของนักลงทุนทั้งภายในและจากต่างประเทศให้กลับคืนมา กระตุ้นการส่งออกโดยเฉพาะการเพิ่มโควต้าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศ การส่งเสริมให้แรงงานบังกลาเทศไปทำงานในต่างประเทศ และการทบทวนเรื่องการให้ visa on arrival กับประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว


การค้า

บังกลาเทศยึดหลักเศรษฐกิจการตลาด มีนโยบายส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ดี โดยที่การส่งออกของบังกลาเทศขึ้นอยู่กับสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดและมีตลาดส่งออกที่จำกัดเพียงไม่กี่ประเทศ (โดยร้อยละ 76 ของการส่งออกทั้งหมดเป็นสินค้าสิ่งทอที่ส่งไปยุโรป) จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายให้กับตัวสินค้าและหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกให้มากที่สุดและลดการขาดดุลการค้า บังกลาเทศพึ่งพาการนำเข้าจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ มีมูลค่าถึงปีละ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลล่าสุดได้มั่งเน้นนโยบายที่จะหันไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดการพิ่งพาอินเดียลง สวนปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ได้แก่ การห้ามนำเข้าหรือการจำกัดโควต้าข้าวและน้ำตาล รวมทั้งปัญหาด้านการขนส่ง เป็นต้น ระบบพิธีการศุลกากรมาตรการที่มิใช่ทางภาษี เช่น การห้ามนำเข้าหรือจำกัดโควต้า


การลงทุน
ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 บังกลาเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายหลายประการเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของต่างชาติ อนุญาตให้ส่งผลกำไรและรายได้ออกไปต่างประเทศได้โดยเสรี และมีมาตรการให้ความสำคัญกับบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศ เป็นต้น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศ รองลงมา คือ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร อุตสาหกรรมที่ควรเข้าไปลงทุน ได้แก่ ด้านการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีมากถึง 11 ล้านล้านตารางฟุต ด้านสาธารณูปโภค ด้านประมง (แต่ปัจจุบันรัฐบาลบังกลาเทศยังไม่มีนโยบายที่จะเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในการจับปลาในบังกลาเทศ) การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้านอุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง อุตสาหกรรมเบา ด้านบริการต่าง ๆ และด้านการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคขั้นพื้นฐาน อุปสรรคที่สำคัญที่ขัดขวางการลงทุน ได้แก่ การประสบภัยจากพายุไซโคลนและอุทกภัยบ่อยครั้ง การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ และปัญหาการเมืองภายในประเทศโดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง (hartal) ของพรรคฝ่ายค้านที่มีอยู่เป็นประจำ


กองทัพเรือบังกลาเทศ

ด้านต่างประเทศ

รัฐบาลชุดล่าสุดได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบมุ่งตะวันออก (Look East) โดยการกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย พม่า และสมาชิกอาเซียน ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของนโยบายต่างประเทศบังกลาเทศ การเดินทางเยือนภูมิภาคเอเชียของนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศอย่างต่อเนื่อง นับเป็นประจักษ์พยานที่ดีต่อการเสริมสร้างนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสนับสนุนผลประโยชน์ของบังกลาเทศในประเทศใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบมุ่งตะวันออกของบังกลาเทศนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการลดอิทธิพลของอินเดียที่มีต่อบังกลาเทศลงด้วยนอกจากนี้ บังกลาเทศมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจบังกลาเทศในด้านพลังงาน การส่งออกแรงงาน และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศ และในฐานะที่เป็นประเทศ OIC ปัจจุบัน บังกลาเทศเป็นสมาชิก BIMSTEC ACD SAARC NAM และ ARF และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการสนับสนุนภารกิจการรักษาสันติภาพ มีทหารบังกลาเทศจำนวน 9,758 ราย ปฏิบัติใน 12 ภารกิจทั่วโลก (ร้อยละ 14 ของกองกำลังรักษาสันติภาพทั้งหมด) ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของบังกลาเทศในทางที่ดี


การแบ่งเขตการปกครอง

บังกลาเทศแบ่งเป็น 7 เขตการบริหาร (administrative divisions) ซึ่งมีชื่อตามเมืองหลวงของเขต ดังนี้:
เขตขุลนา (Khulna)
เขตจิตตะกอง (Chittagong)
เขตซิลเหต (Sylhet)
เขตธากา (Dhaka)
เขตบาริซาล (Barisal)
เขตราชชาหิ (Rajshahi)
เขตรังปุ (Rangpur)

ภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรหมบุตร

ภูมิอากาศ

อยู่ในเขตมรสุม เมืองร้อน ฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 5,690 มิลลิเมตร/โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พื้นที่ราบลุ่มหลายแห่งมักจะประสบปัญหาอุทกภัยอยู่เสมอ
แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) ฤดูร้อน (มีนาคม-มิถุนายน) และฤดูฝน (กรกฎาคม-ตุลาคม)
อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม ประมาณ 5.5 - 14.4 OC
อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 29.9 - 36.8 OC
ความชื้นในกรุงธากาช่วงฤดูฝนสูงมาก

เศรษฐกิจ

ประเทศบังกลาเทศตั้งอยู่ริมอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียอยู่เสมอ เศรษฐกิจของบังกลาเทศจึงขึ้นอยู่กับการเพาะปลุกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะปอกระเจา ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการถักกระสอบ แต่เนื่องจากบังกลาเทศมักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ เนื่องจากเป็นจุดที่พายุไซโคลนเข้ามากที่สุดในบรรดาประเทศในเอเชียใต้ ทำให้การเพาะปลูกของบังกลาเทศก็ไม่ค่อยดีนัก ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมของบังกลาเทศส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตร เช่น สิ่งทอซึ่งส่งออกเป็นอับดับสองของโลกรองจากจีน กระดาษ น้ำตาล เป็นต้น
สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า ปอกระเจา เครื่อแต่งกาย อาหารทะเลและปลาแช่แข็ง ประเทศผู้ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี
สินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า ปิโตรเลียม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน
สกุลเงินที่ใช้ : คือ ตากา


มุสลิมในธากา


ประชากร

ศาสนา
ประชากรบังกลาเทศ นับถือศาสนาอิสลาม 88.3% ศาสนาฮินดู 10.5% ศาสนาคริสต์ 0.7% ศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ในจิตตะกอง 0.5% ในบังกลาเทศมีตระกูลชาวพุทธสืบเนื่องมานานคือ ตระกูลบารัว

ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศ

พระพุทธศาสนาในประเทศบังคลาเทศ นั้น เดิมในบริเวณประเทศบังคลาเทศในปัจจุบัน ในสมัยพุทธกาลเคยเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป ทำให้ได้รับการเผยแพร่พระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นแบบตันตระเพื่อดึงดูดศาสนิก จนภายหลังยุคมุสลิมปกครองบังกลาเทศ ศาสนาพุทธได้กลายเป็นเรื่องของคนต่างถิ่น ทำให้ชาวบังคลาเทศบางคนเชื่อว่าศาสนสถานเดิมของชาวพุทธเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณ คงเหลือแต่ชาวพุทธกลุ่มเล็ก ๆ ในปัจจุบันเพียงร้อยละ 0.7 ของประชากร และส่วนใหญ่เป็นเถรวาท

ประวัติ

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่เมืองจิตตะกอง ของบังกลาเทศ สันนิษฐานว่ามาในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นช่วงที่พุทธศาสนาแพร่หลายจนถึงทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย สมณทูตสมัยนั้นเดินทางจากมคธโดยเรือ และพักที่เมืองจิตตะกอง ทำให้พุทธศาสนาเถรวาท เจริญรุ่งเรืองจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แม้ลัทธิอื่นก็มีนับถือกันแล้ว ดังพระถังซัมจั๋งได้จาริกผ่านมาแล้วบันทึกไว้ว่า "แคว้นสมตฏะ อยู่ติดมหาสมุทร...ชาวเมืองนับถือพระพุทธศาสนาและลัทธินอกจากนี้ มีพระสงฆ์กว่า 2,000 รูป ศึกษาธรรมฝ่ายเถรวาท พำนักอยู่อารามกว่า 30 แห่ง กลุ่มไม่นับถือพุทธปะปนกัน แต่นิครันถ์มีจำนวนมากกว่า"

