เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
เมษายน 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
17 เมษายน 2549
 
All Blogs
 
ดอกเบี้ยสูง เงินบาทแข็ง เงินเฟ้อก็สูงอีก เฮ้อ!!!

เห็นตอนนี้หลายๆคนบ่นเรื่องดอกเบี้ยสูงบ้าง
เงินบาทแข็งปั๊ก เงินเฟ้อก็สูงอีก
วันนี้เลยจะมาเล่านิทานให้ฟังก่อนนอน
ใครไม่หลับบอก เดี๋ยวไปกล่อมให้ตัวๆ หุหุ

เรามาเริ่มที่ไหนกันดีล่ะ
ดอกเบี้ย เงินบาท เงินเฟ้อ
ทั้ง 3 อย่างนี้มันเกี่ยวข้องกับใครล่ะ
คนที่ต้องดูภาพรวมของทั้ง 3 สิ่ง
ก็คือธนาคารกลางของพวกเรา

การดูแลค่าเงินบาท

แล้วธนาคารกลางทำอะไรได้บ้าง
เรามาดูที่ค่าเงินกันก่อน
วิธีทำให้บาทแข็งนั้นไม่ยากเลย
ธนาคารกลางก็แค่ซื้อเงินบาทจากในระบบเข้ามาเก็บไว้
เพื่อให้ปริมาณเงินบาทลดลง
เมื่อเงินบาทในระบบลดลง ต่ำกว่าความต้องการที่มีอยู่เดิม
ก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

คำถามต่อมาคือธนาคารกลางเอาอะไรไปซื้อเงินบาท
เงินของใคร ใครก็หวง ใช่มะ
เรื่องอะไรจะให้ธนาคารกลางไปฟรีๆล่ะ
ธนาคารกลางก็จะซื้อโดยวิธีออกพันธบัตรออกมา
ทีนี้หนี้ของธนาคารกลางส่วนที่เป็นธนบัตรก็จะลดลง
แต่ภาระหนี้ของธนาคารกลางส่วนที่เป็นพันธบัตรก็จะเพิ่มขึ้น
(ถ้าพันธบัตรครบกำหนด ก็ต้องจ่ายเงินค่าไถ่ถอนคืนนะ อย่าลืม)

ในทางกลับกัน
ถ้าอยากให้ค่าเงินบาทอ่อน
ก็ต้องเอาเงินใส่เข้าไปในระบบ
ให้เงินบาทมีปริมาณสูงกว่าความต้องการ
โดยการซื้อพันธบัตรที่มีอยู่ในระบบแทน
หรือไม่ก็ใช้เงินบาทซื้อดอลลาร์เข้ามา
แต่ไม่ว่าวิธีไหน ปริมาณเงินบาทก็เพิ่มขึ้น

การดูแลอัตราดอกเบี้ย

มาต่อกันที่อัตราดอกเบี้ย
ซึ่งจะคล้ายๆกับเรื่องค่าเงินบาท
ธนาคารกลางของเรามีเครื่องมือดำเนินนโยบายหลักคือ
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ซึ่งในปัจจุบันใช้ตลาดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน
หรือเรียกย่อๆว่า rp14 (14-day Repurchasing Rate)

วิธีปรับก็ไม่ยาก
กรณีที่อยากให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนสูงขึ้น
ก็ต้องออกขายพันธบัตรในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า
เพื่อให้พันธบัตรอื่นๆมีการออกพันธบัตรที่ให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น
จนกระทั่งถึงเป้าหมายที่ธนาคารกลางต้องการ

อย่างไรก็ดี เราจะเห็นว่าแม้ธนาคารกลาง
จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปหลายรอบแล้ว
ทำไมอัตราดอกเบี้ยต่างๆจึงขึ้นช้ากันจัง

ทั้งนี้เพราะการโยกย้ายเงินทุน ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาอยู่
แม้อัตราดอกเบี้ย 14 วันจะปรับสูงขึ้น
เงินทุนที่ยังติดอยู่กับดอกเบี้ย 1 เดือนหรือ 3 เดือน ก็ยังคงมีอยู่
เงินทุนเหล่านี้ไม่มีใครยอมถอนออกมาก่อนเวลา
ใครเคยฝากประจำจะรู้ดี แม้ดอกเบี้ย 3 เดือนจะขึ้น
แต่ถ้าเงินฝากเรายังติดอยู่ที่เงินฝาก 12 เดือน
ก็คงไม่มีใครถอนเงินส่วนนี้ออกมาฝาก 3 เดือน
นี่เป็นสาเหตุให้อัตราดอกเบี้ยต่างๆขึ้นตามค่อนข้างช้า
พอผ่านไปซักระยะเวลาครบกำหนดของดอกเบี้ยต่างๆ
จึงจะโยกย้ายเงินเหล่านั้นมาอยู่ที่ดอกเบี้ย 14 วัน
ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยอื่นๆทยอยปรับขึ้น
เพื่อจูงใจให้เอาเงินกลับไปไว้ที่เดิม

