เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
26 เมษายน 2550
 
All Blogs
 

จะลดดอกเบี้ยก็บอกก่อนได้ไหม จะได้เตรียมตัวทัน!?

พอดีได้เห็นข่าวว่า ธุรกิจภาคเอกชนหลายรายต้องการให้ธปท.เปิดเผยถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน ว่าจะลดได้อีกเท่าไหร เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัว ปรับนโยบายในการบริหารธุรกิจได้
(จำแหล่งข่าวไม่ได้แต่เชื่อว่าอาจมีคนสงสัย เลยขอคุยประเด็นนี้ซักเล็กน้อยนะครับ)

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า มีใครเกี่ยวข้องกับผลของการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย แน่นอนทุกคนคงทราบว่า ในตลาดเงิน มีอัตราดอกเบี้ยเป็นราคาของเงินทุน หากอัตราดอกเบี้ยสูงก็จะมีผู้ฝากเงินมาก แต่ก็เป็นต้นทุนที่สูงต่อผู้กู้ ในทางตรงข้าม หากอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผู้ฝากก็ไม่อยากฝากเงิน แต่ก็ทำให้ผู้กู้ได้รับประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง อย่างไรก็ดี การที่ผู้ฝากและผู้กู้ซึ่งมีเงินและต้องการเงินในปริมาณพอๆกันจะมาเจอกันได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จึงมีสื่อกลางขึ้นมา คือ ธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารพาณิชย์จะระดมเงินฝากจากผู้ฝาก และกระจายไปให้กับผู้ที่มีความต้องการกู้เงิน แล้วคิดส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นค่าดำเนินการ

จะเห็นได้ว่าจะมีกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือผู้ฝาก ผู้กู้ และธนาคารพาณิชย์ เมื่อรวมกับผู้กำหนดนโยบายทางการเงินคือธปท.แล้ว ก็จะเห็นถึงกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างกันไป

สมมติ เมื่อธปท.ประกาศว่า อาทิตย์หน้าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อะไรจะเกิดขึ้น
- ผู้ฝากเงินก็จะรีบฝากเงินในทันที เพราะต้องให้เงินฝากของตนได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงในวันนี้ (อัตราดอกเบี้ยคิด ณ วันฝาก) ถ้าใครดูข้อมูลช่วงมค.-กพ.50 จะเห็นได้ว่า ปริมาณเงินฝากในระบบเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ฝากคาดว่าธปท.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั่นเอง
- ผู้กู้ก็จะชะลอการกู้เงินลง ไม่ว่าจะเพื่อการใช้จ่ายหรือลงทุน ดังจะเห็นได้จากดัชนีชี้วัดการลงทุนที่ธปท.ได้ประกาศออกไป รวมถึงดัชนีสะท้อนการลงทุนอื่นๆ ก็ลดลงทั้งหมด ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้กู้และผู้ลงทุนคาดการณ์ได้ว่าการอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนของตัวเองจะลดลง เค้าจึงรอที่จะให้อัตราดอกเบี้ยลดลงก่อนจึงจะกู้เงิน ดังที่เคยได้พูดไปเมื่อวันก่อนแล้ว (แต่อย่าลืมว่าต้นทุนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น ผู้ลงทุนจะดูกำไรที่คาดว่าจะได้รับประกอบด้วย)
- สำหรับธนาคารพาณิชย์แล้ว หากประโยชน์ของผู้ฝากคือดอกเบี้ย และต้นทุนของผู้กู้คือดอกเบี้ย ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคือผลประโยชน์ของธนาคารพาณิชย์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเห็นได้ว่า เวลาปรับอัตราดอกเบี้ยลง ธนาคารพาณิชย์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงก่อน ขณะที่พอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะปรับของเงินกู้ก่อน เพื่อให้ตนเองได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น

เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า ในอาทิตย์นี้ผู้ฝากก็จะแห่กันไปฝากเงิน ขณะที่ไม่มีใครอยากกู้เงินเลย แน่นอนว่าธนาคารพาณิชย์ต้องพยายามปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนอาทิตย์หน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งเป็นต้นทุนของตนเองได้เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งเป็นผลตอบแทนได้ลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงแล้ว (ซึ่งปกติจะเป้นเงินฝาก) ดุลยภาพของระบบจึงหยุดนิ่ง แต่สิ่งที่แตกต่างคือปริมาณเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ยังคงสูงอยู่ ซึ่งก็ยังเป็นต้นทุนที่ธนาคารพาณิชย์ต้องแบกรับอยู่ ขณะที่รายได้จากเงินกู้ก็ไม่มี เพราะคนรอที่จะกู้เงินอาทิตย์หน้า แล้วธนาคารพาณิชย์จะทำยังไงดีล่ะ ยังเหลืออีกคนที่อยู่ในตลาดเงินที่เรายังไม่ได้พูดถึงคือ ธนาคารกลาง หรือธปท. ซึ่งยังลดดอกเบี้ยไม่ได้ เพราะไปบอกตลาดว่าจะลดอาทิตย์หน้า ธนาคารพาณิชย์ก็จะเอาเงินฝากไปลงทุนกับธปท.แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อพันธบัตรก็จะส่งผลให้พันธบัตรธปท.มีราคาสูงขึ้น และหากเป็นพันธบัตรที่ออกในตลาดแรก ก็จะทำให้ปริมาณเงินหมนเวียนในระบบลดลงส่วนหนึ่งซึ่งจะทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง (แต่ธปท.คงไม่อยากออกเหมือนกัน เพราะถ้าเลื่อนไปออกอาทิตย์หน้าได้ ก็มีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า)

เมื่อเห็นการปรับตัวในตลาดแล้ว หลายๆคนอาจจะบอกว่า แบบนี้ธนาคารพาณิชย์ก็ได้ประโยชน์ตลอดสิ พอให้ลดอัตราดอกเบี้ยก็ลดของเงินฝากก่อน แต่พอขึ้นก็ดันขึ้นของเงินกู้ก่อน แถมพอรู้ล่วงหน้าว่าจะลดดอกเบี้ย ก็ยังเอาเงินฝากที่มีไปหาลงทุนต่อได้อีก ที่ธนาคารพาณิชย์ทำแบบนี้ได้ก็เพราะเค้าเป็นตัวกลาง มีขาสองข้างไว้ปรับความเสี่ยง (เงินฝากและเงินกู้) แต่ก็ไม่ใช่ว่าเค้าจะไม่มีความเสี่ยงเลย อย่างช่วงสภาพคล่องล้นระบบ อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดๆก็ยังไม่มีใครอยากกู้ มีแต่คนอยากฝากอยากเดียว ธนาคารพาณิชย์ก็กระอักไปเหมือนกัน

จะเห็นได้ว่า แต่ละคนรับความเสี่ยง และบริหารความเสี่ยงแตกต่างกัน จึงอยากเล่าให้ฟัง เผื่อจะมีใครที่นำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเองได้นะครับ




 

Create Date : 26 เมษายน 2550
0 comments
Last Update : 26 เมษายน 2550 1:28:31 น.
Counter : 1285 Pageviews.


TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.