บัณฑิตวิหาร

นักปราชญ์ทั้งหลายสันนิษฐานว่า ระหว่างรัฐตรีปุระซึ่งอยู่ทางเหนือ และเมืองอาระกันซึ่งอยู่ทางใต้ มีแคว้นชื่อรัมมเทศ และมีเมืองหลวงชื่อ ศรีจัฏฏละ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ 14 คือ บัณฑิตวิหารคณาจารย์ในรัมมเทศก็ได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ศึกษาเล่าเรียน ดังปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าบัณฑิตวิหารนอกจากจะเป็นศูนย์การค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสังฆิการาม หรือวัด ในพระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งพระสงฆ์จากต่างชาติเข้ามาอาศัยศึกษาในบัณฑิตวิหาร หลังจากมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลายแล้ว สถาบันแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 300 ปี ในกลางพุทธศตวรรษที่ 15 มีบุตรพราหมณ์เมืองจิตตะกองเป็นอาจารย์ใหญ่ของสถาบันนี้ คือ สิทธะปัญญาภัททะ (ติโลปะ) เป็นพระมหายานแบบตันตระ มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า และเวทมนตร์ต่างๆ ท่านได้แต่งคัมภีร์ไว้ศึกษาในสถาบันนี้จำนวนมาก เช่น ศรีสรัชสำพาราธิษฐาน จัตตุโรปเทศ ปาสันนทีป อาจินตามหามุทรานาม มหามุทโรปเทส โทหโกษ และสฬธัมโมปเทส เป็นต้น

ต่อมาศิษย์ของท่านชื่อว่า สิทธะนาฬาปาทะ (นโรปะ) ได้แปลคัมภีร์ "สฬสธัมโมปเทส" เป็นภาษาบาลี และก็มีลูกศิษย์ของท่านชื่อว่า รัตนเถระ และคณาจารย์จากสถาบันนี้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบตด้วย คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงของสถาบันแห่งนี้ คือ สิทธะนโรปะ สิทธะหลุยปาทะ สิทธะอานังควัชระ สิทธะตาฆนะ สิทธะสาวรีปาทะ สิทธะอาวธูตปาทะ สิทธะนานาโพธะ สิทธะญาณวัชระ สิทธะพุทธญาณปาทะ สิทธะอโมฆนาถะ และสิทธะธรรมสิริเมไตร เป็นต้น ซึ่งบางรูปก็เป็นชาวจิตตะกอง


จิตตะกองขึ้นกับอาระกัน
นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า กษัตริย์แคว้นนี้เคยนับถือพุทธศาสนามาก่อน แล้วจึงหันไปนับถือศาสนาอิสลามในหลังยุคเสนวงศ์ มีกษัตริย์ฮินดูนามว่า มาธุเสนะ ทรงให้อิสระแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา จนถึงยุคของพระเจ้าจันทรวงศ์ ซึ่งเป็นชาวพุทธ ได้ปกครองจิตตะกองในปี พ.ศ. 1772 และมีกษัตริย์พุทธอีกหลายพระองค์ ต่อมาปี พ.ศ. 1822 กษัตริย์ตรีปุระ พระนามว่า รัตนผา ได้ยึดครองจิตตะกอง ทำให้กษัตริย์องค์สุดท้ายต้องไปพำนักอยู่ในเทวคามภูเขาลูกหนึ่ง ปัจจุบันเรียกว่าเทวังปหารในจิตตะกอง และในพุทธศตวรรษที่ 10 กษัตริย์แคว้นอารากัน พระนามว่าไชยจันทร์ ได้ยึดเมืองจิตตะกองมีพระราชวังอยู่ที่จักรศาลาพระองค์ได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาด้วยวัดหลายแห่ง เช่น เทวัง จักรศาลา และรามู เป็นต้น


ยุคเสื่อม
พุทธศาสนามหายานแบบตันตระ  ได้แพร่หลายไปทั่วอาระกัน ที่เมืองหลวงมีฮัน ชาวเมืองสักการบูชาเคารพพระรูปเทวีมคเธรสวี ซึ่งเป็นรูปเคารพ และยังแพร่หลายไปถึงพม่าด้วยในปี พ.ศ. 2181 กษัตริย์อาระกันขัดแย้งกับเมืองจิตตะกอง ทำให้กษัตริย์มกุฏราย ยอมขึ้นกับราชวงศ์โมกุล ส่วนทางใต้ของแม่น้ำกัณณฟูลี และรามู ยังตกเป็นของอาระกัน จากนั้นก็ตกเป็นของโมกุลหมด ถือว่าอิสลามได้ครองอำนาจเหนือกษัตริย์พุทธเต็มรูปแบบในชมพูทวีป แต่ก็มีชาวพุทธเล็กน้อยในจิตตะกอง แม้มหายานตันตระก็มีอยู่ไม่มาก บัณฑิตวิหารก็ถูกทำลายสิ้น ชาวพุทธก็หลบหนีไปอย่ตามเมืองต่างๆ เมื่อไม่ที่พึ่งทางใจก็หันไปนับถืออิสลามไปมากก็มาก ชาวพุทธส่วนมากหันไปนับถือลัทธิไวศณพ ชาวพุทธที่เป็นปุโรหิตก็นับถือได้ง่าย เพราะบูชาพระแม่กาลี พระพิฆเนศ ฯลฯ อยู่แล้ว