ส่วนใครที่เห็นว่าทำไมดอกเบี้ยเงินกู้
จึงขึ้นก่อนดอกเบี้ยเงินฝาก
อันนี้เนื่องมาจาก ดอกเบี้ยเงินกู้เป็นรายได้ของธ.พาณิชย์
ของดอกเบี้ยเงินฝากเป็นต้นทุนของธ.พาณิชย์
ก็คิดเอาแล้วกันว่าธ.พาณิชย์อยากปรับอะไรขึ้นก่อน

นอกจากนี้ สภาพคล่องก็ยังมีส่วนเช่นกัน
ในกรณีที่สภาพคล่องในธ.พาณิชย์เริ่มหด
ธ.ก็จะปรับดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้มากขึ้น
เพื่อเริ่มระดมเงินออม และลดความต้องการของคนกู้
ในทางกลับกัน กรณีที่สภาพคล่องเพิ่ม
ก็จะมีการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้น้อยลง
เพื่อลดต้นทุนเงินฝาก และปล่อยเงินกู้ออกไปให้มากขึ้น

มาต่อกันที่เงินเฟ้อ

จริงๆแล้วคนคุมราคาสินค้าคือก.พาณิชย์
ส่วนธนาคารกลางจะดูเงินเฟ้อในภาพรวม
งั้นถามว่า แล้วธนาคารกลางเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้ออย่างไร

เราจะเห็นกันแล้วว่า การดูแลค่าเงินและอัตราดอกเบี้ย
ปริมาณเงินมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะการออกขายพันธบัตรแต่ละครั้ง
ก็ทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง
ไม่ว่าจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น
หรือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

อ้าว ปริมาณเงินลดลงแล้วทำไมเงินเฟ้อยังสูงอีกล่ะ
สาเหตุของเงินเฟ้อมี 2 อย่าง
คือเกิดจากต้นทุนที่สูงขึ้น (Cost-push Inflation)
และเกิดจากความต้องการที่สูงขึ้น (Demand-pull Inflation)

สาเหตุหลักของเงินเฟ้อในปัจจุบัน
เกิดจากราคาสินค้าต้นทุนเป็นหลัก โดยเฉพาะราคาน้ำมัน
ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิต
ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคการขนส่ง

หากธนาคารกลางพยายามปรับลดดอกเบี้ย
(ซึ่งจริงๆที่ปรับดอกเบี้ยไว้สูง เป็นเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ย
ของไทยกับสหรัฐ เพื่อรักษาสภาพการไหลเข้าออก
ของเงินไม่ให้แปรปรวนมากเกินไป)
หรือผลักดันเงินบาทให้อ่อนค่า
ปริมาณเงินก็จะเพิ่มขึ้นในระบบ
จากกระบวนการของธนาคารกลางที่ได้พูดไปก่อนหน้านี้
ซึ่งคราวนี้จะทำให้เกิดเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อ
หรือ Demand-pull Inflation บวกเข้าไปจากเงินเฟ้อเดิม
ขึ้นอีกหนึ่งดอกครับ


จากกระบวนการทั้งหมด จะเห็นได้ว่า
ธนาคารกลางควบคุมปัจจัยทั้ง 3 พร้อมกันไม่ได้
ถ้าอยากให้เงินบาทอ่อน เงินเฟ้อก็สูง
อยากให้ดอกเบี้ยสูง เงินบาทก็แข็ง

ถึงธนาคารกลางจะคุมได้ 2 อย่าง
ปัจจัยที่เหลือก็ต้องปล่อยให้อีกอย่างเป็นไป
ตามผลที่เกิดจากการคุม 2 อย่างแรกอยู่ดี
เฮ้อ ปวดหัวจริง


ทีนี้มาดูกันต่อว่า พอปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแล้ว
มันจะกระทบเศรษฐกิจอะไรบ้าง
เช่น เงินบาทแข็งกระทบการส่งออกหรือเปล่า
ปกติเวลาดูผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยน
เค้าจะดูอันที่อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง
นั้นคือดูอัตราแลกเปลี่ยนพร้อมกับเงินเฟ้อ

เมื่อค่าเงินบาทเราแข็ง เวลาเราคิด
เราก็ต้องคิดถึงประเทศคู่แข่งเราด้วย
ถ้าค่าเงินประเทศคู่แข่งเราก็แข็ง
ประมาณว่าค่าเงินแข็งทั้งภูมิภาค
ยิ่งถ้าหากเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค
ผลกระทบต่อการส่งออกก็จะยิ่งน้อยลง
เพราะแต่ละประเทศก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันหมด

ส่วนตัวอย่างอื่น ลองไปนอนวิเคราะห์กันต่อเองเน้อ


ปล.นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ธนาคารกลางสามารถใช้ได้อีก
เช่น ออกกฎปรับตัว Reseave Requirement
เพื่อให้ธ.พาณิชย์ปรับสภาพคล่องของตัวเอง เป็นต้น
แต่จะไม่ขอพูดถึงในที่นี้
เพราะคิดว่าทุกคนคงจะหลับกันหมดแล้ว หุหุ

ฝันดีเน้อ


Create Date : 17 เมษายน 2549
Last Update : 3 พฤษภาคม 2549 21:20:26 น. 0 comments
Counter : 4288 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.