ปัจจุบัน
พระพุทธศาสนาในจิตตะกองได้รับการฟื้นฟูจากคณะสงฆ์เถรวาท นำโดยพระสังฆราชเมืองยะไข่ ในปี พ.ศ. 2408-2421 พระองค์ได้วางรากฐานแบบเถรวาทในจิตตะกอง โดยจัดพิธีอุปสมบทภิกษุแล้วให้ศึกษาอบรมพระธรรมวินัย ตลอดอายุกาลของพระองค์ แม้สมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อมาก็ได้สืบสานนโยบายต่อไป จนมีบรรพชาอุปสมบทมากขึ้นตามลำดับ ต่อมา พ.ศ. 2473 ในสมัยพระสังฆราชอาจริยะญาณลังการมหาเถระ สถิต ณ มหามุนีปาหารตอลี เมืองจิตตะกอง ท่านทัสสนาจาริยะบัณฑิตธรรมธารมหาเถระ ก็ได้จัดตั้ง "สังฆราชภิกขุมหาสภา"ขึ้น ปัจจุบันเรียกว่า "บังกลาเทศสังฆภิกขุมหาสภา" โดยมีพระสงฆ์จากปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ จนปัจจุบันนี้มีสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 โดยปัจจุบันนี้ชาวพุทธในบังกลาเทศส่วนใหญ่เป็นแบบเถรวาท

ชาวพุทธในบังกลาเทศ เขต    เปอร์เซนต์ (%)
บาริซาล    htmlentities('< ')0.06
จิตตะกอง    12.65
โคมิลละ    0.55
ธากา    0.03
ขุลนะ    htmlentities('< ')0.08
ราชชาหิ    0.23
ซิลเหต    0.2

เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานข่าวว่ามีชาวมุสลิมบังกลาเทศราว 25,000 คน ก่อจลาจล เผาวัดพุทธ 5 แห่ง และบ้านเรือนร่วม 100 หลังคาเรือนในเมืองรามู ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 29 กันยายน โดยอ้างว่าเป็นการตอบโต้ผู้ใช้เฟซบุ้กชาวพุทธบังกลาเทศคนหนึ่งนาม อัตตาม พารัว ที่โพสต์รูปภาพตนขณะเหยียบคัมภีร์อัลกุรอาน
ซึ่งบริเวณเมืองรามูดังกล่าวเป็นพื้นที่ตรึงเครียดเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับรัฐยะไข่ของพม่าซึ่งมีการประท้วงมาก่อนหน้านี้ ทั้งยังเป็นช่วงเดียวกับที่ชาวบังกลาเทศมุสลิมได้ประท้วงภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง "เดอะอินโนเซนส์ออฟมุสลิมส์" ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้

นิกายปัจจุบัน

คณะสงฆ์จิตตะกอง ในบังกลาเทศมี 2 นิกาย ได้แก่
มาเถ หรือมหาเถรนิกาย หรือมหาสตภีรนิกาย นิกายมาเถ ถือว่าเป็นนิกายเก่าแก่ มีพระภิกษุ 40-50 รูป อยู่ที่ ตำบลราวซาน (রাউজান) ตำบลรางคุนิยา (রাঙ্গুনিয়া) ตำบลโบวาลขลี বোয়ালখালী) และตำบลปาจาไลช (পাঁচলাইশ)
สังฆราชนิกาย หรือนิกายสังฆราช นิกายสังฆราช เกิดหลังนิกายมาเถ 100 ปีเศษ มีสมเด็จพระสังฆราชสารเมธมหาเถระ เป็นผู้ให้กำเนิด มีพระสงฆ์อยู่ทั่วประเทศ การปฏิบัติของนิกายนี้เคร่งครัดตามแบบเถรวาท ส่วนพิธีการทางศาสนาจะแตกต่างกับนิกายแรก ในสมัยสมเด็จพระสงฆราชองค์ที่ 7 ได้พยายามตกลงกับผู้ใหญ่ของนิกายมาเถ ลงนามในที่ประชุม เพื่อรวมเป็นนิกายเดียวกัน แต่ไม่สำเร็จ เพราะแต่ละนิกายต่างมีทิฏฐิของตนอยู่มากจนถึงปัจจุบัน

26 มีนาคม: วันประกาศเอกราชของบังคลาเทศ (พ.ศ. 2514)
.................
ขอบคุณพิเศษ วิกิพีเดีย

บล็อกประวัติศาสตร์และความรู้ทั่วไปน่ะขอรับ
Create Date :27 มีนาคม 2556 Last Update :27 มีนาคม 2556 6:59:45 น. Counter : 4638 Pageviews. Comments :1